บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เปิดแผนที่ ปราสาทพระวิหารปลอดทหารจากศาลโลก

by Canไทเมือง ,


เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 18 กรกฎาคม องค์ คณะผู้พิพากษาของ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีมติรับคำร้องของกัมพูชาให้ศาลออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวพื้นที่รอบปราสาท พระวิหาร โดยศาลได้มีมติ 11 ต่อ 5 ให้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้ไทยและกัมพูชา ถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาท
นอกจากนี้ ยังมีมติให้ทั้งสองฝ่ายกำหนดเขตปลอดทหาร 4 จุดในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งให้ไทยและกัมมพูชาร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่ชายแดนให้เกิดสันติภาพ รวมทั้งหลักเลี่ยงการกระทำที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ขณะเดียวกัน ศาลยังมีมติห้ามไทยขัดขวางกิจกรรมใดๆ ของกัมพูชาในการพัฒนาพื้นที่ ด้วยมติ 15 ต่อ 1
ด้าน นายฮิซาชิ โอวาดะ ประธานผู้พิพากษากล่าวว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจำเป็นต้องออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเนื่องจาก พิจารณาแล้วเห็นว่า หากไม่มีมาตรการดังกล่าวแล้วจะมีความเสี่ยงอย่างยิ่งยวดที่ข้อพิพาทระหว่าง ไทยและกัมพูชาจะนำไปสู่ความรุนแรงและความสูญเสีย


จุด A ละติจูด 14 องศา 23 ลิปดาเหนือ ลองติจูด 104 องศา 41 ลิปดาตะวันออก จุด B ละติจูด 14 องศา 24 ลิปดาเหนือ ลองติจูด 104 องศา 38 ลิปดาตะวันออก จุด C ละติจูด 14 องศา 25 ลิปดาเหนือ ลองติจูด 104 องศา 38 ลิปดาตะวันออก จุด D ละติจูด 14 องศา 25 ลิปดาเหนือ ลองติจูด 104 องศา 42 ลิปดาตะวันออก
00000000000000000
Image
ไทยน่าจะเสียเปรียบครับ
Image
แผนที่สงวนไว้ตอนส่งมอบปราสาทให้เขมร 2505
Image

ความวิตกต่อมาตรการชั่วคราวศาลโลก


การเปิดรับฟังที่ศาลโลก เมื่อ ๓๐-๓๑ พ.ค. ๒๕๕๔ 

ฟิฟทีนมูฟ — ระยะนี้ ประชาชนคนไทยหลายส่วนให้ความสนใจกับการออกมาตรการชั่วคราว ตามคำขอของฝ่ายกัมพูชา ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงบ่ายวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ตามเวลาในประเทศไทย หลายภาคส่วนทั้งเกี่ยวข้องโดยตรง และไม่เกี่ยวข้องต่างให้ความเห็นที่หลากหลาย รวมถึงข้อกังวลในหลายประเด็น
บุคคลผู้รับผิดชอบโดยตรง อาทิเช่น รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกษิต ภิรมย์ ประกาศความเขลาเป็นปฐมว่าไทยจะยอมรับและปฏิบัติตามคำตัดสิน เพราะเป็นสมาชิกที่ดีของสหประชาชาติ ขณะนายวีรชัย พลาศรัย หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยแสดงความคาดหวังว่าศาลฯ จะตัดสินอย่างยุติธรรม ซึ่งมิพักต้องวิจารณ์สำทับซ้ำว่าศาลแห่งนี้เป็นแต่เพียง “ศาลการเมืองระหว่างประเทศ” มิได้รับความเชื่อถือในความยุติธรรมของการตัดสิน คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕ ก็เป็นตัวอย่างอันประจักษ์ชัดหนึ่ง

ขณะกรณีข่าวรั่วก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาของศาลฯ แห่งนี้ การแถลงออกมาตรการชั่วคราวที่จะมีขึ้นนั้น เป็นแต่เพียงการเรียกไปรับฟัง เพราะคำตัดสินได้พิมพ์เสร็จสิ้นก่อนหน้านี้แล้ว คดีอื่นในศาลฯ มีกรณีข่าวรั่วอยู่เสมอเป็นปกติ
คำร้องขอมาตรการชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี ฝ่ายกัมพูชาได้ขอในสามประเด็นหลัก คือ (๑) ให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหารโดยทันทีและปราศจากเงื่อนไข (๒) ห้ามทุกกิจกรรมทางทหารของไทย และ (๓) ห้ามไทยกระทำการใดที่กระทบสิทธิ์ของกัมพูชาและการพิจารณาคดี ขณะที่ฝ่ายไทยขอเพียงประเด็นใหญ่ประเด็นเดียว คือ ให้ศาลถอนการพิจารณาคดีนี้ออกไป
หากมีความเป็นไปได้ในทางร้าย คือ ศาลฯ ออกมาตรการชั่วคราวบางข้อหรือครบทุกข้อตามคำขอของกัมพูชา มีข้อพึงสังเกต ดังนี้
ประการแรก โดยหลักปฏิบัติทั่วไป เป็นการไม่ชอบและผิดวิสัยที่ศาลฯ จะออกมาตรการชั่วคราวบังคับแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพียงเดียว คือ บังคับแต่กับไทยโดยไม่บังคับกับกัมพูชาด้วย
ประการที่สอง มาตรการชั่วคราว มีผลบังคับในทางปฏิบัติระยะสั้น ชั่วครู่ชั่วคราว คือ เฉพาะระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนการพิจารณาคดียังไม่ได้เริ่ม
ประการที่สาม กรณีการไม่ปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวมีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปกติ และศาลฯ ไม่มีอำนาจจะบังคับอะไรใคร ไทยก็ชอบที่จะโต้แย้งและไม่ปฏิบัติตาม
ประการที่สี่ ศาลไม่มีอำนาจออกมาตรการชั่วคราวบังคับกับไทย เนื่องจากประเทศไทยมิได้ยอมรับอำนาจของศาลฯ มากว่า ๕๒ ปี คือ นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๒ แม้ไทยจะเป็นสมาชิกศาลโลกโดยปริยาย เนื่องจากเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ทว่าไทยก็มิได้มีปฏิญญายอมรับอำนาจศาลโดยบังคับ ซึ่งทำให้ศาลไม่มีขอบเขตอำนาจพิจารณาหรือบังคับคดีกับไทย ไทยก็ชอบที่จะโต้แย้งและไม่ปฏิบัติตาม
ในชั้นนี้จึงไม่ควรกังวลจนเกินไปนัก ข้อควรวิตกที่แท้จริงอยู่ที่เนื้อหาและท่าทีการชี้แจงของคณะทนายฝ่ายไทย กล่าวคือ ท่าทีที่เหมือนว่า “ยอมรับอำนาจศาลฯ” ฝ่ายไทยโต้แย้งความไม่มีอำนาจของศาลฯ ในประเด็นเล็กน้อย แทนที่จะคัดค้านในประเด็นใหญ่ คือ “ความไม่มีอำนาจของศาล” การแถลงต่อศาลฯ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมก็ดี การให้ข้อมูลเพิ่มเติมในภายหลังก็ดี ฝ่ายไทยไม่ได้คัดค้านความไม่มีอำนาจของศาลฯ และไม่ได้ตั้งข้อสงวนว่าการเข้าร่วมการกระบวนการมิใช่เป็นการยอมรับอำนาจ ศาลฯ ซึ่งอาจทำให้ศาลฯ อาจทึกทักเอาว่าไทยรับอำนาจ ประกอบกับความเชื่อที่ผิด ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศที่ว่า ไทยยอมรับและปฏิบัติตามคำตัดสิน พ.ศ.๒๕๐๕ จะนำมาซึ่งผลเสียหายใหญ่หลวงระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งความจริงแล้วไทยปฏิบัติตามโดยคัดค้านและโต้แย้งว่าการตัดสินนั้นผิด และผิดอย่างไร
ในเรื่องนี้เช่นกัน ศาลฯ เปิดช่องว่าเป็นการ “เปิดคดีใหม่” ในเอกสารข่าวแจก ไทยก็มิได้ใช้ช่องว่างนี้ในการคัดค้านแต่อย่างใด
ไม่ว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะตัดสินมาตรการชั่วคราวออกมาอย่างไร ขึ้นอยู่กับประเทศไทยเท่านั้นว่าจะเอาอย่างไร ชัดแจ้งว่านักการเมืองผู้รับผิดชอบ และกระทรวงการต่างประเทศเป็นสิ่งเฮงซวยที่ประชาชนไม่สามารถฝากประเทศไว้ให้ ได้ ก็ได้แต่หวังพึ่งการตัดสินใจของฝ่ายทหาร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นชั่วคราวเฉพาะหน้า ที่มิใช่เรื่องน่าวิตกนัก  ความน่ากังวลที่แท้จริงคือหลังจากนี้ ที่การพิจารณาคดีจะเริ่มขึ้น หากกระทรวงการต่างประเทศยังมีแนวคิดยกอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนไปให้องค์กร ต่างด้าวเป็นผู้ตัดสิน หากยังคงมุ่งหน้าในทิศทางที่เป็นการรับอำนาจศาล เมื่อนั้นความฉิบหายก็อยู่ตรงหน้านี้เอง

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง