มาล้างบ้านสร้างเมืองกันด้วยพิมพ์เขียว
โดยดร.ไก่ Tanond เมื่อ 14 เมษายน 2011 เวลา 10:05 น.
ที่แรกก็ว่าจะรออีกสักนิดค่อยเปิดประเด็น แต่ข้อสงสัยที่มากับคำถามชักจะเยอะขึ้นตามลำดับ ไม่อธิบายแต่เิ่นิ่นๆเดี๋ยวจะไม่ได้การ ก็เช่นนี้นะครับ -
1.หากเราจะสร้างอาคารใหญ่ๆสักหลัง มันใช่หรือเปล่าครับ ที่เราต้องมีแบบแปลนในส่วนต่างๆ ที่จะใช้เป็นต้นแบบในการก่อสร้าง! ไหนจะแบบฐานราก ไปจนถึงชั้นต่างๆ รวมไปถึงแบบเดินท่อประปา ไฟฟ้า น้ำทิ้ง ฯลฯ สารพัดมากมายหลายแผ่น
- พิมพ์เขียนในการปฏิวัติ(ปฏิรูป)การเมืองก็เช่นกัน ไม่ได้ทำไม่ได้ใช้แบบแปลนเดียว แต่ต้องมีพิมพ์เขียวครอบคลุมไปใน 3 เสาหลักของสังคมกล่าวคือ สังคม - เศรษฐกิจ - การเมือง
2.จะเอาอะไรใส่เข้าไป? - โดยหลักใหญ่ใจความก็คือ การนำเอาปัญหาอุปสรรค รวมถึงความผิดพลาดจากอดีต และสิ่งที่ขาดหายไปจากระบบการดำเนินงานในส่วนต่างๆใน 3 เสาหลักนี้ ที่เป็นเรื่องสาธารณะ ที่มีองค์กรภาคประชาชนเป็นผู้รู้ถึงปัญหา และสภาพการณ์ สภาพแวดล้อมปัญหาเป็นอย่างดี ได้นำมาสังเคราะห์หาต้นเหตุร่วมกันกับผู้ที่ถูกผลกระทบปลายทางตามรูปแบบของประเด็นสาธารณะ เพื่อหาทางออกทางแก้ร่วมกัน ก่อนจะนำบรรจุลงเป็นพิมพ์เขียว
3.เช่นนี้แล้วปัญหาและอุปสรรค รวมถึงแนวทางแก้ไขเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่ขาดหายไป ก็จะถูกยกร่างไว้ในพิมพ์เขียวฉบับต่างๆ ภายใต้บริบทของทั้ง 3 เสาหลัก สังคม - เศรษฐกิจ - การเมือง
4.เมื่อมีทั้ง 3 ส่วนนี้ครบ ต่อไปก็คือ การนำใช้ตรรกะพื้นฐานในการวางแผนจัดการ ที่ประกอบไปด้วย - ใครทำหน้าที่อะไร ที่ไหน อย่างไร และมีอะไรที่ต้องทำต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง โดยการใช้หลัก input - process - output เมื่อทั้งหมดพร้อมก็จัดทำ Process Fowchart (แผนรวม)เพื่อสามารถมองให้เห็นภาพรวมได้
ข้างต้นนี้เป็นการอธิบายความโดยสังเขปเท่านั้น อย่างน้อยก็เพื่อให้เห็นตัวอย่างได้ว่า - ระบบ TQM ของอ.ปรีดาจะไปอยู่ตรงไหน ในที่นี้ก็คือ คู่ขนานไปกับกระบวนบริหารราชการของภาครัฐ และกระบวนการในทางการเมืองทั้งระบบ(ตามโครงสร้างระบบการเมือง)พิมพ์เขียวในการแก้ปัญหา ในส่วนของ inputก่อนและหลังการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง(ฉบับของผม)ก็จะอยู่ในส่วนของการเมือง ในเรื่องออทิสติกของคุณจีรพันธ์ ที่ศึกษามาเป็นรูปเล่มและนำเสนออยู่บ่อยๆ ก็เข้าไปอยู่ในส่วนของสังคม คล้ายกับของคุณเนื้อแพร ที่พยายามกดดันให้รัฐออกพรบ.คุ้มครองผู้ป่วย ความเรียกร้องต้องการ ในอันที่จะเกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมมากมายหลายพันเรื่อง ที่ถูกปฏิเสธโดยภาครัฐตลอดมา ก็จะสามารถได้รับตอบสนองให้เป้นจริงขึ้นมาได้ เพราะทั้งหมดจะเป็นเรื่องประชาชน ที่จะเข้าไปแก้ไขเรื่องต่างๆของตนเอง โดยตนเอง ให้เป็นที่เรียบร้อย ก่อนที่จะถอยออกมาเฝ้าระวัง เมื่อฝ่ายการเมืองเข้ากลับมาทำหน้าที่ใหม่ (ซึ่งในวันนั้น พรรคกมม.ก็พร้อมที่เจ้าเข้ามาแข่งขันได้ ไม่ใช่วันนี้ ที่เห็นคาดการณ์กันถึงตัวเลข 10 กว่าที่นั่ง จะเอาไปทำอะไรได้ครับ แค่นั้นนะถอยลงมาก้าว เพื่อกระโดดได้ไกลขึ้นเถิดครับ)
ทั้งนี้และทั้งนั้น บนเวทีมัฆวานคงจะได้เริ่มพูดคุยในเรื่องนี้ อย่างที่อ.ปานเทพได้เคยกล่าวไว้ในเร็ววันนี้ต่อไป ตรงนี้จึงเป้นการเกริ่นนำเคร่าๆไว้เท่านั้น (คนถามนี่ก็ใจร้อนจริงๆนะครับ เห้นใจคนตอบบ้างซิครับ นี่เรามาร่วมด้วยช่วยกันนะครับ ไม่ใช่ผมจะไปรู้อะไรมันเสียทุกอย่างนะขอรับ)
ปล.เรื่องแก้รับธรรมนูญก็เช่นกัน ไม่ต้องรีบโผล่กันมาตอนนี้หรอกครับ นั่นมันวิธีโบราณแล้ว ทำพิมพ์เขียวให้มันแล้วเสร็จนำเสนอภาคประชาชนทุกหมู่เหล่าไปพร้อมๆกัน จะลงไม่ลงประชามติก็ว่าไป ได้คำตอบเช่นไร จึงค่อยนำมาใส่กรอปด้วยรัฐธรรมนูญ นะขอรับ
1.หากเราจะสร้างอาคารใหญ่ๆสักหลัง มันใช่หรือเปล่าครับ ที่เราต้องมีแบบแปลนในส่วนต่างๆ ที่จะใช้เป็นต้นแบบในการก่อสร้าง! ไหนจะแบบฐานราก ไปจนถึงชั้นต่างๆ รวมไปถึงแบบเดินท่อประปา ไฟฟ้า น้ำทิ้ง ฯลฯ สารพัดมากมายหลายแผ่น
- พิมพ์เขียนในการปฏิวัติ(ปฏิรูป)การเมืองก็เช่นกัน ไม่ได้ทำไม่ได้ใช้แบบแปลนเดียว แต่ต้องมีพิมพ์เขียวครอบคลุมไปใน 3 เสาหลักของสังคมกล่าวคือ สังคม - เศรษฐกิจ - การเมือง
2.จะเอาอะไรใส่เข้าไป? - โดยหลักใหญ่ใจความก็คือ การนำเอาปัญหาอุปสรรค รวมถึงความผิดพลาดจากอดีต และสิ่งที่ขาดหายไปจากระบบการดำเนินงานในส่วนต่างๆใน 3 เสาหลักนี้ ที่เป็นเรื่องสาธารณะ ที่มีองค์กรภาคประชาชนเป็นผู้รู้ถึงปัญหา และสภาพการณ์ สภาพแวดล้อมปัญหาเป็นอย่างดี ได้นำมาสังเคราะห์หาต้นเหตุร่วมกันกับผู้ที่ถูกผลกระทบปลายทางตามรูปแบบของประเด็นสาธารณะ เพื่อหาทางออกทางแก้ร่วมกัน ก่อนจะนำบรรจุลงเป็นพิมพ์เขียว
3.เช่นนี้แล้วปัญหาและอุปสรรค รวมถึงแนวทางแก้ไขเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่ขาดหายไป ก็จะถูกยกร่างไว้ในพิมพ์เขียวฉบับต่างๆ ภายใต้บริบทของทั้ง 3 เสาหลัก สังคม - เศรษฐกิจ - การเมือง
4.เมื่อมีทั้ง 3 ส่วนนี้ครบ ต่อไปก็คือ การนำใช้ตรรกะพื้นฐานในการวางแผนจัดการ ที่ประกอบไปด้วย - ใครทำหน้าที่อะไร ที่ไหน อย่างไร และมีอะไรที่ต้องทำต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง โดยการใช้หลัก input - process - output เมื่อทั้งหมดพร้อมก็จัดทำ Process Fowchart (แผนรวม)เพื่อสามารถมองให้เห็นภาพรวมได้
ข้างต้นนี้เป็นการอธิบายความโดยสังเขปเท่านั้น อย่างน้อยก็เพื่อให้เห็นตัวอย่างได้ว่า - ระบบ TQM ของอ.ปรีดาจะไปอยู่ตรงไหน ในที่นี้ก็คือ คู่ขนานไปกับกระบวนบริหารราชการของภาครัฐ และกระบวนการในทางการเมืองทั้งระบบ(ตามโครงสร้างระบบการเมือง)พิมพ์เขียวในการแก้ปัญหา ในส่วนของ inputก่อนและหลังการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง(ฉบับของผม)ก็จะอยู่ในส่วนของการเมือง ในเรื่องออทิสติกของคุณจีรพันธ์ ที่ศึกษามาเป็นรูปเล่มและนำเสนออยู่บ่อยๆ ก็เข้าไปอยู่ในส่วนของสังคม คล้ายกับของคุณเนื้อแพร ที่พยายามกดดันให้รัฐออกพรบ.คุ้มครองผู้ป่วย ความเรียกร้องต้องการ ในอันที่จะเกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมมากมายหลายพันเรื่อง ที่ถูกปฏิเสธโดยภาครัฐตลอดมา ก็จะสามารถได้รับตอบสนองให้เป้นจริงขึ้นมาได้ เพราะทั้งหมดจะเป็นเรื่องประชาชน ที่จะเข้าไปแก้ไขเรื่องต่างๆของตนเอง โดยตนเอง ให้เป็นที่เรียบร้อย ก่อนที่จะถอยออกมาเฝ้าระวัง เมื่อฝ่ายการเมืองเข้ากลับมาทำหน้าที่ใหม่ (ซึ่งในวันนั้น พรรคกมม.ก็พร้อมที่เจ้าเข้ามาแข่งขันได้ ไม่ใช่วันนี้ ที่เห็นคาดการณ์กันถึงตัวเลข 10 กว่าที่นั่ง จะเอาไปทำอะไรได้ครับ แค่นั้นนะถอยลงมาก้าว เพื่อกระโดดได้ไกลขึ้นเถิดครับ)
ทั้งนี้และทั้งนั้น บนเวทีมัฆวานคงจะได้เริ่มพูดคุยในเรื่องนี้ อย่างที่อ.ปานเทพได้เคยกล่าวไว้ในเร็ววันนี้ต่อไป ตรงนี้จึงเป้นการเกริ่นนำเคร่าๆไว้เท่านั้น (คนถามนี่ก็ใจร้อนจริงๆนะครับ เห้นใจคนตอบบ้างซิครับ นี่เรามาร่วมด้วยช่วยกันนะครับ ไม่ใช่ผมจะไปรู้อะไรมันเสียทุกอย่างนะขอรับ)
ปล.เรื่องแก้รับธรรมนูญก็เช่นกัน ไม่ต้องรีบโผล่กันมาตอนนี้หรอกครับ นั่นมันวิธีโบราณแล้ว ทำพิมพ์เขียวให้มันแล้วเสร็จนำเสนอภาคประชาชนทุกหมู่เหล่าไปพร้อมๆกัน จะลงไม่ลงประชามติก็ว่าไป ได้คำตอบเช่นไร จึงค่อยนำมาใส่กรอปด้วยรัฐธรรมนูญ นะขอรับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น