บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ดูชัดๆ ไทย ยก ดินแดนให้เขมร








































แผนที่ A มาตราส่วน 1:10,000 เป็นแผนที่ที่เป็นทางการของไทย แสดงแนวเส้นเขตแดนฝรั่งเศส-สยามปี 1907 (Line 1) ซึ่งไทยได้โต้แย้งต่อศาลโลกมาตั้งแต่ปี 2505 กับแนวเส้นเขตแดน (Line 2) ที่ไทยใช้หลักสากลยึดถือแนวสันปันน้ำเป็นหลักในการแบ่งเส้นเขตแดนและได้อ้างสิทธิอันชอบธรรมเหนืออาณาบริเวณพื้นที่สีเขียว การยกผืนดินที่ตั้งปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชากำลังจะสร้างความยุ่งยากให้แก่การกล่าวอ้างอธิปไตยของไทย
 

สำหรับชาวไทยที่ได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับความขัดแย้งกรณีไทย-กัมพูชา กรณีเขาวิหาร หรือ กระทั่งได้ไปเที่ยวชมปราสาทบนยอดผาแห่งนี้มาแล้วก็อาจจะมองไม่เห็นภาพว่าตรงไหนเป็นของไทย และตรงไหนตกเป็นของกัมพูชาโดยคำตัดสินของศาลระหว่างประเทศกรุงเฮก       แผนที่ที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งหนึ่งของกัมพูชาอาจจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
     
       แม้ว่าไทยจะยอมรับคำตัดสินของศาลโลกว่า “ปราสาทเขาพระวิหาร” ตกเป็นของกัมพูชาตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.2505 เป็นต้นมาแต่จนกระทั่งถึงวันนี้รวมเวลา ประเทศไทยไม่เคยยอมรับแม้สักวันเดียวว่าผืนแผ่นดินบริเวณ “เขาพระวิหาร” รวมทั้งที่ตั้งของ “ปราสาทเขาพระวิหาร” เป็นของประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้
     
       ประเทศไทยได้ยึดถือเอาแนว “สันปันน้ำ” อันเป็นหลักสากที่    ใช้ในการปักปันเขตแดน เป็นหลักในการโต้แย้ง
อาจจะมีผู้คนจำนวนมากยังไม่เคยได้ทราบจุดยืนของไทยในเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่ผู้แทนของไทยได้แจ้งเรื่องนี้ต่อศาลโลกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และมีเอกสารหลักฐานปรากฏอยู่จำนวนมากในทุกวันนี้
     
       แนวสันปันน้ำ หมายถึง แนวที่ลากเชื่อมโยงจุดสูงของภูเขาให้เป็นแนวแบ่งพรมแดน เส้นเขตแดนจึงออกมาตรงบ้าง คดเคี้ยวบ้างหรือกระทั่งบางประเทศออกมาเป็นรอยหยักเลยก็มี
     
       สภาพภูมิศาสตร์แนวชายแดนเขต “เขาพระวิหาร” นั้นเข้าข้างไทย เนื่องจาก “ประสาทเขาพระวิหาร” ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงซึ่งเป็นจุด “สันปันน้ำ” เป็นจุดสูงยอดหนึ่งของแนวเขาพนมดงรัก โดยมีดินแดนกัมพูชาอยู่เบื้องล่าง
     
       เมื่อปี 2505 ศาลโลกได้ตัดสินให้ “เฉพาะปราสาทเขาพระวิหาร” เท่านั้นตกเป็นของกัมพูชา มิใช่ผืนดิน หรือ “เขาวิหาร” ทั้งอาณาบริเวณ
     
       นั่นก็คือ “ปราสาทเขาพระวิหาร” ของกัมพูชาตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินในเขตสันปันน้ำของไทย (ดูแผนที่ A และ B)
     
       ตีความคำพิพากษาของศาลโลกแบบคำต่อคำก็คือ ปราสาทเขาพระวิหารนั้นเป็นเสมือนศาลพระภูมิของเพื่อนบ้าน ที่ตั้งอยู่ในบนที่ดินของบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งเจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะขออำนาจศาลสั่งให้รื้อถอนออกไป แต่ประเทศไทยก็มิได้ใช้ท่าที่เช่นนั้น เพราะมีอารยะมากกว่านั้น
     
       ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าว ไทยจึงสมควรมีสิทธิที่จะเรียกร้องขอใช้ประโยชน์ “ศาลพระภูมิ” ร่วมกันได้ บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันอย่างสมน้ำสมเนื้อ ไม่กระเทือนถึงอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของกันและกันในส่วนนั้น แต่ก็ไม่ได้ทำและรัฐบาลนี้ก็เลือกที่จะไม่ทำ
     
       การเซ็นความตกลงยอมรับในเอกสาร แผนที่ และเปิดทางให้กัมพูชานำปราสาทเขาพระวิหารเข้าจดทะเบียนเป็นมรดกโลก จึงเท่ากับเป็นการรับรองว่า เจ้าของศาลพระภูมินั้นมีสิทธิเหนือที่ดินผืนน้อยในบ้านของตัวเอง และให้สามารถนำไปจดจำนองทำประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวได้
     
       ไม่มีใครทราบว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ซึ่งคอยแก้ต่างให้กับรัฐบาลกัมพูชามาตลอด มีความปรารถนาอะไรอยู่ลึกๆ ในใจ แต่ทางการกัมพูชาซึ่งโดยปรกติจะเอะอะโวยวาย ในทุกกรณีเกี่ยวกับเขาพระวิหาร กำลังนิ่งเงียบอย่างผิดสังเกต




แผนที่ B มาตราส่วน 1:200,000 แสดงภาพรวมที่ตั้งปราสาทพระวิหารและแนวเส้นเขตแดนตามแผนที่ของฝรั่งเศสเมื่อ 100 ปีก่อน (Line 1) กับเส้นเขตแดนที่ไทยกล่าวอ้าง (Line 2) โดยยึดสันปันน้ำตามหลักสากล ไทยยืนยันการกล่าวอ้างในเรื่องนี้


ในกัมพูชาทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลยังคงฉับไวอยู่เช่นเดิม เว็บไซต์ต่างๆ จะนำข่าวคราวความเคลื่อนไหวในประเทศไทยขึ้นนำเสนอต่อผู้อ่านอย่างฉับพลันแบบเรียลไทม์ ทันทีที่พวกเขาสืบค้นเจอบนเวิลด์ไวด์เว็บ
     
       แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือ ผู้อ่านพลันเงียบเสียงลงอย่างผิดสังเกต เสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลแทบจะไม่ปรากฏอีก ซึ่งสมเด็จฯ ฮุนเซน กับคณะต้องขอบคุณนายนพดล ปัทมะกับรัฐบาลไทยภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช
     
       แน่นอนรัฐบาลกัมพูชาพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของนายนพดล เพราะว่าแต่นี้เป็นต้นไปแผนการจดทะเบียนปราสาทเขาวิหารไม่มีอุปสรรคขัดขวางอีกแล้ว เมื่อประเทศไทยที่เป็นคู่กรณีไม่มีข้อโต้แย้ง พวกเขายังสามารถใช้อ้างอิงได้อีกในอนาคต หากมีการนำข้อพิพาทพรมแดนกับไทยไปขึ้นศาลโลกอีกครั้ง
     
       เมื่อเดือนก่อนสื่อในกัมพูชาตีพิมพ์ข่าวกับรูปภาพอย่างใหญ่โต เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยกทีมไปตีกอล์ฟกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาและผู้นำทางการเมืองกับธุรกิจอีกหลายคน ทีมของ พ.ต.ท.ทักษิณ มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ จอมโปรเจกต์ CTX ที่อื้อฉาวรวมอยู่ด้วย
     
       สื่อในกัมพูชากล่าวว่า การไปครั้งนั้นมิใช่การไปเล่นกอล์ฟเพื่อความสนุกสนาน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ หรือ ด้วยความคิดถึงกันระหว่างเพื่อนเก่าเท่านั้น หากแต่อดีตนายกรัฐมนตรีผู้อื้อฉาวของไทยมีแผนการ “ล่าทรัพยากร” ทั้งการเช่าที่ดิน 99 ปีกับการสูบน้ำมันในน่านน้ำอ่าวไทยอีกด้วย
     
       เป็นที่ทราบกันดีว่า สายสัมพันธ์ทางธุรกิจอันแน่นแฟ้นระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับกลุ่มธุรกิจในจีน เป็นกลไกอันสำคัญในการประสานผลประโยชน์กับกลุ่มของสมเด็จฯ ฮุนเซน ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีกัมพูชามาตั้งแต่ปี 2528 ทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายไทยต่างก็มีคอนเนกชันที่ดีกับคณะผู้นำในกัมพูชา
     
       เพราะฉะนั้นก็จึงเป็นเหตุอันสมควร ที่นายนพดลจะต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นที่พอใจของทางการกรุงพนมเปญ และจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อมิให้ความสัมพันธ์อันดีของสองฝ่ายถูกกระทบกระเทือน แม้กระทั่งจะต้องแลกด้วยอะไรบางอย่าง
     
       นายนพดลให้สัมภาษณ์รายการทางคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม 97 เมกะเฮิรตซ์ ในวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า “เวลาเป็นของกัมพูชามิใช่ของไทย” เนื่องจากฝ่ายนั้นได้ยื่นขอจดทะเบียนต่อองค์การยูเนสโกไปแล้ว ขอจึงต้องเร่งทำงานอย่างรีบด่วน




หลังจากศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 ในเดือนถัดมาไทยก็ได้ยื่นบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่ฉบับนี้แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้าง ภาพล่างซ้ายแสดงให้เห็นว่าไทยยอมรับให้พื้นที่แก่ปราสาทที่กว้างที่สุดเพียง 100 เมตรเท่านั้น อาณาบริเวณข้างนอกเส้นปรุเป็นพื้นที่เขตสันปันน้ำ
รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยคงจะลืมไปว่า รัฐบาลไทยซึ่งเป็นคู่กรณีมีสิทธิที่จะโต้แย้งได้ทุกเมื่อ แม้กระทั่งหลังจากคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาเสร็จสิ้น คู่กรณีก็ยังสามารถยกขึ้นมาโต้แย้งได้เช่นเดียวกัน
     
       และปราสาทเขาพระวิหารมิใช่ศาลพระภูมิ ผืนดินที่ตั้งอยู่กับอาณาบริเวณโดยรอบก็มิใช่ที่ดินผืนเล็กมุมรั้วบ้าน
     
       ทั้งหมดเป็นผืนดินมีพื้นที่รวมกันหลายตารางกิโลเมตร และ แผ่นดิน “เขมรต่ำ” หรือดินแดนกัมพูชาตามหลักสากลนั้น ก็จะต้องอยู่ใต้ลงไปราว 500 เมตร ไม่ควรจะอยู่บนยอดผา
     
       ที่ตั้งของปราสาทพระวิหารทั้งอาณาบริเวณนั้นกินแนวยาวตั้งแต่หน้าผาชัน เป็นทางเดินลาดต่ำลึกเข้าไปในดินแดน “ในเขตสันปันน้ำ” ของไทยเป็นระยะทางกว่า 600 เมตร ขณะที่ประเทศไทยได้ขีดเส้นดินแดนโดยรอบปราสาทตั้งแต่บริเวณหน้าผาทั้งสองด้านให้เป็นดินแดนพิพาท (ดูแผนที่ A และ B) โดยยึดหลักสันปันน้ำ
     
       ไทยทำสิ่งนี้โดยโต้แย้งกับแนวเขตแดนที่พวกฝรั่งเศสขีดเอาไว้ให้สยามต้องยอมรับอย่างจำยอมเมื่อปี 2450 (1907)
     
       ถึงแม้ว่าศาลโลกในกรุงเฮกจะใช้แผนที่ฝรั่งเศส-สยามฉบับดังกล่าวอ้างอิงในการยกเขตปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชา แต่ไทยก็ได้โต้แย้งเรื่องเส้นเขตแดนมาตั้งแต่ครั้งนั้น เรื่องนี้มีหลักฐานเป็นบันทึกอย่างชัดเจน
     
       กรณีปราสาทเขาวิหารและดินแดนโดยรอบจึงเป็นกรณีพิพาทที่มิอาจแยกจากกันได้ และยังเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชามาตลอด ประเทศไทยยังคงยืนยันกรานในจุดยืนนี้มาตลอด และได้แสดงเจตนาที่พร้อมจะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาเมื่อไรก็ได้
     
       น่าเสียดายอย่างยิ่งก็คือ ที่ผ่านมาไทยยังไม่เคยมีโอกาสได้กระทำเช่นนั้น ด้วยสถานการณ์ที่ไม่อำนวย ทั้งภายในและภายนอก




แผนที่ฝรั่งเศสที่ศาลโลกกรุงเฮกใช้อ้างอิงในการตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา แต่เป็นแผนที่ที่กำหนดเส้นพรมแดนโดยไม่ได้ยึดแนวสันปันน้ำ อันขัดต่อหลักสากลและไทยได้โต้แย้งเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2505 ประเทศไทยได้ยอมรับว่า "ปราสาทพระวิหาร" เป็นของกัมพูชา แต่ไม่เคยยอมรับอาณาบริเวณบนยอดผาและรอบๆ ว่าเป็นของประเทศนั้น ไทยได้ทำบันทึกยื่นต่อศาลระหว่างเทศยืนยันที่จะยึดแนวส้นเขตแดนตามหลักสากลโดยใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่ง
 
ช่วงปี 2508 จนถึงปี 2523 ภายในต้องเชิญกับการก่อการร้ายของฝ่ายคอมมิวนิสต์ และสิ่งที่แทรกซ้อนขึ้นมาในระหว่างนั้นก็คือสงครามในกัมพูชาที่มีทหารเวียดนามนับแสนอยู่ในประเทศนั้น
     
       บนเขาวิหารในช่วงปีนั้นเป็นที่ตั้งของกองกำลังเขมรแดงที่เป็นมิตรกับประเทศไทยทั้งทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธี
     
       จากนั้นสถานการณ์ทางการเมืองในกัมพูชาก็เข้าสู่ความยุ่งยากมาตลอด ดังจะเห็นได้จากที่สองประเทศเพิ่งจะเริ่มเจรจาเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนระหว่างกันเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
     
       แต่ทั้งหมดก็ไม่สามารถลบล้างจุดยืนของไทย ที่ยังคงสงวนสิทธิ์ที่จะอ้างอธิปไตยเหนือดินแดนและโดยรอบเขาวิหาร
     
       การยอมรับเอาแผนที่ที่ฝ่ายกัมพูชาร่างขึ้นมาเสนอ จึงไม่ต่างกับการยกผืนดินที่ตั้งของปราสาทให้แก่ประเทศกัมพูชาไปโดยปริยาย และกำลังจะสร้างปัญหาให้แก่การกล่าวอ้างอธิปไตยเหนือดินแดนโดยรอบตามแนวสันปันน้ำ ซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมของไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง