วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555
สำนวนเขมรกรณีปราสาทพระวิหารที่ส่งไปยังศาลโลก
โดย เทพมนตรี ลิมปพะยอม
หลังจากเขมรได้ยื่นคำขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ใหม่อีกครั้งหนึ่งต่อประเด็นพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ศาลได้ออกคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวออกมาให้สองประเทศได้ปฏิบัติตามคำสั่ง โดยให้มีการถอนทหารออกจากพื้นที่ 17.3 ตารางกิโลเมตร (ตามที่เขมรได้ส่งแผนผังการคุ้มครองชั่วคราวให้ศาลโลก) แต่ในขณะนี้ทั้งสองประเทศยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวอย่างใด สำนวนของเขมรที่ส่งไปยังศาลโลกนั้นมีความสำคัญต่อการต่อสู้คดีในชั้นศาลเป็นอันมาก สมควรจะได้นำมาวิเคราะห์พิจารณากัน
“ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ การตัดสินของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 แม้ศาลโลกจะไม่ตัดสินตามคำขอของฝ่ายกัมพูชาตามข้อ 2 ที่กล่าวถึงสถานะของแผนที่ 1:200,000 ว่าเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส และข้อ 3 เส้นเขตแดนที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ 1:200,000 นั้น มีความถูกต้อง แต่ศาลได้ใช้แผนที่ 1:200,000 ที่เราได้เสนอเป็นหลักฐานสำคัญนั้นเป็นมูลฐานแห่งคดีอันนำไปสู่การตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาต้องตามคำฟ้องข้อ 1 และต้องไม่ลืมว่าต่อมาหลังคำตัดสินเพียง 34 ปี รัฐบาลไทยกลับปฎิบัติต่อแผนที่ 1:200,000 ดังนี้
1. รัฐไทยได้ทำการปักปันเขตแดนไทย-ลาวจนเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยบันทึกความตกลงไทย-ลาวซึ่งลงนามเมื่อ พ.ศ. 2539 และได้ใช้แผนที่ 1:200,000 ที่ศาลโลกมิได้พิจารณานั้นให้มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งยังส่งผลให้มีผลจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้รัฐไทยยังยอมรับว่าแผนที่ดังกล่าวเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส อันทำให้เห็นได้ชัดว่าพฤติกรรมของรัฐไทยได้ยอมรับแผนที่นั้นแล้วอย่างเห็นได้ชัด
2. ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2543 รัฐไทยได้ทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พฤติกรรมรัฐไทยก็ยังคงยอมรับแผนที่ 1:200,000 อันเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส และมีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ
โดยพฤติกรรมของรัฐไทยได้แสดงให้ศาลเห็นแล้วว่าได้ยอมรับว่าแผนที่1:200,000 เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส ข้าฯแต่ศาลที่เคารพ รัฐไทยมักแสดงการกล่าวอ้างว่าไม่เคยยอมรับแผนที่ดังกล่าวจนศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 หลงเชื่อและไม่ได้ตัดสินตามข้อ 2-3 ที่กัมพูชาได้ร้องขอ จึงก่อให้เกิดปัญหาเส้นเขตแดนขึ้นตรงบริเวณปราสาทพระวิหาร รัฐไทยไม่เคยปฏิบัติตามคำพิพากษาอย่างครบถ้วน แต่อาศัยช่องว่างที่มีอำนาจทางการทหารที่เหนือกว่าดำเนินการจัดการปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยลำพัง ฝ่ายกัมพูชาไม่เคยรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวเลย
ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ ตามที่รัฐกัมพูชาได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าพฤติกรรมรัฐไทยได้ยอมรับแผนที่ 1:200,000 ทุกระวาง และรวมไปถึงระวางดงรักที่รัฐไทยเคยปฏิเสธอย่างแข็งขันในการสู้คดีปราสาทพระวิหารเมื่อ ค.ศ. 1962 ความตกลงไทย-ลาวเมื่อ ค.ศ. 1996 ที่รัฐไทยกระทำกับรัฐลาวเพื่อปักปันเขตแดนกันใหม่ โดยรัฐไทยยืนยันอยู่หลายจุดในเรื่องของแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ว่าเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน-ฝรั่งเศส
แม้ว่าในบางตอนของการปักปันเขตแดนรัฐลาวจะโต้แย้งว่าแผนที่มาตราส่วน1:200,000 นั้น ไม่ใช่ผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ แต่อย่างใด รัฐไทยกลับยืนยันต่อรัฐลาวว่าแผนที่ชุดนี้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ อย่างแน่นอนและยังกล่าวอีกว่ารัฐลาวอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิ์จากฝรั่งเศสจึงอยู่ในสภาพการบังคับใช้แผนที่นี้
เมื่อรัฐไทยทำบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก (MOU43) ค.ศ. 2000 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา รัฐไทยได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ว่า แผนที่ 1:200,000 มีผลผูกพันตามกฎหมายระว่างประเทศ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐกัมพูชา พฤติกรรมของรัฐไทยไม่ได้ปฏิเสธแผนที่เหมือนที่เคยกระทำการอย่างฉ้อฉลและบิดเบือนไว้เมื่อ ค.ศ. 1962
ข้าฯ แต่ศาล พฤติกรรมของรัฐไทยยังปรากฏว่าได้มีการประชุมกันที่จังหวัดอุบลราชธานีในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติการ การสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนหรือที่เรียกกันว่า TOR 2003 ในโอกาสนี้แทนที่รัฐไทยจะปฏิเสธแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 หากแต่กลับตอกย้ำและยอมรับว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ทุกระวางเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ และยังให้ความสำคัญต่อแผนที่อย่างยิ่งยวด พฤติกรรมของรัฐไทยย่อมทำให้ศาลเห็นว่า รัฐไทยไม่เคยปฏิเสธเรื่องแผนที่ชุดนี้อีกเลย แม้รัฐไทยอาจสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดรัฐธรรมนูญของตัวเอง แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหนของรัฐไทยจะนำเอาความตกลงไทย-ลาว และ MOU 43 หรือ TOR 46 ไปดำเนินการตามกฎหมายเลย แม้มีกลุ่มประชาชนชาวไทยในนามคนเสื้อเหลืองหรือกลุ่มอื่นๆ เรียกร้องให้รัฐบาลของรัฐไทยนำบันทึก MOU 43 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรอิสระตีความ รัฐบาลของรัฐไทยก็ไม่เคยยอมทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าว
นั่นก็เป็นเพราะรัฐบาลของรัฐไทยได้ตระหนักดีแล้วว่าแผนที่ 1:200,000 เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ จริงอย่างไม่ต้องสงสัย และทั้งนี้ก็ย่อมเข้าใจตรงกับรัฐบาลของรัฐกัมพูชาแล้วว่า ตลอดแนวพรมแดนด้านตะวันออกทั้งหมดตั้งแต่ประเทศลาว และกัมพูชา รัฐไทยยอมรับสถานะของแผนที่ในภาคผนวกหนึ่งตามอรรถคดีที่รัฐกัมพูชาได้แสดงให้ศาลได้เห็นตั้งแต่ ค.ศ. 1962 แล้ว และบัดนี้รัฐไทยได้แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดและความเข้าใจผิดต่อแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนฯ อย่างเห็นได้ชัด
เส้นเขตแดนตรงบริเวณปราสาทพระวิหารตามแผนที่ระวางดงรักหรือแผนที่ในภาคผนวกหนึ่งได้ปันให้ปราสาทพระวิหาร และบริเวณโดยรอบเป็นของรัฐกัมพูชาอย่างไม่ต้องสงสัย และรัฐไทยพยายามผลักดันประชาชนกัมพูชาออกจากพื้นที่แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะรัฐกัมพูชามีกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า ทำให้รัฐไทยต้องถอยร่นออกไปจนประชิดแค่เขตแดน และเหตุนี้แม่ทัพภาคที่ 2 ซึ่งมีความใกล้ชิดกับรัฐกัมพูชาได้เข้าใจสถานการณ์อย่างถ่องแท้จึงสั่งการไม่ให้ทหารไทยต่อสู้หรือรุกล้ำดินแดนของรัฐกัมพูชาเข้ามาอีกเพราะตระหนักดีเรื่องเส้นเขตแดน
ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ รัฐไทยได้บังอาจนำดินแดนของกัมพูชาไปขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติอยู่หลายปี แต่รัฐกัมพูชาได้ส่งกองทัพไปรักษาอธิปไตยและเส้นเขตแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งที่ภูมะเขือและบริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหาร อย่างไรก็ดี รัฐกัมพูชาประสงค์จะให้ศาลตีความคำพิพากษาในคดีนี้อีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันเส้นเขตแดนตามแผนที่ 1:200,000 ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ รัฐกัมพูชาขอเสนอข้อมูลอันสำคัญที่ทำให้เห็นว่ารัฐไทยมิได้สนใจต่อการกระทำของกัมพูชาบนดินแดนของกัมพูชาด้านปราสาทพระวิหาร รัฐบาลฝรั่งเศสได้เสนอความเห็นมายังรัฐบาลกัมพูชาว่า ปราสาทพระวิหารที่ตั้งอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพราะเป็นสถานที่สำคัญสวยงามเหมาะสมกับนักท่องเที่ยว
กัมพูชาได้จัดทำแผนและร่างโครงการที่จะนำเสนอปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2006 ซึ่งรัฐบาลของรัฐไทยไม่เคยประท้วงทวงติงรัฐกัมพูชา และยังให้การสนับสนุนในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารอย่างเป็นทางการ ตามรายงานที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเมื่อ ค.ศ. 2007 ซึ่งตรงกันกับรัฐบาลคณะปฏิวัติ
และในเวลาต่อมา เมื่อ ค.ศ. 2008 รัฐบาลของรัฐที่มาจากการเลือกตั้งภายในประเทศได้ส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีของรัฐไทย ได้แสดงความประสงค์และสนับสนุนให้รัฐกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยได้ทำคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐทั้งสอง รัฐกัมพูชารู้สึกยินดีที่รัฐไทยได้ตระหนักถึงขอบเขตและบูรณาภาพแห่งดินแดนของรัฐกัมพูชาบริเวณปราสาทพระวิหาร รัฐกัมพูชาได้แสดงความเห็นไปยังศูนย์กลางมรดกโลก ณ กรุงปารีส โดยขอให้นำเรื่องที่รัฐไทยและกัมพูชาได้ตกลงกันไว้ในแถลงการณ์ร่วมบรรจุในวาระการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศแคนาดา และทำการจัดตั้งองค์กรแห่งชาติปราสาทพระวิหาร
โดยรัฐกัมพูชาได้ให้หน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารจัดการนครวัดคือ องค์กรอัปสราได้จัดทำแผนบริหารการจัดการโดยได้รับความร่วมมือจากประเทศอินเดียได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วม รวมถึงรัฐไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่ว่าด้วยการอนุรักษ์เข้าร่วมประชุมอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดรัฐกัมพูชาและรัฐไทยได้ตกลงร่วมกันว่าจะมีการจัดตั้งองค์การแห่งชาติปราสาทพระวิหารร่วมกัน และรัฐไทยจะเข้าร่วมบริหารจัดการในฐานะรัฐภาคีสมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลก ต่อมารัฐไทยได้ทำการฉ้อฉลตระบัดสัตย์ในสิ่งที่ได้ตกลงกันเอาไว้ นับตั้งแต่การประชุมที่บราซิลเมื่อ ค.ศ. 2010 ซึ่งไทยยอมรับในเบื้องต้นต่อเอกสารที่กัมพูชาได้เสนอ มีการลงนามโดยประธานคณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย ต่อมามีการประชุมกันที่ปารีสเมื่อ ค.ศ.2011 รัฐไทยกลับไม่สนใจถึงความสัมพันธ์อันดีที่มีมายาวนานและถือโอกาสแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ
จนในที่สุด เมื่อไม่สามารถทัดทานหลักฐานที่ถูกต้องของรัฐกัมพูชาที่ได้นำเสนอต่อผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกได้ รัฐไทยจึงดำเนินการลาออกตามเอกสารที่รัฐกัมพูชาได้เสนอให้ศาลไปแล้วตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 2011 หลักฐานที่กัมพูชานำเสนอได้รับการรับรองจากรัฐฝรั่งเศสและรัฐอเมริกา รวมถึงกลุ่มนักวิชาการคนไทยที่ได้ทำรายงานตามทุนอุดหนุนกระทรวงการต่างประเทศของรัฐไทยนั่นเอง
ข้าฯ ศาลที่เคารพ อย่างที่รัฐกัมพูชาได้กล่าวมาตั้งแต่เบื้องต้นแล้วว่า พฤติกรรมของรัฐไทยทำการกลับไปกลับมาและมิได้เป็นเฉพาะรัฐกัมพูชาเท่านั้น หากแต่ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ก็ถูกรัฐไทยเอารัดเอาเปรียบอยู่เป็นประจำ รัฐไทยได้เคยแสดงให้ประชาคมอาเซียนเห็นว่ารัฐไทยได้รุกรานประเทศเพื่อนบ้าน และยึดเอาดินแดนไปอย่างไม่แยแสโดยไม่เคยคำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีที่มีมาแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นรัฐลาวและไม่เว้นแม้แต่รัฐพม่าที่รัฐไทยได้ยึดเอาดินแดนไปเป็นจำนวนมากบริเวณด่านเจดีย์สามองค์
ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ รัฐกัมพูชายังไม่ได้กล่าวถึงการโจมตีการรุกล้ำอธิปไตยของทหารไทยจำนวนมาก ทำให้ทหารกัมพูชาต้องต่อสู้อย่างสมศักดิ์ศรี เอกสารการรุกล้ำอธิปไตยของรัฐไทยกัมพูชาได้ส่งไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้นำเสนอตัวบุคคลที่จะส่งเอกสารประกอบในโอกาสต่อไป และรัฐกัมพูชาโดยคณะประธานคณะกรรมการมรดกโลกของรัฐกัมพูชาได้เสนอเอกสารหลักฐานทั้งหมดไปยังองค์การยูเนสโก และศูนย์กลางมรดกโลกที่ปารีส รวมถึงอาเซียน
วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555
วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ พื้นที่รุกล้ำที่เขมรยึดครองเบ็ดเสร็จ
นับ ไปไม่เนิ่นนานการประชุมคณะทำงานร่วม (JWG) ระหว่างไทยกับเขมรคงจะเริ่มขึ้น ซึ่งเนื้อหาสาระหลักมีเพียงเรื่องเดียวคือการถอนทหาร เพื่อน้อมไปตามมาตรการชั่วคราวของศาลที่กรุงเฮก ซึ่งเป็นศาล “การเมือง” ระหว่างประเทศ ตามที่ฝ่ายเขมรร่ำร้องขอ “เปิดคดีใหม่” ตีความคำตัดสินเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ให้กว้างไกลกินความเกินกว่าขอบเขตการพิจารณาและคำตัดสินในคดีเดิม ซึ่งช้านานเกินกว่าจะขอตีความและประเทศไทยก็มิได้อยู่ภายใต้การรับอำนาจศาล มากว่า ๕๐ ปี ขณะที่ศาลโลกมากด้วยน้ำใจต่อเขมรจนเหลือประมาณนั้น ฝ่ายรัฐบาลไทยก็เปี่ยมไปด้วยความอ่อนน้อมไม่กล้าอ้าปากงัดง้างว่าศาลโลกไม่ มีซึ่งอำนาจ สมยอมให้สมสู่คดีกันไปตามกระบวนการ
จะเป็นว่าเมื่อ ๕๐ ปีก่อนเคยมั่วไปหยิบเอากฎหมายปิดปากของอังกฤษมาทำมึนตัดสินยกปราสาทให้เขมร เพราะหาเหตุที่ชอบด้วยหลักเหตุผลไม่ได้ ปลายปีนี้หรือปีหน้า ศาลโลกก็คงหน้ามึนเหมือนเดิม อย่างไรอย่างนั้น มิใช่จะมองโลกในแง่ร้าย แต่เมื่อมองหลายองค์ประกอบประกอบเข้าด้วยกัน ก็พอจะประมาณได้ว่าประเทศไทยคงเสียหายหนักหนาสาหัสกว่าเก่า ซึ่งรัฐบาลคงไม่ว่าอะไร และคนไทยส่วนใหญ่ก็คงไม่ว่ากระไรเพราะมิใช่แผ่นดินบนโฉนดที่ตนถือ ส่วนพื้นที่อีกหลักแสนไร่ที่เคยว่า ๆ กัน ก็รอวันได้รับผลกระทบจากแผนที่อันฉ้อฉลของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส แต่กว่าความเดือดร้อนจะปรากฎจริงคงใช้เวลาอีกพอประมาณ ณ ขณะนี้โคคอกนั้นยังมิทันหาย
หนึ่งในประเด็นที่ยังถกเถียงกันไม่จบจนการถอนทหารยังไม่เกิดในขณะนี้ คือเรื่องจุดตรวจ ที่ฝ่ายไทยกำหนดไปสามที่ คือ ช่องบันไดหัก บันไดทางขึ้นปราสาทและวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ส่วนทางสายใหม่หลังวัดแก้วฯ ก็ปล่อยโล่งโจ้งให้สะดวกเขมร
(ซ้าย) สิ่งปลูกสร้างอำนาวยความสะดวกนักท่องเที่ยวของเขมรหน้าบันไดทางขึ้นปราสาท (ขวา) บ้านเรือนชาวเขมรรอบวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระที่เพิ่มขึ้นอย่างหนาตาในปัจจุบัน
เมื่อกล่าวถึงวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ วัดแห่งนี้เขมรได้สร้างรุกล้ำบนแผ่นดินไทย ๔.๖ ตร.กม. ค่อย ๆ เติมค่อย ๆ ต่อ ส่วนฝ่ายไทยก็รื้อทำลายวัดด้วยหนังสือประท้วงทางการทูต จนกระทั่งกลายเป็นวัดถาวรมีอาณาบริเวณกว้างขวาง มีอาคารหลายหลัง ดังที่เห็นในปัจจุบัน มี “ธงงานวัด” ประดับประดาสวยงาม มีชุมชนห้อมล้อมร้อยกว่าหลังคาเรือน แม้วัดจะถูกสร้างเมื่อราวปี ๔๐ กว่า ๆ แต่เป็นที่รู้จักอย่างจริงจังในสังคมไทยก็เมื่อหลังเหตุการณ์ ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๕๑ ที่ พล.ท.กนก เนตระคะเวสนะ บุกพังประตูห้วยตานี นำกำลังขึ้นช่วยคนไทยที่ถูกทหารเขมรจับตัว แล้วประจำการทหารไทยเต็มพื้นที่บนวัดแห่งนั้น แต่ต่อมาภายหลังก็มีการปรับลดกำลัง ลดสิบ ลดห้า ตามลำดับจนไม่เหลือทหารไทยหลังเหตุการณ์ปะทะ ๔-๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ซึ่งเข้าใจได้ คงไม่มีใครต้องการให้ทหารกลับขึ้นไปเสี่ยง เห็นใจและเข้าใจ เพราะแม้มิใช่ญาติพี่น้องแต่ก็เป็นทหารของคนไทย เว้นแต่ว่าผู้บังคับบัญชาระดับบนเห็นควรประจำการเต็มกำลังหนึ่งหมวดหนึ่งกอง ร้อยหรือตามสมควร เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ แต่ก็เป็นข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้เพราะนายทหารระดับสูงได้ลั่นคำไว้หลายต่อ หลายครั้งแล้วว่าสัมพันธ์ที่ดีมีค่าเหนืออื่นใด
นับตั้งแต่การปะทะเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วสงบลง สถานการณ์ในพื้นที่เข้าสู่สภาวะปกติ เริ่มมีนักท่องเที่ยวกลับเข้ามา ชาวเขมรก็ขึ้นมาตั้งบ้านเรือนมากขึ้น ทางการกัมพูชาเร่งปลูกสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกรอบบริเวณปราสาทมากยิ่งขึ้น และล่าสุดเมื่อช่วงปีใหม่ หลังคณะทำงานระดับชาติพื้นที่พระวิหารของเขมรเข้าไล่ที่บ้านสวายจรุมแล้วส่ง ต่อพื้นที่ให้กับองค์การพระวิหาร เพื่อพัฒนาตามแผนบริหารจัดการ ชาวเขมรส่วนหนึ่งที่ไม่ยอมย้ายไปอยู่หมู่บ้านธรรมชาติสมเด็จเดโชที่ทางการจัดสรรที่ดินไว้ให้ ก็พากันขึ้นมาปลูกบ้านเรือนรอบวัดฯ ส่วนใหญ่เป็นบ้านของทหารหรือครอบครัวทหารที่ประจำการอยู่บนปราสาท นอกจากนี้ พ่อค้าแม่ขายที่อยู่บนตลาดหน้าบันไดทางขึ้นปราสาท ถ้าไม่ใช่ครอบครัวทหารก็เป็นทหารหญิงของกัมพูชาเสียเอง ที่มีดาวหลายดวงแทบทั้งสิ้น หมายความว่า ปัจจุบัน บนพื้นที่ ๔.๖ ตร.กม. หลังประตูเหล็กข้ามห้วยตานีขึ้นไป อันเป็นแผ่นดินภายใต้อธิปไตยของไทย มีแต่คนเขมรอยู่อาศัยครอบครอง จะอยู่ในสภาพชุดพลเรือนหรือชุดอื่นก็ล้วนเป็นทหารเขมรทั้งสิ้น
(ซ้าย) พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. เยี่ยมฐานปฏิบัติการทหารไทยที่พลาญยาว ทางตะวันตกของภูมะเขือ เมื่อ ๒๕ ม.ค. ๕๕ ภาพจาก หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ ๒๓ (ขวา) ทหารไทยที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ เมื่อ ๑๗ ก.ค. ๕๑
เมื่อวันที่ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตรวจเยี่ยมชายแดนพระวิหาร หลายฝ่ายชื่นใจที่นายทหารระดับสูงผู้นี้ใส่ใจลงพื้นที่ด้วยตัวเอง และเดินทางไปที่พลาญยาว ไม่ใช่เฉียดไปแค่ที่ผามออีแดงเหมือนคณะอื่น ๆ แต่ก็อดเสียดายไม่ได้ ที่ไม่ว่า ผบ.สส. ผู้นี้หรือคณะไหน ก็ไม่มีใครขึ้นไปเยี่ยม “แผ่นดินไทย” ที่วัดแก้วฯ ฝั่งตะวันตกของตัวปราสาท ตลาด ชุมชนเขมร และที่ยอดภูมะเขือ เลยแม้แต่คณะเดียว เพื่อเป็นความชื่นใจของคนไทยว่าพื้นที่เหล่านั้นยังเป็นของเรา แม้ขณะนี้จะถูกสรุปรวบเอาว่าเป็นพื้นที่ “พิพาท” ระหว่างรอศาลโลกให้ความเห็น แต่ก็เป็นพื้นที่พิพาทที่ประหลาดที่สุด คือถูกเขมรยึดครองเบ็ดเสร็จแต่ฝ่ายเดียว และที่ขำไม่ได้ร้องไห้ไม่ออก คือฝ่ายที่ยึดครองแผ่นดินเขาไปร้องขอศาลโลกตัดสินยกแผ่นดินนั้นให้ตนเอง ขณะเจ้าบ้านไม่หืออือแม้แต่น้อยเดียว
วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555
เขมรสั่งทูตทั่วโลก จับตาศาลโลกตีความปราสาทพระวิหาร
