ในเบื้องต้นอาจกล่าวได้ว่า คณะผู้แทนไทยทำหน้าที่ได้อย่างดี มีความครอบคลุมในบางระดับ และควรได้รับคำชื่นชม ทั้งได้แสดงจุดยืนอย่างเข้มแข็งที่ยืนยันให้ศาลฯ จำหน่ายคำร้องของกัมพูชาออกจากสารบบ เป็นจุดยืนที่ชัดเจนและถูกควร หากแต่เมื่อได้พิจารณาในเนื้อหาการยกขึ้นว่าของทั้งสองฝ่ายตลอดทั้งสองวัน อย่างลึกซึ้ง จุดยืนที่หนักแน่นของคณะทนายฝ่ายไทยมีประเด็นให้ชวนกังวลอยู่หลายประการ
ประการแรก การตีโต้ของฝ่ายไทยที่ยกประเด็นความไม่มีอำนาจของศาลฯ โดยยืนยันในสองเรื่อง คือ ๑.ไทยได้ยอมรับและปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลฯ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ อย่างครบถ้วน และ ๒. เวลาได้ล่วงเลยมากว่า ๕๐ ปี ที่ทั้งพ้นกำหนดระยะเวลาการรื้อฟื้น และการปฏิบัติตามคำตัดสินนั้น กัมพูชายอมรับโดยไม่เคยมีข้อโต้แย้งมาเนิ่นนาน การให้เหตุผลในส่วนหลังถูกต้อง แต่การให้เหตุผลในส่วนแรกเป็นจุดอ่อนและคลาดเคลื่อนที่จะทำความเสียหายกับ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
หากยอมรับได้ว่า ท่าทีอันเป็นปัจจุบันของคนกระทรวงการต่างประเทศรุ่นหลัง คือ เชื่อไปว่า “ไทยยอมรับและปฏิบัติตาม” คำตัดสินเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ก็เรื่องหนึ่ง หากแต่ความจริงที่ถูกต้องคือ ไทยไม่ยอมรับคำตัดสินและเคยได้แจกแจงว่าคำตัดสินนั้นผิดและละเมิดต่อกฎหมายอย่างไร การปฏิบัติตามอย่างครบถ้วนนั้น เหตุผลประการเดียวคือการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การสหประชาชาติ
การที่ไปสู้ว่าไทยได้ยอมรับและปฏิบัติตาม ส่งผลแต่ทางเสียหาย ส่วนแรกคือลบล้างความจริงในอดีต (ที่ไทยยืนยันหนักแน่นว่าศาลฯ ตัดสินผิดและไทยไม่ยอมรับ) ส่วนต่อมาคือให้การสนับสนุนว่าการตัดสินที่ผิด ๆ ในอดีตนั้น ถูกต้องและไทยให้การยอมรับ ส่วนที่สามคือการส่งผลโดยตรงต่อความเข้าใจของสาธารณะในปัจจุบัน และต่อผู้พิพากษา ทั้งไปเสริมน้ำหนักให้ข้อโต้แย้งของกัมพูชา
สิ่งที่ควร คือ การไปเน้นย้ำการตัดสินที่ผิด ๆ นั้นอีกครั้ง ประกาศให้ชัดและย้ำให้หนักแน่นว่า ผิด ไทยไม่ยอมรับ แล้วแจกแจงต่อไปโดยยกอ้างหนังสือข้อสงวนของ ดร.ถนัด คอมันตร์ ที่มีไปถึงเลขาธิการสหประชาชาติ และถ้อยแถลงของ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ในที่คณะกรรมาธิการกฎหมายของสหประชาชาติ
ประการที่สอง การคัดค้านอำนาจศาลของทนายชาวต่างชาตินั้น แม้มีน้ำหนักแต่ละทิ้งประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือ การที่ไทยไม่รับอำนาจศาลฯ
นับแต่คำรับอำนาจศาลฯ โดยเข้าใจผิดของ นายวรการบัญชา รัฐมนตรีต่างประเทศ สิบปีก่อนหน้าที่กัมพูชานำคดีขึ้นศาลโลกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ สิ้นอายุลง ไทยไม่เคยรับอำนาจศาลอีกเลย ซึ่งเป็นเวลากว่า ๕๐ ปี และแม้ว่าไทยจะ เป็นสมาชิกศาลโลกโดยปริยายเนื่องจากเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ แต่ศาลฯ ไม่มีขอบเขตอำนาจจะบังคับกับไทย เพราะไทยไม่ได้ยอมรับอำนาจศาลโดยบังคับ คือไม่มีปฎิญญาประกาศรับอำนาจศาล หมายความว่า ศาลฯ ไม่มีอำนาจจะออกมาตรการชั่วคราวบังคับกับไทย ไม่สามารถรับพิจารณาคดีโดยเป็นการเปิดคดีใหม่ (ตามเอกสารข่าวแจกของศาล) ไทยต้องยกประเด็นนี้ขึ้นปฏิเสธอำนาจศาลฯ โดยสิ้นเชิง
การละทิ้งเรื่องสำคัญนี้ อาจมองได้ว่า รัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศจงใจและต้องการให้ศาลโลก เป็นตัว “ตัดสินชี้ขาด” ปัญหาพิพาทเขตแดนไทย-เขมร ซึ่งประเด็นนี้มีร่องรอยจากการให้สัมภาษณ์ในหลายโอกาสของรัฐมนตรีเจ้า กระทรวง รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคน ในบางมุมมอง มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า นี่เป็นความพยายามของกระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาล รวมหัวกันที่จะโยนภาระการรับผิด ปกปิดความผิดพลาดและการกระทำเสียหายของตนไปให้ศาลฯ หรือหากมองอย่างพยายามเข้าใจอย่างที่สุด ก็อาจมองได้ว่านี่เป็นความเขลาและไม่รู้ของคณะทำงานของกระทรวงฯ ที่ไม่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนกับคณะทนายได้
ถึงแม้จะพลาดและช้าแต่ยังไม่สายเกินไปนัก หากในขั้นภาคคำคู่ความเป็นลายลักษณ์อักษร (written proceedings) ที่ศาลฯ จะสั่งให้กัมพูชายื่นคำฟ้อง (Memorial) และให้ไทยยื่นเอกสารแก้คำฟ้อง (Counter Memorial) นั้น แต่แทนที่ไทยจะยื่นคำแก้คำฟ้อง ไทยต้องยื่นคัดค้านอำนาจศาลฯ แทน ซึ่งในชั้นนี้ การดำเนินการของศาลฯ จะยุติลงชั่วคราวและจะพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจศาลฯ แทน
อีกประการ ในขั้นของการส่งรายงานความเสียหายจากการปะทะ ที่จะต้องกระทำภายในต้นสัปดาห์นี้ ไทยต้องย้ำไปพร้อมกันด้วยว่านี่ไม่ใช่การรับอำนาจศาล
ประการที่สาม การยก MOU43 ขึ้นอ้างในศาลฯ นั้น เป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนไปพร้อมกัน เพราะว่า ๑. MOU43 กินความเพียงแค่ที่กัมพูชายกขึ้นโต้ว่ามีหน้าที่แต่เพียง “จัดทำหลักเขต” ไม่ใช่การ “ปักปัน” เขตแดน ขณะที่รัฐบาลไทยถือเอา MOU43 เป็นเอกสารหลักยึดในการปักปันเขตแดน ๒. MOU43 ให้การยอมรับความมีอยู่และความชอบในฐานะเป็นเอกสารทางกฎหมายของแผนที่ภาค ผนวก ๑ ระวางดงรัก ประเด็นนี้จึงมองได้ว่าในเรื่องเดียวกันนี้ “ไทยกอดเอ็มโอยู ส่วนเขมรกอดแผนที่”
ประการที่สี่ ความพยายามโต้ของไทยต่อข้อกล่าวหาของกัมพูชาที่ว่าใครเป็นผู้เริ่มก่อน และใครไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธีนั้น ไทยพูดได้แต่เพียงสาธยายอย่างแผ่วเบาว่าได้ร่วมมืออย่างไรบ้าง ขณะที่กัมพูชาสามารถแย้งได้อย่างมีน้ำหนัก เพราะพฤติการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมดของรัฐบาลไทย ไม่เคยชัดเจนในจุดยืน คือ “ชักเข้า-ชักออก” ตลอดเวลา วันหนึ่งบอกรับผู้สังเกตการณ์ กลับถึงบ้านบอกไม่รับ ต่าง ๆ นานา
และในประเด็นนี้ ที่ส่งผลตามมา คือ อาการหน้ามืดของนายกษิต ภิรมย์ ที่ลนลานรีบรับชุดทางออก ทีมล่วงหน้า และผู้สังเกตการณ์ รวมถึงขั้นตอนอื่น ๆ ทั้งที่ก่อนหน้าได้พยายามบ่ายเบี่ยง ปิดเงียบ จนเวลาล่วงเลยมาร่วมเดือนนับจากที่ไปตกปากรับคำเมื่อ ๙ พฤษภาคม ถึงเวลานี้ก็จะยอมแก้ผ้าแก้ผ่อนทุกอย่างเพื่อเอาหน้าให้รอดพ้นไปเฉพาะที แต่ความเสียหายตกแต่ประเทศโดยรวมแบบเต็ม ๆ และแม้ว่ารัฐมนตรีกลาโหมของไทยจะประกาศเสียงแข็งว่า ไม่ว่าศาลฯ มีมาตรการชั่วคราวออกมาอย่างไร ทหารไทยก็ไม่ยอมถอน แต่เชื่อได้ว่าแข็งอยู่ได้ก็ครู่ ๆ เพราะเมื่อคราวก่อนที่ปฏิเสธกร้าวไม่รับผู้สังเกตการณ์ บัดนี้ก็เสียงอ่อนเสียงแผ่วลงตามลำดับ ในห้วงเวลาที่คล้อยหลังไม่กี่ขวบเดือน
ท่าทีในภายหลัง จากคำให้สัมภาษณ์ล่าสุดของนายกษิต ภิรมย์ ก็สะท้อนความเป็นกษิตที่ชัดเจน คือ “โง่ วู่วาม และปากพล่อย” ทั้งการให้สัมภาษณ์ว่าไทยรับอำนาจศาลเพราะเป็นสมาชิกของยูเอ็น หรือหากศาลตัดสินมาอย่างไรก็ต้องยอมรับและปฏิบัติตาม รวมถึงการพูดถึงประตูหลังและอื่น ๆ
ประการที่ห้า จากกระบวนทั้งหมด การว่าความและการจัดเตรียมทีม สะท้อนความอ่อนด้อยของกระทรวงการต่างประเทศอย่างชัดเจน ไม่รู้จัก “ยุทธจักรนักฎหมายระหว่างประเทศ” ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร และไม่เข้าใจศาลโลก คือ “ฝรั่งเศส-สหรัฐ” (ในชั้นนี้ การพูดถึงตัวบุคคลของคณะฝ่ายไทย ขอยกไว้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป) ก่อนหน้านี้เคยรู้สึกเบาใจครั้งหนึ่ง ที่กระทรวงฯ เคยแสดงท่าทีทาบทามผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเป็นหัวหน้าทีม ซึ่งเป็นระดับ “ผู้เฒ่า” และ “ปรมาจารย์” ของวงการนักกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ประธานศาลโลกก็เป็นรุ่นน้องที่ก็เกรงกัน และบรรดาผู้พิพากษาก็เป็นรุ่นน้องรุ่นศิษย์ ที่ผู้ใหญ่ท่านนี้ “เอ็ด” ได้ ทำนองเดียวกับสมัยที่สหรัฐฯ เตะสกัดขาไทยและส่ง ดีน แอจิสัน กระบี่มือหนึ่งที่ผู้พิพากษายำเกรงไปช่วยเขมรในคดีพระวิหาร พ.ศ.๒๕๐๒-๒๕๐๕ ก็ได้แต่รู้สึกสลดแทนโอกาสของประเทศไทย
ประการสุดท้าย ถึงที่สุดแล้ว มุมมองของเราต่อการดำเนินการของรัฐบาลประชาธิปัตย์ และกระทรวงการต่างประเทศในศาลฯ คราวนี้ เป็นแต่เพียงการ “แก้ตัว” กับศาลฯ ไม่แตกต่างจากพฤติกรรมและนโยบายการทูตที่กระทำซ้ำ ๆ ทั้งที่คณะมนตรีความมั่นคง ที่ยูเนสโก หรือเวทีอาเซียน ทั้งหมดไปในทางเดียวกันและพิมพ์เดียวกันไม่ผิดเพี้ยน และก็ไม่ยากเกินคาดเดาว่า เมื่อถึงที่สุด การเดิมพันด้วยแผ่นดินครั้งนี้ผลจะออกมาอย่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น