บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ย้อนรอยมรดกโลก

  โดย เทพมนตรี ลิมปพยอม 

   ในช่วงเวลาที่เรากำลังรอลุ้นอยู่ว่าพรรคเพื่อไทยจะดำเนินนโยบาย ไทย-กัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหารอย่างไรนั้น ผมจึงขอเขียนอธิบายถึงเรื่องยูเนสโกและปราสาทพระวิหารเพื่อให้เกิดความเข้า ใจที่ตรงกันว่า ทำไมคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงเรียกร้องให้รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกจากการเป็นรัฐภาคีอนุสัญญาฯ มรดกโลกจาก “ยูเนสโก” และแล้วในวันที่ 25มิถุนายน 2554 ในระหว่างสมัยประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คุณสุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะตัวแทนรัฐภาคีไทยตามมติคณะรัฐมนตรี ได้ยื่นหนังสือลาออกต่อนางอิรินา โบโกว่า ผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกอย่างเป็นทางการ การลาออกในครั้งนี้ มีความหมายและเกิดผลดีหลายประการ
      
       ประการแรก เป็นความต้องการที่จะเห็น คณะกรรมการมรดกโลก 21 ภายใต้ “ยูเนสโก” ดำรงความมีธรรมาภิบาล มีความน่าเชื่อถือต่อมวลสมาชิก (ที่เข้ามาจ่ายเงินค่าหัว) และนำพาสันติสุขมาสู่ประชาคมโลกอย่างแท้จริง ปณิธาณของ “มรดกโลก” ที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่แรกเริ่มนั้นก็เพื่อนำความหลากหลายทางวัฒนธรรม และธรรมชาติของรัฐภาคีสมาชิกมาเป็นตัวกลางสานสัมพันธไมตรีระหว่างรัฐต่อรัฐ โดยให้มองข้ามเรื่องเขตแดนและอำนาจอธิปไตย (เฉพาะรัฐที่ไม่มีปัญหาเรื่องเขตแดน) หากแต่ยังต้องให้ความเคารพต่อเรื่องดังกล่าวและจะละเลยเสียมิได้ดังปรากฏตาม ข้อความในมาตรา 4, 5, 6 และ7 ของอนุสัญญาฯ ดังกล่าว
      
       การที่คณะกรรมการมรดกโลกโดย “ยูเนสโก” มีนโยบายที่ไม่เป็นธรรมต่อการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร หรือการออกข้อมติที่เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกโลก ของรัฐภาคีกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียวติดต่อกันอย่างต่อเนื่องมาหลายปี และการโอบอุ้มรัฐภาคีกัมพูชาอย่างเสมอต้นเสมอปลายโดยปล่อยให้รัฐภาคี ฝรั่งเศสแสดงออกอย่างนอกหน้า รวมทั้งการเข้ามาล็อบบี้โดยคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศเพื่อให้รัฐภาคีไทยยอมรับ ย่อมเป็นเครื่องแสดงออกถึงการละเลยข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ตามอนุสัญญาฯ มรดกโลกอย่างเห็นได้ชัด ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีจึงถูกเอาเปรียบจากการตัดสินใจของคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศอยู่ตลอดเวลา
      
       ปัจจัยชี้ขาดที่สำคัญที่สุดในการลาออกครั้งนี้คือ เรื่องเขตอำนาจอธิปไตยและดินแดนของรัฐภาคีสมาชิก โดยคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศและ “ยูเนสโก” ต่างนิ่งเฉยต่อพฤติกรรมของรัฐภาคีกัมพูชาที่ส่งกองกำลังทหารติดอาวุธเข้ามา ยึดดินแดนของรัฐภาคีไทย และจะนำเสนอเแผนบริหารจัดการต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก (ที่ปรากฏในกำหนดการประชุมและหัวข้อการประชุม ในวันที่ 23 มิถุนายน 2554) โดยที่ยูเนสโกปล่อยให้รัฐภาคีกัมพูชากระทำการอันฉ้อฉลโดยไม่มีการว่ากล่าว ตักเตือนรัฐภาคีกัมพูชาจึงชี้ให้เห็นเจตนารมณ์ของยูเนสโก รัฐภาคีไทยจึงไม่สามารถดำรงฐานะความเป็นสมาชิกต่อไปได้
      
       ประการที่สอง มติของคณะกรรมการมรดกโลกทุกครั้งต่างทำผิดต่อมติและอนุสัญญาฯ ที่ตนเองยึดถือ มีพฤติกรรมให้ความช่วยเหลือรัฐภาคีกัมพูชา โดยไม่สนใจต่อการทักท้วงและการแสดงเหตุผลของรัฐภาคีไทย ซึ่งจะขอเรียงลำดับตามเหตุการณ์เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจดังนี้
      
       แม้ประเทศไทยในสมัยรัฐบาล ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จะเห็นด้วยต่อประธานในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ตามเอกสาร 31 com 8B.24 ดังนี้ ซึ่งมีมติโดยสรุปว่า “รัฐภาคีไทยมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสนับสนุนรัฐภาคีกัมพูชาในการนำ ปราสาทพระวิหารไปเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธธรรมต่อสมัยประชุม คณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ในนามรัฐภาคีสมาชิกกัมพูชา” และรวมถึงคำว่า “with the active support of Thailand” อันเป็นประโยคเด็ดที่นักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์นำมาใช้โจมตีพรรคพลัง ประชาชนในเวลาต่อมา
      
       เรามิอาจปฏิเสธได้เลยว่า ประเทศไทยในรัฐบาลขิงแก่ได้ไปให้คำมั่นต่อประเทศกัมพูชาไว้ก่อนการประชุมคณะ กรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ณ เมืองไคร้สเชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศไทยจะทำการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกของ กัมพูชา
      
       รัฐบาลของคุณสมัคร สุนทรเวช ได้ดำเนินการต่อจนมีผลผูกพัน ด้วยการไปทำสิ่งที่เราเรียกว่า “แถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) “มีเนื้อหาที่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และกำหนดแผนที่บริหารการจัดการ โดยแบ่งโซนการบริหารจัดการออกเป็น 3 โซน การลงนามคำแถลงการณ์ร่วมมี 2 ฉบับ ฉบับแรกลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไทย (นายนพดล ปัทมะ) และประธานมรดกโลกฝ่ายกัมพูชา (นายซก อาน) โดยมีนางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรม ยูเนสโก ลงนามเป็นพยาน เพื่อให้ทันสมัยการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ณ เมืองควิกเบก ประเทศแคนนาดา
      
       และหลังจากนั้นร่างคำแถลงการณ์ร่วมได้เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีใน วันที่ 15 มิถุนายน 2554 และประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาได้ลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมฉบับสมบูรณ์ เพื่อให้ประเทศกัมพูชานำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบคำขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก กรณีคำแถลงการณ์ร่วมได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในประเทศอย่างกว้างขวาง จนทำให้ประเทศกัมพูชาได้ดำเนินการออกแผนที่ฉบับใหม่ แต่มิได้มีเส้นเขตแดนระหว่างกัน ซึ่งทำให้ภาคประชาชนที่ติดตามสถานการณ์ในเวลานั้นโต้แย้งแสดงออกต่อสื่อมวล ชนในวงกว้าง อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งนี้รัฐบาลในเวลานั้นกลับไม่สนใจแต่กลับดำเนินการสำรวจและรังวัด อาณาบริเวณตัวปราสาทจนเกิดแผนผังเป็นบริเวณประมาณ 50 ไร่ เพื่อให้กัมพูชานำไปขึ้นทะเบียนแทนแผนผังฉบับเดิม
      
       หากแต่ภาคประชาชน ได้แก่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทพระวิหาร เมื่อพิจารณาเนื้อหาสาระแล้ว ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศไทยทำการยกเลิกคำแถลงการณ์ร่วมที่ทำให้ประเทศ ไทยอาจสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดนแต่ก็ไม่ได้รับการสนองตอบจากรัฐบาล
      
       กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ทำการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง กลางให้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามมิให้นำคำแถลงการณ์ร่วมฉบับดังกล่าวนำ ไปใช้ได้เพราะอาจมีลักษณะเป็นหนังสือสนธิสัญญา ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปีพุทธศักราช 2550 มาตรา 190 โดยมีเนื้อหาสรุปว่า “หนังสือใดๆที่เข้าข่ายความเป็นสนธิสัญญาจะต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา”
      
       ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้มีการคุ้มครองชั่วคราวโดยมิให้นำคำ แถลงการณ์ร่วมไปใช้เป็นเอกสารประกอบคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เนื่องจากเข้าข่ายการกระทำผิดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 เพราะเป็นหนังสือสนธิสัญญาที่ไม่ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา
      
       เรื่องคำแถลงการณ์ร่วมนี้ยังปรากฏในหนังสือโต้ตอบระหว่างนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย กับนางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรม ยูเนสโก และนายนพดล ปัทมะ กับนายฮอร์นัม ฮอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชา โดยมีเนื้อหาสาระว่า “ศาลไทยได้ชี้ขาดต่อประเด็นคำแถลงการณ์ร่วมไว้อย่างชัดแจ้งและคำแถลงการณ์ ร่วมไม่สามารถนำไปใช้เป็นเอกสารประกอบหลักในการสนับสนุนอย่างแรงกล้าของไทย ได้อีกต่อไป” นางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ ได้รับทราบและจะไม่นำคำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวไปใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการขอ ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร สำหรับนายฮอร์ นัมฮง ซึ่งไม่ได้เป็นคนอยู่ภายใต้กฎหมายไทย กลับออกความเห็นว่าคำแถลงการณ์ร่วม “ไม่เป็นหนังสือสนธิสัญญาแต่ประการใด”
      
       ในระหว่างนั้น ยูเนสโก (UNESCO) และศูนย์กลางมรดกโลก (WHC) ได้แสดงทีท่าสนับสนุนการขึ้นทะเบียนของฝ่ายกัมพูชา โดยนายโคชิโร่ มัสซึอุระ ได้ส่งนางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ เดินทางมายังกรุงพนมเปญ หารือกับรัฐบาลกัมพูชาและจัดตั้งองค์กร ANPV (The National Authority for the Protection of PreahVihear) เพื่อเป็นองค์กรที่บริหารจัดการพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารตามหลักการ พิจารณาของหน่วยงาน ICOMOS สากล อันเป็นการรองรับมติคณะกรรมการมรดกโลกที่จะมีขึ้นในสมัยประชุมครั้งที่ 32 เป็นการลวงหน้า
      
       มีข้อน่าสังเกตว่าแม้ศาลปกครองจะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกรณีคำ แถลงการณ์ร่วมไปแล้ว กลับปรากฏว่ารัฐภาคีไทยแสดงทีท่าการคัดค้านและไม่สนับสนุนการขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหารของประเทศกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว แต่ได้แสดงเจตจำนงที่จะขอขึ้นทะเบียนร่วมกัน พร้อมกับแสดงความต้องการที่จะร่วมมือกับคณะกรรมการมรดกโลก โดยจะทำให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกข้ามพรมแดน ดังปรากฏตามเอกสารคำแถลงการณ์ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย และคำแถลงการณ์ของนายปองพล อดิเรกสาร ประธานมรดกโลกฝ่ายไทย และได้มีการรับทราบจากยูเนสโกและศูนย์การมรดกโลกต่อเรื่องนี้
      
       อย่างไรก็ดี สมัยการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก สมัยประชุมที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนนาดา กลับไม่สนใจคำแถลงการณ์ของไทย ซ้ำยังกลับอนุมัติให้มีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเฉพาะตัว และการขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทครั้งนั้นคณะกรรมการมรดกโลกได้บันทึกไว้ว่า “9. บันทึกว่าทรัพย์สินที่เสนอสำหรับขึ้นทะเบียนได้รับการลดขนาดและประกอบเพียง ปราสาทพระวิหาร และไม่รวมชะง่อนเขาที่มี่พื้นที่กว้าง หน้าผาและถ้ำต่างๆ” (ต่อมาภายหลังคณะกรรมการมรดกโลกกลับแหกมติตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก ครั้ง)
      
       จากเหตุการณ์การขึ้นทะเบียนดังกล่าว ทำให้เห็นว่าคณะกรรมการมรดกโลกในสมัยประชุมที่ 32 ทำการฝ่าฝืนมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ของตัวเอง ที่ระบุไว้ว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารจะต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐภาคีไทยอย่าง แข็งขันเสียก่อน โดยเน้นให้เห็นว่ากัมพูชาจะต้องได้ “with the active support of Thailand.” จากรัฐภาคีไทย (แต่ไม่ได้หนังสือนั้นจากไทยมึงเสือกขึ้นทะเบียนได้อย่างไร)


    นอกจากนี้มติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ICC พระวิหาร (International Coordination Committee PreahVihear) และให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็น 1 ใน 7 ชาติสมาชิก ซึ่งผลของการออกมติในครั้งนี้ประเทศไทยได้โต้แย้งเกี่ยวกับแผนที่ที่แนบท้าย คำแถลงการณ์ร่วมและการปรับปรุงแผนที่ครั้งใหม่ของประเทศกัมพูชาที่นำเสนอต่อ ศูนย์กลางมรดกโลกที่ปารีสในข้อที่ว่า แผนที่แนบท้ายคำแถลงการณ์ร่วมอยู่ภายใต้การคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครอง กลาง แต่คณะกรรมการมรดกโลกกลับเมินเฉยคำร้องขอของประเทศไทย ได้อนุมัติการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไปอย่างผิดหลักการทางวิชาการ ประกอบกับ ICOMOS ฝ่ายไทยได้มีหนังสือแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงต่อเรื่องนี้ แต่คณะกรรมการมรดกโลกสากลกลับขอให้ศูนย์กลางมรดกโลก (WHC) ทำการช่วยเหลือประเทศกัมพูชาโดยจัดการหาผู้เชี่ยวชาญชาวอินเดียมาทำแผน บริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารให้เสร็จสิ้น
      
        ภายหลังจากการออกมติของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ภาคประชาชนของประเทศไทยได้แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง และศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทยยังได้ทำการวินิจฉัยว่าพื้นที่โดยรอบปราสาทพระ วิหารเป็นของไทย และแผนที่แนบท้ายคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาฉบับที่ได้พิจารณาในสมัยการ ประชุมมรดกโลกครั้งที่ 32 เป็นฉบับที่อาจทำให้ประเทศไทยสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน เพราะรัฐบาลไทยในปี พ.ศ. 2505 เคารพคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร จะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกด้วยการออกมติคณะรัฐมนตรีกัน “อาณาบริเวณรอบตัวปราสาท” เพื่อให้กัมพูชาเข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น ไม่มีการยกดินแดนให้กัมพูชาแต่อย่างใด นอกจากนี้รัฐบาลไทยในปี 2505 ยังทำหนังสือสงวนสิทธิ์เพื่อทวงคืนตัวปราสาทพระวิหารต่อองค์การสหประชาชาติ โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาไว้ด้วย
      
        (อนึ่งกัมพูชามักจะบิดเบือนคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาท พระวิหารว่า ศาลนั้นได้พิจารณาตัดสินแผนที่ในภาคผนวกหนึ่งและศาลได้ตัดสินเส้นเขตแดนบน แผนที่ ซึ่งศาลฯ ไม่มีคำพิพากษาเช่นนั้นเลย)
      
        หลังมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ประเทศกัมพูชาได้ส่งกองกำลังติดอาวุธเข้ามารุกล้ำดินแดนประเทศไทย และมีการขยายชุมชนของชาวกัมพูชาเข้ามาในดินแดนประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปกป้องดินแดนอันเป็นอธิปไตยของไทย การปะทะกันของทหารไทยและทหารกัมพูชา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียทั้งสองฝ่ายจากการที่กัมพูชาละเมิดอธิปไตยของประเทศ ไทย แต่ฝ่ายกัมพูชาโดยประธานคณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชาได้ทำเอกสารให้ร้ายต่อ ประเทศไทย ณ ศูนย์กลางมรดกโลก (WHC) โดยการกล่าวหาไทยว่าเป็นผู้รุกรานและใช้อาวุธทำลายตัวปราสาทพระวิหาร รายงานฉบับดังกล่าวของกัมพูชาเข้าไปสู่วาระการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 33
      
        สมัยประชุมที่ 33 ณ เมืองเซบิย่า ประเทศสเปน การประชุมครั้งนี้ฝ่ายกัมพูชาได้นำเสนอความเสียหายของตัวปราสาทจากการกระทำ ของฝ่ายไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยเฉพาะการทำลายตัวตลาดชุมชนชาวกัมพูชา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกองกำลังทหารและชุมชนกัมพูชาได้รุกล้ำเข้ามาอยู่ใน ดินแดนประเทศไทย เมื่อมีการปะทะ ทหารไทยได้ใช้กำลังเพื่อผลักดันชาวกัมพูชาเพื่อรักษาอำนาจอธิปไตย หากแต่ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกกลับเห็นพ้องกับฝ่ายกัมพูชา และได้อนุมัติเงินช่วยเหลือฝ่ายกัมพูชาในการมาฟื้นฟูตลาดของชุมชนชาวกัมพูชา ที่อยู่ในดินแดนประเทศไทย และบริเวณทางขึ้นตัวปราสาท อีกทั้งยังได้อนุมัติเงินเพิ่มเติมในการทำแผนบริหารจัดการให้สำเร็จ และเปิดโอกาสให้กัมพูชาเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกรณีประเทศฝรั่งเศสได้ออกตัวมาปกป้องประเทศกัมพูชา โดยไม่ฟังเสียงทัดทานของฝ่ายไทย ประกอบกับคณะกรรมการยังออกมติที่บีบบังคับฝ่ายไทยให้ความร่วมมือกับฝ่าย กัมพูชาและประเทศภาคีสมาชิกอื่นๆ ในการจัดตั้ง ICC พระวิหาร (International Coordination Committee)
      
        ภายหลังการออกมติ ฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชากลับมีความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น เพราะฝ่ายไทยมองเห็นว่าทั้งองค์การยูเนสโกภายใต้การนำของนายทาเคชิ มัตสึอุระ ผู้อำนวยการใหญ่ และนางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรม ได้ให้การสนับสนุนอย่างผิดปกติ จัดผู้แทนยูเนสโกเข้ามาสำรวจความเสียหายของปราสาทพระวิหารจนฝ่ายไทยจำเป็น ต้องจัดเจ้าหน้าที่เข้ามาอารักขา และแสดงสิทธิอำนาจอธิปไตยบริเวณพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร
      
        องค์การยูเนสโก และศูนย์กลางมรดกโลก ยังคงให้การสนับสนุนและช่วยเหลือกัมพูชาอย่างพิเศษ และดูเหมือนว่าจะให้สิทธิในการส่งเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแผนบริหารการจัดการ หรือความขัดแย้งทางด้านทหารที่ฝ่ายกัมพูชาเข้ามารุกรานดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะการตัดถนนเข้ามายังตัวปราสาทพระวิหารได้ทำลายพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เข้าพระวิหารของประเทศไทย และองค์การยูเนสโกโดยศูนย์กลางมรดกโลก (WHC) กลับละเลยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกในข้อที่ว่า กรณีปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกโลกได้ก่อให้เกิดสถานการณ์การสู้รบทางการทหาร มีกองกำลังติดอาวุธ และมีการปะทะกันก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตทหารและประชาชน ศูนย์กลางมรดกโลกยังคงเพิกเฉยละเลยที่จะขึ้นบัญชีมรดกโลกอันตรายต่อปราสาท พระวิหารตามอนุสัญญาและขั้นตอนต่างๆ ตามข้อ 177 ถึง 191

          ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยประชุมครั้งที่ 34 ณ เมืองบาซิเลียน ประเทศบราซิล คณะกรรมการมรดกโลกพยายามทำการประนีประนอมต่อประเทศไทย ด้วยการเรียกประชุมเป็นการเฉพาะและยังยืนยันที่จะให้ฝ่ายไทยรับมติคณะ กรรมการมรดกโลก ถึงกระนั้นก็ตามภาคประชาชนของประเทศได้ทำการประท้วงคัดค้านและปรารถนาให้ลา ออกจากภาคีสมาชิก แต่รัฐบาลไทยกลับมีทีท่าวางเฉย ในที่สุดมติของคณะกรรมการมรดกโลกที่ออกมาได้สนับสนุนและช่วยเหลือกัมพูชา เพิ่มเติมจากเดิมไปอีก อาทิ ความช่วยเหลือของประเทศญี่ปุ่นในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ การสนับสนุนแผนบริหารการจัดการฉบับใหม่ที่ไม่สนใจการรุกล้ำอธิปไตยของฝ่าย กัมพูชา และการบีบบังคับให้ไทยต้องเข้าร่วม ICC พระวิหาร ในสมัยประชุมครั้งที่ 35
      
       อีกทั้งยังนำเอาแผนที่แนบท้ายคำแถลงการณ์ร่วมซึ่งองค์การยูเนสโกได้ เคยยืนยันแล้วว่าจะไม่นำมาใช้ในการพิจารณาแผนบริหารการจัดการและการขึ้น ทะเบียนมรดกโลก โดยในครั้งนี้ฝ่ายกัมพูชามาใช้เป็นต้นแบบในการปรับแก้แผนบริหารจัดการ ที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ การที่คณะกรรมการมรดกโลกเปิดโอกาสให้กัมพูชาขยายขอบเขตพื้นที่ออกไป อย่างกว้างขวางโดยการรุกรานดินแดนและอธิปไตยของไทย โดยไม่สนใจข้อเรียกร้องของฝ่ายไทยแต่อย่างใด ลายเซ็นของคุณสุวิทย์ คุณกิตติ นายซกอาน และประธานมรดกโลกบราซิลได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ภายในประเทศ อย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเครื่องแสดงให้เห็นการเสียเปรียบของประเทศไทย
      
       หลังออกมติการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34 ณ เมืองบาซิเลียน ประเทศบราซิล ประชาชนชาวไทยได้รวมตัวกันมาประท้วงเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็น มรดกโลกอีกครั้ง โดยอาจเรียกว่าเป็นการชุมนุมเพื่อทวงดินแดนคืนจากประเทศกัมพูชา มีผู้ชุมนุมมาพักค้างบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์เป็นจำนวนมากตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคา 2554 เป็นเวลากว่า 144 วัน และได้ทำการยื่นหนังสือประท้วงต่อองค์การยูเนสโกประจำประเทศไทย (UNESCO) หลายครั้ง รวมถึงการมายื่นหนังสือวันที่ 17 มิถุนายน 2554 นี้ด้วย โดยมีวัตถุประสงค์ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลก และถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก
      
       ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ, องค์การยูเนสโก (UNESCO) และเป็นรัฐภาคีสมาชิกมรดกโลกฯ มีอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของตนเองอย่างสมบูรณ์ การกระทำของประเทศกัมพูชาต่อกรณีปราสาทพระวิหารที่ ผ่านมา เป็นการรุกล้ำอธิปไตยและดินแดน จนฝ่ายไทยได้มีหนังสือประท้วงหลายต่อหลายครั้ง องค์การยูเนสโกเป็นองค์กรที่มีปณิธานในการส่งเสริมสนับสนุนประเทศภาคีสมาชิก ในความร่วมมือให้มีสันติภาพ มีความสงบสุข แต่พฤติการณ์และพฤติกรรมที่ปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้ เป็นมรดกโลกนั้น มีลักษณะขัดแย้งต่อปณิธานขององค์กรที่ตั้งไว้ เพราะเมื่อมีการสนับสนุนให้ศูนย์กลางมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลกทำการอนุมัติการขึ้นทะเบียน ความขัดแย้งได้เพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อย มีการขัดแย้งของคนภายในประเทศ มีการรุกรานดินแดนเพื่อให้แผนบริหารจัดการมีความสมบูรณ์  มีการปะทะกันอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
      
       และล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์กองทัพกัมพูชาได้ระดมยิงจรวดและปืนใหญ่ถล่มบ้านเรือนของประชาชนคนไทยตรงบริเวณใกล้ปราสาทพระวิหารและบริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหาร ประชาชนชาวไทยต้องอพยพหลบภัยจากอาวุธของกองทัพกัมพูชาถึง 2 ครั้งกว่า 1 แสนคน อนึ่งฝ่ายกัมพูชาได้ใช้ตัวปราสาทพระวิหารเป็น ที่กำบังเป็นที่สะสมอาวุธและกองกำลัง (ดังปรากฏตามภาพถ่ายที่ได้แนบมา) ซึ่งได้ละเมิดอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ข้อ 180 ที่ว่าด้วยเรื่อง Potential Danger แต่องค์การยูเนสโก ศูนย์กลางมรดกโลก  และคณะกรรมการมรดกโลกกลับนิ่งเฉย และยังคงเข้าข้างฝ่ายกัมพูชาในการดำเนินการตามแผนบริหารจัดการที่รุกล้ำดิน แดนประเทศไทย อีกทั้งยังมีความพยายามบีบบังคับให้ประเทศไทยต้องรับมติคณะกรรมการมรดกโลก ทุกครั้ง
      
       อย่างไรก็ดี การลาออกของคุณสุวิทย์ คุณกิตติ คือ การลาออกจากการเป็นรัฐภาคีตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางธรรมชาติและ วัฒนธรรม ฉบับ ค.ศ. 1972 โดยมาตรา 35 ระบุไว้ว่า
      
       1. รัฐภาคีแห่งอนุสัญญามีสิทธิในการบอกเลิกการเป็นสมาชิกในอนุสัญญา
      
       2. การบอกเลิกต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อผู้อำนวยการใหญ่องค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
      
       3. การบอกเลิกจะมีผลเมื่อครบระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันที่มีหนังสือแจ้งตอบรับการบอกเลิกของรัฐภาคี ทั้งนี้จะไม่มีผลต่อพันธะผูกพันทางการเงินของรัฐภาคีที่บอกเลิกจนกว่าจะถึง วันที่หนังสือบอกเลิกมีผลบังคับใช้
      
       การบอกเลิกการเป็นสมาชิกตามอนุสัญญาฯ มรดกโลกของประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554 จึงถูกต้องตามข้อบังคับในมาตราที่ 35 แห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ เพียงแต่รอการบอกเลิกความเป็นสมาชิกเท่านั้นซึ่งต้องใช้เวลาภายใน 12 เดือน
      
       ความหมายตามมาตรา 35 ที่ระบุว่า “รัฐภาคีแห่งอนุสัญญามีสิทธิในการบอกเลิก” นั้น รัฐไทยในฐานะเป็นภาคีตามอนุสัญญาย่อมมีสิทธิเต็มที่ในการที่จะเป็นสมาชิก หรือบอกเลิกการเป็นสมาชิก (และไม่จำเป็นต้องไปผูกพันใดๆ) แม้ว่าการลาออกของรัฐภาคีไทยจะมีผลก็ต่อเมื่อมีหนังสือตอบรับการบอกเลิก สมาชิกอย่างเป็นทางการและมีระยะเวลา 12 เดือนตามแต่ในทางปฏิบัติแล้ว รัฐภาคีไทยก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามพันธะในอนุสัญญา ยิ่งเป็นเรื่องเขตอำนาจอธิปไตยแล้ว รัฐภาคีประเทศไทยมีสิทธิที่จะต้องปกป้องอธิปไตยและดินแดนตามที่ระบุไว้ในกฎ บัตรแห่งสหประชาติที่ดูเหมือนจะมีความสำคัญมากกว่าอนุสัญญามรดกโลก และโดยสภาพการบังคับแห่งอนุสัญญาฯ มรดกโลกก็ไม่มีมาตราใดที่ระบุเอาไว้เลย  
      
       อนึ่งเรื่องเขตแดนและดินแดนของรัฐภาคีนั้น องค์การยูเนสโกก็ดี ศูนย์กลางมรดกโลกก็ดี หรือแม้แต่คณะกรรมการมรดกโลกก็ดี ไม่สามารถจะทำการตัดสินหรือยกดินแดนหรืออำนาจอธิปไตยของรัฐภาคีแห่งหนึ่งไป ให้กับรัฐภาคีอีกแห่งหนึ่งได้ หากแต่จำเป็นต้องแสดงความตระหนักถึงปัญหานี้อย่างยิ่งยวด

       ตามที่ผมได้เสนอบทความย้อนรอยไปทั้งหมด 3 ตอน ย่อมเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า
      
        1. การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกของคะกร รมการมรดกโลกครั้งที่ 32 นั้นเป็นไปด้วยความไม่ชอบและผิดประเภทของการขึ้นทะเบียน เพราะปราสาทพระวิหารถือเป็นศาสนสถานที่ประกอบขึ้นจากคติความเชื่อในศาสนา ฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย (พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด) มีการวางแผนผังอย่างเป็นระเบียบ โดยเริ่มต้นจากความเชื่อที่ว่าเมื่อพระศิวะมีวิมานอวิมุกติบนยอดเขาพระ สุเมรุ (บางทีให้เป็นเขาไกรลาสซึ่งความจริงแล้วคนละภูเขากัน) บนสรวงสวรรค์ที่มองไม่เห็น มนุษย์ในฐานะเป็นสาวกและเป็นศาสนิกจึงต้องสร้าง “วิมานทิพย์” เพื่อเป็นที่ประทับของพระศิวะบนโลกมนุษย์ “วิมาน” อันเป็นที่ประดิษฐานแท่นฐานโยนีธระและศิวลึงค์จึงถูกสร้างขึ้นโดยการออกแบบของ “พราหม์” อันเป็นชนชั้นที่ได้รับสิทธิในการออกแบบและสร้างวิมาน.
      
        ดังนั้นองค์ประกอบของวิมานจึงมีสถาปัตยกรรมหลายประเภทอยู่ภายในด้วย โดยในแต่ละประเภทนี้เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ “วิมาน” มีความสมบูร์แบบ มากขึ้น การออกแบบดังกล่าวเริ่มจากบันไดสิงห์ บันไดและสะพานนาค ชานชลารูปกากบาท โคปุระ 3 ชั้น ทางเดินที่มีเสานางเรียง อาคารประกอบพิธีกรรม เช่น การบูชาไฟ อาคารหอพระสมุด อาคารสำหรับบูชาและตั้งรูปเคารพ และตัววิมานที่ประกอบไปด้วย มฑป มุขกระสัน และปรางค์ประธาน (ครรภะ). ดังนั้นการที่คะกร รมการมรดกโลกมีมติให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเฉพาะตัวปราสาทจึงเป็นการ ทำลายประเภทมรดกโลกที่ตนเองกำหนดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การพิจาราการขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทจึงยอมตามหลักวิชาการในโลกสากลมิได้
      
        2. ประเทศไทยเคยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนและภายหลังไม่สามารถสนับสนุนได้เพราะคำ สั่งของศาลปกครองได้สั่งเรื่องนี้รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยพื้นที่ รอบตัวปราสาทเป็นของไทย การสูญเสียดินแดนเป็นเรื่องใหญ่จึงปล่อยให้กัมพูชานำพื้นที่รอบตัวปราสาทไป ขึ้นทะเบียนมิได้
      
        3. ขบวนการฉ้อฉลทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำที่พยายามบิดเบือนข้อมูลและ ขัดคำสั่งของศาลปกครองได้ได้จัดจ้างให้กลุ่มนักวิชาการ 7.1 ล้านทำการศึกษาโดยใช้ขบวนการวิจัยบังหน้าแต่ข้อมูลอันเป็นเท็จของฝ่าย กัมพูชา อีกทั้งข้าราชการประจำแอบให้ข้อมูลและสร้างหลักฐานเท็จเพื่อให้ฝ่ายกัมพูชา ได้เปรียบ
      
        4. คะกร รมการมรดกโลกออกมติขัดแย้งกับความเป็นจริง และพยายามช่วยเหลือกัมพูชาโดยไม่คำนึงถึงข้อความในอนุสัญญาที่ตนเองเป็นผู้ กำหนด โดยใช้วิธีการสร้างหลักฐานเท็จ ปกปิดข้อมูล บิดเบือนหลักการทางวิชาการอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่มติครั้งที่ 32-34
      
        5. ประเทศของเรามีคนเห็นแก่ประโยชน์ของตัวเองมากกว่าประโยชน์ชาติ
      
        ในตอนท้ายของบทความที่มีความยาวหลายตอนนี้ ผมขอแสดงความคิดเห็นว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เราไม่ควรจะสูญเสียดินแดน การสูญเสียดินแดนเป็นเรื่องใหญ่ เราจะปล่อยให้ประวัติศาสตร์จารึกหรือว่า คนไทยเทิดทูนสถาบันโดยการปล่อยให้ศัตรูเข้ายึดครองจนเกิดขบวนการสูญเสียดิน แดน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง