จาการ์ตา 19 มิ.ย.-
นักการทูตอินโดนีเซียในเบลเยียมแสดงความเห็นว่า
การตีความของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)
ไม่สามารถทำให้ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาจบลงด้วยสันติภาพได้
แต่สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทำได้
นายพี แอล อี เพรียตนา อัครราชทูตที่ปรึกษาด้านกิจการสังคมและวัฒนธรรมและการทูตสาธารณะ สถานทูตอินโดนีเซียประจำกรุงบรัสเซลส์ในเบลเยียมเขียนบทความแสดงความเห็นลง ในหนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ของอินโดนีเซียฉบับวันนี้ว่า กัมพูชาร้องขอศาลโลกเมื่อปลายเดือนเมษายนให้ตีความคำตัดสินวันที่ 15 มิถุนายน 2505 เพียงเพราะต้องการหาความชอบธรรมทางกฎหมายในการเร่งให้ไทยถอนทหารออกจาก พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ให้ไทยยุติการเคลื่อนไหวทางทหารทั้งหมดตามชายแดนปราสาทพระวิหาร และยุติการกระทำที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นการรุกราน แต่ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติหลายคนเห็นตรงตามที่ไทยแย้งว่าคำตัดสินปี 2505 ไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทชายแดน และไทยได้ปฏิบัติตามคำตัดสินดังกล่าวแล้วจึงไม่จำเป็นต้องให้ศาลโลกตีความ อีก นอกจากนี้ศาลโลกยังไม่มีอำนาจในการตัดสินเพิ่มเติมให้แก่กัมพูชาเพราะคดีนี้ อยู่นอกเหนืออำนาจของศาลโลก ดังนั้นการตีความของศาลโลกที่จะประกาศราววันที่ 15 กรกฎาคมจะไม่ได้รับการยอมรับอย่างง่ายดายหรือจะนำมาซึ่งสันติภาพโดย อัตโนมัติ ทั้งไทยและกัมพูชาจะไม่ยอมถอนทหารออกจากชายแดนเพราะเท่ากับทำลายอธิปไตยของ ตนเอง
นายเพรียตนาตั้งคำถามว่า เหตุใดกัมพูชาจึงร่วมเจรจาสามฝ่ายกับไทยและอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมหลังจากยื่นเรื่องต่อศาลโลก เขาเห็นว่ามาตรการแก้ไขที่ทั้งสามฝ่ายตกลงกันที่กรุงจาการ์ตาคือทางออกที่ ปฏิบัติได้จริงมากที่สุด แต่ก็น่าผิดหวังที่ไทยและกัมพูชาในฐานะสมาชิกอาเซียนไม่ทำตามที่รับปากไว้ เรื่องนี้เป็นมากกว่าบทเรียนทางการเมืองด้านลบที่เกิดขึ้นตั้งแต่คนรุ่นก่อน และจะส่งต่อไปจนถึงคนรุ่นต่อไป การรักษาสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพเป็นเป้าหมายสูงสุดสำหรับอนาคตของอาเซียน ไม่ใช่เป้าหมายในอดีต สิ่งเหล่านี้จะต้องสร้างขึ้นจากความมุ่งมั่นและความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง จากบุคคลระดับผู้นำ ไม่ใช่เพียงสัญญาปากเปล่า. -สำนักข่าวไทย
นายพี แอล อี เพรียตนา อัครราชทูตที่ปรึกษาด้านกิจการสังคมและวัฒนธรรมและการทูตสาธารณะ สถานทูตอินโดนีเซียประจำกรุงบรัสเซลส์ในเบลเยียมเขียนบทความแสดงความเห็นลง ในหนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ของอินโดนีเซียฉบับวันนี้ว่า กัมพูชาร้องขอศาลโลกเมื่อปลายเดือนเมษายนให้ตีความคำตัดสินวันที่ 15 มิถุนายน 2505 เพียงเพราะต้องการหาความชอบธรรมทางกฎหมายในการเร่งให้ไทยถอนทหารออกจาก พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ให้ไทยยุติการเคลื่อนไหวทางทหารทั้งหมดตามชายแดนปราสาทพระวิหาร และยุติการกระทำที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นการรุกราน แต่ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติหลายคนเห็นตรงตามที่ไทยแย้งว่าคำตัดสินปี 2505 ไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทชายแดน และไทยได้ปฏิบัติตามคำตัดสินดังกล่าวแล้วจึงไม่จำเป็นต้องให้ศาลโลกตีความ อีก นอกจากนี้ศาลโลกยังไม่มีอำนาจในการตัดสินเพิ่มเติมให้แก่กัมพูชาเพราะคดีนี้ อยู่นอกเหนืออำนาจของศาลโลก ดังนั้นการตีความของศาลโลกที่จะประกาศราววันที่ 15 กรกฎาคมจะไม่ได้รับการยอมรับอย่างง่ายดายหรือจะนำมาซึ่งสันติภาพโดย อัตโนมัติ ทั้งไทยและกัมพูชาจะไม่ยอมถอนทหารออกจากชายแดนเพราะเท่ากับทำลายอธิปไตยของ ตนเอง
นายเพรียตนาตั้งคำถามว่า เหตุใดกัมพูชาจึงร่วมเจรจาสามฝ่ายกับไทยและอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมหลังจากยื่นเรื่องต่อศาลโลก เขาเห็นว่ามาตรการแก้ไขที่ทั้งสามฝ่ายตกลงกันที่กรุงจาการ์ตาคือทางออกที่ ปฏิบัติได้จริงมากที่สุด แต่ก็น่าผิดหวังที่ไทยและกัมพูชาในฐานะสมาชิกอาเซียนไม่ทำตามที่รับปากไว้ เรื่องนี้เป็นมากกว่าบทเรียนทางการเมืองด้านลบที่เกิดขึ้นตั้งแต่คนรุ่นก่อน และจะส่งต่อไปจนถึงคนรุ่นต่อไป การรักษาสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพเป็นเป้าหมายสูงสุดสำหรับอนาคตของอาเซียน ไม่ใช่เป้าหมายในอดีต สิ่งเหล่านี้จะต้องสร้างขึ้นจากความมุ่งมั่นและความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง จากบุคคลระดับผู้นำ ไม่ใช่เพียงสัญญาปากเปล่า. -สำนักข่าวไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น