วงเสวนาระบุ นักการเมืองต้นเหตุการโกง ครอบงำ ขรก.จับตาโครงการจัดจ้างพิเศษช่องโหว่ทุจริตง่าย ยอดไถใต้โต๊ะพุ่ง 50% แต่ยอมรับจับตัวได้ยาก เพราะใช้วิธีสั่งปากเปล่า ด้านศาลปกครอง แนะ ขรก.ใช้วิธีย้อนคำสั่งกลับเป็นลายลักษณ์อักษรแก้ลำ...
น.ส.สมทรง สัจจาภิมุข กรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชันแห่งประเทศไทย เปิดเผยในงาน “เสวนาจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ” จัดโดยกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้มีการพบข้อมูลว่าอัตราการเรียกรับสินบนของนักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐเพิ่มขึ้นมากกว่าหลายปีที่ผ่านมา และบางโครงการมีการเรียกรับสูงถึง 50% ของวงเงินงบประมาณ ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าเกิดขึ้นในโครงการที่มีการประมูลจัดซื้อจัดจ้างแบบวิธีพิเศษ เพราะไม่สามารถเข้าถึงการตรวจสอบเอกสาร และตัวบุคคลได้ อีกทั้งยังสืบหาผู้บงการได้ลำบาก เพราะส่วนใหญ่เป็นการสั่งด้วยปากเปล่า
อย่างไรก็ตาม ภาพลักษณ์ข้าราชการไทยเกี่ยวกับการคอรัปชันถือว่าดีขึ้นจากอดีต เพราะหลายหน่วยงานได้รณรงค์ปลูกฝังจริยธรรมในการทำงานมากขึ้น แต่ยังไม่สามารถกำจัดการคอรัปชันออกไปได้หมด เพราะการทำงานยังมีความเกี่ยวข้องกับนักการเมือง ซึ่งบางกลุ่มยังคงขาดจริยธรรม และเป็นต้นเหตุให้ข้าราชการต้องปฏิบัติงานแบบขาดจริยธรรม ไม่เช่นนั้นจะมีผลต่อการทำงาน
ด้านนางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า กรมฯ ได้จัดงานครั้งนี้เพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเน้นย้ำการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ การปลูกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักรู้ การพัฒนาองค์กร การตรวจสอบและเฝ้าระวังเชิงรุก และการปราบปรามที่จริงจังและการลงโทษที่เข้มงวด ซึ่งจะทำให้ภาพลักษณ์คอรัปชันของประเทศไทยดีขึ้นและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
นายเจตน์ สถาวรศีลพร ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากฎหมายมหาชนและปฏิบัติหน้าที่สำนักประธานศาลปกครองสูงสุด สำนักงานศาลปกครอง กล่าวว่า วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นในกรณีที่ข้าราชการประจำชั้นผู้น้อยถูกนักการเมืองสั่งงานที่อาจเป็นช่องให้เกิดการทุจริตคอรัปชันได้นั้น ให้ใช้วิธีการย้อนคำสั่งกลับเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจะได้มีหลักฐานพยานยืนยันการกระทำผิดของนักการเมืองผู้นั้น และยังเป็นหลักฐานในการป้องกันความผิดของตัวเองด้วย
นายรักษ์เกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ต้นเหตุที่เกิดการโกง และคอรัปชันในไทย เนื่องจากสังคมเป็นบริโภคนิยม และเป็นสังคมอุปถัมภ์มากจนเกินไป ทำให้เกิดมีผลประโยชน์ทับซ้อนกัน ซึ่งการแก้ไขจะต้องเร่งสร้างค่านิยม และปลูกฝังจิตสำนึกตั้งแต่ระดับเยาวชน ตลอดจนภาครัฐต้องออกกฎระเบียบในการตรวจสอบ และเอาผิดให้ชัดเจน เช่น สิงคโปร์ ที่มีการตรวจสอบทรัพย์สินก่อนเข้ารับตำแหน่ง ตั้งแต่ข้าราชการระดับชั้นผู้ใหญ่ ไปจนถึงนักการเมือง ซึ่งเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดการฉ้อราษฎร์บังหลวงลงได้.
ไทยรัฐ
วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ข้อสรุปการประชุมคณะทำงานร่วมไทย-เขมร ๘ ข้อ มอบภารกิจ TMAC และ CMAC
ฟิฟทีนมูฟ — สำนักนายกฯ เขมร ออกเผยข้อสรุปการประชุมคณะทำงานร่วมไทย-เขมร ๘ ข้อ มอบภารกิจ TMAC และ CMAC ร่วมเก็บกู้ทุ่นระเบิดในจุด A B C และ D นัดถกครั้งแรกปลาย ก.ค. กำหนดถอนทหารใน ๓๐ วัน หลังเก็บกู้ระเบิดเสร็จ
สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชาออกเอกสารแถลงผลการประชุมคณะทำงานร่วม ไทย-กัมพูชา หรือ JWG ครั้งที่ ๒ ที่ตึกวิมานสันติภาพ สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในกรุงพนมเปญ ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยมีรายละเอียดดังนี้
๑. การประชุมครั้งที่ ๒ ของคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา (JWG-2) ได้จัดขึ้นระหว่าง ๒๖-๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ ที่กรุงพนมเปญ ด้วยบรรยากาศแห่งมิตรภาพ และอยู่บนเป้าหมายของความเสมอภาค เท่าเทียม และผลประโยชน์ระหว่างสองประเทศ ๒. ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันความตั้งใจอีกครั้งในการที่จะปฏิบัติตามมาตรการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
๓. คณะทำงานร่วมสองฝ่ายได้กำลังพยายามผลักดันความร่วมมือในทุกด้าน ซึ่งรวมถึงสันติภาพที่ยั่งยืนตามแนวชายแดน โดยเฉพาะพื้นที่ปลอดทหารที่กำหนดโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เกี่ยวกับมาตรการชั่วคราว ๔. ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันอีกครั้งถึงความตั้งใจที่จะรักษาและสร้างความรู้สึกดีต่อกันที่ยั่งยืนระหว่างประชาชนสองประเทศ และสกัดกั้นกิจกรรมทางลบที่อาจส่งผลกระทบต่อเขตปลอดทหาร
เอกสารแถลงข่าวสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ถึงผลการประชุมคณะทไงานร่วม ไทย- กัมพูชา ครั้งที่ ๒ กรุงพนมเปญ
๕. สองฝ่ายมอบภารกิจให้ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ของไทย และศูนย์กำจัดทุ่นระเบิด (CMAC) ของกัมพูชา ประชุมหารือในสัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ ที่กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับแผนการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วมกัน เพื่อความปลอดภัยของคณะผู้สังเกตการณ์ร่วม (JOT) และสะดวกต่อขั้นตอนการปรับกำลังทหาร
๖. การปรับกำลังทหารจะต้องปฏิบัติภายในเวลา ๓๐ วัน ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้เห็นชอบร่วมกันภายหลังการตรวจสอบของผู้สังเกตการณ์ร่วมหลังการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเสร็จสิ้นแล้ว ในจุด A B C D ของเขตปลอดทหารที่กำหนดโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ของไทย และศูนย์กำจัดทุ่นระเบิด (CMAC) ของกัมพูชา
๗. ทั้งสองฝ่ายรับทราบความก้าวหน้าในการทำงานของคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา และยินดีต่อผลการประชุมนี้ ๘. การประชุมคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งถัดจะจัดที่พระราชอาณาจักรไทยในโอกาสอันเหมาะสม
เอกสารแถลงข่าวฉบับดังกล่าวระบุว่า ผู้เข้าร่วมการประชุมฝ่ายกัมพูชา ประกอบด้วย พล.อ.เนียง พาต เลขาธิการกระทรวงกลาโหม ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายกัมพูชา ตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการชายแดน ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย คณะผู้บริหารจังหวัดพระวิหาร ผู้บัญชาการภูมิภาค ผู้บัญชาการกองพล และตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายไทยนำโดย พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร เสนาธิการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายไทย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม (อดีตเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร) พล.ท. วรวิทย์ ดรุณชู เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และคณะทำงานด้านเทคนิค
Short link: http://15th.me/Lkq1kT
สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชาออกเอกสารแถลงผลการประชุมคณะทำงานร่วม ไทย-กัมพูชา หรือ JWG ครั้งที่ ๒ ที่ตึกวิมานสันติภาพ สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในกรุงพนมเปญ ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยมีรายละเอียดดังนี้
๑. การประชุมครั้งที่ ๒ ของคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา (JWG-2) ได้จัดขึ้นระหว่าง ๒๖-๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ ที่กรุงพนมเปญ ด้วยบรรยากาศแห่งมิตรภาพ และอยู่บนเป้าหมายของความเสมอภาค เท่าเทียม และผลประโยชน์ระหว่างสองประเทศ ๒. ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันความตั้งใจอีกครั้งในการที่จะปฏิบัติตามมาตรการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
๓. คณะทำงานร่วมสองฝ่ายได้กำลังพยายามผลักดันความร่วมมือในทุกด้าน ซึ่งรวมถึงสันติภาพที่ยั่งยืนตามแนวชายแดน โดยเฉพาะพื้นที่ปลอดทหารที่กำหนดโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เกี่ยวกับมาตรการชั่วคราว ๔. ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันอีกครั้งถึงความตั้งใจที่จะรักษาและสร้างความรู้สึกดีต่อกันที่ยั่งยืนระหว่างประชาชนสองประเทศ และสกัดกั้นกิจกรรมทางลบที่อาจส่งผลกระทบต่อเขตปลอดทหาร
เอกสารแถลงข่าวสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ถึงผลการประชุมคณะทไงานร่วม ไทย- กัมพูชา ครั้งที่ ๒ กรุงพนมเปญ
๕. สองฝ่ายมอบภารกิจให้ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ของไทย และศูนย์กำจัดทุ่นระเบิด (CMAC) ของกัมพูชา ประชุมหารือในสัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ ที่กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับแผนการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วมกัน เพื่อความปลอดภัยของคณะผู้สังเกตการณ์ร่วม (JOT) และสะดวกต่อขั้นตอนการปรับกำลังทหาร
๖. การปรับกำลังทหารจะต้องปฏิบัติภายในเวลา ๓๐ วัน ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้เห็นชอบร่วมกันภายหลังการตรวจสอบของผู้สังเกตการณ์ร่วมหลังการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเสร็จสิ้นแล้ว ในจุด A B C D ของเขตปลอดทหารที่กำหนดโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ของไทย และศูนย์กำจัดทุ่นระเบิด (CMAC) ของกัมพูชา
๗. ทั้งสองฝ่ายรับทราบความก้าวหน้าในการทำงานของคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา และยินดีต่อผลการประชุมนี้ ๘. การประชุมคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งถัดจะจัดที่พระราชอาณาจักรไทยในโอกาสอันเหมาะสม
เอกสารแถลงข่าวฉบับดังกล่าวระบุว่า ผู้เข้าร่วมการประชุมฝ่ายกัมพูชา ประกอบด้วย พล.อ.เนียง พาต เลขาธิการกระทรวงกลาโหม ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายกัมพูชา ตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการชายแดน ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย คณะผู้บริหารจังหวัดพระวิหาร ผู้บัญชาการภูมิภาค ผู้บัญชาการกองพล และตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายไทยนำโดย พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร เสนาธิการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายไทย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม (อดีตเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร) พล.ท. วรวิทย์ ดรุณชู เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และคณะทำงานด้านเทคนิค
Short link: http://15th.me/Lkq1kT
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)