ไทยกำลังมีประเด็นเรื่องแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชา ซึ่งยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตาอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น ล่าสุด ยังมีประเด็นเรื่องพื้นที่เกาะกูด จ.ตราด ด้วย
กัมพูชา ได้ระบุว่า พื้นที่ 1 ใน 3 ของเกาะกูดเป็นของกัมพูชา ซึ่งแผนที่ดังกล่าวติดไว้บริเวณห้องรับแขกของสำนักงาน โดยเขียนว่าเป็นแผนที่กัมพูชาและแผนที่ จ.เกาะกง ซึ่งมีการขีดเส้นอาณาเขตทางบกและทางทะเล
การขีดเส้นดังกล่าว ยึดหลักเขตที่ 73 บ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ลากเส้นไปยังละติจูด 101 ลิปดา 20 ลิปดา เหนือ ลองจิจูด 11 ลิปดา 32 ลิปดาตะวันออก และลากยาวผ่านไปยังภูเขาที่สูงที่สุดของ อ.เกาะกูด และยังลากไปยังเส้นลองจิจูด 101 ลิปดา 13 ลิปดาเหนือ และละติจูด 10 ลิปดา 59 ลิปดาตะวันออก
และลากไปชนกับเส้นเขตเศรษฐกิจพิเศษ 120 ไมล์ทะเลที่มากกว่า 150,000 ตารางกิโลเมตร โดยกัมพูชาระบุว่า เส้นนี้เป็นที่ยึดตามข้อตกลงในปี 1972 หรือ พ.ศ.2515 และแผนที่ดังกล่าวเป็นแผนที่ที่กัมพูชาใช้เป็นพื้นที่อาณาเขตมาตลอดระยะเวลา 30 ปี
อดีตกำนัน ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด กล่าวว่า การขีดเส้นแดนของกัมพูชาในแผนที่เป็นการขีดขึ้นเองแต่ฝ่ายเดียว เพราะหลักเขตที่ 73 ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านหาดเล็ก เป็นจุดเล็งของพื้นที่อาณาเขตของ 2 ประเทศ แต่การเล็งต้องมีหลักเขตที่ 72 เป็นหลักอ้างอิงด้วย แต่ปัจจุบันยังไม่รู้ว่าหลักเขตที่ 72 อยู่บริเวณไหน แต่ยืนยันว่าเกาะกูดเป็นของไทย 100% ทุกวันนี้ อ.เกาะกูดมีชาวตราดอาศัยอยู่ ทำประโยชน์ในที่ดินอยู่มานาน และไม่เคยมีใครเห็นหลักเขตที่ 74 ในเกาะกูดด้วย
ก่อนหน้านี้ กระทรวงการต่างประเทศนำโดยรองปลัดกระทรวงต่างประเทศ และรองอธิบดีกรมสารสนเทศ ได้เดินทางเข้ามาชี้แจงสื่อมวลชนท้องถิ่น และได้ยืนยันว่า อ.เกาะกูด เป็นของไทย เพราะมีสนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสิเดนต์แห่งริปับลิ กฝรั่งเสศ 23 มีนาคม ร.ศ.125 พ.ศ.2449/50 (ค.ศ.1907) ข้อ 2 ว่า
“รัฐบาล ฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายแลเมืองตราษกับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยามตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว”
เมื่อ ฝรั่งเศสได้ทำสัญญาระบุว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของไทยแล้ว ข้อมูลดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาประกาศในราชกิจจานุเบกษาของไทย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ร.ศ.125 (ค.ศ.1907) โดยระบุว่า”รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราดกับทั้งเกาะ ทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม”
กรม อุทกศาสตร์ได้สร้างกระโจมไฟบนเกาะกูดเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินเรือ และกระโจมไฟดังกล่าวก็อยู่ในเขตพื้นที่ที่ทหารเรือไทยดูแล จึงเป็นสิ่งแสดงชัดเจนว่าไทยถือครองกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินเกาะกูดตลอดมา และกัมพูชาก็ไม่เคยอ้างสิทธิใด ๆ”
ปัญหามันมาจาก ตรงนี้ การอ้างแผนที่1-200000ครม.ของเขมรน้นเองซึ่งทำขึ้นในปี1907 แล้วมีการลงนามปัญทึกข้อตกลงในปี44
นี้คือจุดเริ่มต้นของปัญหา และมีบางคนไปต่อรองผลประโยชน์แห่งตน เอง
ผลประโยชน์ของไทย กับ "MoU 2543"
ปัญหา สืบเนื่องมาจากการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ปรากฏว่า ภาคประชาสังคมในประเทศไทยได้เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MoU) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและการจัดทำหลักเขตแดนทางบก ลงนาม ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา วันที่ 14 มิถุนายน 2543
เนื่องจากมองว่า บันทึกความเข้าใจดังกล่าว จะเป็นตัวผูกมัดประเทศไทยให้ต้องยอมรับแผนที่อัตราส่วน 1 : 200,000 ของฝ่ายกัมพูชา อันจะทำให้ไทยสูญเสียดินแดนไปให้ฝ่ายกัมพูชา มากกว่า 1 ล้านไร่
1) บันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก วันที่ 14 มิถุนายน 2543 หรือ "MoU 2543" ลงนามโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ และ นายวาร์ คิม ฮง ตัวแทนรัฐบาลกัมพูชา
ฝ่ายไทยและกัมพูชา ตกลงกันไว้ว่า วิธีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนจะดำเนินการในแนวทางตามเอกสารสำคัญ คือ
(1) อนุสัญญาระหว่างกรุงสยามและฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904
(2) สนธิสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม และประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907
(3) แผนที่ทั้งหลาย(Maps) ซึ่งเป็นผลของการปักปันเขตแดน โดยคณะกรรมาธิการร่วมอินโดจีน-สยาม ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามหนังสือสัญญาทั้งสองข้างต้น
2) สิ่งที่ฝ่ายไทยสามารถจะยืนยัน หรือควรจะต้องยืนยันแน่นหนักต่อไป คือ บรรดาแผนที่ทั้งหลาย ขณะนี้ ยังไม่มีแผนที่เขตแดนไทย-กัมพูชา ฉบับใดได้รับการตกลงรับรองอย่างเป็นทางการร่วมกันทั้งสองฝ่าย
และยังไม่มีแผนที่ใดเป็นผลงานสำเร็จของการดำเนินการตาม MoU 2543 เลยแม้แต่น้อย
หาก ฝ่ายกัมพูชาจะอ้างว่า ใน MoU 2543 ระบุให้เข้าใจไปถึงแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 ก็ไม่อาจจะตีความเกินเลยไปถึงว่าให้ยึดถือตามแผนที่ดังกล่าวเป็นที่สุด เพราะถ้าตีความอย่างนั้น แล้วจะให้มีคณะกรรมการดำเนินการร่วมกันไปทำไมเล่า
นอก จากนี้ แม้แต่แผนที่อัตราส่วน 1:200,000 ที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างอิง นำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ด้วยนั้น ก็จัดทำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามอนุสัญญาระหว่างกรุงสยามและฝรั่งเศส 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904
หากแต่เกิดขึ้นโดยการเดินสำรวจของฝรั่งเศสฝ่ายเดียว (คนของฝรั่งเศส ชื่อ พ.อ.แบร์นาร์ด เป็นผู้จัดทำ โดยมีผู้ช่วยเป็นทหารเขมร)
ยิ่ง กว่านั้น การจัดทำแผนที่ดังกล่าว ยังขัดแย้งต่อหลักสำคัญของอนุสัญญาระหว่างกรุงสยามและฝรั่งเศส ค.ศ.1904 ที่ให้ยึดถึอแนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดน และหากยึดตามแนวสันปันน้ำ ก็จะเห็นว่า ปราสาทพระวิหารทั้งหมดอยู่ในเขตแดนของไทยด้วยซ้ำไป
3) เมื่อแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 จัดทำขึ้นมาโดยไม่ถูกต้องตามสนธิสัญญาฉบับแม่ด้วยซ้ำ
แถมคำพิพากษาของศาลโลก ก็ไม่ได้ให้การยอมรับแผนที่ฉบับนี้เอาไว้เลยด้วย
รัฐบาล และประชาชนคนไทย จึงพึงแสดงออกถึงจุดยืนเดียวกันอย่างแน่นหนัก คือ แผนที่ฉบับนั้น มีค่าไม่ต่างจากแผนผังในหนังสือนวนิยายของกัมพูชา
4) ฝ่ายไทยเราควรกล่าวอ้างขึงขังเสียด้วยว่า การที่ฝ่ายกัมพูชามาลงนาม "MoU 2543" นั้น ก็เป็นการยอมรับอยู่ในตัวเองว่า เขตแดนไทย-กัมพูชา ยังไม่มีข้อยุติเป็นที่สุดตามแผนที่ฉบับใดๆ ทั้งสิ้น จึงต้องมาดำเนินการปักปันเขตแดนร่วมกันนั่นเอง
อันนี้ ถึงจะไม่ใช่หลัก "กฎหมายปิดปาก" แต่ก็อาจจะเป็นหลัก "กรรมชี้เจตนา"
5) ใน "MoU 2543" ระบุแนวทางการปักปันเขตแดนร่วมกันเอาไว้ด้วยว่า "ฝ่ายไทยและกัมพูชาจะดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Commission: JBC) เพื่อรับผิดชอบการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน" และ "ทั้งสองฝ่ายตกลงว่า ในขณะที่กำลังสำรวจเขตแดน จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ในสภาพแวดล้อมของบริเวณพื้นที่เขตแดน"
ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นับตั้งแต่มีการทำข้อตกลงดังกล่าว ขณะกำลังดำเนินการสำรวจและการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทยกัมพูชายังไม่แล้ว เสร็จ ฝ่ายกัมพูชามิได้ทำตามคำมั่นสัญญา มีการละเมิดข้อตกลงหลายครั้ง โดยเข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่บริเวณเขตแดนที่มีการอ้างสิทธิอธิปไตยทับ ซ้อนกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็น การปลูกสร้างที่พัก บ้านเรือน ตัดต้นไม้ เคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ ฯลฯ
ที่ผ่านมา ฝ่ายไทยยื่นหนังสือประท้วงฝ่ายกัมพูชาไปแล้วกว่า 50 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น กรณีตลาดค้าขายบริเวณทางขึ้นประสาทพระวิหาร กรณีขนย้ายเครื่องจักรก่อสร้างถนนเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อน กรณีการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จากหมู่บ้านโกมุย อ.เขาพระวิหาร จ.เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ยาวกว่า 60 กิโลเมตร เพื่อขึ้นมาสู่พื้นที่ทับซ้อน ฯลฯ
ฝ่ายไทยย่อมสามารถกล่าวอ้างได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า เรามิได้ไปรุกราน กลั่นแกล้ง เอารัดเอาเปรียบ หรือคดโกงประเทศเพื่อนบ้านเลย
ตรง กันข้าม เพื่อนบ้านที่เราให้ความเคารพ และหวังจะอยู่ร่วมกันโดยสันติสุขสืบไป กลับมิได้ให้ความสำคัญกับการรักษาคำมั่นสัญญาที่มีต่อกัน
6) ท่าทีล่าสุดของรัฐบาลไทย มีมติคัดค้านแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารที่กัมพูชานำเสนอต่อ คณะกรรมการมรดกโลก และถ้าที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกมีการโหวต หรือมีแนวโน้มว่าจะรับแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารตามที่ฝ่าย กัมพูชาเสนอ ก็มอบหมายให้ตัวแทนรัฐบาลไทยแสดงท่าทีคัดค้านอย่างเด็ดขาด และให้ประท้วงโดยออกจากห้องประชุม
การแสดงท่าทีข้างต้น เป็นเรื่องจำเป็น แต่อาจจะไม่เพียงพอ!
ควร จะต้องสื่อให้ประชาคมโลกเข้าใจแจ่มชัดว่า ไม่ใช่ฝ่ายไทยที่ละเมิดข้อตกลง "MoU 2543" - ละเมิดดินแดน - ละเมิดสิทธิของประเทศเพื่อนบ้าน
และไม่ ว่าคณะกรรมการมรดกโลกจะตัดสินใจอย่างไร ประเทศไทยก็จำต้องยืนยันสิทธิอันถูกต้องชอบธรรม และอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างถึงที่สุด
ในการ นี้ คนไทยทั้งผอง ทุกฝ่ายในสังคม จะต้องแสดงท่าทีแข็งขัน ประสานเสียงไปในทิศทางเดียวกัน ประกาศจุดยืนร่วมกันอย่างเหนียวแน่น ดังที่ภาคประชาสังคมไทย อาทิ กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ไปประท้วงที่สำนักงานยูเนสโกนั้น ถูกต้องแล้ว
ตรงกันข้าม ชาติอาจล่มจม ถ้าคนไทยทุกคนมีพฤติกรรมเหมือนนักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน ที่ออกมาโวยวายให้เอาผิดคนไทยที่ไปประท้วงยูเนสโก เพราะในสถานการณ์เช่นนี้ แทนที่จะร่วมกันรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน กลับจ้องหาช่องทางเล่นเกมการเมืองโดยไม่ดูกาละเทศะ
udon108.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น