ไก่ไม่เคยหมดเล้าที่ กต.
ไก่ไม่เคยหมดเล้าที่ กต.
Posted on 21 May 2011 by n/e - 20:45 น.
ฟิฟทีนมูฟ – จากบทความ “ไก่ตัวเท่าควายของนายกษิตและกระทรวงต่างป
ระเทศ” ที่ติงเตือนการตั้งผู้พิพากษาสมทบสัญชาติฝรั่งเศส เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศ โดยนายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงว่าการตั้งผู้พิพากษาสัญชาติเดียวกันซ้ำนั้นกระทำได้ ไม่ผิดกฎแต่อย่างใด ตามปรากฎในเว็บไซต์กระทรวงฯ
เรื่อง
นี้ เมื่อได้บอกแล้ว เตือนแล้ว ยังรั้นจะเอาความเขลามาแย้งขัด
ก็ป่วยการจะขัดเกลาต่อไปอีก ให้ดำเนินการตามสะดวกสมความมุ่งหมาย
เร่งนำพากันไปเข้าปิ้งที่ศาลโลก แล้วประเทศจะเป็นผู้รับกรรม ซึ่งบรรดาท่าน ๆ
ไม่เกี่ยวและไม่เคยต้องรับผิดอะไร
ประวัติศาสตร์ของทุกชนชาติมักสอนไว้เสมอว่า โง่ด้วย สู่รู้ด้วย แล้วขยันด้วย นำพาไปแต่ทางพินาศ หากโง่ส่วนตัวเสียหายส่วนตัวนับว่าไม่เดือดร้อน
ใคร แต่โง่แล้วลากพาประเทศไปด้วย..นี่ไม่ควร เรื่องเขมร-ฝรั่งเศส-ศาลโลกนี้
เสียหายกันมาไม่รู้กี่ครั้งไม่เคยรู้จำ
ก็ถ้าโง่ถึงขั้นตั้งฝรั่งเศสเป็นทั้งทนายและผู้พิพากษาสมทบได้ ทำไม่ไม่ตั้งเขมรให้ตรงตัวไปเสียเลย
ต่อ
มา ดูเหมือนว่าเรื่องไก่ ๆ ควาย ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศนั้น
เห็นจะเพาะเลี้ยงไว้เป็นฟาร์มใหญ่ จึงปล่อยเรี่ยราดได้ไม่รู้หมด
การตอบคำถามผู้สื่อข่าวของอธิบดีกรมสารนิเทศ ตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์กระทรวงฯ ที่กล่าวถึงนั้น เราได้เห็นอีกว่า ที่วงเล็บคำศัพท์ไว้สามแห่งผิดหมดทั้งสามแห่ง ตามภาพที่เห็นด้านล่าง
mfa-icj
ภาพ: ข่าวสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศยืนยันการแต่งตั้งผู้พิพากษาเฉพาะกิจสัญชาติฝรั่งเศส ไม่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับและธรรมนูญของศาลโลก วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ข้อความผิดถูกมีดังนี้คือ
* กระทรวงการต่างประเทศเขียน Judge ad Hoc ที่ถูกคือ Judge ad hoc
* กระทรวงการต่างประเทศเขียน Rule of Court ที่ถูกคือ Rules of Court
* กระทรวงการต่างประเทศเขียน Statue of the International Court of
Justice ที่ถูกคือ Statute of the International Court of Justice
ให้สงสัยว่า เห็นทีกระทรวงการต่างประเทศจะสิ้นคนมีความรู้
ความสามารถ กับเรื่องพื้นฐานจำเป็นอย่างภาษา
ยังปล่อยออกมาให้ประจานหน้าตัวเอง ไม่ว่าเพราะความชุ่ยหรือความโง่
ให้ไว้ใจไปเจรจาเรื่องใหญ่ความเมืองนั้น ใครกล้าวางใจเห็นจะไม่มี
ยิ่งเมื่อนายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ให้ความเห็นว่า “พื้นที่พิพาทรอบปราสาทพระวิหารต้องรอให้ศาลโลกตัดสิน เพราะสองฝ่ายถือแผนที่คนละฉบับ” นั่นหมายความว่า กระทรวงการต่างประเทศของราชอาณาจักรไทยได้โอนถ่ายอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนไปให้ ‘องค์การต่างด้าว’ ภายนอกเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
เป็นที่น่าเสียดายว่า หลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเมื่อคราวก่อน อธิบดีกรมสนธิสัญญานำคณะขอเข้าพบอดีตข้าราชการระดับสูงหลายท่านของกระทรวง การต่างประเทศ เพื่อขอคำแนะนำ รับมือการที่เขมรนำประเด็นพิพาทปราสาทพระวิหารไปยังศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศ ทว่าเมื่อรับฟังแล้วก็ไม่ได้นำพา ยังมุ่งหน้าไปสู่หนทางให้ประวัติศาสตร์เมื่อห้าสิบปีก่อนมันหยามซ้ำ
การที่ควรจะแย้งโต้ปัดอำนาจศาลฯ สับปะรังเคนั่น ก็ไม่เห็นกระทรวงการต่างประเทศจะมีท่าที กลับแต่จะกระตือรื้อร้นพาคณะไปเที่ยวทัวร์ที่ศาลโลก จะไปเยี่ยมชมสิ่งใดกันหรือ ร่องรอยความเจ็บช้ำในอดีต หรือรอยเทียนที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เคยพาคณะไปเวียนวน
ศาลโลกไม่มีอำนาจรื้อฟื้นคดีเก่าเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฏหมาย กำหนดไว้ ไม่มีสิทธิ์รับพิจารณาหรือ “เปิดคดีใหม่” และไม่มีอำนาจออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวบังคับกับประเทศที่มิได้ยินยอมรับ อำนาจศาลฯ
จึงไม่มีเหตุผลที่ไทยต้องไปว่าจ้างร้องขอให้ค
นชาติอดีตเจ้าอาณานิคม กัมพูชา เป็นทนายหรือผู้พิพากษาสมทบ
และเร่งร้อนไปร่วมกระบวนการ ทั้ง ๆ
ที่การเปิดรับฟังที่จะถึงในช่วงปลายเดือนเป็นเพียงการหารือในเรื่องมาตรการ คุ้มครองชั่วคราว สิ่งพึงทำคือเตรียมคำคัดค้านอำนาจศาลฯ และแถลงข้อเท็จจริงพร้อมแสดงหลักฐานการรุกรานของกัมพูชา เพื่อขอมาตรการคุ้มครองชั่วคราวอันเป็นประโยชน์ต่อไทย
เมื่อมองวิธีคิดและการดำเนินการโดยรอบ เวลานี้ดูจะเป็นการยากเสียแล้วที่จะห้ามปรามกระทรวง
การต่างประเทศ ต่อให้เอาโซ่เส้นใหญ่มาล่ามผูก ก็ยังจะดึงดันแหกไปให้จนได้
ถ้าไม่เสียแผ่นดินอีกในคราวนี้ ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร ทางอื่น..มองไปไม่เห็น
มันถึงคราวจะพินาศ ใครก็ช่วยไม่ได้จริง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น