บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไอ้ปึ้งรับคำฮอว่าตามศาลโลก ฮวยเซงสั่งปึ้งนำทุกแผนที่เคยคุยกับเหลี่ยมก่อนพ้นอำนาจมาสานต่อ

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีต่างประเทศรัฐไทยใหม่ ระหว่างเข้าพบนายฮอ นำฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา เมื่อช่วงเช้า (๒๙ ธ.ค. ๕๔) 

ฟิฟทีนมูฟ — สารเลวปึ้งเห็นฟ้องฮอ นำฮง ยินดีปฏิบัติตามมาตรการศาลโลกในการถอนทหาร โดยให้เป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ โวทหารที่เคยทำตามอำเภอใจตอนนี้อยู่ใต้บังคับ น.ส.ปูโง่แล้ว สั่งถอนทหารก็ต้องทำตาม ส่วนฮอ บอกเข้าใจขั้นตอนภายในของไทยที่มติ GBC ต้องผ่านรัฐสภา เห็นชอบเร่ง JBC จัดทำหลักเขต
ศูนย์ข่าวต้นมะขามรายงานว่า เมื่อช่วงสาย (๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๔) ภายหลังการพบพูดคุยระหว่างนายฮอ นำฮง รัฐมนตรีต่างประเทศ กับนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีต่างประเทศรัฐไทยใหม่ ในการเดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการวันแรก ที่กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ทั้งสองได้แถลงข่าวร่วมกัน ย้ำความเห็นพ้องต้องกันที่จะปฏิบัติตามมาตรการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ แม้ว่าในประเทศไทยจะมีกลุ่มคัดค้านและผลักดันให้รัฐบาลเสนอให้กัมพูชาถอนคดี ปราสาทพระวิหาร ก็ตาม

นายฮอ นำฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา กล่าวภายหลังพบหารือเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง ว่า นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เห็นชอบที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลกด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ กัมพูชาเคารพขั้นตอนการดำเนินการภายในของไทย ที่ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาก่อนเกี่ยวกับประเด็นปัญหานี้ พร้อมย้ำว่า เราได้เห็นชอบร่วมกันในการปฏิบัติตามมาตรการของศาลโลกอย่างโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล กล่าวย้ำระหว่างแถลงข่าวร่วมว่า รัฐบาลของตนเห็นพ้องปฏิบัติตามมาตรการของศาลโลก และสองฝ่ายจะปฏิบัติตามด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ และเคารพตามมติที่ประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) ครั้งที่ ๘ ที่นำโดยรัฐมนตรีกลาโหมของสองประเทศ การประชุมจีบีซีที่กรุงพนมเปญได้เห็นชอบตั้งคณะทำงานร่วมสองระหว่างสอง ประเทศ เพื่อกำหนดการถอนทหารภายใต้การตรวจสอบของอินโดนีเซีย
นายสุรพงษ์ กล่าวย้ำว่า ในขณะนี้ทหารไทยที่ก่อนหน้าเคยทำอะไรตามอำเภอใจนั้น ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทั้งหมดแล้ว ในเวลาที่จะมีการตัดสินใจให้ถอนทหารออกจากพื้นที่ขัดแย้ง ตามคำสั่งของศาลโลกและการสังเกตการณ์ของอินโดนีเซียนั้น พวกเขา (ทหารไทย) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล
นอกจากนี้ สองฝ่ายยังเห็นพ้องกันว่าจะผลักดันให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) เร่งดำเนินงานในการจัดทำหลักเขตจำนวน ๒๕ หลัก ที่อยู่นอกพื้นที่ปราสาทพระวิหาร เนื่องจากพื้นที่ปราสาทพระวิหารอยู่ระหว่างรอขั้นตอนของศาลโลก
เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ตนจะได้เข้าพบกับทั้งนายฮอ นำฮง รัฐมนตรีต่างประเทศ และ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรี โดยในการหารือจะได้พยายามหาทางแก้ไขข้อพิพาทและข้อเจรจาที่ยังคั่งค้าง รวมถึงการเดินหน้าเจรจาการประชุมเจบีซี เพื่อให้การปักปันเขตแดนระหว่างสองประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้ พร้อมระบุว่า “หลังจากพบท่านฮอ นำฮง เสร็จแล้ว สมเด็จฮุนเซน ก็ได้อนุญาตให้ผมได้เข้าพบท่านด้วย โดยในช่วงกลางคืน ท่านจะเลี้ยงข้าวผม ส่วนจะมีการโน้มน้าวให้กัมพูชายอมถอนฟ้องศาลโลกหรือไม่นั้น หากมีโอกาส ตนเองจะทำแน่นอน เพราะเป็นสิ่งที่ผมและท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ได้หารือกัน สิ่งใดที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพื่อไม่ให้มีข้อบาดหมางระหว่างเรากับเพื่อนบ้าน ผมจะทำให้ดีที่สุด”

ฮวยเซงสั่งปึ้งนำทุกแผนที่เคยคุยกับเหลี่ยมก่อนพ้นอำนาจมาสานต่อ

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ระหว่างเข้าพบฮุน เซน เมื่อช่วงเย็นวันนี้ (๒๙ ธ.ค.๒๕๕๔) 

ฟิฟทีนมูฟ — สุรพงษ์พร้อมพิชัยเข้าพบฮุน เซน นายกเขมรเมื่อช่วงเย็น สองฝ่ายเจราหวานชื่น สนับสนุนผลการประชุมจีบีซี เร่งสานต่อความร่วมมือในทุกด้าน ฮุน เซน เสนอให้นำทุกแผนการที่เคยคุยไว้ตั้งแต่ก่อนทักษิณถูกทำรัฐประหารกลับมา พิจารณาสานต่ออีกครั้ง หวังการประชุม JC ต้นปีหน้าจะประสบความสำเร็จ
สื่อกัมพูชา1 รายงานว่า ภายหลังที่ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้อนุญาตให้คณะตัวแทนรัฐไทยใหม่ซึ่งนำโดยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าพบแสดงความคารวะเมื่อช่วงเย็นวันนี้ (๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๔) นายซรือ ธำรงค์2 รัฐมนตรีตัวแทนผู้ใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เปิดเผยว่า ฮุน เซน ได้กล่าวแสดงความหวังว่าการเดินทางเยือนกัมพูชาในครั้งนี้ จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น หลังกลับมาดีกันเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ นับจากที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง พร้อมกันนั้น ฮุน เซน ก็ได้รับฟังการรายงานจากนายฮอ นำฮง รัฐมนตรีต่างประเทศ และนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีและประธานองค์การปิโตรเลียมกัมพูชา เกี่ยวกับผลการหรือกับคณะตัวแทนรัฐไทยใหม่ ซึ่งนายสุรพงษ์ ก็ได้เรียนนายกรัฐมนตรีกัมพูชาถึงความสำเร็จในการหารือกับนายฮอ นำฮง ด้วยเช่นกัน

นายซรือ ธำรงค์ เปิดเผยว่า นายสุรพงษ์กล่าวตอบนายกรัฐมนตรีกัมพูชาโดยนำสารความห่วงใยจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และกล่าวยืนยันว่า รัฐบาลใหม่ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในปัจจุบัน ได้มีความเอาใจใส่ที่จะสานต่อความร่วมมือกับกัมพูชาให้ครบทุกด้าน เปิดหน้าศักราชใหม่ในความสัมพันธ์ของสองประเทศ พร้อมกล่าวถึงความสัมพันธ์ในด้านการค้าขายลงทุน การท่องเที่ยว ซึ่งฝ่ายไทยต้องการให้มีสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญและการอยู่ร่วมกันกับกัมพูชาอย่างสันติสุข นอกจากนี้ นายสุรพงษ์ได้แสดงการสนับสนุนอย่างหนักแน่นต่อผลสำเร็จของการประชุมคณะ กรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙-๒๑ ธันวาคม ที่ผ่านมา และฝ่ายไทยเตรียมสนับสนุนการประชุมคณะกรรมการเจซีที่มีแผนจะจัดขึ้นใน ระหว่างวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ถึง ๑ มีนาคม ปีหน้า ในกรุงพนมเปญ นายสุรพงษ์ได้กล่าวยืนยันจะเร่งผลักดันความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น ผลักดันความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ ผลักดันให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน และเตรียมจะสนับสนุนกัมพูชาในด้านการศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน เช่นเดียวกับด้านสาธารณสุข สกัดกั้นการแพร่กระจายของโรคระบาด พร้อมกับยืนยันว่า ไทยจะร่วมมือกับกัมพูชาในการสกัดกั้นการข้ามแดนเข้าตัดไม้ในเขตไทย การลักลอบขนยาเสพติดและการค้ามนุษย์ตามแนวชายแดน
ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้กล่าวตอบขอบคุณที่นายสุรพงษ์ได้นำความห่วงใยของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาถึง พร้อมกล่าวต่อว่า ประเทศกัมพูชาและไทย เปรียบเหมือนลิ้นกับฟันไม่สามารถแยกจากกันได้ หมายความว่าไม่สามารถดึงประเทศไหนออกไปได้ นับตั้งแต่ที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง และได้เข้านำรัฐบาลใหม่เป็นต้นมาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง กัมพูชา-ไทย ได้กลับมาแน่นแฟ้นต่ออีกครั้ง เพื่อความร่วมมือและการได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้แสดงความยินดีต่อผลการประชุมจีบีซีที่ผ่านมา และหวังว่าการประชุมระดับสูงของคณะกรรมการที่เรียกว่า JC ซึ่งนำโดยรัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชาและไทย ที่กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ถึง ๑ มีนาคม ๒๕๕๕ นั้น จะประสบความสำเร็จ ฮุน เซน กล่าวต่อว่า แผนการณ์ทั้งหมดที่เคยมีร่วมกันในช่วงที่ผ่านมา เราต้องนำมาตรวจสอบเพื่อสานต่อ เนื่องจากที่ผ่านมา เราได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีของสองประเทศ เช่น มีการประชุมกันที่ จ.อุบลราชธานี จากนั้นก็ประชุมกันต่อเนื่องอีก ก่อนหน้าที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณถูกทำรัฐประหาร
ฮุน เซน กล่าวว่า เราเป็นประเทศข้างเคียงกัน มีการงานจำนวนมากที่ต้องทำร่วมกัน และจะต้องร่วมมือกันเพื่อสกัดกั้นการลักลอบตัดไม้ ปกป้องสิ่งแวดล้อม อย่างเช่นการสืบหาหัวหน้าขบวนการที่อยู่เบื้องหลัง  นอกจากนี้ประเทศทั้งสองร่วมมือกันสกัดกั้นและต่อการต้านการลักลอบขนยาเสพติด และการค้ามนุษย์ ฮุน เซน ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวในสองประเทศ ที่จะช่วยให้การเมืองในประเทศดีขึ้น พร้อมผลักดันให้มีการเปิดด่านสตึงบตที่พื้นที่ปอยเปต ที่ผ่านมาไทยได้ช่วยก่อสร้างถนนสาย ๔๘ สาย ๖๙ และเตรียมสร้างถนนสาย ๖๘



 "สุ รพงษ์" เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี รื้อฟื้นบันทึกข้อตกลงปี 2544 ว่าด้วยพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ป้องกันการฟ้องร้องและเข้าใจผิด
          นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการพิจารณารื้อฟื้นบันทึกข้อตกลงปี 2544 ว่าด้วยพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ว่า กระทรวงการต่างประเทศกำลังสรุปข้อคิดเห็นของคณะกรรมการฝ่ายเทคนิคเพื่อนำ เสนอคณะรัฐมนตรี ว่าจะเดินหน้าต่อไปหรือไม่ เนื่องจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมาประกาศยกเลิกบันทึกข้อตกลงปี 2544 ทั้งนี้ เมื่อเรื่องดังกล่าวผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีก็จะมีการนำเสนอต่อรัฐสภา และจะขอความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อป้องกันการฟ้องร้องและเข้าใจผิด  ขณะเดียวกันจะให้กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวด้วย
          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวด้วยว่า กรณีที่คนบางกลุ่มมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาดีขึ้น เพราะความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างผู้นำกัมพูชากับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั้น อยากให้กลุ่มคนดังกล่าวมองในเชิงบวกมากกว่า เพราะความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาของรัฐบาลชุดปัจจุบันดีกว่ารัฐบาลชุดที่ผ่านมา

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

“ผบ.ทบ.”ลั่น “เขาวิหาร” เป็นดินแดนไทย – แค่สับเปลี่ยนกำลัง ไม่มีเขตปลอดทหาร


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ศูนย์ข่าวนครราชสีมา- “ผบ.ทบ.” เผยยังไม่มีการดำเนินการใดๆเกี่ยวกับการถอนทหารพ้น“เขาพระวิหาร” ชายแดนไทย-กัมพูชา ตามมาตรการชั่วคราวศาลโลก ชี้มติ “จีบีซี” แค่เห็นร่วมกันว่าควรจะมีการปฏิบัติ เหตุเป็นพันธะกรณีผูกพันระหว่างประเทศ ระบุหากจะต้องมีไม่ใช่ถอนกำลังแต่เป็นการสับเปลี่ยนกำลังหน่วยอื่นเข้าไปแทน ลั่นถึงยังไงต้องมีกำลังประจำอยู่ “เขาพระวิหาร” ยันไม่มีกำลังทหารไม่มีอาวุธอยู่ในพื้นที่เลยเป็นไปไม่ได้เพราะเป็นดินแดนของประเทศไทย

วันนี้ (23 ธ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เปิดเผยที่ จ.นครราชสีมา ถึงกรณีมติที่ประชุมคณะกรรมการทั่วไปชายแดนไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ครั้งที่ 8 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เกี่ยวกับการถอนกำลังทหารออกจากเขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชาตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก ว่า มีอยู่เรื่องหนึ่งที่อยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับมติการประชุม จีบีซี ที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานร่วมกับฝ่ายกัมพูชา ยืนยันอีกครั้งว่า ในขณะนี้ยังไม่มีการปฏิบัติการใดๆ ทั้งสิ้น ในเรื่องการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลโลก เพียงแต่ว่าทั้งสองฝ่ายมีความเห็นชอบร่วมกัน ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชามีการแสดงความคิดเห็นร่วมกันว่า จะต้องมีการปฏิบัติมาตรการชั่วคราวที่ศาลโลก (ไอซีเจ)ได้กำหนดออกมาแล้ว แต่จะปฏิบัติอย่างไรขึ้นอยู่กับคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ หรือเรียกว่า “IWG” เป็นเวิร์คกิ้งกรุ๊ปที่ตั้งขึ้นมาเพื่อหารือว่า มันจะปรับเปลี่ยนอย่างไรอะไรต่างๆ

ฉะนั้น สรุปว่า ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆทั้งสิ้นในตอนนี้ เพียงแต่เป็นการเห็นชอบร่วมกันว่าควรจะต้องปฏิบัติ เพราะมันเป็นกลไกหรือเป็นพันธะสัญญา พันธะกรณีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องของความผูกพันในฐานะเป็นภาคีอนุสัญญาต่างๆ ที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติในหลายเรื่อง อันนี้ต้องเข้าใจ

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตน และนายกรัฐมนตรี รวมถึงกำลังทั้งหมดได้ตกลงแล้วว่า เราพยายามแต่จะทำให้ดีที่สุด ให้เกิดความโปร่งใส และเกิดความเท่าเทียมกันในทุกเรื่อง ฉะนั้นต้องขอให้ทุกคนได้ใจเย็นๆ และสบายใจว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นมาก็ตาม เราพยายามจะรักษาอธิปไตย รักษาดินแดนของเราให้ดีที่สุด ฉะนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องนั้น แต่ประเด็นสำคัญคือเราคงต้องปฏิบัติตามสัญญาต่างๆ ที่เราได้ร่วมลงนามกับหลายประเทศไว้ด้วย โดยเฉพาะองค์การสหประชาชาติ กฎหมายระหว่างประเทศมีความสำคัญในวันนี้

ฉะนั้นจะทำอะไรต่างๆ ก็ตามต้องระมัดระวัง ตนขอย้ำว่า ยังไม่มีการปฏิบัติ แล้วใช้คำว่า ถ้าจะต้องมี ก็คือเรื่องการสับเปลี่ยนกำลัง เอากำลังอีกส่วนเข้าไปแทน หมายความว่า ยังไงก็ต้องมีกำลังประจำอยู่ เราเข้ามาดูแลในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ไม่ใช่เฉพาะเขาพระวิหาร ถ้ามันจำเป็นจะต้องสับเปลี่ยนกำลัง ก็อาจจะเปลี่ยนเอาหน่วยโน้นหน่วยนี้เข้ามาไม่ใช่ว่าไม่มีกำลังทหาร ไม่มีอาวุธอยู่เลยในพื้นที่คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นดินแดนของประเทศไทย

“ส่วนเรื่องอื่น ทั้งเรื่องศาลโลก หรือเรื่องต่างๆ เป็นอีกกรณีหนึ่งก็ว่ากันไป ซึ่งคงต้องรอการตัดสินว่าจะออกมาอย่างไร แล้วเราก็ต้องดูว่ากติกาสัญญาต่างๆ ที่มีอยู่เดิมเราจะต้องทำอย่างไรให้มันเกิดผลดีที่สุดกับประเทศชาติและการรับรู้ของสังคมของสากลโดยรวมด้วย เพราะเราไม่ได้อยู่ประเทศเดียวในโลก” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว


ที่มา : http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrview.aspx?NewsID=9540000163392

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

"กษัตริย์นโรดม สีหมุนี"เป็นดั่ง"นักโทษในวัง"ถูก"ฮุน เซน"ลดพระราชอำนาจจนสิ้น

แฉ"กษัตริย์นโรดม สีหมุนี"เป็นดั่ง"นักโทษในวัง"ถูก"ฮุน เซน"ลดพระราชอำนาจจนสิ้น


สำนัก ข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ว่า ที่ปรึกษาใกล้ชิดเปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี กษัตริย์กัมพูชาพระองค์ปัจจุบัน ดูเหมือนจะเป็น "นักโทษ" ในพระราชวังมากขึ้นทุกขณะและโดยปริยาย เสียแล้ว 


นอก จากนี้ ยังมีการควบคุมบทบาทของพระองค์ภายนอกพระราชวัง จากหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลโดยกระทรวงปฎิบัติพระราชกรณียกิจหลวง ภายใต้การควบคุมของนายกง สม โอ รัฐมนตรีกระทรวงผู้ใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา 


โดย พระองค์จะถูกติดตามอย่างใกล้ระหว่างการเสด็จเยือนสถานที่ต่าง ๆ นอกพระราชวัง ซึ่งทางการกัมพูชาจะคอยห้ามไม่ให้สื่อมวลชนคอยรายงานข่าว แม้ว่าความจริงแล้ว รัฐธรรมนูญจะให้อำนาจอย่างสูงแก่พระองค์ก็ตาม





ด้านนายสร เชย สมาชิกฝ่ายค้านแห่งรัฐสภากัมพูชา กล่าวว่า เขาคิดว่า เขาสามารถใช้คำว่า"กษัตริย์ หุ่นเชิด"กับกษัตริย์นโรดม สีหมุนี ได้ โดยพระราชอำนาจของพระองค์ถูกลดบทบาทจนสิ้น นอกจากนี้ พระองค์ยังจะต้องคอยเอาใจนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพื่อที่จะให้พระองค์อยู่รอดด้วย

ทั้ง นี้ สำหรับ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี  เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมพรรษา 51 พรรษา เมื่อเดือนตุลาคม 2547 โดยมติเป็นเอกฉันท์ของคณะที่ปรึกษาราชบัลลังก์ ภายหลังการประกาศสละราชบัลลังก์ของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อันเนื่องจากปัญหาทางพระพลานามัย

พระองค์ ทรงสำเร็จการศึกษาด้านนาฏศิลป์ ดนตรี การละคร และนาฏกรรมชั้นสูง และการถ่ายทำภาพยนตร์ จากกรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก และกรุงเปียงยางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเหนือ ทรงเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านการสอนระบำหลวงของกัมพูชาในกรุงปารีส และตำแหน่งเอกอัครราชทูตด้านวัฒนธรรมของกัมพูชาประจำองค์การยูเนสโก ขณะที่พระองค์ยังทรงประทับอยู่ในประเทศฝรั่งเศส พระองค์ได้ผลิตภาพยนตร์ 2 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2536 ได้แก่ สุบิน และ ธาตุทั้ง 4

อย่าง ไรก็ตาม พระองค์ไม่เคยอภิเษกสมรส ไม่ทรงมีพระราชโอรสหรือพระราชธิดา ทรงได้ชื่อว่าเป็นศิลปินผู้เก่งกาจ ใฝ่รู้ ถ่อมตน ทรงงานหนัก และมัธยัสถ์

 
 
 
  
 

โดย @thepchaiyong:
 
“prisoner in his own palace”

“นัก โทษในพระราชวัง” เป็นฉายาของกษัตริย์นโรดม สีหมุนี ที่ทุกวันนี้แทบไม่มีอำนาจใดๆ หลงเหลืออยู่ นายเดนนิส เกรย์ นักข่าวอาวุโสของเอพี รายงานในบทวิเคราะห์ล่าสุดว่า กษัตริย์สีหมุนี มีหน้าที่เพียงเซ็นเอกสารและเป็นประธานเปิดงานที่ไม่ความสลักสำคัญอะไร จะเสด็จไปไหนมาไหนหรือทำอะไรก็จะมีคนของรัฐบาลฮุนเซน เฝ้าติดตามทุกฝีก้าว

“เศร้า โดดเดี่ยว และถูกทอดทิ้ง” เป็นคำที่คนเขมรมักใช้เมื่อพูดถึงกษัตริย์สีหมุนีในทุกวันนี้ ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากอดีตกษัตริย์สีหนุ ซึ่งมีบทบาทโดดเด่นในช่วงหลายทศวรรษที่เขมรต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและสงครามการเมือง สีหมุนี (ปัจจุบันมีพระชนมายุ 58 พรรษา) เป็นอดีตนักเต้นบัลเล่ต์ ที่จับพลัดจับผลูก้าวขึ้นมาเป็นกษัตริย์หลังจากพระราชบิดาสละราชบัลลังก์ในปี 2547 วันพระราชสมภพของกษัตริย์สีหมุนีผ่านไปเมื่อเร็วๆ นี้โดยไม่มีพิธีเฉลิมฉลอง คนเขมรส่วนใหญ่ไม่รู้ด้วยซ้ำ

“ท่าน เป็นกษัตริย์ที่ดีมาก เป็นคนสุภาพ และเป็นสัญลักษณ์ของกัมพูชา แต่ปัญหาเดียวของท่านคือ ท่านไม่มีอำนาจ” เป็นความเห็นของนักการเมืองเขมรคนหนึ่งที่เปรียบกษัตริย์สีหมุนีเป็น “puppet king” (กษัตริย์หุ่นเชิด)

คน ที่อยู่เบื้องหลังบัลลังก์เขมรจริงๆ ทุกวันนี้ก็คือสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุนเซน ที่เป็นคนสั่งการทุกอย่าง นายกฯ ฮุนเซน ประสบความสำเร็จในการใช้อำนาจเด็ดขาดทางการเมืองลดบทบาทสถาบันกษัตริย์ เพราะไม่ต้องการให้มีใครที่มีอำนาจหรือบารมีเทียบเท่า
“บนจอทีวี ผู้นำรัฐบาลแสดงภาพการยอมรับสถาบันกษัตริย์ แต่ลับหลัง ไม่มีแม้แต่ความเคารพให้แม้แต่นิดเดียว” นักวิชาการคนหนึ่งตั้งข้อสังเกต

กษัตริย์สีหมุนีไม่มีพระรัชทายาท เพราะฉะนั้น คำถามใหญ่ก็คือระบอบกษัตริย์เขมรจะดำรงอยู่ได้อีกนานแค่ไหน เพราะภายในกัมพูชาเองคนทั่วไปคุ้นชินกับคำกล่าวที่ว่า “ทุกวันนี้ ฮุนเซน คือกษัตริย์ตัวจริง” ข้าราชการคนหนึ่งกล่าว
/ เอพี

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ระเบิดดังสนั่นเหนือเขาพระวิหาร ปะทะเล็กภูมะเขือ


เศษชิ้นส่วนที่จากการระเบิดเก็บรวบรวมได้ในท้องที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อช่วงสายวันนี้ (๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๔)ฟิฟทีนมูฟ – เมื่อช่วงสายวันนี้มีเสียงระเบิดดังสนั่นบนอากาศเหนือเขาพระวิหาร จากนั้นเกิดการปะทะเล็กที่ภูมะเขือ แหล่งข่าวระบุพบเศษชิ้นส่วนโลหะวัตถุต้องสงสัยกระจายในพื้นที่รัศมีกว่า ๓๐ กม. นอกจากนี้พบที่ช่องบันไดหักและปราสาทที่ ๑ บนปราสาทพระวิหาร
แหล่งข่าวในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร รายงานว่า เมื่อเวลา ๑๐.๔๕ น. มีเสียงระเบิดดังบนอากาศเหนือท้องที่บ้านภูมิซรอลมุ่งไปทิศเขาพระวิหาร เสียงดังมากและมีเสียงต่อเนื่องเป็นระยะสั้น ๆ ได้ยินไกลในรัศมี ๘๐ กม. มีวัสดุตกกระจายกว้างในพื้นที่รอบเขาพระวิหาร และทันทีทีมีเสียงระเบิดได้มีการยิงปะทะขนาดเล็กบนพื้นที่ภูมะเขือ มีการยิงจรวดอาร์พีจี ๒-๓ ลูก เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาตื่นตระหนกว่ามีการโจมตีจากฝ่ายไทย ซึ่งต่อมามีการวิทยุสื่อสารกัน เหตุการณ์จึงได้ยุติไป

หลังเกิดเหตุ ทหารฝ่ายไทยได้เข้าเก็บกู้เศษชิ้นส่วน โดยที่ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนขนาดเล็ก พบเศษตั้งแต่ที่บ้านซำเม็ง บึงมะลู วัดโน่นดู่ หนองเม็ก ภูมิซรอล ซำร่อง บ้านหนองหว้า วัดบ้านห้วยทิพย์ เขต อ.ขุนหาญ โดยที่บ้านหนองเน็ก พบเศษชิ้นส่วนขนาดขนาดประมาณ ๒ นิ้ว ตกบนพื้นถนนคอนกรีต ทำให้ถนนเป็นหลุมขนาดเล็ก ที่สนามโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา พบเศษชิ้นส่วน ๒-๓ ชิ้น บางพื้นที่ตกบนหลังคาบ้าน ที่บ้านหนองหว้าตกติดค้างอยู่บนต้นไม้
เศษชิ้นส่วนที่จากการระเบิดเก็บรวบรวมได้ในท้องที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อช่วงสายวันนี้ (๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๔) เศษชิ้นส่วนที่จากการระเบิดเก็บรวบรวมได้ในท้องที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อช่วงสายวันนี้ (๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๔)เศษชิ้นส่วนที่จากการระเบิดเก็บรวบรวมได้ในท้องที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อช่วงสายวันนี้ (๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๔)
เศษ ชิ้นส่วนที่จากการระเบิดเก็บรวบรวมได้ในท้องที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อช่วงสายวันนี้ (๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๔) แผ่นหล็กตกบริเวณทางตะวันตกของ รร.บ้านน้ำขาว โน่นดู่ ส่วนชิ้นสีเหลืองตกที่ รร.ภูมิซรอลวิทยา
ขณะที่แหล่งข่าวบนปราสาทพระวิหาร ระบุว่า มีเศษชิ้นส่วนขนาดใหญ่หลายชิ้นตกบริเวณปราสาทหลังที่ ๑ และช่องบันไดหัก ซึ่งทหารกัมพูชาเก็บรวบรวมไว้ได้ มีขนาด ๓๐x๗๐ ซม. และ ๓๐x๑๐๐ ซม. โดยก่อนเกิดเหตุแหล่งข่าวระบุว่า เห็นวัตถุคล้ายเครื่องไอพ่น มีควันขาวด้านท้าย จากนั้นเกิดการระเบิดและพุ่งไปข้างหน้าพร้อมกับเสียงระเบิดต่อเนื่องอีก ๔-๕ ครั้ง
แหล่งข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า พบเศษชิ้นส่วนบางชิ้นขนาดประมาณล้อรถ หนาประมาณ ๔ ม.ม. สีเขียวมีรอยปะ ขณะที่บางชิ้นมีลักษณะโค้งกลม นอกจากนี้ยังพบแผ่นเหล็กกว้าง สีเขียวขี้ม้า มีรอยปะน็อตประมาณเบอร์ ๖-๗ ขณะบางพื้นที่พบชิ้นส่วนใบพัด ๒ ตัว ด้านข้างมีรอยเชื่อมเป็นเนื้อเดียว มีโครงรูปตัววี
จากเสียงระเบิดดังกล่าวและเศษชิ้นส่วนที่ตกกระจายในรัศมีกว่า ๓๐ กม. มีการตั้งข้อสังเกตจากหลายฝ่ายว่า อาจเป็นเศษชิ้นส่วนของจรวดแซม ซึ่งมีใช้ในหน่วยทหารของกัมพูชา ขณะที่ชาวบ้านทีบ้านหนองหว้า ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นระเบิดลม และเหตุการณ์คล้ายกับครั้งที่กัมพูชาเปิดการโจมตีในพื้นที่เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ขณะที่ แหล่งข่าวทางทหารกัมพูชาบนปราสาทพระวิหารมองว่าเป็นอาวุธชนิดใดชนิดหนึ่งที่ ยิงมาจากพื้นที่ไทย แม้ในเบื้องต้นแหล่งข่าวระบุว่า ฝ่ายทหารของไทยยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นวัตถุหรือาวุธชนิดใด แต่มีความเป็นไปได้สูงว่าไม่ใช่จรวดชนิดใดชนิดหนึ่ง
แหล่งข่าวรายงานด้วยว่า หลัง ที่กรุงพนมเปญ วานนี้เสร็จสิ้น ทหารไทยเตรียมพร้อมและเฝ้าระวังตลอดทั้งคืน ตั้งแต่พื้นที่ช่องซำแต จนถึง อ.น้ำยืน จ.อุดรธานี
ชิ้นส่วนวัตถุลักษณะคล้ายอลูมิเนียมตกลงมาในป่าสวนยางพารา บริเวณวัดบ้านห้วยทิพย์ ต.รุง อ.กันทรลักษ์ จำนวน ๒ ชิ้น ชิ้นแรกขนาด ๔๐x๑๗๐ ซม. มีร่อยรอยสกรูจำนวนมาก ชิ้นที่สองขนาด ๓๐x๓๐ ซม.  ชิ้นส่วนวัตถุลักษณะคล้ายอลูมิเนียมตกลงมาในป่าสวนยางพารา บริเวณวัดบ้านห้วยทิพย์ ต.รุง อ.กันทรลักษ์ จำนวน ๒ ชิ้น ชิ้นแรกขนาด ๔๐x๑๗๐ ซม. มีร่อยรอยสกรูจำนวนมาก ชิ้นที่สองขนาด ๓๐x๓๐ ซม. ชิ้นส่วนวัตถุลักษณะคล้ายอลูมิเนียมตกลงมาในป่าสวนยางพารา บริเวณวัดบ้านห้วยทิพย์ ต.รุง อ.กันทรลักษ์ จำนวน ๒ ชิ้น ชิ้นแรกขนาด ๔๐x๑๗๐ ซม. มีร่อยรอยสกรูจำนวนมาก ชิ้นที่สองขนาด ๓๐x๓๐ ซม.
ชิ้น ส่วนวัตถุลักษณะคล้ายอลูมิเนียมตกลงมาในป่าสวนยางพารา บริเวณวัดบ้านห้วยทิพย์ ต.รุง อ.กันทรลักษ์ จำนวน ๒ ชิ้น ชิ้นแรกขนาด ๔๐x๑๗๐ ซม. มีร่อยรอยสกรูจำนวนมาก ชิ้นที่สองขนาด ๓๐x๓๐ ซม.
ซีอีเอ็นของกัมพูชารายงานเมื่อตอนเที่ยงว่า มีเสียงระเบิดดังอย่างมากบนอากาศเหนือพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อเวลา ๑๐.๕๐ น. หลังเกิดเสียง ทหารกัมพูชาได้ไปยังที่เกิดเหตุ เก็บเศษชิ้นส่วนชิ้นส่วนไว้จำนวนมากที่ตกกระจายในพื้นที่  ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด ตามการสันนิษฐานเบื้องต้น อาจเป็นเครื่องบินเพราะเศษชิ้นส่วนที่ตกมามีขนาดตั้งแต่ ๒๐-๕๐ ซม. และเสียงดังมากไปถึงช่องตาเฒ่า มุมเบ็ย (สามเหลี่ยมมรกต ไทย-กัมพูชา-ลาว) และตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา อื่น ๆ ฝ่ายทหารกัมพูชาได้ประสานไปยังฝ่ายไทย แต่ฝ่ายไทยระบุว่าไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น
หนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ ระบุว่า เมื่อเวลา ๑๐.๑๐ น. เกิดเหตุมีเสียงระเบิดในอากาศที่ปราสาทพระวิหาร ทำให้นักท่องเที่ยวที่ขึ้นมาเที่ยวชมตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก เจ้าหน้าที่ตำรวจมรดกประจำการที่ปราสาทพระวิหาร มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง มีวุตถุสีเงินคล้ายอลูมิเนียมจำนวนมากตกกระจายใกล้ตัวปราสาท พล.ท. สเร็ย ดึ๊ก1 ผู้บัญชาการกองพลสนับสนุนที่ ๓2 กล่าวยืนยันว่า ตนกำลังอยู่ในจุดเกิดเหตุอยู่ระหว่างค้นหาเก็บรวบรวมเศษชิ้นส่วนที่ตกจาก อากาศ ขณะนี้ทีมงานยังไม่ยืนยันว่าเป็นระเบิดหรืออะไรอย่างอื่น กำลังตรวจพิสูจน์ซึ่งจะแจ้งผลให้ทราบโดยเร็ว ส่วนสถานการณ์ขณะนี้สงบเป็นปกติ
ศูนย์ข่าวต้นมะขาม รายงานอ้างเจ้าหน้าที่ทหารบนปราสาทพระวิหาร ระบุว่ามีเสียงระเบิดดังสนั่น เมื่อเวลา ๑๐.๔๕ น. ในพื้นที่ ทำให้นึกถึงนี้ พ.อ. (พิเศษ) มาว ปึว3 ผู้กำกับการตำรวจ จ.พระวิหาร ระบุว่า มีเสียงระเบิดบนเขาพระวิหาร โดยมีเศษชิ้นส่วนตกลงมา ๓ ชิ้น ชิ้นแรกตกที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาะ อีกชิ้นตกที่หน้าหัวนาค4 และชิ้นสุดท้ายตกที่บันไดหัก5 สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เสียงระเบิดดังกล่าวอาจเป็นเครื่องบินสอดแนมและถูกทำลายทิ้ง พ.อ. (พิเศษ) มาว ปึว กล่าวต่อว่า เหตุการณ์ดังกล่าว ไม่มีเจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชาคนใดได้รับบาดเจ็บ ขณะนี้ชุดเฉพาะกิจผู้เชี่ยวชาญกำลังลงตรวจสอบที่เกิดเหตุ

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประชุม GBC ไทย-เขมรเห็นชอบถอนทหาร ออกแถลงการณ์ร่วม ๑๒ ข้อ


พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา และ พล.อ.เตีย บัญ ก่อนการประชุม GBC ที่พนมเปญ ๒๑ ธ.ค. ๕๔ 

ฟิฟทีนมูฟ — สื่อเขมรรายงาน การประชุม GBC เมื่อช่วงเช้า ระดับรัฐมนตรีที่กรุงพนมเปญ รมต.กลาโหมไทย-เขมร ยืนยันจะปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวศาลโลก ในการถอนทหารและรับผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ พร้อมออกแถลงการณ์ร่วมกัน ๑๒ ข้อ ระบุการประชุม ระดับ รมต.ล่าช้ากว่ากำหนด ปิดห้องคุยยืดเยื้อ ท้ายที่สุดแถลงข่าวร่วม ระบุเห็นชอบในการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวศาลโลก ยังไม่กำหนดเวลาแน่ชัด ฝ่ายไทยขอนำเข้าที่ ครม. และ รัฐสภา
ซีอีเอ็นรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา หรือ GBC ครั้งที่ ๘ ระดับรัฐมนตรี ซึ่งฝ่ายกัมพูชา นำโดย พล.อ.เตีย บัญ รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา และฝ่ายไทย นำโดย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อช่วงเช้า (๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔) ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ สองฝ่ายได้ยืนยันจุดยืนที่จะปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ อย่างเต็มที่และโดยเร็ว ในการถอนทหารออกจากชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร และได้เห็นชอบร่วมกันเสนอให้มีการจัดตั้งและส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย เข้าไปยังพื้นที่โดยด่วน นอกจากนี้ สองฝ่ายยังเห็นชอบที่จะปรับกำลังทหารที่ประจำการปัจจุบันในเขตปลอดทหารออก พร้อมกัน

หลังการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ได้ออกแถลงการณ์ร่วม ๑๒ ประเด็น ดังนี้
๑. การประชุมครั้งที่ ๘ ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ระหว่างพระราชอาณาจักรกัมพูชา และพระราชอาณาจักรไทย ได้จัดขึ้นในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่กรุงพนมเปญ พระราชอาณาจักรกัมพูชา การประชุมนี้ นำโดย ประธานร่วม พล.อ.เตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในพระราชอาณาจักรไทย การประชุมดำเนินด้วยบรรยากาศมิตรภาพและอบอุ่น ที่ส่องสะท้อนให้เห็นจากความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างประเทศใกล้เคียงทั้ง สอง
๒.สองฝ่ายได้แสดงอีกครั้งถึงความเชื่อมั่นต่อกัน เพื่อผลักดันให้มีสันติภาพและความปลอดภัยตามแนวชายแดนระหว่างประเทศทั้งสอง และประสงค์จะแก้ปัญหาพรมแดนโดยสันติวิธีภายใต้มิตรภาพ สองฝ่ายรับทราบว่า ความสัมพันธ์ฉันมิตร เป็นประเทศข้างเคียงที่ดี และความร่วมมืออย่างเต็มที่ มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม
๓ สองฝ่ายได้เห็นชอบสนับสนุนความพยายามของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ต่อปัญหาเขตแดน สองฝ่ายยืนยันอีกครั้งว่า ปัญหาทั้งหมดนี้ไม่ควรกระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดี และความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองอีก
๔. สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะดำเนินการร่วมกันในกรอบคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) เพื่อยกระดับความมั่นคงทางทะเล และเพื่อสกัดกั้นกิจกรรมละเมิดกฎหมายต่าง ๆ ตามพื้นที่ชายแดน
๕. การประชุมได้เห็นชอบว่า เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจและเคารพซึ่งกันและกัน เกี่ยวข้องถึงการรายงานข่าว สองฝ่ายจะเสนอข่าวเฉพาะข้อเท็จจริงและเป็นเชิงบวก เพื่อให้มีความเข้าใจและไว้ใจกัน เป็นประเทศข้างเคียงที่ดี
๖. สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะเสริมความร่วมมือในการสกัดกั้นและการปราบปราม กิจกรรมผิดกฎหมายตามแนวชายแดน ประกอบด้วย การลักลอบขนยาเสพติด การค้าวัตถุโบราณ โจรกรรมยานยนต์ การตัดไม้ผิดกฎหมาย การตัดทำลายป่าไม้ และการข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย
๗. ให้ความสำคัญกับศูนย์ทำลายทุ่นระเบิดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในประเทศ ทั้งสอง ในการกำหนดพื้นที่สำคัญตามแนวชายแดนสำหรับการดำเนินการเก็บกู้ระเบิด ภายใต้กรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC)
๘. สองฝ่าย ได้ยืนยันความจำเป็นให้มีความร่วมมือในด้านสุขภาพสาธารณะตามแนวชายแดน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และความสุขสบายของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะจัดมาตรการตรวจสอบและสกัดกั้นโรคต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดนกและโรคเอดส์
๙. สองฝ่ายเห็นชอบเสริมความร่วมมือในด้านการอบรม ศาสนา การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม โดยความร่วมมือในด้านดังกล่าวทั้งหมดนี้ มีความสำคัญในการยกระดับความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับการเพิ่มพูนความเคารพและไว้วางใจกัน
๑๐. ฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพในการประชุมครั้งที่ ๙ ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ที่พระราชอาณาจักรไทยใน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยช่วงเวลาในการประชุมจะกำหนดภายหลังผ่านช่องทางการทูต
๑๑. (ข้อเสนอของฝ่ายกัมพูชา) สองฝ่าย ได้ยืนยันอีกครั้งที่จะปฏิบัติอย่างเต็มที่และเร่งด่วน ตามมาตรการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ออกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ​(กัมพูชา แย้งต่อไทย​) และได้เห็นชอบร่วมกันเสนอให้มีการจัดตั้งและส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ให้ได้โดยเร็ว หลังลงนามในบันทึกข้อตกลงของการประชุมครั้งที่ ๘ ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป สองฝ่าย เห็นชอบร่วมกันด้วยที่จะปรับกำลังทั้งหมดออกจากที่ตั้งประจำการปัจจุบันใน พื้นที่ปลอดทหารชั่วคราว พร้อมกันโดยโปร่งใสภายใต้การตรวจสอบของอินโดนีเซีย
๑๒. (ข้อเสนอฝ่ายไทย) สองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการ ดำเนินการเก็บกู้ทุ่นระเบิด เช่น ที่ตั้งยุทธภัณฑ์ระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (UXO) เพื่อรับประกันความปลอดภัยในพื้นที่ของจุด A B C D
ซีอีเอ็นรายงานเพิ่มเติมล่าสุด เมื่อ ๑๕.๐๖ น. การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ที่นำโดย พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ ล่าช้ากว่ากำหนด ซึ่งตามกำหนดเดิม การประชุม GBC ครั้งที่ ๘ เริ่มเวลา ๙.๓๐ น. – ๑๐.๐๐ น. โดยกองเลขานุการฯ ฝ่ายไทย รายงานผลการประชุมของกองเลขานุการคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ที่ได้ประชุมกันมาเป็นเวลา ๒ วัน ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ ธันวาคม ต่อคณะกรรมการชายแดนทั่วไปฯ เวลา ๑๐.๑๕ น. – ๑๑.๐๐ น. เป็นการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชาและไทย จากนั้น ตั้งแต่ ๑๑.๑๕ น. – ๑๒.๐๐ น. เป็นพิธีเปิดการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ การประชุม และพิธีปิด จากนั้นจะมีการถ่ายรูปและแถลงข่าวร่วมกัน แต่จนถึงเวลา ๑๕.๐๐ น. การประชุม GBC แบบปิดห้อง​หารือระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมสองประเทศยังไม่เสร็จสิ้น
แหล่งข่าวระบุว่า ฝ่ายไทยและกัมพูชากำหนดหารือใน ๕ ข้อหลัก แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการชั่วศาลของศาลโลก ประกอบด้วย ๑. การปรับกำลังทหารของสองฝ่าย ที่ประจำการในพื้นที่เขตปลอดทหารกว่า ๑๗  ตร.กม. ๒. รายละเอียดในการเข้าปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์ประเทศอินโดนีเซีย ในฝั่งไทยและกัมพูชา ฝ่ายละ ๙ คน ๓. จุดตรวจร่วม ๓ จุด ประกอบด้วย ประตูเหล็กข้ามห้วยตานี ช่องบันไดหัก และวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ๔.การจัดระเบียบวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ตลาด และชุมชนรอบปราสาทพระวิหาร และ ๕. การออกหลักเกณฑ์ในการเข้า- ออกพื้นที่ปราสาทพระวิหารของเจ้าหน้าที่ยูเนสโก
ซีอีเอ็นรายงานเพิ่มเติมว่า จนถึงเวลา ๑๗.๒๑ น. การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ยังไม่ได้ข้อยุติ การประชุมเป็นไปอย่างตึงเครียด มีการโต้แย้งกันระหว่างกองเลขานุการของสองฝ่าย ในการผลักดันออกแถลงการณ์ร่วม และแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลโลก
เมื่อเวลา ๑๘.๕๐ น. ศูนย์ข่าวต้นมะขามรายงานว่า การประชุม GBC ได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่รายละเอียดการถอนทหารยังไม่มีความชัดเจน
ซีอีเอ็นรายงานเมื่อ ๑๘.๕๕ น. ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทยและกัมพูชา เห็นชอบร่วมกันในการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในการถอนทหารออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร หากแต่ยังไม่สามารถกำหนดวันชัดเจนได้ เนื่องจากฝ่ายไทยต้องนำเรื่องไปแถลงต่อคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาก่อน
หลังจากการประชุมแบบปิดห้องหารือสิ้นสุดลง พล.อ.เตีย บัญ รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชาได้แถลงข่าว เมื่อเวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. ว่า สองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวฯ อย่างเต็มที่และโดยเร็ว ในเรื่องการถอนทหาร และเห็นชอบร่วมกันเสนอให้มีการจัดตั้งและส่งผู้สังเกตการณ์อินโดเซียเข้า ประจำในพื้นที่โดยเร็ว สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะปรับกำลังทั้งหมดพร้อมกัน ออกจากที่ประจำการปัจจุบันในพื้นที่ปลอดทหาร ตามมาตรการชั่วคราว
พล.อ.เตีย บัญ กล่าวต่อว่า “เราก็ได้เห็นชอบกัน ให้ตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อตรวจสอบการปรับกำลังทหาร และตรวจสอบการหยุดยิง ที่พื้นที่ปลอดทหาร” ส่วนในเรื่องวันที่แน่ชัดในการถอนทหารนั้น  พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา กล่าวระหว่างแถลงข่าวร่วมว่า ต่อความเห็นชอบนี้ กระทรวงกลาโหมไทย จะเอาไปแถลงต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบ แต่นเดือนนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ฝ่ายไทยจะดำเนินการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
สื่อกัมพูชารายงานว่า ผลการประชุมฯ คณะกรรมการได้ออกแถลงการณ์ร่วม ซึ่งมี ๑๒ ประเด็นดังที่ได้เสนอข้างต้น

ประชุม GBC ไทย-เขมรเห็นชอบถอนทหาร ออกแถลงการณ์ร่วม ๑๒ ข้อ

การแถลงข่าวร่วมเมื่อช่วงค่ำของ พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ภายหลังการประชุม GBC สิ้นสุดลง 

ฟิฟทีนมูฟ — สื่อเขมรรายงาน การประชุม GBC เมื่อช่วงเช้า ระดับรัฐมนตรีที่กรุงพนมเปญ รมต.กลาโหมไทย-เขมร ยืนยันจะปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวศาลโลก ในการถอนทหารและรับผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ พร้อมออกแถลงการณ์ร่วมกัน ๑๒ ข้อ ระบุการประชุม ระดับ รมต.ล่าช้ากว่ากำหนด ปิดห้องคุยยืดเยื้อ ท้ายที่สุดแถลงข่าวร่วม ระบุเห็นชอบในการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวศาลโลก ยังไม่กำหนดเวลาแน่ชัด ฝ่ายไทยขอนำเข้าที่ ครม. และ รัฐสภา
ซีอีเอ็นรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา หรือ GBC ครั้งที่ ๘ ระดับรัฐมนตรี ซึ่งฝ่ายกัมพูชา นำโดย พล.อ.เตีย บัญ รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา และฝ่ายไทย นำโดย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อช่วงเช้า (๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔) ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ สองฝ่ายได้ยืนยันจุดยืนที่จะปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ อย่างเต็มที่และโดยเร็ว ในการถอนทหารออกจากชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร และได้เห็นชอบร่วมกันเสนอให้มีการจัดตั้งและส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย เข้าไปยังพื้นที่โดยด่วน นอกจากนี้ สองฝ่ายยังเห็นชอบที่จะปรับกำลังทหารที่ประจำการปัจจุบันในเขตปลอดทหารออก พร้อมกัน

บรรยากาศการพบปะก่อนเริ่มการประชุม GBC ระหว่าง พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ ช่วงเช้าวันที่ ๒๑ ธ.ค.๒๕๕๔ บรรยากาศการพบปะก่อนเริ่มการประชุม GBC ระหว่าง พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ ช่วงเช้าวันที่ ๒๑ ธ.ค.๒๕๕๔
บรรยากาศ การพบปะก่อนเริ่มการประชุม GBC ระหว่าง พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ ช่วงเช้าวันที่ ๒๑ ธ.ค.๒๕๕๔
หลังการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ได้ออกแถลงการณ์ร่วม ๑๒ ประเด็น ดังนี้
๑. การประชุมครั้งที่ ๘ ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ระหว่างพระราชอาณาจักรกัมพูชา และพระราชอาณาจักรไทย ได้จัดขึ้นในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่กรุงพนมเปญ พระราชอาณาจักรกัมพูชา การประชุมนี้ นำโดย ประธานร่วม พล.อ.เตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในพระราชอาณาจักรไทย การประชุมดำเนินด้วยบรรยากาศมิตรภาพและอบอุ่น ที่ส่องสะท้อนให้เห็นจากความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างประเทศใกล้เคียงทั้ง สอง
๒.สองฝ่ายได้แสดงอีกครั้งถึงความเชื่อมั่นต่อกัน เพื่อผลักดันให้มีสันติภาพและความปลอดภัยตามแนวชายแดนระหว่างประเทศทั้งสอง และประสงค์จะแก้ปัญหาพรมแดนโดยสันติวิธีภายใต้มิตรภาพ สองฝ่ายรับทราบว่า ความสัมพันธ์ฉันมิตร เป็นประเทศข้างเคียงที่ดี และความร่วมมืออย่างเต็มที่ มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม
๓ สองฝ่ายได้เห็นชอบสนับสนุนความพยายามของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ต่อปัญหาเขตแดน สองฝ่ายยืนยันอีกครั้งว่า ปัญหาทั้งหมดนี้ไม่ควรกระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดี และความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองอีก
๔. สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะดำเนินการร่วมกันในกรอบคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) เพื่อยกระดับความมั่นคงทางทะเล และเพื่อสกัดกั้นกิจกรรมละเมิดกฎหมายต่าง ๆ ตามพื้นที่ชายแดน
๕. การประชุมได้เห็นชอบว่า เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจและเคารพซึ่งกันและกัน เกี่ยวข้องถึงการรายงานข่าว สองฝ่ายจะเสนอข่าวเฉพาะข้อเท็จจริงและเป็นเชิงบวก เพื่อให้มีความเข้าใจและไว้ใจกัน เป็นประเทศข้างเคียงที่ดี
๖. สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะเสริมความร่วมมือในการสกัดกั้นและการปราบปราม กิจกรรมผิดกฎหมายตามแนวชายแดน ประกอบด้วย การลักลอบขนยาเสพติด การค้าวัตถุโบราณ โจรกรรมยานยนต์ การตัดไม้ผิดกฎหมาย การตัดทำลายป่าไม้ และการข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย
๗. ให้ความสำคัญกับศูนย์ทำลายทุ่นระเบิดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในประเทศ ทั้งสอง ในการกำหนดพื้นที่สำคัญตามแนวชายแดนสำหรับการดำเนินการเก็บกู้ระเบิด ภายใต้กรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC)
๘. สองฝ่าย ได้ยืนยันความจำเป็นให้มีความร่วมมือในด้านสุขภาพสาธารณะตามแนวชายแดน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และความสุขสบายของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะจัดมาตรการตรวจสอบและสกัดกั้นโรคต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดนกและโรคเอดส์
๙. สองฝ่ายเห็นชอบเสริมความร่วมมือในด้านการอบรม ศาสนา การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม โดยความร่วมมือในด้านดังกล่าวทั้งหมดนี้ มีความสำคัญในการยกระดับความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับการเพิ่มพูนความเคารพและไว้วางใจกัน
๑๐. ฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพในการประชุมครั้งที่ ๙ ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ที่พระราชอาณาจักรไทยใน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยช่วงเวลาในการประชุมจะกำหนดภายหลังผ่านช่องทางการทูต
๑๑. (ข้อเสนอของฝ่ายกัมพูชา) สองฝ่าย ได้ยืนยันอีกครั้งที่จะปฏิบัติอย่างเต็มที่และเร่งด่วน ตามมาตรการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ออกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ​(กัมพูชา แย้งต่อไทย​) และได้เห็นชอบร่วมกันเสนอให้มีการจัดตั้งและส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ให้ได้โดยเร็ว หลังลงนามในบันทึกข้อตกลงของการประชุมครั้งที่ ๘ ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป สองฝ่าย เห็นชอบร่วมกันด้วยที่จะปรับกำลังทั้งหมดออกจากที่ตั้งประจำการปัจจุบันใน พื้นที่ปลอดทหารชั่วคราว พร้อมกันโดยโปร่งใสภายใต้การตรวจสอบของอินโดนีเซีย
๑๒. (ข้อเสนอฝ่ายไทย) สองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการ ดำเนินการเก็บกู้ทุ่นระเบิด เช่น ที่ตั้งยุทธภัณฑ์ระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (UXO) เพื่อรับประกันความปลอดภัยในพื้นที่ของจุด A B C D
ซีอีเอ็นรายงานเพิ่มเติมล่าสุด เมื่อ ๑๕.๐๖ น. การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ที่นำโดย พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ ล่าช้ากว่ากำหนด ซึ่งตามกำหนดเดิม การประชุม GBC ครั้งที่ ๘ เริ่มเวลา ๙.๓๐ น. – ๑๐.๐๐ น. โดยกองเลขานุการฯ ฝ่ายไทย รายงานผลการประชุมของกองเลขานุการคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ที่ได้ประชุมกันมาเป็นเวลา ๒ วัน ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ ธันวาคม ต่อคณะกรรมการชายแดนทั่วไปฯ เวลา ๑๐.๑๕ น. – ๑๑.๐๐ น. เป็นการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชาและไทย จากนั้น ตั้งแต่ ๑๑.๑๕ น. – ๑๒.๐๐ น. เป็นพิธีเปิดการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ การประชุม และพิธีปิด จากนั้นจะมีการถ่ายรูปและแถลงข่าวร่วมกัน แต่จนถึงเวลา ๑๕.๐๐ น. การประชุม GBC แบบปิดห้อง​หารือระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมสองประเทศยังไม่เสร็จสิ้น
แหล่งข่าวระบุว่า ฝ่ายไทยและกัมพูชากำหนดหารือใน ๕ ข้อหลัก แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการชั่วศาลของศาลโลก ประกอบด้วย ๑. การปรับกำลังทหารของสองฝ่าย ที่ประจำการในพื้นที่เขตปลอดทหารกว่า ๑๗ ตร.กม. ๒. รายละเอียดในการเข้าปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์ประเทศอินโดนีเซีย ในฝั่งไทยและกัมพูชา ฝ่ายละ ๙ คน ๓. จุดตรวจร่วม ๓ จุด ประกอบด้วย ประตูเหล็กข้ามห้วยตานี ช่องบันไดหัก และวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ๔.การจัดระเบียบวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ตลาด และชุมชนรอบปราสาทพระวิหาร และ ๕. การออกหลักเกณฑ์ในการเข้า- ออกพื้นที่ปราสาทพระวิหารของเจ้าหน้าที่ยูเนสโก
ซีอีเอ็นรายงานเพิ่มเติมว่า จนถึงเวลา ๑๗.๒๑ น. การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ยังไม่ได้ข้อยุติ การประชุมเป็นไปอย่างตึงเครียด มีการโต้แย้งกันระหว่างกองเลขานุการของสองฝ่าย ในการผลักดันออกแถลงการณ์ร่วม และแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลโลก
เมื่อเวลา ๑๘.๕๐ น. ศูนย์ข่าวต้นมะขามรายงานว่า การประชุม GBC ได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่รายละเอียดการถอนทหารยังไม่มีความชัดเจน
แผนที่เขตปลอดทหารตามมาตรการชั่วคราว มีเนื้อที่กว่า ๑๗ ตร.กม. กำหนดโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อ ๑๘ ก.ค. ๒๕๕๔
แผนที่เขตปลอดทหารตามมาตรการชั่วคราว มีเนื้อที่กว่า ๑๗ ตร.กม. กำหนดโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อ ๑๘ ก.ค. ๒๕๕๔
ซีอีเอ็นรายงานเมื่อ ๑๘.๕๕ น. ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทยและกัมพูชา เห็นชอบร่วมกันในการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในการถอนทหารออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร หากแต่ยังไม่สามารถกำหนดวันชัดเจนได้ เนื่องจากฝ่ายไทยต้องนำเรื่องไปผ่านคณะรัฐมนตรีและส่งเรื่องเข้ารัฐสภา
หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ได้แถลงข่าวร่วมกัน โดยรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา ระบุว่า “ปัญหาสำคัญ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบปฏิบัติตามมาตรการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เกี่ยวกับมาตรการชั่วคราว ให้มีความโปร่งใส เสมอภาค และแน่นอน พร้อมทั้งให้ตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อหารือปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการ ของศาลฯ ในพื้นที่ปลอดทหาร ประกอบด้วย ๑. ต้องปรับกำลังทหารทั้งหมดพร้อมกัน ที่อยู่ในที่ตั้งปลอดทหารโดยเร็วที่สุด ด้วยความโปร่งใส ภายใต้การตรวจสอบร่วม ที่มีผู้สังเกตการณ์กัมพูชา ไทย และอินโดนีเซีย ๒. ร่วมกันกำหนดและตรวจสอบที่ตั้งตรวจการณ์ในเขตปลอดทหาร ๓. การประสานงานปลอดการป้องกันในพื้นที่เขตปลอดทหาร และ ๔. ปัญหาเกี่ยวข้องอื่น ๆ”
สำหรับวันที่แน่ชัดในการถอนทหารนั้น พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา กล่าวระหว่างแถลงร่วมว่า เราได้เห็นชอบว่าจะปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวให้ได้ โดยเร็ว ในการถอนทหารและรับผู้สังเกตการณ์ หากแต่ในการปรับกำลังทหารเราต้องปรับไปตามกฎหมายของประเทศไทย ข้อตกลงนี้ กระทรวงกลาโหมของไทยจะนำไปผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบโดยเร็วที่สุด
ผลการประชุม คณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ได้ออกแถลงการณ์ร่วมหนึ่งฉบับ มี ๑๒ ประเด็น รายละเอียดดังเสนอข้างต้น
 

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตัวแทนยูเนสโกบอกเขมรทำรายงานด่วนช่วยซ่อมปราสาทพระวิหาร


นายจุจ เภือน (หมวกน้ำเงิน) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่องค์การพระวิหารของเขมรนำผู้เชียวชาญยูเนสโกที่เข้าร่วมการประชุม ICC-อังกอร์ ตรวจสอบความเสียหายปราสาทพระวิหาร เมื่อช่วงเช้า ๑๔ ธ.ค.๕๔ 

ฟิฟทีนมูฟ — เป่าหูสำเร็จ หลังพาคณะตัวแทน ICC-อังกอร์ของยูเนสโกขึ้นดูปราสาทพระวิหาร ตัวแทนยูเนสโกบอกให้เขมรทำรายงานด่วนถึงยูเนสโก เพื่อให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาซ่อมเป็นการด่วน พร้อมให้ทบทวนแก้ไขรายงานระบุจุดที่ต้องได้รับการซ่อมแซม หากปล่อยไว้จะกระทบตัวปราสาทมากกว่าเดิม
ศูนย์ข่าวต้นมะขาม (๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔) รายงานว่า กัมพูชากำลังเตรียมรายงานด่วนอีกครั้ง ส่งไปถึงคณะกรรมการถาวรยูเนสโก เพื่อให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาซ่อมแซมปราสาท ที่ได้รับความเสียหายจากการปะทะเมื่อเดือนกุมภาพันธ์

นายฮงส์ สุตต์1 (หงส์ สุทธิ์) ผู้อำนวยการองค์การพระวิหาร เปิดเผยว่า หลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญของยูเนสโก ได้เห็นความเสียหายบนปราสาทพระวิหารแล้ว คณะเจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้เสนอให้กัมพูชา ทำรายงานด่วนไปยังยูเนสโก ให้เขียนรายงานว่าส่วนไหนต้องช่วยเหลือเร่งด่วน ซึ่งกัมพูชากำลังเตรียมแก้ไขสถานที่ที่ได้รับความเสียหายเพื่อให้ผู้เชี่ยว ชาญเข้ามาซ่อมแซม
ผู้อำนวยการองค์การพระวิหาร กล่าวต่อว่า นายบูสสานากี2 ตัวแทนของคณะผู้แทนได้พบกับนายตาเบ ซาวุต3 และได้ร่วมหารือกัน โดยนายบูสสานากี ได้ให้นายสาวุต ซึ่งเป็นเลขาฯ ถาวรในสภาวัฒนธรรมนานาชาติ4 ทำรายงานด่วนเสนอไปยังนายบูสสานากี ซึ่งกัมพูชาจะติดตามผลต่อไป
นายฮงส์ สุตต์ ระบุว่า นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า กัมพูชาประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ สำหรับการเชิญให้คณะตัวแทนยูเนสโกไปตรวจปราสาทพระวิหาร ซึ่งรองรับการยิงโจมตีของไทย คณะตัวแทนทั้งหมดได้แสดงความกังวลและเสียใจอย่างมากต่อความเสียหายที่ปรากฎ และหากไม่เร่งหาวิธีซ่อมแซมให้รวดเร็ว จุดที่ถูกยิงอาจผุพังเสียหายถึงตัวปราสาทมากกว่านี้อีก
Short link: http://15th.me/rwrqfC

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำเตือนถึงนายกฯ หญิงกรณีปราสาทพระวิหาร

เรียนท่านนายกฯ หญิงคนแรกของประเทศไทย ในฐานะที่ผมทำการศึกษาเรื่องปราสาทพระวิหารซึ่งเป็น ปัญหาอยู่ในปัจจุบันนี้ ผมอยากให้ท่านนายกฯ หญิงได้โปรดเข้าใจว่า การตัดสินของศาลโลกเมื่อปี 2505 ในคดีปราสาทพระวิหารนั้นรัฐบาลไทยไม่เคยยอมรับคำตัดสิน รัฐบาลของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งราชอาณาจักรไทยได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะทวงคืนตัว ปราสาทพระวิหารจากประเทศกัมพูชาไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) และไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลกที่ไม่ยุติธรรมกับประเทศไทยในกรณีคดีปราสาท พระวิหารด้วยการใช้กฎหมายปิดปาก โดยหนังสือดังกล่าวทำในนามรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงนามโดย ฯพณฯ พันเอก ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต่อนายอูถัน รักษาการเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
      
       สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐภาคีไทยและรัฐภาคีกัมพูชาต่อ กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารก็เพราะว่าแผนบริหารการจัดการของกัมพูชา ที่เสนอมานั้นได้ล่วงละเมิดอธิปไตยของรัฐภาคีไทย จนในที่สุดได้มีการลาออก จากการเป็นรัฐภาคีของฝ่ายไทย
      
       ตลอดระยะเวลาของสมัยประชุมครั้งที่ 31 จนถึงสมัยประชุมครั้งที่ 35 นี้ การกระทำของรัฐภาคีประเทศกัมพูชายังดำเนินรุกรานและครอบครองดินแดนประเทศ ไทยอยู่อย่างต่อเนื่อง คือ ตลอดแนวชายแดน กระทำของรัฐภาคีประเทศกัมพูชาได้ส่งกองกำลังทหารและประชาชนเข้ามาอาศัยในดิน แดนของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
      
       มติคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 5 ครั้งที่ผ่านมา ได้สร้างความแตกแยกของรัฐภาคีทั้งสองประเทศลุกลามบานปลายไปสู่เวทีนานาชาติ เกิดการแตกแยกในหมู่มิตรประเทศ เกิดการปะทะกันจนมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและเกิดการอพยพของประชาชนชาวไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน สร้างความเสื่อมเสียทางเสรีภาพในการทำมาหากินและใช้ ชีวิตของประชาชนชาวไทยรอบๆ ดินแดนที่คณะกรรมการมรดกโลกให้เป็นพื้นที่บริหารการจัดการ รวมไปถึงปราสาทพระวิหารกลายเป็นที่สะสมอาวุธยุทโธปกรณ์และกลายเป็นสมรภูมิรบ กันอย่างดุเดือดมีการใช้จรวดและกระสุนปืนใหญ่ยิงตอบโต้กัน
      
       ผมจึงขอเรียนให้ท่านนายกฯ หญิงได้ทราบเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกครั้ง เพราะอาจไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนกล่าวคือ
      
       1. เขตแดนไทย-กัมพูชาได้ปักปันเสร็จสิ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 เฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารได้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน และสันปันน้ำนี้ได้ทำให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนประเทศไทย
      
       2. คณะกรรมการมรดกโลกได้กระทำการฝ่าฝืนอนุสัญญาในหมวดที่ 2 ว่าด้วยการคุ้มครองป้องกันมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติในระดับชาติ และระดับนานาชาติ มาตรา 4 (มรดกทางวัฒนธรรมต้องอยู่ในดินแดนของตน) มาตรา 5 (มรดกโลกทางวัฒนธรรมอยู่ในเขตอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐภาคี) มาตรา 6 (ด้วยความเคารพสูงสุดต่ออำนาจอธิปไตยแห่งรัฐอันเป็นที่ตั้งของมรดกโลกทาง วัฒนธรรม) จากทั้ง 3 มาตราที่ยกขึ้นอ้างนี้ คณะกรรมการมรดกโลกและรัฐภาคีกัมพูชา ต่างละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ด้วยการรุกรานดินแดนรัฐภาคีสมาชิกประเทศไทย ด้วยการออกมติสนับสนุนรัฐภาคีประเทศกัมพูชา ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เพราะดินแดนโดยรอบปราสาทพระวิหารยังเป็นดินแดนของประเทศไทยและประเทศไทยได้ ใช้อำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์มาก่อนด้วยการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเขาพระ วิหารไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 โดยที่รัฐภาคีประเทศกัมพูชาไม่เคยโต้แย้งแต่อย่างใด
      
       อนึ่ง ในมติของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท หากแต่พื้นที่รอบๆ นั้นก็ยังเป็นของรัฐภาคีประเทศไทยตามที่ศาลปกครองกลางและศาลรัฐธรรมนูญของ ไทยได้ทำการวินิจฉัยไว้ การกระทำของคณะกรรมการมรดกโลกจึงเป็นการตัดสินภายใต้พื้นฐานการรุกรานรัฐ ภาคีสมาชิกอย่างเห็นได้ชัด โดยการหยิบยื่นดินแดนของรัฐภาคีประเทศไทยให้กับรัฐภาคีประเทศกัมพูชา นำไปขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและรวมถึงแผนบริหารจัดการที่เข้าสู่วาระการ ประชุมครั้งที่ 36 ที่กำลังจะถึงกลางปีหน้านี้ด้วย
       
       3. คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร ได้ตัดสินเพียงให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาไม่เคย ตัดสินเรื่องดินแดน และศาลไม่ได้ตัดสินแผนที่หรือยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่รัฐภาคีประเทศกัมพูชาเคยเสนอไว้และนำมาใช้เป็นหลักฐานในการทำแผนบริหาร การจัดการและการขึ้นทะเบียนตัวปราสาท
       
       4. ราชอาณาจักรไทยมีรัฐธรรมนูญการปกครองเป็นของตนเอง มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์หรือที่ประชาชนชาวไทยส่วนหนึ่งเทิดพระเกียรติพระนามเป็น พระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินมีความหมายว่า “เจ้าของแผ่นดิน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงใช้อำนาจผ่านฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงคุณอัน ประเสริฐ ทรงเป็น “มหาราช” มีพระเกียรติยศเลื่องลือในสังคมนานาประเทศ ด้วยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรของพระองค์อย่างหาที่เปรียบมิได้ ในปี ค.ศ. 2011 ทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา ประเทศไทยแม้เป็นรัฐภาคีสมาชิกที่จะต้องปฏิบัติตามพันธสัญญาที่ให้ไว้ก็ตาม แต่การสูญเสียดินแดนและอธิปไตยของชาติเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่กว่า ราช อาณาจักรไทยต้องสูญเสียดินแดนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่ง เป็นเรื่องที่ประชาชนชาวไทยยอมรับไม่ได้
      
       ดังนั้น ผมจึงเรียนข้อมูลเบื้องต้นนี้มาให้ท่านนายกฯ หญิงได้ทราบ โดยหวังว่าจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ ศึกษา ตรวจสอบข้อมูลก่อนการตัดสินใจเข้าไปร่วมเป็นรัฐภาคีอีกครั้งหนึ่ง (ทางที่ดี ผมไม่เห็นด้วยเลยที่ประเทศไทยจะกลับเข้าไปเป็นรัฐภาคีอีก) 


        ผม จำได้ว่าคุณสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ทำหนังสือยืนยันจากกระทรวงการต่างประเทศต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทยเมื่อปี พ.ศ. 2551 ให้ทหารถืออาวุธคอยอารักขาเจ้าหน้าที่จากยูเนสโกที่เข้ามาตรวจพื้นที่และคอย ควบคุมไม่ให้กัมพูชาใช้บันไดทางด้านทิศเหนือของตัวปราสาทเพราะเป็นดินแดน ประเทศไทย แต่ถ้าหากกัมพูชาจะขึ้นมาก็ให้ใช้บันไดทางขึ้นด้านช่องบันไดหักแทน รัฐบาลคุณสมชาย ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่เขย (ลุงเขย) ของนายกฯ หญิงได้ยืนยันถึงพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารว่าเป็นของไทยอย่างชัดเจน
      
                 ผมอยากขอบอกท่านนายกฯ หญิงอีกสักเรื่องหนึ่งว่าก่อนหน้าที่รัฐบาลของคุณชวน หลีกภัย จะไปทำข้อตกลงไทย-ลาว เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539 และ MOU 43 สภาพโดยทั่วไปของ “เขาพระวิหาร” เมื่อ พ.ศ. 2543 พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทย เรามีรั้วลวดหนามที่ล้อมตัวปราสาทไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีปี พ.ศ. 2505 ดังนั้นนอกรั้วลวดหนามทหารพรานและกองทัพภาคที่ 2 เป็นผู้ดูแลอย่างชัดแจ้ง เพราะเราได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ในฐานะเป็นประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ประเทศจึงจำใจต้องให้อำนาจอธิปไตยที่ตัวปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา หรือพูดง่ายๆ ก็คือเราให้อำนาจอธิปไตยเป็นเพียงแค่ซากปรักหักพังแต่มิได้ยกดินแดนให้ พื้นที่ทับซ้อนจึงอยู่ตรงบริเวณพื้นที่ที่รองรับตัวปราสาทพระวิหาร แต่ในขณะเดียวกัน เราได้มีหนังสือตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกคืนตัวปราสาทในอนาคตโดยได้กระทำ ต่อหน้าสมาชิกของสหประชาชาติผ่านรักษาการเลขาธิการของสหประชาชาติในเวลานั้น
      
                  ตามหนังสือของกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 กับทั้งมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 เราไม่ได้ยกดินแดนโดยรอบและดินแดนใต้ตัวปราสาทให้แก่กัมพูชา แต่เราให้กัมพูชาเข้ามาใช้อำนาจในบริเวณที่ตัวปราสาทโดยเว้นด้านช่องบันได หักเพื่อให้กัมพูชาได้เข้ามาได้ และประเทศไทยได้ล้อมรั้วลวดหนามยาว 7,000  เมตร ครอบตัวปราสาทพระวิหารคิดเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 150 ไร่ เรายังได้จัดทำป้ายทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส โดยมีเนื้อหาใจความว่า นี่คือเขตอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร จากคำสัมภาษณ์ของจอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม และจอมพลประภาส ให้การตรงกันว่า เราไม่ได้ยกดินแดนแต่เราให้เขมรใช้ที่ดินที่รองรับตัวปราสาทกับทั้งอำนาจ อธิปไตยที่ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา (ชั่วคราว) ตามคำตัดสินของศาลโลกภายใต้การสงวนสิทธิ์และไม่ยอมรับคำตัดสิน
      
        ด้วยเหตุนี้ ผมจึงขอเตือนนายกฯ หญิงยิ่งลักษณ์ว่าเรามิได้ยกดินแดนโดยรอบให้กับกัมพูชาแต่อย่างใด และการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกอันเกิดขึ้นจากความต้องการของ กัมพูชาที่จะให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่ การที่ศาลมีอำนาจในการตีความนี้เป็นการรู้เห็นเป็นใจทั้งฝ่ายกัมพูชาและศาล เมื่อเราเดินทางไปศาลเพื่อแก้ข้อกล่าวหาของกัมพูชา ศาลกลับยกคำคัดค้านของฝ่ายไทย (อันนี้เป็นเพราะข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศบางคนทำสำนวนอ่อน)
      
        อย่างไรก็ดี แผนผังที่ปรากฏตอนท้ายของการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลนั้น ฝ่ายกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชาจับยัดมือให้ศาลโลก กัมพูชาจึงได้เปรียบไทยและประเทศไทยของเราอาจสูญเสียดินแดน การที่ท่านนายกฯ หญิงเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อขอความเห็นและมติเรื่องการถอนทหารออกจากพื้นที่ ตามคำสั่งของมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลนั้น ย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดนอย่างยิ่ง เพราะประเทศไทยทั้งรัฐบาลคุณชวน หลีกภัย และคุณทักษิณ ชินวัตร ต่างยอมรับแผนที่ 1:200,000 ให้มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันมีผลมาจากการทำความตกลงไทย-ลาว MOU 43 และ TOR 46
      
                    ดังนั้นศาลโลกและโดยการสนับสนุนจากหลักฐานอย่างแข็งขันของกัมพูชาและการทำ สำนวนอ่อนด้อยของฝ่ายไทย ศาลโลกย่อมเข้าใจว่าประเทศไทยยินดีใช้แผนที่เก๊มาตราส่วน 1:200,000 ที่ไม่ใช่ผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนฯ และศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ก็ไม่เคยตัดสินแผนที่และเส้นเขตแดนบนแผนที่เก๊เลย แต่คราวนี้ประเทศไทยจะต้องสูญเสียดินแดนและอับอายขายหน้าไปทั่วโลก เพราะเรานำแผนที่เก๊ไปใช้ต่อประเทศเพื่อนบ้านให้มีผลผูกพันดังที่กล่าวมา ข้างต้น ศาลโลกต้องเข้าใจต่อไปว่าการที่ฝ่ายกัมพูชาเสนอแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ระวางดงรักเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก และศาลโลกก็เป็นเพราะว่าไทยยอมรับแผนที่ตาม MOU 43 และ TOR 46 กับทั้งที่มีประจักษ์พยานว่าฝ่ายไทยได้ยอมรับแผนที่แล้วจากการไปทำความตกลง ไทย-ลาว
      
        ผมจึงอยากขอเสนอให้ท่านนายกฯ หญิงกล้าตัดสินใจยกเลิกความตกลงไทย-ลาว MOU 43 และ TOR 46 เพื่อแก้ไขสถานการณ์และอย่าไปศาลโลกเลย เพราะศาลโลกเป็นศาลที่อยุติธรรมกับประเทศไทยเสมอมา อนึ่ง ผมไม่อยากให้ประเทศไทยอันเป็นที่รักของพวกเราชาวไทย ต้องสูญเสียดินแดนเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมี พระชนมายุครบ 84 พรรษาเลย เพราะจะเป็นเรื่องน่าอายระดับที่ไทยยังต้องสูญเสียดินแดนอีกในปัจจุบัน


       ด้วยความปรารถนาดีที่คิดในเชิงบวกว่าท่านนายกฯ หญิงมิได้รู้เรื่องปราสาทพระวิหารเลย เพราะ
      
        1. เกิดไม่ทัน
      
        2. เมื่อเกิดไม่ทันแล้วก็ไม่เคยศึกษา
      
        3. รัฐบาลนอมินีพี่ชาย (พ่อ) ไปทำจนเสียเรื่องด้วยการปล่อยให้เขมรขึ้นมาอยู่บนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ
      
        4. รัฐบาลคุณสมชายพี่เขย (ลุงเขย) ก็ปล่อยให้เขมรเขามา แต่ก็ยังดีที่ยืนยันว่าพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทย
      
        5. การเป็นนายกฯ หญิงงานเยอะผมรู้ผมเข้าใจแต่ไม่ให้อภัย เพราะการเป็นนายกฯ ไม่ใช่เด็กทดลองงานบริษัท และช่วงนี้งานเข้า จึงอาจไม่มีเวลาใส่ใจต่อปัญหาปราสาทพระวิหาร
      
        6. นายกฯ หญิงกังวลเรื่องพี่ชาย (พ่อ) เรื่องการอภัยโทษมากเป็นพิเศษจนลืมเรื่องของประเทศชาติและการสูญเสียดินแดน
      
        7. นายกฯ หญิงใครๆ ก็รู้ว่าพี่ชาย (พ่อ) เลือกมาให้เป็นนายกฯ ดังนั้นไม่เคยได้เตรียมตัวหรือหาความรู้ในฐานะและตำแหน่งความเป็นนายกฯ มาล่วงหน้า จึงออกอาการโง่หลายต่อหลายครั้ง ไม่รู้แม้กระทั่งเดือนพฤศจิกายนเพราะเธอเชื่อว่าคือเดือนพฤศจิกาคม
      
        8. เรามีนายกฯ เครื่องสำอางสินค้าแบรนด์เนม การบ้านการเมืองไม่รู้เรื่องแต่การมุ้งผมก็มิอาจก้าวล่วงที่จะรู้ได้
      
        ดังนั้นด้วยเหตุนี้ด้วยคะแนน 10:0 ผมจึงต้องให้ข้อมูลท่านนายกฯ หญิงเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
      
        ในคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสิน ศาลได้ตัดสินตามคำฟ้องของกัมพูชา เมื่อกัมพูชาเสนอคำฟ้อง กัมพูชาเสนอให้ศาลตัดสินว่า “ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนพื้นที่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา” และอื่นๆ อีก 2 ข้อ ประเด็นของเรื่องจริงอยู่ที่ว่าจะตีความคำพิพากษาอย่างไรเพื่อให้เป็นไปตาม ที่ศาลได้ตัดสินและกัมพูชายอมรับ  ฝ่ายไทยในเวลานั้นโดยเฉพาะศาสตราจารย์อังรี โรแลง ที่เป็นหนึ่งในคณะทนายความของไทยและมีความสัมพันธ์อันดีต่อศาลโลก ได้เสนอความเห็นไว้ว่าศาลไม่ได้ตัดสินแผนที่และเส้นเขตแดนบนแผนที่ซึ่งเป็น ผลดีต่อไทย ศาลได้แค่อำนาจอธิปไตยที่ตัวปราสาทพระวิหาร
      
        ต่อมาเมื่อกระทรวงการต่างประเทศได้แปลคำพิพากษา และฝ่ายไทยได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์ไม่เห็นด้วยต่อคำตัดสินของศาลโลก กระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมี ความสัมพันธ์พิเศษกับนายกรัฐมนตรี(จอมพลสฤษดิ์) ได้จัดการประชุมนัดพิเศษโดยมีผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาเนื่องจากไทยเป็นสมาชิกของ องค์การสหประชาติ การประชุมครั้งนั้นได้เลือกวิธีที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
      
        กล่าวคือให้จัดทำรั้วลวดหนามความยาวประมาณ 7,000 เมตรล้อมอาณาบริเวณรอบตัวปราสาทพระวิหาร จัดทำป้ายแสดงอาณาบริเวณ และกำชับให้เจ้าหน้าที่ห้ามคนเข้าออกบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยได้เสนอเป็นมติคณะรัฐมนตรี เมื่อมติคณะรัฐมนตรีออกมาในวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 ได้ย้ำให้เห็นว่าให้คืนพื้นที่ที่รองรับตัวปราสาทเท่านั้น
      
        พูดภาษาชาวบ้านก็คือพื้นดินที่รองรับตัวปราสาทเพื่อให้กัมพูชาได้เข้ามาใช้ อำนาจอธิปไตยที่ปราสาทพระวิหาร โดยฝ่ายไทยเป็นผู้ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาที่ตัดสินว่า “ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนพื้นที่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา” ฝ่ายไทยได้อนุญาตให้กัมพูชาขึ้นมาที่ตัวปราสาทตรงช่องบันไดหักตามมติคณะ รัฐมนตรี เมื่อเราได้ดำเนินการสร้างรั้วลวดหนามครอบตัวปราสาทเสร็จแล้ว เราได้รายงานอย่างเป็นทางการไปถึงองค์การสหประชาชาติและบอกต่อกัมพูชา ด้วยเหตุนี้กษัตริย์สีหนุจึงเสด็จมายังช่องบันไดหัก (บันไดของคนวรรณะต่ำในศาสนาพราหมณ์) เพื่อขึ้นมาเป็นประธานในพิธีชักธงขึ้นเสาแสดงอำนาจอธิปไตยตามคำพิพากษา
      
        ดังนั้นการที่สมเด็จฮุนเซนส่งกองกำลังทหารติดอาวุธเข้ามายังอาณาบริเวณนอก รั้วลวดหนามที่เราล้อมรอบตัวปราสาท การตัดถนนจากบ้านโกมุยฝั่งเขมรขึ้นมายังตัวปราสาทพระวิหารทำลายอุทยานแห่ง ชาติเขาพระวิหารของไทยขึ้นมาตั้งวัดแก้วฯ ซึ่งเป็นวัดเถื่อนในดินแดนประเทศไทย กับทั้งยังทำแผนบริหารจัดการมรดกโลกรุกล้ำดินแดนประเทศไทย แบบนี้ถือว่าสมเด็จฮุนเซนตั้งใจเข้ามายึดดินแดนประเทศไทย ทั้งสมเด็จสีหนุและบ่าวอย่างนายฮุนเซนต่างสมรู้ร่วมคิดเข้ามายึดดินแดนของ ไทยไป ในฐานะนายกรัฐมนตรีจึงต้องสั่งการให้ทหารเข้าไปยึดดินแดนประเทศไทยของเราคืน มา
      
        ในท้ายของบทความวันนี้ ผมจึงขอเรียกร้องให้ท่านนายกฯ หญิงของคนไทยคนแรก และอาจเป็นคนสุดท้ายโปรดสั่งการให้ทหารเข้ายึดพื้นที่คืนและไล่ทหารเขมรออก ไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลโลกและเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี 10 กรกฎาคม 2505 ผมได้ฟังว่าท่านนายกฯ หญิงบอกว่าจะเชื่อฟังศาลโลก นี่ไงผมก็ได้บอกข้อมูลแล้วและให้ดีเราทวงปราสาทพระวิหารคืนตามข้อสงวนสิทธิ์ ที่ไม่มีอายุความ ถ้าทำได้ผมให้ทักษิณที่เป็นพี่ชาย (พ่อ) กลับมาประเทศ และผมขอสัญญาว่าจะเข้าไปขอขมาก้มลงกราบตีนเลย 55555555555
       นับตั้งแต่ศาลโลกได้ตัดสินคดีปราสาทพระวิหารเมื่อ พ.ศ. 2505 ประเทศไทยได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกคืนตัวปราสาทพระวิหารในอนาคตตามข้อ กำหนดของตัวบทกฎหมายและต่อมาเราได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกตามมติคณะ รัฐมนตรีเมื่อวันที่10 กรกฎาคม 2505 ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ เราได้กั้นอาณาบริเวณด้วยรั้วลวดหนาม (ไม่เคยยกดินแดนให้เขมร) ให้เขมรเข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยที่ตัวปราสาทตามคำตัดสินของศาลโลก รั้วลวดหนามที่มีความยาว 7,000 เมตร และการจัดทำป้ายแสดงอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาจนกระ ทั่วถึง พ.ศ. 2543 ป้ายอาณาบริเวณถูกทำลาย พ.ศ. 2546
      
        ประตูเหล็กที่เชิงบันไดนาคถูกรื้อทิ้งด้วยน้ำมือของนายอำเภอกันทรลักษ์ (ห่างจากบันได 20 เมตร) แต่รั้วลวดหนามที่ล้อมรอบตัวปราสาทยังคงปรากฏอยู่ ภรรยาชาวเขมรที่เป็นเจ้าหน้าที่ใช้สำหรับตากเสื้อผ้า เสาเหล็กที่ขึงรั้วลวดหนามบางตอนนำไปเป็นส่วนประกอบของเพิงพักชาวเขมร ฝ่ายราชการไทยไม่ว่าจะเป็นฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือนต่างปล่อยปละละเลยให้เขมรขนคนขึ้นมาอาศัยอยู่ในและนอกอาณาบริเวณ ที่เรากั้นรั้วลวดหนามเอาไว้ และสำหรับคนไทยทั้งหลายในประเทศนี้ต่างก็เชื่อสนิทใจว่าปราสาทพระวิหารเป็น ของเขมรไปแล้ว โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาก็ไม่เคยสั่งสอนให้นักเรียนนักศึกษาได้รู้ว่าศาลโลก ได้ตัดสินอย่างฉ้อฉลและลำเอียงเข้าข้างฝ่ายเขมรด้วยการตัดสินตามกฎหมายปิด ปาก (ตามอำเภอใจ)
      
        ตลอดจนถึงครูบาอาจารย์ประวัติศาสตร์ก็ไม่สนใจที่จะให้นักเรียนนักศึกษาได้ ล่วงรู้ความจริงสำหรับเรื่องนี้เลย ต่างสอนว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมรไปแล้วโดยตัดตอนเนื้อหารายละเอียดและ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกไป แม้แต่การที่คณะรัฐมนตรีรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ได้ไปตั้งข้อสงวนสิทธิ์ไว้ที่สห ประชาชาติ การล้อมรั้วลวดหนามให้เขมรเข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยเป็นการชั่วคราวจนกว่า ประเทศไทยจะทวงปราสาทพระวิหารคืน หรือการอธิบายว่าประเทศไทยเรายังครอบครองอาณาบริเวณโดยรอบและเราคืนอำนาจ อธิปไตยโดยให้พื้นที่ที่รองรับตัวปราสาทเท่านั้น ก็ไม่เคยสั่งสอนหรือสำเหนียกต่อเรื่องนี้
      
        นอกจากนี้ฝ่ายทหารเองก็ไปจัดทำแผนที่ที่ผิดพลาด ระวาง L7017 ไประบุว่าตรงรั้วลวดหนามนั้นคือพรมแดนตรงจุดนี้ก็ยิ่งทำให้เกิดความเข้าใจ ผิดไปในวงกว้าง (แม้แต่รัฐมนตรีต่างประเทศคุณนพดลก็ยังเข้าใจผิดเลย )
      
        ผมไม่แปลกใจเลยว่าผู้คนทุกระดับในสังคมไทยจะไม่ใส่ใจต่อเรื่องนี้ทุกคนกลับ เชื่อสนิทว่าปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเป็นของเขมร แม้แต่ครูบาอาจารย์ของผมเองก็เชื่อเช่นนั้น
      
        ผมอยากจะบอกท่านนายกฯ หญิงว่า แม้แต่กระทรวงการต่างประเทศถ้าฝ่ายธรรมะยืนยันอย่างรุนแรงกระทรวงการต่าง ประเทศจะออกมายืนยันว่าพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทย แต่ถ้าเมื่อไหร่ฝ่ายอธรรมเข้าครอบครองกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงนี้ก็จะยืนยันว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน (ทับซ้อนเตี่ยมึงซิ)
      
        หลังจากคุณอภิสิทธิ์หมดวาระการเป็นนายกฯ รัฐบาลของท่านนายกฯ หญิงก็ทำการสับเปลี่ยนผู้คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเรื่องนี้โดยเฉพาะผู้ แทนไทยที่จะไปสู้คดีที่เขมรขอตีความคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ก็เอาคนของตัวเองเข้ามาโดยมิได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถ คุณธรรมและจิตใจที่พร้อมจะปกป้องผืนแผ่นดิน บางคนยังมีฐานะทางจิตวิญญาณเป็นคนของสมเด็จฮุนเซนเสียด้วยซ้ำเพราะมี พฤติกรรมเข้าข้างลำเอียงไปทางฝ่ายเขมรอย่างเห็นได้ชัดมาตลอด
      
        เมื่อพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นของไทย กับทั้งตัวปราสาทพระวิหารฝ่ายไทยได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์เอาไว้ ดังนั้นการที่ฝ่ายเขมรนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนต่อคณะกรรมการมรดกโลกก็ ถือว่าเป็นการนำเอาดินแดนและอธิปไตยของไทยบนพื้นที่โดยรอบเอาไปขึ้นทะเบียน เป็นของประเทศเขมร ผมก็ไม่รู้ว่าเป็นความโง่เขลาเบาปัญญาของคณะรัฐมนตรีหรือข้าราชการที่เกี่ยว ข้องซึ่งปล่อยให้เขมรกล้ากระทำเช่นนี้มาตั้งแต่พ.ศ. 2550
      
        “เขมรมีชัยๆ” 55555 หรือนัยว่าเมื่อ พ.ศ. 2505 สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุได้รับชัยชนะด้วยคำตัดสินอันฉ้อฉลของศาลโลก ฝ่ายไทยจำยอมที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาเราสูญเสียอำนาจอธิปไตยที่ตัว ปราสาท โดยไปกั้นรั้วลวดหนามให้เขมรเข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยได้ เขมรต้องปีนขึ้นมาทางด้าน “ช่องปันไดหักW ส่วนด้านทิศเหนือซึ่งเป็นทางขึ้นหลักจากบันไดสิงห์ขึ้นมาถึงบันไดนาคฝ่ายไทย ได้ปิดประตูตาย พอมาถึงรัฐบาลภายใต้การนำของสมเด็จฮุนเซนได้ส่งกองกำลังติดอาวุธเข้ามายึด ดินแดนโดยรอบปราสาทพระวิหาร และดินแดนที่ไม่เคยเกี่ยวข้องในคดีนี้ คือ บริเวณภูมะเขือ (เขมรมาตั้งเรดาร์) ก็พลอยฟ้าพลอยฝนถูกเขมรเอาไปด้วย
      
        สรุป สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุได้อำนาจอธิปไตยจากศาลชั่ว (ศาลโลกคณะเก่า)ส่วนสมเด็จฮุนเซนได้ดินแดนโดยรอบของไทยโดยมีตรายางของคณะ กรรมการมรดกโลกและตราประทับจากศาลโลก (คณะใหม่)
      
        ดังนั้น ด้วยฝีมือการบริหารประเทศที่ไม่เอาอ่าวของท่านนายกฯ หญิง บวกกับทหารไทยที่มีแต่น้ำพริกไร้น้ำยานั่งทำตาปริบๆ คอยรับคำสั่งจากนักการเมือง คนอย่างผมคงไม่มีปัญญาไปบังคับพวกท่านให้ปกป้องรักษาอธิปไตยและดินแดน คนอย่างผมทำได้แค่เขียนบันทึกประวัติศาสตร์ว่าใครดีใครชั่ว ทำอะไรที่ไหนอย่างไรกับกรณีปราสาทพระวิหาร ผมได้ตัดสินพวกท่านไปนานแล้วว่าเป็น “คนประเภทไม่รักแผ่นดิน” แต่สำหรับลูกหลานในอนาคตผมมิอาจคาดเดาได้ว่าเขาจะตัดสินและจะโจษจันชื่อและ นามสกุลของพวกท่านไว้ว่าอย่างไร
      
        ถ้าให้ผมเดาเอาผมคิดว่า “พวกท่านละทิ้งหน้าที่ขายชาติขายแผ่นดินเฉลิมฉลองวโรกาสครบ 7 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยของคนที่เขารักในหลวงทั้งแผ่นดิน แลพวกท่านยังเป็นลูกกระจ็อกงอกง่อยของสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุนเซนอีกด้วย” ฮุนเซนจงเจริญ ฮุนเซนจงเจริญ ฮุนเซนจงเจริญ 55555555




โดย เทพมนตรี ลิมปพยอม




วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จดหมายจากคุกเปรซอร์

กราบนมัสการท่านสมณะ

ดิฉัน ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ เขียนจากคุกเปรซอร์ ฝากจดหมายฉบับนี้ ผ่านมาทางเพื่อน ชื่อตุ๊ก เพราะตุ๊กจะไปทานข้าวที่สันติอโศกเป็นประจำ และที่ไม่ระบุว่า ต้องเป็นท่านสมณะรูปใด เพราะไม่อยากให้ต้องลำบากกับคนฝาก

เนื่องจากมีเรื่องจะขอเรียนปรึกษา เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม อยู่ที่นี่มีเวลา อ่านหนังสือ ของพ่อท่าน ได้มาก การปฏิบัติธรรมที่เกี่ยวกับจิตของตัวเองล้วนๆ เพราะผัสสะทางกาย วาจา มีน้อยมาก (เพราะสื่อสารกับคนอื่นไม่ได้ ไม่เข้าใจภาษา) ตอนนี้ ฝึกกิน ๒ มื้อ ระหว่างมื้อ ไม่กินจุกจิก ทำได้ ไม่มีปัญหา และตั้งใจไม่กินขนม (ซึ่งเป็นของชอบมากๆ) ยกเว้นผลไม้และน้ำผลไม้ ยังต้องใช้ชีวิตกดข่มอยู่

ได้อ่านหนังสือ สมาธิพุทธ ๔ รอบ, เจริญชีพด้วยการก้าว ๓ รอบ และหนังสืออื่นๆ อีกประมาณ ๔ เล่ม (หลักการปฏิบัติตนให้บริสุทธิ์, ความรัก ๑๐ มิติ, พุทธคือ อเทวนิยม, คนคืออะไร) อ่านสารอโศก สัปดาห์ละ ๑ เล่ม และดอกหญ้า ประมาณ ๓ สัปดาห์ได้ ๑ เล่ม

อยากเรียนถามท่านสมณะ จะฝึกให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ให้สติอยู่กับปัจจุบัน จะทำได้อย่างไร พยายามแล้ว แต่ไม่ก้าวหน้า กิจกรรมที่ทำเวลาอยู่ที่นี่ เป็นกิจกรรม ที่ทำได้โดยอัตโนมัติ เช่นซักผ้า กวาดบ้าน สติเลยหลุดอยู่เสมอ แม้แต่เวลาสวดมนต์ ก็พยายามให้สติอยู่กับบทสวด ก็ยังทำไม่ได้ตลอด แต่ก็พยายามฝึกพิจารณา อารมณ์จิตที่เกิด ว่าผิดศีลข้อไหนบ้าง ตามทันบ้าง ไม่ทันบ้าง และหาเหตุพิจารณา ให้เกิดปัญญาให้ได้ อยากได้คำชี้แนะ และวิธีการฝึกเจโตสมถะ

ก่อนหน้านี้เขียนจดหมายออกมาคุยกับคนอื่นๆหลายคน เขียนมาขอให้ช่วยหาหนังสือ ทางเอก, เปิดโลกเทวดา และถามตอบปัญหาการปฏิบัติธรรม เขียนมาถามถึงเรื่อง เหตุการณ์ ในกลุ่มที่คบคุ้น ว่ามีอะไรบ้าง เพราะอยากเปิดรับผัสสะ เพื่อจะได้ฝึกตัวเอง เพราะอยู่ที่นี่ มีเวลาพิจารณาจิต ของตัวเองได้มาก แต่ทุกครั้งก็เงียบหาย ไม่มีใครหือ... ใครอือ...อะไรกลับมาเลย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร ไม่อยากให้รับรู้เรื่อง ที่จะทำให้ ไม่สบายใจ หรือ ฯลฯ หนังสือที่ให้ช่วยหา ก็ไม่ได้รับคำตอบว่าไม่ได้เพราะอะไร หาไม่ได้ หรือไม่อยากให้งมงาย

มีความมั่นใจว่า ถ้าท่านสมณะเมื่อได้อ่านจดหมายฉบับนี้แล้ว ท่านคงไม่นิ่งดูดาย ไม่ตอบกลับมาแน่ ฉะนั้น ถ้ายังไม่ได้รับคำตอบอีก ก็คงเป็นเพราะเหตุอื่น ถ้าเป็นด้วยเหตุอื่น ซึ่งไม่รู้ว่าอะไร ก็ป่วยการที่จะเขียนอะไรออกมาอีกแล้ว จดหมายฉบับนี้ ก็จะเป็นฉบับสุดท้าย ที่จะสื่อสารกับคนภายนอก

จึงเรียนมาเพื่อขอพึ่งใบบุญจากท่านสมณะ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ขอน้อมกราบพ่อท่าน ท่านสมณะ ท่านสิกขมาตุและญาติธรรมทุกท่าน

ราตรี
๒๑-๑๐-๕๔ ณ เปรซอร์

ปล. ถ้าท่านจะตอบ ขอให้ช่วยเป็นการพิมพ์ เพราะจะผ่านการตรวจได้ง่ายกว่าลายมือเขียน และ ถ้าท่านต้องการติดต่อกับตุ๊ก คนที่นำจดหมายมา ท่านสามารถติดต่อ โดยผ่านพี่ดินนา (FMTV)





 

สำนึกดี คุณราตรี

อาตมาเพิ่งได้รับจดหมายจากคุณวันที่ ๔ พ.ย.๕๔ ซึ่งพ่อท่านก็เพิ่งได้รับมา แล้วมอบหมาย ให้อาตมาตอบ ก่อนหน้านี้ได้เห็นคุณตุ๊ก มารับอาหารแห้ง บอกว่า จะฝากแม่คุณวีระ มาเยี่ยมคุณ แต่ไม่ได้พูดคุย ถามไถ่กันเท่าไรนัก ดีเลย จดหมายคงเป็นโอกาส ให้ได้คุยกันในฉบับนี้เลย

คุณถามว่า จะฝึกให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ให้สติอยู่กับปัจจุบันได้อย่างไร ? (พยายามแล้ว แต่ไม่ก้าวหน้า กิจกรรมที่ทำอยู่ เป็นกิจกรรมที่ทำได้โดยอัตโนมัติ เช่น ซักผ้า กวาดบ้าน.... สติเลยหลุดอยู่เสมอ ..แม้แต่เวลาสวดมนต์ ก็พยายามให้สติอยู่กับบทสวด ก็ยังทำไม่ได้ตลอด แต่ก็พยายามฝึก พิจารณาอารมณ์จิตที่เกิดว่า ผิดศีลข้อไหนบ้าง ตามทันบ้าง ไม่ทันบ้าง และหาเหตุ พิจารณาให้เกิดปัญญาให้ได้)... จึงอยากได้คำชี้แนะ และ วิธีการฝึกเจโตสมถะ

ตอบ จะฝึกให้สติอยู่กับปัจจุบันได้อย่างไรนั้น ? ก็ต้องลองตรวจเช็คดูซิว่า มันหลุดเพราะอะไร? ซึ่งต้นเหตุสำคัญมี ๓ ประการด้วยกัน คือ ๑.กามวิตก (รูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส) ๒.พยาบาทวิตก (เจ้าคิดเจ้าแค้น) ๓. วิหิงสาวิตก (หมกมุ่นกับอดีต ที่ควรดีดมันออกไป หรือฟุ้งซ่าน ไปกับอนาคต ที่คด ๆ งอ ๆ เอาเป็นสาระแก่นสารไม่ได้) ความจริงจึงอยู่ที่ปัจจุบัน (ควรตะบันเข้าไป) แม้ปัจจุบันขณะ แต่ละขณะความจริง ก็ตั้งอยู่บนปลายเข็มที่ผ่าน “แว็บไป ๆ” อยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนไว้ว่า “อดีตคือสิ่งที่ล่วงเลยมาแล้ว (อย่าไปขยำขี้) อนาคต คือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง (อย่าไปกังวล เหมือนนั่งเขกหัวตัวเอง) พึงทำแต่ละปัจจุบันขณะ ให้ดีที่สุด (เพราะแต่ละขณะ ก็อยู่ชั่วแว็บเดียว เท่านั้นเอง เกิดขึ้น- ตั้งอยู่- และดับไป ถ้าใครไปคิด ยึดมั่นถือมั่น อะไรขึ้นมา จากชั่วแว็บ ก็จะกลายเป็นชั่ววูบ และชั่วนิจนิรันดร์)

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ปัจจัยที่จะทำให้สติแข็งแรงขึ้นคือ “โยนิโสมนสิการ” เช่น ตอนนี้ เรากำลังฝึกไม่กินขนม ก็ต้องหยั่งเข้าไปอ่าน อารมณ์ ที่ทำให้เราชอบขนม ไม่มีอารมณ์ชอบตัวนี้ เราตายไหม? เราไม่ได้สนองอารมณ์ชอบตัวนี้ มันก็ไม่เห็นตาย แล้วทั้งร่างกาย และจิตใจ ก็ยังสบายกว่าด้วยหรือเปล่า?

พ่อท่านฯ เคยสอนพวกเราว่า “ขนม ๑๐๐ อย่างทำจากข้าวอย่างเดียว เพราะฉะนั้น กินข้าวอย่างเดียว จึงเท่ากับ กินขนม ๑๐๐ อย่าง” แล้วพยายามอ่านอารมณ์ ที่เรากินข้าว โดยไม่มีขนมว่า มันสงบกว่า ปราณีตกว่า มีสติรู้ตัวได้ดีกว่า ก็จะเป็นปัจจัย ที่จะทำให้สติ แข็งแรงขึ้น แม้แต่เรื่อง พยาบาทวิตก หรือ วิหิงสาวิตก เราก็ตาม “โยนิโสมนสิการ” แบบกัดไม่ปล่อย การเจริญสติของเรา ก็จะดีขึ้นไปตามลำดับ

ชีวิตช่วงนี้คุณมีโอกาสใช้เวลาอ่านหนังสือได้มาก ก็ควรเอาประโยชน์ในจุดนี้ให้เต็มที่ อ่านหนังสือ เล่มใดแล้ว ก็อ่านซ้ำอีกได้ ดูซิ เราจะมีอารมณ์เบื่อมั้ย? ผัสสะมันก็เกิด ตลอดเวลาอยู่แล้ว สังเกตดีๆ การอ่านหนังสือ (หรือจะทำอะไร) ก็อย่าลืมอ่านใจด้วย พยายามพิจารณาให้ออก แยกแยะความแตกต่าง มันมีอาการอย่างไร เอาสภาวะ มาเทียบเคียงกับที่เรารับรู้มา (จากหนังสือ หรือฟังธรรม) ถ้ามันเกิดจิตว่าง ก็กำหนด จดจำไว้ ( จะจดบันทึกสภาวะจิต สภาวะธรรมทุกวันก็ยิ่งดี เพราะเรามีเวลา มากอยู่แล้ว ...ต่อไปอาจส่งให้ บริษัท ฟ้าอภัยพิมพ์ กลายเป็น Best seller ก็ได้ )

พุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อะไร.. ตื่นจากอะไร แล้วเบิกบานอย่างไร? บางคน ยังไม่ค่อยเข้าใจ พยายามทำความเข้าใจในภาษา คำความ กับสภาวะจิต อาจจะยากบ้าง ถ้าติดตรงไหน ก็ให้พยายามย้อนทวน กลับไปอ่านตอนก่อนๆดู แล้วสรุปความหมาย ของภาษาธรรมะให้ได้

เจโตสมถะ คือทำจิตให้สงบ (เจโต=จิต ; สมถะ=หยุดหรือสงบ) แต่ทั่วๆไป เขามักถือเป็นการ นั่งสมาธิ ซึ่งมีอุบายวิธีมากมาย ให้เลือกใช้ ตามจริตของตน เช่น ลุงจำลอง ก่อนนอนเขาก็จะนับว่า เขาเกิดมาได้กี่ปี กี่เดือน กี่วันแล้ว ถ้าจะตายเป็นไง? พร้อมที่จะตายหรือยัง? การระลึกถึง ความตายไว้เสมอ ๆ เรียกว่า เจริญ “มรณัสสติ” ก็จะทำให้จิตของเราหยุด และสงบขึ้นมาได้ ทำบ่อย ๆ ก็จะมีความชำนาญ ทำให้จิตสงบตั้งมั่นได้เร็วขึ้น

แต่ส่วนใหญ่เขานิยมใช้ ให้มีสติอยู่กับลมหายใจเข้า –ออก ไม่ว่าจะบริกรรม “สัมมาอรหัง” , “พุท-โธ”, หรือ “เย-ซู” จะเพ่งลูกแก้ว หรือ เพ่งเทียน ก็มีวัตถุประสงค์ เดียวกัน คือ การสะกดจิต ให้หยุดอยู่กับเรื่องนั้น สิ่งนั้น ซึ่งจะเป็นอุปการะ ในการปฏิบัติธรรม ทำให้เราได้หัดอ่าน อารมณ์ของจิต ที่สงบชั่วคราว และยังได้เป็นการพักผ่อน

นอกจากนี้ พ่อท่านก็สอนให้ทำเตวิชโชไปด้วย คือ ขณะที่เรานั่งเจโตฯ เมื่อสงบแล้ว เราก็ทำการทบทวน ตรวจสอบพฤติกรรม ที่ผ่านมา ของเราไปด้วย ก็เหมือนเราคิดบัญชี งบดุล แต่ละครั้งคราว แต่ละวัน เมื่อมีโจทย์ มีผัสสะ เกิดกิเลสเพิ่มหรือลดอย่างไร กำไร-ขาดทุน มากน้อย แค่ไหน ... เป็นการศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจจิตวิญญาณของเรา ให้กระจ่าง ก็จะทำให้เรา สามารถแก้ไขตัวเรา ให้ดีขึ้นได้ แต่ทางที่ดี ก็ควรกำหนดเวลาด้วย ว่า จะนั่งนานเท่าใด ฝึกๆไป ต่อไปก็จะกำหนดจิตใจ ให้อยู่ในการควบคุมได้

เอาล่ะ สำหรับธรรมะคงพอเท่านี้ก่อนนะ สงสัยอะไรก็ถามได้อีก ยินดีตอบให้เสมอ ส่วนสถานการณ์เมืองไทย ก็เริ่มจะวิกฤตแล้ว ทุกขภัยได้กันถ้วนหน้า การออกไปช่วย ดูเหมือน จะไม่มีวันจบ วันสิ้น อุทกภัยครั้งนี้ สาหัสจริงๆ พ่อท่านก็เตือนว่า ปีหน้า จะหนักกว่านี้ (ตามที่มีคำพยากรณ์กัน ทั้งโหราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) ที่ทุกข์กันมาก ก็เพราะ มีข้าวมีของมาก ถ้าเรามีแต่พออยู่ หรือ อยู่อย่างพอเพียง รู้จักพอ คงจะไม่ทุกข์มากนัก

คุณกับคุณวีระก็สามารถก้าวผ่านความทุกข์ ที่ต้องถูกจองจำนี้ได้ อาตมาเชื่อว่า พวกเราต้องสามารถ ผ่านด่านนี้ ลูกอโศกแทบทุกคน ล้วนแต่ มีโจทย์ประจำตัว จะเรียกว่า เป็นวิบากกรรมก็ได้ ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ ให้ชีวิตเราเข้มแข็งขึ้น ดีขึ้นอีกด้วยซ้ำไป

“ลูกอโศก ย่อมสามารถเอาประโยชน์ได้ จากทุกสถานการณ์” นี่ก็เป็นเคล็ดลับ ในการทำบุญ คุณวีระ อาจจะสำเร็จวิชา “สูงสุดคืนสู่สามัญ” จากที่นั่นได้ เพราะคนที่จะเป็น “จอมยุทธ์” ได้นั้น จะต้องมี “สัจจานุโลมญาณ” สามารถยืดหยุ่น ต่อคนอื่นได้สูง โดยที่จิตใจตัวเอง ไม่เสีย ซึ่งพ่อท่านฯ เป็นตัวอย่างให้เราได้เห็นอยู่แล้ว

แม้แต่คุณราตรีเองก็ต้องขอชื่นชม ขนาดอยู่ในคุกอย่างนั้น ก็ยังอุตส่าห์มีแก่ใจ เป็นห่วงคนไทย ฝากสตางค์ มาช่วยซับขวัญ ผู้ประสพภัย น้ำท่วม แถมอยู่ในคุก ที่แสนจะยากลำบากอย่างนั้น ก็ยังสามารถฝึกฝน บำเพ็ญ ”ตบะธรรม” ให้เคร่งครัด ได้อย่าง น่าอัศจรรย์ ธรรมะที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมคุ้มครอง ผู้ประพฤติธรรม แม้จะตกน้ำ ก็ไม่ไหล ตกไฟก็ไม่ไหม้ แม้จะอยู่ในคุก ก็ยังทำทุก วินาที ให้เป็นวินาทีแห่งบุญได้ เพราะเราคุ้มครองธรรม ธรรมจึงคุ้มครองเรา

"...ฝึกหยุด.. แต่ไม่หยุดฝึก..."

เจริญธรรม

ส.ดินไท
๖ พ.ย.๕๔

ปล. จม.ของคุณราตรี น่าจะเป็นประโยชน์กับมิตรสหาย และคนไทย ที่ยังติดตาม ข่าวคราว ด้วยความเป็นห่วง เขียนเรื่องราว เล่ามาบ่อย ๆ ได้ก็ดี พร้อมกันนี้ ได้ฝากธรรมะ ของพ่อท่าน เรื่องความสำคัญของ ““โยนิโสมนสิการ” มาให้พิจารณาด้วย





 

จดหมายจากคุกเปรซอร์

กราบนมัสการท่านสมณะ

ดิฉัน ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ เขียนจากคุกเปรซอร์ ฝากจดหมายฉบับนี้ ผ่านมาทางเพื่อน ชื่อตุ๊ก เพราะตุ๊กจะไปทานข้าวที่สันติอโศกเป็นประจำ และที่ไม่ระบุว่า ต้องเป็นท่านสมณะรูปใด เพราะไม่อยากให้ต้องลำบากกับคนฝาก

เนื่องจากมีเรื่องจะขอเรียนปรึกษา เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม อยู่ที่นี่มีเวลา อ่านหนังสือ ของพ่อท่าน ได้มาก การปฏิบัติธรรมที่เกี่ยวกับจิตของตัวเองล้วนๆ เพราะผัสสะทางกาย วาจา มีน้อยมาก (เพราะสื่อสารกับคนอื่นไม่ได้ ไม่เข้าใจภาษา) ตอนนี้ ฝึกกิน ๒ มื้อ ระหว่างมื้อ ไม่กินจุกจิก ทำได้ ไม่มีปัญหา และตั้งใจไม่กินขนม (ซึ่งเป็นของชอบมากๆ) ยกเว้นผลไม้และน้ำผลไม้ ยังต้องใช้ชีวิตกดข่มอยู่

ได้อ่านหนังสือ สมาธิพุทธ ๔ รอบ, เจริญชีพด้วยการก้าว ๓ รอบ และหนังสืออื่นๆ อีกประมาณ ๔ เล่ม (หลักการปฏิบัติตนให้บริสุทธิ์, ความรัก ๑๐ มิติ, พุทธคือ อเทวนิยม, คนคืออะไร) อ่านสารอโศก สัปดาห์ละ ๑ เล่ม และดอกหญ้า ประมาณ ๓ สัปดาห์ได้ ๑ เล่ม

อยากเรียนถามท่านสมณะ จะฝึกให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ให้สติอยู่กับปัจจุบัน จะทำได้อย่างไร พยายามแล้ว แต่ไม่ก้าวหน้า กิจกรรมที่ทำเวลาอยู่ที่นี่ เป็นกิจกรรม ที่ทำได้โดยอัตโนมัติ เช่นซักผ้า กวาดบ้าน สติเลยหลุดอยู่เสมอ แม้แต่เวลาสวดมนต์ ก็พยายามให้สติอยู่กับบทสวด ก็ยังทำไม่ได้ตลอด แต่ก็พยายามฝึกพิจารณา อารมณ์จิตที่เกิด ว่าผิดศีลข้อไหนบ้าง ตามทันบ้าง ไม่ทันบ้าง และหาเหตุพิจารณา ให้เกิดปัญญาให้ได้ อยากได้คำชี้แนะ และวิธีการฝึกเจโตสมถะ

ก่อนหน้านี้เขียนจดหมายออกมาคุยกับคนอื่นๆหลายคน เขียนมาขอให้ช่วยหาหนังสือ ทางเอก, เปิดโลกเทวดา และถามตอบปัญหาการปฏิบัติธรรม เขียนมาถามถึงเรื่อง เหตุการณ์ ในกลุ่มที่คบคุ้น ว่ามีอะไรบ้าง เพราะอยากเปิดรับผัสสะ เพื่อจะได้ฝึกตัวเอง เพราะอยู่ที่นี่ มีเวลาพิจารณาจิต ของตัวเองได้มาก แต่ทุกครั้งก็เงียบหาย ไม่มีใครหือ... ใครอือ...อะไรกลับมาเลย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร ไม่อยากให้รับรู้เรื่อง ที่จะทำให้ ไม่สบายใจ หรือ ฯลฯ หนังสือที่ให้ช่วยหา ก็ไม่ได้รับคำตอบว่าไม่ได้เพราะอะไร หาไม่ได้ หรือไม่อยากให้งมงาย

มีความมั่นใจว่า ถ้าท่านสมณะเมื่อได้อ่านจดหมายฉบับนี้แล้ว ท่านคงไม่นิ่งดูดาย ไม่ตอบกลับมาแน่ ฉะนั้น ถ้ายังไม่ได้รับคำตอบอีก ก็คงเป็นเพราะเหตุอื่น ถ้าเป็นด้วยเหตุอื่น ซึ่งไม่รู้ว่าอะไร ก็ป่วยการที่จะเขียนอะไรออกมาอีกแล้ว จดหมายฉบับนี้ ก็จะเป็นฉบับสุดท้าย ที่จะสื่อสารกับคนภายนอก

จึงเรียนมาเพื่อขอพึ่งใบบุญจากท่านสมณะ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ขอน้อมกราบพ่อท่าน ท่านสมณะ ท่านสิกขมาตุและญาติธรรมทุกท่าน

ราตรี
๒๑-๑๐-๕๔ ณ เปรซอร์

ปล. ถ้าท่านจะตอบ ขอให้ช่วยเป็นการพิมพ์ เพราะจะผ่านการตรวจได้ง่ายกว่าลายมือเขียน และ ถ้าท่านต้องการติดต่อกับตุ๊ก คนที่นำจดหมายมา ท่านสามารถติดต่อ โดยผ่านพี่ดินนา (FMTV)

 

 

สำนึกดี คุณราตรี

อาตมาเพิ่งได้รับจดหมายจากคุณวันที่ ๔ พ.ย.๕๔ ซึ่งพ่อท่านก็เพิ่งได้รับมา แล้วมอบหมาย ให้อาตมาตอบ ก่อนหน้านี้ได้เห็นคุณตุ๊ก มารับอาหารแห้ง บอกว่า จะฝากแม่คุณวีระ มาเยี่ยมคุณ แต่ไม่ได้พูดคุย ถามไถ่กันเท่าไรนัก ดีเลย จดหมายคงเป็นโอกาส ให้ได้คุยกันในฉบับนี้เลย

