สัปดาห์สุดท้ายก่อนที่ศาลโลก International Court of Justice (ICJ)
จะอ่านคำสั่งกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ในวันที่
18 กรกฏาคม 2011 นี้ Council on Foreign Relation (CFR)
ได้ลงข่าววิกิลีกส์แฉคำพูดของฮุนเซน ที่บอกกับอเมริกาว่า
"ไม่มีพื้นที่ทับซ้อนที่บริเวณเขาพระวิหาร นอกจากในอ่าวไทย"
"ฮุน
เซน นายกรัฐมนตรีเขมร ประกาศว่าประเทศเขาไม่มีพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศไทย"
วิกิลีกส์เคเบิ้ลเขียนใน 95PHNOMPENH152 ที่ออกโดยสถานทูตสหรัฐในพนมเปญ
"นอกจากดินแดนที่ทับซ้อนกันในทะเล และที่มันควรจะแบ่งกันเในรูปแบบตาราง"
เค
เบิ้ลอธิบายการพบปะระหว่างฮุนเซ็นกับนาย Matt Daley
ประธานสภาธุรกิจของสหรัฐ ที่ได้นำองค์กรผู้ประกอบการ
"สหรัฐ-อาเซียน"เมื่อวันที่ 1-3 พฤษภาคม 2008
ความคิดเห็นของฮุนเซน
ที่ให้กับนาย Daley ที่ผ่านมานั้นนายนพดล ปัทมะ ไม่ได้คัดค้าน
ในการทีเขมรจัดการจดเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก้
แต่ต้องการให้ไทยและกัมพูชาร่วมกันจัดการบริหารจัดการ
"พื้นที่ที่อ้างร่วมกัน"
นอกจากนั้นเคเบิ้ลยังยกคำพูดขอ ฮุนเซน
ที่ล่าวว่า"เขาต้องการเรียกร้องให้นำพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย
มาพิจารณาให้แยกต่างหากจาก (เรื่องของ)ปราสาทพระวิหาร
--ซึ่งเป็นวิธีการที่ประเทศไทยยอมรับเมื่อปีที่ผ่านมา"เขากล่าวว่า
นายก
รัฐมนตรีกัมพูชายังอ้างว่ไทยว่า"ไทยต้องการที่จะแบ่งพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล
ออกเป็นแถบจากเหนือถึงใต้
ซึ่งทั้งสองประเทศจะแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันเป็นเปอร์เซนต์ของรายได้ในแต่ละ
แถม
ในเคเบิ้ลฮุนเซนชี้ให้เห็นแทนพื้นที่ที่ถูกแบ่งออกเป็นรูปแบบ
กระดานหมากรุก ให้เห็นภาพว่า แต่ละประเทศมีการควบคุม
แต่เพียงผู้เดียวของบล็อกที่ได้รับมอบหมาย
ความคิดเห็นของสถานทูต
บันทึกว่า "จากคำพูดทั้งของไทยและกัมพูชา
ที่จะจัดการเรื่องของปราสาทเขาพระวิหาร
มีความเชื่อมโยงกับการเรียกร้องให้แก้ปัญหาข้อพิพาททางทะเล
อย่างน้อย(ก็มี)ในใจของผู้บริหารระดับสูงของไทยและผู้นำรัฐบาลกัมพูชา"
(Note: แสดงว่า ทูตอเมริกันคิดว่า ทั้งสองฝ่ายเชื่อว่ามีความเกี่ยวพัน แต่ดูเหมือนว่าทั้งเขมรและไทยละเลยที่จะพูดถึง)
ใน
ขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทยได้ประกาศว่าจะช่วยให้สองผู้ประสานงานเครือข่ายคน
ไทยหัวใจรักชาติ นายวีระ สมความคิด และเลขานุการของเขา นางสาว ราตรี
พิพัฒนไพบูลย์ ได้รับการปล่อยตัวจากคุกในพนมเปญ
จากกรณีที่พวกเขาถูกจับและตัดสินจำคุกในฐานะที่เข้าสอดแนมในเขตแดนของ
กัมพูชา
นายต่อพงษ์ ไชยสาร์น ว่าที่ สส.ปาร์ตีลิสต์ของพรรคเพื่อไทย
ซึ่งมีชื่ออยู่ใน short list
ของตัวเลือกที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองรัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่า
"ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลเขาจะช่วยเหลือ วีระ และ ราตรี
เช่นเดียวกับคนไทยคนอื่นๆ ที่ถูกจับในข้อหาเช่นเดียวกันนี้ในประเทศกัมพูชา"
วีระและราตรีติดคุกเนื่องจากบุกรุกเข้าไปในเขตจำกัดและหวงห้ามของทหารและถูกข้อหาจารกรรม
วีระและราตรีถูกตะรางอย่างผิดกฎหมายเข้าสู่ประเทศกัมพูชาบุกรุกเข้ามาในพื้นที่ทหารที่ถูก จำกัด ไม่ได้รับอนุญาตและการจารกรรม
"กรณีนี้จะไม่ได้อยู่ในหมู่นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล แต่ก็จะเป็นหนึ่งในงานที่รัฐบาลจะต้องอยู่"นายต่อพงษ์กล่าวว่า
"เราต้องให้แน่ใจว่าประชาชนมีความเข้าใจในวิธีการของเราและของกัมพูชา ที่สำคัญเราต้องเคารพคำตัดสินของศาลกัมพูชาด้วย"
(Note: คนพรรคนี้ เคารพศาลเขมร ..แต่ไม่เคยเคารพศาลไทย--สมที่ได้ชื่อว่าเป็ฯพวกคนไทยหัวใจเขมร)
"พรรค
เพื่อไทยมีแผนที่จะจัดการกับแถวชายแดนไทยกัมพูชารวมถึงการบังคับใช้พระราช
กฤษฎีกาว่าชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ขัดแย้งกันจะต้องย้ายออกตาม
ความในบันทึกข้อตกลงที่มีอยู่" นายต่อพงษ์กล่าว
.
(ข้อมูลจาก Council on Foreign Relation "CFR")
.
.
The Great Hall of Justice:: Courtesy of "ICJ"
.
.
จับตาศาลโลกวันที่ 18 ก.ค. !
.
ล่า
สุดศาลโลก ได้แจ้งว่าในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้
ศาลจะอ่านคำสั่งกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว
ซึ่งกัมพูชาขอไว้สามข้อ คือ
(1) สั่งให้ไทยถอนทหารออกไปจากดินแดนของกัมพูชา (territoire cambodgien) ในบริเวณปราสาทพระวิหาร
(2) สั่งห้ามไม่ให้ไทยดำเนินการทางทหารในบริเวณปราสาทพระวิหาร
(3) สั่งให้ไทยงดเว้นการกระทำที่อาจกระทบต่อสิทธิของกัมพูชาหรืออาจทำให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้น
ผู้เขียน(ในประชาไทย)มิอาจล่วงรู้ผลของคำสั่งในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ได้ แต่อาจตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นดังนี้
1. จับตาเรื่อง “เขตแดน” ที่แฝงมาในคำขอของกัมพูชา
จาก
คำขอทั้งสามข้อข้างต้น คำขอข้อแรกมีนัยเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนชัดเจน คือ
หากศาลสั่งตามที่กัมพูชาขอ ย่อมแปลว่ามี “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร”
ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา
ในขณะที่คำขอสองข้อหลังแม้หากศาลสั่งตามที่กัมพูชาขอ
ก็มองได้ว่าไม่เกี่ยวกับเขตแดนโดยตรง เช่น
อาจมองเป็นเรื่องการรักษาตัวปราสาทที่เป็นวัตถุแห่งคดี
ไม่ว่าวัน
ที่ 18 ก.ค. นี้ศาลจะมีคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่แบบใด
สิ่งที่ควรจับตามองก็ คือ ศาลจะแสดงจุดยืนในเรื่องคำขอข้อแรกที่กล่าวถึง
“เขตแดน” อย่างไร? ผู้เขียนมองว่าเป็นไปได้สามแนวทาง
- แนวแรก
ศาลอาจปฏิเสธคำขอข้อแรกโดยสิ้นเชิง
จะด้วยเหตุผลว่าศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเขตแดนหรือด้วยเหตุผลอื่นที่
ฝ่ายไทยอ้าง เช่น ประเด็นเขตแดนในปัจจุบันต้องว่าไปตาม MOU พ.ศ. 2543 ฯลฯ
ทั้งนี้ การที่ศาลได้ดำเนินการให้เจ้าหน้าที่แก้ไขคำแปลผิด จากคำว่า
“boundary” (เขตแดน) มาเป็น “limit” (ขอบเขต)
นี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าศาลให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวที่ไทยต่อสู้ไว้
-
แนวที่สอง ศาลอาจมีคำสั่งเป็นการทั่วไปตามที่กัมพูชาขอ
โดยอาจสั่งโดยไม่อธิบายว่า “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร”
ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา คือ พื้นที่ใด ซึ่งแม้จะไม่ชัดเจน
แต่ก็เป็นความคลุมเครือที่กัมพูชาอาจนำมาใช้อ้างต่อได้
- แนวที่สาม
ซึ่งน่ากังวลที่สุดและไม่น่าจะเป็น คือ
ศาลอาจอ้างถึงข้อเท็จจริงหรือเอกสารบางอย่าง เช่น MOU พ.ศ. 2543 หรือ
แผนที่ภาคผนวก 1 (ซึ่ง MOU ได้อ้างถึงโดยไม่เจาะจง)
และกล่าวโดยตรงหรือโดยอ้อมในทำนองว่า “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร”
ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชาอาจเกี่ยวข้องกับเอกสารหรือแผนที่ดังกล่าว
ซึ่งอาจเป็นการตีความกฎหมายที่สุ่มเสี่ยงเรื่องเขตแดนดังที่มีผู้ห่วงใยได้
เตือนเกี่ยวกับ MOU ตลอดมา
(ข้อมูลจากเว๊บประชาไทย)
.
The Great Hall of Justice:: Courtesy of "ICJ"
.
.
โปรด
สังเกต หนึ่งสัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้งไทยที่ 3 กรกฏาคม 2011 (CFR)
ได้ลงข่าววิกิลีกส์แฉเรื่องราวข่าวลือเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทย
เพื่อดิสเครดิตพรรคประชาธิปัตย์ที่พวกเขาถือว่าเป็นฝ่ายทหารและรอยัลลีสต์
การอ่านคำตัดสินของศาลโลกครั้งนี้ จึงมีนัยยะสำคัญ ที่น่าจับตามองง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น