ไทย-เขมรสู้ศึกบนศาลโลก สางคดีพระวิหารครึ่งศตวรรษ
สกู๊ปพิเศษ
วัน ที่ 30 พ.ค.นี้ ไทยและกัมพูชาต้องต่อสู้กันอีกครั้งแต่ไม่ใช่การใช้อาวุธ เป็นการต่อสู้บนเวทีศาลยุติธรรมระหว่างประ เทศ หรือที่เรียกกันว่า ศาลโลก ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง เพราะเป็นการ ตีความคำพิพากษาที่ตัดสินไปเกือบ 50 ปีก่อน หรือเมื่อปีพ.ศ.2505 ซึ่งผลของการตัดสินครั้งนั้นทำให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่ในส่วนของเส้นเขตแดน ศาลโลกไม่เคยแตะต้องแต่อย่างใด
ทำ ให้พื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระ วิหารซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องเขตแดนยังคงเป็นปัญหาคาราคาซังระหว่าง ไทยและกัมพูชากันมานานนับชั่วอายุคน
การปะทะกันตามแนวชายแดน ไทย-กัมพูชาเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หลังจากปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หากเปรียบเทียบกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์ ไทยเป็นต่ออย่างเห็นได้ชัด กัมพูชาจึงพยายามดึงเรื่องพิพาท กับไทยให้เข้าสู่เวทีระดับโลกให้ได้เพราะคิดว่ายังมีไพ่ในมือเล่นอยู่
กัมพูชา เดินตามเกมที่วางไว้โดยยื่นคำขอให้ศาลโลกเมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อขอให้ตีความคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหารในปี 2505 ในประเด็น "พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร" เพราะทำให้กัมพูชาเดินหน้าแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารไม่ได้
ขณะ เดียวกัน กัมพูชาขอให้ศาลโลกออกมาตรการชั่วคราว 3 ข้อ คือ ขอให้ไทยถอนกำลังทั้งหมดออกจากปราสาทพระวิหาร ห้ามไทยมีกิจกรรมทางทหารใดๆ ในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และให้ไทยงดการกระทำหรือดำเนินกิจการใดๆ ที่กระทบกับสิทธิของกัมพูชาหรือเพิ่มความขัดแย้งในการตีความจนกว่าศาลโลกจะ ตี ความแล้วเสร็จ
แม้ไทยไม่ให้การยอมรับอำนาจศาลโลกหลังคดี ปราสาทพระ วิหาร แต่ไทยจะไปขึ้นศาลโลกอีกครั้ง เพราะการยื่นคำขอต่อศาลโลกครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีใหม่ แต่เป็นการตีความคดีที่ศาลตัดสินไปแล้วและคำพิพากษา มีผลผูกพันกับไทย
ใน วันดังกล่าว ศาลจะตีความ ในประเด็นที่เกี่ยว กับมาตรการชั่วคราวที่กัมพูชาร้องขอมาเท่านั้น โดยศาลกำหนดรูปแบบการให้การโดยวาจา (oral hearing) ในวันที่ 30-31 พ.ค. ซึ่งให้เวลาฝ่ายกัมพูชาให้การในช่วงเช้าและฝ่ายไทยในช่วงบ่ายของแต่ละวัน โดยรวมแล้วแต่ละฝ่ายจะมีเวลาให้การ 5 ชั่วโมง จากนั้นอีกประมาณ 3 สัปดาห์ จึงจะทราบผลการพิจารณาของศาล
คณะดำเนินคดีปราสาทพระวิหารของ ไทย ประกอบด้วย เอก อัครราชทูตไทย ประจำเนเธอร์แลนด์เป็นตัวแทน (Agent) อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎ หมายเป็นรองตัว แทนที่ปรึกษาอื่นๆ เช่น รมว.ต่างประ เทศ รมว.กลาโหม รวมทั้งที่ปรึกษาชาวฝรั่งเศส ออสเตรเลียและแคนาดา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศเพราะศาลโลกใช้สองภาษา คือ ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ประกอบกับคำร้องขอให้ตีความของกัมพูชาใช้ภาษาฝรั่งเศส
นอก จากนี้ ไทยและกัมพูชายังแต่งตั้ง ผู้พิพากษาเฉพาะกิจได้อีกฝ่ายละ 1 คน ซึ่งไทยทาบทามผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสเป็นผู้พิพากษาเฉพาะกิจของฝ่ายไทย เพราะเป็นนักกฎหมายที่ได้รับการยอมรับและมีแนวคิดไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาใน คดีปราสาทพระวิหารซึ่งสอด คล้องกับแนวคิดคณะที่ปรึกษากฎหมายของฝ่ายไทย อีกทั้งยังเข้าใจแนวคิดทางกฎหมายของฝรั่งเศสและเคยเป็นผู้พิพากษาเฉพาะกิจมา หลายคดีแล้ว
แม้ผู้พิพากษาเฉพาะกิจไม่ใช่ผู้แทน ของประเทศที่ได้เลือก โดยจะปฏิบัติหน้าที่อย่างอิสระโดยได้รับเงินค่าจ้างจากศาลโลก แต่ในทางปฏิบัติ ผู้พิพากษาเฉพาะกิจจะทำหน้าที่เป็นหลักประกันว่าผู้พิพากษาอื่นๆ 15 คน เข้าใจท่าทีของฝ่ายไทย
ส่วนผลเบื้องต้นจะออกมาเป็นอย่างไร คาดว่าจะใช้เวลาอีกราวสามสัปดาห์จากนั้น
จะไปทามมมาาายยยยยยย โว้ยยยย!!
ตอบลบ