วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทยใครควรรับผิดชอบ ตอน๑
เทพมนตรี ลิมปพยอม
จากหนังสือกระทรวงการต่างประเทศ ด่วนมาก ลับมาก
ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2551
ได้แสดงให้เห็นถึงพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทย หนังสือฉบับนี้ได้กล่าวถึงในช่วงระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ยูเนสโกจะเข้ามาตรวจสอบพื้นที่ปราสาทพระวิหารในช่วงเวลาต้นเดือนธันวาคม 2551 ผมจึงขอนำข้อความมาให้ทุกท่านได้ทราบดังนี้
"ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานว่า ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2551 นางฟรอวซวส ริวิแอร์ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโกมีกำหนดการมาร่วมการประชุม international coordinating committee(ICC) นครวัด และมีกำหนดการตรวจสอบพื้นที่ปราสาทพระวิหารในระหว่างนั้นด้วย
โดยที่การตรวจสอบพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเนสโกดังกล่าวอาจต้องผ่านหรือเข้ามาในดินแดนประเทศไทย และอาจมีนัยกระทบอธิปไตยของไทย กระทรวงการต่างประเทศจึงได้จัดประชุมพิจารณาท่าทีร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง (รายชื่อปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย) และเห็นควรเสนอแนะแนวทางดำเนินการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงการใช้อำนาจอธิปไตยของ ดังนี้
1.กรณีเจ้าหน้าที่/ผู้แทนยูเนสโกเข้าตรวจสอบเฉพาะตัวปราสาท โดยไม่ผ่านหรือเข้ามาในดินแดนไทยเลย เช่นเดิมขึ้นมาทางช่องบันไดหัก ให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ติดตามข้อมูลและสังเกตการณ์จากเขตไทย
2.เมื่อทราบกำหนดว่าจะมีเจ้าหน้าที่/ผู้แทนยูเนสโกผ่านหรือเข้ามาในดินแดนไทยให้กระทรวงเตอนยูเนสโกให้ตระหนัก )โดยอาจผ่านทางยูเนสโกไทยหรือICOMOSไทยอีกทางหนึ่ง) ว่าไม่ควรผ่านหรือเข้ามาในดินแดนไทยเว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการก่อนโดยสามารถอ้างคำแถลงของผู้แทนไทยต่อที่ประชุมWHC32 ว่ากิจกรรมมาตรการใดที่จะทำในดินแดนไทยโดยกัมพูชาหรือฝ่ายที่สามต้องได้รับการยินยอมของไทยก่อน ซึ่งจะเป็นการแสดงเจตนาที่ดีของไทยและหากยูเนสโกขออนุญาตไทยก่อนก็จะเป็นผลดีแก่ท่าทีไทย
3.กรณีเจ้าหน้าที่/ผู้แทนยูเนสโกเข้าตรวจสอบเฉพาะตัวปราสาท แต่ประสงค์จะเดินทางผ่านดินแดนไทย เช่นขึ้นมาทางถนนจากบ้านโกมุย หรือมาโดยเฮลิคอปเตอร์และลงจอดในดินแดนไทย
3.1หากขออนุญาตไทยอย่างเป็นทางการก่อนก็เห็นควรอนุญาตและจัดทหารไทยคุ้มครองเจ้าหน้าที่/ผู้แทนยูเนสโก ขณะอยู่ในดินแดนไทย เพื่อแสดงการใช้อำนาจอธิปไตยของไทย
3.2 หากไม่ขออนุญาตไทยอย่างเป็นทางการก่อน เห็นควรแจ้งไม่อนุญาตให้เดินทางผ่านและทำการประท้วงอย่างเป็นทางการระดับรัฐบาล
4. กรณีเข้าตรวจสอบบริเวณนอกตัวปราสาท ซึ่งเป็นดินแดนไทยที่กัมพูชาอ้างสิทธิ เห็นว่าไม่ควรอนุญาต ไม่ว่าจะขออนุญาตไทยอย่างเป็นทางการหรือไม่เพราะคณะกรรมการมรดกโลกได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท
5.กรณีการปฏิบัติงานในกรอบICCโดยเจ้าหน้าที่/ผู้แทนยูเนสโกหรือผู้แทนสมาชิก ต้องจำกัดเฉพาะในตัวปราสาท และไทยต้องได้เข้าร่วมมิฉะนั้นไทยจะต้องทำการประท้วงอย่างเป็นทางการระดับรัฐบาล
6.ในกรณีที่ไทยไม่อนุญาต แต่กัมพูชาฝืนนำเจ้าหน้าที่ยูเนสโกเข้ามาในดินแดนไทย ไทยต้องประท้วงอย่างเป็นทางการระดับรัฐบาล และให้กำลังของไทยเข้าอารักขาคณะโดยแสดงอาวุธและประสานกับกัมพูชาล่วงหน้า และให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาความเหมาะสมที่จะจัดเจ้าหน้าที่ร่วมสังเกตการณ์ในการอารักขาด้วย โดยไม่ให้มีนัยเป็นการต้อนรับยูเนสโกหรือยอมรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
7.ในทุกกรณี ให้หลีกเลี่ยงการขัดขวางโดยใช้กำลังอย่างถึงที่สุด
8. ในกรณีที่เห็นเหมาะสม กระทรวงการต่างประเทศอาจพิจารณาใช้โอกาสเชิญเจ้าหน้าที่ยูเนสโกเข้ามาตรวจพื้นที่ในดินแดนไทยด้วย เพื่อให้ข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทย
9.ควรประชาสัมพันธ์ต่อประชาชนเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อป้องกันการบิดเบือนข้อมูล
หนังสือลับมาก ฉบับด่วนที่สุดนี้ เรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีผู้เข้าร่วมประชุมอันเป็นผู้แทนของหน่วยงานทั้งหมด ๑๔ หน่วยงาน อันได้แก่
๑.ผู้แทนกรมกิจการชายแดนทหาร
๒.ผู้แทนกรมแผนที่ทหาร
๓.ผู้แทนกรมยุทธการทหารบก
๔.ผู้แทนกองกำลังสุรนารี
๕.ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๖.ผู้แทนกรมศิลปากร
๗.ผู้แทนกรมอุทยาน
๘.ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย
๙.ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
๑๐. ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
๑๑.ผู้แทนกรมเอเซียตะวันออก
๑๒.ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ
๑๓.ผู้แทนกรมสารนิเทศ
๑๔.ผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฏหมาย (หมายเลข๑๑-๑๔อยู่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ)
จะเห็นได้ว่าการประชุมของผู้แทนหน่วยงานต่างๆได้ยืนยันว่าพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทยและต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการกระทำของกัมพูชาที่ส่งประชาชนและกองกำลังทหารติดอาวุธรุกล้ำอธิปไตยและดินแดนของไทย และในเวลานี้ก็ยังหาหน่วยงานที่จะรับผิดชอบไม่ได้ (อ่านต่อตอนหน้า)
วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย 5 จังหวัดรวมตัวยื่นหนังสือคัดค้านอินโดนีเซีย เข้าพื้นที่สังเกตการณ์ปราสาทพระวิหาร
เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย 5 จังหวัดอีสานใต้ รวมตัวยื่นหนังสือคัดค้านอินโดนีเซีย เข้าพื้นที่สังเกตการณ์ปราสาทพระวิหาร ยันพร้อมปกป้องไม่ให้เสียดินแดน...ย�ย�
เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 23 ก.พ.55 ที่บริเวณถนนเทศบาล 1 หน้าบ้านเลขที่ 173 ข้างสำนักงานไปรษณีย์สุรินทร์ เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ มีรายงานว่า เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย จ.สุรินทร์ นำโดยนายประทีป ตลับทอง ประธานเครือข่ายฯ ร่วมกันถือป้ายและหนังสือแถลงการณ์คัดค้านประเทศอินโดนีเซีย ที่เข้ามาสังเกตการณ์บริเวณพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งมีทั้งหนังสือเขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่งถึงเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย โดยตัวแทนเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทยใน 5 จังหวัดอีสานใต้ จ.สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ นครราชสีมา จะเดินทางไปยื่นหนังสือขอคัดค้านที่สถานเอกอัครราชฑูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยในวันพรุ่งนี้ โดยได้ประสานงานไปเรียบร้อยแล้วซึ่งทางสถานทูตจะส่งตัวแทนออกมารับหนังสือ
นายประทีป กล่าวว่า เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย มีความห่วงใยต่อชาติบ้านเมืองเป็นอย่างมากที่อาจต้องสูญเสียผืนแผ่นดิน ตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา ทั้งหมดประมาณ 1 ล้าน 8 แสนไร่ และในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยอีกประมาณ 27,000 ตารางกิโลเมตรหรือ 16 ล้าน 2 แสนไร่ เพราะฉะนั้นเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย 5 จังหวัดอีสานใต้ และพี่น้องชาวภาคตะวันออก เช่น จ.สระแก้ว จันทบุรี และ จ.ตราด จะร่วมเข้ามาเป็นเครือข่ายที่ต้องการที่จะยื่นคัดค้าน การที่จะไม่ให้ประทศอินโดนีเซีย หรือว่าตัวแทนของชาวอินโดนีเซีย เข้ามายังพื้นที่บริเวณรอบปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งศาลโลกได้มีคำสั่งให้ถอนทหารออกจากพื้นที่ และให้มีผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซีย เข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งเราไม่ยอมรับ และไม่เห็นด้วยที่จะส่งตัวแทนของอินโดนีเซียเข้ามา โดยจะยื่นหนังสือที่สถานฑูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติไทยให้คงอยู่กับประเทศไทยสืบไป
ประธานเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย กล่าวอีกว่า หลังจากที่เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทยได้เดินทางไปสังเกตการณ์ที่ปราสาทเขาพระวิหารเมื่อวันที่ 21 ก.พ.2555 ที่ผ่านมา พี่น้องประชาชนในพื้นที่มีความสนใจมากได้รับรู้เรื่องราวข่าวสาร จึงขอฝากถึงรัฐบาลและผู้ที่มีอำนาจตามกฏหมายรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ของท่าน เยี่ยงบรรพบุรุษของเรา เครือข่ายที่ลุกขึ้นมาปกป้องแผ่นดินครั้งนี้ ได้ทำตามหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 71 ความว่า บุคคลมีหน้าที่ปกป้องประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติและก็ปฏิบัติตามกฎหมายถาม ว่าเราต้องการอะไรหรือมีผลประโยชน์แอบแฝงหรือไม่ ตนยืนยันว่าไม่มีเราทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อชาติ เพื่อบ้านเพื่อเมือง เพื่อแผ่นดินของเรา.
ไทยรัฐ
เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 23 ก.พ.55 ที่บริเวณถนนเทศบาล 1 หน้าบ้านเลขที่ 173 ข้างสำนักงานไปรษณีย์สุรินทร์ เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ มีรายงานว่า เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย จ.สุรินทร์ นำโดยนายประทีป ตลับทอง ประธานเครือข่ายฯ ร่วมกันถือป้ายและหนังสือแถลงการณ์คัดค้านประเทศอินโดนีเซีย ที่เข้ามาสังเกตการณ์บริเวณพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งมีทั้งหนังสือเขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่งถึงเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย โดยตัวแทนเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทยใน 5 จังหวัดอีสานใต้ จ.สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ นครราชสีมา จะเดินทางไปยื่นหนังสือขอคัดค้านที่สถานเอกอัครราชฑูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยในวันพรุ่งนี้ โดยได้ประสานงานไปเรียบร้อยแล้วซึ่งทางสถานทูตจะส่งตัวแทนออกมารับหนังสือ
นายประทีป กล่าวว่า เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย มีความห่วงใยต่อชาติบ้านเมืองเป็นอย่างมากที่อาจต้องสูญเสียผืนแผ่นดิน ตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา ทั้งหมดประมาณ 1 ล้าน 8 แสนไร่ และในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยอีกประมาณ 27,000 ตารางกิโลเมตรหรือ 16 ล้าน 2 แสนไร่ เพราะฉะนั้นเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย 5 จังหวัดอีสานใต้ และพี่น้องชาวภาคตะวันออก เช่น จ.สระแก้ว จันทบุรี และ จ.ตราด จะร่วมเข้ามาเป็นเครือข่ายที่ต้องการที่จะยื่นคัดค้าน การที่จะไม่ให้ประทศอินโดนีเซีย หรือว่าตัวแทนของชาวอินโดนีเซีย เข้ามายังพื้นที่บริเวณรอบปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งศาลโลกได้มีคำสั่งให้ถอนทหารออกจากพื้นที่ และให้มีผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซีย เข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งเราไม่ยอมรับ และไม่เห็นด้วยที่จะส่งตัวแทนของอินโดนีเซียเข้ามา โดยจะยื่นหนังสือที่สถานฑูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติไทยให้คงอยู่กับประเทศไทยสืบไป
ประธานเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทย กล่าวอีกว่า หลังจากที่เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินไทยได้เดินทางไปสังเกตการณ์ที่ปราสาทเขาพระวิหารเมื่อวันที่ 21 ก.พ.2555 ที่ผ่านมา พี่น้องประชาชนในพื้นที่มีความสนใจมากได้รับรู้เรื่องราวข่าวสาร จึงขอฝากถึงรัฐบาลและผู้ที่มีอำนาจตามกฏหมายรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ของท่าน เยี่ยงบรรพบุรุษของเรา เครือข่ายที่ลุกขึ้นมาปกป้องแผ่นดินครั้งนี้ ได้ทำตามหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 71 ความว่า บุคคลมีหน้าที่ปกป้องประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติและก็ปฏิบัติตามกฎหมายถาม ว่าเราต้องการอะไรหรือมีผลประโยชน์แอบแฝงหรือไม่ ตนยืนยันว่าไม่มีเราทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อชาติ เพื่อบ้านเพื่อเมือง เพื่อแผ่นดินของเรา.
ไทยรัฐ
วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วา กิมฮง เผยไทยลงนามบันทึกเจบีซี ๓ ฉบับ การประชุมบรรลุ ๓ ประเด็น
ซีอีเอ็นของกัมพูชา รายงานการให้สัมภาษณ์ของนายวา กิมฮง รัฐมนตรีอาวุโส ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ฝ่ายกัมพูชา ภายหลังเดินทางกลับถึงท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ เมื่อช่วงค่ำ (๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕) ว่า บันทึกการประชุมเจบีซีทั้งสามฉบับก่อนหน้าที่ฝ่ายไทยและกัมพูชาได้เห็นชอบ ร่วมกัน และมีปัญหายืดเยื้อนั้น ครั้งนี้ฝ่ายไทยกล้าลงนามโดยไม่จำเป็นต้องผ่านรัฐสภาอย่างก่อนหน้า นี่เป็นประเด็นที่เป็นเชิงบวก
นายวา กิมฮง กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม JBC ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๔ กุมภาพันธ์ ดำเนินไปโดยไม่มีอุปสรรค เพราะฝ่ายไทยมีสิทธิ์ตัดสินใจในทุกข้อตกลง และลงนามในข้อตกลงร่วมกันโดยไม่จำเป็นต้องผ่านรัฐสภาไทย ข้อตกลงร่วมนี้สามารถนำไปปฏิบัติต่อเพื่อดำเนินกิจการชายแดนได้ทันที ทั้งสองฝ่ายได้เจรจาและบรรลุผลใน ๓ ประเด็นสำคัญ คือ
๑. การสำรวจหลักเขตที่ด่านช่องจอม อ.อันลงแวง จ.อุดรมีชัย จากหลักเขตที่ ๑ –๒๓ ใกล้ปราสาทตาเมือน จ.สุรินทร์ สองฝ่ายเห็นชอบที่จะส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมลงไปดำเนินการ หลังจากที่สองฝ่ายดำเนินการเกี่ยวกับด่านสตึงบตเรียบร้อยแล้ว ต่อข้อเสนอของกัมพูชาในการเปิดด่านสตึงบต (ด่านบ้านหนองเอี่ยน-สตึงบต) สองฝ่ายได้ให้ความเห็นชอบด้วย และสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะส่งทีมเทคนิคร่วมลงไปดำเนินการในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ เพื่อตรวจสอบที่ตั้งที่ชัดเจน
๒. การทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ สำหรับทำแผนที่ขนาดใหญ่ คือขนาด ๒๕,๐๐๐ (แผนที่มาตราส่วน ๑:๒๕,๐๐๐) สองฝ่ายเห็นชอบและอนุญาตให้ทีมเทคนิคร่วมไปทำการคัดเลือกบริษัทจาก ๓ ประเทศ เพื่อจัดทำแผนที่ โดยไม่อนุญาตให้ประเทศไทยเป็นผู้จัดทำแผนที่นี้อีก หลังจากได้บริษัทจากประเทศที่สามแล้ว ต้องส่งมาให้คณะอนุกรรมการเทคนิคร่วม และคณะกรรมาธิการร่วม ตัดสินคัดเลือกบริษัทนั้นอีกครั้ง
๓. สองฝ่ายเห็นชอบนำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจหลักเขตจำนวน ๔๘ หลัก ที่พบแล้ว จากทั้งหมด ๗๓ หลัก ขึ้นมาพิจารณา แล้วทั้งสองฝ่ายให้ความเห็นชอบร่วมกันจำนวน ๓๓ หลัก ไม่เห็นชอบ ๑๕ หลัก และอีก ๑๙ หลัก ค้นพบแล้วแต่ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบอย่างเป็นทางการ หลักเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามีทั้งสิ้น ๗๓ หลัก จัดทำโดยคณะกรรมการปักปันผสมสยาม-ฝรั่งเศส ใน ค.ศ. ๑๙๐๘ – ๑๙๐๙ และครั้งที่ ๒ ค.ศ. ๑๙๑๙-๑๙๐๒
นายวา กิมฮง กล่าวว่า เอกสารเขตแดนทางบกทุกอย่างระหว่างกัมพูชากับไทย จัดทำเป็น ๓ ภาษา คือ ภาษาเขมร ไทยและอังกฤษ เพื่อให้เป็นมรดกไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในภายหลัง และมอบให้ทีมเทคนิคร่วมใช้สำหรับการปักและซ่อมแซมหลักเขต นายวา กิมฮง กล่าวอีกว่า การประชุมเจบีซีครั้งถัดไป ซึ่งเป็นครั้งที่ ๖ จะจัดขึ้นที่ประเทศกัมพูชา ส่วนวันเวลายังไม่กำหนดแน่ชัด
อาร์พีจีร่วงหน้าวัดแก้วฯ ไทยถอนกำลังกลับอีกหย่อม
รายงานจากแหล่งข่าวระบุว่าเมื่อประมาณ ๑๗.๓๐ น. วานนี้ (๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕) นายทหารใหญ่หัวหน้าชุดประสานงานของกัมพูชาบนปราสาทพระวิหาร แจ้งเหตุอาร์พีจีจำนวน ๒ ลูก ตกที่บริเวณถนนคอนกรีตทางขึ้นเขาหน้าวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ สงสัยว่าเกิดจากฝ่ายไทย แต่เมื่อสอบถามมายังฝ่ายไทยก็ไม่มีคำตอบให้ ขณะเดียวกันหลังเกิดเหตุฝ่ายกัมพูชาไม่มีการตอบโต้ แต่อย่างใด
แหล่งข่าวสายความมั่นคงกล่าวถึงกรณีนี้ว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากทหารไทย เนื่องจากไทยไม่มีอาวุธป่าเถื่อนอย่างอาร์พีจี มีเพียงปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง (ปรส.) ปืน ค. และ เอ็ม ๘๐ ขณะปัจจุบันไทยถอนทหารและอาวุธหนักลงมาหมดแล้ว เหลือเฉพาะกองกำลังผสมตำรวจตระเวนชายแดน-ทหาร แหล่งข่าวยืนยันด้วยว่ามีความเป็นไปได้สูงที่เหตุอาร์พีจีตกหน้าวัดแก้วฯ เกิดจากทหารเด็ก ๆ กัมพูชาเอง ที่หัดยิงหัดใช้กันบนนั้นแล้วพลาด เนื่องจากก่อนขึ้นประจำการไม่ได้รับการฝึกที่จริงจังและเข้มงวด ได้รับการฝึกเพียงระเบียบคำสั่งพื้นฐาน นอกจากนี้ รายงานในทางการข่าวระบุด้วยว่า ปัจจุบันบนปราสาทฯ มีแต่เด็กน้อย ทหารตัวเก่ง ๆ รุ่นเก่าในพื้นที่ถูกดึงตัวไปช่วยงานคุ้มครองอารักขานายฮุน เซน นายกรัฐมนตรี เพราะเกรงกระแสข่าวรัฐประหาร แม้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎชัด แต่ในทางเปิดเมื่อเดือนที่แล้ว ฮุน เซน ได้แต่งตั้ง พล.อ.เจีย ดารา รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งดูและพื้นที่ปราสาทพระวิหารมาอย่างยาวนาน ไปนั่งตำแหน่งเจ้ากรมจารกรรมทหารของกองบัญชาการกองทัพแห่งชาติกัมพูชา พร้อมให้ฮุน มานิต ลูกชาย นั่งตำแหน่งรองฯ จึงมีความเป็นไปได้ที่เจีย ดารา จะนำลูกน้องเก่าติดตัวไปช่วยงานด้วย
ความเคลื่อนไหวทางทหารฝั่งไทย เมื่อช่วงค่ำวานนี้ เวลาประมาณ ๑๙.๔๕ น. มีขบวนรถอาวุธเล็กซึ่งคาดว่าเป็น ปรส. ประมาณ ๗-๘ คัน กลับจากชายแดนเขาพระวิหารมุ่งหน้าเข้าเมือง จากนั้นประมาณ ๒๐.๐๐ น.ขบวนรถจีเอ็มซี ๕ คัน บัส ๑ คัน ขนทหารกลับลงมา ต่อมาเมื่อเวลา ๒๑.๐๐ น. มีขบวนรถจีเอ็มซี ขนสัมภาระอีก ๖ คัน กลับลงมาจากบนเขา แหล่งข่าวคาดว่าเป็นการถอนกำลังมากกว่าจะเป็นการสับเปลี่ยนกำลัง เนื่องจากก่อนหน้าไม่มีการส่งกำลังขึ้นไปทดแทน
วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
หลักฐานภาพถ่ายกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเยือนเขาพระวิหารพ.ศ.๒๔๗๒
- สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และคณะผู้ติดตามในคราวเสด็จ
เรสสิเดนต์ กำปงธม และเมอซิเออร์ ปามังติเอร์นักโบราณคดีชาวฝ
(ภาพเหล่านี้ต่อมาได้เป็นส่
- วันที่ 11 ก.ย. 2554 คณะตัวแทนเยาวชนพรรคประชาชน
//
หนำซ้ำรบ.นายกอภิสิทธิ์ยังห
ถ้าฝ่ายที่ถูกฟ้องไม่ไปศาลโ
- เอาComment ของอ.เทพมนตรี ครั้งก่อนมาเพิ่มเติม เพื่อความสะใจค่ะ
Thepmontri Limpaphayom เราไม่เคยยอมรับคำตัดสิน เสือกไปร่วมมือกับเขมรให้ตี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)