โดย Annie Handicraft เมื่อ 14 กันยายน 2011 เวลา 18:55 น.
ตอนที่ 1
จาก การศึกษาเรื่อง MOU 43 และ MOU 44 โดยละเอียดกับทั้งหนังสือต้นร่างที่มีการประชุมตกลงกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เราอาจมองเห็นภาพความต่อเนื่องกันของการทำ MOU 43 และ MOU 44 โดยที่ MOU ทั้งสองฉบับนี้ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) กับไม่ใส่ใจที่จะนำเรื่องนี้ไปผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาตามที่ตราไว้ในบท บัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช 2540 ผมจึงถือว่า MOU ดังกล่าว เป็น MOU เถื่อนทั้ง 2 ฉบับ
แต่อย่างไรก็ดี MOU ต่างถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมืองทั้งสองประเทศไม่ว่าจะเป็นไทยหรือกัมพูชา มากกว่าที่จะคิดถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม
MOU 43 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำเขตแดนทางบก ส่วน MOU 44 เป็นเรื่องการแบ่งพื้นที่ทะเลและมีส่วนเกี่ยวเนื่องกัน เพราะโดยหลักการแล้วต้องจัดการกับเขตแดนทางบกให้จบเสียก่อน ก่อนที่จะจัดการผลประโยชน์ในพื้นที่ทะเล อย่างไรก็ดี การจัดทำ MOU ทั้งสองฉบับมีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้ทางฝ่ายกัมพูชาแทบทั้งสิ้น
MOU (Memorandum of Understanding) หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “บันทึกความเข้าใจ” ฉบับที่จะกล่าวถึงก่อนได้แก่
1. MOU 43 “บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร กัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก” ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ระหว่างม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และนายวาร์ คิม ฮง ภายใต้รัฐบาลนายชวน หลีกภัย หนังสือต้นร่างที่ระบุถึงเรื่องนี้ได้แก่
หนังสือลงวันที่ 9 มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นรายงานผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาอันเป็นที่ มาของการจัดทำ MOU 43 โดยสาระสำคัญในเนื้อหาของหนังสือฉบับนี้ก็คือ
1. เป็นการนำเสนอนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร) ให้อนุมัติเพื่อดำเนินการจัดทำ MOU
2. เป็นการรายงานผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาครั้งที่ 2 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 5-7 มิถุนายน 2543
3. เป็นการไปหยิบเอาแผนที่เก๊ 11 ระวาง ที่อ้างว่าจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามอินโดจีน (เมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา) มาเป็นเอกสารที่ผูกพันไทยกับกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
4. เป็นจุดเริ่มต้นของ TOR 46 ที่เน้นย้ำแผนที่เก๊ทั้ง 11 ระวางว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก อันเป็นผลทำให้กัมพูชาเข้ายึดครองพื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหารและแนว ชายแดนไทย-กัมพูชาโดยรัฐบาลและทหารไทยนิ่งเฉย
5. เป็นที่มาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาและคณะอนุกรรมาธิการเทคนิค ร่วม ที่มีหน้าที่เป็นผู้กำหนด TOR (ซึ่งเป็นที่มาของ TOR 46 ซึ่งทำเสร็จสิ้นไปตั้งแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) และทำการพิสูจน์หลักเขตแดนรวมถึงการกำหนดเขตแดนร่วมกันกับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งในปัจจุบันนี้มีผลงานที่มีปัญหาคือ รายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) 3 ฉบับที่ยังไม่ผ่านที่ประชุมของรัฐสภา
จาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000112961
อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม
ตอนที่ 2
เป็น ที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าทั้ง MOU43 และMOU44 ไม่ได้ผ่านขบวนการเห็นชอบจากรัฐสภาแต่เป็นอำนาจเผด็จการทั้งรัฐบาลนายชวน หลีกภัยและรัฐบาลของดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ดอดไปทำ MOU กับรัฐบาลสมเด็จฮุนเซน ซึ่งเป็นการขัดกับหลักนิติรัฐและนิติธรรมอย่างไม่เป็นที่สงสัย (และถ้ารัฐบาลปัจจุบันจะเถียงว่าไม่จริงก็ขอให้นำMOU ทั้ง 2 ฉบับนี้เข้าสู่ขบวนการตีความโดยศาลรัฐธรรมนูญ)
ปัญหา สำคัญคือ MOU43และMOU44 มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะในวันที่ทำMOU44 นั้น ได้มีการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมเพิ่มเติมไปด้วยว่า เมื่อจัดทำหลักเขตแดนทางบก(MOU43) เสร็จเรียบร้อยแล้วจึงจะหันมาพิจารณาพื้นที่ที่เรียกว่าเขตทับซ้อนทางทะเล อันเป็นเนื้อหาของ MOU44 ล้วนๆ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่าการไปยอมรับสิ่งที่เขมรได้กระทำไปนั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องขาดหลักความยุติธรรม
MOU44 แม้จะมีวัตถุประสงค์ที่ดีแต่ผิดหลักการในการทำ MOUและการไปยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดที่เขมรได้ทำขึ้น ข้อสังเกตก็คือ การประกาศเขตพื้นที่ของเขมรได้ประกาศขอบเขตเส้นไหล่ทวีปเมื่อปี 2515 ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่า
ก.จุดเริ่มต้นของเส้นไหล่ทวีปยังไม่มีค่าพิกัดที่แน่นอน
ข.เส้นไหล่ทวีปที่ลากผ่านเกาะกูดของไทยไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ
ค.เส้นไหล่ทวีปในแนวเหนือ-ใต้กำหนดจากเกาะของฝ่ายกัมพูชา โดยไม่คำนึงถึงเกาะของฝ่ายไทย
การ ไปทำMOU44 คือการที่ไปยอมรับเส้นที่เขมรสร้างขึ้นตามพิกัดบริเวณอ่าวไทยซึ่งส่วนใหญ่ แล้วเป็นของไทย แต่ MOU44 ไปสร้างหลักการแบ่งตามที่เขมรอ้างสิทธิ์
สำหรับประเทศไทยเราแล้ว เราก็ได้ประกาศเส้นไหล่ทวีปบริเวณอ่าวไทยในปี พ.ศ.2516 เหมือนกันและมีหลักการแบ่งที่ถูกต้องตามหลักสากลดังนี้
ก.จุดเริ่มของเส้นไหล่ทวีปยังมีค่าพิกัดไม่แน่นอนเช่นกัน
ข.เส้นช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของกัมพูชา
ค.ส่วนที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับเขมรโดยใช้หลักการของเส้นมัธยะ (Equidistance line)ตามหลักสากล
ดังนั้นหากเราพิจารณาสถานะภาพของ MOU 44 แล้ว จะพบว่า
๑.เป็นMOU เถื่อน เพราะไม่ผ่านขั้นตอนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ถือว่าเป็นโมฆะ
๒. เป็น MOU เถื่อนที่ไปยอมรับความผิดพลาดของเขมร
๓. ถ้าไม่ยกเลิก MOU ฉบับนี้แสดงว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลย่อมรู้เห็นเป็นใจต่อการกระทำที่ฉ้อฉล และมุ่งผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง สมควรที่จะมีการทบทวนและยกเลิก
ผม คิดว่าโดยหลักการแล้ว MOU43 และ MOU44 เป็น MOU เถื่อน และเป็น MOUที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักนิติธรรมและนิติรัฐ อีกทั้งยังขัดแย้งต่ออนุสัญญา ปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1907 กับขัดต่อกฏหมายทางทะเล ซึ่งเป็นหลักกฏหมายสากลโดยทั่วไป
จากhttps://www.facebook.com/notes/thepmontri-limpaphayom/mou43-และ-mou44-จุดเริ่มต้นและการยอมรับ-2-แก้ไขใหม่/258325587534494
ไทยไปยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดของเขมร ใน MOU44 (ขอบคุณภาพจาก อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม)
จิต กร บุษบา...นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนมีความตั้งใจที่จะลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกับพื้นที่อื่นๆ ด้วย ภายในเดือนตุลาคมนี้ // ลงพื้นที่ชายแดนด้านปราสาทพระวิหารกับชายแดนด้านปราสาทตาเมือนธมด้วยนะ อย่าพลิ้ว!! อ.เทพมนตรี ิมปพยอม
จาก การศึกษาเรื่อง MOU 43 และ MOU 44 โดยละเอียดกับทั้งหนังสือต้นร่างที่มีการประชุมตกลงกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เราอาจมองเห็นภาพความต่อเนื่องกันของการทำ MOU 43 และ MOU 44 โดยที่ MOU ทั้งสองฉบับนี้ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) กับไม่ใส่ใจที่จะนำเรื่องนี้ไปผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาตามที่ตราไว้ในบท บัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช 2540 ผมจึงถือว่า MOU ดังกล่าว เป็น MOU เถื่อนทั้ง 2 ฉบับ
แต่อย่างไรก็ดี MOU ต่างถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมืองทั้งสองประเทศไม่ว่าจะเป็นไทยหรือกัมพูชา มากกว่าที่จะคิดถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม
MOU 43 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำเขตแดนทางบก ส่วน MOU 44 เป็นเรื่องการแบ่งพื้นที่ทะเลและมีส่วนเกี่ยวเนื่องกัน เพราะโดยหลักการแล้วต้องจัดการกับเขตแดนทางบกให้จบเสียก่อน ก่อนที่จะจัดการผลประโยชน์ในพื้นที่ทะเล อย่างไรก็ดี การจัดทำ MOU ทั้งสองฉบับมีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้ทางฝ่ายกัมพูชาแทบทั้งสิ้น
MOU (Memorandum of Understanding) หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “บันทึกความเข้าใจ” ฉบับที่จะกล่าวถึงก่อนได้แก่
1. MOU 43 “บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร กัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก” ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ระหว่างม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และนายวาร์ คิม ฮง ภายใต้รัฐบาลนายชวน หลีกภัย หนังสือต้นร่างที่ระบุถึงเรื่องนี้ได้แก่
หนังสือลงวันที่ 9 มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นรายงานผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาอันเป็นที่ มาของการจัดทำ MOU 43 โดยสาระสำคัญในเนื้อหาของหนังสือฉบับนี้ก็คือ
1. เป็นการนำเสนอนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร) ให้อนุมัติเพื่อดำเนินการจัดทำ MOU
2. เป็นการรายงานผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาครั้งที่ 2 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 5-7 มิถุนายน 2543
3. เป็นการไปหยิบเอาแผนที่เก๊ 11 ระวาง ที่อ้างว่าจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามอินโดจีน (เมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา) มาเป็นเอกสารที่ผูกพันไทยกับกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
4. เป็นจุดเริ่มต้นของ TOR 46 ที่เน้นย้ำแผนที่เก๊ทั้ง 11 ระวางว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก อันเป็นผลทำให้กัมพูชาเข้ายึดครองพื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหารและแนว ชายแดนไทย-กัมพูชาโดยรัฐบาลและทหารไทยนิ่งเฉย
5. เป็นที่มาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาและคณะอนุกรรมาธิการเทคนิค ร่วม ที่มีหน้าที่เป็นผู้กำหนด TOR (ซึ่งเป็นที่มาของ TOR 46 ซึ่งทำเสร็จสิ้นไปตั้งแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) และทำการพิสูจน์หลักเขตแดนรวมถึงการกำหนดเขตแดนร่วมกันกับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งในปัจจุบันนี้มีผลงานที่มีปัญหาคือ รายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) 3 ฉบับที่ยังไม่ผ่านที่ประชุมของรัฐสภา
จาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000112961
อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม
ตอนที่ 2
เป็น ที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าทั้ง MOU43 และMOU44 ไม่ได้ผ่านขบวนการเห็นชอบจากรัฐสภาแต่เป็นอำนาจเผด็จการทั้งรัฐบาลนายชวน หลีกภัยและรัฐบาลของดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ดอดไปทำ MOU กับรัฐบาลสมเด็จฮุนเซน ซึ่งเป็นการขัดกับหลักนิติรัฐและนิติธรรมอย่างไม่เป็นที่สงสัย (และถ้ารัฐบาลปัจจุบันจะเถียงว่าไม่จริงก็ขอให้นำMOU ทั้ง 2 ฉบับนี้เข้าสู่ขบวนการตีความโดยศาลรัฐธรรมนูญ)
ปัญหา สำคัญคือ MOU43และMOU44 มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะในวันที่ทำMOU44 นั้น ได้มีการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมเพิ่มเติมไปด้วยว่า เมื่อจัดทำหลักเขตแดนทางบก(MOU43) เสร็จเรียบร้อยแล้วจึงจะหันมาพิจารณาพื้นที่ที่เรียกว่าเขตทับซ้อนทางทะเล อันเป็นเนื้อหาของ MOU44 ล้วนๆ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่าการไปยอมรับสิ่งที่เขมรได้กระทำไปนั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องขาดหลักความยุติธรรม
MOU44 แม้จะมีวัตถุประสงค์ที่ดีแต่ผิดหลักการในการทำ MOUและการไปยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดที่เขมรได้ทำขึ้น ข้อสังเกตก็คือ การประกาศเขตพื้นที่ของเขมรได้ประกาศขอบเขตเส้นไหล่ทวีปเมื่อปี 2515 ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่า
ก.จุดเริ่มต้นของเส้นไหล่ทวีปยังไม่มีค่าพิกัดที่แน่นอน
ข.เส้นไหล่ทวีปที่ลากผ่านเกาะกูดของไทยไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ
ค.เส้นไหล่ทวีปในแนวเหนือ-ใต้กำหนดจากเกาะของฝ่ายกัมพูชา โดยไม่คำนึงถึงเกาะของฝ่ายไทย
การ ไปทำMOU44 คือการที่ไปยอมรับเส้นที่เขมรสร้างขึ้นตามพิกัดบริเวณอ่าวไทยซึ่งส่วนใหญ่ แล้วเป็นของไทย แต่ MOU44 ไปสร้างหลักการแบ่งตามที่เขมรอ้างสิทธิ์
สำหรับประเทศไทยเราแล้ว เราก็ได้ประกาศเส้นไหล่ทวีปบริเวณอ่าวไทยในปี พ.ศ.2516 เหมือนกันและมีหลักการแบ่งที่ถูกต้องตามหลักสากลดังนี้
ก.จุดเริ่มของเส้นไหล่ทวีปยังมีค่าพิกัดไม่แน่นอนเช่นกัน
ข.เส้นช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของกัมพูชา
ค.ส่วนที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับเขมรโดยใช้หลักการของเส้นมัธยะ (Equidistance line)ตามหลักสากล
ดังนั้นหากเราพิจารณาสถานะภาพของ MOU 44 แล้ว จะพบว่า
๑.เป็นMOU เถื่อน เพราะไม่ผ่านขั้นตอนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ถือว่าเป็นโมฆะ
๒. เป็น MOU เถื่อนที่ไปยอมรับความผิดพลาดของเขมร
๓. ถ้าไม่ยกเลิก MOU ฉบับนี้แสดงว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลย่อมรู้เห็นเป็นใจต่อการกระทำที่ฉ้อฉล และมุ่งผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง สมควรที่จะมีการทบทวนและยกเลิก
ผม คิดว่าโดยหลักการแล้ว MOU43 และ MOU44 เป็น MOU เถื่อน และเป็น MOUที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักนิติธรรมและนิติรัฐ อีกทั้งยังขัดแย้งต่ออนุสัญญา ปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1907 กับขัดต่อกฏหมายทางทะเล ซึ่งเป็นหลักกฏหมายสากลโดยทั่วไป
จากhttps://www.facebook.com/notes/thepmontri-limpaphayom/mou43-และ-mou44-จุดเริ่มต้นและการยอมรับ-2-แก้ไขใหม่/258325587534494
ไทยไปยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดของเขมร ใน MOU44 (ขอบคุณภาพจาก อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม)
จิต กร บุษบา...นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนมีความตั้งใจที่จะลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกับพื้นที่อื่นๆ ด้วย ภายในเดือนตุลาคมนี้ // ลงพื้นที่ชายแดนด้านปราสาทพระวิหารกับชายแดนด้านปราสาทตาเมือนธมด้วยนะ อย่าพลิ้ว!! อ.เทพมนตรี ิมปพยอม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น