คุณถามว่า จะฝึกให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ให้สติอยู่กับปัจจุบันได้อย่างไร ? (พยายามแล้ว แต่ไม่ก้าวหน้า กิจกรรมที่ทำอยู่ เป็นกิจกรรมที่ทำได้โดยอัตโนมัติ เช่น ซักผ้า กวาดบ้าน.... สติเลยหลุดอยู่เสมอ ..แม้แต่เวลาสวดมนต์ ก็พยายามให้สติอยู่กับบทสวด ก็ยังทำไม่ได้ตลอด แต่ก็พยายามฝึก พิจารณาอารมณ์จิตที่เกิดว่า ผิดศีลข้อไหนบ้าง ตามทันบ้าง ไม่ทันบ้าง และหาเหตุ พิจารณาให้เกิดปัญญาให้ได้)... จึงอยากได้คำชี้แนะ และ วิธีการฝึกเจโตสมถะ

ตอบ จะฝึกให้สติอยู่กับปัจจุบันได้อย่างไรนั้น ? ก็ต้องลองตรวจเช็คดูซิว่า มันหลุดเพราะอะไร? ซึ่งต้นเหตุสำคัญมี ๓ ประการด้วยกัน คือ ๑.กามวิตก (รูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส) ๒.พยาบาทวิตก (เจ้าคิดเจ้าแค้น) ๓. วิหิงสาวิตก (หมกมุ่นกับอดีต ที่ควรดีดมันออกไป หรือฟุ้งซ่าน ไปกับอนาคต ที่คด ๆ งอ ๆ เอาเป็นสาระแก่นสารไม่ได้) ความจริงจึงอยู่ที่ปัจจุบัน (ควรตะบันเข้าไป) แม้ปัจจุบันขณะ แต่ละขณะความจริง ก็ตั้งอยู่บนปลายเข็มที่ผ่าน “แว็บไป ๆ” อยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนไว้ว่า “อดีตคือสิ่งที่ล่วงเลยมาแล้ว (อย่าไปขยำขี้) อนาคต คือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง (อย่าไปกังวล เหมือนนั่งเขกหัวตัวเอง) พึงทำแต่ละปัจจุบันขณะ ให้ดีที่สุด (เพราะแต่ละขณะ ก็อยู่ชั่วแว็บเดียว เท่านั้นเอง เกิดขึ้น- ตั้งอยู่- และดับไป ถ้าใครไปคิด ยึดมั่นถือมั่น อะไรขึ้นมา จากชั่วแว็บ ก็จะกลายเป็นชั่ววูบ และชั่วนิจนิรันดร์)

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ปัจจัยที่จะทำให้สติแข็งแรงขึ้นคือ “โยนิโสมนสิการ” เช่น ตอนนี้ เรากำลังฝึกไม่กินขนม ก็ต้องหยั่งเข้าไปอ่าน อารมณ์ ที่ทำให้เราชอบขนม ไม่มีอารมณ์ชอบตัวนี้ เราตายไหม? เราไม่ได้สนองอารมณ์ชอบตัวนี้ มันก็ไม่เห็นตาย แล้วทั้งร่างกาย และจิตใจ ก็ยังสบายกว่าด้วยหรือเปล่า?

พ่อท่านฯ เคยสอนพวกเราว่า “ขนม ๑๐๐ อย่างทำจากข้าวอย่างเดียว เพราะฉะนั้น กินข้าวอย่างเดียว จึงเท่ากับ กินขนม ๑๐๐ อย่าง” แล้วพยายามอ่านอารมณ์ ที่เรากินข้าว โดยไม่มีขนมว่า มันสงบกว่า ปราณีตกว่า มีสติรู้ตัวได้ดีกว่า ก็จะเป็นปัจจัย ที่จะทำให้สติ แข็งแรงขึ้น แม้แต่เรื่อง พยาบาทวิตก หรือ วิหิงสาวิตก เราก็ตาม “โยนิโสมนสิการ” แบบกัดไม่ปล่อย การเจริญสติของเรา ก็จะดีขึ้นไปตามลำดับ

ชีวิตช่วงนี้คุณมีโอกาสใช้เวลาอ่านหนังสือได้มาก ก็ควรเอาประโยชน์ในจุดนี้ให้เต็มที่ อ่านหนังสือ เล่มใดแล้ว ก็อ่านซ้ำอีกได้ ดูซิ เราจะมีอารมณ์เบื่อมั้ย? ผัสสะมันก็เกิด ตลอดเวลาอยู่แล้ว สังเกตดีๆ การอ่านหนังสือ (หรือจะทำอะไร) ก็อย่าลืมอ่านใจด้วย พยายามพิจารณาให้ออก แยกแยะความแตกต่าง มันมีอาการอย่างไร เอาสภาวะ มาเทียบเคียงกับที่เรารับรู้มา (จากหนังสือ หรือฟังธรรม) ถ้ามันเกิดจิตว่าง ก็กำหนด จดจำไว้ ( จะจดบันทึกสภาวะจิต สภาวะธรรมทุกวันก็ยิ่งดี เพราะเรามีเวลา มากอยู่แล้ว ...ต่อไปอาจส่งให้ บริษัท ฟ้าอภัยพิมพ์ กลายเป็น Best seller ก็ได้ )

พุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อะไร.. ตื่นจากอะไร แล้วเบิกบานอย่างไร? บางคน ยังไม่ค่อยเข้าใจ พยายามทำความเข้าใจในภาษา คำความ กับสภาวะจิต อาจจะยากบ้าง ถ้าติดตรงไหน ก็ให้พยายามย้อนทวน กลับไปอ่านตอนก่อนๆดู แล้วสรุปความหมาย ของภาษาธรรมะให้ได้

เจโตสมถะ คือทำจิตให้สงบ (เจโต=จิต ; สมถะ=หยุดหรือสงบ) แต่ทั่วๆไป เขามักถือเป็นการ นั่งสมาธิ ซึ่งมีอุบายวิธีมากมาย ให้เลือกใช้ ตามจริตของตน เช่น ลุงจำลอง ก่อนนอนเขาก็จะนับว่า เขาเกิดมาได้กี่ปี กี่เดือน กี่วันแล้ว ถ้าจะตายเป็นไง? พร้อมที่จะตายหรือยัง? การระลึกถึง ความตายไว้เสมอ ๆ เรียกว่า เจริญ “มรณัสสติ” ก็จะทำให้จิตของเราหยุด และสงบขึ้นมาได้ ทำบ่อย ๆ ก็จะมีความชำนาญ ทำให้จิตสงบตั้งมั่นได้เร็วขึ้น

แต่ส่วนใหญ่เขานิยมใช้ ให้มีสติอยู่กับลมหายใจเข้า –ออก ไม่ว่าจะบริกรรม “สัมมาอรหัง” , “พุท-โธ”, หรือ “เย-ซู” จะเพ่งลูกแก้ว หรือ เพ่งเทียน ก็มีวัตถุประสงค์ เดียวกัน คือ การสะกดจิต ให้หยุดอยู่กับเรื่องนั้น สิ่งนั้น ซึ่งจะเป็นอุปการะ ในการปฏิบัติธรรม ทำให้เราได้หัดอ่าน อารมณ์ของจิต ที่สงบชั่วคราว และยังได้เป็นการพักผ่อน

นอกจากนี้ พ่อท่านก็สอนให้ทำเตวิชโชไปด้วย คือ ขณะที่เรานั่งเจโตฯ เมื่อสงบแล้ว เราก็ทำการทบทวน ตรวจสอบพฤติกรรม ที่ผ่านมา ของเราไปด้วย ก็เหมือนเราคิดบัญชี งบดุล แต่ละครั้งคราว แต่ละวัน เมื่อมีโจทย์ มีผัสสะ เกิดกิเลสเพิ่มหรือลดอย่างไร กำไร-ขาดทุน มากน้อย แค่ไหน ... เป็นการศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจจิตวิญญาณของเรา ให้กระจ่าง ก็จะทำให้เรา สามารถแก้ไขตัวเรา ให้ดีขึ้นได้ แต่ทางที่ดี ก็ควรกำหนดเวลาด้วย ว่า จะนั่งนานเท่าใด ฝึกๆไป ต่อไปก็จะกำหนดจิตใจ ให้อยู่ในการควบคุมได้

เอาล่ะ สำหรับธรรมะคงพอเท่านี้ก่อนนะ สงสัยอะไรก็ถามได้อีก ยินดีตอบให้เสมอ ส่วนสถานการณ์เมืองไทย ก็เริ่มจะวิกฤตแล้ว ทุกขภัยได้กันถ้วนหน้า การออกไปช่วย ดูเหมือน จะไม่มีวันจบ วันสิ้น อุทกภัยครั้งนี้ สาหัสจริงๆ พ่อท่านก็เตือนว่า ปีหน้า จะหนักกว่านี้ (ตามที่มีคำพยากรณ์กัน ทั้งโหราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) ที่ทุกข์กันมาก ก็เพราะ มีข้าวมีของมาก ถ้าเรามีแต่พออยู่ หรือ อยู่อย่างพอเพียง รู้จักพอ คงจะไม่ทุกข์มากนัก

คุณกับคุณวีระก็สามารถก้าวผ่านความทุกข์ ที่ต้องถูกจองจำนี้ได้ อาตมาเชื่อว่า พวกเราต้องสามารถ ผ่านด่านนี้ ลูกอโศกแทบทุกคน ล้วนแต่ มีโจทย์ประจำตัว จะเรียกว่า เป็นวิบากกรรมก็ได้ ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ ให้ชีวิตเราเข้มแข็งขึ้น ดีขึ้นอีกด้วยซ้ำไป

“ลูกอโศก ย่อมสามารถเอาประโยชน์ได้ จากทุกสถานการณ์” นี่ก็เป็นเคล็ดลับ ในการทำบุญ คุณวีระ อาจจะสำเร็จวิชา “สูงสุดคืนสู่สามัญ” จากที่นั่นได้ เพราะคนที่จะเป็น “จอมยุทธ์” ได้นั้น จะต้องมี “สัจจานุโลมญาณ” สามารถยืดหยุ่น ต่อคนอื่นได้สูง โดยที่จิตใจตัวเอง ไม่เสีย ซึ่งพ่อท่านฯ เป็นตัวอย่างให้เราได้เห็นอยู่แล้ว

แม้แต่คุณราตรีเองก็ต้องขอชื่นชม ขนาดอยู่ในคุกอย่างนั้น ก็ยังอุตส่าห์มีแก่ใจ เป็นห่วงคนไทย ฝากสตางค์ มาช่วยซับขวัญ ผู้ประสพภัย น้ำท่วม แถมอยู่ในคุก ที่แสนจะยากลำบากอย่างนั้น ก็ยังสามารถฝึกฝน บำเพ็ญ ”ตบะธรรม” ให้เคร่งครัด ได้อย่าง น่าอัศจรรย์ ธรรมะที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมคุ้มครอง ผู้ประพฤติธรรม แม้จะตกน้ำ ก็ไม่ไหล ตกไฟก็ไม่ไหม้ แม้จะอยู่ในคุก ก็ยังทำทุก วินาที ให้เป็นวินาทีแห่งบุญได้ เพราะเราคุ้มครองธรรม ธรรมจึงคุ้มครองเรา

"...ฝึกหยุด.. แต่ไม่หยุดฝึก..."

เจริญธรรม

ส.ดินไท
๖ พ.ย.๕๔

ปล. จม.ของคุณราตรี น่าจะเป็นประโยชน์กับมิตรสหาย และคนไทย ที่ยังติดตาม ข่าวคราว ด้วยความเป็นห่วง เขียนเรื่องราว เล่ามาบ่อย ๆ ได้ก็ดี พร้อมกันนี้ ได้ฝากธรรมะ ของพ่อท่าน เรื่องความสำคัญของ ““โยนิโสมนสิการ” มาให้พิจารณาด้วย




โยนิโสมนสิการเป็นเช่นใด ?

ทุกวันนี้ขออภัย อาตมาพูดทีไรว่าที่เขายังเข้าใจผิด เข้าใจไม่ถูก อาตมาก็ต้องพูดตรงๆ จากความเข้าใจตนเอง ไม่ได้มีความโกรธเคือง ไม่ได้มีการข่มไปเบ่ง ไม่ได้มีความอวดดิบ อวดดีอะไรเลย แต่ต้องพูดว่า อันนี้ยังไม่ถูก ที่ถูกต้องมันไม่ใช่อย่างนั้น ก็ต้องพูด

มนสิการ ไปอธิบายรวมกันทั้งคำว่า โยนิโสมนสิการ เขาไปแปลรวมเลยว่า เป็นการพิจารณา การใคร่ครวญ การไตร่ตรอง นึกๆเอา ฟังแล้วก็เป็นแค่ความนึกคิด นั้นไม่ใช่

มนสิการคือ การปฏิบัติ การกระทำ ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลง เป็นการกระทำ มนสิกโรติ เป็นคำกริยา ถ้าเป็นคำนาม เป็นมนสิการ คือ การทำใจในใจ

พอท่านแปลเป็นภาษาไทยอย่างนี้ มันตรง แต่ท่านไปเข้าใจผิด เหตุท่านเข้าใจผิดว่า การปฏิบัติ จะทำนี่ คือการไม่ใช่เป็นการทำ ทำจะต้องเกิดปฏิกิริยา การแก้ไข ปรับปรุง จะต้องมีเหตุปัจจัย จะต้องมีการทำงานกันอย่างหนัก ท่านไม่เข้าใจว่าอย่างนั้น ท่านกลับไปให้หยุด ท่านเข้าใจว่า การทำใจในใจ คือการให้ จดจ่อที่กสิณให้นิ่งๆ ทำไว้อย่างนี้

การทำใจในใจ มันกินความหมดทุกอย่าง มีแก้ไขปรับปรุง มีอะไรเยอะแยะเลย แต่กลับไปเข้าใจว่า ให้นิ่งๆ สงบ เข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมนี่ คือให้จิตสงบ ทำไว้ในใจ คือทำอย่างนี้ จิตจึงจะสงบ ท่านไปแปลอย่างนั้น ความหมายเลยไม่ชัดเจน

ที่ถูกแล้ว มันจะต้องชำระ จะต้องแก้ไข จะต้องรบราฆ่าฟันกับกิเลส !

การทำใจในใจนี้แหละ เป็นจุดสำคัญ ในมูลสูตร ท่านบอกว่า เป็น “สัมภวะ” ท่านแปล เป็นไทยว่า เป็นแดนเกิด สัมภวะคือเป็นตัวภพ ตรงนี้แหละ เป็นที่ที่จะทำให้จิตเป็น

เป็น “สมะ” เจริญทุกอย่าง
สมะ = สมบูรณ์ทุกอย่าง บูรณ์ก็ปูรณะ คือเต็ม จะเต็มอย่างสมะ ตรงนี้แหละ ครบอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้น ที่เกิดที่ตาย อยู่ตรงนี้นั่นเอง ตรงนี้ มนสิ ที่ใจในใจ ตรงที่ “ใจ”นี่

จิตวิญญาณเป็นประธาน

คนจะต้องรู้ตัวใจนี่แหละ คือจะต้องเรียนรู้วิญญาณาหาร คุณต้องรู้จิตวิญญาณ มนะ หรือวิญญาณ ก็ใจ ๒ คำนี่เป็นไวพจน์ มนสิ หรือ วิญญาณ เพราะฉะนั้น จะต้องรู้ นี่ตัววิญญาณ เป็นตัวที่จะต้อง ศึกษา เพราะเป็นตัวอาศัยทุกอย่าง แม้แต่อาศัยศึกษา อาศัยปฏิบัติ อาศัยอยู่ อาศัยเป็นทุกอย่าง ในชีวิตของสัตว์ที่มีชีวิต

จิตนิยามนี่ ตัวจิตนี่แหละเป็นตัวหลักหมดเลย

แล้วมันก็ออกมาเป็นกายกรรม วจีกรรม ให้มีบทบาทลีลา นิทานต่างๆ เกิดจาก จิตวิญญาณ เป็นตัวเหตุใหญ่ เพราะฉะนั้น จะต้องเข้าใจตัวนี้ ทำที่ตัวนี้ มนสิ ต้องทำให้ถ้วน ถ่องแท้ ละเอียด แยบคาย โยนิโส หรือที่แปลอีกคำหนึ่ง ท่านแปลไว้ ในพจนานุกรม ของฉบับภูมิพล ท่านแปลชัดว่า “ ลงไปถึงที่เกิด ”

“โยนิ ” แปลว่าที่เกิด “ โยนิโส ” ลงไปถึงที่เกิด ให้ปฏิบัติ ให้หยั่งรู้ ให้กระทำ จนไปถึงที่เกิด นั่นแหละคือ มนสิการ โยนิโสสอดคล้องกับมนสิการ

ท่านแปลสัมภวะว่า แดนเกิด เพราะฉะนั้น โยนิโส ก็คือ สัมภวะ ตรงนี้แหละที่เกิด ลงไปถึงที่เกิดตรงนี้

 

 






คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง