บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ขอโอกาสทำงานต้องให้ตรวจสอบ

ขอโอกาสทำงานก็ต้องเปิดทางให้ตรวจสอบ : ขยายปมร้อน โดยนันทิดา พวงทอง            ส่องกล้องขยายประเด็นร้อน กรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 กันยายน มีคำสั่งสายฟ้าแลบ ปรับเปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) โดยแต่งตั้ง "ทูตบัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์" นั่งเก้าอี้ประธานเจบีซีคนใหม่ แทน "ทูตอัษฎา ชัยนาม"             แน่นอนว่าย่อมมีผลให้ "ทูตวีรชัย พลาศรัย" เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของประธานเจบีซีต้องยุติลงบทบาทในส่วนนี้ลง แต่ยังคงทำหน้าที่หัวหน้าคณะดำเนินการด้านกฎหมายต่อสู้คดีในศาลโลกต่อกรณีปราสาทพระวิหาร โดยเดือนพฤศจิกายนนี้ "ทูตวีรชัย" จะนำทีมกฎหมายไปมอบเอกสารเกี่ยวกับการตีความของฝ่ายไทย ที่มีต่อคำพิพากษาของศาลโลก ในปี 2505             ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในทุกยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ซึ่งการแต่งตั้ง "ทูตบัณฑิต" ทำหน้าที่ประธานเจบีซีคนใหม่ โดยอ้างเหตุผลเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการรักษาผลประโยชน์ของประเทศ เนื่องจากจุดยืนในการเจรจาของไทยก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายของรัฐบาลนั้นๆ ด้วย             ในภาวะที่สถานการณ์ทางการเมืองของไทย-กัมพูชามีความผ่อนคลาย และความสัมพันธ์ที่ถูกฟื้นฟูให้ดีขึ้น ย่อมเอื้ออำนวยต่อบรรยากาศให้คณะทำงานเจบีซีสามารถตั้งโต๊ะเจรจาให้เกิดผลรุดหน้าจากเดิมได้ หลังจากที่หยุดชะงักมานาน หลังจากคณะทำงานเจบีซีได้พบปะกันที่โบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ก็ยังไม่มีผลคืบหน้าใดๆ             หากเจาะลึกในตัวบุคคลถึงความเหมาะสมของคณะทำงานเจบีซีชุดใหม่ จะเห็นว่า ล้วนแต่เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับกัมพูชาเป็นอย่างดี เริ่มจาก "ทูตบัณฑิต" นักกฎหมายรุ่นเก๋า ผู้ที่เข้าใจปัญหาความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาดีระดับหนึ่ง โดยในเหตุการณ์เผาสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ เมื่อปี 2546 "ทูตบัณฑิต" ในฐานะทำหน้าที่รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น เป็นผู้ประสานเจรจากับกัมพูชา เพื่อชดเชยค่าเสียหายให้แก่ทางการไทยและเอกชนไทย             ส่วนทีมที่ปรึกษาด้านกฎหมายเจบีซีใหม่ ประกอบด้วย "ทูตประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย" เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ถือได้ว่ามีความชำนิชำนาญเรื่องเขตแดนไทยกัมพูชา พอๆ กับการตรวจดูดวงชะตาลายมือทีเดียว อีกทั้ง "ทูตประศาสน์" ยังอยู่ในคณะทำงานเจบีซีในทุกยุคสมัย แม้การเมืองจะเปลี่ยนขั้วอยู่บ่อยก็ตาม             ขณะที่ "ทูตณัฐวุฒิ โพธิสาโร" ณ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายอีกคน ก็ทำงานคลุกคลีกับกัมพูชามานานเกือบตลอดอายุราชการก็ว่าได้ นับว่าเป็นผู้รู้เรื่องเขมรที่ดีคนหนึ่งของกระทรวง โดย "ทูตณัฐวุฒิ" เคยดำรงตำแหน่งอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ หากย้อนไปดูภูมิหลังแล้ว จะทราบได้ "ทูตณัฐวุฒิ" เป็นบุตรชายหัวแก้วหัวแหวนของ "จำนง โพธิสาโร" ส.ส.ศรีสะเกษ 7 สมัย เดินทางเข้าออกกัมพูชานับครั้งไม่ถ้วน             นอกจากความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับรัฐบาลสมเด็จฮุน เซน จะช่วยส่งเสริมให้ความร่วมมือใดๆ เดินหน้าต่อไปได้แล้ว ยิ่งการที่คณะทำงานเจบีซีชุดใหม่ ซึ่งไม่มีภาพลักษณ์ต่อต้านรัฐบาลกัมพูชามาก่อน ตรงจุดนี้อาจจะเป็นจุดแข็งในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อโน้มน้าวกัมพูชาให้กลับสู่การโต๊ะเจรจาเจบีซีในเร็ววันนี้ได้             ทั้งนี้ การเปลี่ยนตัวบุคคลในคณะทำงานเจบีซีของฝ่ายไทยที่มีขึ้นบ่อยๆ นั้น ย่อมมีผลต่อการดำเนินยุทธศาสตร์ในระยะยาว ต่างจากฝั่งกัมพูชา ที่มอบหมายให้ "นายวา คิม ฮอง" ประธานเจบีซีฝ่ายกัมพูชา ดูแลเรื่องนี้นานนับสิบปี โดยนายคิม ฮอง จับงานเรื่องเขตแดนมาตั้งแต่สมัยยังเป็นข้าราชการหนุ่ม จนมาถึงตอนนี้ได้รับแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ดูแลเรื่องการกำหนดยุทธศาสตร์การเจรจาเขตแดนทางบก ให้แก่ "สมเด็จฮุน เซน" นายกรัฐมนตรีกัมพูชา             ตราบใดที่การเมืองภายในของไทยยังไม่นิ่ง ทุกฝ่ายยังนำประเด็นเรื่องเขตแดนมาสร้างเป็นชนวนความขัดแย้งทางการเมืองภายใน และเขย่าความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาให้ปั่นป่วนเป็นระยะๆ ย่อมจะส่งผลให้คณะทำงานเจบีซีทำงานยากขึ้น             โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" ยังเดินทางเข้าออกกัมพูชา และ "สมเด็จฮุน เซน" ยังทำตีซี้สนิทกับ "ยิ่งลักษณ์" ที่จะสร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้แก่ประชาชนในเรื่องการเจรจาผลประโยชน์ทับซ้อน             "เขตแดน" เป็นประเด็นอ่อนไหวของทุกประเทศ ที่ควรให้ห่างไกลจากประเด็นการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจรจาเพื่อรักษาอธิปไตยของประเทศไว้ ต้องยอมรับว่า ผู้ที่ถูกมอบหมายงานให้ดูแลเรื่องนี้ เป็นผู้เสียสละ เพราะเจรจาเขตแดนเป็นเรื่องปลืองตัว โดยเฉพาะกับข้อกล่าวหา "ขายชาติ"             ดังนั้นจึงต้องเปิดโอกาสให้คณะทำงานเจบีซีชุดใหม่ได้แสดงฝีไม้ลายมือเสียก่อน ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องเปิดทางให้มีการตรวจสอบแบบทำงานคู่ขนาน เพื่อแสดงความโปร่งใสและช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง