บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

คำสั่งศาลโลก " คดีปราสาทพระวิหาร" ( แปล - ฉบับย่อ)


โดย Metha Rojan เมื่อ 23 กันยายน 2011 เวลา 20:07 น.
INTERNATIONAL COURT OF JUSTICE
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

Press Release (Unofficial)
No. 2011/22
18 July 2011

Request for interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the Case concerning the
Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand)
(Cambodia v. Thailand)


คำร้องขอให้ตีความ คำพิพากษา คดีปราสาทพระวิหาร ระหว่างประเทศ กัมพูชาและประเทศไทย
 ตามที่ศาลโลกได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505 อีกครั้ง



Request for the indication of provisional measures
คำร้องขอมีการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว

The Court finds that both Parties must immediately withdraw their military personnel
currently present in the provisional demilitarized zone defined by it,
and refrain from any military presence within that zone and
from any armed activity directed at that zone


ศาลเห็นว่า ทั้งสองฝ่าย (กัมพูชาและไทย) ต้องถอนทหารทั้งหมด ออกจากเขตพื้นที่ ซึ่งกำหนดให้เป็นเขตปลอดทหาร
ตาม มาตรการคุ้มครองชั่วคราวในทันที และให้ทั้งสองฝ่าย หลีกเลี่ยงการมีกำลังทหาร หรือการทำกิจกรรมทางทหารใด ๆ ภายในเขตพื้นที่ดังกล่าว.


THE HAGUE, 18 July 2011. The International Court of Justice (ICJ), the principal judicial organ of the United Nations, today gave its decision on the request for the indication of provisional measures submitted by Cambodia in the case concerning the Request for the interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the Case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) (Cambodia v. Thailand).

กรุง เฮก, 18 กรกฎาคม 2545.  วันนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  (ซึ่งต่อไปเรียกว่า “ศาลโลก” หรือ IJC), องค์กรหลักภายใต้องค์การสหประชาชาติ, ได้ให้คำพิพากษา คำร้องขอให้ตีความ คำพิพากษา คดีปราสาทพระวิหาร ระหว่างประเทศ กัมพูชาและประเทศไทย ที่ศาลโลกได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505.


In its Order, the Court first unanimously rejected Thailand’s request for the case introduced by Cambodia to be removed from the General List.


ด้วยคำพิพากษานี้ ศาลโลกมีมติเป็นเอกฉันท์ ปฏิเสธข้อเสนอของไทย ที่ให้มีการจำหน่ายคดีที่ยื่นโดยประเทศกัมพูชา ออกจากสารบบความของศาล.

It then indicated various provisional measures. The Court began by stating, by eleven votes to five, that both Parties should immediately withdraw their military personnel currently present in the provisional demilitarized zone, as defined in paragraph 62 of its Order (see the illustrative sketch-map appended to the Order and to this press release), and refrain from any military presence within that zone and from any armed activity directed at it.

ดังนั้น จึงมีการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังนี้:  โดยคะแนนเสียง 11 ต่อ 5 ศาลเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายควรถอนกำลังทหารทั้งหมด ออกจากเขตพื้นที่ ซึ่งกำหนดให้เป็นเขตปลอดทหารโดยทันที, ตามที่แจงไว้ในย่อหน้าที่ 62 ของคำสั่งศาลฉบับเต็ม (ดูภาพร่างแผนที่ ที่แนบมาในส่วนหลังของคำสั่งศาล และ เอกสารสำหรับสื่อมวลชนฉบับนี้) และให้ทั้งสองฝ่าย การคงกำลังทหารหรือหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมทางทหารใด ๆ ภายในเขตพื้นที่ดังกล่าว.

Having noted that the Temple area had been the scene of armed clashes between the Parties and that such clashes might reoccur, the Court decided that, in order to ensure that no irreparable damage was caused, there was an urgent need for the presence of all armed forces to be temporarily excluded from a provisional demilitarized zone around the area of the Temple.

เนื่อง ด้วยบริเวณประสาทพระวิหารดังกล่าว ได้มีการปะทะกันของทั้งสองฝ่ายมาแล้วและอาจเกิดขึ้นได้อีก  ทางศาลเห็นว่า เพื่อป้องกันมิให้เกิดความสูญเสียขึ้นอีก จึงมีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องถอนกำลังทหารทั้งหมด ออกจากเขตพื้นที่บริเวณรอบตัวประสาท ซึ่งกำหนดให้เป็นเขตปลอดทหารโดยทันที.


The Court also stated, by fifteen votes to one, that Thailand should not obstruct Cambodia’s free access to the Temple of Preah Vihear, or prevent it from providing fresh supplies to its non-military personnel; it said that Cambodia and Thailand should continue their co-operation within ASEAN and, in particular, allow the observers appointed by that organization to have access to the provisional demilitarized zone, and that both Parties should refrain from any action which might aggravate or extend the dispute before the Court or make it more difficult to resolve.

โดย คะแนนเสียง 15 ต่อ 1  ศาลได้ตัดสินว่า ประเทศไทยจะต้องไม่ขัดขวางการเดินทางเข้าถึงอย่างเสรีของกัมพูชากับปราสาท พระวิหาร หรือ ขัดขวางการจัดส่งเสบียงของกัมพูชาให้กับเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทหารในบริเวณ ดังกล่าว แต่กระนั้น ทั้งประเทศกัมพูชาและประเทศไทยต้องดำรงความร่วมมือกันต่อไปตามที่ทั้งสอง ฝ่ายได้เข้าร่วมในกรอบอาเซียน  และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์ที่แต่งตั้งโดยอาเซียนเข้าไปยังเขตปลอดทหาร ชั่วคราวดังกล่าวได้  โดยทั้งสองฝ่ายต้องหลีกเลี่ยงจากการกระทำใดๆ ที่อาจยั่วยุ หรือทำให้ข้อพิพาทบานปลาย หรือทำให้มันยุ่งยากในการแก้ไขข้อพิพาทยากกว่าที่เป็นอยู่.


Lastly, the Court decided, by fifteen votes to one, that each of the Parties should inform it as to its compliance with the above provisional measures and that, until the Court had rendered its judgment on the request for interpretation, it would remain seised of the matters which form the subject of the Order.

ท้ายที่สุด โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1  ศาลยังได้ให้ ทั้งสองฝ่ายต้องรายงานต่อศาลถึงการปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราว เป็นระยะ และ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาต่อคำร้องขอตีความ  ศาลยังคงมีอำนาจในการพิจารณาเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งนี้ต่อไป.


* Jurisdiction and legal conditions required for the indication of provisional measures
อำนาจศาลและเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับ มาตรการคุ้มครองชั่วคราว 

The Court concluded (paragraphs 19 to 32 of the Order) that a dispute appeared to exist between the Parties as to the meaning or scope of its 1962 Judgment and that it therefore appeared that the Court could, pursuant to Article 60 of the Statute, entertain the request for interpretation submitted by Cambodia. Accordingly, it declared that it could not accede to the request by Thailand that the case be removed from the General List (see above) and added that there was sufficient basis for the Court to be able to indicate the provisional measures requested by Cambodia, if the necessary conditions were fulfilled. The Court then examined those conditions one by one (paras. 35 to 56), and concluded that they had been satisfied. Firstly, it considered that the rights claimed by Cambodia, as derived from the 1962 Judgment, in the light of its interpretation thereof, were plausible. Secondly, the Court considered that the provisional measures requested sought to protect the rights invoked by Cambodia in its request for interpretation and that the requisite link between the alleged rights and the measures sought was therefore established. Thirdly, it considered that there was a real and imminent risk of irreparable damage being caused to the rights claimed by Cambodia before the Court had given its final decision, and that there was urgency.

ศาลลงมติ (ตามย่อหน้าที่ 19 ถึง 32 ของคำสั่งศาล) ว่า การพิพาทระหว่างสองประเทศดังกล่าวยังอยู่ในขอบเขตของคำพิพาทษาเมื่อปี 2493 และ เนื่องด้วยธรรมนูญของศาลโลก มาตราที่ 60  ศาลจึงยังคงมีอำนาจในการวินิจฉัยคำขอร้องในการตีความที่ยื่นโดยประเทศ กัมพูชา. ดังนั้น ศาลจังไม่เห็นด้วยกับคำขอร้องของไทยที่จะให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบศาล (ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) และได้เสริมอีกว่า มีข้อมูลให้ศาลมากพอที่จะรับพิจารณาเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการออกมาตรการ คุ้มครองชั่วคราวตามที่ทางกัมพูชาร้องขอ ศาลได้พิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขแต่ละอัน (ย่อหน้าที่ 35 ถึง 56) ตามที่ว่ามาแล้ว เห็นว่า: 1) คำร้องขอของกัมพูชาที่ยื่นให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 นั้นสมเหตุสมผล  2)  ศาลเห็นว่า มาตรการคุ้มครองเร่งด่วน เพื่อพิทักษ์สิทธิของกัมพูชาในการขอตีความ และความเกี่ยวเนื่อง ระหว่างการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ดังกล่าวและมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ต้องมีการจัดทำขึ้น. 3) ด้วยเพราะสถาการณ์ปัจจุบันเสี่ยงต่อความเสียหายและเสียสิทธิ์ของกัมพูชาก่อน ศาลจะมีคำพิพากษาที่สุด  การออกมาตรการดังกล่าว จึงมี ความจำเป็นเร่งด่วน.


Finally, the Court recalled that orders indicating provisional measures had binding effect and thus created international legal obligations with which both Parties were required to comply. It also observed that the decision given in the present proceedings on the request for the indication of provisional measures in no way prejudged any question that the Court might have to deal with relating to the Request for interpretation.

ท้ายสุดนี้ ศาลได้เตือนให้ตระหนัก (?) ว่า คำสั่งที่กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวนี้ มีพันธะผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจักต้องยินยอมปฎิบัติตาม. อีกทั้ง การตัดสินใจตามคำร้องขอ มาตรการคุ้มครองชั่วคราวนี้ ไม่ใช่เป็นการตัดสินล่วงหน้าของผลลัพธ์ของกระบวนการพิจารณาคำร้องขอให้ตี ความ คำพิพากษา คดีปราสาทพระวิหาร ระหว่างประเทศ กัมพูชาและประเทศไทย  ตามที่ศาลโลกได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505 อีกครั้ง.


 รูปที่แนบ:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง