บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ฮอเผยได้ ๖ มาตรการจากที่ประชุม รมต.ต่างประเทศสามฝ่าย

ฟิฟทีนมูฟ – ฮอ นำฮง เผย ๖ มาตรการหลังหารือรมต.ต่างประเทศสามฝ่าย โดยเสนอให้ไทยเร่งตอบรับ TOR ซึ่งตอบรับเมื่อใด ประกาศประชุม JBC และ GBC ทันที จากนั้นอินโดฯ จะส่งทีมสำรวจล่วงหน้าพร้อมเปิดการประชุม JBC และ GBC และ ๑๐ วันให้หลังจะส่งผู้สังเกตการณ์เต็มคณะลงพื้นที่ปะทะ ฮอขอให้กษิตเสนอให้ ครม.ไทยอนุมัติ TOR อังคารนี้ กษิตรับปากแต่ไม่ยืนยัน ส่วนปัญหาตาเมือน-ตาควาย เป็นคนละเรื่องคุยที่ไหนก็ได้
Hor1
แฟ้มภาพ: นายฮอ นำฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา
การหารือรัฐมนตรีต่างประเทศสามฝ่าย ในวันที่ ๙ พฤษภาคม ซึ่งเป็นไปตามความเห็นชอบร่วมกันของนายกรัฐมนตรีไทย ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ที่ให้รัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสามประเทศหารือร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยสันติวิธีและให้เป็นไปตามสนธิสัญญาไมตรีฯ ของอาเซียน (TAC) โดยการหารือเป็นเวลา ๓ ชั่วโมง ได้ข้อสรุป ๖ มาตรการ

ตามรายงานข่าวเมื่อวันที่  ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ของสำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา นายฮอ นำฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยถึง ๖ มาตรการดังกล่าวโดยระบุว่า ในมาตรการที่ ๑ และ ๒ ประเทศไทยควรตอบรับ TOR เกี่ยวกับการวางผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย พร้อมกันนั้นควรได้ประกาศการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) และคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC)  ซึ่งควรทำทันทีในวันเดียวกัน โดยหมายความว่า วันใดที่ไทยได้ทำหนังสือตอบรับ (Letter of Acceptance) TOR ไปถึงรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย วันนั้นกัมพูชาและไทยจะประกาศให้มีการจัดการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดน
มาตรการข้อที่ ๓ และ ๔ กำหนดว่า ๕ วัน หลังจากที่ไทยทำหนังสือตอบรับ TOR ไปถึงรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซียจะส่งทีมสำรวจสภาพการณ์ (Survey Team of IOT) ไปในพื้นที่ที่มีการปะทะ พร้อมกันนี้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ และคณะกรรมการชายแดนทั่วไปจะเปิดการประชุม
​ส่วนมาตรการที่ ๕ และ ๖ ระบุว่า ๑๐ วัน หลังจากที่ไทยทำหนังสือตอบรับ TOR  อินโดนีเซียจะส่งผู้สังเกตการณ์ทั้งหมดไปยังพรมแดน (Full Assignment)​ พร้อมกันนี้ จะมีการร่วมหารือและติดตามผลการประชุม JBC และ GBC
ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสามเห็นชอบร่วมกันที่จะให้ขอความเห็นชอบจากรัฐบาลของ ตนเกี่ยวกับผลการหารือทั้ง ๖ มาตรการดังกล่าว โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาได้ขอให้รัฐมนตรีต่างประเทศไทย ผลักดันให้คณะรัฐมนตรีไทยอนุมัติให้ความเห็นชอบต่อ TOR ในการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำสัปดาห์ ในวันอังคาร ที่ ๑๐  พฤษภาคม นี้ ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศไทยรับปาก แต่ระบุว่าไม่ทราบว่าคณะรัฐมนตรีจะอนุมัติ TOR ในวันอังคารนี้หรือไม่
​นอกจากนี้ นายฮอ นำฮง ยังได้กล่าวยืนยันเกี่ยวกับจุดยืนของนายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาว่า เราควรแยกแยะปัญหาเป็น ๒ ส่วน คือ การประชุม GBC และ JBC ที่เกี่ยวกับพื้นที่พระวิหาร ควรมีอินโดนีเซียอยู่ร่วมด้วย ส่วนการประชุม GBC และ JBC  ที่เกี่ยวกับพื้นที่เล็กอย่างพื้นที่ตาเมือนและตาควายนั้น กัมพูชาและไทย สามารถประชุมแบบทวิภาคี ซึ่งจะประชุมที่กัมพูชาหรือที่ไทยก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง