บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

มาดามฟรังซัวส์ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกัมพูชากับไทย

ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเลขานุการของที่ประชุมมรดกโลก มาดามฟรังซัวส์ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกัมพูชากับไทย ดังนี้

1. บิดเบือนมติการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ระหว่างวันที่ 23-30 มิถุนายน 2550 Decision: 31 COM 8B.24 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=39429

ข้อเท็จจริงที่ 1  ฝ่ายไทยใช้สิทธิ์ตามกฎของยูเนสโกไม่ให้การสนับสนุนข้อเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีประสาทพระวิหาร (“The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear” ลงวันที่ 30 มกราคม 2549)  ของกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว แต่กลับรายงานความจริงครึ่งเดียวว่าไทยให้การสนับสนุน (“active support”)  กัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งตัดออก (ดูข้อเท็จจริงที่ 2)

ข้อเท็จจริงที่ 2 ฝ่ายไทยประนีประนอมขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกพร้อมกันตามข้อเสนอเดิมของกัมพูชา ซึ่งหากฝ่ายกัมพูชายินยอม  คณะกรรมการมรดกโลกสามารถตัดสินในการประชุมครั้งที่ 31 ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ทันที (ทุกฝ่ายอยู่พร้อมหน้า เอกสาร  ICOMOS รับรองมาตรฐานความเป็นมรดกโลกพร้อม  เพียงกัมพูชาเอ่ยว่าคำยินดี) แต่สาระสำคัญที่ไทยเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกพร้อมกันกลับปกปิด ไม่มีบันทึกในรายงานประชุม 

ข้อเท็จจริงที่ 3 เมื่อกัมพูชาไม่อาจขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ เพราะฝ่ายไทยที่ไม่สนับสนุน แต่กลับใช้ช่องที่ฝ่ายไทยยินยอมขึ้นทะเบียนร่วม ไปอ้างในรายงานการประชุมว่าเป็น “จะมีการปรับปรุงข้อเสนอเดิม”  (”in-progress”) ซึ่งเป็นการอำพรางในฐานะที่ดูเหมือนมิใช่สาระสำคัญ แทนที่จะระบุให้ชัดว่า ข้อเสนอเดิมตกไป แต่สามารถเสนอขอขึ้นทะเบียนใหม่ได้ หากกัมพูชามีแหล่งโบราณคดีอื่น

ในกรณีที่เป็นการขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท (The Temple of Preah Vihear) ก็อาจทำได้ตามสิทธิ์ และขั้นตอนปกติที่ต้องมีการประเมินคุณค่าทางศิลปะ (หรือไม่ก็ยินยอมให้มีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกัน ตามนัยยะข้อเท็จจริงที่ 2) แต่หากทำเช่นนั้น ก็ต้องดูความเป็นไปได้ตามหลักการ เหตุผลและข้อเท็จจริง เกิดเป็นประเด็นว่า เฉพาะตัวปราสาทไม่สามารถเป็นมรดกโลกอยู่แล้วตามรายงานของ ICOMOS การฝืนเสนอขึ้นทะเบียนให้สำเร็จย่อมมีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องมีมีวาระซ่อนเร้นและไม่โปร่งใส
2. การแทรกแซงการตัดสินจากพฤติการณ์ “สองมาตรฐาน"
2.1   ระหว่างเดือนกันยายน 2550 - มกราคม 2551 นายซกอาน รองนายกฯกัมพูชาว่าจ้างบริษัทรับเหมาเอกชนในยุโรปแห่งหนึ่งชื่อ ANPV [Autorite Nationale pour la Protection et le Developpement du site culturel et naturel de Preah Vihear ประกอบด้วย เบลเยียม สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อินเดีย  + (3) จีน ญี่ปุ่น และที่น่าแปลกคือมีไทยด้วย รวม 7 ชาติ] มาทำการสำรวจและประเมินแหล่งโบราณคดีปราสาทพระวิหารซ้ำ โดยการแนะนำและร่วมรับรู้ของมาดามฟรังซัวส์ ริเวียเร่ว่า  เฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร”(ไม่ต้องควบรวมสิ่งปรักพังอื่นในบริเวณใกล้ตัวปราสาท)  ก็มีคุณค่าทางศิลปะตามเกณฑ์ (Criterion) I เป็นมรดกโลกได้  อ้างว่าไทยและกัมพูชาเห็นชอบร่วมกัน หักล้างมาตรฐานเชิงศิลปะและจิตวิญญาณ ในความพยายามตัดสินคุณค่ามรดกโลกโดยอาศัยเหตุผลทางการเมืองที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

2.2    วันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ที่สำนักงานมรดกโลก กรุงปารีส มาดามฟรังซัวส์จัดทำบันทึกช่วยจำ ระบุว่าฝ่ายไทย นายนพดล ปัทมะ  รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศขณะนั้นยินยอมให้กัมพูชาฝ่ายเดียวจัดทำ “แผนที่ใหม่” แนบท้ายแถลงการณ์ร่วมที่ระบุว่าเป็นการขึ้นทะเบียนที่เปลี่ยนมาเป็นเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร (The Temple of Preah Vihear) กำหนดแผนและขั้นตอนในการจัดสรรพื้นที่อนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกโลกทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท

2.3   จากนั้นมาดามฟรังซัวส์ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเลขานุการที่ประชุมมรดกโลกนำแถลงการณ์ “ปิดปาก” เข้าสู่วาระการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 วันที่ 2 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการมรดกโลกจำนนต่อแถลงการณ์ร่วมจำยอมให้กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2551

2.3.1   นายนพดล ปัทมะ ให้สัมภาษณ์สื่อไทยทันทีที่กลับมาถึงกรุงเทพฯปลายเดือนพฤษภาคมนั้นว่า กัมพูชา “ยอม” ขึ้นทะเบียนมรดกโลกเฉพาะตัวปราสาท ไม่แตะต้อง “พื้นที่ทับซ้อน" และไทยจะไม่เสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ซึ่งไม่เป็นความจริง’

2.3.2   เมื่อตัวแถลงการณ์ร่วมฉบับที่ใช้ลงนามมาถึงกรุงเทพฯพร้อม “แผนที่ใหม่” (วันที่ 8 มิถุนายน 2551) ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศ ระบุว่าไม่ต้องผ่านข้อตกลงร่วมกันของคณะกรรมาธิการร่วมปักปันเขตแดน “เจบีซี” (JBC: Joint Boundary Commission) ไทย-กัมพูชา   นายนภดลไม่นำพาที่จะขอคำปรึกษาจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 กลายเป็นว่าฝ่ายไทยได้สนับสนุนกัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียวเมื่อ ครม.รับทราบ (17 มิถุนายน 2551) ส่งผลให้ไทยเสียพื้นที่  27.972 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 17,000 ไร่)  เป็น "เขตกันชน" 2,642.5 เฮกตาร์  “เขตอนุรักษ์”  154.7 เฮกดาร์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 และที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 ที่สเปน (22-30 มิถุนายน 2552) รับรองรายงานตามแผนอนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกโลกของ "ไอซีซี” ICC=International Coordinating Committee) ไปแล้ว
พื้นที่เหล่านี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่ามิได้อยู่ในดินแดนไทย แต่มีคำถามที่ยูเนสโกต้องตอบ คือ

1.   ยูเนสโก และกัมพูชารับรองเอกชน ANPV (non-accredited institution) ให้มีสถานะเป็น “Public Institution”  (ICC) ได้อย่างไร?

2.   แถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) 2551 มีสถานะเป็นข้อเสนอ (Nomination File) ใหม่ที่ขอขึ้นทะเบียน  The Temple of Preah Vihear  แทนข้อเสนอเดิม  The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear  ปี 2549 ได้หรือ?

3.   มาตรฐานเดิมที่ ICOMOS ระบุไว้ ในข้อเสนอเดิม ย่อมไม่อาจทำให้ The Temple of Preah Vihear เป็นมรดกโลก ใช่หรือไม่ ?  และที่สำคัญ...

4.    “เหตุผลทางการเมือง” (“political decision”) ที่มาดามฟรังซัวส์โยนให้คณะกรรมการมรดกโลก และ 2 ประเทศคู่กรณี (ไทย-กัมพูชา) รับผิดชอบ ทั้งๆที่ตนเองอยู่เบื้องหลังนั้น ยูเนสโกเองยอมรับหรือไม่ว่า นี่คือมรดกโลกที่ทำลายมาตรฐานของยูเนสโกเอง?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง