บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ


โดย เทพมนตรี ลิมปพยอม


       ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับแผ่นดินของไทยบริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหารที่ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ชันสูตร จำเป็นต้องตระหนักก็คือ บริเวณนั้นเป็นเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก มิใช่แผ่นดินของประเทศกัมพูชาแต่ประการใด และโดยสภาพภูมิศาสตร์ด้วยแล้วเส้นเขตแดนของทั้งสองประเทศเป็นไปตามอนุสัญญา ที่ทำขึ้นระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1904
      
        และสนธิสัญญาปี ค.ศ. 1907 ที่ใช้แนวของสันปันน้ำธรรมชาติเป็นเส้นกันระหว่างแดน และบริเวณพื้นที่ตอนนี้สันปันน้ำได้เป็นเส้นเขตแดนที่ขอบหน้าผา ดังความเข้าใจของประธานคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยามและอินโดจีน-ฝรั่งเศส ชุดปี ค.ศ. 1904 ข้างฝ่ายฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคม คือ พันตรีแบร์นาร์ดได้แสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งรายงานการประชุมรวมไปถึงการ ปาฐกถาสมาคมภูมิศาสตร์ที่จัดขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเกือบร้อยปีที่แล้ว แบร์นาร์ด ระบุว่า “เส้นสันปันน้ำใช้ขอบหน้าผาเป็นเส้นเขตแดน” ด้วยเหตุนี้เองปราสาทพระวิหารที่ตั้งอยู่บนชะง่อนผาเปยตาดีในทิวเขาพนมดงรัก จึงเป็นของประเทศไทยและอยู่ในขอบขัณฑสีมาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
      
        แม้คำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหารศาลโลกได้ตัดสินให้ประเทศไทยคืนอำนาจ อธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารให้กับประเทศกัมพูชา ตามคำฟ้องร้องที่ได้เสนอไปแล้วก็ตาม หากแต่รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะนั้นก็มิได้ยอมรับคำพิพากษาของ ศาลโลก ได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์เรียกคืนตัวปราสาทในอนาคต และได้แถลงออกไปอย่างเป็นทางการในที่ประชุมขององค์การสหประชาชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 แต่เนื่องจากรัฐบาลในเวลานั้นเห็นว่าไทยเราเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ จึงน้อมรับที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษา แต่ได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์เอาไว้เป็นที่ชัดแจ้งและไม่มีอายุความแต่ประการใด มติคณะรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1962 จึงสั่งการให้มีการล้อมรั้วลวดหนามและติดตั้งประตูเหล็ก กันอาณาบริเวณให้กัมพูชาเข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยตามคำพิพากษาของศาลโลก หาได้มีมติยกดินแดนของไทยในเนื้อที่ 150 ไร่ให้ฝ่ายกัมพูชาแต่อย่างใด
      
        ด้วยเหตุนี้เองพื้นที่บริเวณโดยรอบจึงเป็นของไทยชนิดที่ภาษาชาวบ้านว่า ขอบหินชนดิน กัมพูชามีสิทธิ์ที่จะใช้อำนาจอธิปไตยเฉพาะซากปราสาท แต่ไม่มีสิทธิ์ในดินแดนโดยรอบ ส่วนพื้นที่ทับซ้อนที่ว่ากันก็คือพื้นดินใต้ตัวปราสาทแบบขอบหินชนดินนั่นเอง
      
        นอกจากนี้ประเทศไทยยังสามารถทวงคืนตัวปราสาทได้อย่างเต็มที่. ด้วยเหตุนี้รัฐบาลของยิ่งลักษณ์ชันสูตร ต้องแม่นในข้อมูลและการตีความ. ในฐานะเป็นนักวิชาการผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจำเป็นต้องขอคืนตัวปราสาทจาก ประเทศกัมพูชา หรือต้องให้กัมพูชาถอนทะเบียนปราสาทพระวิหารออกจากบัญชีรายชื่อมรดกโลกจึงจะ เป็นการยุติธรรมต่ออนุสัญญาที่ได้จัดทำขึ้นไว้เมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว. ผมทราบข่าวมาว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการต่างประเทศ ไปทบทวนในการกลับเข้าไปเป็นรัฐภาคีมรดกโลกอีกครั้งหนึ่ง แต่ปัญหาคือตอนที่ลาออกมานั้นเราได้แสดงเหตุผลว่า “แผนบริหารการจัดการของกัมพูชาได้รุกล้ำดินแดนของประเทศไทย” ซึ่งตอนที่ไทยได้ลาออกเราได้แสดงเหตุผลคัดค้านการผ่านแผนบริหารจัดการของคณะ กรรมการมรดกโลกอย่างชัดเจน.
      
        หากรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะกลับเข้าไปเป็นภาคีสมาชิกอีกครั้งหนึ่ง ก็ต้องตอบคำถามให้ได้ว่าเข้าไปทำไม เข้าไปเพื่อให้ไทยเสียดินแดนกระนั้นหรือ ต้องอธิบายให้คนไทยได้รู้และต้องอธิบายให้ยูเนสโกรวมไปถึงคณะกรรมการมรดกโลก ได้รู้ด้วยว่า ประเทศไทยลาออกทำไมในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ แล้ววันนี้จะกลับไปทำไมในรัฐบาลของยิ่งลักษณ์เพราะท่าทีกัมพูชายังเหมือน เดิมทุกประการ คือ คอยจ้องหุบดินแดนประเทศไทยโดยคนไทยทั้งแผ่นดินไม่ยอมสนใจเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง