บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หน้าตานักฎหมาย(ชาวฝรั่งเศส)และศาลโลก โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์



เมื่อ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เพียง ๖ วันก่อนวันครบรอบ ๕๐ ปี คำพิพากษาศาลโลกฉบับแรกที่ไทยเป็นคู่ความ รัฐบาลไทยได้แจ้งประชาชนว่าไทยพร้อมไปชี้แจงที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) สิ้นเดือนนี้ การชี้แจงนั้นเกี่ยวกับมาตรการชั่วคราวที่กัมพูชาขอให้ศาลสั่งให้ไทยถอน กำลังออกจากบริเวณที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นดินแดนของตน แต่รัฐบาลยังมิได้เปิดเผยให้ทราบว่า นักกฎหมายชาวฝรั่งเศสและชาติอื่นๆ ที่รัฐบาลได้แต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาเฉพาะกิจในคดีหรือเป็นที่ปรึกษานั้น มีรายชื่อใดบ้าง [ดูข่าว].

หาก ให้ลองนึกถึงนักกฎหมายระหว่างประเทศเพียงส่วนหนึ่งที่เคยทำหน้าที่ลักษณะดัง กล่าว (ไม่ว่ารัฐบาลไทยจะได้แต่งตั้งนักกฎหมายท่านเหล่านี้หรือไม่) ก็อาจมีผู้นึกถึงท่านต่อไปนี้.

ผู้พิพากษาเฉพาะกิจ (Judge ad hoc)


1. ท่านผู้พิพากษา Gilbert Guillaume (ชาวฝรั่งเศส)

ภาพจาก ICJ


ท่านผู้พิพากษา Guillaume 
เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลโลก และเคยได้รับเลือกให้เป็นผู้พิพากษาหรืออนุญาโตตุลาการในคดีพิพาทเขตแดนสำคัญหลายคดี. 

ปัจจุบัน ท่านก็ยังทำหน้าที่สำคัญ เช่น ผู้พิพากษาเฉพาะกิจในคดีอื่นของศาลโลกด้วย โดยที่ผ่านมาท่านได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ผู้พิพากษาเฉพาะกิจถึง ๕ ครั้ง. 



2. ท่านผู้พิพากษา 
Jean-Pierre Cot 
(ชาวฝรั่งเศส)
ภาพจาก Itlos



ท่านผู้พิพากษา Cot เคย
ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาเฉพาะกิจในคดีศาลโลกหลายคดี รวมถึงคดีข้อพิพาทเขตแดนทางบกและทางทะเลถึงสามคดี.

ท่านยังดำรงตำแหน่งสำคัญอื่น เช่น ในคณะตุลาการกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ (International Tribunal for the Law of the Sea หรือ ITLOS).



ทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมาย


1. ศาสตราจารย์ Allain Pellet
(ชาวฝรั่งเศส)



ภาพจาก alainpellet.fr


ศาสตราจารย์ Pellet 


แห่งมหาวิทยาลัย Paris Ouest, Nanterre-La Défense 
เคยทำหน้าที่ทั้งทนายที่ปรึกษาและทนายผู้ว่าความให้รัฐบาลในคดีพิพาทต่างๆ กว่า ๓๐ คดี ซึ่งเป็นเรื่องเขตแดนหลายคดีเช่นกัน.

ใน อดีตท่านเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น ประธานคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (International Law Commission หรือ ILC).



2. ศาสตราจารย์ James Crawford
(ชาวออสเตรเลีย)




ภาพจาก ICJ

ศาสตราจารย์ Crawford แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge เคยทำหน้าที่ทั้งอนุญาโตตุลาการและทนายความในคดีกฎหมายระหว่างประเทศหลายคดี และเป็นนักกฎหมายระหว่างประเทศที่ว่าความในศาลโลกบ่อยที่สุดคนหนึ่ง.

ท่านเคยดำรง

ตำแหน่ง
สำคัญในอดีต  เช่น กรรมาธิการ



กฎหมายระหว่างประเทศ


ผู้มีส่วนยกร่างเอกสารที่นำมาสู่การจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court 





หรือ 





ICC).  



















การระงับข้อพิพาทเขตแดนนอกศาล







ภาพจาก PCA







การ ระงับข้อพิพาทเรื่องเขตแดนไม่จำเป็นต้องอาศัยศาลโลก ณ กรุงเฮกที่เดียวเท่านั้น ในรูปด้านบนเป็นตัวอย่างภาพการพิจารณาคดีพิพาทเขตแดนในลักษณะอนุญาโตตุลาการ (Permanent Court of Arbitration หรือ PCA) ที่ประกอบด้วยนักกฎหมายหลากหลายที่คู่พิพาทมีส่วนเลือกแต่งตั้ง โดยในรูปตรงกลางคือศาสตราจารย์ Crawford และมีท่านผู้พิพากษา Guillaume นั่งพิจารณาคดีด้วย. ทางด้านขวายังมี Jan Paulsson ที่ปรึกษากฎหมายจากสำนักงานเอกชนซึ่งผู้เขียนเคยทำงานที่กรุงปารีสร่วมเป็น ผู้ตัดสินคดีด้วยเช่นกัน.












ภาพบรรยากาศศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์







ภาพจาก ICJ



สถานที่ตั้งของศาลโลกมีชื่อว่า The Peace Palace หรือ ปราสาทแห่งสันติภาพ.








ภาพผู้พิพากษาศาลโลกปัจจุบัน ในรูปมีผู้พิพากษา ๑๕ ท่าน และนายทะเบียนศาลอีก ๑ ท่าน.
หากคู่ความในคดีไม่มีผู้พิพากษาจากชาติตน คู่ความสามารถเลือกแต่งตั้งผู้พิพากษาเฉพาะกิจได้ฝ่ายละ ๑ ท่าน.
ผู้พิพากษาเฉพาะกิจ (Judge ad hoc) ทำหน้าที่อิสระ ไม่ใช่ตัวแทนของรัฐ.



ประธานศาลโลกปัจจุบัน คือท่านผู้พิพากษา Hisashi Owada (ชาวญี่ปุ่น).



























ภาพ 









Great Hall of Justice ซึ่งเป็นชื่อ




ห้องพิจารณาคดีของศาลโลก.  
















บรรยากาศขณะศาลกำลังอ่านคำพิพากษา





ศาลโลกเป็นองค์กรตุลาการของสหประชาชาติ เป้าหมายสูงสุดคือการธำรงรักษาสันติภาพภายใต้กฎหมาย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง