คาดศาลโลกตัดสินพระวิหารเร็วสุดสิ้นปี ชี้รบ.ถกจีบีซีไม่ผ่านสภาขัดรธน.
| | 1. คำสั่งศาลโลกที่เกินขอบเขตอำนาจศาลและล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของไทย
ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ซึ่งต่อไปเรียกว่า “ศาลโลก”)
ได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว
ก่อนการพิจารณาตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2554
โดยสั่งให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราว
(Provisional Demilitarized Zone: PDZ) ตามที่ศาลได้กำหนด
รวมทั้งให้ไทยจะต้องไม่ขัดขวางการเข้าถึงอย่างอิสระของกัมพูชาไปยัง
ปราสาทพระวิหาร
ให้ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินความร่วมมือกันต่อไปตามในกรอบอาเซียนรวมทั้ง
ต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์เข้าไปยัง PDZ
และให้ทั้งสองฝ่ายต้องงดเว้นจากการกระทำใดๆ
ที่อาจทำให้ข้อพิพาทนั้นเกิดมากขึ้น
ตลอดจนให้แต่ละฝ่ายต้องแจ้งต่อศาลถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว
คำสั่งที่ศาลโลกให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจาก PDZ
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ที่นอกเหนือจากพื้นที่พิพาทที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิทับ
ซ้อนกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของแต่ละฝ่ายซึ่งไม่ได้เป็น
พื้นที่พิพาทแต่อย่างใดนั้น
เป็นคำสั่งที่เกินขอบเขตอำนาจของศาลโลกและเป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของ
ทั้งไทยและกัมพูชา ดังที่ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย 5
คนซึ่งมีประธานศาลโลกรวมอยู่ด้วยได้ให้ความเห็นแย้งไว้
คำสั่งของศาลโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดเขตปลอดทหารชั่วคราว
ล้ำเข้าไปในดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐคู่กรณี
โดยที่ดินแดนนั้นไม่ได้เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาข้อพิพาทแต่อย่างใด
ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
รัฐทุกรัฐย่อมมีอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุด
ไม่มีอำนาจใดอยู่เหนืออำนาจอธิปไตยของรัฐ
และไม่มีหน่วยงานใดที่อยู่เหนือกว่ารัฐอีก
รัฐจึงไม่อยู่ภายใต้กฎข้อบังคับใดๆ
นอกจากสิ่งนั้นรัฐยินยอมที่จะปฏิบัติเอง
สิ่งใดที่รัฐไม่ได้ให้ความยินยอม
จึงไม่สามารถที่จะผูกพันรัฐนั้นได้
แม้กระทั้งศาลโลกก็ไม่มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีระหว่างรัฐคู่กรณีใด
นอกจากรัฐคู่กรณีนั้นได้ให้ความยินยอมรับอำนาจศาล
ดังที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญศาลโลก มาตรา 36
ไทยยอมรับอำนาจศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหารก็เฉพาะสิ่งที่เป็นข้อพิพาทกับ
กัมพูชา ศาลโลกจึงไม่มีอำนาจสั่งไทยให้ทำในสิ่งที่ไม่ใช่ข้อพิพาทดังกล่าว
ในกรณีนี้คือ
การสั่งให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทย
ซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่พิพาทกับกัมพูชาแต่อย่างใด
ไทยจึงมีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในส่วนที่เป็นการการล่วงล้ำอำนาจ
อธิปไตยของไทย และควรต้องแย้งต่อศาลโลก อาจมีผู้โต้แย้งได้ว่า
คำพิพากษา (Judgment)
ของศาลโลกถือเป็นที่สุดและอุทธรณ์ไม่ได้ตามธรรมนูญศาลโลก มาตรา 60
แต่ในกรณีนี้เป็นแค่คำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว (Indication of
Provisional Measures) ไม่ใช่คำพิพากษา
ไทยจึงมีสิทธิโต้แย้งคำสั่งศาลได้สำหรับส่วนที่เกินขอบเขตอำนาจศาล
ยิ่งไปกว่านั้นมีกรณีตัวอย่างมาแล้วในอดีตหลายคดีที่รัฐคู่กรณีไม่ปฏิบัติ
ตามคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก
2. ประเด็นที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการของ ค.ร.ม. และ GBC
ค.ร.ม.
ทั้งชุดปัจจุบันและชุดที่แล้วไม่ได้โต้แย้งและยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำสั่ง
ศาลโลก
โดยไม่มีการพิจารณาประเด็นคำสั่งศาลในส่วนที่เป็นการการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตย
ของไทยแต่อย่างใด ทั้งนี้ ค.ร.ม. ชุดปัจจุบันได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ต.ค.
2554 ให้ความเห็นชอบให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก
ต่อมาที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้มีการเปิดการอภิปรายทั่วไปเมื่อวันที่ 15
พ.ย. 2554 ตามที่ ค.ร.ม. เสนอ
เพื่อรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 179
ในการประชุมดังกล่าวได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในประเด็นต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ว่าเรื่องนี้ต้องให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบตามรัฐ
ธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ ซึ่ง ค.ร.ม. เห็นว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 190
แต่สมาชิกรัฐสภาหลายคนเห็นตรงข้าม
แต่เนื่องจากเป็นการประชุมโดยไม่มีการลงมติ จึงไม่มีข้อสรุปใดๆ
ในวันที่ 16 พ.ย. 2554 พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ร.ม.ว. กระทรวงกลาโหมได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า
ไทยพร้อมเจรจาโดยจะนำกรอบการเจรจาที่ได้จากการประชุมดังกล่าวไปหารือกับ
กัมพูชาในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (GBC)
ที่จะจัดให้มีขึ้น เพื่อให้ได้ข้อยุติใน 5 ข้อดังนี้ ข้อ 1
การปรับกำลัง ข้อ 2 การปฏิบัติต่อผู้สังเกตการณ์ ข้อ 3 การจัดจุดตรวจ
ข้อ 4 การดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่ยูเนสโก ข้อ 5
การดำเนินการต่อประชาชนที่วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา
ต่อมาในวันที่ 21 ธ.ค. 2554 หลังเสร็จสิ้นการประชุม GBC
ฝ่ายไทยและกัมพูชาได้ออกแถลงการณ์ร่วมโดยมีส่วนที่สำคัญพอสรุปได้ว่า
ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก
โดยต้องโปร่งใส เสมอภาค และชัดเจนแน่นอน
ภายใต้การตรวจสอบของผู้สังเกตการณ์ร่วมสามฝ่าย ไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย
พร้อมตั้งคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชาเพื่อหารือรายละเอียดการปฏิบัติตามคำสั่ง
ศาลโลกใน PDZ ที่ยังไม่ได้มีข้อยุติ (ซึ่งเดิมมีทั้งสิ้น 5
ข้อตามที่กล่าวแล้วข้างต้น)
การที่ ค.ร.ม.
เคารพคำสั่งศาลโลกและดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีอยู่ภายใต้กฎ
บัตรสหประชาชาตินั้นเป็นเรื่องที่มีเหตุผลรับฟังได้
เพราะการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลอาจทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อไทย
ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการพิจารณาคดีของศาลโลกและต่อความเชื่อถือและความร่วม
มือของนานาประเทศ
แต่การดำเนินการของ ค.ร.ม. รวมทั้ง GBC
ในเรื่องนี้ต้องเป็นไปอย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยว
ข้อง รวมทั้งต้องเป็นไปด้วยความรอบคอบ
โดยที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 77
บัญญัติให้รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐดัง
นั้นการดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกในส่วนที่สั่งเกินขอบเขตอำนาจ
ศาลและเป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของไทยดังกล่าว ค.ร.ม. และ GBC
จึงต้องพิจารณาดำเนินการให้ถูกต้องเพื่อให้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญในมาตรานี้
แต่ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการโดยไม่มีการพิจารณาในประเด็นดังกล่าวแต่อย่าง
ใด
ยิ่งไปกว่านั้นรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
บัญญัติให้หนังสือสัญญาใดที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย
หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
โดยก่อนดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญาดังกล่าว ค.ร.ม.
ต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
และต้องเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
สำหรับการปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกนั้น
เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ไทยและกัมพูชาจะต้องจัดทำ
ข้อตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรในรายละเอียดที่ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดความชัดเจนและยืนยันตรวจสอบกันได้
อันจะเป็นการป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจมีขึ้น
ข้อตกลงร่วมดังกล่าวไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอะไร
ย่อมเข้าข่ายหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
ทั้งนี้เพราะหนังสือสัญญาดังกล่าวถึงแม้อาจไม่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย
ตามที่ ค.ร.ม. กล่าวอ้าง
แต่ย่อมมีผลกระทบอย่างแน่นอนต่อความมั่นคงทางสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมากในหลายจังหวัดรวมทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตยไม่เห็นด้วยกับการถอนกำลังทหารออกจาก PDZ
การที่ ค.ร.ม. ให้ GBC
จัดการประชุมเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก และ GBC
ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งการประชุม GBC
นั้นถือได้ว่าเป็นการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา
190 ยิ่งไปกว่านั้นแถลงการณ์ร่วมของ GBC
น่าจะเข้าข่ายหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 อีกด้วย
แต่ ค.ร.ม.
ยังไม่มีการให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
รวมทั้งไม่มีการเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบแต่อย่างใด
จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 อย่างชัดเจน
นอกจากนี้การปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลกโดยต้องยินยอมอย่างเป็นทางการให้ตลาด
วัด
และชุมชนของกัมพูชาที่อยู่ในพื้นที่พิพาทบริเวณเขาพระวิหารอยู่ต่อไปได้
รวมทั้งการให้เจ้าหน้าที่ของกัมพูชาที่มิใช่ทหารเข้าไปประจำการในพื้นที่
พิพาทดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. 2504 ที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาตามมาในปี พ.ศ. 2541
กำหนดให้ป่าเขาพระวิหาร ในท้องที่ ต.เสาธงชัย ต.ภูผาหมอก อ.กันทรลักษ์
จ.ศรีสะเกษ เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่พิพาทรวมทั้ง
PDZ บางส่วนด้วย
จึงขอเรียกร้องให้ ค.ร.ม. และ GBC
ดำเนินการในเรื่องนี้ให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และหากยังดึงดันที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่แก้ไขให้ถูกต้อง
ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน
จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสอง
สภาได้ร่วมกันเสนอเรื่องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคหก
ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องการดำเนินการของ ครม. และ GBC
ดังกล่าวที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยเร็วด้วย |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น