บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำสัมภาษณ์ของฮุนเซนภายหลังจากเดินทางกลับถึงกัมพูชา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2552

อ่านเต็มๆ คำสัมภาษณ์ของฮุนเซน และการตอบโต้จากกระทรวงการต่างประเทศของไทย‏


Wed, 2009-11-11 00:47

ฮุน เซน ประกาศกร้าว “นี่คือปัญหาระหว่างผมกับอภิสิทธิ์” วิพากษ์นายกฯ ไทยตกเป็นเครื่องมือของทักษิณเองและทำอะไรไม่คิดถึงประโยชน์ชาติ ขู่หากไทยปิดพรมแดน กัมพูชาจะปิดการค้ากับไทย แม้แต่หมูตัวเดียวก็จะไม่ให้เข้าไปขาย ด้านเลขานุการรมต.ต่างประเทศของไทยโต้คำสัมภาษณ์ฮุนเซนถือเป็นการแทรกแซง กิจการภายในอีกครั้ง


สรุป เนื้อหาสำคัญในเบื้องต้นของการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวของนายกรัฐมนตรี กัมพูชา ที่ห้องรับรองพิเศษท่าอากาศยานนานาชาติกรุงพนมเปญ ภายหลังจากเดินทางกลับถึงกัมพูชา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2552 เวลา 16.15 น.


 “หาก ไทยสั่งปิดพรมแดนเมื่อใดก็อย่าห้ามเฉพาะคนที่ประสงค์จะข้ามแดน เพราะกัมพูชาก็จะปิดเช่นกันและปิดทางด้านเศรษฐกิจด้วย สั่งห้ามสินค้าไทย ทั้งหมดข้ามแดนเข้ามายังตลาดกัมพูชา แม้แต่หมูเพียงตัวเดียวก็จะไม่ให้ข้ามเข้ามา”

เรื่อง ที่เกิดขึ้น ในความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชานี้เป็นปัญหาระหว่างผมกับนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทยในปัจจุบันโดยแท้ ก่อนที่จะพูดขอให้ศึกษาหาความรู้ให้มากกว่านี้เพราะตอนที่ผมเริ่มทำงานการ เมืองนั้นนายกรัฐมนตรีไทยยังเป็นเพียงเด็กวิ่งเล่นอยู่เลย

ตาม ที่ฝ่ายไทยออกข่าวว่าจะกดดันกัมพูชาด้วยการปิดพรมแดนนั้น “อยาก ปิดก็ขอให้ปิดไปเลยกัมพูชาก็จะ “เดินตามหลังประเทศไทย” (ทำตามประเทศไทยเพื่อโต้ตอบ) หากไทยสั่งปิดพรมแดนเมื่อใดก็อย่าห้ามเฉพาะคนที่ประสงค์จะข้ามแดน เพราะกัมพูชาก็จะปิดเช่นกันและปิดทางด้านเศรษฐกิจด้วย สั่งห้ามสินค้าไทย ทั้งหมดข้ามแดนเข้ามายังตลาดกัมพูชา แม้แต่หมูเพียงตัวเดียวก็จะไม่ให้ข้ามเข้ามา สินค้าต่างๆ ทั้งหลายของไทย กัมพูชาสามารถนำเข้าจากประเทศอื่นๆ ได้ทั้งหมด ขอยกข้อมูลการค้าไทย-กัมพูชา ปี ค.ศ. 2008 มาเป็นตัวอย่าง ไทยส่งสินค้ามาขายกัมพูชา ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่กัมพูชาส่งออกไปไทยแค่ 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่างไรก็ดี ก็ขอเห็นด้วยกับการที่นายกรัฐมนตรีไทยได้บอกว่ามาตรการต่าง ๆ จะมิให้มีผลกระทบต่อประชาชนสองประเทศเพราะผมเองก็ไม่อยากกระทำเช่นนั้น [ปิดด่านให้เกิดผลกระทบ] ไม่สอดคล้องกับแนวทางความร่วมมือต่อกันตามกรอบอาเซียน ผมไม่อยากทำเช่นนี้ แต่ผู้นำฝ่ายไทยก็ขู่ผมเสียเหลือเกิน ผมจึงขอสั่งการไปยังเจ้าหน้าที่กัมพูชาทั้งหมดว่าเรื่องนี้ [การปิดด่านตอบโต้ไทยและระงับการนำเข้าสินค้าของไทย] ให้เตรียมการไว้ได้เลย


“ทักษิณไปมาแล้วทั่วโลกไม่เห็นทำอะไร ไปศรีลังกาล่าสุดก็ยังไม่เห็นได้ทำอะไรเลย แต่พอบอกว่าจะมากัมพูชาก็หาเรื่องกัมพูชา”

เรื่อง การแต่งตั้ง อดีตนายกรัฐมนตรีไทยมาเป็นที่ปรึกษานั้น ผมขอประกาศชัดๆ ให้คนไทยรู้ว่าเรื่องนี้รัฐบาลนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ มาหาเรื่องกัมพูชา เรื่องนี้ขอให้คิดดีๆ ว่าฮุนเซน หรือ อภิสิทธิ์ผิด และผมจะไม่มีวันถอยอยู่แล้ว กัมพูชาเคยแต่งตั้งที่ปรึกษาชาวต่างประเทศมาหลายคนแล้ว ทั้งชาวเกาหลีและชาวออสเตรเลีย หากทักษิณมาพำนัก อยู่ในกัมพูชา นายกรัฐมนตรีไทยจะกลัวอะไรกันนักกันหนา ทักษิณไปมาแล้วทั่วโลกไม่เห็นทำอะไร ไปศรีลังกาล่าสุดก็ยังไม่เห็นได้ทำอะไรเลย แต่พอบอกว่าจะมากัมพูชาก็หาเรื่องกัมพูชา ผมได้อธิบายเรื่องนี้ตั้งแต่การประชุมที่หัวหินเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 แล้ว ผมอดทนอดกลั้นเงียบมาตลอด แต่นายกรัฐมนตรีไทยและประเทศไทยต่อว่าต่อขานผมอยู่ข้างเดียวเรื่องการยกเลิก บันทึกความเข้าใจ (MOU) [ว่าด้วย OCA] นี่ก็เป็นนายอภิสิทธิ์นี่หล่ะ ที่เอาผลประโยชน์ร่วมของประเทศทั้งสองฝ่ายมาทำให้เกิดความเสียหาย

เรื่อง แถลงการณ์ ของกระทรวงการต่างประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ที่อภิสิทธิ์อ้างว่าอยู่เฉยไม่ได้เพราะดูหมิ่นศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของ ไทย ผมจะบอกให้ว่าจริงๆ แล้วปฏิกิริยาของคนไทยที่แท้จริงเป็นอย่างไร คือพวกเสื้อแดงสนับสนุนการแต่งตั้ง พวกเสื้อเหลืองโกรธและประท้วงคัดค้าน และยังมีกลุ่มที่สบายใจโดยอยู่เฉยๆ เงียบๆ อีกด้วยต่างหาก พวกนี้เขารู้ว่า รัฐบาลฮุนเซน เป็นรัฐบาลที่ดี และสมัยทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีก็ทำให้เขาสบายใจ มีเงินใช้ ยิ่งนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ฯ ดำเนินการกดดันเราแรงแค่ไหนก็จะได้รับผลสะท้อนกลับไปแรงเท่านั้น


“อภิสิทธิ์ ตกเป็นเครื่องมือของทักษิณเอง เพราะเมื่อทักษิณเปิดตัวเข้ามา อภิสิทธิ์ก็กระโดดออกมาตอบโต้โดยไม่คิดอะไรเลยและไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของ ชาติเลย”

การที่นายก รัฐมนตรีอภิสิทธิ์เตือนให้นายกรัฐมนตรีฮุนเซนอย่าเป็นเบี้ยในหมากเกม ของทักษิณนั้น เราไม่ได้เป็นเครื่องมือของใคร อยากรู้นักว่าใครเป็นเบี้ยของใครกันแน่ อภิสิทธิ์ตกเป็นเครื่องมือของทักษิณเอง เพราะเมื่อทักษิณเปิดตัวเข้ามา อภิสิทธิ์ก็กระโดดออกมาตอบโต้โดยไม่คิดอะไรเลยและไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของ ชาติเลย แถลงมาจากโตเกียวเรื่องการยกเลิก MOU ก็ ขอให้คนไทยคิดดูเอาเองก็แล้วกันว่าสมบัติของรัฐ แต่กลับยกเอาเรื่องส่วนตัวมาเป็นเหตุเลิกความร่วมมือ คนไทยยอมรับได้ไหม คนอย่างนี้จะเอามาเป็นผู้นำอาเซียนได้ไหม เพราะว่าในปี ค.ศ. 2015 อาเซียนจะร่วมกันหลายด้าน เปิดพรมแดนให้เดินทางไปมาหาสู่ร่วมกัน ใช้เงินสกุลเดียวกัน แต่ไทยเองกลับมารุกรานกัมพูชากันอยู่เห็นๆ ยกกำลังเข้ามายึดดินแดนกัมพูชาสมัยนครวัดนั้นประเทศไทยอยู่ ที่ไหนกัน อ้างว่า กัมพูชามายึดครองบุกรุกดินแดนไทยนั้น กัมพูชาจะไปยึดดินแดนไทยได้อย่างไร ศึกษาประวัติศาสตร์เสียให้ดีว่าใครรุกรานใครกันแน่

ทักษิณไม่ ได้เป็นเครื่องมือให้เราแต่ผมต้องการเอาประสบการณ์ของ “ท่าน ทักษิณ” มาช่วยงานด้านเศรษฐกิจของกัมพูชา ผมจึงถือโอกาสนี้ร้องขอให้พี่น้องเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยเสียสละอนุญาตให้ ผมนำ ”ท่านทักษิณ” มาช่วยกัมพูชาในเรื่องเศรษฐกิจบ้างด้วยแล้วกัน

ตาม ที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน มีคำแถลงว่าขอให้แก้ปัญหาเรื่องนี้ผมก็เห็นด้วย แต่ดูเหมือนว่าข้อเสนอของเลขาธิการอาเซียน จะไม่สอดคล้องกับท่าทีของรัฐบาลไทย ความจริง กัมพูชาพร้อมที่จะเจรจาอย่างไรเมื่อไรก็ได้ ไม่ว่าทวิภาคีหรือพหุภาคี แต่ก็เหมือนว่าฝ่ายไทยได้ปฏิเสธเสียแล้ว แต่ท่าน สุรินทร์ต้องฟังให้เข้าใจด้วย ขอให้เลขาธิการอาเซียนพิจารณาแก้ปัญหาเหล่านี้ในลักษณะเบ็ดเสร็จในคราวเดียว และแก้ทั้งหมด ทั้งเรื่องของทักษิณ / เรื่องการปฏิวัติเมื่อ 19 กันยายน 2549 / เรื่องการรุกรานดินแดนของกัมพูชา / การที่กัมพูชาตั้งทักษิณเป็นที่ปรึกษา จะใช้กลไกอะไรกัมพูชาก็พร้อม ทั้งทวิและพหุภาคี เรื่องนี้ที่จริงอยากยกขึ้นพูดที่หัวหินเหมือนกันแต่ก็อดกลั้นไว้ ถือว่าตนได้ไว้หน้าประเทศไทยและนายอภิสิทธิ์แล้ว การแก้เรื่องนี้ต้องแก้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของเรื่อง ในเมื่อเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับทักษิณก็ต้องไล่แก้ตั้งแต่ทักษิณมาเลย ตั้งแต่เรื่องการปฏิวัติ เมื่อ 19 กันยายน 2549 “ถ้า อภิสิทธิ์ เก่งจริงก็ขอให้เลือกตั้งใหม่สิ ท่านกลัวอะไรหรือ หรือว่ากลัวที่จะไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหรืออย่างไร หรือว่ากลัวว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้ง”

ผมเอง เป็นนายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้รับเสียงสนับสนุนถึง 2/3 ของสภากัมพูชา แล้ว “ท่านอภิสิทธิ์” ได้รับเท่าไหร่กันหรือ ขโมยเก้าอี้เขามานั่ง ขโมยของๆ คนอื่นมาเป็นของตัวเองจะให้เคารพได้อย่างไร

อภิสิทธิ์ มีปัญหา ท่วมตัวอยู่แล้ว อาจตายได้ มี ปัญหากับเพื่อนบ้านทั้งหมด ทั้งลาว กัมพูชา มาเลเซียและพม่า นอกจากนั้น ยังมีปัญหาภาคใต้ไทย ปัญหาเสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อน้ำเงิน เสื้อขาว เพื่อไทย เสื้อเหลืองเองก็ยังไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสียด้วยซ้ำ กัมพูชาจะต้องเคารพอะไรไทยหรือ การแต่งตั้งทักษิณเพียงคนเดียว ไม่เกี่ยวกับไทย ผมเคยบอกอภิสิทธิ์ในการพบกันแล้วว่าทักษิณเป็นเพื่อนของผม เพื่อนไม่สามารถหักหลังเพื่อนได้ ไม่สามารถโยนเพื่อนให้เสือกินได้หรอก ดังนั้น อยากฉีกอะไรทิ้งก็ฉีกไปเลย อยากปิดอะไรก็ปิดไปเถิด เพราะถ้าเปิดคงจะไม่สะดวกแล้ว เห็นทีต้องถอนกำลังทหาร 911 (หน่วยรบพิเศษ) ของกัมพูชาออกภายในหนึ่งสัปดาห์ดีกว่า เพราะว่าใช้กำลังเพียงนิดๆ หน่อยก็พอ [ที่จะสู้กับไทย] แล้ว

กรณีมีข่าวลือว่า ทักษิณเข้ามาในกัมพูชาแล้วหลายครั้งนั้น ผมก็ขอปฏิเสธชัดๆ อีก และเห็นว่าข้อมูลข่าวกรองของท่านที่ได้มานั้นผิดพลาด เป็นการแสดงถึงความอ่อนด้อยของการข่าว ทั้งเรื่องการที่ลือว่าเข้ามาเกาะกง รวมทั้งตอนที่ รองนายกรัฐมนตรีสุเทพฯ มากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเพื่อพบผมที่อำเภอตาเขมา รองนายกรัฐมนตรีสุเทพฯ ของไทยได้ขอว่า ให้ช่วยจับทักษิณส่งตัวไปประเทศไทยได้หรือไม่ เรื่องนี้ผมทำไม่ได้หรอก ถ้าผมทำเช่นนั้นก็ถือเป็น “กบฏต่อมิตร” และเรื่องการร้องขอให้จับตัวทักษิณส่งไปและข้อหาความผิดที่กล่าวโทษต่อ ทักษิณเป็นกรณีเกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งนั้น

เห็นพูดกันนัก ว่า ทักษิณมาอยู่ในกัมพูชา ขอยืนยันอีกครั้งว่าไม่เคยมา แต่ตอนนี้ขอประกาศชัดๆ เลยว่าจะเชิญมาปาฐกถาเรื่องเศรษฐกิจให้ข้าราชการและนักธุรกิจระดับสูงของ กัมพูชาจำนวนประมาณ 300 คน ได้รับฟัง ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ช่วง 8 โมงเช้า ที่กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังกัมพูชา

ขอประกาศชัดๆ ให้คนกัมพูชาทุกคนทราบว่า ทักษิณ ชวลิต สมชาย คนเหล่านี้เคยเป็นนายกรัฐมนตรีไทยทั้งนั้น และเป็นเพื่อนของฮุน เซนแห่งกัมพูชา จึงขอให้ทุกคนช่วยอำนวยความสะดวกแก่บุคคลเหล่านี้ และขอร้องให้พี่น้อง ประชาชน-ตำรวจ-ทหารไทย ทราบว่าคนที่คุณๆ ทั้งหลายต่อว่าอยู่นั้นเป็นผู้ที่ชนะการเลือกตั้งมาแล้วทั้งนั้น ผมเคารพ อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ผมจึงช่วยเขา มีแต่อภิสิทธิ์เท่านั้นที่จงเกลียดจงชังคนเหล่านั้น เรื่องนี้เป็นปัญหาระหว่างผมกับอภิสิทธิ์

