โดย Annie Handicraft
ข้อสังเกตุพฤติกรรมของกระทรวงการต่างประเทศนำเอา "หลักฐานเท็จ"
ไปเป็นพยานเอกสารในการต่อสู้กับคำร้องของกัมพูชา
จะไม่ลงรายละเอียดว่าหลักฐานนี้มีน้ำหนักหรือไม่ แต่ขอให้ดูขอที่ "เจตนา"
ของกระทรวงการต่างประเทศในครั้งนี้ว่าส่อเจตนาอะไร?? สอง
ภาพแรกเป็นภาพที่ทางกระทรวงการต่างประเทศ นำเอาไปเป็นพยานเอกสารประกอบคำ
แย้งต่อศาลโลก โดยที่อ.เทพมนตรี
ลิมปพยอมได้เคยกล่าวและอธิบายไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2554 ว่าทั้งสองภาพนี้เป็นเท็จ
ใน
ฐานะราษฎรไทย คงไม่เป็นการกล่าวเกินไปว่า
คุณตั้งใจไปศาลโลกเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กัมพูชา ถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็คือ
"ตั้งใจไปขายชาติ" นั่นเอง
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม
นัก
วิชาการประวัติศาสตร์ กล่าวว่า เว็บไซด์ของกระทรวงการต่างประเทศ
พยายามจูงใจให้คนเชื่อว่า เขตเขาวิหารอยู่ตรงบริเวณตีนบันไดทางขึ้นเขาวิหาร
ด้วยการเอารูปเก่าในอดีตมาใช้ ทำให้คนเข้าใจว่าทำขึ้นเมื่อปี 2505
ด้านหลังมีป้ายเขียนเป็นภาษาอังกฤษ บอกว่าเป็นเขตปราสาทเขาวิหาร
เป็นทางเข้าของรั้วลวดหนาม
เจตนาให้เห็นเขตรั้วลวดหนามลงมาอยู่ตรงตีนบันไดสิงห์
ไม่ได้อยู่ห่างจากบันไดนาคราช 20 เมตร
ตรงนี้ขอให้พี่น้อง
สังเกตเครื่องแต่งกายของข้าราชการ ที่อยู่ตรงกลางประตู
เป็นเครื่องแต่งกายของข้าราชการช่วงประมาณปี 2518 - 2530
ซึ่งเวลานั้นเขาวิหารยังถูกปิดอย่างเป็นทางการ
เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการสู้รบภายในประเทศกัมพูชาเอง เขมรแดงเข้ายึดอำนาจ
ทำให้ไทยจำเป็นต้องรักษาความปลอดภัย สำหรับคนที่จะเข้าชมเขาวิหาร
ตนเข้าใจว่าป้ายนี้สร้างขึ้นเพื่อบอกว่า อย่าเดินเข้าไปในเขตนี้
เพราะอาจโดนกับระเบิดของเขมรแดง
นายเทพมนตรี กล่าวต่อว่า
การสื่อของกระทรวงการต่างประเทศ
ขัดกับเอกสารชั้นต้นที่เก็บอยู่ในกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
ซึ่งเป็นไปไม่ได้รั้วลวดหนามจะมาขึงอยู่ด้านล่างนี้
เพราะบริเวณหน้าปราสาทเป็นพื้นที่กว่างมาก
หากจะขึงรั้วตรงนี้จะกินบริเวณถึง 7,000 เมตร
เกินกว่าหลักฐานที่บันทึกในประวัติศาสตร์
กินบริเวณกว้างขวางมากเกินคำตัดสินศาลโล
ภาพที่มีไม้
ปักลงไปส่งเดชแล้วมีลวดหนามมาขึง ไม่ใช้รั้วตามมติครม.เมื่อปี 2505
อาจเป็นรั้วบ้านใครหลังหนึ่ง
เพราะไม่มีบอกเลยว่าข้างหลังเป็นปราสาทเขาวิหาร หากเป็นรั้วตามมติ ครม.ปี
2505 จริง คงผุพังไม่อยู่มาถึงปัจจุบันเป็นแน่
อย่างไรก็ดีรั้วลวดหนามของจริงเขาปักด้วยเหล็ก ไม่ใช้ไม้ ดังนั้น
ที่กระทรวงการต่างประเทศพยามยามชี้ให้เห็นว่ารั้วตรงนี้เป็นทางขึ้นอยู่
บริเวณด้านล่างเขาวิหาร จึงไม่เป็นความจริง ไม่เป็นไปตามมติครม. ปี 2505
ทั้งนี้หากขึ้งจริงก็ขึงขึ้นทีหลัง จากภาพที่ปรากฎเป็นหลักฐานของ
จอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้ไปเห็นเหตุการณ์จริง
เป็นคนละตำแหน่งกันกับกับที่กระทรวงการต่างประเทศเอามาแสดง
ต้องถือว่ากระทรวงการต่างประเทศ
เอารูปเก่ามาโพสเพื่อต้องการสร้างหลักฐานเท็จให้เป็นประโยชน์ต่อกัมพูชา
นอก
จากนี้ยังมีหลักฐานการปฎิบัติของเจ้าหน้าที่ คนเดินทางไปขึงรั่วลวดหนาม
มีการกำหนดระยะหางจากสะพานนาคลงมา 20 เมตร ให้กั้นรัวทำทางเข้าเปิดปิดได้
ขึง100 เมตรจากทางทิศตะวันตกของตัวปราสาทไปจรดหน้าผา
และยังมีหลักฐานชัดล้อมรั้วเพียง 50 ไร่
เพื่อไม่ให้กัมพูชาโมเมเอาพื้นที่เรา
แต่ภาพที่กระทรวงการต่างประเทศเอามาแสดงให้เห็นมันเป็น 1,000 ไร่
นับว่าเป็นเรื่องประหลาดมาก
ที่ผ่านมาข้าราชการกระทรวงการต่างเทศไม่เคยใช้เอกสารเหล่านี้ตอบโต้เพื่อ
เป็นประโยชน์กับไทยเลย
นายเทพมนตรี กล่าวว่า
มีเอกสารต้นร่างได้มาจากกรมแผนที่ทหาร ถึงสมัย จอมพลประภาส จารุเสถียร
เรียกประชุมกระทรวงมหาดไทย กับกระทรวงการต่างประเทศ มีเขียนกำกับ 20 เมตร
100 เมตร นอกจากนี้ยังมีรายงานปฎิบัติหน้าที่ขึ้นไปล้อมรั้ว
วาดแผนผังลายเส้นอาณาบริเวรรั่วลวดหนาม เมื่อเป็นดังนี้แล้ว
จะไปขึงรั้วลวดหนามตรงบันไดข้างล่างได้อย่างไร ขอเตือนกระทรวงการต่างประเทศ
เอารูปไปแสดงเจตนายืนยันยกดินแดนให้เขมรฟรีๆ มีโทษประหารชีวิต
หากกระทรวงการต่างประเทศฟังตนอยู่ ไปเอารูปเหล่านี้ออกเสีย มันทุเรศ
อ้างอิงจากกต. ขุดรูปเก่าโพสลงเว็บ สร้างหลักฐานเท็จโกงพื้นที่ให้เขมร โดยอ.เทพมนตรี ลิมปพยอม
by Annie Handicraft on Saturday, June 18, 2011 at 4:40pm
http://www.facebook.com/note.php?note_id=209424445759637
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
▼
2011
(568)
-
▼
กรกฎาคม
(56)
-
▼
19 ก.ค.
(9)
- "Political gain the name of the game"
- ข้อสังเกตทางกฎหมาย เกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร อนุส...
- ผ่า!แผนที่'เขตปลอดทหาร'ไทยกระเทือน
- ใบแถลงข่าวอย่างไม่เป็นทางการของศาลยุติธรรมระหว่างป...
- “สมปอง”แนะส่งตำรวจดูแลความเรียบร้อยแทนทหารได้
- หมู่บ้านอนุรักษ์ฯสมเด็จเดโช ฮุน เซน แห่งพระวิหาร
- คำตัดสินศาลโลก..สันติภาพไทย-เขมร
- "จับตา รัฐบาล กต. ทหารหาญและสื่อมวลชนกรณีศาลโลก ภา...
- “มาร์ค กษิต พอใจกับคำสั่งของศาลโลก
-
▼
19 ก.ค.
(9)
-
▼
กรกฎาคม
(56)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น