บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นายกฯมั่นใจมรดกโลกเลื่อนเคาะแผนเขมร


Pic_181464 นายกฯมั่นใจมรดกโลกเลื่อนเคาะแผนเขมร คงไม่มีปัญหา แต่การเขียนร่างข้อมติข้ออื่นๆ อาจมีบางประเด็นที่ต้องช่วยกันดูในเรื่อง ถ้อยคำว่าจะมีผลกระทบอะไรหรือไม่ ซึ่งตนเข้าใจว่ากัมพูชาคงกังวลคล้ายๆ กัน...

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 24 มิ.ย. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีการพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชา ในเรื่องปราสาทพระวิหาร ว่า ล่าสุดมีการส่งร่างข้อมติกลับไปมา ซึ่งตนได้เห็นร่างที่ฝ่ายไทยยืนยันไปเมื่อคืนวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา และคาดว่าจะสามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในวันนี้(24 มิ.ย.) ซึ่งในช่วงเย็น ตนจะรอรับรายงานว่าผลเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ตนดูโดยหลักการแล้วเห็นว่าการที่คณะกรรมการฯจะตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาแผน บริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารนั้น คงไม่มีปัญหา แต่การเขียนร่างข้อมติข้ออื่นๆ อาจมีบางประเด็นที่ต้องช่วยกันดูในเรื่อง ถ้อยคำว่าจะมีผลกระทบอะไรหรือไม่ ซึ่งตนเข้าใจว่ากัมพูชาคงกังวลคล้ายๆ กัน

เมื่อ ถามว่า ดูเหมือนในถ้อยคำของร่างข้อมติของฝ่ายกัมพูชามีการกล่าวหาว่าไทยรุกราน กัมพูชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นั่นคือร่างที่เขาเสนอ ซึ่งเราไม่ยอมรับอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าทั้ง 2 ประเทศน่าจะได้ข้อยุติที่ตรงกัน โดยเราหวังว่าในวันนี้น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้น่าจะเป็นไปในทางที่ดี เพราะตนได้ดูจากร่างข้อมติต่างๆ ที่ออกมา ยกเว้นร่างที่กัมพูชาเขียนขึ้น ทั้งนี้ ทิศทางของร่างมติน่าจะเลื่อนการพิจารณาแผนดังกล่าว เพียงแต่ให้มีการยอมรับถึงความจำเป็นที่ต้องมีการหาแนวทางการอนุรักษ์ตัว ปราสาทฯ ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการมรดกโลกอยู่แล้ว ส่วนเรื่องของการส่งคนเข้าทำเรื่องดังกล่าวยังไม่มีการระบุถึง อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนต่อไปเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ประเทศต้องพูดคุยกันในกรอบทวิภาคี เมื่อถามต่อว่ายังไม่ถึงขั้นที่จะให้คณะกรรมการมรดกโลกมาเป็นตัวกลางใช่หรือ ไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่มีอะไรเจาะจงอย่างนั้น แต่ถ้าเขาจะมาอำนวยความสะดวก เราก็ไม่ขัดข้อง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง