วงเสวนาระบุ นักการเมืองต้นเหตุการโกง ครอบงำ ขรก.จับตาโครงการจัดจ้างพิเศษช่องโหว่ทุจริตง่าย ยอดไถใต้โต๊ะพุ่ง 50% แต่ยอมรับจับตัวได้ยาก เพราะใช้วิธีสั่งปากเปล่า ด้านศาลปกครอง แนะ ขรก.ใช้วิธีย้อนคำสั่งกลับเป็นลายลักษณ์อักษรแก้ลำ...
น.ส.สมทรง สัจจาภิมุข กรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชันแห่งประเทศไทย เปิดเผยในงาน “เสวนาจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ” จัดโดยกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้มีการพบข้อมูลว่าอัตราการเรียกรับสินบนของนักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐเพิ่มขึ้นมากกว่าหลายปีที่ผ่านมา และบางโครงการมีการเรียกรับสูงถึง 50% ของวงเงินงบประมาณ ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าเกิดขึ้นในโครงการที่มีการประมูลจัดซื้อจัดจ้างแบบวิธีพิเศษ เพราะไม่สามารถเข้าถึงการตรวจสอบเอกสาร และตัวบุคคลได้ อีกทั้งยังสืบหาผู้บงการได้ลำบาก เพราะส่วนใหญ่เป็นการสั่งด้วยปากเปล่า
อย่างไรก็ตาม ภาพลักษณ์ข้าราชการไทยเกี่ยวกับการคอรัปชันถือว่าดีขึ้นจากอดีต เพราะหลายหน่วยงานได้รณรงค์ปลูกฝังจริยธรรมในการทำงานมากขึ้น แต่ยังไม่สามารถกำจัดการคอรัปชันออกไปได้หมด เพราะการทำงานยังมีความเกี่ยวข้องกับนักการเมือง ซึ่งบางกลุ่มยังคงขาดจริยธรรม และเป็นต้นเหตุให้ข้าราชการต้องปฏิบัติงานแบบขาดจริยธรรม ไม่เช่นนั้นจะมีผลต่อการทำงาน
ด้านนางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า กรมฯ ได้จัดงานครั้งนี้เพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเน้นย้ำการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ การปลูกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักรู้ การพัฒนาองค์กร การตรวจสอบและเฝ้าระวังเชิงรุก และการปราบปรามที่จริงจังและการลงโทษที่เข้มงวด ซึ่งจะทำให้ภาพลักษณ์คอรัปชันของประเทศไทยดีขึ้นและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
นายเจตน์ สถาวรศีลพร ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากฎหมายมหาชนและปฏิบัติหน้าที่สำนักประธานศาลปกครองสูงสุด สำนักงานศาลปกครอง กล่าวว่า วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นในกรณีที่ข้าราชการประจำชั้นผู้น้อยถูกนักการเมืองสั่งงานที่อาจเป็นช่องให้เกิดการทุจริตคอรัปชันได้นั้น ให้ใช้วิธีการย้อนคำสั่งกลับเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจะได้มีหลักฐานพยานยืนยันการกระทำผิดของนักการเมืองผู้นั้น และยังเป็นหลักฐานในการป้องกันความผิดของตัวเองด้วย
นายรักษ์เกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ต้นเหตุที่เกิดการโกง และคอรัปชันในไทย เนื่องจากสังคมเป็นบริโภคนิยม และเป็นสังคมอุปถัมภ์มากจนเกินไป ทำให้เกิดมีผลประโยชน์ทับซ้อนกัน ซึ่งการแก้ไขจะต้องเร่งสร้างค่านิยม และปลูกฝังจิตสำนึกตั้งแต่ระดับเยาวชน ตลอดจนภาครัฐต้องออกกฎระเบียบในการตรวจสอบ และเอาผิดให้ชัดเจน เช่น สิงคโปร์ ที่มีการตรวจสอบทรัพย์สินก่อนเข้ารับตำแหน่ง ตั้งแต่ข้าราชการระดับชั้นผู้ใหญ่ ไปจนถึงนักการเมือง ซึ่งเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดการฉ้อราษฎร์บังหลวงลงได้.
ไทยรัฐ
วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ข้อสรุปการประชุมคณะทำงานร่วมไทย-เขมร ๘ ข้อ มอบภารกิจ TMAC และ CMAC
ฟิฟทีนมูฟ — สำนักนายกฯ เขมร ออกเผยข้อสรุปการประชุมคณะทำงานร่วมไทย-เขมร ๘ ข้อ มอบภารกิจ TMAC และ CMAC ร่วมเก็บกู้ทุ่นระเบิดในจุด A B C และ D นัดถกครั้งแรกปลาย ก.ค. กำหนดถอนทหารใน ๓๐ วัน หลังเก็บกู้ระเบิดเสร็จ
สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชาออกเอกสารแถลงผลการประชุมคณะทำงานร่วม ไทย-กัมพูชา หรือ JWG ครั้งที่ ๒ ที่ตึกวิมานสันติภาพ สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในกรุงพนมเปญ ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยมีรายละเอียดดังนี้
๑. การประชุมครั้งที่ ๒ ของคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา (JWG-2) ได้จัดขึ้นระหว่าง ๒๖-๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ ที่กรุงพนมเปญ ด้วยบรรยากาศแห่งมิตรภาพ และอยู่บนเป้าหมายของความเสมอภาค เท่าเทียม และผลประโยชน์ระหว่างสองประเทศ ๒. ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันความตั้งใจอีกครั้งในการที่จะปฏิบัติตามมาตรการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
๓. คณะทำงานร่วมสองฝ่ายได้กำลังพยายามผลักดันความร่วมมือในทุกด้าน ซึ่งรวมถึงสันติภาพที่ยั่งยืนตามแนวชายแดน โดยเฉพาะพื้นที่ปลอดทหารที่กำหนดโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เกี่ยวกับมาตรการชั่วคราว ๔. ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันอีกครั้งถึงความตั้งใจที่จะรักษาและสร้างความรู้สึกดีต่อกันที่ยั่งยืนระหว่างประชาชนสองประเทศ และสกัดกั้นกิจกรรมทางลบที่อาจส่งผลกระทบต่อเขตปลอดทหาร
เอกสารแถลงข่าวสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ถึงผลการประชุมคณะทไงานร่วม ไทย- กัมพูชา ครั้งที่ ๒ กรุงพนมเปญ
๕. สองฝ่ายมอบภารกิจให้ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ของไทย และศูนย์กำจัดทุ่นระเบิด (CMAC) ของกัมพูชา ประชุมหารือในสัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ ที่กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับแผนการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วมกัน เพื่อความปลอดภัยของคณะผู้สังเกตการณ์ร่วม (JOT) และสะดวกต่อขั้นตอนการปรับกำลังทหาร
๖. การปรับกำลังทหารจะต้องปฏิบัติภายในเวลา ๓๐ วัน ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้เห็นชอบร่วมกันภายหลังการตรวจสอบของผู้สังเกตการณ์ร่วมหลังการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเสร็จสิ้นแล้ว ในจุด A B C D ของเขตปลอดทหารที่กำหนดโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ของไทย และศูนย์กำจัดทุ่นระเบิด (CMAC) ของกัมพูชา
๗. ทั้งสองฝ่ายรับทราบความก้าวหน้าในการทำงานของคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา และยินดีต่อผลการประชุมนี้ ๘. การประชุมคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งถัดจะจัดที่พระราชอาณาจักรไทยในโอกาสอันเหมาะสม
เอกสารแถลงข่าวฉบับดังกล่าวระบุว่า ผู้เข้าร่วมการประชุมฝ่ายกัมพูชา ประกอบด้วย พล.อ.เนียง พาต เลขาธิการกระทรวงกลาโหม ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายกัมพูชา ตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการชายแดน ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย คณะผู้บริหารจังหวัดพระวิหาร ผู้บัญชาการภูมิภาค ผู้บัญชาการกองพล และตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายไทยนำโดย พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร เสนาธิการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายไทย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม (อดีตเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร) พล.ท. วรวิทย์ ดรุณชู เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และคณะทำงานด้านเทคนิค
Short link: http://15th.me/Lkq1kT
สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชาออกเอกสารแถลงผลการประชุมคณะทำงานร่วม ไทย-กัมพูชา หรือ JWG ครั้งที่ ๒ ที่ตึกวิมานสันติภาพ สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในกรุงพนมเปญ ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยมีรายละเอียดดังนี้
๑. การประชุมครั้งที่ ๒ ของคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา (JWG-2) ได้จัดขึ้นระหว่าง ๒๖-๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ ที่กรุงพนมเปญ ด้วยบรรยากาศแห่งมิตรภาพ และอยู่บนเป้าหมายของความเสมอภาค เท่าเทียม และผลประโยชน์ระหว่างสองประเทศ ๒. ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันความตั้งใจอีกครั้งในการที่จะปฏิบัติตามมาตรการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
๓. คณะทำงานร่วมสองฝ่ายได้กำลังพยายามผลักดันความร่วมมือในทุกด้าน ซึ่งรวมถึงสันติภาพที่ยั่งยืนตามแนวชายแดน โดยเฉพาะพื้นที่ปลอดทหารที่กำหนดโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เกี่ยวกับมาตรการชั่วคราว ๔. ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันอีกครั้งถึงความตั้งใจที่จะรักษาและสร้างความรู้สึกดีต่อกันที่ยั่งยืนระหว่างประชาชนสองประเทศ และสกัดกั้นกิจกรรมทางลบที่อาจส่งผลกระทบต่อเขตปลอดทหาร
เอกสารแถลงข่าวสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ถึงผลการประชุมคณะทไงานร่วม ไทย- กัมพูชา ครั้งที่ ๒ กรุงพนมเปญ
๕. สองฝ่ายมอบภารกิจให้ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ของไทย และศูนย์กำจัดทุ่นระเบิด (CMAC) ของกัมพูชา ประชุมหารือในสัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ ที่กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับแผนการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วมกัน เพื่อความปลอดภัยของคณะผู้สังเกตการณ์ร่วม (JOT) และสะดวกต่อขั้นตอนการปรับกำลังทหาร
๖. การปรับกำลังทหารจะต้องปฏิบัติภายในเวลา ๓๐ วัน ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้เห็นชอบร่วมกันภายหลังการตรวจสอบของผู้สังเกตการณ์ร่วมหลังการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเสร็จสิ้นแล้ว ในจุด A B C D ของเขตปลอดทหารที่กำหนดโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ของไทย และศูนย์กำจัดทุ่นระเบิด (CMAC) ของกัมพูชา
๗. ทั้งสองฝ่ายรับทราบความก้าวหน้าในการทำงานของคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา และยินดีต่อผลการประชุมนี้ ๘. การประชุมคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งถัดจะจัดที่พระราชอาณาจักรไทยในโอกาสอันเหมาะสม
เอกสารแถลงข่าวฉบับดังกล่าวระบุว่า ผู้เข้าร่วมการประชุมฝ่ายกัมพูชา ประกอบด้วย พล.อ.เนียง พาต เลขาธิการกระทรวงกลาโหม ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายกัมพูชา ตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการชายแดน ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย คณะผู้บริหารจังหวัดพระวิหาร ผู้บัญชาการภูมิภาค ผู้บัญชาการกองพล และตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายไทยนำโดย พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร เสนาธิการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายไทย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม (อดีตเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร) พล.ท. วรวิทย์ ดรุณชู เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และคณะทำงานด้านเทคนิค
Short link: http://15th.me/Lkq1kT
วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555
เอกสารด่วนที่สุดของสำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน ถึง(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เมื่อ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓
Thepmontri Limpaphayom คำอธิบาย: เอกสารด่วนที่สุดของสำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ ผผ ๐๗/๕๘ มีไปถึงนายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ มีทั้งหมด ๕ หน้าและหนังสือส่งไปก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๕ ที่ปารีส
ผมตัดส่วนเฉพาะที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารที่ผู้ตรวจการแผ่นดินลงความเห็นว่า รัฐบาลควรพิจารณาผลักดันกัมพูชาให้พ้นจากเขตแดนโดยเร็ว(อ่านรายละเอียดได้ตามรูปภาพ) แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ไม่ยอมผลักดันจนทำให้เขมรได้ทีนำคำตัดสินไปตีความ หากในเวลานั้นทำการพลักดัน สถานการณ์อาจไม่เป็นเช่นนี้ ทำไม คุณอภิสิทธิ์ไม่ผลักดันกัมพูชาเพราะกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ละเมิด MoU43 ไหนล่ะที่บอกว่า MOU มีประโยชน์ ท่านก็ไม่เคารพ MOU43 ที่พรรคปชป.ไปจัดทำกับเขมรมาไหนล่ะหลักนิติรัฐของท่าน
เอกสารนี้ได้มาจากเจ้าหน้าที่ระดับสูง สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์เป็นสาเหตุที่ทำให้เขมรอยู่ยาวด้วยครับ ถ้าเป็นความเห็นของภาคประชาชนท่านอาจปฏิเสธได้ แต่นี่คือความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน ไฉนเลยท่านไม่รู้จักปฏิบัติ
นอกจากนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังวินิจฉัยว่าพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทยครับ กระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ก็ยืนยันว่าพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทย ให้ทหารถืออาวุธขึ้นมารอบตัวปราสาทได้
ขอบคุณภาพและข้อความจากอ. เทพมนตรี ลิมปพยอม
.......................................
บันทึกภาคประชาชนเรื่องผลการแลกเปลี่ยนกับนายกรัฐมนตรีที่ ช่อง 11by Parnthep Pourpongpan on Tuesday, 10 August 2010 at 15:00
บันทึกนี้จัดทำขึ้นโดย ศ.ดร.สมปอง, มล.วัลย์วิภา, อ.เทพมนตรี, อ.วีรพันธุ์, ดร.สุวันชัย, วีระ สมความคิด และปานเทพ: แถลงข่าวเมื่อวันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ณ โรงแรมปริ๊นเซส ถ.หลานหลวง ห้องราชดำเนิน ดังนี้
บันทึกเครือข่ายภาคประชาชน กรณีข้อเท็จจริงกรณีปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ
ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้จัดเวลาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับภาคประชาชน โดยการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างเวลา 10.00 น. – 13.00 น.นั้น เครือข่ายภาคประชาชนซึ่งติดตามเรื่องปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบขอประกาศจุดยืนดังต่อไปนี้
1. เราขอบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยอมรับและยืนยันว่าไทยยึดหลักสันปันน้ำตามทิวเขาดงรักเป็นเส้นเขตแดนอย่างเคร่งครัด
ยืนยันว่าเฉพาะปราสาทพระวิหารเท่านั้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาว่าตั้งอยู่บนพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และไทยได้โต้แย้งและสงวนสิทธิ์เอาไว้แล้วตามหนังสือกระทรวงการต่างประเทศ เลขที่ (0601) 22239/2505 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ดังนั้นฝ่ายไทยจึงยังถือว่าพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้น อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทย
ยอมรับว่าฝ่ายกัมพูชาได้รุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยในบริเวณพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารนั้นเป็นความจริง
ยืนยันว่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาการรุกล้ำอธิปไตยด้วยมาตรการการทูตและการทหาร
ยืนยันว่าไทยจะไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) ที่จะทำหน้าที่อนุรักษ์อย่างยั่งยืนที่ตัวปราสาทพระวิหารในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
ยืนยันจะคัดค้านการขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารของกัมพูชาเป็นมรดกโลกต่อไปอย่างต่อเนื่อง และจะคัดค้านแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันว่าในช่วงที่เป็นฝ่ายค้านได้ขอให้มีการถอนแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งเป็นเอกสารประกอบกรอบการเจรจาออกจากการขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ยืนยันว่ายูเนสโกได้ละเมิดอำนาจหน้าที่ของตัวเอง ตามธรรมนูญของยูเนสโกในข้อ 1 วรรค 3 ว่าห้ามมิให้ยูเนสโกแทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิก
ยืนยันว่าเอกสารและการดำเนินการที่จะผูกพันระหว่างไทย-กัมพูชาจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนอีกครั้ง ก่อนขอความเห็นชอบจากรัฐสภา เช่น พิจารณาเห็นชอบหรือรับรองรายงานการประชุมลับของรัฐสภาเรื่องกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551, ร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยปัญหาชายแดนในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร, ฯลฯ
https://www.facebook.com/note.php?note_id=132572256785549
Annie Handicraft
ผมตัดส่วนเฉพาะที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารที่ผู้ตรวจการแผ่นดินลงความเห็นว่า รัฐบาลควรพิจารณาผลักดันกัมพูชาให้พ้นจากเขตแดนโดยเร็ว(อ่านรายละเอียดได้ตามรูปภาพ) แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ไม่ยอมผลักดันจนทำให้เขมรได้ทีนำคำตัดสินไปตีความ หากในเวลานั้นทำการพลักดัน สถานการณ์อาจไม่เป็นเช่นนี้ ทำไม คุณอภิสิทธิ์ไม่ผลักดันกัมพูชาเพราะกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ละเมิด MoU43 ไหนล่ะที่บอกว่า MOU มีประโยชน์ ท่านก็ไม่เคารพ MOU43 ที่พรรคปชป.ไปจัดทำกับเขมรมาไหนล่ะหลักนิติรัฐของท่าน
เอกสารนี้ได้มาจากเจ้าหน้าที่ระดับสูง สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์เป็นสาเหตุที่ทำให้เขมรอยู่ยาวด้วยครับ ถ้าเป็นความเห็นของภาคประชาชนท่านอาจปฏิเสธได้ แต่นี่คือความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน ไฉนเลยท่านไม่รู้จักปฏิบัติ
นอกจากนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังวินิจฉัยว่าพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทยครับ กระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ก็ยืนยันว่าพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทย ให้ทหารถืออาวุธขึ้นมารอบตัวปราสาทได้
ขอบคุณภาพและข้อความจากอ. เทพมนตรี ลิมปพยอม
.......................................
บันทึกภาคประชาชนเรื่องผลการแลกเปลี่ยนกับนายกรัฐมนตรีที่ ช่อง 11by Parnthep Pourpongpan on Tuesday, 10 August 2010 at 15:00
บันทึกนี้จัดทำขึ้นโดย ศ.ดร.สมปอง, มล.วัลย์วิภา, อ.เทพมนตรี, อ.วีรพันธุ์, ดร.สุวันชัย, วีระ สมความคิด และปานเทพ: แถลงข่าวเมื่อวันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ณ โรงแรมปริ๊นเซส ถ.หลานหลวง ห้องราชดำเนิน ดังนี้
บันทึกเครือข่ายภาคประชาชน กรณีข้อเท็จจริงกรณีปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ
ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้จัดเวลาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับภาคประชาชน โดยการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างเวลา 10.00 น. – 13.00 น.นั้น เครือข่ายภาคประชาชนซึ่งติดตามเรื่องปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบขอประกาศจุดยืนดังต่อไปนี้
1. เราขอบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยอมรับและยืนยันว่าไทยยึดหลักสันปันน้ำตามทิวเขาดงรักเป็นเส้นเขตแดนอย่างเคร่งครัด
ยืนยันว่าเฉพาะปราสาทพระวิหารเท่านั้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาว่าตั้งอยู่บนพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และไทยได้โต้แย้งและสงวนสิทธิ์เอาไว้แล้วตามหนังสือกระทรวงการต่างประเทศ เลขที่ (0601) 22239/2505 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ดังนั้นฝ่ายไทยจึงยังถือว่าพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้น อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทย
ยอมรับว่าฝ่ายกัมพูชาได้รุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยในบริเวณพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารนั้นเป็นความจริง
ยืนยันว่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาการรุกล้ำอธิปไตยด้วยมาตรการการทูตและการทหาร
ยืนยันว่าไทยจะไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) ที่จะทำหน้าที่อนุรักษ์อย่างยั่งยืนที่ตัวปราสาทพระวิหารในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
ยืนยันจะคัดค้านการขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารของกัมพูชาเป็นมรดกโลกต่อไปอย่างต่อเนื่อง และจะคัดค้านแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันว่าในช่วงที่เป็นฝ่ายค้านได้ขอให้มีการถอนแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งเป็นเอกสารประกอบกรอบการเจรจาออกจากการขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ยืนยันว่ายูเนสโกได้ละเมิดอำนาจหน้าที่ของตัวเอง ตามธรรมนูญของยูเนสโกในข้อ 1 วรรค 3 ว่าห้ามมิให้ยูเนสโกแทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิก
ยืนยันว่าเอกสารและการดำเนินการที่จะผูกพันระหว่างไทย-กัมพูชาจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนอีกครั้ง ก่อนขอความเห็นชอบจากรัฐสภา เช่น พิจารณาเห็นชอบหรือรับรองรายงานการประชุมลับของรัฐสภาเรื่องกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551, ร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยปัญหาชายแดนในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร, ฯลฯ
https://www.facebook.com/note.php?note_id=132572256785549
Annie Handicraft
วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555
นายกฯไฟเขียวตั้งคณะทำงาน ถกปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา
นายกฯ ไฟเขียว ถกคณะทำงานฯ ตามมติคุ้มครองของศาลโลก ผบ.สส. ลั่นต้องคุยโดยไม่ให้เสียอธิปไตย เสนอรื้อกำหนดจุดของศาลโลก ยันคุยเขมรในฐานะเพื่อนสนิท เห็นด้วยแนวคิดพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน วิน-วินทั้งคู่ แต่ต้องทำตามกติกา ...
วันที่ 13 มี.ค. พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.ทหารสูงสุด กล่าวถึงความคืบหน้าของคณะทำงานเพื่อปฏิบัติตามมติคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก ในปัญหาข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา (JWG ) ว่า นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งแล้ว ทางเจ้ากรมกิจการชายแดนทหารได้ไปกัมพูชาเพื่อพูดคุยในเรื่องนี้ เพื่อแจ้งให้ทราบขั้นตอนตามกฎหมายของไทยเป็นอย่างไร หลังจากนั้นก็จะเชิญมาหารือกัน คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา ซึ่งการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป หรือ จีบีซี ครั้งล่าสุด ทางกัมพูชายอมทำตามทุกอย่างแล้ว โดยเฉพาะขั้นตอนตามกฎหมายของไทย ทางฝ่ายกัมพูชายอมรับได้ในเรื่องนี้
“ทั้งนี้ต้องยึดหลักพื้นฐาน ในการไม่เสียอธิปไตย ความโปร่งใส และเท่าเทียม ไม่ใช่ใครได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ เมื่อศาลโลกได้กำหนดจุดออกมา เมื่อความสัมพันธ์เริ่มดีขึ้นเป็นเพื่อนกัน เจ้าหน้าที่ระดับล่างได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ตอนนี้ถือว่าสงบอยู่ในระดับที่น่าพอใจ เมื่อมาคุยกันก็ยินดีที่จะทำให้ชายแดนสงบ อะไรที่เป็นปัญหา ก็ละวางไว้ แล้วก้าวไปข้างหน้า เพื่อให้ วิน-วิน ด้วยกันทั้งคู่ ขณะนี้พื้นที่เงียบไม่มีปัญหาอะไร ผมไปตรวจเยี่ยมโบกมือให้ทางฝั่งโน้น ซึ่งไม่มีปัญหา สิ้นเดือนนี้ผมจะไปประชุม ผบ.ทหารสูงสุดอาเซียน จะได้พบกับ ผบ.ทหารสูงสุดกัมพูชา และนายกรัฐมนตรี กัมพูชา ซึ่งความจริงเราเป็นเพื่อนสนิทกัน เพราะประเทศอยู่ใกล้กัน ก็จะคุยกัน” พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าว
พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวว่า ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคิดนโยบายไม่ได้ แต่ด้วยความรู้สึกคือ ตอนแรกก็อยู่กันดีๆ แล้วมาขีดเส้น ทางฝั่งกัมพูชาเป็นหน้าผา โดยปกติมนุษย์ก็ไม่อยู่ ฝั่งเราจะเป็นพื้นที่ราบวันนี้ยังไม่มีใครบอกได้ว่าใครเป็นคนชี้จุดตรงนี้ การตั้งคณะทำงานฯเพื่อจะได้พูดกัน ซึ่งเป้าหมายของศาลโลกอยากให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้ พูดกันรู้เรื่องตกลงกันได้จริงอยากให้อยู่อย่างสันติ ถ้าหยุดเรื่องที่มีปัญหามาร่วมกัน สิ่งที่ดีก็จะเกิด แต่ถ้าไม่ร่วมกัน ระบบเศรษฐกิจของสองประเทศจะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่คงตอบไม่ได้ว่า จะเป็นรูปธรรมเมื่อไหร่เราพร้อมปฏิบัติ
เมื่อถามถึง กรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯเคยระบุว่า ไทยจะเสียเปรียบทางกัมพูชา พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่ได้ฟัง ในส่วนของทหารรับผิดชอบจะไม่ให้เสียเปรียบ สำหรับข้อเสนอของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมหรือไม่ นั้น พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวว่า อะไรที่ทำร่วมกันก็ดีทั้งนั้น เมื่อมีปัญหาและทะเลาะกันก็ไม่มีใครได้อะไรทั้งคู่ แต่ถ้านำจุดที่มีปัญหามาทำให้ไม่มีปัญหา และพัฒนาให้ดีขึ้น ก็จะได้ทั้งคู่ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับข้อกังวลเรื่องผลการพิพากษาของศาลโลกนั้น คงต้องใช้เวลาดูว่าผลจะออกมาอย่างไร ระหว่างที่ยังไม่ตัดสิน เรามีมาตรการคุ้มครองชั่วคราวอยู่ว่าจะทำอย่างไรให้อยู่ร่วมกันได้ แต่การจะมีผู้สังเกตการณ์เข้ามานั้นก็ต้องเข้าตามกฎหมายกติกา อย่างไรก็ตามอย่าไปกังวลต่อผลการวินิจฉัยของศาลโลก เพราะส่วนที่รับผิดชอบก็มีมาตรการรองรับอยู่แล้วว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร
“คณะทำงานฯ ยังไม่ได้ประชุมกันว่า ทางอินโดนีเซียจะเข้ามาอย่างไร ผมได้เจอ ผบ.ทหารสูงสุด อินโดนีเซีย เขาก็บอกว่าอยากให้คุยกัน เขามั่นใจว่าเราจะคุยกันได้ แต่ถ้าร้องขอเขาจึงจะเข้ามาสังเกตการณ์ ซึ่งการร้องขอต้องทำทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอ ดังนั้น ต้องรอคณะทำงานฯ เจรจา เมื่อได้ผลแล้วจึงจะมาเข้าคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี) และนำเรื่องเสนอรัฐบาล ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนของ ม.190 ตามรัฐธรรมนูญ จึงจะมีผลบังคับใช้ ทุกอย่างมีขั้นตอน ประเทศไทยเป็นของทุกคน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ที่จะไปพูดตกลงได้” พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าว
Tweet
ไทยรัฐ
วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555
ทวิภาคีแดนไทย-เขมรบรรลุตกลง7ข้อ
คมชัดลึก
ถกทวิภาคีชายแดนไทย-กัมพูชาที่เสียมราฐ บรรลุ 7 ข้อ เน้นความมั่นคงตามแนวชายแดน ทำความเข้าใจชาวบ้านเคารพข้อปฏิบัติตาม MOU43 เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทยจัดเวที ห้ามถอนทหาร ไล่อุทยานพ้นชายแดนเหตุ 2 มาตรฐาน จับคนไทยแต่ปล่อยเขมรรุกดินแดน ไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก
4มี.ค.2555 เว็ปไซต์ฟิฟทีนมูฟ รายงานผลการประชุมกรมกิจการชายแดนทวิภาคี ไทย-กัมพูชา วันที่ 28 - 29 ก.พ. 2555 ที่เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา โดยมี พล.ท.วรวิทย์ ดรุณชู เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และฝ่ายกัมพูชานำโดย พล.ท.เซียก โซะเจียต เจ้ากรมกิจการชายแดน กองบัญชาการกองทัพแห่งชาติกัมพูชา ร่วมประชุมโดยได้นำร่างบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือเพื่อสร้างเสถียรภาพ รักษาสันติภาพในพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 28กุมภาพันธ์ ขึ้นพิจารณา โดยสองฝ่ายได้ให้ความเห็นชอบร่วมกันในร่างบันทึก 7 ประเด็น คือ
1. ความร่วมมือในการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนนั้น ทั้งสองฝ่ายต้องผลักดันให้ผู้บัญชาการที่ดูแลหน่วยประจำการตามแนวชายแดน และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับชายแดนไทยและกัมพูชา ทุกระดับชั้น กระชับความสัมพันธ์และสร้างมิตรไมตรีที่ดี โดยในประเด็นแรกนี้ สองฝ่ายสนับสนุนให้มีการใช้เครื่องมือคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (RBC) ไทย-กัมพูชา นอกเหนือจากการประชุม เพื่อนำมาซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพชายแดน
2. สองฝ่ายต้องเพิ่มการสนับสนุนและความร่วมมือในการสกัดกั้นและปราบปรามอาชญากรรมข้ามแดนและสิ่งผิดกฎหมายทุกประเภท 3. ทั้งสองฝ่ายเพิ่มการสนับสนุนการให้ข้อมูลความรู้แก่เจ้าหน้าที่และประชาชนของสองประเทศ หลีกเลี่ยงการกระทำผิดกฎหมายในพื้นที่ชายแดน ระมัดระวังการเกี่ยวข้องกับผู้ไม่ประสงค์ดี นอกจากนี้ ต้องเผยแพร่ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่และประชาชนของสองประเทศ ให้เคารพต่อบันทึกข้อตกลงฯ (MOU 43) ระหว่างราชอาณาจักรไทยและกัมพูชา เกี่ยวกับการตรวจสอบและจัดทำหลักเขตแดนทางบก มาตรา5 ที่ได้ลงนามเมื่อ 14 มิถุนายน 2553
4. สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันจัดให้มีการตรวจพื้นที่ภูมิประเทศตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างคณะทำงานของกรมกิจการชายแดนของสองประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย 5. สองฝ่ายเห็นชอบจัดให้มีการประชุมร่วมระหว่างเจ้ากรมกิจการชายแดนสองประเทศ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยทุก 6 เดือน ต่อข้อเสนอของกัมพูชาที่ขอให้มีการประชุมร่วมกันทุก 3 เดือน สำหรับสำนักงานความสัมพันธ์ชายแดน และทุก 1 เดือน สำหรับคณะทำงานด่านพรมแดน เพื่อสรุปเหตุการณ์โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ฝ่ายไทยยืนยันว่าเห็นชอบนำเรื่องเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฝ่ายไทย เพื่อให้มีการตัดสินใจเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
6. ฝ่ายกัมพูชายินดีต่อการปฏิบัติการร่วมที่มีกับฝ่ายไทย ในการสกัดกั้นและป้องกันไม่ให้มีการล่วงล้ำน่านน้ำไทยของกลุ่มประมงผิดกฎหมาย และกลุ่มอาชญากรรมข้ามแดนทางทะเล 7. ฝ่ายกัมพูชาต้อนรับต่อการปฏิบัติการร่วมป้องกันไม่ให้มีการลักลอบเข้าตัดไม้ในดินแดนประเทศไทย โดยทำการอบรมให้ความรู้ประชาชนและจัดมาตรการเพิ่มเติมแก่กลุ่มเจ้าหน้าที่กระชับความร่วมมือระหว่างกันให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ส่วนประเด็นอื่น ๆ ฝ่ายกัมพูชาได้เสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาเปิดจุดผ่านแดนทมอดูน ต.โคกมอน และด่านจุบโกกี ต.อำปึล อ.บันเตียอำปึล จ.อุดรมีชัย ซึ่งฝ่ายไทยได้รับเรื่องเพื่อเสนอกระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบ ส่วนผลการประชุม ฝ่ายไทยเห็นว่าเป็นโอกาสดีในการสร้างความใกล้ชิดระหว่างทั้งสองประเทศ และได้แถลงขอบคุณต่อประธานร่วมฝ่ายกัมพูชาที่นำการประชุมจนประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง
สำหรับความร่วมมือในการป้องปรามการลักลอบตัดไม้ในเขตไทยของชาวกัมพูชานั้น ทางเจ้าหน้าที่กัมพูชายินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยล่าสุดในวันที่ 3 มี.ค. มีรายงานว่า ชุดลาดตระเวนของไทยพบได้ควบคุมตัวชาวบ้านกัมพูชา 33 คนที่กำลังลักลอบตัดไม้พะยูง ได้ยึดหลักฐานของกลางไว้ได้ ประกอบด้วย เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอะไหล่ไว้ได้ วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาเขมร รายงานว่าเจ้าหน้าที่ อ.ตรอเปียงปราสาท จ.อุดรมีชัย ติดกับ อ.จอมกะสานต์ จ.พระวิหาร กัมพูชา ได้วางมาตรการตามจุดผ่านแดนกัมพูชา-ไทยอย่างเข้มงวด เพื่อยับยั้งไม่ให้ชาวกัมพูชาลักลอบข้ามแดนโดยผิดกฎหมายเข้าตัดไม้พะยูงในเขตไทย ซึ่งเป็นการเสี่ยงชีวิตและถูกทหารไทยยิงเสียชีวิตหลายกรณีต่อเนื่อง
เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินร้องห้ามถอนทหาร
เมื่อเวลา 10.00 น. ที่วัดเก่าบ้านภูมิซรอล ม.2 ตั้งอยู่โรงเรียนบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย อีสานใต้ - ตะวันออก ประมาณ 100 คน ได้เปิดเวทีปราศรัยให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา พร้อมทั้งอ่านแถลงการณ์ให้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารยุติบทบาทในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ คืนที่ทำกินตามแนวชายแดนให้กับชาวบ้านที่ประสบปัญหาขาดแคลนที่ทำกินหลังจากถูกประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารทับที่ทำกินมานาน พร้อมทั้งได้ร่วมประกาศเจตนารมณ์ห้ามกองทัพถอนทหารออกจากพื้นที่และไม่ยินยอมให้อินโดนีเซียส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามาในพื้นที่พิพาทชายแดนโดยเด็ดขาด
น.พ.ประทีป ตลับทอง ผอ.รพ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ประธานเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์ขณะนี้ประเทศไทยเรามีความสุ่มเสี่ยงที่จะเสียดินแดน เพราะจากข้อมูลหลักฐานที่เห็นมาประเทศไทยแสดงออกท่าทีว่าจะยอมรับอำนาจของศาลโลก ซึ่งโดยปกติแล้วประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิกของศาลโลกมา 50 กว่าปีแล้ว ดังนั้นศาลโลกไม่มีสิทธิ์และไม่มีอำนาจในการที่บังคับคดีหรือมีอำนาจในการที่สั่งการอะไรในพื้นที่ประเทศไทย นอกจากนี้ไทยมีสิทธิ์ที่จะไม่ยอมรับอำนาจของศาลโลกได้โดยสมบูรณ์
ส่วนการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่จะมีผลอะไรต่อเรื่องเขตแดนหรือไม่ น.พ.ประทีป กล่าวว่า เรื่องนี้ตนคิดว่า พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ควรจะไตร่ตรองให้ดีว่าพล.อ.สุกำพล เข้ามารับตำแหน่งนี้แล้วจะต้องทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติเช่นเดียวกับประชาชนไทยทุกคน ซึ่งเรื่องนี้ทางเครือข่ายเราจะร่วมทำการตรวจสอบการทำงานของท่านอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะทำหน้าที่ปกป้องผืนแดนดินไทยเราให้ได้มากที่สุด ด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับคนไทย
ด้านนายวิสิทธิ์ ดวงแก้ว อายุ 48 ปี แกนนำชาวบ้านที่เดือดร้อนจากปัญหาการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารทับที่ทำกิน กล่าวว่า เรื่องชายแดนขณะนี้จะต้องเริ่มต้นจากคำว่าไม่ถอนทหารก่อน เพราะการถอนทหารจะทำให้เราเสียดินแดน เพราะเขมรมีนโยบายคือรุกอย่างเดียว แต่ชาวบ้านจะรุกก็ไม่ได้เพราะเราเป็นประชาชน จริง ๆเราไม่อยากจะเสียพื้นที่ทำกิน แต่ชาวบ้านที่นี่เดือดร้อนมานานตั้งแต่มีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เราจึงได้ปรึกษากับชาวบ้านว่าควรจะมีการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติแห่งนี้เพื่อที่จะให้ชาวบ้านมีโอกาสเข้าไปทำกินตามเขตชายแดนเพราะเป็นรั่วป้องกันอีกชั้นหนึ่ง เพราะถ้าอุทยานฯยังอยู่เราทำอะไรไม่ได้เลย เราขึ้นไปก็ถูกกฎหมายบังคับ ขณะที่ต่างเข้ามาบุกรุกอุทยานฯก็ไม่สามารถทำอะไรเขาได้นอกจากทหารเท่านั้นที่จะผลักดัน แต่อุทยานฯมีแต่กีดกั้นประชาชนคนไทย
“ป่าสมบูรณ์ก็คงจะให้เป็นป่าที่สมบูรณ์ต่อไป แต่พื้นที่รกร้างหรือป่าเสื่อมโทรมที่เคยเป็นพื้นที่ทำกินชาวบ้านตามแนวชายแดน เราอยากให้อุทยานฯคืนที่ตรงนั้นให้กับชาวบ้านจะได้ไปเป็นรั่วอย่างดีให้กับประเทศชาติ ” นายวิสิทธ์ กล่าว
จากนั้นเวลาประมาณ 14.00 น. แกนนำได้ประกาศบนเวทีว่า กรรมาธิการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งหมดของชาวบ้านที่มาวันนี้ ได้นัดให้ตัวแทนนำเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นไปพูดคุยในรายละเอียดในปลายเดือนมี.ค.นี้ ชาวบ้านที่มาชุมนุมจึงพอใจเวทีปราศรัยจึงได้ยุติลง
ถกทวิภาคีชายแดนไทย-กัมพูชาที่เสียมราฐ บรรลุ 7 ข้อ เน้นความมั่นคงตามแนวชายแดน ทำความเข้าใจชาวบ้านเคารพข้อปฏิบัติตาม MOU43 เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทยจัดเวที ห้ามถอนทหาร ไล่อุทยานพ้นชายแดนเหตุ 2 มาตรฐาน จับคนไทยแต่ปล่อยเขมรรุกดินแดน ไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก
4มี.ค.2555 เว็ปไซต์ฟิฟทีนมูฟ รายงานผลการประชุมกรมกิจการชายแดนทวิภาคี ไทย-กัมพูชา วันที่ 28 - 29 ก.พ. 2555 ที่เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา โดยมี พล.ท.วรวิทย์ ดรุณชู เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และฝ่ายกัมพูชานำโดย พล.ท.เซียก โซะเจียต เจ้ากรมกิจการชายแดน กองบัญชาการกองทัพแห่งชาติกัมพูชา ร่วมประชุมโดยได้นำร่างบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือเพื่อสร้างเสถียรภาพ รักษาสันติภาพในพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 28กุมภาพันธ์ ขึ้นพิจารณา โดยสองฝ่ายได้ให้ความเห็นชอบร่วมกันในร่างบันทึก 7 ประเด็น คือ
1. ความร่วมมือในการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนนั้น ทั้งสองฝ่ายต้องผลักดันให้ผู้บัญชาการที่ดูแลหน่วยประจำการตามแนวชายแดน และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับชายแดนไทยและกัมพูชา ทุกระดับชั้น กระชับความสัมพันธ์และสร้างมิตรไมตรีที่ดี โดยในประเด็นแรกนี้ สองฝ่ายสนับสนุนให้มีการใช้เครื่องมือคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (RBC) ไทย-กัมพูชา นอกเหนือจากการประชุม เพื่อนำมาซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพชายแดน
2. สองฝ่ายต้องเพิ่มการสนับสนุนและความร่วมมือในการสกัดกั้นและปราบปรามอาชญากรรมข้ามแดนและสิ่งผิดกฎหมายทุกประเภท 3. ทั้งสองฝ่ายเพิ่มการสนับสนุนการให้ข้อมูลความรู้แก่เจ้าหน้าที่และประชาชนของสองประเทศ หลีกเลี่ยงการกระทำผิดกฎหมายในพื้นที่ชายแดน ระมัดระวังการเกี่ยวข้องกับผู้ไม่ประสงค์ดี นอกจากนี้ ต้องเผยแพร่ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่และประชาชนของสองประเทศ ให้เคารพต่อบันทึกข้อตกลงฯ (MOU 43) ระหว่างราชอาณาจักรไทยและกัมพูชา เกี่ยวกับการตรวจสอบและจัดทำหลักเขตแดนทางบก มาตรา5 ที่ได้ลงนามเมื่อ 14 มิถุนายน 2553
4. สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันจัดให้มีการตรวจพื้นที่ภูมิประเทศตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างคณะทำงานของกรมกิจการชายแดนของสองประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย 5. สองฝ่ายเห็นชอบจัดให้มีการประชุมร่วมระหว่างเจ้ากรมกิจการชายแดนสองประเทศ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยทุก 6 เดือน ต่อข้อเสนอของกัมพูชาที่ขอให้มีการประชุมร่วมกันทุก 3 เดือน สำหรับสำนักงานความสัมพันธ์ชายแดน และทุก 1 เดือน สำหรับคณะทำงานด่านพรมแดน เพื่อสรุปเหตุการณ์โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ฝ่ายไทยยืนยันว่าเห็นชอบนำเรื่องเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฝ่ายไทย เพื่อให้มีการตัดสินใจเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
6. ฝ่ายกัมพูชายินดีต่อการปฏิบัติการร่วมที่มีกับฝ่ายไทย ในการสกัดกั้นและป้องกันไม่ให้มีการล่วงล้ำน่านน้ำไทยของกลุ่มประมงผิดกฎหมาย และกลุ่มอาชญากรรมข้ามแดนทางทะเล 7. ฝ่ายกัมพูชาต้อนรับต่อการปฏิบัติการร่วมป้องกันไม่ให้มีการลักลอบเข้าตัดไม้ในดินแดนประเทศไทย โดยทำการอบรมให้ความรู้ประชาชนและจัดมาตรการเพิ่มเติมแก่กลุ่มเจ้าหน้าที่กระชับความร่วมมือระหว่างกันให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ส่วนประเด็นอื่น ๆ ฝ่ายกัมพูชาได้เสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาเปิดจุดผ่านแดนทมอดูน ต.โคกมอน และด่านจุบโกกี ต.อำปึล อ.บันเตียอำปึล จ.อุดรมีชัย ซึ่งฝ่ายไทยได้รับเรื่องเพื่อเสนอกระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบ ส่วนผลการประชุม ฝ่ายไทยเห็นว่าเป็นโอกาสดีในการสร้างความใกล้ชิดระหว่างทั้งสองประเทศ และได้แถลงขอบคุณต่อประธานร่วมฝ่ายกัมพูชาที่นำการประชุมจนประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง
สำหรับความร่วมมือในการป้องปรามการลักลอบตัดไม้ในเขตไทยของชาวกัมพูชานั้น ทางเจ้าหน้าที่กัมพูชายินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยล่าสุดในวันที่ 3 มี.ค. มีรายงานว่า ชุดลาดตระเวนของไทยพบได้ควบคุมตัวชาวบ้านกัมพูชา 33 คนที่กำลังลักลอบตัดไม้พะยูง ได้ยึดหลักฐานของกลางไว้ได้ ประกอบด้วย เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอะไหล่ไว้ได้ วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาเขมร รายงานว่าเจ้าหน้าที่ อ.ตรอเปียงปราสาท จ.อุดรมีชัย ติดกับ อ.จอมกะสานต์ จ.พระวิหาร กัมพูชา ได้วางมาตรการตามจุดผ่านแดนกัมพูชา-ไทยอย่างเข้มงวด เพื่อยับยั้งไม่ให้ชาวกัมพูชาลักลอบข้ามแดนโดยผิดกฎหมายเข้าตัดไม้พะยูงในเขตไทย ซึ่งเป็นการเสี่ยงชีวิตและถูกทหารไทยยิงเสียชีวิตหลายกรณีต่อเนื่อง
เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินร้องห้ามถอนทหาร
เมื่อเวลา 10.00 น. ที่วัดเก่าบ้านภูมิซรอล ม.2 ตั้งอยู่โรงเรียนบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย อีสานใต้ - ตะวันออก ประมาณ 100 คน ได้เปิดเวทีปราศรัยให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา พร้อมทั้งอ่านแถลงการณ์ให้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารยุติบทบาทในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ คืนที่ทำกินตามแนวชายแดนให้กับชาวบ้านที่ประสบปัญหาขาดแคลนที่ทำกินหลังจากถูกประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารทับที่ทำกินมานาน พร้อมทั้งได้ร่วมประกาศเจตนารมณ์ห้ามกองทัพถอนทหารออกจากพื้นที่และไม่ยินยอมให้อินโดนีเซียส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามาในพื้นที่พิพาทชายแดนโดยเด็ดขาด
น.พ.ประทีป ตลับทอง ผอ.รพ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ประธานเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์ขณะนี้ประเทศไทยเรามีความสุ่มเสี่ยงที่จะเสียดินแดน เพราะจากข้อมูลหลักฐานที่เห็นมาประเทศไทยแสดงออกท่าทีว่าจะยอมรับอำนาจของศาลโลก ซึ่งโดยปกติแล้วประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิกของศาลโลกมา 50 กว่าปีแล้ว ดังนั้นศาลโลกไม่มีสิทธิ์และไม่มีอำนาจในการที่บังคับคดีหรือมีอำนาจในการที่สั่งการอะไรในพื้นที่ประเทศไทย นอกจากนี้ไทยมีสิทธิ์ที่จะไม่ยอมรับอำนาจของศาลโลกได้โดยสมบูรณ์
ส่วนการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่จะมีผลอะไรต่อเรื่องเขตแดนหรือไม่ น.พ.ประทีป กล่าวว่า เรื่องนี้ตนคิดว่า พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ควรจะไตร่ตรองให้ดีว่าพล.อ.สุกำพล เข้ามารับตำแหน่งนี้แล้วจะต้องทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติเช่นเดียวกับประชาชนไทยทุกคน ซึ่งเรื่องนี้ทางเครือข่ายเราจะร่วมทำการตรวจสอบการทำงานของท่านอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะทำหน้าที่ปกป้องผืนแดนดินไทยเราให้ได้มากที่สุด ด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับคนไทย
ด้านนายวิสิทธิ์ ดวงแก้ว อายุ 48 ปี แกนนำชาวบ้านที่เดือดร้อนจากปัญหาการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารทับที่ทำกิน กล่าวว่า เรื่องชายแดนขณะนี้จะต้องเริ่มต้นจากคำว่าไม่ถอนทหารก่อน เพราะการถอนทหารจะทำให้เราเสียดินแดน เพราะเขมรมีนโยบายคือรุกอย่างเดียว แต่ชาวบ้านจะรุกก็ไม่ได้เพราะเราเป็นประชาชน จริง ๆเราไม่อยากจะเสียพื้นที่ทำกิน แต่ชาวบ้านที่นี่เดือดร้อนมานานตั้งแต่มีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เราจึงได้ปรึกษากับชาวบ้านว่าควรจะมีการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติแห่งนี้เพื่อที่จะให้ชาวบ้านมีโอกาสเข้าไปทำกินตามเขตชายแดนเพราะเป็นรั่วป้องกันอีกชั้นหนึ่ง เพราะถ้าอุทยานฯยังอยู่เราทำอะไรไม่ได้เลย เราขึ้นไปก็ถูกกฎหมายบังคับ ขณะที่ต่างเข้ามาบุกรุกอุทยานฯก็ไม่สามารถทำอะไรเขาได้นอกจากทหารเท่านั้นที่จะผลักดัน แต่อุทยานฯมีแต่กีดกั้นประชาชนคนไทย
“ป่าสมบูรณ์ก็คงจะให้เป็นป่าที่สมบูรณ์ต่อไป แต่พื้นที่รกร้างหรือป่าเสื่อมโทรมที่เคยเป็นพื้นที่ทำกินชาวบ้านตามแนวชายแดน เราอยากให้อุทยานฯคืนที่ตรงนั้นให้กับชาวบ้านจะได้ไปเป็นรั่วอย่างดีให้กับประเทศชาติ ” นายวิสิทธ์ กล่าว
จากนั้นเวลาประมาณ 14.00 น. แกนนำได้ประกาศบนเวทีว่า กรรมาธิการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งหมดของชาวบ้านที่มาวันนี้ ได้นัดให้ตัวแทนนำเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นไปพูดคุยในรายละเอียดในปลายเดือนมี.ค.นี้ ชาวบ้านที่มาชุมนุมจึงพอใจเวทีปราศรัยจึงได้ยุติลง
วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555
รุกเปิดเวที “เขาวิหาร” ต้านศาลโลก ค้านถอนทหาร-ห้ามอินโดฯจุ้น
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ภูมิภาค
ศรีสะเกษ - เครือข่ายฯปกป้องแผ่นดินไทยอีสานใต้-ตะวันออก รุกชายแดนเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ เปิดเวทีต้านไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก ค้านกองทัพไทยถอนทหารพ้นเขาพระวิหาร และไม่ยอมให้อินโดฯเข้ามาจุ้นเด็ดขาด จี้ เพิกถอนเขตอุทยานฯเขาพระวิหาร เปิดทางให้ชาวบ้านเข้าทำกินในที่ดินเดิมตามแนวชายแดน เพื่อเป็นรั้วของชาติ สกัดจิ้งจอกเขมรบุกรุกดินแดนไทยอย่างยั่งยืน
วันนี้ (4 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดเก่าบ้านภูมิซรอล หมู่ 2 ใกล้โรงเรียนบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย อีสานใต้-ตะวันออก ได้เปิดเวทีปราศรัยให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พร้อมได้ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก คัดค้านกองทัพถอนกำลังทหารไทยออกจากพื้นที่ และไม่ยินยอมให้ประเทศอินโดนีเซีย ส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามาในพื้นที่เขาพระวิหารชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเด็ดขาด
รวมทั้งออกแถลงการณ์เรียกร้องให้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ยุติบทบาทในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติอันล้มเหลว โดยคืนที่ดินทำกินเดิมตามแนวชายแดนให้กับชาวบ้านที่ประสบปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกิน หลังจากถูกประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารทับที่ทำกินมานาน เพื่อทำหน้าที่เป็นแนวกันชนปกป้องแผ่นดินไทยจากการบุกรุกของประเทศเพื่อนบ้าน
นพ.ประทีป ตลับทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ประธานเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์ขณะนี้ประเทศไทยเรามีความสุ่มเสี่ยงที่จะสูญเสียดินแดน เพราะจากข้อมูลหลักฐานที่เห็นมา ประเทศไทยโดยรัฐบาลของเราแสดงออกท่าทีว่าจะยอมรับอำนาจของศาลโลก ซึ่งโดยปกติแล้วประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีสมาชิกศาลโลกมากว่า 50 ปีแล้ว ดังนั้น ศาลโลกไม่มีสิทธิ และไม่มีอำนาจในการที่บังคับคดี หรือมีอำนาจในการที่สั่งการอะไรในพื้นที่ประเทศไทย และประเทศไทยมีสิทธิที่จะไม่ยอมรับอำนาจของศาลโลกได้โดยสมบูรณ์
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการะทรวงกลาโหม คนใหม่ จะมีผลอะไรต่อเรื่องเขตแดนโดยเฉพาะด้านชายแดนไทย-กัมพูชา หรือไม่ นพ.ประทีป กล่าวว่า เรื่องนี้ตนคิดว่า พล.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการะทรวงกลาโหม ควรจะไตร่ตรองให้ดีว่าเข้ามารับตำแหน่งนี้แล้ว จะต้องทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติเช่นเดียวกับประชาชนไทยทุกคน ซึ่งเรื่องนี้ทางเครือข่ายฯ เราจะร่วมทำการตรวจสอบการทำงานของท่านอย่างใกล้ชิด เพื่อทำหน้าที่ปกป้องผืนแดนดินไทยเราให้ได้มากที่สุด ด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับคนไทย
ด้าน นายวิสิทธิ์ ดวงแก้ว อายุ 48 ปี แกนนำชาวบ้านที่เดือดร้อนจากปัญหาการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารทับที่ทำกิน กล่าวว่า เรื่องของชายแดนเขาพระวิหาร ขณะนี้ต้องเริ่มต้นจากคำว่าไม่ถอนทหารก่อน เพราะการถอนทหารจะทำให้ไทยเราเสียดินแดน เพราะเขมรมีนโยบาย คือ รุกอย่างเดียว แต่ชาวบ้านคนไทยจะรุกก็ไม่ได้ เพราะเราเป็นประชาชน จริง ๆเราไม่อยากเสียพื้นที่ทำกิน แต่ชาวบ้านที่นี่เดือดร้อนมานานตั้งแต่มีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
เราจึงได้ปรึกษากับชาวบ้านว่า ควรจะมีการเพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ เพื่อให้ชาวบ้านมีโอกาสเข้าไปทำกินตามเขตชายแดนและเป็นรั้วป้องกันเขตแดนไทยอีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากหากอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารยังอยู่เราจะทำอะไรไม่ได้เลย เราขึ้นไปก็ถูกกฎหมายบังคับ ขณะที่ต่างชาติได้เข้ามาบุกรุกอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร แต่ไม่สามารถทำอะไรเขาได้ มีเพียงทหารเท่านั้นที่จะผลักดันผู้รุกล้ำเขตแดนไทยออกไป ส่วนอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารก็มีแต่คอยกีดกั้นประชาชนคนไทยด้วยกันเองเท่านั้น
“สำหรับหลักการการจัดสรรที่ทำกินตามเขตชายแดนให้ชาวบ้านผู้เดือดร้อนไร้ที่ทำกินนั้น ในส่วนป่าสมบูรณ์ก็ให้เป็นป่าที่สมบูรณ์อีกต่อไป แต่พื้นที่รกร้าง หรือป่าเสื่อมโทรมที่เคยเป็นพื้นที่ทำกินเดิมของชาวบ้านตามแนวชายแดน เราอยากให้อุทยานฯ คืนที่ตรงนั้นให้กับชาวบ้านจะได้ไปปักหลักทำกินเป็นรั้วอย่างดีให้กับประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป” นายวิสิทธิ์ กล่าว
ต่อมาเวลาประมาณ 14.00 น.วันเดียวกันนี้ (4 มี.ค.) แกนนำเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย ได้ประกาศบนเวทีว่า ตัวแทนหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งหมดของชาวบ้านที่มาวันนี้ ได้นัดให้ตัวแทนนำเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นไปพูดคุยในรายละเอียดในปลายเดือน มี.ค.นี้ ชาวบ้านที่มาชุมนุมจึงพอใจ และเวทีปราศรัยได้ยุติลงด้วยความสงบเรียบร้อย
AC_FL_RunContent( 'codebase','http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=7,0,19,0','width','600','height','100','src','/home/images/bn_myfirst6','quality','high','pluginspage','http://www.macromedia.com/go/getflashplayer','wmode','transparent','movie','/home/images/bn_myfirst6' ); //end AC code
ที่มา : http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrview.aspx?NewsID=9550000028766
ศรีสะเกษ - เครือข่ายฯปกป้องแผ่นดินไทยอีสานใต้-ตะวันออก รุกชายแดนเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ เปิดเวทีต้านไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก ค้านกองทัพไทยถอนทหารพ้นเขาพระวิหาร และไม่ยอมให้อินโดฯเข้ามาจุ้นเด็ดขาด จี้ เพิกถอนเขตอุทยานฯเขาพระวิหาร เปิดทางให้ชาวบ้านเข้าทำกินในที่ดินเดิมตามแนวชายแดน เพื่อเป็นรั้วของชาติ สกัดจิ้งจอกเขมรบุกรุกดินแดนไทยอย่างยั่งยืน
วันนี้ (4 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดเก่าบ้านภูมิซรอล หมู่ 2 ใกล้โรงเรียนบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย อีสานใต้-ตะวันออก ได้เปิดเวทีปราศรัยให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พร้อมได้ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก คัดค้านกองทัพถอนกำลังทหารไทยออกจากพื้นที่ และไม่ยินยอมให้ประเทศอินโดนีเซีย ส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามาในพื้นที่เขาพระวิหารชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเด็ดขาด
รวมทั้งออกแถลงการณ์เรียกร้องให้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ยุติบทบาทในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติอันล้มเหลว โดยคืนที่ดินทำกินเดิมตามแนวชายแดนให้กับชาวบ้านที่ประสบปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกิน หลังจากถูกประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารทับที่ทำกินมานาน เพื่อทำหน้าที่เป็นแนวกันชนปกป้องแผ่นดินไทยจากการบุกรุกของประเทศเพื่อนบ้าน
นพ.ประทีป ตลับทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ประธานเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์ขณะนี้ประเทศไทยเรามีความสุ่มเสี่ยงที่จะสูญเสียดินแดน เพราะจากข้อมูลหลักฐานที่เห็นมา ประเทศไทยโดยรัฐบาลของเราแสดงออกท่าทีว่าจะยอมรับอำนาจของศาลโลก ซึ่งโดยปกติแล้วประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีสมาชิกศาลโลกมากว่า 50 ปีแล้ว ดังนั้น ศาลโลกไม่มีสิทธิ และไม่มีอำนาจในการที่บังคับคดี หรือมีอำนาจในการที่สั่งการอะไรในพื้นที่ประเทศไทย และประเทศไทยมีสิทธิที่จะไม่ยอมรับอำนาจของศาลโลกได้โดยสมบูรณ์
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการะทรวงกลาโหม คนใหม่ จะมีผลอะไรต่อเรื่องเขตแดนโดยเฉพาะด้านชายแดนไทย-กัมพูชา หรือไม่ นพ.ประทีป กล่าวว่า เรื่องนี้ตนคิดว่า พล.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการะทรวงกลาโหม ควรจะไตร่ตรองให้ดีว่าเข้ามารับตำแหน่งนี้แล้ว จะต้องทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติเช่นเดียวกับประชาชนไทยทุกคน ซึ่งเรื่องนี้ทางเครือข่ายฯ เราจะร่วมทำการตรวจสอบการทำงานของท่านอย่างใกล้ชิด เพื่อทำหน้าที่ปกป้องผืนแดนดินไทยเราให้ได้มากที่สุด ด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับคนไทย
ด้าน นายวิสิทธิ์ ดวงแก้ว อายุ 48 ปี แกนนำชาวบ้านที่เดือดร้อนจากปัญหาการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารทับที่ทำกิน กล่าวว่า เรื่องของชายแดนเขาพระวิหาร ขณะนี้ต้องเริ่มต้นจากคำว่าไม่ถอนทหารก่อน เพราะการถอนทหารจะทำให้ไทยเราเสียดินแดน เพราะเขมรมีนโยบาย คือ รุกอย่างเดียว แต่ชาวบ้านคนไทยจะรุกก็ไม่ได้ เพราะเราเป็นประชาชน จริง ๆเราไม่อยากเสียพื้นที่ทำกิน แต่ชาวบ้านที่นี่เดือดร้อนมานานตั้งแต่มีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
เราจึงได้ปรึกษากับชาวบ้านว่า ควรจะมีการเพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ เพื่อให้ชาวบ้านมีโอกาสเข้าไปทำกินตามเขตชายแดนและเป็นรั้วป้องกันเขตแดนไทยอีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากหากอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารยังอยู่เราจะทำอะไรไม่ได้เลย เราขึ้นไปก็ถูกกฎหมายบังคับ ขณะที่ต่างชาติได้เข้ามาบุกรุกอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร แต่ไม่สามารถทำอะไรเขาได้ มีเพียงทหารเท่านั้นที่จะผลักดันผู้รุกล้ำเขตแดนไทยออกไป ส่วนอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารก็มีแต่คอยกีดกั้นประชาชนคนไทยด้วยกันเองเท่านั้น
“สำหรับหลักการการจัดสรรที่ทำกินตามเขตชายแดนให้ชาวบ้านผู้เดือดร้อนไร้ที่ทำกินนั้น ในส่วนป่าสมบูรณ์ก็ให้เป็นป่าที่สมบูรณ์อีกต่อไป แต่พื้นที่รกร้าง หรือป่าเสื่อมโทรมที่เคยเป็นพื้นที่ทำกินเดิมของชาวบ้านตามแนวชายแดน เราอยากให้อุทยานฯ คืนที่ตรงนั้นให้กับชาวบ้านจะได้ไปปักหลักทำกินเป็นรั้วอย่างดีให้กับประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป” นายวิสิทธิ์ กล่าว
ต่อมาเวลาประมาณ 14.00 น.วันเดียวกันนี้ (4 มี.ค.) แกนนำเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย ได้ประกาศบนเวทีว่า ตัวแทนหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งหมดของชาวบ้านที่มาวันนี้ ได้นัดให้ตัวแทนนำเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นไปพูดคุยในรายละเอียดในปลายเดือน มี.ค.นี้ ชาวบ้านที่มาชุมนุมจึงพอใจ และเวทีปราศรัยได้ยุติลงด้วยความสงบเรียบร้อย
AC_FL_RunContent( 'codebase','http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=7,0,19,0','width','600','height','100','src','/home/images/bn_myfirst6','quality','high','pluginspage','http://www.macromedia.com/go/getflashplayer','wmode','transparent','movie','/home/images/bn_myfirst6' ); //end AC code
ที่มา : http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrview.aspx?NewsID=9550000028766
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทยใครควรรับผิดชอบ ตอน๑
เทพมนตรี ลิมปพยอม
จากหนังสือกระทรวงการต่างประเทศ ด่วนมาก ลับมาก
ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2551
ได้แสดงให้เห็นถึงพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทย หนังสือฉบับนี้ได้กล่าวถึงในช่วงระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ยูเนสโกจะเข้ามาตรวจสอบพื้นที่ปราสาทพระวิหารในช่วงเวลาต้นเดือนธันวาคม 2551 ผมจึงขอนำข้อความมาให้ทุกท่านได้ทราบดังนี้
"ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานว่า ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2551 นางฟรอวซวส ริวิแอร์ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโกมีกำหนดการมาร่วมการประชุม international coordinating committee(ICC) นครวัด และมีกำหนดการตรวจสอบพื้นที่ปราสาทพระวิหารในระหว่างนั้นด้วย
โดยที่การตรวจสอบพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเนสโกดังกล่าวอาจต้องผ่านหรือเข้ามาในดินแดนประเทศไทย และอาจมีนัยกระทบอธิปไตยของไทย กระทรวงการต่างประเทศจึงได้จัดประชุมพิจารณาท่าทีร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง (รายชื่อปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย) และเห็นควรเสนอแนะแนวทางดำเนินการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงการใช้อำนาจอธิปไตยของ ดังนี้
1.กรณีเจ้าหน้าที่/ผู้แทนยูเนสโกเข้าตรวจสอบเฉพาะตัวปราสาท โดยไม่ผ่านหรือเข้ามาในดินแดนไทยเลย เช่นเดิมขึ้นมาทางช่องบันไดหัก ให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ติดตามข้อมูลและสังเกตการณ์จากเขตไทย
2.เมื่อทราบกำหนดว่าจะมีเจ้าหน้าที่/ผู้แทนยูเนสโกผ่านหรือเข้ามาในดินแดนไทยให้กระทรวงเตอนยูเนสโกให้ตระหนัก )โดยอาจผ่านทางยูเนสโกไทยหรือICOMOSไทยอีกทางหนึ่ง) ว่าไม่ควรผ่านหรือเข้ามาในดินแดนไทยเว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการก่อนโดยสามารถอ้างคำแถลงของผู้แทนไทยต่อที่ประชุมWHC32 ว่ากิจกรรมมาตรการใดที่จะทำในดินแดนไทยโดยกัมพูชาหรือฝ่ายที่สามต้องได้รับการยินยอมของไทยก่อน ซึ่งจะเป็นการแสดงเจตนาที่ดีของไทยและหากยูเนสโกขออนุญาตไทยก่อนก็จะเป็นผลดีแก่ท่าทีไทย
3.กรณีเจ้าหน้าที่/ผู้แทนยูเนสโกเข้าตรวจสอบเฉพาะตัวปราสาท แต่ประสงค์จะเดินทางผ่านดินแดนไทย เช่นขึ้นมาทางถนนจากบ้านโกมุย หรือมาโดยเฮลิคอปเตอร์และลงจอดในดินแดนไทย
3.1หากขออนุญาตไทยอย่างเป็นทางการก่อนก็เห็นควรอนุญาตและจัดทหารไทยคุ้มครองเจ้าหน้าที่/ผู้แทนยูเนสโก ขณะอยู่ในดินแดนไทย เพื่อแสดงการใช้อำนาจอธิปไตยของไทย
3.2 หากไม่ขออนุญาตไทยอย่างเป็นทางการก่อน เห็นควรแจ้งไม่อนุญาตให้เดินทางผ่านและทำการประท้วงอย่างเป็นทางการระดับรัฐบาล
4. กรณีเข้าตรวจสอบบริเวณนอกตัวปราสาท ซึ่งเป็นดินแดนไทยที่กัมพูชาอ้างสิทธิ เห็นว่าไม่ควรอนุญาต ไม่ว่าจะขออนุญาตไทยอย่างเป็นทางการหรือไม่เพราะคณะกรรมการมรดกโลกได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท
5.กรณีการปฏิบัติงานในกรอบICCโดยเจ้าหน้าที่/ผู้แทนยูเนสโกหรือผู้แทนสมาชิก ต้องจำกัดเฉพาะในตัวปราสาท และไทยต้องได้เข้าร่วมมิฉะนั้นไทยจะต้องทำการประท้วงอย่างเป็นทางการระดับรัฐบาล
6.ในกรณีที่ไทยไม่อนุญาต แต่กัมพูชาฝืนนำเจ้าหน้าที่ยูเนสโกเข้ามาในดินแดนไทย ไทยต้องประท้วงอย่างเป็นทางการระดับรัฐบาล และให้กำลังของไทยเข้าอารักขาคณะโดยแสดงอาวุธและประสานกับกัมพูชาล่วงหน้า และให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาความเหมาะสมที่จะจัดเจ้าหน้าที่ร่วมสังเกตการณ์ในการอารักขาด้วย โดยไม่ให้มีนัยเป็นการต้อนรับยูเนสโกหรือยอมรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
7.ในทุกกรณี ให้หลีกเลี่ยงการขัดขวางโดยใช้กำลังอย่างถึงที่สุด
8. ในกรณีที่เห็นเหมาะสม กระทรวงการต่างประเทศอาจพิจารณาใช้โอกาสเชิญเจ้าหน้าที่ยูเนสโกเข้ามาตรวจพื้นที่ในดินแดนไทยด้วย เพื่อให้ข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทย
9.ควรประชาสัมพันธ์ต่อประชาชนเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อป้องกันการบิดเบือนข้อมูล
หนังสือลับมาก ฉบับด่วนที่สุดนี้ เรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีผู้เข้าร่วมประชุมอันเป็นผู้แทนของหน่วยงานทั้งหมด ๑๔ หน่วยงาน อันได้แก่
๑.ผู้แทนกรมกิจการชายแดนทหาร
๒.ผู้แทนกรมแผนที่ทหาร
๓.ผู้แทนกรมยุทธการทหารบก
๔.ผู้แทนกองกำลังสุรนารี
๕.ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๖.ผู้แทนกรมศิลปากร
๗.ผู้แทนกรมอุทยาน
๘.ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย
๙.ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
๑๐. ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
๑๑.ผู้แทนกรมเอเซียตะวันออก
๑๒.ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ
๑๓.ผู้แทนกรมสารนิเทศ
๑๔.ผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฏหมาย (หมายเลข๑๑-๑๔อยู่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ)
จะเห็นได้ว่าการประชุมของผู้แทนหน่วยงานต่างๆได้ยืนยันว่าพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทยและต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการกระทำของกัมพูชาที่ส่งประชาชนและกองกำลังทหารติดอาวุธรุกล้ำอธิปไตยและดินแดนของไทย และในเวลานี้ก็ยังหาหน่วยงานที่จะรับผิดชอบไม่ได้ (อ่านต่อตอนหน้า)
วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย 5 จังหวัดรวมตัวยื่นหนังสือคัดค้านอินโดนีเซีย เข้าพื้นที่สังเกตการณ์ปราสาทพระวิหาร
เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย 5 จังหวัดอีสานใต้ รวมตัวยื่นหนังสือคัดค้านอินโดนีเซีย เข้าพื้นที่สังเกตการณ์ปราสาทพระวิหาร ยันพร้อมปกป้องไม่ให้เสียดินแดน...ย�ย�
เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 23 ก.พ.55 ที่บริเวณถนนเทศบาล 1 หน้าบ้านเลขที่ 173 ข้างสำนักงานไปรษณีย์สุรินทร์ เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ มีรายงานว่า เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย จ.สุรินทร์ นำโดยนายประทีป ตลับทอง ประธานเครือข่ายฯ ร่วมกันถือป้ายและหนังสือแถลงการณ์คัดค้านประเทศอินโดนีเซีย ที่เข้ามาสังเกตการณ์บริเวณพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งมีทั้งหนังสือเขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่งถึงเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย โดยตัวแทนเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทยใน 5 จังหวัดอีสานใต้ จ.สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ นครราชสีมา จะเดินทางไปยื่นหนังสือขอคัดค้านที่สถานเอกอัครราชฑูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยในวันพรุ่งนี้ โดยได้ประสานงานไปเรียบร้อยแล้วซึ่งทางสถานทูตจะส่งตัวแทนออกมารับหนังสือ
นายประทีป กล่าวว่า เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย มีความห่วงใยต่อชาติบ้านเมืองเป็นอย่างมากที่อาจต้องสูญเสียผืนแผ่นดิน ตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา ทั้งหมดประมาณ 1 ล้าน 8 แสนไร่ และในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยอีกประมาณ 27,000 ตารางกิโลเมตรหรือ 16 ล้าน 2 แสนไร่ เพราะฉะนั้นเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย 5 จังหวัดอีสานใต้ และพี่น้องชาวภาคตะวันออก เช่น จ.สระแก้ว จันทบุรี และ จ.ตราด จะร่วมเข้ามาเป็นเครือข่ายที่ต้องการที่จะยื่นคัดค้าน การที่จะไม่ให้ประทศอินโดนีเซีย หรือว่าตัวแทนของชาวอินโดนีเซีย เข้ามายังพื้นที่บริเวณรอบปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งศาลโลกได้มีคำสั่งให้ถอนทหารออกจากพื้นที่ และให้มีผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซีย เข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งเราไม่ยอมรับ และไม่เห็นด้วยที่จะส่งตัวแทนของอินโดนีเซียเข้ามา โดยจะยื่นหนังสือที่สถานฑูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติไทยให้คงอยู่กับประเทศไทยสืบไป
ประธานเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย กล่าวอีกว่า หลังจากที่เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทยได้เดินทางไปสังเกตการณ์ที่ปราสาทเขาพระวิหารเมื่อวันที่ 21 ก.พ.2555 ที่ผ่านมา พี่น้องประชาชนในพื้นที่มีความสนใจมากได้รับรู้เรื่องราวข่าวสาร จึงขอฝากถึงรัฐบาลและผู้ที่มีอำนาจตามกฏหมายรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ของท่าน เยี่ยงบรรพบุรุษของเรา เครือข่ายที่ลุกขึ้นมาปกป้องแผ่นดินครั้งนี้ ได้ทำตามหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 71 ความว่า บุคคลมีหน้าที่ปกป้องประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติและก็ปฏิบัติตามกฎหมายถาม ว่าเราต้องการอะไรหรือมีผลประโยชน์แอบแฝงหรือไม่ ตนยืนยันว่าไม่มีเราทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อชาติ เพื่อบ้านเพื่อเมือง เพื่อแผ่นดินของเรา.
ไทยรัฐ
เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 23 ก.พ.55 ที่บริเวณถนนเทศบาล 1 หน้าบ้านเลขที่ 173 ข้างสำนักงานไปรษณีย์สุรินทร์ เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ มีรายงานว่า เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย จ.สุรินทร์ นำโดยนายประทีป ตลับทอง ประธานเครือข่ายฯ ร่วมกันถือป้ายและหนังสือแถลงการณ์คัดค้านประเทศอินโดนีเซีย ที่เข้ามาสังเกตการณ์บริเวณพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งมีทั้งหนังสือเขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่งถึงเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย โดยตัวแทนเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทยใน 5 จังหวัดอีสานใต้ จ.สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ นครราชสีมา จะเดินทางไปยื่นหนังสือขอคัดค้านที่สถานเอกอัครราชฑูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยในวันพรุ่งนี้ โดยได้ประสานงานไปเรียบร้อยแล้วซึ่งทางสถานทูตจะส่งตัวแทนออกมารับหนังสือ
นายประทีป กล่าวว่า เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย มีความห่วงใยต่อชาติบ้านเมืองเป็นอย่างมากที่อาจต้องสูญเสียผืนแผ่นดิน ตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา ทั้งหมดประมาณ 1 ล้าน 8 แสนไร่ และในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยอีกประมาณ 27,000 ตารางกิโลเมตรหรือ 16 ล้าน 2 แสนไร่ เพราะฉะนั้นเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย 5 จังหวัดอีสานใต้ และพี่น้องชาวภาคตะวันออก เช่น จ.สระแก้ว จันทบุรี และ จ.ตราด จะร่วมเข้ามาเป็นเครือข่ายที่ต้องการที่จะยื่นคัดค้าน การที่จะไม่ให้ประทศอินโดนีเซีย หรือว่าตัวแทนของชาวอินโดนีเซีย เข้ามายังพื้นที่บริเวณรอบปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งศาลโลกได้มีคำสั่งให้ถอนทหารออกจากพื้นที่ และให้มีผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซีย เข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งเราไม่ยอมรับ และไม่เห็นด้วยที่จะส่งตัวแทนของอินโดนีเซียเข้ามา โดยจะยื่นหนังสือที่สถานฑูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติไทยให้คงอยู่กับประเทศไทยสืบไป
ประธานเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย กล่าวอีกว่า หลังจากที่เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทยได้เดินทางไปสังเกตการณ์ที่ปราสาทเขาพระวิหารเมื่อวันที่ 21 ก.พ.2555 ที่ผ่านมา พี่น้องประชาชนในพื้นที่มีความสนใจมากได้รับรู้เรื่องราวข่าวสาร จึงขอฝากถึงรัฐบาลและผู้ที่มีอำนาจตามกฏหมายรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ของท่าน เยี่ยงบรรพบุรุษของเรา เครือข่ายที่ลุกขึ้นมาปกป้องแผ่นดินครั้งนี้ ได้ทำตามหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 71 ความว่า บุคคลมีหน้าที่ปกป้องประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติและก็ปฏิบัติตามกฎหมายถาม ว่าเราต้องการอะไรหรือมีผลประโยชน์แอบแฝงหรือไม่ ตนยืนยันว่าไม่มีเราทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อชาติ เพื่อบ้านเพื่อเมือง เพื่อแผ่นดินของเรา.
ไทยรัฐ
วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วา กิมฮง เผยไทยลงนามบันทึกเจบีซี ๓ ฉบับ การประชุมบรรลุ ๓ ประเด็น
ซีอีเอ็นของกัมพูชา รายงานการให้สัมภาษณ์ของนายวา กิมฮง รัฐมนตรีอาวุโส ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ฝ่ายกัมพูชา ภายหลังเดินทางกลับถึงท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ เมื่อช่วงค่ำ (๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕) ว่า บันทึกการประชุมเจบีซีทั้งสามฉบับก่อนหน้าที่ฝ่ายไทยและกัมพูชาได้เห็นชอบ ร่วมกัน และมีปัญหายืดเยื้อนั้น ครั้งนี้ฝ่ายไทยกล้าลงนามโดยไม่จำเป็นต้องผ่านรัฐสภาอย่างก่อนหน้า นี่เป็นประเด็นที่เป็นเชิงบวก
นายวา กิมฮง กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม JBC ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๔ กุมภาพันธ์ ดำเนินไปโดยไม่มีอุปสรรค เพราะฝ่ายไทยมีสิทธิ์ตัดสินใจในทุกข้อตกลง และลงนามในข้อตกลงร่วมกันโดยไม่จำเป็นต้องผ่านรัฐสภาไทย ข้อตกลงร่วมนี้สามารถนำไปปฏิบัติต่อเพื่อดำเนินกิจการชายแดนได้ทันที ทั้งสองฝ่ายได้เจรจาและบรรลุผลใน ๓ ประเด็นสำคัญ คือ
๑. การสำรวจหลักเขตที่ด่านช่องจอม อ.อันลงแวง จ.อุดรมีชัย จากหลักเขตที่ ๑ –๒๓ ใกล้ปราสาทตาเมือน จ.สุรินทร์ สองฝ่ายเห็นชอบที่จะส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมลงไปดำเนินการ หลังจากที่สองฝ่ายดำเนินการเกี่ยวกับด่านสตึงบตเรียบร้อยแล้ว ต่อข้อเสนอของกัมพูชาในการเปิดด่านสตึงบต (ด่านบ้านหนองเอี่ยน-สตึงบต) สองฝ่ายได้ให้ความเห็นชอบด้วย และสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะส่งทีมเทคนิคร่วมลงไปดำเนินการในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ เพื่อตรวจสอบที่ตั้งที่ชัดเจน
๒. การทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ สำหรับทำแผนที่ขนาดใหญ่ คือขนาด ๒๕,๐๐๐ (แผนที่มาตราส่วน ๑:๒๕,๐๐๐) สองฝ่ายเห็นชอบและอนุญาตให้ทีมเทคนิคร่วมไปทำการคัดเลือกบริษัทจาก ๓ ประเทศ เพื่อจัดทำแผนที่ โดยไม่อนุญาตให้ประเทศไทยเป็นผู้จัดทำแผนที่นี้อีก หลังจากได้บริษัทจากประเทศที่สามแล้ว ต้องส่งมาให้คณะอนุกรรมการเทคนิคร่วม และคณะกรรมาธิการร่วม ตัดสินคัดเลือกบริษัทนั้นอีกครั้ง
๓. สองฝ่ายเห็นชอบนำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจหลักเขตจำนวน ๔๘ หลัก ที่พบแล้ว จากทั้งหมด ๗๓ หลัก ขึ้นมาพิจารณา แล้วทั้งสองฝ่ายให้ความเห็นชอบร่วมกันจำนวน ๓๓ หลัก ไม่เห็นชอบ ๑๕ หลัก และอีก ๑๙ หลัก ค้นพบแล้วแต่ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบอย่างเป็นทางการ หลักเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามีทั้งสิ้น ๗๓ หลัก จัดทำโดยคณะกรรมการปักปันผสมสยาม-ฝรั่งเศส ใน ค.ศ. ๑๙๐๘ – ๑๙๐๙ และครั้งที่ ๒ ค.ศ. ๑๙๑๙-๑๙๐๒
นายวา กิมฮง กล่าวว่า เอกสารเขตแดนทางบกทุกอย่างระหว่างกัมพูชากับไทย จัดทำเป็น ๓ ภาษา คือ ภาษาเขมร ไทยและอังกฤษ เพื่อให้เป็นมรดกไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในภายหลัง และมอบให้ทีมเทคนิคร่วมใช้สำหรับการปักและซ่อมแซมหลักเขต นายวา กิมฮง กล่าวอีกว่า การประชุมเจบีซีครั้งถัดไป ซึ่งเป็นครั้งที่ ๖ จะจัดขึ้นที่ประเทศกัมพูชา ส่วนวันเวลายังไม่กำหนดแน่ชัด
อาร์พีจีร่วงหน้าวัดแก้วฯ ไทยถอนกำลังกลับอีกหย่อม
รายงานจากแหล่งข่าวระบุว่าเมื่อประมาณ ๑๗.๓๐ น. วานนี้ (๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕) นายทหารใหญ่หัวหน้าชุดประสานงานของกัมพูชาบนปราสาทพระวิหาร แจ้งเหตุอาร์พีจีจำนวน ๒ ลูก ตกที่บริเวณถนนคอนกรีตทางขึ้นเขาหน้าวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ สงสัยว่าเกิดจากฝ่ายไทย แต่เมื่อสอบถามมายังฝ่ายไทยก็ไม่มีคำตอบให้ ขณะเดียวกันหลังเกิดเหตุฝ่ายกัมพูชาไม่มีการตอบโต้ แต่อย่างใด
แหล่งข่าวสายความมั่นคงกล่าวถึงกรณีนี้ว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากทหารไทย เนื่องจากไทยไม่มีอาวุธป่าเถื่อนอย่างอาร์พีจี มีเพียงปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง (ปรส.) ปืน ค. และ เอ็ม ๘๐ ขณะปัจจุบันไทยถอนทหารและอาวุธหนักลงมาหมดแล้ว เหลือเฉพาะกองกำลังผสมตำรวจตระเวนชายแดน-ทหาร แหล่งข่าวยืนยันด้วยว่ามีความเป็นไปได้สูงที่เหตุอาร์พีจีตกหน้าวัดแก้วฯ เกิดจากทหารเด็ก ๆ กัมพูชาเอง ที่หัดยิงหัดใช้กันบนนั้นแล้วพลาด เนื่องจากก่อนขึ้นประจำการไม่ได้รับการฝึกที่จริงจังและเข้มงวด ได้รับการฝึกเพียงระเบียบคำสั่งพื้นฐาน นอกจากนี้ รายงานในทางการข่าวระบุด้วยว่า ปัจจุบันบนปราสาทฯ มีแต่เด็กน้อย ทหารตัวเก่ง ๆ รุ่นเก่าในพื้นที่ถูกดึงตัวไปช่วยงานคุ้มครองอารักขานายฮุน เซน นายกรัฐมนตรี เพราะเกรงกระแสข่าวรัฐประหาร แม้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎชัด แต่ในทางเปิดเมื่อเดือนที่แล้ว ฮุน เซน ได้แต่งตั้ง พล.อ.เจีย ดารา รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งดูและพื้นที่ปราสาทพระวิหารมาอย่างยาวนาน ไปนั่งตำแหน่งเจ้ากรมจารกรรมทหารของกองบัญชาการกองทัพแห่งชาติกัมพูชา พร้อมให้ฮุน มานิต ลูกชาย นั่งตำแหน่งรองฯ จึงมีความเป็นไปได้ที่เจีย ดารา จะนำลูกน้องเก่าติดตัวไปช่วยงานด้วย
ความเคลื่อนไหวทางทหารฝั่งไทย เมื่อช่วงค่ำวานนี้ เวลาประมาณ ๑๙.๔๕ น. มีขบวนรถอาวุธเล็กซึ่งคาดว่าเป็น ปรส. ประมาณ ๗-๘ คัน กลับจากชายแดนเขาพระวิหารมุ่งหน้าเข้าเมือง จากนั้นประมาณ ๒๐.๐๐ น.ขบวนรถจีเอ็มซี ๕ คัน บัส ๑ คัน ขนทหารกลับลงมา ต่อมาเมื่อเวลา ๒๑.๐๐ น. มีขบวนรถจีเอ็มซี ขนสัมภาระอีก ๖ คัน กลับลงมาจากบนเขา แหล่งข่าวคาดว่าเป็นการถอนกำลังมากกว่าจะเป็นการสับเปลี่ยนกำลัง เนื่องจากก่อนหน้าไม่มีการส่งกำลังขึ้นไปทดแทน
วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หลักฐานภาพถ่ายกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเยือนเขาพระวิหารพ.ศ.๒๔๗๒
- สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และคณะผู้ติดตามในคราวเสด็จ
เรสสิเดนต์ กำปงธม และเมอซิเออร์ ปามังติเอร์นักโบราณคดีชาวฝ
(ภาพเหล่านี้ต่อมาได้เป็นส่
- วันที่ 11 ก.ย. 2554 คณะตัวแทนเยาวชนพรรคประชาชน
//
หนำซ้ำรบ.นายกอภิสิทธิ์ยังห
ถ้าฝ่ายที่ถูกฟ้องไม่ไปศาลโ
- เอาComment ของอ.เทพมนตรี ครั้งก่อนมาเพิ่มเติม เพื่อความสะใจค่ะ
Thepmontri Limpaphayom เราไม่เคยยอมรับคำตัดสิน เสือกไปร่วมมือกับเขมรให้ตี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)