โดย : ประชุม ประทีป
อยากเลือกตั้งก็
ไม่ว่า แต่มีพรรคใดประกาศสัญญาประชาคมจะปกป้องอธิปไตยหนักแน่นบ้าง
อยากสู้คดีในศาลโลกก็ไม่ว่า แต่ประเด็นและหลักฐานอ่อนเหลือเกิน
รัฐบาลไทยอยากจะไปสู้ข้อกล่าวหารัฐบาลกัมพูชา ณ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (IJC) หรือศาลโลก ให้ปากคำปากเปล่า วันที่ 30-31 พฤษภาคมที่จะถึง ซึ่งกัมพูชาอ้างว่าเพื่อตีความเพิ่มเติมในคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505
แต่มีนักวิชาการกฎหมายชี้ว่า เป็นประเด็นใหม่ เท่ากับการยื่นฟ้องใหม่ ซึ่งต้องห้าม เพราะคำตัดสินศาลโลกถือเป็นที่สุด
ตลอดมาคนมีหน้าที่เกี่ยวข้องปล่อยปละ ทั้งด้านเอกสาร ละเลยทางปฏิบัติ ปล่อยให้ทหารกับชุมชนกัมพูชาเข้ายึดดินแดนไทยอยู่อาศัย ส่วนวาจาก็ไม่อยู่กับร่องแนวถูกต้อง ทางทหารก็ไม่ระงับยับยั้งอย่างทันท่วงที และชิงความได้เปรียบในยุทธภูมิ จึงขอไล่เรียงสถานการณ์อย่างรวบรัด ดังนี้
1) ไทย-กัมพูชาทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน พ.ศ.2543(เอ็มโอยู 43) แนบท้ายแผนที่ระวางดงรัก มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ครอบคลุมเขาพระวิหาร 4.6 ตร.กม. 2) รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช โดยรัฐมนตรีต่างประเทศ(นพดล ปัทมะ) ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมไทย-กัมพูชา ยอมรับแผนที่ดังกล่าว แต่ศาลไทยตัดสินเป็นโมฆะ เพราะไม่ผ่านรัฐสภาเห็นชอบ 3) สถานการณ์ตึงเครียดยิงสู้รบด้านเขาพระวิหารเป็นระยะ กระทั่งปืนใหญ่เขมรถล่ม ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ 4) กัมพูชาร้องเรียนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ๆ มีมติให้อาเซียนไกล่เกลี่ย 5) ทหารกัมพูชาจับ 7 คนไทยบีบคั้นให้รับสารภาพตัดสินมีความผิดฐานรุกล้ำกัมพูชา ต้องรับโทษจำคุกและปรับ อีก 2 คนถูกตัดสินมีความผิดเพิ่มรวม 3 ข้อหาหนัก แต่ยื้อยุดจนหมดระยะอุทธรณ์ต้องติดคุกเขมรมาเกือบ 5 เดือน
6) รัฐบาลไทยส่งร่างบันทึกคณะกรรมาธิการร่วมชายแดนไทย-กัมพูชา(เจบีซี) 3 ฉบับเข้าสู่รัฐสภาหลายครั้ง แต่สุดท้ายต้องถอนออกไป 7) เกิดร่าง ทีโออาร์ ให้อินโดนีเซียมาสังเกตการณ์การสู้รบบนเขาพระวิหาร 8) เกิดสู้รบตลอดชายแดนด้านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ทหารไทยพลีชีพ 9 นาย บาดเจ็บมากกว่า 130 นาย ชาวบ้านอพยพกว่า 4.5 หมื่นคน ชาวบ้านถูกระเบิดเสียชีวิต 1 ป่วยเสียชีวิตช่วงอพยพอีก 3 คน บาดเจ็บจำนวนหนึ่ง บ้านเรือน สถานที่รัฐเสียหาย และยังมียิงตอบโต้กันเรื่อย ๆ ทำให้คนไทยชายแดนที่อยู่รักษาสิทธิในดินแดน เดือดร้อน ทุกข์ใจไม่หยุดหย่อน
นี่เป็นเหตุและผลสืบเนื่องกัน แต่น่าแปลกใจ รัฐบาลไทยรักษาการณ์อยากจะไปสู้ในศาลโลก ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นภาคีแล้ว และแม้เป็นภาคีก็มีสิทธิปฏิเสธเหมือนหลาย ๆ ประเทศ
ฝ่ายไทยตั้งทีมกฎหมายมอบให้ นายวีระชัย พลาศรัย อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญา เป็นหัวหน้าคณะสู้คดีกับกัมพูชา
จะสู้คดีก็ไม่ว่า แต่ทำไม ไม่สู้ประเด็น เอ็มโอยู 43 เป็นโมฆะ แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ใช้ไม่ได้กับประเทศไทย
ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ เคยชี้ว่า MOU 43 เป็นเพียงข้อตกลงกับต่างประเทศของฝ่ายบริหาร (The International Executive Agreement) และสิ้นผลไปแล้วตั้งแต่นายชวน หลีกภัย สิ้นสุดเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่อาจส่งต่อไปสู่ฝ่ายบริหารชุดต่อไป
หรือถ้าจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญไทย ตีความว่าเป็นเรื่องดินแดน อธิปไตย ก็มิได้ขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามมาตรา 224 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 หรือรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 มาตรา 190
หันมาดูฝ่ายนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ยัดเหยียดแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนในเอ็มโอยู 43 ก็กระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญสูงสุดของกัมพูชาเสียเอง ซึ่งระบุว่า
มาตรา 2 บูรณภาพภาพดินแดนของราชอาณาจักรกัมพูชาไม่อาจถูกละเมิดได้เด็ดขาด ในเขตแดนของตนที่มีกำหนดในแผนที่ขนาดมาตราส่วน 1 / 200,000 ทำในระหว่างปี ค.ศ.1933-1953(พ.ศ.1476-2496) และได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากลระหว่างปี ค.ศ. 1963 – 1969(พ.ศ.2506-2512)
[Article 2 : The territorial integrity of the Kingdom of Cambodia shall never beviolated within its borders as defined in the 1/100.000 scale map made between the years 1933-1953, and internationally recognized between the years 1963-1969] (โปรดดูประกอบด้วยถ้อยคำในภาษาเขมร)
เมื่อนานาชาติเข้ามาไกล่เกลี่ยสงครามกลางเมืองกัมพูชาได้แล้ว ก็ยกหลักการกฎบัตรระหว่างประเทศแทบทุกด้านที่ศิวิไลซ์มาใส่ในรัฐธรรมนูญกัมพูชา หวังจะให้เป็นหลักประกันความสงบสุข แต่ความจริงยังถูกละเมิดเกือบทุกด้าน รวมทั้งหลักประกันทางความผิดอาญาต่อพลเมืองชาวกัมพูชา ซึ่งยังไม่เคยเกิดขึ้นจริง และเทียบเคียงกับกรณีกระทำต่อนายวีระ สมความคิด และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ผู้ถูกคุมขังต่างชาติด้วย
ในมาตรา 38 บัญญัติว่า กฎหมายรับรองไม่ให้มีการกระทำละเมิดต่อร่างกายของบุคคลกฎหมายป้องกันชีวิต เกียรติยศ และความมีศักดิ์ศรีของประชาชน รัฐธรรมนูญกัมพูชาการ กล่าวหา การจับกุมตัว การกักตัว หรือการคุมขังคนใดคนหนึ่ง จะกระทำไปได้ ตราบใดปฏิบัติถูกต้องตามบัญญัติของกฎหมายการบังคับขู่เข็ญ การทำร้ายร่ายกาย หรือการกระทำใด ๆ ที่เพิ่มน้ำหนักการทำโทษที่ปฏิบัติต่อคนถูกคุมขัง หรือคนจำคุก จะถูกห้ามไม่ให้ทำ คนที่ลงมือทำ คนที่ร่วมลงมือและคนสมรู้ร่วมคิด จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายการรับสารภาพที่เกิดขึ้นจากการบังคับขู่เข็ญทาง ร่างกายก็ตาม ทางใจก็ตาม ไม่ถือเป็นหลักฐานของความผิดข้อสงสัยที่มีเหตุผล ต้องได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ต้องหาผู้ต้องหาคนใดก็ตาม ให้ถือว่าเป็นคนไม่มีโทษ ตราบใดศาลยังไม่ได้พิพากษาลงโทษสิ้นสุดกระบวนความคนทุกคนมีสิทธิป้องกันตัว ในทางศาล
ย้อนกลับมาเรื่องการแสดงอธิปไตยเหนือ ดินแดน โดยเฉพาะผู้บริหารประเทศไทยต้องชัดเจนว่า กัมพูชา นำบันทึก MOU 43 ไปใช้ในเวทีนานาชาติไม่ได้เลย เพราะ MOU43 ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอาญาประเทศไทย และกฎหมายกัมพูชา เหมือนกัน
อีกทั้ง พ.ศ.2541 ไทยออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ ต.โซง อ.น้ำยืน ต.โคกสะอาด กิ่ง อ.น้ำขุ่น อ.น้ำยืน อุบลราชธานี และป่าเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย ต.ภูผาหมอก อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ เป็นอุทยานแห่งชาติ แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา มาตราส่วน 1 : 50,000 (ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 115 ตอนที่ 14 ก. วันที่ 20 มีนาคม 2541)
อีกอย่าง จุดสู้รบล่าสุด บริเวณปราสาทตาเมือนธมและปราสาทตาเมือนโต๊ด ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของรัฐไทย เมื่อ 8 มีนาคม 2478 (ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 หน้าที่ 3712 วันที่ 8 มีนาคม 2478)
ถ้ายังจะใช้ MOU43 และแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 นั่นย่อมหมายความว่า ไทยยกเลิกเขตแดนและสละสิทธิอธิปไตยบนดินแดนเดิมตามแผนที่ 1:50,000 กระนั้นหรือ
ที่ดันทุรัง กระทำอย่างต่อเนื่อง ย่อมขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ และจะเข้าข่ายมีความผิดฐานกบฏทำให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 119, 120
ข้อพิพาทนำไปสู่การสู้รบ สะท้อนให้เห็นว่า นายกฮุน เซน ไร้มาตรฐานทางกฎหมาย ไร้มาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งคณะรัฐมนตรีประเทศไทย กลับเดินตามรอยอย่างหน้าตาเฉย
อยากเลือกตั้งกันก็ไม่ว่า แต่อยากถาม มีพรรคไหนประกาศนโยบายชัด ๆ เป็นสัญญาประชาคม ต่อเรื่องเอกราช อธิปไตย รักษาปกป้องคนไทยตามแนวชายแดนที่ทุกข์ทนกับการสู้รบ ประกาศช่วยคนไทยถูกจับกุมขังในคุกเขมรอย่างจริงจังบ้าง
ยกเว้น"ทักษิณ" หยิบขึ้นมาหาเสียง ก็เสมือนเอาดินแดน และชีวิตคนไทยเป็นแค่ตัวประกันเท่านั้นเอง.
รัฐบาลไทยอยากจะไปสู้ข้อกล่าวหารัฐบาลกัมพูชา ณ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (IJC) หรือศาลโลก ให้ปากคำปากเปล่า วันที่ 30-31 พฤษภาคมที่จะถึง ซึ่งกัมพูชาอ้างว่าเพื่อตีความเพิ่มเติมในคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505
แต่มีนักวิชาการกฎหมายชี้ว่า เป็นประเด็นใหม่ เท่ากับการยื่นฟ้องใหม่ ซึ่งต้องห้าม เพราะคำตัดสินศาลโลกถือเป็นที่สุด
ตลอดมาคนมีหน้าที่เกี่ยวข้องปล่อยปละ ทั้งด้านเอกสาร ละเลยทางปฏิบัติ ปล่อยให้ทหารกับชุมชนกัมพูชาเข้ายึดดินแดนไทยอยู่อาศัย ส่วนวาจาก็ไม่อยู่กับร่องแนวถูกต้อง ทางทหารก็ไม่ระงับยับยั้งอย่างทันท่วงที และชิงความได้เปรียบในยุทธภูมิ จึงขอไล่เรียงสถานการณ์อย่างรวบรัด ดังนี้
1) ไทย-กัมพูชาทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน พ.ศ.2543(เอ็มโอยู 43) แนบท้ายแผนที่ระวางดงรัก มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ครอบคลุมเขาพระวิหาร 4.6 ตร.กม. 2) รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช โดยรัฐมนตรีต่างประเทศ(นพดล ปัทมะ) ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมไทย-กัมพูชา ยอมรับแผนที่ดังกล่าว แต่ศาลไทยตัดสินเป็นโมฆะ เพราะไม่ผ่านรัฐสภาเห็นชอบ 3) สถานการณ์ตึงเครียดยิงสู้รบด้านเขาพระวิหารเป็นระยะ กระทั่งปืนใหญ่เขมรถล่ม ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ 4) กัมพูชาร้องเรียนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ๆ มีมติให้อาเซียนไกล่เกลี่ย 5) ทหารกัมพูชาจับ 7 คนไทยบีบคั้นให้รับสารภาพตัดสินมีความผิดฐานรุกล้ำกัมพูชา ต้องรับโทษจำคุกและปรับ อีก 2 คนถูกตัดสินมีความผิดเพิ่มรวม 3 ข้อหาหนัก แต่ยื้อยุดจนหมดระยะอุทธรณ์ต้องติดคุกเขมรมาเกือบ 5 เดือน
6) รัฐบาลไทยส่งร่างบันทึกคณะกรรมาธิการร่วมชายแดนไทย-กัมพูชา(เจบีซี) 3 ฉบับเข้าสู่รัฐสภาหลายครั้ง แต่สุดท้ายต้องถอนออกไป 7) เกิดร่าง ทีโออาร์ ให้อินโดนีเซียมาสังเกตการณ์การสู้รบบนเขาพระวิหาร 8) เกิดสู้รบตลอดชายแดนด้านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ทหารไทยพลีชีพ 9 นาย บาดเจ็บมากกว่า 130 นาย ชาวบ้านอพยพกว่า 4.5 หมื่นคน ชาวบ้านถูกระเบิดเสียชีวิต 1 ป่วยเสียชีวิตช่วงอพยพอีก 3 คน บาดเจ็บจำนวนหนึ่ง บ้านเรือน สถานที่รัฐเสียหาย และยังมียิงตอบโต้กันเรื่อย ๆ ทำให้คนไทยชายแดนที่อยู่รักษาสิทธิในดินแดน เดือดร้อน ทุกข์ใจไม่หยุดหย่อน
นี่เป็นเหตุและผลสืบเนื่องกัน แต่น่าแปลกใจ รัฐบาลไทยรักษาการณ์อยากจะไปสู้ในศาลโลก ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นภาคีแล้ว และแม้เป็นภาคีก็มีสิทธิปฏิเสธเหมือนหลาย ๆ ประเทศ
ฝ่ายไทยตั้งทีมกฎหมายมอบให้ นายวีระชัย พลาศรัย อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญา เป็นหัวหน้าคณะสู้คดีกับกัมพูชา
จะสู้คดีก็ไม่ว่า แต่ทำไม ไม่สู้ประเด็น เอ็มโอยู 43 เป็นโมฆะ แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ใช้ไม่ได้กับประเทศไทย
ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ เคยชี้ว่า MOU 43 เป็นเพียงข้อตกลงกับต่างประเทศของฝ่ายบริหาร (The International Executive Agreement) และสิ้นผลไปแล้วตั้งแต่นายชวน หลีกภัย สิ้นสุดเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่อาจส่งต่อไปสู่ฝ่ายบริหารชุดต่อไป
หรือถ้าจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญไทย ตีความว่าเป็นเรื่องดินแดน อธิปไตย ก็มิได้ขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามมาตรา 224 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 หรือรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 มาตรา 190
หันมาดูฝ่ายนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ยัดเหยียดแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนในเอ็มโอยู 43 ก็กระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญสูงสุดของกัมพูชาเสียเอง ซึ่งระบุว่า
มาตรา 2 บูรณภาพภาพดินแดนของราชอาณาจักรกัมพูชาไม่อาจถูกละเมิดได้เด็ดขาด ในเขตแดนของตนที่มีกำหนดในแผนที่ขนาดมาตราส่วน 1 / 200,000 ทำในระหว่างปี ค.ศ.1933-1953(พ.ศ.1476-2496) และได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากลระหว่างปี ค.ศ. 1963 – 1969(พ.ศ.2506-2512)
[Article 2 : The territorial integrity of the Kingdom of Cambodia shall never beviolated within its borders as defined in the 1/100.000 scale map made between the years 1933-1953, and internationally recognized between the years 1963-1969] (โปรดดูประกอบด้วยถ้อยคำในภาษาเขมร)
เมื่อนานาชาติเข้ามาไกล่เกลี่ยสงครามกลางเมืองกัมพูชาได้แล้ว ก็ยกหลักการกฎบัตรระหว่างประเทศแทบทุกด้านที่ศิวิไลซ์มาใส่ในรัฐธรรมนูญกัมพูชา หวังจะให้เป็นหลักประกันความสงบสุข แต่ความจริงยังถูกละเมิดเกือบทุกด้าน รวมทั้งหลักประกันทางความผิดอาญาต่อพลเมืองชาวกัมพูชา ซึ่งยังไม่เคยเกิดขึ้นจริง และเทียบเคียงกับกรณีกระทำต่อนายวีระ สมความคิด และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ผู้ถูกคุมขังต่างชาติด้วย
ในมาตรา 38 บัญญัติว่า กฎหมายรับรองไม่ให้มีการกระทำละเมิดต่อร่างกายของบุคคลกฎหมายป้องกันชีวิต เกียรติยศ และความมีศักดิ์ศรีของประชาชน รัฐธรรมนูญกัมพูชาการ กล่าวหา การจับกุมตัว การกักตัว หรือการคุมขังคนใดคนหนึ่ง จะกระทำไปได้ ตราบใดปฏิบัติถูกต้องตามบัญญัติของกฎหมายการบังคับขู่เข็ญ การทำร้ายร่ายกาย หรือการกระทำใด ๆ ที่เพิ่มน้ำหนักการทำโทษที่ปฏิบัติต่อคนถูกคุมขัง หรือคนจำคุก จะถูกห้ามไม่ให้ทำ คนที่ลงมือทำ คนที่ร่วมลงมือและคนสมรู้ร่วมคิด จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายการรับสารภาพที่เกิดขึ้นจากการบังคับขู่เข็ญทาง ร่างกายก็ตาม ทางใจก็ตาม ไม่ถือเป็นหลักฐานของความผิดข้อสงสัยที่มีเหตุผล ต้องได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ต้องหาผู้ต้องหาคนใดก็ตาม ให้ถือว่าเป็นคนไม่มีโทษ ตราบใดศาลยังไม่ได้พิพากษาลงโทษสิ้นสุดกระบวนความคนทุกคนมีสิทธิป้องกันตัว ในทางศาล
ย้อนกลับมาเรื่องการแสดงอธิปไตยเหนือ ดินแดน โดยเฉพาะผู้บริหารประเทศไทยต้องชัดเจนว่า กัมพูชา นำบันทึก MOU 43 ไปใช้ในเวทีนานาชาติไม่ได้เลย เพราะ MOU43 ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอาญาประเทศไทย และกฎหมายกัมพูชา เหมือนกัน
อีกทั้ง พ.ศ.2541 ไทยออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ ต.โซง อ.น้ำยืน ต.โคกสะอาด กิ่ง อ.น้ำขุ่น อ.น้ำยืน อุบลราชธานี และป่าเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย ต.ภูผาหมอก อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ เป็นอุทยานแห่งชาติ แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา มาตราส่วน 1 : 50,000 (ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 115 ตอนที่ 14 ก. วันที่ 20 มีนาคม 2541)
อีกอย่าง จุดสู้รบล่าสุด บริเวณปราสาทตาเมือนธมและปราสาทตาเมือนโต๊ด ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของรัฐไทย เมื่อ 8 มีนาคม 2478 (ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 หน้าที่ 3712 วันที่ 8 มีนาคม 2478)
ถ้ายังจะใช้ MOU43 และแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 นั่นย่อมหมายความว่า ไทยยกเลิกเขตแดนและสละสิทธิอธิปไตยบนดินแดนเดิมตามแผนที่ 1:50,000 กระนั้นหรือ
ที่ดันทุรัง กระทำอย่างต่อเนื่อง ย่อมขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ และจะเข้าข่ายมีความผิดฐานกบฏทำให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 119, 120
ข้อพิพาทนำไปสู่การสู้รบ สะท้อนให้เห็นว่า นายกฮุน เซน ไร้มาตรฐานทางกฎหมาย ไร้มาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งคณะรัฐมนตรีประเทศไทย กลับเดินตามรอยอย่างหน้าตาเฉย
อยากเลือกตั้งกันก็ไม่ว่า แต่อยากถาม มีพรรคไหนประกาศนโยบายชัด ๆ เป็นสัญญาประชาคม ต่อเรื่องเอกราช อธิปไตย รักษาปกป้องคนไทยตามแนวชายแดนที่ทุกข์ทนกับการสู้รบ ประกาศช่วยคนไทยถูกจับกุมขังในคุกเขมรอย่างจริงจังบ้าง
ยกเว้น"ทักษิณ" หยิบขึ้นมาหาเสียง ก็เสมือนเอาดินแดน และชีวิตคนไทยเป็นแค่ตัวประกันเท่านั้นเอง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น