บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ชำแหละเอ็มโอยู 44 มีหรือเลิกก็ส่งผลกระทบชาติ


เพราะนักการเมืองอยู่เบื้องหลังข่มข้าแผ่นดินเพื่อประโยชน์ตัวเอง
โดย.....ชัยรัตน์ พัชรไตรรัตน์
ภายหลังผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2552 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติยกเลิกบันทึกความเข้าใจบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่าง ไทย-กัมพูชา หรือ เอ็มโอยู 2544 เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับผู้นำกัมพูชา ประกอบกับเกรงว่าอดีตผู้นำจะทำการอันใดต่อข้อตกลงจนประเทศไทยอาจเสียผล ประโยชน์ จึงมอบหมายให้ กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไปดำเนินการยกเลิกก่อนเสนอกลับสู่ที่ประชุมรัฐสภา แต่ก็ไร้วี่แววของบทสรุป
เมื่อฟ้าเปลี่ยน รัฐบาลใหม่นำโดยเพื่อไทยประกาศลั่นเตรียมเร่งเดินหน้าเอ็มโอยู 44 อีกครั้ง เนื่องจากการยกเลิกของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาไม่มีผลอย่างเป็นทางการ ทำให้ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีบัวแก้ว บอกต่อสาธารณชนว่าพร้อมเดินหน้าสานสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเพื่อพัฒนาร่วม กัน แน่นอนว่าทุกฝ่ายคงมองข้ามเรื่องดังกล่าว และพุ่งเป้าไปที่ผลประโยชน์ของพลังงานในบริเวณอ่าวไทย ซึ่งทั้งสองประเทศต่างอ้างสิทธิครอบครองความเป็นเจ้าของ
ทว่า เรื่องดังกล่าวก็ถูกกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ทำให้คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การต่างประเทศ วุฒิสภา จึงได้จัดงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง“ปัญหา MOU 44 : เขตไหลทวีปไทย-กัมพูชา ไทยเสียเปรียบจริงหรือ” โดยเชิญนักวิชาการมาให้ข้อสรุปผลว่าข้อดีข้อเสียนั้นอย่างนั้นจะมีมากกว่า กัน
โดยพล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ ได้กล่าวใน ตอนหนึ่งว่า เอ็มโอยู 44 มีตัวละครที่ควบคุมเรื่องผลประโยชน์ คือ นักการเมือง นักวิชาการ และข้าราชการ ถ้าประชาชนรู้ไม่ทันนักการเมือง ก็จะเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ ขณะที่บทบาทนักการเมืองเข้าไปกำกับเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าการเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชา นายฮุนเซน นายกฯกัมพูชา เป็นตัวควบคุมนายซก อาน รองนายกฯกัมพูชา และนายวาร์ คิม ฮง ประธานเจบีซีฯ ฝ่ายกัมพูชา
นอกจากนี้ การเจรจาในปัจจุบันมีความแตกต่างจากในอดีต เพราะการเจรจาในอดีต บทบาทของนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยมาก แต่ปัจจุบันนักการเมืองเข้ามาควบคุมและอยู่เบื้องหลังเจ้าหน้าที่ที่ไปเจรจา ไม่มีข้าราชการคนใดที่กล้าฝ่าฝืนความต้องการของนักการเมือง ทั้งนี้ คำตอบสุดท้ายของเอ็มโอยูนี้มีผลต่อผลประโยชน์ของชาติอย่างมาก เราจึงต้องมองก้าวไปสู่ตรงนั้นด้วย 
อย่างไรก็ตาม เอ็มโอยู 44 น่าจะมาจากความคิดของนักวิชาการต่างชาติและนักการเมืองในยุคนั้น แต่หลังจากมีเอ็มโอยูฉบับนี้แล้ว ทำให้การเจรจาไม่มีความก้าวหน้าในเรื่องเส้นเขตแดน มีแต่ความก้าวหน้าเรื่องผลประโยชน์ การเจรจาทุกครั้งต้องมีการเจรจานอกโต๊ะโดยนักการเมือง ซึ่งกัมพูชายืนยันว่าต้องการแบ่งปันผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อน โดยไม่สนใจเรื่องเส้นเขตแดน แต่ไทยยืนยันว่าต้องแบ่งเส้นเขตแดนก่อนแบ่งผลประโยชน์ ตนเรียกว่าเป็นการเจรจาแบบล็อคสเป๊กและเอื้อผลประโยชน์ทับซ้อน
“การเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลก่อนหน้านั้น ระหว่าง ไทย-มาเลเซีย หรือ ไทย-เวียดนาม เป็นการเจรจาที่นำข้อขัดแย้งมาหารือกันก่อนที่จะสรุปออกมาเป็นเอ็มโอยู หรือ ข้อตกลงระหว่างกัน ซึ่งทำให้การตกลงเรื่องผลประโยชน์ร่วมกันเป็นไปด้วยดี เพราะเป็นการเจรจาบนโต๊ะภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ต่างจากกรณีไทย-กัมพูชาที่มีการลงนามในเอ็มโอยู ก่อนที่จะพูดคุย ทำให้ไม่เกิดความคืบหน้า ส่วนประเด็นจะยกเลิกหรือไม่ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 ล้วนทำให้เกิดผลกระทบกับประโยชน์ของชาติทั้งสิ้น”
ด้านพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา ฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ในคณะกรรมการเจรจาเขตแดนทางทะเล ฝ่ายไทย มองว่า สำหรับพื้นที่เขตแดนทางทะเลนั้น ขณะนี้ยอมรับว่าไม่มีความคืบหน้า เพราะรัฐบาล โดยกระทรวงการต่างประเทศ ยังไม่มีการตั้งหัวหน้าคณะเจรจาด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา (ซับเจทีซี) ขึ้นมาทำหน้าที่
อย่างไรก็ตาม มองว่าที่ยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องนี้ ไม่ใช่เพราะฝ่ายการเมืองพยายามซุกการกระทำที่แสวงหาผลประโยชน์ทางปิโตรเลียม ในแหล่งพลังงานทะเลอ่าวไทย บนพื้นที่ทับซ้อนให้กับฝ่ายการเมือง แต่เป็นเพราะว่าความหวาดระแวงว่าฝ่ายการเมืองจะเข้าไปมีผลประโยชน์ ทั้งนี้ หากฝ่ายการเมืองจะเข้าไปมีผลประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวทำได้วิธีเดียว คือ การเข้าไปถือหุ้นในบริษัทที่ได้รับสัมปทานในแหล่งพลังงาน
“ผมเป็นห่วงว่าหากไม่เร่งตั้งซับเจทีซี อาจทำให้ประเทศไทยเสียเวลาจำนวนมากในขั้นตอนการเจรจาเรื่องผลประโยชน์ทาง ทะเลในพื้นที่ทับซ้อน และอาจกระทบต่อการใช้พลังงานด้านปิโตรเลียมในอนาคตได้ เพราะจากตัวอย่างการเจรจาผลประโยชน์ด้านพลังงานระหว่างไทย-มาเลเซียที่ผ่าน มา ต้องใช้เวลาเจรจานานกว่า 13 ปี กว่าจะสามารถนำพลังงานมาใช้ได้”
นอกจากนี้  ต้องจับตากันต่อว่า การเดินหน้าของรัฐบาลที่ประกาศชัดจะสานต่อเอ็มโอยู 44 เพื่อไม่ให้ไทยเสียผลประโยชน์ จะเป็นการทำเพื่อประเทศหรือเพื่อตัวเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง