โดย Annie Handicraft เมื่อ 14 มิถุนายน 2011 เวลา 10:43 น.
การที่คุณสุวิทย์ คุณกิตติ บอกว่าจะต้องมีการปักปันเขตแดนก่อนนั้น เราปักปันเขตแดนโดยใช้สันปันน้ำแล้ว ตามสนธิสัญญา 1904 คุณสุวิทย์และรัฐบาลเข้าใจแจ่มแจ้งหรือเปล่าว่า เส้นสันปันน้ำอยู่ที่ใด อีกทั้งยังมีคำสงวนสิทธิ์ของรัฐบาลไทยตาม พศ 2505ต่อศาลโลก ที่ยังยึดสันปันน้ำเป็นเครื่องยืนยัน และข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา สรุปว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่สำเร็จแล้วของเรื่องนี้เมื่อปีพศ 2505หรือคะ ตกลงหมายความว่าอย่างไร จะเอาอย่างไร
MOU43 คือจุดเปลี่ยนของหลักเขตแดน 73 หลัก และแนวเขตสันปันน้ำบริเวณปราสาทพระวิหาร นายกอภิสิทธิ์ ยืนยันว่าสันปันน้ำอยู่ที่เป้ยตาดีด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์และทางธรณีวิทยา เพราะฉะนั้น
๑. ปราสาทพระวิหารสามารถกลับมาเป็นของเราตามข้อสงวนสิทธิ์ที่ท่านถนัด คอมันต์ ได้ตั้งข้อสงวนไว้กับสหประชาติเมื่อ พ.ศ.2505
๒.ตามหลักการใช้สันปันน้ำเป็นตัวแบ่งเขตแดน เป้ยตาดีชะง่อนผาและปราสาทพระวิหารก็ยังคงต้องเป็นของเราอยู่
3. การปักปันเขตแดนที่ใช้สันปันน้ำเราปักปันไปแล้วตามสนธิสัญญา 1904 ดังนั้นการที่รัฐบาลกล่าวว่าต้องปักปันเขตแดนก่อน รัฐบาลใช้ความคิดแบบไหนเป็นตรรกะในการคิด
ถ้ารบ.ต้อง การจะขอขึ้นร่วมมรดกโลกกับกัมพูชา ตามที่นางอิริน่า โบโกว่า แนะนำนั่นคือรัฐบาลใช้เส้นสันปันน้ำที่ปรากฏบนแผนที่มาตราส่วน 1:200,000
การ ที่คุณสุวิทย์ไปเซ็นร่างสัญญาข้อตกลงไว้ในเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add.3 มีวิธีแก้ไขสถานการณ์ที่ง่ายสุด ตามที่หลายๆท่านได้แนะนำคือ ถอนตัวออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก เพื่อประท้วงต่อมติคณะกรรมการมรดกโลกทั้งหมด และไม่ให้ปัญหาบานปลายไปถึงรัฐบาลชุดหน้า และ ไม่มีความจำเป็นใดๆต้องเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการออกไป เพราะเป็นเพียงแค่การหนีเอาตัวรอดของรัฐบาลชุดนี้ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงมากในอนาคต
ในวันนี้ (วันอังคารที่ 14) คุณสุวิทย์ คุณกิตตินัดประชุมร่วมกับคณะมรดกโลกชุดใหญ่โดยมีดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรีเป็นประธาน จะกำหนดท่าทีและแนวทางการทำงานก่อนเดินทางไปประชุมมรดกโลกที่ปารีส วันที่17 มิย. หัวข้อเรื่องกำหนดท่าทีต่อข้อเสนอของนางอิริน่า โบโกว่า ที่ต่อรอง "ให้ไทยร่วมในแผนการบูรณะปราสาทพระวิหาร" แลกกับการเลื่อนแผนบริหารจัดการพท.ของกพช.ออกไปอีกหนึ่งปี ข้อเสนอของยูเนส โกในเรื่องบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร เป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำ เพราะนี่คือก็การตอกย้ำว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของกัมพูชา เพราะเป็นการร้องขอโดยฝ่ายกัมพูชา อ้างว่ามีความเสียหายโดยเกิดขึ้นจากการปะทะของฝ่ายไทย เป็นการรุกคืบสร้างหลักฐานเพื่อนำไปใช้ในเวทีนานาชาติ ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปี 2505 เช่นเดียวกับที่ยูเนสโกสนับ สนุนเงิน 5 หมื่นเหรียญสหรัฐฯให้กัมพูชานำมาซ่อมและสร้างตลาดในดินแดนประเทศไทย เป็นการละเมิดอธิปไตยของไทยโดยยูเนสโกอย่างชัดเจน
จุด ประสงค์ของการไปยื่นหนังสือเพื่อขอให้ตั้งกรรมการสอบสวนรัฐภาคีกัมพูชา ศูนย์กลางมรดกโลกและคณะกรรมการมรดกโลกที่มีมติที่ประชุมครั้งที่ 31-34 และที่สำคัญร้องขอให้คณะกรรมการมรดกโลกลบรายชื่อ"ปราสาทพระวิหาร"ออกจาก บัญชีมรดกโลกนั้นจึงสมเหตุสมผลที่จะต้องกระทำเป็นอย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น