บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

“เขาพระวิหาร” “แหล่งพลังงาน” “ปตท.”และกลุ่มทุน“ทักษิณ” กลายเป็นเรื่องเดียวกัน

โดย Annie Handicraft 
.
“เขา พระวิหาร” “แหล่งพลังงาน” “ปตท.” และกลุ่มทุนอดีตนายกฯ “ทักษิณ” กลายเป็นเรื่องเดียวกันอย่างแทบไม่น่าเชื่อ... แต่ก็ต้องเชื่อ เพราะ “พลังงาน” เป็นสิ่งมีค่า เป็น “ขุมทอง” ที่ทักษิณยอมแลกได้ทุกอย่าง แม้ว่าจะทำให้ไทยต้องสูญเสียเขาพระวิหารให้กับเขมร และอาจต้องสูญเสียดินแดนและอธิปไตย ก็เพื่อแลกกับแหล่งพลังงาน ในอ่าวเขมร แหล่งพลังงานที่เหลืออยู่แห่งเดียวในโลก ปริศนานี้กำลังถูกเฉลยออกมาว่า ทำไม ทักษิณ ถึงต้องมีเอี่ยวในปตท. ! 

ว่าด้วย เรื่องเขาพระวิหารแล้ว “นพดล ปัทมะ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ อดีตทนายความและโฆษกประจำตัวของ “ทักษิณ” ไปลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เพื่อยอมรับคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาท เขาพระวิหารเป็นมรดกโลก จนอาจทำให้ประเทศไทยเสียดินแดน กลายเป็นข้อสงสัยว่าทำเพื่ออะไร

เพราะก่อนลงนามเพียง 1 เดือน พล.อ.เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กัมพูชา ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยว่า “ทักษิณ” จะลงทุนธุรกิจพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในกัมพูชา โดยเฉพาะการเช่า เกาะกง ซึ่งมีรีสอร์ตดังอย่าง “สีหนุวิลล์” เป็นจุดขาย หลังจากที่ได้หารือกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว

“พล เอกเตีย บัน” ยังบอกด้วยว่า เรื่องธุรกิจน้ำมันและก๊าซ เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งชาวกัมพูชา ยังคงต้องซื้อน้ำมันในราคาที่แพง และทำให้ค่าครองชีพสูง แต่ทุกคนก็ต้องเผชิญปัญหานี้ต่อไป ตราบใดที่กัมพูชายังไม่สามารถขุดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมาใช้ได้ในระยะอัน ใกล้

การเชื่อมโยงโดยข้อสังเกตจาก “อลงกรณ์ พลบุตร” ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ยังระบุถึงเหตุผลความเหมาะสม เมื่อครั้งที่ “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” รองนายกรัฐมนตรี น้องเขย “ทักษิณ” ไปร่วมเป็นประธานเปิดถนนสาย 48 ไทย-กัมพูชา ระยะทาง 149 กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนที่ ครม.นายกฯ ทักษิณผ่อนปรนปล่อยกู้ให้กัมพูชาเป็นพิเศษ

แม้ ปัจจุบันจะไม่มีหลักฐานจับได้ว่า มรดกโลก “เขาพระวิหาร” เป็นการเซ็นเพื่อ “ทักษิณ” หรือไม่ก็ตาม แต่ปริศนานี้กำลังถูกเฉลยออกมาอย่างช้าๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการตั้งข้อสังเกตว่า เบื้องหลังเหตุการณ์ครั้งนี้ เพราะ“กัมพูชา” เป็นแหล่งพลังงานที่เหลือเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่ยังไม่ได้ถูกขุดเจาะ และพร้อมให้กลุ่มทุนเข้าไปดำเนินงาน ในพื้นที่แถบชายฝั่งและนอกชาย ฝั่ง ซึ่งจากการบรรยายของ TE DUONG TARA ผู้อำนวยการ Cambodian National Petroleum Authority เมื่อ 18 มกราคม 2006 ระหว่างการประชุมว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีปิโตรเลียม ของอาเซียนครั้งที่ 4 ระบุว่า กัมพูชามีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน และมีการผลิตจำนวนมากนอกชายฝั่ง โดยปัจจุบันมีเชฟรอน ได้รับสัมปทานอนุญาตขุดเจาะ และยังมีบริษัทจากไทยคือบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (PTTEPI) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ปตท. ได้ร่วมทุน 30% กับอีก 2 บริษัท คือ บริษัท Resourceful Petroleum Ltd. และ SPC Cambodia Ltd. อีก 10% เป็นของ CE Cambodia B Ltd.

ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ นอกชายฝั่ง ในบริเวณอ่าวไทย แต่ยังมีพื้นที่แหล่งนี้ที่กัมพูชาเรียกว่า “บล็อก B” และ ปตท.สผ. ตั้งรหัสว่าโครงการจี 9/43 มีการพบเบื้องต้นว่ามีน้ำมันและก๊าซจำนวนมาก แต่ในหนังสือรายงานประจำปี 2550 ได้ระบุว่าเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างไทย-กัมพูชา และกำลังแก้ไขปัญหาเรื่องเส้นแบ่งเขตทางทะเล หรือเป็นหนึ่งในพื้นทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาอีกพื้นที่หนึ่ง



นี่คือพื้นที่ทับซ้อนที่ยังต้องรอบทสรุป 
ที่ สำคัญกว่านั้น ทางการกัมพูชายังมีความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่อสำรวจและวิจัยแหล่งพลังงานทั้งทางใต้ดิน และดาวเทียม บริเวณพื้นที่ชายฝั่ง และเบื้องต้นว่า บริเวณทะเลสาบ หรือ“โตนเลสาบ” ใจกลางประเทศ ยังมีแนวโน้มของแหล่งน้ำมันดิบ ที่เรียกว่า Permian Carbonates ซึ่งพบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกเหนือจากแถบชายฝั่งที่มีแหล่งก๊าซอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะแถบ “จังหวัดเกาะกง” ของกัมพูชา จังหวัดทะเลชายฝั่งทางตอนใต้ ซึ่งพบแหล่งน้ำมัน

นั่นหมายความว่า เกาะกง กัมพูชา เป็นแหล่งน้ำมันแหล่งใหญ่ของโลกที่ยังคงเหลืออยู่ และยังไม่ได้ถูกขุดเจาะ ย่อมเป็นที่หมายปองของนานาประเทศทั่วโลก รวมทั้งทักษิณและเครือข่าย 

“พล เอกเตีย บัน” บิ๊กของกัมพูชา เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า หนึ่งในนายทุนที่ต้องการเข้าไปลงทุนขุดเจาะน้ำมันในกัมพูชา คือ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร”

ความหอมหวนของแหล่งพลังงานในกัมพูชา จึงเป็น “ขุมทอง” ขนาดใหญ่ที่ “ทักษิณ” ยอมเดิมพันได้ทุกอย่าง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็น “เขาพระวิหาร” มรดกโลกอันมีค่า ทั้งๆ ที่ทักษิณเองก็รู้ดีว่าจะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดน และอาจลุกลามกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ

ผลจากการกระทำของนพ ดล รัฐมนตรีในสังกัด ก็ได้ถูกชี้ชัดโดยศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยคดีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 เพราะเป็นการลงนามโดยผู้มีอำนาจของ 2 ประเทศ มีพันธสัญญาร่วมกัน โดยต้องผ่านสภาเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาจเกิดความแตกแยกระหว่างประเทศ และสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบเรื่องอาณาเขตของประเทศไทย

รศ.ศรี ศักร์ วัลลิโภดม นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ไทย ตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินของคณะกรรมการมรดกโลกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของ กัมพูชา เป็นการตัดสินที่ขัดต่อ 3 องค์กรประกอบอุดมคติของมรดกโลก เป็นการตัดสินที่ไม่ชอบธรรม และไม่ได้เป็นเครื่องมือสร้างสันติภาพตามเจตนารมณ์ที่แท้จริง แต่กลับทำให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวทางเศรษฐกิจ ซ่อนเร้นให้กลุ่มข้ามชาติเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์

ผล เสียที่ตามมาก็คือ หลังจากขึ้นทะเบียนตัวประสาทเขาวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว ถัดจากนั้น จะให้ประเทศต่างๆ มาบริหารจัดการร่วมกัน หากไทยยอมเข้าร่วม เท่ากับว่าเป็นการยกดินแดนไทย และดินแดนทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรให้คณะกรรมการมรดกโลกบริหารจัดการ โดยขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการมรดกโลกก็ยกพื้นที่ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชา 

ได้มีการตั้งข้อสังเกต การตัดสินของคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ถึงข้อเสนอของกัมพูชานั้น ผ่านหลักเกณฑ์แค่ 1 ใน 3 เท่านั้น คือ สถาปัตยกรรมที่มาจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ แต่หลักเกณฑ์ทางด้านภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมไม่ผ่าน เพราะขาดความสมบูรณ์ เพราะโบราณสถานที่อยู่ในเขตพื้นที่ทับซ้อนไม่ได้นำมารวม การตัดสินครั้งนี้จึงขาดความน่าเชื่อถือ

ยังมีการ ตั้งข้อสังเกตอีกว่า การที่คณะกรรมการโลกได้ สนับสนุนกัมพูชาของเหล่าคณะกรรมการโลกครั้งนี้ เป็นเพราะ ทุกประเทศที่อยู่ร่วมในคณะกรรมการมรดกโลก เล็งเห็นขุมทรัพย์บ่อน้ำมันของเขมร ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส ที่มีกลุ่มโททิ่ลออยล์ (TOTAL Oil) และจีน ที่มีบริษัท CNOOC บริษัทน้ำมันเข้าไปสำรวจหาก๊าซและน้ำมันดิบในกัมพูชา 

การ ยอมรับเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ยังสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน และอธิปไตย เป็น“โดมิโน” ที่ส่งผลกระทบถึง ปัญหา “พื้นที่ทับซ้อน” ระหว่างเขตแดนไทยและกัมพูชา ในหลายจังหวัด เช่น อุบลราชธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ จันทบุรี ตราด เนื่องจากไทยและกัมพูชาใช้แผนที่คนละใบ ไทยนั้นยึด “สันปันน้ำ” ในการวัด โดยใช้มาตราส่วน 1:50,000 ในขณะที่กัมพูชา ใช้มาตราส่วน 1:200,000 

หากมีการนำ มาตราวัดของกัมพูชา ซึ่งเป็นไปได้มากมาจัดการกับ ปัญหาพื้นที่ทับซ้อน เหล่านี้ย่อมทำให้ไทยต้องเสียเขตแดน เช่น พื้นที่เกาะกูด จังหวัดตราด ก็เป็นพื้นที่ทับซ้อน หากถ้าใช้มาตราวัดของกัมพูชา เกาะกูดจะกลายเป็นของกัมพูชาไปโดยปริยาย 

ต่อ ให้คนไทยคนไหนที่กินดีหมี สวมหัวใจสิงห์ ก็ยังไม่กล้าถึงเพียงนี้ หากไม่ใช่เพราะผลประโยชน์ เพื่อต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจพลังงาน ทักษิณจึงยอมได้ทุกอย่าง

นักธุรกิจระดับชาติอย่างทักษิณ ย่อมรู้ดีว่าธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจแห่งอนาคตที่ทำรายได้ให้มหาศาล หาใช่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ซึ่งอยู่ในช่วงขาลง ไม่ได้รุ่งเรืองเหมือนในอดีต หรือแม้แต่การซื้อธุรกิจสโมสรทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ ก็เพื่อสร้างโปรไฟล์ให้ดูดี ไม่ใช่ธุรกิจที่ทำรายได้งดงามเหมือนกับธุรกิจพลังงาน

ทักษิณ ได้เตรียมการในเรื่องนี้มานานแล้ว ด้วยการร่วมมือกับ “โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด” เจ้าของห้างแฮร์รอดส์อันโด่งดังในอังกฤษ อัล ฟาเยด ไม่ได้เป็นแค่เจ้าของห้างหรู แต่ยังมีธุรกิจพลังงาน ที่เข้ามาทำร่วมกับ ปตท.สผ. และนี่คือ เหตุผลว่า ทำไมทักษิณจึงต้องเป็นเจ้าของ ปตท. ซึ่ง มีความพร้อมในเรื่องทั้งขุดเจาะ จัดจำหน่าย ดังนั้นปตท จะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจพลังงานในเขมร เป็นจริง โดยมีเครือข่ายธุรกิจพลังงานของ อัล ฟาเยด ร่วมเป็นกองหนุน

ถ้า เลือกได้ เป้าหมายทำสัญญาให้เช่าเกาะกงของทักษิณกับเขมร ที่มีรัฐบาลฮุนเซนเป็นคู่สัญญา หาใช่ทำในนามรัฐต่อรัฐ แต่เป็นการทำในนาม “นิติบุคคล” โดยที่เกาะกงจะได้รับเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งรายได้ไม่ต้องเข้ารัฐบาลกัมพูชา และเป็นเขตปกครองพิเศษ นอกเหนืออธิปไตย

แน่นอนว่าสิ่งที่ ทักษิณต้องการมากที่สุดคือ การสร้างระบอบ “การเมือง” ใหม่ เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่เรียกว่า ระบอบทักษิณ โดยอ้างถึงระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่ใครมีเงินก็เล่นการเมืองได้ (อ่านเรื่อง Kingdom or Republic of Thailand ใน POSITIONING ฉบับ เดือนมิถุนายน 2551 ประกอบ)



อะไรจะเกิดขึ้น หากทักษิณสามารถนำบริษัทเข้าไปลงทุนในเขมร ? 

โม ฮัมหมัด อัล ฟาเยด - เพื่อนซี้ “ทักษิณ” ร่วมก๊วน “เทมาเส็ก” แนบแน่น “ปตท.” เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ขุดเจาะน้ำมันของไทย จะพบว่ามหาเศรษฐีห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์ (Harrods) โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด (Mohamed Al Fayed) เพื่อนเลิฟของอดีตนายก “ทักษิณ” เข้ามาได้ประโยชน์จากธุรกิจน้ำมันในไทยมานาน ผ่าน ปตท.สผ. บริษัทลูก ปตท. ก่อนที่ปตท. จะเข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2544
โดย Asian Economic News และนิตยสาร Offshore ลงข่าวพร้อมเพรียงกันในช่วงธันวาคม 2542 ว่าหลังจากโมฮัมหมัด อัล ฟาเยดจัดตั้งบริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (Harrods Energy) ก็ได้สิทธิสำรวจน้ำมันใน 4 แปลงขุดเจาะในอ่าวไทย คือ B2/38, B11/32, B11/38 และ B12/32. ห่างจากชายฝั่งระยอง 150 กิโลเมตร โดยมีศักยภาพในการขุดเจาะน้ำมันวันละ 8,000 บาร์เรล ซึ่งในการสำรวจขุดเจาะครั้งนั้น Harrods Energy ถือหุ้น 50% ในการลงทุนสำรวจขณะที่ ปตท.สผ. ถือหุ้น 50%ที่เหลือ

จาก การสืบค้นข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ จดทะเบียนในเมืองไทยเมื่อ 22 พฤษภาคม 2541 ใช้ชื่อเป็นทางการว่า แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) ต่อมาเปลี่ยนชื่อจนไม่เหลือคราบเดิม เป็นเพิร์ล ออย (Pearl Oil) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในรายชื่อผู้ถือหุ้น) เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2547 เพราะถูกขายให้กับบริษัท Pearl Energy Pte. Ltd. ที่มีฐานอยู่ในสิงคโปร์ สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือเมื่อสืบสาวต้นทางจะพบกลุ่มทุนเทมาเส็ก (Temasek) แห่งสิงคโปร์ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวผ่านทาง Mubadala Development (ข้อมูลจาก Business Week และ RGE Monitor) ซึ่ง “เทมาเส็ก” มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับ “ทักษิณ” และคือบริษัทที่ซื้อหุ้นในชินคอร์ป จากครอบครัว ”ทักษิณ” ด้วยมูลค่ากว่า 73,000 ล้านบาท 

Pearl Oil ยังคงได้สัมปทานขุดเจาะน้ำมันอย่างต่อเนื่อง เช่น แปลง B 5/27 ที่แหล่งจัสมิน และ B12/32 ณ แหล่งบุษบงในอ่าวไทย เป็นต้น ส่งต่อน้ำมันดิบให้กับ ปตท.สผ. ภายใต้สัญญาซื้อ-ขาย 20 ปี เช่นเดียวกับเมื่อ 8 ธันวาคม 2549 Pearl Oil ก็ได้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพิ่มในแปลง G10/48 บริเวณตอนใต้ของอ่าวไทย เมื่อสมัยนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

จากข้อมูลจากกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์พบว่ากรรมการของเพิร์ลออย ยังเป็นกรรมการในบริษัทที่เกี่ยวข้องรวม 8 บริษัท แต่ละบริษัทต่างระบุว่าทำธุรกิจรับสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน และมีทุนจดทะเบียนบริษัทละ 100 ล้านบาท บางบริษัทมีรายได้ แต่บางบริษัทยังไม่ได้บันทึกรายได้ โดยบริษัทที่มีรายได้สูงสุดคือเพิร์ลออย ประเทศไทย มีรายได้ปี 2549 รวม 7,071 ล้านบาท กำไร 1,654 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 16.54 บาท


บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ ประเทศไทย จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น เพิร์ลออย (ประเทศไทย) เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2547 ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า เวสท์ ชั้น 10

ณ วันที่ 30 เมษายน 2550 ปรากฏชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 99.99% คือบริษัทเพิร์ลออยล์ (สยาม) คิดเป็น มูลค่า99,994 ล้านบาท หรือเฉลี่ยราคาหุ้นละ 1,000 บาท ส่วนผู้หุ้นอื่นเป็นบุคคลสัญชาติแคนาดา อินโดนีเซีย 3 คน อังกฤษ 1 คน และอเมริกา 1 คน เพียงคนละ 1 หุ้น เท่านั้น

ข้อมูล กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า”เพิร์ลออยล์ (สยาม) จดทะเบียนที่หมู่เกาะเวอร์จิน อังกฤษ ส่วนผู้หุ้นอื่นเป็นบุคคลสัญชาติแคนาดา อินโดนีเซีย 3 คน อังกฤษ 1 คน และอเมริกา 1 คน เพียงคนละ 1 หุ้น เท่านั้น

เครือข่าย”เพิร์ลออย (ประเทศไทย)”
-เพิร์ลออย บางกอก
-เพิร์ลออย ออฟชอร์
-เพิร์ลออย (ปิโตรเลียม)
-เพิร์ลออย (รีซอสเซส)
-เพิร์ลออย (อมตะ)
-เพิร์ลออย ออนชอร์
-เพิร์ลออย (อ่าวไทย)


Timeline เขาพระวิหาร-แหล่งพลังงาน
 22 พฤษภาคม 2541
– “โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด” เจ้าของห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในไทยภายใต้ชื่อ “แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย)” และรับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ ร่วมกับปตท.สผ.

ธันวาคม 2542 
- แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ เริ่มได้สัมปทานขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย

กุมภาพันธ์ 2544
– “ทักษิณ ชินวัตร” ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง และได้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีสมัยแรก

ตุลาคม 2546
- ขณะที่ “ทักษิณ” เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศพร้อมจะซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอล “ฟูแล่ม” ซึ่งมี “โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด” เป็นเจ้าของ ขณะที่สถานการณ์การเงินของ “ฟูแล่ม” ขาดทุน และมีหนี้จำนวนมาก

ปี 2547
- รัฐบาลทักษิณอนุมัติให้เงินกู้กัมพูชาอัตราดอกเบี้ยต่ำ จำนวน 827.4 ล้านบาท เพื่อสร้างถนนผิวทางแอสฟัลต์และสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กแบบให้เปล่าบน ถนนสายนี้อีก 4 แห่ง โดยกรมทางหลวงออกแบบให้ ใช้งบประมาณ 288.2 ล้านบาท

ตุลาคม 2549
- หลัง “ทักษิณ” ถูกรัฐประหาร “ทักษิณ” ได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่อังกฤษ และมีข่าวว่าได้แวะพักที่บ้านของนายโมฮัมหมัด อัลฟาเยด เลขที่ 55 Park Lane ทางตะวันตกของกรุงลอนดอน

ปี 2550
-“ทักษิณ” ซื้อสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี้ ท่ามกลางข่าวลือว่า “โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด” เป็นผู้ประสานงานให้

14 พฤษภาคม 2551 
– มีรายงานข่าวจากสื่อไทย ว่า พล.อ.เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กัมพูชา ให้สัมภาษณ์ว่า “ทักษิณ” จะลงทุนธุรกิจพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในกัมพูชา โดยเฉพาะการเช่า เกาะกง ซึ่งมีรีสอร์ตดังอย่าง “สีหนุวิลล์” เป็นจุดขาย หลังจากที่ได้หารือกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว

เว็บ ไซต์ของ “บางกอกโพสต์” ระบุด้วยว่า เกาะกงซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดตราดของไทย เป็นเป้าหมายแรกของ “ทักษิณ” ที่จะเข้าไปลงทุนในกัมพูชา ซึ่งจะรวมถึงการทำบ่อนกาสิโน และเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ โดยจะเป็นการร่วมทุนกับนักธุรกิจจากตะวันออกกลาง รวมถึงนาย โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด มหาเศรษฐีชาวอียิปต์เจ้าของห้างแฮร์รอดส์ในลอนดอน

- “นภดล ปัทมะ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานร่วมกันเปิดถนนหมายเลข 48 ที่จังหวัดเกาะกง-สะแรอัมเบิล เป็นเส้นทางที่ทำให้การเดินทางจากบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ของไทย ถึงพนมเปญโดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง

18 มิถุนายน 2551
– “นพดล ปัทมะ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ อดีตทนายความและโฆษกประจำตัวของ “ทักษิณ” ลงนามยอมรับคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สนับสนุนให้กัมพูชาเสนอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

8 กรกฎาคม 2551
- เวลาตี 3 ของเช้าวันอังคารที่ 15 กรกฎาคม 2551 ตามเวลาในประเทศไทย เป็นเวลาที่ชาวกัมพูชาดีใจ และเฉลิมฉลองกันทั่วเมือง เมื่อยูเนสโกมีมติรับข้อเสนอของรัฐบาลกัมพูชาที่เสนอขึ้นทะเบียน “ปราสาทพระวิหาร” เป็นมรดกโลก นาทีเดียวกันนั้นคนไทยต้องรู้สึกหดหู่กับการ “ขายชาติ” ของคนไทยด้วยกันเอง เพียงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว แลกกับประเทศไทยเสียดินแดนประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร


แหล่งน้ำมันดิบในกัมพูชา
จำนวนบ่อน้ำมัน ขุดเจาะสำรวจแล้ว 9 หลุม/บ่อ พบน้ำมันดิบ 5 หลุม/บ่อ ยังไม่ได้สำรวจอีก 10 หลุม/บ่อ
ปริมาณน้ำมันดิบสำรอง 2,000 ล้านบาร์เรล
ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรอง 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
มูลค่าการผลิต (ประมาณการ) 6,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี
การสนับสนุนของรัฐ จัดตั้งองค์กรปิโตรเลียมแห่งชาติ (Cambodia National Petroleum Authority) ขึ้นมากำกับดูแล

ที่มา – สื่ออุตสาหกรรมออนไลน์เพื่อนักอุตสาหกรรม 

พื้นที่ทับซ้อนเกินจริง เกิดจาก MOU44


แผนที่ จัดทำขึ้นใหม่แสดงที่ตั้งแปลงสำรวจน้ำมันในเขตทะเลอ่าวไทยของกัมพูชา และ จ.กัมโป้ท ที่จะก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรก และ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับไทย รองนายกฯ กัมพูชากล่าวในวันพฤหัสบดีนี้ว่า ปีหน้าจะเริ่มสูบน้ำมันจากแปลง A อย่างแน่นอน แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโรงกลั่น และ ยังไม่มีการเปิดเผยเกี่ยกับปริมาณน้ำมันดิบที่พบทั้งหมด. 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง