สถานการณ์ความไม่สงบบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาที่ยืดเยื้อ มาจนถึงวันนี้ ได้สร้างความสูญเสียให้กับประเทศไทยไปไม่น้อยทั้งในด้านของชีวิตและทรัพย์สิน แม้ว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังมีเหตุปะทะเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน และยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่คนไทยให้ความสนใจ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ ได้ทา การสา รวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศจา นวน 1 ,527 คน ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ในระหว่างวันที่ 30 เมษายน-2 พฤษภาคม2554 ได้ผลดังนี้
1. ด้านการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56 ของเชื่อว่า หลังจากสถานการณ์สงบลง
การค้าจะกลับเป็นปกติ ร้อยละ 36 ไม่แน่ใจว่าการค้าจะกลับมาเป็นปกติได้ และอีกร้อยละ 8 เห็นว่า แม้ว่าเหตุการณ์จะสงบ การค้าคงไม่สามารถกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีก
2. บทบาทของนักการเมือง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56 ต้องการเห็นนักการเมืองช่วยเร่งรัดให้สถานการณ์ความไม่สงบยุติลงโดยเร็ว ร้อยละ 27 ต้องการเห็นนักการเมืองแสดงความเห็นอย่างเป็นเอกภาพ โดยสอดคล้องกับแนวทางงการทำงานของรัฐบาลและกองทัพ และอีกร้อยละ 17 ต้องการเห็นนักการเมืองออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างเป็นอิสระ
3. ความปรองดองของคนในประเทศ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36 ของมีความเห็นว่า เหตุการณ์ความไม่สงบ
ในครั้งนี้ทา ให้คนไทยมีความรู้สึกร่วมกัน และมีความปรองดองกันมากขึ้น ร้อยละ 32 เห็นว่า ความเห็นที่แตกต่างกันของแนวทางการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ จะทา ให้คนไทยเกิดความขัดแย้งกัน รวมทั้งส่งผลให้ความปรองดองในประเทศลดลง และอีกร้อยละ 32 เชื่อว่า เหตุการณ์นี้จะไม่ส่งผลต่อความปรองดองของคนในชาติ
4. ส่วนที่อยากจะทำเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบและทหาร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50 อยากช่วยเหลือ
ด้วยการรับบริจาคสิ่งของ ร้อยละ 19 ต้องเข้าร่วมปฏิบัติการกับทหาร ร้อยละ 11 อยากเข้าไปจัดกิจกรรมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ และอีกร้อยละ 20 ต้องการช่วยเหลือทางด้านอื่น ๆ เช่น ช่วยสร้างหลุมหลบภัย ส่งจดหมายไปให้กำ ลังใจกับทหารในแนวหน้า เป็นผู้สอื่ ข่าวเพื่อรายงานสถานการณ์ เป็นต้น
เสียงปื นและความปรองดอง งานหนักของทุกคนากผลการสำรวจข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาทางด้านการค้าไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน บทบาทหลักของนักการเมือง คือ การทำ หน้าที่ส่งเสริมให้เหตุการณ์ความไม่สงบนี้ยุติลงโดยเร็วสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ ความปรองดองของคนในชาติ เพราะหนึ่งสามของกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าเหตุการณ์นี้อาจทำให้คนไทยมีความขัดแย้งกันมากขึ้น และนานมาแล้วที่ประเทศไทยไม่ได้เจอกับสถานการณ์ในลักษณะนี้
ผลการสำ รวจที่แสดงว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก
สถานการณ์นี้ สะท้อนให้ถึงความเข้มแข็งของสังคมไทย เมื่อไหร่ที่คนไทยกลุ่มหนึ่งเดือดร้อน เราจะเห็นคนไทยอีกส่วนหนึ่ง ยื่นมือเข้าไปช่วยอย่างแข็งขันเต็มกา ลังความสามารถ นี่คือพันธะสัญญาทางสังคมที่คนไทยร่วมกันสร้างขึ้นมาเป็นสายใยที่คอยยึดเหนี่ยวสังคมของเราเอาไว้ให้เป็นหนึ่งเดียว
โจทย์ใหญ่ที่คนไทยต้องช่วยกันขบคิดกันในตอนนี้คือ เราจะผ่านด่านกระสุนและกลิ่นดินปืนนี้อย่างไร โดยไม่ให้สังคมไทยต้องแตกแยกไปมากกว่านี้ เพราะหากเป็นเช่นนั้นจริง กระสุนทุกนัด ระเบิดทุกลูก จรวดทุกลำ ที่ข้ามมาตกในประเทศไทย ไม่ใช่แค่จะทา ร้ายผู้คนและสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินในพื้นที่เท่านั้น อาวุธสงครามเหล่านี้ จะกลายเป็นลิ่มอันใหญ่ตอกลงไปบนคา ว่า “ปรองดอง” ให้มีรอยร้าวลึกลงกว่าเดิม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น