ภาพวันที่ 8 ก.พ.2554 แม้จะอ้างต่อประชาคมโลกว่า ไม่มีทหารอยู่ในปราสาทพระวิหารก็ตาม แต่ทหารกัมพูชากลุ่มนี้ก็กำลังเดินอยู่ในบริเวณปราสาทมกดกโลก กัมพูชากำลังดิ้นรนรอบใหม่ หลังจากร้องไปยัง UNSC แล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ คราวนี้ขู่จะขอให้ศาลระหว่างประเทศสั่งให้มีการอนุรักษ์คุ้มครองปราวสาท หลังจากตัดสินยกให้เป็นของกัมพูชาเมื่อ 59 ปีก่อน เมื่อเดือน ก.พ.ฮุนเซนประกาศว่าได้ยื่นคำร้องต่อศาลโลกไปแล้วขอให้ตีความคำพิพากษาดังกล่าวเกี่ยวกับพื้นที่โดยรอบ แต่กระทรวงการต่างประเทศในพนมเปญออกคำแถลงระบุว่า เพิ่งจะยื่นไปวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา.-- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาออกคำแถลงฉบับหนึ่งวันศุกร์ 29 เม.ย.ระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลโลกวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เพื่อให้ตีความคำพิพากษาปี 2505 เกี่ยวกับปราสาทวิหารที่ยกให้ตกเป็นของกัมพูชา หลังจากนั้นจะขอให้มี “มาตรการอนุรักษ์” (conservatory measures) ปราสาทแห่งนี้อีกด้วย
“การยื่นคำร้องดังกล่าว ก็เนื่องจากการก้าวร้าวรุกรานด้วยอาวุธและการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนกัมพูชาของประเทศไทยที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยใช้แผนที่ที่ใช้เองเพียงฝ่ายเดียวและไม่ได้มีฐานะใดๆ ทางนิตินัย” คำแถลงระบุ
คำแถลงยังระบุอีกว่า กัมพูชาจะยื่นขอต่อศาลระหว่างประเทศในกรุงเฮกอีกครั้งหนึ่งหลังจากนั้น เพื่อสั่งให้มี “มาตรการอนุรักษ์” เนื่องจากการรุกรานกัมพูชาด้วยกำลังอาวุธของฝ่ายไทย
“กัมพูชาเห็นว่ามาตรการอนุรักษ์เป็นสิ่งที่ไม่มีทางเลี่ยง เพื่อให้เกิดมีการหยุดยิงถาวรเกิดขึ้นระหว่างสองประเทศ เพื่อหยุดยั้งการสูญเสียชีวิตและอนุรักษ์ปราสาทพระวิหารไม่ให้เสียหายอย่างหนักจนกว่าจะมีการตีความคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศเมื่อปี 2505 ออกมา” คำแถลงกล่าว
กัมพูชาเชื่อว่า การขอให้ศาลโลกสั่งให้มีการอนุรักษ์ ก่อนจะมีการตีความคำพิพากษาออกมา ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาหลายปี จะทำให้องค์การสหประชาชาติส่งวกองกำลังรักษาสันติภาพ เข้าประจำการชายแดนกัมพูชาและไทยในที่สุด
ศาลโลกตัดสินยกปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชาเมื่อเกือบครึ่งศตวรรษที่แล้ว โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า “แผนที่พนมดงรัก” ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นกว่า 100 ปีก่อน โดยใช้วิธีการ “ปิดปาก” ฝ่ายสยาม เป็นหลักฐานอ้างอิง
แต่หลังจากศาลโลกตัดสินเพียงข้ามเดือน รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ยื่นต่อศาลโลกของสงวนสิทธิ์ของไทยเหนือดินแดนรอบๆ ปราสาทพระวิหาร รวมทั้งมีบันทึกแจ้งให้ศาลได้ทราบว่า แผนที่ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นนั้น ขัดต่อสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยาม 1904 อันเป็นสัญญาหลักในการแบ่งเขตแดนที่ให้ใช้สันปันน้ำเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน จากทั้งหมด 7 คน รวมทั้งผู้พิพากษาชาวอังกฤษ ที่ไต่ส่วนกรณีปราสาทพระวิหาร ได้บันทึกไว้คำตัดสินเอกเทศ (ส่วนตัว) เพื่อเป็นหลักฐานต่อศาลระหว่างเทศเช่นกันว่า การใช้แผนที่ดังกล่าวเป็นหลักฐาน ไม่ได้หมายความว่าสนธิสัญญาเขตแดนฝรั่งเศส-สยามปี 1904 ถูกลบล้าง
ตั้งแต่นั้นมายังไม่เคยมีการจัดการเกี่ยวกับกรณีพิพาทชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาอีก
หลายปีมานี้กัมพูชาได้พยายามอ้างแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ฉบับเดียวกัน ที่ขาดการแสดงรายละเอียดที่จำเป็นต่างๆ กล่าวอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนหลังสันปันน้ำ ตลอดแนวชายแดนด้านพนมดงรัก ซึ่งรวมเป็นเนื้อที่เกือบ 2 ล้านไร่ และ นำมาสู่การพิพาทกับไทย รวมทั้งเกิดการปะทะด้วยอาวุธ
การเผชิญหน้าทางทหารเริ่มขึ้นในเดือน ก.ค.2551 หลังจากกัมพูชานำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวขณะที่รัฐบาลไทยแย้งมาตลอดว่า การกระทำดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบๆ ปราสาท
สองปีมานี้กัมพูชาได้พยายามอย่างยิ่งที่จะผลักดันแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารให้ผ่านการรับรองจากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งไทยได้คัดค้านมาตลอด การประชุมรอบใหม่ในกำลังจะมีขึ้นในเดือนข้างหน้านี้ ในประเทศบาห์เรน
คำแถลงที่ออกในวันศุกร์นี้ ไม่ได้อธิบายว่า เพราะเหตุใดการยื่นคำร้องต่อศาลโลกจึงล่าช้าออกมา
นายกรัฐมนตรีฮุนเซนเคยประกาศด้วยตัวเองในเดือน ก.พ. หลังการปะทะที่ชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร ระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นเรื่องนี้ไปแล้ว
ปัจจุบันรัฐบาลฮุนเซนกำลังดำเนินการสองทาง คือ ผลักดันให้สหประชาชาติส่งทหารรักษาสันตติภาพเข้าชายแดน ซึ่งการดำเนินการรักษาสันติภาพนี้ได้ถูกถ่ายโอนไปให้กลุ่มอาเซียน ขณะเดียวกันก็ดำเนินการทางด้านศาลโลกควบคู่กันไปด้วย.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น