สมัยก่อนนั้นไทย เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา ลงนามในสัญญาที่ปารีสเมื่อปี ค.ศ.1989 แต่ไทยก็ยังสนับสนุนให้เขมรแดงทำการสู้รบกับรัฐบาลที่ถูกกฎหมาย แล้วให้พวกเขมรแดงไปอยู่ประเทศไทย ไทยให้อยู่ในดินแดนไทยได้อย่างไร เรายังไม่ทำเช่นนั้นเลย ถ้าทักษิณตั้งกองกำลังอยู่ในดินแดนกัมพูชาจะว่าอย่างไรบ้างล่ะ เราจะไม่ทำเช่นนั้นหรอกแค่ให้เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจเท่านั้น และเราจะไม่หยุดเช่นกัน ไม่ยอมอย่างเด็ดขาด


“ไทย ไม่เพียงละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศด้วยซ้ำไป ลงนามไม่สนับสนุนเขมรแดง ลงนามสันติภาพ แต่ก็ยังละเมิดหลายอย่าง ขอให้คนไทยดูไว้กฎหมายระหว่างประเทศยังไม่เคารพเลย”

เรื่อง ที่กล่าวว่า กัมพูชาไม่เคารพระบบการศาลของไทยนั้น “เห็น ว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยนั้นไม่ได้มีคุณค่าอะไรนักหนาที่ควรแก่การให้ ความเคารพเลย” สมัยก่อนนั้นนายเขียว สัมพัน นายนวน เจีย ก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในกัมพูชา ก็อยู่ในประเทศไทยทั้งนั้น อยู่ในประเทศไทยก่อนถูกจับตัวในกัมพูชา ถือว่าไทยไม่เพียงละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศด้วยซ้ำไป ลงนามไม่สนับสนุนเขมรแดง ลงนามสันติภาพ แต่ก็ยังละเมิดหลายอย่าง ขอให้คนไทยดูไว้กฎหมายระหว่างประเทศยังไม่เคารพเลย จะให้เราเคารพกฎหมายไทยได้อย่างไร

เรื่องปัญหาปราสาท พระวิหาร ได้เคยหารือทวิภาคีกับอภิสิทธ์แล้วถึง 3 ครั้ง ทั้งที่หัวหิน พัทยาและที่กรุงพนมเปญ เคยหารือและเห็นร่วมกันว่า จะเจรจาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธีผ่านกลไกทวิภาคี แต่พอกลับไปแล้ว ทำเสมือน “ลง นามด้วยมือ ลบด้วยเท้า” ขอยกเลิกการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ไทยส่งคณะผู้แทนไปที่สเปนเพื่อคัดค้านการขึ้นทะเบียนฯในการประชุมที่เมืองเซ บีย่าแล้ว “ยังมีหน้า” มาบอกว่าไม่เกี่ยวกับกัมพูชา แต่เป็นเรื่องระหว่างไทยกับยูเนสโก สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึง ‘จริต’ ที่แท้จริงของ นายกรัฐมนตรีไทย และเป็นเสมือนการดูหมิ่นเหยียดหยามว่า กัมพูชาโง่อย่างแท้จริง

ที่เคยเป็นข่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ได้เสนอให้ตั้งองค์กรทางด้านกฎหมายของอาเซียนเพื่อมาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง [เรื่องปราสาทฯ] พอรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาทำหนังสือ เสนอว่าจะยกเรื่องนี้ขึ้นในอาเซียน แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยก็ไม่เห็นด้วยและอ้างว่าสื่อมวลชน ลงข่าวคลาดเคลื่อน และหนังสือพิมพ์ไทยก็ไม่มีการแก้ข่าว ผมได้อดทนอย่างมากที่ไม่ยกปัญหานี้ขึ้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนล่าสุดที่ ผ่านมาเพราะไม่อยากให้การประชุมอาเซียนล้มเหลว ถือได้ว่าผมไว้หน้าฝ่ายไทย

ประเทศ ไทยเอาปัญหา ปราสาทพระวิหารมาเป็นตัวประกัน [เครื่องมือ] ในการโค่นล้มรัฐบาลตั้งแต่สมัยรัฐบาลสมัคร ตลอดจนพยายามเอาผิดกับ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นพดลฯ ฝ่ายไทยดีแต่พูดว่าเรื่องการร่วมมือแก้ไขปัญหาปราสาทฯ นั้นต้องผ่านการพิจารณาให้การรับรองของสภาเสียก่อน อ้างอยู่นั่นแล้ว ในเรื่องนี้นั้นเมื่อครั้งที่ ประธานรัฐสภาชัย ชิดชอบ เยือนกัมพูชา ผมได้สอบถามความคืบหน้าและขอให้ ประธานรัฐสภาชัย ชิดชอบ ช่วยแก้ปัญหาด้วย ซึ่งได้รับคำตอบว่าเรื่องนี้ผ่านรัฐสภาไทยไปแล้ว ไทยหยิบยกปัญหาปราสาทฯ มาใช้เป็นเกมการเมืองเตะถ่วงการแก้ปัญหา


อ่านฮุน เซนว่าอย่างไรไปแล้ว มาดูท่าทีทางการไทยตอบโต้ โดยเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศเผยแพร่คำสัมภาษณ์ของเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามผู้สื่อข่าว  เกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์พาดพิงไทยของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน


เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบ คำถามผู้สื่อข่าว กรณีสมเด็จอัครคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2552 พาดพิงประเทศไทยและรัฐบาลไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้


1. การวิพากษ์วิจารณ์การเมืองภายในของไทยและกระบวนการยุติธรรมของไทย
ความ เห็นของนายก รัฐมนตรีกัมพูชา ทั้งต่อการเมืองภายในประเทศไทย และต่อกระบวนการยุติธรรมไทยและศาลไทย เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของไทยอย่างชัดแจ้งอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตามแนวปฏิบัติของนานาอารยประเทศเป็นสิ่งที่ผู้นำรัฐบาลไม่ควรปฏิบัติต่อ มิตรประเทศ รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เข้ารับตำแหน่งตามกระบวนการทางรัฐสภาของไทย ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ และกระบวนการยุติธรรมของไทยก็มีมาตรฐาน ฝ่ายตุลาการได้ดำเนินการพิจารณาอรรถคดีไปตามตัวบทกฎหมายและโดยมีอิสระและมี ความเป็นวิชาชีพ เป็นกระบวนการที่แม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเองก็เคยให้ความเชื่อถือและเข้าร่วมกระบวนการมาก่อน จนกระทั่งเมื่อเห็นว่าตนจะแพ้คดีจึงได้หนีไปต่างประเทศ ในแง่อุดมคติประชาธิปไตย สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงระยะเวลาการเรียนรู้เพื่อผ่านไปสู่ความเป็น ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบและมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น ในระหว่างกระบวนการพัฒนาทางการเมืองนี้ อาจมีปัญหาเกิดขึ้นได้บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องภายในของไทยเองที่ประชาชนไทยเองจะต้องเป็นผู้ร่วมกันแก้ไข ปัญหา มิใช่เรื่องที่ผู้นำรัฐบาลต่างประเทศจะเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์ นักวิชาการหรือผู้ศึกษาทางรัฐศาสตร์อาจจะสนใจศึกษาหรืออภิปรายในเชิงวิชาการ ได้ว่า ระบบการเมืองของกัมพูชามีเสรีภาพหรือประชาธิปไตยเพียงใด ซึ่งรัฐบาลไทยไม่ขอวิจารณ์ในเรื่องนี้


2. ความชอบธรรมในการแต่งตั้ง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ
แม้ ว่านายก รัฐมนตรีกัมพูชาจะอ้างว่าฝ่ายกัมพูชามีความชอบธรรมในการตัดสินใจแต่ง ตั้งดังกล่าว แต่ฝ่ายไทยก็ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การที่ฝ่ายกัมพูชาได้แต่งตั้ง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา และที่ปรึกษาส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา นั้น เป็นการกระทำที่กระทบความรู้สึกของคนไทยทั้งประเทศ เนื่องจาก พ.ต.ท. ทักษิณฯ เป็นนักโทษคดีอาญาตามคำพิพากษาของศาลไทยที่อยู่ระหว่างหลบหนีคดี ในขณะเดียวกันก็ยังมีบทบาททางการเมืองและเป็นต้นเหตุของความวุ่นวายและ เหตุการณ์รุนแรงในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา การกระทำดังกล่าวจึงถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของไทยอย่างชัดเจน และเป็นการนำผลประโยชน์ส่วนบุคคลขึ้นมาอยู่เหนือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชาน่าจะเข้าใจได้ดีเพราะฝ่ายไทยได้ อธิบายและสื่อสารไปหลายครั้งแล้ว แต่นายกรัฐมนตรีกัมพูชาก็ยังยืนยันที่จะไม่ยอมเข้าใจ


3. ข้ออ้างเรื่องการ “ปิดพรมแดนไทย-กัมพูชา” และผลกระทบทางเศรษฐกิจ
นายก รัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา ประเทศไทยและรัฐบาลไทยมิได้เป็นผู้เริ่มต้นก่อน แต่การกระทำของฝ่ายกัมพูชาได้กระทบต่อความรู้สึกของคนไทยอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงจำเป็นต้องแสดงท่าทีเพื่อให้ฝ่ายกัมพูชารับทราบความไม่พอใจของฝ่าย ไทย รวมทั้งเป็นการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของไทย ของกระบวนการยุติธรรมของไทย และรักษาผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนไทยด้วย อนึ่ง นายกรัฐมนตรีได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า การดำเนินการทุกอย่างเป็นการดำเนินการระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยจะหลีกเลี่ยงการสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนของทั้งสองประเทศ

สำหรับ ข่าวลือเรื่อง “ไทย จะปิดพรมแดน” ก็เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน นายกรัฐมนตรีได้กล่าวยืนยันแล้วว่า ในชั้นนี้จะยังไม่มีการพิจารณาปิดพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ดังนั้นประชาชนของทั้งสองฝ่ายจึงไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลต่อผลกระทบทาง เศรษฐกิจ แม้เหตุการณ์จะพัฒนาไปอย่างไร รัฐบาลไทยก็จะกระทำทุกวิถีทางที่จะบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งแม้แต่ในคำให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเอง ก็ได้แสดงความเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวว่า ไม่ควรให้กระทบประชาชนทั้งสองฝ่าย ดังนั้นหากต่อไปในอนาคต ฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาจะดำเนินมาตรการใดที่จะส่งผลกระทบหรือก่อความเดือดร้อนต่อ พี่น้องประชาชนกัมพูชา รวมถึงผู้บริโภคและนักธุรกิจในกัมพูชาเอง โดยเฉพาะบริเวณชายแดน ก็ควรมีการใคร่ครวญอย่างรอบคอบเองด้วย

ส่วน ผลกระทบด้าน เศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน จากการที่สภาพความสัมพันธ์ทวิภาคีเสื่อมลงนั้น แน่นอนว่าไม่เป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่าย แต่ก็อาจจะเป็นการด่วนสรุปของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเกินไปว่า ในที่สุดแล้วฝ่ายไทยจะสูญเสียมากกว่า เมื่อประเมินจากขนาดทางเศรษฐกิจ ศักยภาพทางธุรกิจ และตลาดการค้าและธุรกรรมระหว่างประเทศที่ไทยมีอยู่ในขณะนี้ รัฐบาลเชื่อว่าประเทศไทยยังมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีอยู่มาก การสูญเสียทางเศรษฐกิจหากจะเกิดขึ้นกับฝ่ายใดก็ตาม ไม่ได้เป็นความประสงค์ของรัฐบาลไทย ก็ต้องกลับไปดูว่า ปัญหาในขณะนี้มาจากฝ่ายใด เมื่อนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเริ่มต้นสร้างปัญหาเอง ก็ควรพิจารณาแก้ปัญหาเอง หรือมิฉะนั้นก็รับผลที่ติดตามมาจากการกระทำของตนเอง


4. การยกเลิกบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน
ขอ ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เมื่อพิจารณาถึงที่มาของบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีป ทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ซึ่งจัดทำในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณฯ ดังนั้น การที่รัฐบาลกัมพูชาแต่งตั้ง พ.ต.ท. ทักษิณฯ เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจรจาระหว่างทั้งสองประเทศภายใต้บันทึกความเข้าใจ ฉบับนี้ เนื่องจาก พ.ต.ท. ทักษิณฯ เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลักดันให้รัฐบาลไทยในขณะนั้นจัดทำ บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ และรับรู้ท่าทีในการเจรจาตลอดจนข้อมูลของทรัพยากรและผลประโยชน์ที่จะได้รับ ของฝ่ายไทย ด้วยเหตุข้างต้นรัฐบาลไทยจึงไม่อาจดำเนินการเจรจากับฝ่ายกัมพูชาบนพื้นฐาน ของบันทึกความเข้าใจฉบับดังกล่าวต่อไปได้


5. ความผิดของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ กับการปฏิบัติตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
การ ระบุว่าเหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อปี 2549 นำมาซึ่งการดำเนินคดีต่างๆ ต่อ พ.ต.ท. ทักษิณฯ แล้วนำมาเป็นข้ออ้างว่าคดีที่ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ถูกตัดสินให้มีความผิดเป็นคดีที่มีที่มาจากเหตุผลทางการเมือง เป็นการกล่าวอ้างที่ผิดพลาดโดยสิ้นเชิง คดีที่ดินรัชดาฯ และคดีอาญาอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างกระบวนการทางกฎหมาย แม้จะเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ปฏิวัติแต่มิได้เกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับการปฏิวัติ หรือองค์กรที่เกิดขึ้นภายหลังการปฏิวัติตามกล่าวอ้าง อาทิ คดีที่ดินรัชดาฯ ที่ได้มีการตัดสินไปแล้ว มีอัยการสูงสุดเป็นผู้ฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมือง ซึ่งทั้งอัยการและศาลต่างก็เป็นองค์กรอิสระที่ไม่มีความเกี่ยวพันใดๆ กับการปฏิวัติ ดังจะเห็นได้จากการที่ศาลได้พิจารณาคดีและมีคำพิพากษาตัดสินในช่วงรัฐบาล ของอดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช และอดีตนายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นผู้มีความใกล้ชิดและสนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณฯ

นอกจาก ที่มาและการ ดำเนินการต่างๆ ของคดีดังกล่าวจะไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติหรือเหตุผลทางการเมืองใดๆ แล้ว ในตัวคดีเองก็เป็นคดีทุจริตซึ่งเป็นคดีอาญา โดยเป็นการกระทำผิดมาตรา 100 (1) วรรค 3 และมาตรา 122 วรรค 1 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ที่ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐและคู่สมรส มีส่วนได้รับผลประโยชน์ในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้การดูแล ของเจ้าหน้าที่ผู้นั้น


6. การแก้ไขปัญหาปราสาทพระวิหารและข้อพิพาทเขตแดนทางบก
แนว นโยบายของ รัฐบาลไทยเพื่อการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเขตแดนทางบกไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไทยยึดหลักการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีและการเจรจาตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ มาโดยตลอด และการดำเนินการใดๆ ของไทยก็ต้องเป็นไปตามกระบวนการตามรัฐธรรมนูญของไทย สำหรับกรณีความเห็นของประธานรัฐสภาตามที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชาอ้าง เกี่ยวกับสถานะปัจจุบันของบันทึกการประชุม JBC และกรอบการเจรจาที่เกี่ยวข้องนั้น ฝ่ายไทยได้ชี้แจงในที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 6 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2552 แล้วว่า เป็นความเข้าใจผิดในสาระข้อเท็จจริง โดยปัจจุบันบันทึกผลการประชุม JBC ยัง ไม่ได้ผ่านการให้ความเห็นชอบของรัฐสภา และรัฐบาลต้องเสนอเรื่องให้รัฐสภาพิจารณาก่อนจะดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามข้อบังคับของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง