โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
โฆษกทัพภาค2 ระบุรหัส10หลักในแผนที่ตรงที่ตั้งฐานทหารไทย รวบรวมหลักฐานส่งอัยการฟ้องศาล ผบ.ฉก.ทหารพราน23 วอนปชช.แจ้งเบาะแสสายลับ
จาก
การจับ 3 สายลับกัมพูชาเมื่อ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยทหารกองกำลังสุรนารี
กองทัพภาคที่ 2 ร่วมกับตำรวจ สภ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ จับกุมนายสุชาติ
มูฮัมหมัด อายุ 32 ปี สัญชาติไทย นายอึ้ง กิมไท อายุ 43 ปี สัญชาติกัมพูชา
และนายเหวียง เติ้งยัง อายุ 31 ปี สัญชาติเวียดนาม ขับรถกระบะโตโยต้า วีโก้
ทะเบียน ชว-1901 กทม. ไปสอดแนมที่บ้านภูมิซรอล อ.กันทรลักษ์
ขณะที่ ทางการกัมพูชายังแถลงปกป้องคนทั้งสามว่า ไม่ใช่จารชน โดย นายโกย กวง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ระบุว่ากงสุลกัมพูชาในไทย ตั้งทนายความ 4 คนช่วยสู้คดีด้วย และกล่าวหาไทยสร้างเรื่องเพื่อกดดันให้มีการแลกตัวกับนายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่ถูกขังเรือนจำกัมพูชา และหวังผลต่อคณะกรรมการมรดกโลก
ล่าสุด วานนี้(14 มิ.ย.) พันเอกประวิทย์ หูแก้ว โฆษกกองทัพภาคที่ 2 แถลงยืนยันว่า ผู้เชี่ยวชาญภาษาและทางทหารได้สอบสวนผู้ต้องหาทั้งสามคนเพิ่มเติม โดยเฉพาะรหัสตัวเลข 10 หลักกำกับในแผนที่ทางทหาร 10 ชุด บางชุดตรงกับจุดที่ตั้งฐานทหารฝ่ายไทยจริง มีแนวโน้มว่าทั้งสามคนเป็นสายลับกัมพูชาจริง ซึ่งกำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อส่งฟ้องต่ออัยการและศาลต่อไป
"ส่วนกัมพูชากล่าวหาไทยสร้างหลักฐาน เท็จนั้น ไม่เป็นความจริง กระบวนการยุติธรรมประเทศไทยจะให้ความยุติธรรมกับทุกคน ซึ่งไม่มีใครสามารถเข้าไปแทรกแซงได้อยู่แล้ว" โฆษกกองทัพภาคที่ 2 กล่าว
วันเดียวกันนี้ นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า วันที่ 14 มิ.ย. นายวีระชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ยื่นข้อคิดเห็นฝ่ายไทยต่อเอกสารของฝ่ายกัมพูชา เกี่ยวกับการสู้รบระหว่างไทยกับกัมพูชาเมื่อปลายเม.ย.ที่ผ่านมา รวมทั้งจำนวนประชาชนที่อาศัยตามแนวชายแดน และตัวเลขผู้อพยพยื่นต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) ซึ่งให้ทั้งสองฝ่ายได้ยื่นหลักฐานเพิ่มเติมอีกครั้ง เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้แสดงข้อสังเกตในเอกสารข้อมูลระหว่างกัน
สระแก้วทำประวัติ 55 เขมรมุสลิม
ขณะ ที่ชายแดนด้าน จ.สระแก้ว วันเดียวกันนี้ พ.ต.ท.เบญจพล รอดสวาสดิ์ รอง ผกก.ตม.จว.สระแก้ว พ.ต.ท.สมศักดิ์ เจียมกรกต สว.ตม.จว.สระแก้ว ประสานกับ พ.ต.ท.จตุรภัทร สิงหัสฐิต สวป.สภ.คลองลึก พ.ต.ท.ธัชชัย ทิพเนตร สว.ตร.ทท.สระแก้ว และฝ่ายความมั่นคงกองกำลังบูรพา กองทัพภาคที่ 1 ร่วมกันตรวจสอบและทำประวัติชาวกัมพูชา 225 คน จากฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เข้ามาฝั่งไทยอย่างละเอียด
จากการตั้งจุดร่วมตรวจค้นยาเสพติด บริเวณทางเข้าตลาดโรงเกลือ หน้าด่านพรมแดนอรัญประเทศ พบชาวกัมพูชาจำนวนมากเดินแบกสัมภาระข้ามด่านมา สอบถามทราบว่า เป็นชาวกัมพูชามุสลิม 55 คน แยกเป็นชาย 34 หญิง 21 คน อ้างว่าจะไปเที่ยวเยี่ยมญาติที่ปัตตานี และ นราธิวาส ถือพาสปอร์ตกัมพูชา วีซ่าระบุมาท่องเที่ยว 14 วัน จึงตรวจสอบถ่ายรูปทำประวัติไว้อย่างละเอียด ก่อนอนุญาตเดินทางต่อไปได้
"กษิต-ฮอ" ถกส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ที่ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเวลา 16.00 น. นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงคณะเจ้าหน้าที่สำรวจล่วงหน้าไปยังพื้นที่ปะทะในกัมพูชาแล้ว ว่า เป็นข้อมูลที่คาดเคลื่อน ซึ่งในข้อเท็จจริงเป็นเพียงเจ้าหน้าที่การทูตลงดูพื้นที่เท่านั้น ซึ่งฝ่ายไทยยังยืนยันว่า การประชุมจีบีซี จะต้องทำควบคู่กับการส่งคณะเจ้าหน้าที่สำรวจล่วงหน้าลงพื้นที่ปะทะ ที่จะนำไปสู่การลงนามในหนังสือข้อตกลงการส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียลง พื้นที่ต่อไป
เนื่องจากการประชุมจีบีซี จะเป็นเวทีการหารือเรื่องการถอนกำลังทหาร และควรกำหนดเรื่องนี้ให้เรียบร้อยก่อนที่จะมีการส่งคณะผู้สังเกตการณ์ลง พื้นที่ แม้ว่า เรื่องนี้จะมีความเห็นที่ขัดแย้งจากฝ่ายกัมพูชาที่ต้องการลงนามข้อตกลงก่อน ที่จะมีการประชุมจีบีซีขึ้น แต่ในระดับเจ้าหน้าที่ก็พยายามเจรจาหาทางออกและหาจุดร่วมระหว่างกัน โดยในระหว่างการประชุมอาเซม ที่ประเทศฮังการี เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้พบปะหารือกับนายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา เพื่อผลักดันหาทางออกในความเห็นไม่ตรงกันระหว่างไทย - กัมพูชา เกี่ยวกับร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ (ทีโออาร์) การส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียลงพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า ท่าทีของไทยไม่ได้พยายามสร้างเงื่อนไขขึ้นมาใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ตกลงกันไว้ตามที่รัฐมนตรีกลาโหมของไทยและกัมพูชา ได้ตกลงกันไว้ในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ในวันที่ 18-19 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประเทศอินโดนีเซีย
ทหารวอนปชช.แจ้งเบาะแสสายลับชายแดน
ที่ค่ายพิทักษ์อุทุมพรเขต หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23 บ้านน้ำเย็น อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พ.อ.ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ กล่าวว่า ขณะนี้แม้ว่าไทยเราจะจับกุมสายลับจาก 3 ชาติได้แต่ตนยังมีความเชื่อว่ายังคงมีสายลับที่กระจายอยู่ในพื้นที่ในแถบชาย แดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะในเขตอำเภอน้ำยืน จ.อุบลราชธานี, หมู่บ้านภูมิชรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ บริเวณช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ หรือแม้กระทั่งชายแดนไทย-กัมพูชา จ.สุรินทร์ จึงอยากจะขอความร่วมมือจากราษฎรที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน ได้ช่วยกันเฝ้าระวังกลุ่มบุคคล หรือบุคคลแปลกหน้า โดยเฉพาะหากเป็นชาวต่างชาติ อย่าได้ไว้วางใจให้เฝ้าระสังเกตดูว่า เขามีเข็มทิศไหม มีแผนที่ประเทศเราติดตัวมารึเปล่า
ซึ่งหากพบสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะเป็นผู้ ที่ไม่หวังดีกับประเทศของเรา เพื่อป้องกัน และดูแลรักษาความปลอดภัยของชายแดน ความปลอดภัยของราษฎรตามแนวชายแดน และความปลอดภัยของประเทศชาติ ต้องขอแรงประชาชนรีบแจ้งท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ให้รีบแจ้งทหารที่ตรึงกำลังตั้งด่านอยู่ให้ทราบทันที เพื่อเราจะข้าดำเนินการตรวจสอบจับกุมต่อไป
ส่วนสายลับ 3 คนที่ถูกจับกุมได้ถูกคุมขังที่เรือนกันทรลักษ์ สายลับคนไทยยอมให้ปากคำ แต่สายลับจากกัมพูชา และเวียดนามยังไม่พูด อ้างว่ารอกงสุล และทนายจากประเทศตนเท่านั้น
ขณะที่ ทางการกัมพูชายังแถลงปกป้องคนทั้งสามว่า ไม่ใช่จารชน โดย นายโกย กวง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ระบุว่ากงสุลกัมพูชาในไทย ตั้งทนายความ 4 คนช่วยสู้คดีด้วย และกล่าวหาไทยสร้างเรื่องเพื่อกดดันให้มีการแลกตัวกับนายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่ถูกขังเรือนจำกัมพูชา และหวังผลต่อคณะกรรมการมรดกโลก
ล่าสุด วานนี้(14 มิ.ย.) พันเอกประวิทย์ หูแก้ว โฆษกกองทัพภาคที่ 2 แถลงยืนยันว่า ผู้เชี่ยวชาญภาษาและทางทหารได้สอบสวนผู้ต้องหาทั้งสามคนเพิ่มเติม โดยเฉพาะรหัสตัวเลข 10 หลักกำกับในแผนที่ทางทหาร 10 ชุด บางชุดตรงกับจุดที่ตั้งฐานทหารฝ่ายไทยจริง มีแนวโน้มว่าทั้งสามคนเป็นสายลับกัมพูชาจริง ซึ่งกำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อส่งฟ้องต่ออัยการและศาลต่อไป
"ส่วนกัมพูชากล่าวหาไทยสร้างหลักฐาน เท็จนั้น ไม่เป็นความจริง กระบวนการยุติธรรมประเทศไทยจะให้ความยุติธรรมกับทุกคน ซึ่งไม่มีใครสามารถเข้าไปแทรกแซงได้อยู่แล้ว" โฆษกกองทัพภาคที่ 2 กล่าว
วันเดียวกันนี้ นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า วันที่ 14 มิ.ย. นายวีระชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ยื่นข้อคิดเห็นฝ่ายไทยต่อเอกสารของฝ่ายกัมพูชา เกี่ยวกับการสู้รบระหว่างไทยกับกัมพูชาเมื่อปลายเม.ย.ที่ผ่านมา รวมทั้งจำนวนประชาชนที่อาศัยตามแนวชายแดน และตัวเลขผู้อพยพยื่นต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) ซึ่งให้ทั้งสองฝ่ายได้ยื่นหลักฐานเพิ่มเติมอีกครั้ง เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้แสดงข้อสังเกตในเอกสารข้อมูลระหว่างกัน
สระแก้วทำประวัติ 55 เขมรมุสลิม
ขณะ ที่ชายแดนด้าน จ.สระแก้ว วันเดียวกันนี้ พ.ต.ท.เบญจพล รอดสวาสดิ์ รอง ผกก.ตม.จว.สระแก้ว พ.ต.ท.สมศักดิ์ เจียมกรกต สว.ตม.จว.สระแก้ว ประสานกับ พ.ต.ท.จตุรภัทร สิงหัสฐิต สวป.สภ.คลองลึก พ.ต.ท.ธัชชัย ทิพเนตร สว.ตร.ทท.สระแก้ว และฝ่ายความมั่นคงกองกำลังบูรพา กองทัพภาคที่ 1 ร่วมกันตรวจสอบและทำประวัติชาวกัมพูชา 225 คน จากฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เข้ามาฝั่งไทยอย่างละเอียด
จากการตั้งจุดร่วมตรวจค้นยาเสพติด บริเวณทางเข้าตลาดโรงเกลือ หน้าด่านพรมแดนอรัญประเทศ พบชาวกัมพูชาจำนวนมากเดินแบกสัมภาระข้ามด่านมา สอบถามทราบว่า เป็นชาวกัมพูชามุสลิม 55 คน แยกเป็นชาย 34 หญิง 21 คน อ้างว่าจะไปเที่ยวเยี่ยมญาติที่ปัตตานี และ นราธิวาส ถือพาสปอร์ตกัมพูชา วีซ่าระบุมาท่องเที่ยว 14 วัน จึงตรวจสอบถ่ายรูปทำประวัติไว้อย่างละเอียด ก่อนอนุญาตเดินทางต่อไปได้
"กษิต-ฮอ" ถกส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ที่ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเวลา 16.00 น. นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงคณะเจ้าหน้าที่สำรวจล่วงหน้าไปยังพื้นที่ปะทะในกัมพูชาแล้ว ว่า เป็นข้อมูลที่คาดเคลื่อน ซึ่งในข้อเท็จจริงเป็นเพียงเจ้าหน้าที่การทูตลงดูพื้นที่เท่านั้น ซึ่งฝ่ายไทยยังยืนยันว่า การประชุมจีบีซี จะต้องทำควบคู่กับการส่งคณะเจ้าหน้าที่สำรวจล่วงหน้าลงพื้นที่ปะทะ ที่จะนำไปสู่การลงนามในหนังสือข้อตกลงการส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียลง พื้นที่ต่อไป
เนื่องจากการประชุมจีบีซี จะเป็นเวทีการหารือเรื่องการถอนกำลังทหาร และควรกำหนดเรื่องนี้ให้เรียบร้อยก่อนที่จะมีการส่งคณะผู้สังเกตการณ์ลง พื้นที่ แม้ว่า เรื่องนี้จะมีความเห็นที่ขัดแย้งจากฝ่ายกัมพูชาที่ต้องการลงนามข้อตกลงก่อน ที่จะมีการประชุมจีบีซีขึ้น แต่ในระดับเจ้าหน้าที่ก็พยายามเจรจาหาทางออกและหาจุดร่วมระหว่างกัน โดยในระหว่างการประชุมอาเซม ที่ประเทศฮังการี เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้พบปะหารือกับนายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา เพื่อผลักดันหาทางออกในความเห็นไม่ตรงกันระหว่างไทย - กัมพูชา เกี่ยวกับร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ (ทีโออาร์) การส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียลงพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า ท่าทีของไทยไม่ได้พยายามสร้างเงื่อนไขขึ้นมาใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ตกลงกันไว้ตามที่รัฐมนตรีกลาโหมของไทยและกัมพูชา ได้ตกลงกันไว้ในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ในวันที่ 18-19 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประเทศอินโดนีเซีย
ทหารวอนปชช.แจ้งเบาะแสสายลับชายแดน
ที่ค่ายพิทักษ์อุทุมพรเขต หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23 บ้านน้ำเย็น อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พ.อ.ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ กล่าวว่า ขณะนี้แม้ว่าไทยเราจะจับกุมสายลับจาก 3 ชาติได้แต่ตนยังมีความเชื่อว่ายังคงมีสายลับที่กระจายอยู่ในพื้นที่ในแถบชาย แดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะในเขตอำเภอน้ำยืน จ.อุบลราชธานี, หมู่บ้านภูมิชรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ บริเวณช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ หรือแม้กระทั่งชายแดนไทย-กัมพูชา จ.สุรินทร์ จึงอยากจะขอความร่วมมือจากราษฎรที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน ได้ช่วยกันเฝ้าระวังกลุ่มบุคคล หรือบุคคลแปลกหน้า โดยเฉพาะหากเป็นชาวต่างชาติ อย่าได้ไว้วางใจให้เฝ้าระสังเกตดูว่า เขามีเข็มทิศไหม มีแผนที่ประเทศเราติดตัวมารึเปล่า
ซึ่งหากพบสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะเป็นผู้ ที่ไม่หวังดีกับประเทศของเรา เพื่อป้องกัน และดูแลรักษาความปลอดภัยของชายแดน ความปลอดภัยของราษฎรตามแนวชายแดน และความปลอดภัยของประเทศชาติ ต้องขอแรงประชาชนรีบแจ้งท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ให้รีบแจ้งทหารที่ตรึงกำลังตั้งด่านอยู่ให้ทราบทันที เพื่อเราจะข้าดำเนินการตรวจสอบจับกุมต่อไป
ส่วนสายลับ 3 คนที่ถูกจับกุมได้ถูกคุมขังที่เรือนกันทรลักษ์ สายลับคนไทยยอมให้ปากคำ แต่สายลับจากกัมพูชา และเวียดนามยังไม่พูด อ้างว่ารอกงสุล และทนายจากประเทศตนเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น