โดย Annie Handicraft เมื่อ 16 มิถุนายน 2011 เวลา 18:40 น.
หลัง
จากการให้สัมภาษณ์ของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเกี่ยวกับการประชุมนัดพิเศษ
เรื่อง การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ปมปราสาทพระวิหาร
ที่จะเดินทางไปประชุมกันในวันที่ 19
มิ.ย. โดยให้คณะกรรมการได้นำร่างข้อมติที่มีอยู่ขณะนี้มากำหนดจุดยืนและ
เป้าหมายหลักของไทยแล้วนั้น ในความคิดเห็นของตัวเองวิธีคิดและการกระทำของ
รัฐบาลยิ่งเพิ่มความสุ่มเสี่ยงมากขึ้นไปเสียอีก
และโอกาสที่จะทำให้ประเทศไทยของเราต้องเสียดินแดนในรัชสมัยนี้ยิ่งเพิ่มสูง
ขึ้น
เรามาดูวิธีคิดและแนวปฎิบัติของรัฐบาลต่อการประชุมมรดกโลกในครั้งสำคัญครั้ง
นี้ จากการให้สัมภาษณ์ของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
และจากการแถลงของนายปณิธาน วัฒนายากร
นายปณิธาน วัฒนายากร
1.กำชับคณะทำงาน จะต้องทำให้เกิดผลประโยชน์ต่อประเทศชาติ ไม่ให้ไทยเสียผลประโยชน์อธิปไตยและดินแดน
2.ชื่นชมบทบาทสำนักงานใหญ่ยูเสนโก้ ผู้แทนพิเศษและเลขาธิการสำนักงานใหญ่ยูเนสโก้ ที่พยายามทำงานอยู่บนพื้นฐานความเป็นกลาง
3.ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก จะต้องทำตามเงื่อนไขของสำนักงานใหญ่ในฐานะเป็นประเทศสมาชิกที่ดี
นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เป้าหมายหลักของไทย คือ การเลื่อนไม่ให้มีการพิจารณาแผนบริหารพื้นที่ของกัมพูชา ซึ่งขณะนี้ร่างข้อมติเข้าเป็นไปในทิศทางของเรา รวมทั้งให้ดูถ้อยคำต่างๆ ให้รัดกุม
- ถามว่า แต่ทางกัมพูชาไม่ยอมลงนามในการลงร่างข้อมติ
นายอภิสิทธิ์ ไม่ใช่เรื่องของการลงนาม เพราะเป็นเรื่องของคณะกรรมการ 21 ประเทศ ที่จะเป็นคนลงมติ เพียงแต่ว่า การพิจารณาโดยแนวปฏิบัติ คือกรรมการจะนำตรงนี้เป็นตุ๊กตา หรือจุดเริ่มต้น
- ถามว่า ร่างข้อมติที่ไทยกำลังจะส่งไป เกิดมาจากการที่ทั้งสองฝ่ายคุยกันในวันที่ยูเนสโกเป็นคนกลาง ซึ่งถ้าร่างดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้เลย เหตุใดกัมพูชาจึงบอกว่ายังไม่สามารถที่จะใช้ได้
นาย อภิสิทธิ์ ร่างข้อมติไม่สามารถไปผูกมัดใครได้ ยกตัวอย่างเช่น ปีที่แล้วร่างข้อมติจะพิจารณาแผนของกัมพูชา แต่ไทยไปคัดค้าน ในที่สุดเราก็ประสบความสำเร็จในเรื่องการไม่ให้พิจารณา แต่ปีนี้ร่างข้อมติเริ่มต้นจากการเสนอให้เลื่อน กัมพูชาก็ต้องคัดค้านแน่นอน เราก็ต้องไปพูดคุยกับกรรมการทั้ง 21 ประเทศ ให้เห็นว่า ขณะนี้มันควรจะเลื่อนเพราะอะไร แต่ การที่ร่างข้อมติไปในทิศทางที่ค่อนข้างจะเป็นที่พอใจของเราก็ถือว่าเป็นจุด เริ่มต้นที่ดี เพราะมันง่ายกว่าที่จะให้ช่วยกันรับร่างข้อมติแทนการที่จะต้องมานั่งเขียน กันใหม่
- ถามว่า เป็นการเสนอแนวทางขึ้นทะเบียนร่วมกันใช่หรือไม่
นายอภิสิทธิ์ ทำนองนั้น เพราะเส้นทางระยะยาวมันควรจะต้องเป็นอย่างนั้น
- ถามว่า ยูเนสโกได้เสนอให้ไทยถอนทหารออกมาหรือไม่
นาย อภิสิทธิ์ ยังไม่ได้เสนออย่างนั้นแต่สิ่งสำคัญ คือ ไม่ควรจะมีทหารอยู่ในส่วนของกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาควรจะถอนทหาร และถ้าเลื่อนแผนบริหารจัดการไป ก็จะต้องมาดู เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ประเทศหนึ่งเสนอแผนบริหารจัดการในขณะที่ปัญหาเส้นแบ่งเขตแดนยังไม่ได้ข้อยุติ
- ถามว่า แสดงว่า มีแนวโน้มเป็นไปได้ในการบริหารร่วมกันกับกัมพูชา หากมีการถอนทหารออกจากพื้นที่
นายอภิสิทธิ์ ตนคิดว่าต้องเริ่มเป็นขั้นเป็นตอนไป โดยขั้นแรกต้องไม่พิจารณาแผนของกัมพูชาเสียก่อน
- ถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ไทยจะถอนตัวออกจากสมาชิกยูเนสโก
นายอภิสิทธิ์ ในชั้นนี้ยังไม่มีประเด็นเนื่องจากยูเนสโกก็รับฟังทุกอย่างกับเหตุผลที่เราให้
จาก การให้สัมภาษณ์ของนายกอภิสิทธิ์ แสดงถึงความไม่เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง ไม่กล้าที่จะแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของเหนืออธิปไตยของชาติไทยเรา แต่ในขณะเดียวกันภาคประชาชนกลับมีความชัดเจนที่จะพยายามรักษาสิทธิ์และปก ป้องแผ่นดินของเราเอาไว้ ดังจะเห็นได้จากการให้สัมภาษณ์ของภาคประชาชนเมื่อเช้าวันนี้ว่า
"นาย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ พรุ่งนี้ (17 มิ.ย.) เวลา 10.00 น.จะเดินทางไปที่สำนักงานยูเนสโก หลังจากที่ทางยูเนสโกได้อนุญาตให้ตัวแทนคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักร 7 คนได้เข้าไปเจรจาพูดคุยปรึกษาหารือ เป็นการยื่นหนังสือแสดงเจตนารมย์คัด ค้านและถอนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารออกจากมรดกโลก เนื่องจากเป็นการทำลายกฏของยูเนสโกและละเมิดมติมรดกโลก ซึ่งจะต้องถอนวาระดังกล่าวออกจากบัญชีมรดกโลก โดยที่ไม่ปล่อยให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นมรดกโลกของฝ่ายกัมพูชา และเพื่อไปตอกย้ำว่ายูเนสโกกำลังทำความผิดในกติกาของตัวเองเพื่อทำลาย สันติภาพในภูมิภาค โดยจะนำเอกสารหลักฐานและข้อมูลเพื่อยืนยันว่าคณะกรรมการมรดกโลกก็ทำผิด ต่อมติของตัวเองด้วย เป็นการไม่รักษากฏเกณฑ์ ไม่เคารพอธิปไตยของประเทศไทย"
จากการกระทำของรัฐบาลไทยและUNESCOที่ผ่านมานั้นสุ่ม เสี่ยงให้ประเทศไทยของเราอาจเสียดินแดน การไปยื่นหนังสือแสดงเจตนารมย์จึง เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุดสำหรับคนไทยที่รักชาติหวงแผ่นดิน
หมายเหตุ ถ้ามีเวลาจะขอวิพากษ์การให้สัมภาษณ์ของนายกอภิสิทธิ์ข้างบนว่า ส่อถึงการแกล้งไม่เข้าใจปัญหาหรือไม่
นายปณิธาน วัฒนายากร
1.กำชับคณะทำงาน จะต้องทำให้เกิดผลประโยชน์ต่อประเทศชาติ ไม่ให้ไทยเสียผลประโยชน์อธิปไตยและดินแดน
2.ชื่นชมบทบาทสำนักงานใหญ่ยูเสนโก้ ผู้แทนพิเศษและเลขาธิการสำนักงานใหญ่ยูเนสโก้ ที่พยายามทำงานอยู่บนพื้นฐานความเป็นกลาง
3.ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก จะต้องทำตามเงื่อนไขของสำนักงานใหญ่ในฐานะเป็นประเทศสมาชิกที่ดี
นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เป้าหมายหลักของไทย คือ การเลื่อนไม่ให้มีการพิจารณาแผนบริหารพื้นที่ของกัมพูชา ซึ่งขณะนี้ร่างข้อมติเข้าเป็นไปในทิศทางของเรา รวมทั้งให้ดูถ้อยคำต่างๆ ให้รัดกุม
- ถามว่า แต่ทางกัมพูชาไม่ยอมลงนามในการลงร่างข้อมติ
นายอภิสิทธิ์ ไม่ใช่เรื่องของการลงนาม เพราะเป็นเรื่องของคณะกรรมการ 21 ประเทศ ที่จะเป็นคนลงมติ เพียงแต่ว่า การพิจารณาโดยแนวปฏิบัติ คือกรรมการจะนำตรงนี้เป็นตุ๊กตา หรือจุดเริ่มต้น
- ถามว่า ร่างข้อมติที่ไทยกำลังจะส่งไป เกิดมาจากการที่ทั้งสองฝ่ายคุยกันในวันที่ยูเนสโกเป็นคนกลาง ซึ่งถ้าร่างดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้เลย เหตุใดกัมพูชาจึงบอกว่ายังไม่สามารถที่จะใช้ได้
นาย อภิสิทธิ์ ร่างข้อมติไม่สามารถไปผูกมัดใครได้ ยกตัวอย่างเช่น ปีที่แล้วร่างข้อมติจะพิจารณาแผนของกัมพูชา แต่ไทยไปคัดค้าน ในที่สุดเราก็ประสบความสำเร็จในเรื่องการไม่ให้พิจารณา แต่ปีนี้ร่างข้อมติเริ่มต้นจากการเสนอให้เลื่อน กัมพูชาก็ต้องคัดค้านแน่นอน เราก็ต้องไปพูดคุยกับกรรมการทั้ง 21 ประเทศ ให้เห็นว่า ขณะนี้มันควรจะเลื่อนเพราะอะไร แต่ การที่ร่างข้อมติไปในทิศทางที่ค่อนข้างจะเป็นที่พอใจของเราก็ถือว่าเป็นจุด เริ่มต้นที่ดี เพราะมันง่ายกว่าที่จะให้ช่วยกันรับร่างข้อมติแทนการที่จะต้องมานั่งเขียน กันใหม่
- ถามว่า เป็นการเสนอแนวทางขึ้นทะเบียนร่วมกันใช่หรือไม่
นายอภิสิทธิ์ ทำนองนั้น เพราะเส้นทางระยะยาวมันควรจะต้องเป็นอย่างนั้น
- ถามว่า ยูเนสโกได้เสนอให้ไทยถอนทหารออกมาหรือไม่
นาย อภิสิทธิ์ ยังไม่ได้เสนออย่างนั้นแต่สิ่งสำคัญ คือ ไม่ควรจะมีทหารอยู่ในส่วนของกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาควรจะถอนทหาร และถ้าเลื่อนแผนบริหารจัดการไป ก็จะต้องมาดู เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ประเทศหนึ่งเสนอแผนบริหารจัดการในขณะที่ปัญหาเส้นแบ่งเขตแดนยังไม่ได้ข้อยุติ
- ถามว่า แสดงว่า มีแนวโน้มเป็นไปได้ในการบริหารร่วมกันกับกัมพูชา หากมีการถอนทหารออกจากพื้นที่
นายอภิสิทธิ์ ตนคิดว่าต้องเริ่มเป็นขั้นเป็นตอนไป โดยขั้นแรกต้องไม่พิจารณาแผนของกัมพูชาเสียก่อน
- ถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ไทยจะถอนตัวออกจากสมาชิกยูเนสโก
นายอภิสิทธิ์ ในชั้นนี้ยังไม่มีประเด็นเนื่องจากยูเนสโกก็รับฟังทุกอย่างกับเหตุผลที่เราให้
จาก การให้สัมภาษณ์ของนายกอภิสิทธิ์ แสดงถึงความไม่เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง ไม่กล้าที่จะแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของเหนืออธิปไตยของชาติไทยเรา แต่ในขณะเดียวกันภาคประชาชนกลับมีความชัดเจนที่จะพยายามรักษาสิทธิ์และปก ป้องแผ่นดินของเราเอาไว้ ดังจะเห็นได้จากการให้สัมภาษณ์ของภาคประชาชนเมื่อเช้าวันนี้ว่า
"นาย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ พรุ่งนี้ (17 มิ.ย.) เวลา 10.00 น.จะเดินทางไปที่สำนักงานยูเนสโก หลังจากที่ทางยูเนสโกได้อนุญาตให้ตัวแทนคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักร 7 คนได้เข้าไปเจรจาพูดคุยปรึกษาหารือ เป็นการยื่นหนังสือแสดงเจตนารมย์คัด ค้านและถอนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารออกจากมรดกโลก เนื่องจากเป็นการทำลายกฏของยูเนสโกและละเมิดมติมรดกโลก ซึ่งจะต้องถอนวาระดังกล่าวออกจากบัญชีมรดกโลก โดยที่ไม่ปล่อยให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นมรดกโลกของฝ่ายกัมพูชา และเพื่อไปตอกย้ำว่ายูเนสโกกำลังทำความผิดในกติกาของตัวเองเพื่อทำลาย สันติภาพในภูมิภาค โดยจะนำเอกสารหลักฐานและข้อมูลเพื่อยืนยันว่าคณะกรรมการมรดกโลกก็ทำผิด ต่อมติของตัวเองด้วย เป็นการไม่รักษากฏเกณฑ์ ไม่เคารพอธิปไตยของประเทศไทย"
จากการกระทำของรัฐบาลไทยและUNESCOที่ผ่านมานั้นสุ่ม เสี่ยงให้ประเทศไทยของเราอาจเสียดินแดน การไปยื่นหนังสือแสดงเจตนารมย์จึง เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุดสำหรับคนไทยที่รักชาติหวงแผ่นดิน
หมายเหตุ ถ้ามีเวลาจะขอวิพากษ์การให้สัมภาษณ์ของนายกอภิสิทธิ์ข้างบนว่า ส่อถึงการแกล้งไม่เข้าใจปัญหาหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น