|
|
||||
|
วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
คาดศาลโลกตัดสินพระวิหารเร็วสุดสิ้นปี ชี้รบ.ถกจีบีซีไม่ผ่านสภาขัดรธน.
ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม |
|
วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555
กต. ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา
กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา
เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๕ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณีบางฝ่ายมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและอาจไม่ทราบพัฒนาการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้าตรวจดูปราสาทพระวิหารของผู้เชี่ยวชาญประเทศต่าง ๆ และเหตุการณ์ทหารกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ของไทย ดังนี้
๑. การเดินทางไปปราสาทพระวิหารของผู้เชี่ยวชาญเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ รัฐบาลกัมพูชาเป็นผู้จัดและได้มีหนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศ รวมถึงยูเนสโกและประเทศไทย อย่างไรก็ดี โดยที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังไม่ได้มีคำตัดสินในคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี ๒๕๐๕ ฝ่ายไทยจึงไม่ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมการตรวจพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ จากการประสานกับเจ้าหน้าที่ยูเนสโกประจำประเทศไทยได้รับการยืนยันว่าการตรวจพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้เป็นการดำเนินงานภายใต้กรอบของยูเนสโก โดยเจ้าหน้าที่ของยูเนสโกประจำกัมพูชาและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอื่น ๆ เข้าร่วมตามคำเชิญของรัฐบาลกัมพูชา และขอเรียนว่าไทยยืนยันท่าทีเดิมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลฯ โดยเห็นว่า ทั้งสองประเทศควรร่วมมือกันในการหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจขัดกับคำสั่งของศาลฯ โดยเฉพาะที่ระบุ “ให้ทั้งสองฝ่ายงดเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ข้อพิพาทในศาลฯ ทวีความร้ายแรงหรือแก้ไขยากขึ้น” ซึ่งในเรื่องนี้ฝ่ายไทยได้มีหนังสือแจ้งกัมพูชาให้ทราบท่าทีของไทยดังกล่าวด้วยแล้วเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
๒. เกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐบาลต่อกรณีทหารกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ของไทยเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ โฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือที่ถูกกองกำลังฝ่ายกัมพูชายิงใส่อยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตแดนของกัมพูชา ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราดได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ถึงผู้บัญชาการภูมิภาคทหารที่ ๓ ของกัมพูชา เพื่อขอให้ฝ่ายกัมพูชาตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการประสานแจ้งล่วงหน้าตามแนวปฏิบัติและกองกำลังในพื้นที่ทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาโดยตลอด นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยังได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและฝ่ายกัมพูชารับที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว โดยฝ่ายกัมพูชาได้แสดงความเสียใจและแจ้งว่าเกิดปัญหาในการสื่อสารไปยังกองกำลังในพื้นที่ของกัมพูชาจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดและยืนยันว่าจะไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศก็ได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ ถึงสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยยืนยันว่าเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือดังกล่าวไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตแดนของกัมพูชา พร้อมทั้งแสดงความผิดหวังที่กองกำลังของกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ของไทยและขอให้ฝ่ายกัมพูชาตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็ว
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศยืนยันว่า กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้หารือกันอย่างใกล้ชิดและดำเนินการในเรื่องนี้ตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมากรณีเกิดเหตุการณ์บริเวณชายแดนไทยเพื่อรักษาอธิปไตยของไทย อย่างไรก็ดี การดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านมีความละเอียดอ่อนจึงไม่ประสงค์ที่จะให้นำไปเป็นประเด็นทางการเมืองซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในภาพรวม
************************************
๔ มกราคม ๒๕๕๕
เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๕ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณีบางฝ่ายมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและอาจไม่ทราบพัฒนาการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้าตรวจดูปราสาทพระวิหารของผู้เชี่ยวชาญประเทศต่าง ๆ และเหตุการณ์ทหารกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ของไทย ดังนี้
๑. การเดินทางไปปราสาทพระวิหารของผู้เชี่ยวชาญเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ รัฐบาลกัมพูชาเป็นผู้จัดและได้มีหนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศ รวมถึงยูเนสโกและประเทศไทย อย่างไรก็ดี โดยที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังไม่ได้มีคำตัดสินในคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี ๒๕๐๕ ฝ่ายไทยจึงไม่ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมการตรวจพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ จากการประสานกับเจ้าหน้าที่ยูเนสโกประจำประเทศไทยได้รับการยืนยันว่าการตรวจพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้เป็นการดำเนินงานภายใต้กรอบของยูเนสโก โดยเจ้าหน้าที่ของยูเนสโกประจำกัมพูชาและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอื่น ๆ เข้าร่วมตามคำเชิญของรัฐบาลกัมพูชา และขอเรียนว่าไทยยืนยันท่าทีเดิมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลฯ โดยเห็นว่า ทั้งสองประเทศควรร่วมมือกันในการหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจขัดกับคำสั่งของศาลฯ โดยเฉพาะที่ระบุ “ให้ทั้งสองฝ่ายงดเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ข้อพิพาทในศาลฯ ทวีความร้ายแรงหรือแก้ไขยากขึ้น” ซึ่งในเรื่องนี้ฝ่ายไทยได้มีหนังสือแจ้งกัมพูชาให้ทราบท่าทีของไทยดังกล่าวด้วยแล้วเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
๒. เกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐบาลต่อกรณีทหารกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ของไทยเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ โฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือที่ถูกกองกำลังฝ่ายกัมพูชายิงใส่อยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตแดนของกัมพูชา ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราดได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ถึงผู้บัญชาการภูมิภาคทหารที่ ๓ ของกัมพูชา เพื่อขอให้ฝ่ายกัมพูชาตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการประสานแจ้งล่วงหน้าตามแนวปฏิบัติและกองกำลังในพื้นที่ทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาโดยตลอด นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยังได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและฝ่ายกัมพูชารับที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว โดยฝ่ายกัมพูชาได้แสดงความเสียใจและแจ้งว่าเกิดปัญหาในการสื่อสารไปยังกองกำลังในพื้นที่ของกัมพูชาจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดและยืนยันว่าจะไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศก็ได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ ถึงสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยยืนยันว่าเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือดังกล่าวไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตแดนของกัมพูชา พร้อมทั้งแสดงความผิดหวังที่กองกำลังของกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ของไทยและขอให้ฝ่ายกัมพูชาตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็ว
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศยืนยันว่า กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้หารือกันอย่างใกล้ชิดและดำเนินการในเรื่องนี้ตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมากรณีเกิดเหตุการณ์บริเวณชายแดนไทยเพื่อรักษาอธิปไตยของไทย อย่างไรก็ดี การดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านมีความละเอียดอ่อนจึงไม่ประสงค์ที่จะให้นำไปเป็นประเด็นทางการเมืองซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในภาพรวม
************************************
๔ มกราคม ๒๕๕๕
วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555
ค้านคำสั่งศาลโลก
วันนี้(9ม.ค.2555) ปชช.5 จว.อีสานตอนใต้ บุกชายแดนเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ ศรีสะเกษ แสดงพลังปกป้องดินแดนไทย เมินคำตัดสินของศาลโลก พร้อมยืนยันค้านถอนกำลังทหารไทยออกจากเขาพระวิหาร
ประชาชน เครือข่าย 5 จังหวัดอีสานตอนใต้ ในนามกลุ่มรวมพลังปกป้องดินแดนไทยจังหวัดอีสานใต้ นำโดย นายปราโมทย์ หอยมุก มารวมตัวกันกว่า 100 คน เพื่อแสดงพลังปกป้องแผ่นดินไทย พร้อมประกาศเจตนารมณ์ไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก และคัดค้านการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นบริเวณ 17.3 ตารางกิโลเมตร (ตร.กม.) ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก โดยเฉพาะพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านเขาพระวิหาร
พร้อมกันนี้ได้นำสิ่งของอุปโภคบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้ง มามอบให้แก่ พ.อ.ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23 ซึ่งเป็นตัวแทนทหารกองกำลังสุรนารี (กกล.สุรนารี) กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) เพื่อนำไปมอบต่อให้ทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติที่ บริเวณเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ทหารไทย
ขณะเดียวกัน ได้มีประชาชนชาวศรีสะเกษโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาว อ.กันทรลักษ์ ได้พากันเดินทางมาสมทบกับกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การสนับสนุนในการแสดงพลังไม่ยอมรับคำสั่งของศาลโลก และยืนยันคัดค้านการถอนกำลังทหารไทยออกจากพื้นที่ชายแดนไทย – กัมพูชาด้านเขาพระวิหาร โดยจะมีการเคลื่อนขบวนไปแสดงพลังและร่วมกันประกอบพิธีปกป้องแผ่นดินไทย ที่บริเวณผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
ประชาชน เครือข่าย 5 จังหวัดอีสานตอนใต้ ในนามกลุ่มรวมพลังปกป้องดินแดนไทยจังหวัดอีสานใต้ นำโดย นายปราโมทย์ หอยมุก มารวมตัวกันกว่า 100 คน เพื่อแสดงพลังปกป้องแผ่นดินไทย พร้อมประกาศเจตนารมณ์ไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก และคัดค้านการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นบริเวณ 17.3 ตารางกิโลเมตร (ตร.กม.) ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก โดยเฉพาะพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านเขาพระวิหาร
พร้อมกันนี้ได้นำสิ่งของอุปโภคบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้ง มามอบให้แก่ พ.อ.ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23 ซึ่งเป็นตัวแทนทหารกองกำลังสุรนารี (กกล.สุรนารี) กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) เพื่อนำไปมอบต่อให้ทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติที่ บริเวณเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ทหารไทย
ขณะเดียวกัน ได้มีประชาชนชาวศรีสะเกษโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาว อ.กันทรลักษ์ ได้พากันเดินทางมาสมทบกับกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การสนับสนุนในการแสดงพลังไม่ยอมรับคำสั่งของศาลโลก และยืนยันคัดค้านการถอนกำลังทหารไทยออกจากพื้นที่ชายแดนไทย – กัมพูชาด้านเขาพระวิหาร โดยจะมีการเคลื่อนขบวนไปแสดงพลังและร่วมกันประกอบพิธีปกป้องแผ่นดินไทย ที่บริเวณผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555
มภ.2 ปัด เขมรยังไม่ประท้วงไทยประดิษฐานพระพุทธรูปหน้าแนวภูมะเขือ
วัน ที่ 8 ม.ค. พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ กรณีสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กำหนดทำพิธีประดิษฐานพระพุทธรูปที่หน้าแนวในพื้นที่ภูมะเขือของไทย พร้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุซึ่งประดิษฐานที่พลาญยาว ทางทิศตะวันตกของภูมะเขือ ในช่วงเช้าวันที่ 9 ม.ค. นี้ โดยมีสมเด็จพระวันรัตน เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นองค์ประธานในพิธี พร้อมด้วย พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ ๒ และข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เข้าร่วมพิธี โดยยอมรับว่า ในวันที่ 9 ม.ค.นี้ จะมีการทำพิธีดังกล่าวจริง ซึ่งจนถึงขณะนี้ ส่วนตัวก็ยังไม่เห็น และไม่ได้มีการส่งหนังสือประท้วงไม่พอใจการกระทำของไทยอย่างเป็นทางการที่มา จากกัมพูชาแต่อย่างใด และทางไทยเราก็ยังจะดำเนินการให้เป็นไปตามที่ได้มีการตกลงไว้ก่อนหน้าในการ ทำพิธีประดิษฐานพระพุทธรูปในวันดังกล่าวเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
"ทั้ง นี้มันไม่เห็นว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเขตแดนอะไร เพราะลูกน้องผมในพื้นที่มีความศรัทธา และเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความศักดิ์สิทธิ์ก็แค่นั้น รวมทั้งก็นับถือศาสนาพุทธ แล้วจนถึงตอนนี้เองก็ยังไม่เห็นมีอะไร ถ้ามีลูกน้องคงรายงานเข้ามาให้ผมทราบแล้ว ความจริงกัมพูชาที่ผ่านมาก็มีการตั้งอะไรในพื้นที่ได้ ก็ไม่น่าเป็นปัญหา" พล.ท.ธวัชชัย กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม่ทัพภาคที่ 2 ยังฝากไปถึง สื่อมวลชนของไทยที่เสนอข่าวนี้ด้วยว่า ความจริงไม่ควรนำเสนอข่าวอย่างนี้เพราะอาจกลายเป็นการยั่วยุฝ่ายตรงข้ามได้ ดังนั้นควรเห็นแก่ประเทศชาติบางข่าวไม่ควรนำเสนอ.
ไทยรัฐ
วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555
อีกไม่เกิน 60 วัน ไทยกำลังจะแพ้ศาลโลกรอบที่สองในรอบ 50 ปี !?
ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อคดีการวินิจฉัยตีความคำพิพากษาของศาลโลกกรณีพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารความตอนหนึ่งว่า:
“จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกในเดือนกุมภาพันธ์ และเพื่อไม่ให้คดีดังกล่าวข้ามการเปลี่ยนแปลงองค์คณะ ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์กันว่า ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ศาลโลกจะมีคำตัดสินเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา ซึ่งรัฐบาลไทยคงได้ยื่นคำให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษรไปแล้ว ส่วนการจะไปให้ถ้อยแถลงด้วยวาจา ก็มีความสำคัญ ต้องมีการเตรียมตัวให้ดี มีการซักซ้อม ดำเนินการให้เป็นเอกภาพ”
หากเป็นไปตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คาดการณ์เอาไว้ ศาลโลกจะวินิจฉัยคำพิพากษาของศาลโลก เมื่อปี พ.ศ. 2505 ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ก็แปลว่าเรามีเวลาเหลืออยู่อีกเพียงไม่ถึง 60 วันเท่านั้น ก่อนที่ศาลโลกจะตัดสินไปในทางใดทางหนึ่ง:
ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีที่ 50 แล้วที่ศาลโลกได้เคยตัดสินคดีนี้ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ลงความเห็นด้วยข้อความว่า:
“ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา”
สำหรับ ข้อเรียกร้องในข้อ 1 ของกัมพูชาว่าให้ศาลพิพากษาและชี้ขาดสถานภาพของแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว (แผนที่ภาคผนวก 1) และข้อเรียกร้องในข้อ 2 ของกัมพูชาที่ขอให้พิพากษาและชี้ขาดเส้นเขตแนวระหว่างไทย-กัมพูชาตามแผนที่ มาตราส่วน 1: 200,000 (แผนที่ภาคผนวก 1) นั้น ศาลไม่ตัดสินเป็นบทปฏิบัติการของคำพิพากษาโดยให้เหตุผลในคำพิพากษาในครั้ง นั้นว่า:
“คำแถลงสรุปข้อที่หนึ่งและข้อที่สองของกัมพูชาที่ขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดใน เรื่องสถานภาพทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 และในเรื่องเส้นเขตแดนในอาณาบริเวณที่พิพาท จะรับฟังได้ก็แต่เพียงในฐานที่เป็นการแสดงเหตุผล และมิใช่เป็นข้อเรียกร้องที่จะต้องกล่าวถึงในบทปฏิบัติการของคำพิพากษา ในทางตรงกันข้าม ศาลเห็นว่าประเทศไทยนั้นหลังจากที่ได้แถลงข้อเรียกร้องของตนเกี่ยวกับ อธิปไตยเหนือพระวิหารแล้ว ได้จำกัดการต่อสู้คดีตามคำแถลงสรุปของตนในตอนจบกระบวนพิจารณาภาควาจาอยู่แต่ เพียงการโต้แย้งและปฏิเสธเพื่อลบล้างข้อต่อสู้ของคู่ความฝ่ายตรงข้ามเท่า นั้น โดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะเลือกหาเหตุผลที่ศาลเห็นเหมาะสมซึ่งคำพิพากษาอาศัยเป็นมูลฐาน”
แม้คำพิพากษาจะมีความชัดเจนว่าไม่ได้ตัดสินสถานภาพของแผนที่และเส้น เขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 แต่เราก็จะวางใจไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะสิ่งที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องปีที่แล้วต่อศาลโลกนั้นได้ให้ช่วยตีความใน คำพิพากษาในการตัดสินเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ในประเด็นที่มีการลงคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ว่า:
“ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือ ในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา”
และสิ่งที่กัมพูชาให้ตีความนั้นก็คือคำว่า การถอยทหาร ตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลออกจาก “บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา” คือบริเวณไหน?
โดยกัมพูชามุ่งหมายจะให้ศาลโลกตีความเพื่อหวังว่า บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชานั้นหมายถึงแผนที่ภาคผนวก 1 หรือ แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 หรือไม่?
ทั้งนี้เพราะแม้กัมพูชาจะรู้ว่า แผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 จะไม่ใช่บทปฏิบัติการของคำพิพากษาโดยตรง แต่กัมพูชาอาศัยช่องเล็กๆที่แผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ศาลโลกอ้างกฎหมายปิดปากที่ฝ่ายไทยไม่ปฏิเสธแผนที่ ฉบับนี้ในการใช้เป็น “มูลฐาน” ในการแสดงเหตุผลเพื่อตัดสิน “บทปฏิบัติการ” ให้ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา ในการใช้เป็นประโยชน์ในการส่งศาลโลกตีความในครั้งนี้ด้วย
เพราะเมื่อ “มูลฐาน” จากกฎหมายปิดปากในเรื่องแผนที่ภาคผนวก 1 ใช้ถูกนำมาใช้เพื่อตัดสินบทปฏิบัติการในประเด็น อำนาจอธิปไตยเหนือตัวปราสาทแล้ว ก็ย่อมต้องส่งผลต่อบทปฏิบัติการในการให้ทหาร ตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาและผู้ดูแล ออกจาก “บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา” ด้วยเช่นกัน
มูลฐาน “กฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ปฏิเสธแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว” ส่งผลต่อบทปฏิบัติการว่า อำนาจอธิปไตยเหนือตัวซากปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา” ฉันใด
มูลฐาน “กฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ปฏิเสธแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว” ก็ย่อมส่งผลต่อบทปฏิบัติการว่า ให้ทหาร ตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาและผู้ดูแล ออกจาก “บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา” ฉันนั้น
ไทยจึงย่อมตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบกว่า หากปล่อยให้มีการตีความบทปฏิบัติการของคำพิพากษานี้ !!
ทั้งนี้การใช้กฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ปฏิเสธแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ได้กลายเป็น “มูลฐาน” ในการตัดสิน “บทปฏิบัติการของคำพิพากษา” ทั้งนี้ได้มีการบรรยายมูลฐานในการตัดสินครั้งนั้นด้วยข้อความว่า:
“อย่างไรก็ดี ศาลมีความเห็นว่าประเทศไทยใน ค.ศ. 1908 – 1909 ได้ยอมรับแผนที่ในภาคผนวก 1 ว่า เป็นผลงานของการปักปันเขตแดน และด้วยเหตุนี้จึงได้รับรองเส้นบนแผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน อันเป็นผลให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ศาลมีความเห็นต่อไปว่าเมื่อพิจารณาโดยทั่วไป การกระทำต่อๆมาของไทยมีแต่ยืนยัน และชี้ให้เห็นชัดถึงการยอมรับแต่แรกนั้น และว่าการกระทำขอบงไทยในเขตท้องที่ก็ไม่พอเพียงที่จะลบล้างข้อนี้ได้ คู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยการประพฤติปฏิบัติของตนเองได้รับรองเส้นแผนที่นี้ และดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการตกลงให้ถือว่าเส้นนี้เป็นเส้นเขตแดน”
ด้วยเหตุผลนี้ประเทศไทยจึงได้ทำการประท้วง คัดค้าน ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินที่อยุติธรรม ที่แม้ว่ารัฐบาลไทยจะปฏิบัติตามคำพิพากษา แต่ก็ยังได้ตั้งข้อสงวนที่จะทวงคืนในอนาคตหากกฎหมายมีการพัฒนาไปมากกว่านี้ โดยปราศจากการคัดค้าน และทักท้วงจากทุกประเทศในหมู่มวลสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ
ข้อสำคัญแม้แต่กัมพูชา ก็พอใจกับการปฏิบัติกั้นแนวรั้วรอบปราสาทพระวิหารของฝ่ายไทยและไม่เคยคัด ค้านหรือเรียกร้องใดๆจากองค์การสหประชาชาติเป็นเวลากว่า 40 ปี
เพราะความจริงมีอยู่ว่าศาลโลกในขณะนั้นไม่ได้หักล้างเหตุผลของฝ่าย ไทยที่หยิบยกขึ้นมาต่อสู้ในหลายประเด็น ทั้งในเรื่อง หลักฐานผลงานของผู้เชี่ยวชาญการการสำรวจตรวจตราภูมิประเทศในบริเวณเขาพระ วิหาร หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ฝ่ายฝรั่งเศสมีบันทึกระบุว่าสันปันน้ำบริเวณทิว เขาดงรักอยู่ที่หน้าผามองเห็นได้จากตีนภูเขาดงรัก และหลักฐานที่ว่าแผนที่นี้สร้างขึ้นผิดจากความเป็นจริงแห่งภูมิประเทศ ฯลฯ แต่ศาลโลกกลับเลือกกฎหมายปิดปากมาเป็นมูลฐานหลักโดยปราศจากการหักล้าง ไม่โต้แย้ง ไม่แม้กระทั่งกล่าวถึงเหตุผลของฝ่ายไทย
ดังนั้นจึงถือว่าประเทศไทยในขณะนั้นไม่ได้คัดค้าน ประท้วง และตั้งข้อสงวน เฉพาะ “บทปฏิบัติการ”ของคำพิพากษาของศาลโลกเท่านั้น แต่ยังคัดค้านรุกไปถึง “มูลฐาน”ในการใช้เป็นเหตุผลตัดสินที่อยุติธรรมอีกด้วย
คำแถลงคัดค้าน ประท้วง และตั้งข้อสงวนของไทยในยุคนั้น จึงมีความหมายอย่างยิ่ง เมื่อรวมกับการที่ประเทศไทยไม่ได้ต่ออายุปฏิญญาการประกาศยอมรับอำนาจศาลโลก โดยบังคับมา 50 ปีแล้ว ย่อมหมายความว่าเราไม่ควรกลับไปยอมรับอำนาจศาลโลกในการตีความที่มาจาก “มูลฐาน” ที่อยุติธรรมของศาลโลกอีก
และถ้าไทยยังไปยอมรับการตีความ “บทปฏิบัติการของคำพิพากษา” บน “มูลฐาน”ที่อยุติธรรมแล้ว เท่ากับว่าประเทศไทยได้สละการคัดค้าน ประท้วง ตั้งข้อสงวนของฝ่ายไทยที่เคยมีมา และได้กลับไปรับอำนาจของศาลโลกอีกครั้งในรอบ 50 ปี และอาจถือเป็นการทรยศต่อภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่ได้ปกป้องแผ่นดินไทยเอา ไว้มาจนถึงวันนี้ ใช่หรือไม่?
และอีกไม่เกิน 60 วัน ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงที่จะเสียดินแดนในเวทีศาลโลกครั้งที่สองในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา!!!
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อคดีการวินิจฉัยตีความคำพิพากษาของศาลโลกกรณีพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารความตอนหนึ่งว่า:
“จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกในเดือนกุมภาพันธ์ และเพื่อไม่ให้คดีดังกล่าวข้ามการเปลี่ยนแปลงองค์คณะ ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์กันว่า ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ศาลโลกจะมีคำตัดสินเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา ซึ่งรัฐบาลไทยคงได้ยื่นคำให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษรไปแล้ว ส่วนการจะไปให้ถ้อยแถลงด้วยวาจา ก็มีความสำคัญ ต้องมีการเตรียมตัวให้ดี มีการซักซ้อม ดำเนินการให้เป็นเอกภาพ”
หากเป็นไปตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คาดการณ์เอาไว้ ศาลโลกจะวินิจฉัยคำพิพากษาของศาลโลก เมื่อปี พ.ศ. 2505 ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ก็แปลว่าเรามีเวลาเหลืออยู่อีกเพียงไม่ถึง 60 วันเท่านั้น ก่อนที่ศาลโลกจะตัดสินไปในทางใดทางหนึ่ง:
ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีที่ 50 แล้วที่ศาลโลกได้เคยตัดสินคดีนี้ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ลงความเห็นด้วยข้อความว่า:
“ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา”
สำหรับ ข้อเรียกร้องในข้อ 1 ของกัมพูชาว่าให้ศาลพิพากษาและชี้ขาดสถานภาพของแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว (แผนที่ภาคผนวก 1) และข้อเรียกร้องในข้อ 2 ของกัมพูชาที่ขอให้พิพากษาและชี้ขาดเส้นเขตแนวระหว่างไทย-กัมพูชาตามแผนที่ มาตราส่วน 1: 200,000 (แผนที่ภาคผนวก 1) นั้น ศาลไม่ตัดสินเป็นบทปฏิบัติการของคำพิพากษาโดยให้เหตุผลในคำพิพากษาในครั้ง นั้นว่า:
“คำแถลงสรุปข้อที่หนึ่งและข้อที่สองของกัมพูชาที่ขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดใน เรื่องสถานภาพทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 และในเรื่องเส้นเขตแดนในอาณาบริเวณที่พิพาท จะรับฟังได้ก็แต่เพียงในฐานที่เป็นการแสดงเหตุผล และมิใช่เป็นข้อเรียกร้องที่จะต้องกล่าวถึงในบทปฏิบัติการของคำพิพากษา ในทางตรงกันข้าม ศาลเห็นว่าประเทศไทยนั้นหลังจากที่ได้แถลงข้อเรียกร้องของตนเกี่ยวกับ อธิปไตยเหนือพระวิหารแล้ว ได้จำกัดการต่อสู้คดีตามคำแถลงสรุปของตนในตอนจบกระบวนพิจารณาภาควาจาอยู่แต่ เพียงการโต้แย้งและปฏิเสธเพื่อลบล้างข้อต่อสู้ของคู่ความฝ่ายตรงข้ามเท่า นั้น โดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะเลือกหาเหตุผลที่ศาลเห็นเหมาะสมซึ่งคำพิพากษาอาศัยเป็นมูลฐาน”
แม้คำพิพากษาจะมีความชัดเจนว่าไม่ได้ตัดสินสถานภาพของแผนที่และเส้น เขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 แต่เราก็จะวางใจไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะสิ่งที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องปีที่แล้วต่อศาลโลกนั้นได้ให้ช่วยตีความใน คำพิพากษาในการตัดสินเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ในประเด็นที่มีการลงคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ว่า:
“ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือ ในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา”
และสิ่งที่กัมพูชาให้ตีความนั้นก็คือคำว่า การถอยทหาร ตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลออกจาก “บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา” คือบริเวณไหน?
โดยกัมพูชามุ่งหมายจะให้ศาลโลกตีความเพื่อหวังว่า บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชานั้นหมายถึงแผนที่ภาคผนวก 1 หรือ แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 หรือไม่?
ทั้งนี้เพราะแม้กัมพูชาจะรู้ว่า แผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 จะไม่ใช่บทปฏิบัติการของคำพิพากษาโดยตรง แต่กัมพูชาอาศัยช่องเล็กๆที่แผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ศาลโลกอ้างกฎหมายปิดปากที่ฝ่ายไทยไม่ปฏิเสธแผนที่ ฉบับนี้ในการใช้เป็น “มูลฐาน” ในการแสดงเหตุผลเพื่อตัดสิน “บทปฏิบัติการ” ให้ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา ในการใช้เป็นประโยชน์ในการส่งศาลโลกตีความในครั้งนี้ด้วย
เพราะเมื่อ “มูลฐาน” จากกฎหมายปิดปากในเรื่องแผนที่ภาคผนวก 1 ใช้ถูกนำมาใช้เพื่อตัดสินบทปฏิบัติการในประเด็น อำนาจอธิปไตยเหนือตัวปราสาทแล้ว ก็ย่อมต้องส่งผลต่อบทปฏิบัติการในการให้ทหาร ตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาและผู้ดูแล ออกจาก “บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา” ด้วยเช่นกัน
มูลฐาน “กฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ปฏิเสธแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว” ส่งผลต่อบทปฏิบัติการว่า อำนาจอธิปไตยเหนือตัวซากปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา” ฉันใด
มูลฐาน “กฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ปฏิเสธแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว” ก็ย่อมส่งผลต่อบทปฏิบัติการว่า ให้ทหาร ตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาและผู้ดูแล ออกจาก “บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา” ฉันนั้น
ไทยจึงย่อมตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบกว่า หากปล่อยให้มีการตีความบทปฏิบัติการของคำพิพากษานี้ !!
ทั้งนี้การใช้กฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ปฏิเสธแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ได้กลายเป็น “มูลฐาน” ในการตัดสิน “บทปฏิบัติการของคำพิพากษา” ทั้งนี้ได้มีการบรรยายมูลฐานในการตัดสินครั้งนั้นด้วยข้อความว่า:
“อย่างไรก็ดี ศาลมีความเห็นว่าประเทศไทยใน ค.ศ. 1908 – 1909 ได้ยอมรับแผนที่ในภาคผนวก 1 ว่า เป็นผลงานของการปักปันเขตแดน และด้วยเหตุนี้จึงได้รับรองเส้นบนแผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน อันเป็นผลให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ศาลมีความเห็นต่อไปว่าเมื่อพิจารณาโดยทั่วไป การกระทำต่อๆมาของไทยมีแต่ยืนยัน และชี้ให้เห็นชัดถึงการยอมรับแต่แรกนั้น และว่าการกระทำขอบงไทยในเขตท้องที่ก็ไม่พอเพียงที่จะลบล้างข้อนี้ได้ คู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยการประพฤติปฏิบัติของตนเองได้รับรองเส้นแผนที่นี้ และดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการตกลงให้ถือว่าเส้นนี้เป็นเส้นเขตแดน”
ด้วยเหตุผลนี้ประเทศไทยจึงได้ทำการประท้วง คัดค้าน ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินที่อยุติธรรม ที่แม้ว่ารัฐบาลไทยจะปฏิบัติตามคำพิพากษา แต่ก็ยังได้ตั้งข้อสงวนที่จะทวงคืนในอนาคตหากกฎหมายมีการพัฒนาไปมากกว่านี้ โดยปราศจากการคัดค้าน และทักท้วงจากทุกประเทศในหมู่มวลสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ
ข้อสำคัญแม้แต่กัมพูชา ก็พอใจกับการปฏิบัติกั้นแนวรั้วรอบปราสาทพระวิหารของฝ่ายไทยและไม่เคยคัด ค้านหรือเรียกร้องใดๆจากองค์การสหประชาชาติเป็นเวลากว่า 40 ปี
เพราะความจริงมีอยู่ว่าศาลโลกในขณะนั้นไม่ได้หักล้างเหตุผลของฝ่าย ไทยที่หยิบยกขึ้นมาต่อสู้ในหลายประเด็น ทั้งในเรื่อง หลักฐานผลงานของผู้เชี่ยวชาญการการสำรวจตรวจตราภูมิประเทศในบริเวณเขาพระ วิหาร หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ฝ่ายฝรั่งเศสมีบันทึกระบุว่าสันปันน้ำบริเวณทิว เขาดงรักอยู่ที่หน้าผามองเห็นได้จากตีนภูเขาดงรัก และหลักฐานที่ว่าแผนที่นี้สร้างขึ้นผิดจากความเป็นจริงแห่งภูมิประเทศ ฯลฯ แต่ศาลโลกกลับเลือกกฎหมายปิดปากมาเป็นมูลฐานหลักโดยปราศจากการหักล้าง ไม่โต้แย้ง ไม่แม้กระทั่งกล่าวถึงเหตุผลของฝ่ายไทย
ดังนั้นจึงถือว่าประเทศไทยในขณะนั้นไม่ได้คัดค้าน ประท้วง และตั้งข้อสงวน เฉพาะ “บทปฏิบัติการ”ของคำพิพากษาของศาลโลกเท่านั้น แต่ยังคัดค้านรุกไปถึง “มูลฐาน”ในการใช้เป็นเหตุผลตัดสินที่อยุติธรรมอีกด้วย
คำแถลงคัดค้าน ประท้วง และตั้งข้อสงวนของไทยในยุคนั้น จึงมีความหมายอย่างยิ่ง เมื่อรวมกับการที่ประเทศไทยไม่ได้ต่ออายุปฏิญญาการประกาศยอมรับอำนาจศาลโลก โดยบังคับมา 50 ปีแล้ว ย่อมหมายความว่าเราไม่ควรกลับไปยอมรับอำนาจศาลโลกในการตีความที่มาจาก “มูลฐาน” ที่อยุติธรรมของศาลโลกอีก
และถ้าไทยยังไปยอมรับการตีความ “บทปฏิบัติการของคำพิพากษา” บน “มูลฐาน”ที่อยุติธรรมแล้ว เท่ากับว่าประเทศไทยได้สละการคัดค้าน ประท้วง ตั้งข้อสงวนของฝ่ายไทยที่เคยมีมา และได้กลับไปรับอำนาจของศาลโลกอีกครั้งในรอบ 50 ปี และอาจถือเป็นการทรยศต่อภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่ได้ปกป้องแผ่นดินไทยเอา ไว้มาจนถึงวันนี้ ใช่หรือไม่?
และอีกไม่เกิน 60 วัน ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงที่จะเสียดินแดนในเวทีศาลโลกครั้งที่สองในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา!!!
วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555
อุ่นเครื่องศาลโลก-เขาพระวิหาร
'อุ่นเครื่องเรื่องศาลโลก : ความคืบหน้าคดีปราสาทพระวิหาร' โดย 'วีรพัฒน์ ปริยวงศ์' นักกฎหมายอิสระ อดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ข่าวที่กัมพูชาขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) “ตีความ” คำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๕ เริ่มกลับมาอุ่นตัวอีกครั้งในต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๕ แต่เมื่อรัฐบาล ฝ่ายค้าน และสื่อมวลชนดูจะยังไม่สร่างจากการพักปีใหม่ ผู้เขียนจึงจำต้องฝากข้อมูลให้ประชาชนเตรียมอุ่นเครื่องเรื่องศาลโลกไว้ ๓ ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ ๑: ศาลโลกจะมีคำพิพากษาในเดือนกุมภาพันธ์นี้จริงหรือ ?
เมื่อวันที่ ๓ มกราคมที่ผ่านมา สื่อมวลชนไทยหลายสำนักได้รายงานคำสัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำนองว่า เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และเพื่อไม่ให้การพิพากษาคดีคาบเกี่ยวกับช่วงการเปลี่ยนแปลงองค์คณะ จึงคาดว่าศาลโลกจะมีคำพิพากษาภายในเดือนกุมภาพันธ์ (ดูข่าว เช่น http://bit.ly/yyofVV, http://bit.ly/umw72E , http://on.fb.me/tgYHAP, http://bit.ly/rtZARS)
ผู้เขียนเห็นว่ารายงานข่าวดังกล่าวเป็นการนำเสนอที่ผิดพลาดและหละหลวม เพราะข้อเท็จจริงปรากฎชัดเจนว่าศาลโลกจะยังไม่มีคำพิพากษาภายในเดือนกุมภาพันธ์ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ประการแรก ศาลโลกได้แจ้งให้ทั้งไทยและกัมพูชาทราบแล้วว่า ศาลได้อนุญาตให้ไทยและกัมพูชายื่นบันทึกคำอธิบายเพิ่มเติม (further written explanations) โดยฝ่ายกัมพูชายื่นได้ภายในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ และฝ่ายไทยยื่นได้ภายในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ กล่าวให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ กระบวนพิจารณาของศาลในคดีนี้จะยังคงใช้เวลาอย่างน้อยไปถึงปลายปี ๒๕๕๕ หลังที่ไทยได้ยื่นเอกสารดังกล่าว (ซึ่งหลังจากนั้นทนายความอาจขอให้ศาลอนุญาตให้คู่ความแถลงชี้แจงเป็นวาจาต่อศาลอีกรอบก็เป็นได้)
ทั้งนี้ การที่ศาลอนุญาตให้มีการส่งเอกสารเพิ่มเติมดังกล่าว ถือเป็นเรื่องปกติที่ถูกต้องตามระเบียบศาล (Rules of Court) ข้อที่ ๙๘ วรรคสี่ โดยศาลอาจอนุญาตเห็นว่ายังมีประเด็นที่คู่ความต้องโต้เถียงหักล้างกันต่อเนื่องจากบันทึกข้อสังเกต (written observations) ซึ่งไทยและกัมพูชาได้ยื่นต่อศาลไปแล้ว โดยฉบับของไทยมีรายละเอียดกว่าพันหน้า หรืออีกนัยหนึ่งก็อาจเป็นความพยายามของคู่ความในการเพิ่มเวลาการเจรจานอกศาล เช่น เจรจาถอนคดีเพื่อลดความเสี่ยงของผลคำพิพากษาก็เป็นได้ ทั้งนี้ ศาลโลกได้ออกเอกสารข่าวดังกล่าวไปตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ (http://www.icj-cij.org/docket/files/151/16843.pdf)
ประการที่สอง เหตุผลของนายอภิสิทธิ์ (ตามรายงานข่าว) ที่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ก็เป็นเหตุผลที่คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริงเช่นกัน เพราะระเบียบวิธีพิจารณาของศาลโลกไม่มีเรื่อง “การเปลี่ยนองค์คณะ” ในเดือนกุมภาพันธ์ตามที่ข่าวอ้าง กล่าวคือ ผู้พิพากษาศาลโลกที่เข้ารับตำแหน่งตามวาระก็ต้องร่วมเป็นองค์คณะพิจารณาทุกคดีจนครบวาระเว้นมีเหตุเฉพาะ เช่น ถอนตัวจากคดี หรือ มีกระบวนพิจารณาเร่งด่วน (Chamber of Summary Procedure) ศาลโลกจึงแตกต่างจากศาลในประเทศที่อาจมีการจ่ายสำนวนให้ผู้พิพากษาสามคนจากหลายคนเป็น “องค์คณะ” ในคดีหนึ่งคดีใดเป็นการเฉพาะ
ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ตามระเบียบของศาลโลกก็คือ “การสิ้นวาระดำรงตำแหน่ง” ของผู้พิพากษาศาลโลกบางรายซึ่งไม่ได้เข้าออกจากตำแหน่งในศาลโลกพร้อมกัน กระนั้นก็ดี องค์การสหประชาชาติได้ดำเนินการคัดเลือกผู้พิพากษาที่จะมีวาระดำรงตำแหน่งเริ่มจากเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ครบถ้วนเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๔ แล้ว (http://bit.ly/tNSTEF)
ทั้งนี้ ผู้พิพากษาที่ดำรงตำแหน่งครบวาระมีทั้งสิ้นห้าราย แต่มีสามรายในนั้นที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่ออีกวาระ และมีสองรายที่พ้นจากวาระ (ทั้งสองรายเป็นฝ่ายเสียงข้างมากที่ลงมติให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังทหารตามคำสั่งมาตรการชั่วคราว) อย่างไรก็ตาม ธรรมนูญศาลโลก ข้อ ๑๓ วรรคสาม ประกอบกับระเบียบศาลข้อที่ ๓๓ โดยทั่วไปก็เปิดช่องให้ผู้พิพากษารายเดิมที่พิจารณาคดีค้างอยู่สามารถนั่งพิจารณาจนช่วงคดีเสร็จสิ้นแม้ตนจะพ้นวาระไปแล้วก็ตาม
ประการที่สาม แม้หากจะไม่พิเคราะห์ให้ลึกซึ้งถึงเหตุผลสองประการที่กล่าวมา บุคคลธรรมดาที่แม้จะไม่ได้เป็นนักการเมืองหรือสื่อมวลชน หากสำรวจตรรกะเบื้องต้นให้ดีสักครู่ ก็จะพบว่าการที่ศาลจะเร่งพิจารณาคดีของศาลให้เสร็จภายในไม่กี่เดือนเพื่อให้คดีจบทันการสิ้นวาระของผู้พิพากษานั้น ฟังจะขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ว่า ปัจจุบันมีคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยศาลโลกอยู่ไม่น้อยกว่าสิบคดี และแต่ละคดีใช้เวลาไม่น้อยกว่าสองถึงสามปี ดังนั้น ตรรกะที่ว่าศาลจะพยายามทำให้ทุกคดีเสร็จสิ้นภายในเวลาอีกไม่กี่เดือนได้นั้นย่อมน่าเคลือบแคลงยิ่งนัก
จากเหตุผลสามประการที่กล่าวมา หากนายอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์ตรงตามข่าวจริง คงต้องเห็นใจที่ปรึกษาด้านกฎหมายระหว่างประเทศของนายอภิสิทธิ์ที่หละหลวมจนทำให้บุคคลระดับผู้นำฝ่ายค้านและอดีตผู้นำประเทศ “ปล่อยไก่” ต้อนรับปีใหม่มาทั้งเล้า อย่าลืมว่านายอภิสิทธิ์คนเดียวกันนี้เคยได้ให้สัมภาษณ์เรื่อง “การถอนตัวภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ” ไปก่อนการเลือกตั้ง แต่หลังเลือกตั้งพอน้ำท่วมมรดกโลกที่อยุธยากลับปรากฎว่าไทยไม่เคยถอนตัวดังที่หลายคนเข้าใจ (http://on.fb.me/mJX3b2 )
ส่วนที่ปรึกษาฝ่ายรัฐบาลเองก็น่าเห็นใจเช่นกัน เพราะดูท่าจะยังไล่ไก่เข้าเล้าไม่ทัน เห็นได้จากการที่ นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาตอบโต้คำสัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ โดยเน้นโจมตีแต่เรื่องรัฐบาลชุดเก่า แต่กลับไม่มีรายงานว่านางฐิติมาได้แก้ไขข้อมูลคลาดเคลื่อนชุดใหม่ให้ประชาชนเข้าใจให้ถูกต้องหรือไม่ (เช่น http://bit.ly/A3mgyP และ http://bit.ly/yLhnj7) ยิ่งหากจะมีข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่รู้และเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี แต่กลับสงวนเนื้อสงวนคำหรือไม่มีการประสานงานระหว่างกันจนปล่อยให้โฆษกรัฐบาลทำงานอย่างไร้ข้อมูล ก็น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อย
ยังมิพักที่ต้องเห็นใจสื่อมวลชนไทยที่ทำข่าวเหนื่อยมาตลอดช่วงปลายปี ยังไม่ทันสร่างจากพักปีใหม่ ก็พลาดท่าไม่ได้ตรวจสอบเนื้อหาข่าวย้อนหลังจนรายงานข่าวขัดแย้งให้ประชาชนสับสนแต่ต้นปี
ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนโปรดอุ่นเครื่องและรู้ให้ลึกยิ่งกว่านักการเมืองและสื่อมวลชนไทยว่า ศาลโลกจะยังไม่พิพากษาคดีในเดือนกุมภาพันธ์นี้อย่างแน่นอน
ประเด็นที่ ๒: ไทยยังมีข้อพิพาทอยู่กับกัมพูชาในศาลโลกจริงหรือ ?
คำถามนี้อาจฟังดูแล้วน่าฉงน แต่ขอฝากให้บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล ตลอดจนสื่อมวลชนและนักวิเคราะห์ทั้งหลายนำไปอุ่นเครื่องเตรียมการกล่าวอ้างให้ระมัดระวังว่า ในทางกฎหมายนั้น หากจะกล่าวอ้างให้ถูกต้องตรงกับสิ่งที่ไทยได้แถลงต่อศาลไปก่อนหน้านี้ ย่อมต้องถือว่าไทยไม่มีข้อพิพาทกับกัมพูชาที่เกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษา พ.ศ. ๒๕๐๕ แต่อย่างใด เพราะสำหรับไทยแล้ว คำพิพากษาดังกล่าวมีความชัดเจนว่าไม่เกี่ยวข้องกับเส้นเขตแดน และไทยก็เห็นว่ากัมพูชาได้รับทราบและเข้าใจคำพิพากษาชัดเจนต้องตรงกัน และอยู่ร่วมกันมาอย่างสงบโดยยึดแนวรั้วลวดหนามรอบปราสาทมากว่าสี่สิบปี แต่ฝ่ายกัมพูชากลับมาตีประเด็นให้ศาลหลงเข้าใจว่าไทยและกัมพูชาอ่านคำพิพากษาคนละแบบมาตลอด ซึ่งไทยย่อมปฎิเสธว่าไม่เป็นความจริง
ผู้เขียนย้ำว่า แม้คำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลเมื่อวันที่ ๑๘ ก.ค. ๒๕๕๔ ย่อหน้าที่ ๓๑ จะสรุปประเด็นการตีความคำพิพากษา “ที่มีมูล” (appears to exist) ไว้สามประเด็น คือ (๑) เรื่องบริเวณใกล้เคียงรอบตัวปราสาท (vicinity) (๒) เรื่องความต่อเนื่องของพันธกรณีในการถอนทหารและเคารพอธิปไตย และ (๓) เรื่องสถานะของแผนที่และเส้นเขตแดน แต่กฎหมายก็เปิดช่องให้ศาลยังคงสามารถปฎิเสธที่จะรับตีความประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือทั้งหมดได้ หากศาลพบว่าแท้จริงแล้วคู่ความได้มีความเข้าใจคำพิพากษาตรงกัน หรือประเด็นที่กัมพูชาขอให้ตีความนั้นเกินเลยไปจากขอบเขตของคำพิพากษาเดิม
ดังนั้น หากผู้ใดต้องการจะร่วมสงวนท่าทีของไทยให้สอดคล้องกับข้อต่อสู้ที่ไทยแถลงไปต่อศาลโลก แทนที่จะไปกล่าวหรือรายงานว่าไทยกับกัมพูชามีข้อพิพาทเกี่ยวกับคำพิพากษา หรือเห็นไม่ตรงกันจนทำให้ศาลโลกต้องกลับมาตีความ ก็ควรจะเปลี่ยนเสียใหม่เป็นว่า ไทยเห็นว่าไทยกับกัมพูชาเข้าใจขอบเขตและความหมายของคำพิพากษาตรงกันมาโดยตลอด แต่กัมพูชามากลับลำตีประเด็นเรื่องเขตแดนภายหลัง ดังนั้น เมื่อไทยกับกัมพูชาเข้าใจขอบเขตและความหมายของคำพิพากษาตรงกัน อีกเรื่องเขตแดนยังเกินเลยขอบเขตของคำพิพากาษเดิม ศาลโลกย่อมไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปตีความคำพิพากษาได้
ประเด็นที่ ๓: การถอนกำลังทหารให้เป็นไปตามคำสั่งศาลโลกละเมิดอธิปไตยไทยจริงหรือ ?
เมื่อมีข่าวว่าไทยและกัมพูชาพร้อมจะร่วมมือกันปฏิบัติตาม “คำสั่งมาตรการชั่วคราว” ของศาลโลก โดยการถอน (หรือ “ปรับ”) กำลังทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ก็มีผู้ห่วงใยเริ่มทักท้วงว่าหากไทยปฏิบัติตาม ย่อมถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทยเพราะการถอนทหารกินบริเวณมาในเขตของไทยอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีผู้ห่วงใยท้วงติงว่า ก่อนที่รัฐบาลจะไปดำเนินการตกลงกับกัมพูชาเพื่อถอนหรือปรับกำลังทหารนั้น รัฐบาลจะต้องดำเนินการขอความเห็นชอบจากรัฐสภาและรับฟังความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ เสียก่อน
ผู้เขียนเกรงว่าความห่วงใยและหวังดีดังกล่าวอาจไม่ได้ตั้งอยู่บนความแตกฉานในข้อกฎหมาย ดังนี้
ประการแรก การปฏิบัติตามคำสั่งศาลเพื่อเคารพเขตปลอดทหารชั่วคราวดังกล่าว เป็นเพียงเรื่องมาตรการชั่วคราวที่มุ่งป้องกันการปะทะกันด้วยอาวุธ ซึ่งไทยและกัมพูชามีสิทธิขอให้ศาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้หากมีเหตุผลจำเป็น ที่สำคัญ พิกัดที่ศาลใช้กำหนดเขตปลอดทหารชั่วคราวดังกล่าว มิได้มีผลทางกฎหมายต่อเขตแดนแต่อย่างใด ดังที่ศาลได้ย้ำอย่างชัดเจนในคำสั่งหลายครั้ง (เช่น ย่อหน้าที่ ๒๑, ๓๘ และ ๖๑) ว่าการพิจารณาออกคำสั่งครั้งนี้ ศาลย่อมไม่ก้าวเข้าไปวินิจฉัยประเด็นที่กัมพูชาอ้างว่าดินแดนส่วนใดเป็นของใครหรือเขตแดนจะต้องเป็นไปตามเส้นหรือแผนที่ใด (ประเด็นที่คนไทยควรรู้เกี่ยวกับคำสั่งศาลโลก โปรดดู http://on.fb.me/ovWF6a) นอกจากนี้ เพียงการที่ทหารไทยยืนหรือไม่ยืนอยู่ ณ จุดใด มิได้เป็นเครื่องวัดว่าไทยมีอธิปไตยเหนือพื้นที่นั้นหรือไม่แต่อย่างใด
ประการที่สอง รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ ไม่ได้บัญญัติถึงกรณีการปฎิบัติตามคำสั่งศาลโลก และแม้จะมีผู้ตีความว่าไทยและกัมพูชาจะถอนหรือปรับกำลังตามข้อตกลงระหว่างสองประเทศก็ดี แต่หากการดำเนินการดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงเพื่อประสานงานในทางบริหารเป็นการชั่วคราว โดยการอาศัยอำนาจของฝ่ายบริหารโดยแท้ เช่น การควบคุมเคลื่อนย้ายกำลังพล การดังกล่าวก็มิต้องด้วยกรณีของมาตรา ๑๙๐ ในทางกลับกัน การพยายามยัดเยียดให้อำนาจของฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะการใช้อำนาจที่เป็นของฝ่ายบริหารโดยแท้ เช่น การควบคุมเคลื่อนย้ายกำลังพลทหาร ตกอยู่ภายใต้อำนาจนิติบัญญัติหรือตุลาการตามมาตรา ๑๙๐ จะกลับกลายเป็นการทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจและความรับผิดชอบในทางประชาธิปไตย และชักนำให้เกิดภาวะความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินในที่สุด
ประการที่สาม การยก “อำนาจอธิปไตย” ขึ้นอ้างอย่างพร่ำเพรื่อโดยที่ผู้อ้างไม่เข้าใจถึงความหมายของคำดังกล่าวย่อมเป็นกับดักที่อันตรายยิ่งนัก ในโลกปัจจุบันแทบจะไม่มี “อำนาจอธิปไตยเด็ดขาด” หลงเหลืออีกแล้ว มีแต่เพียง “อำนาจอธิปไตย” ภายใต้กฎหมายและความร่วมมือระหว่างประเทศ การที่ไทยและกัมพูชายอมปฎิบัติตามคำสั่งศาลโลกก็ไม่ใช่เพราะถูกบังคับหรือเพื่อสมยอมแก่ใคร แต่เพื่อยินยอมให้เจ้าของ “อำนาจอธิปไตย” ทุกหมู่เหล่าอยู่ร่วมบนโลกใบนี้ได้อย่างสงบสุข ตามที่ไทยและกัมพูชาได้ตกลงผูกพันทางกฎหมายไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ การที่ไทยเข้าทำสนธิสัญญาดังกล่าวเสียอีก กลับเป็นเครื่องยืนยันว่าไทยพร้อมที่จะใช้ “อำนาจอธิปไตย” ตามกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อรักษา “อำนาจอธิปไตย” ของไทยไว้ให้คงอยู่ร่วมกับ “อำนาจอธิปไตย” ของผู้อื่น อย่างเสมอภาค ยุติธรรมและไม่เบียดเบียนกัน (รายละเอียดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย และมาตรา ๑๙๐ โปรดดู http://bit.ly/AbacnL)
หมายเหตุ: ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร ศึกษาได้ที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple
คมชัดลึก
วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555
ปราสาทพระวิหารกับศาลโลกและมรดกโลกเหตุผลที่ไทยต้องเสียดินแดน
เทพมนตรี ลิปพยอม
ปัญหาสำคัญกรณีปราสาทพระวิหารที่จะเกิดขึ้นในปีหน้ามีสองเรื่อง เรื่องแรกคือเรื่องมรดกโลก และเรื่องที่สองคือเรื่องศาลโลก ทั้งสองเรื่องนี้ต่างสอดคล้องกันมีผลต่อเนื่องซึ่งกันและกัน เรื่องมรดกโลกเป็นที่ทราบกันดีว่าการลาออกของคุณสุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย มีเหตุผลข้อใหญ่ก็คือ แผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารที่เข้าสู่ที่ประชุมทำให้เราอาจสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน คุณสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ลุกขึ้นแสดงเหตุผลต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ขอให้ที่ประชุมเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารการจัดการออกไปก่อน แต่ในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ปารีสเมื่อกลางปีที่ผ่านมา “ไม่เลื่อน”
คุณสุวิทย์จึงแถลงลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกโดยอ่านจดหมายลาออกกลางที่ประชุม การลาออกของคุณสุวิทย์ในเวลานั้น ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของสมาชิกและมีบางประเทศถึงกับตกใจเดินเข้ามาขอให้คุณสุวิทย์อย่าลาออก ประเทศภาคีสมาชิกส่วนใหญ่ ไม่คิดว่าประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกจะกล้าลาออก การลาออกในวันนั้นได้ส่งผลให้คณะกรรมการยังไม่พิจารณาแผนบริหารจัดการ แต่ผ่านการตรวจสอบรับรองแบบไม่เป็นทางการ ต่อมานางอิรีน่า โบโกว่า ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก จึงส่งหนังสือตามหลังคุณสุวิทย์มายังเมืองไทย โดยย้ำว่าการลาออกของประเทศไทยจะยังไม่สมบูรณ์ (จนกว่าจ่ายเงินที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้น) ต้องมีจดหมายจากนายกรัฐมนตรีและการลาออกจะมีผล 1 ปีถัดไป
คุณสุวิทย์ลาออกเพราะเหตุผลที่ว่า แผนบริหารการจัดการได้รุกล้ำดินแดนประเทศไทยอันอาจให้ไทยต้องสูญเสียดินแดนไปในอนาคต (และแม้วันนี้เราก็ได้สูญเสียดินแดนไปด้วยการปล่อยให้กัมพูชาเข้ามายึดครองพื้นที่) การลาออกด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงชวนให้คิดได้ว่ารัฐบาลของคุณปู ยิ่งลักษณ์ จะต้องตอบคำถามก่อนการกลับเข้าไปขอคืนสถานภาพที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาใบลาออกของคุณสุวิทย์นั้น “ประเทศไทยจะไม่สูญเสียดินแดนแล้วใช่ไหม
ประเทศไทยในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะไม่มีการสูญเสียดินแดนอีกแล้วใช่หรือไม่” การประชุมมรดกโลกในปีหน้าจะกระทำกันราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2555 หัวข้อของคณะกรรมการในวาระแรกเป็นการขอแสดงความยินดีที่รัฐภาคีสมาชิกอย่างประเทศไทยจะกลับมาร่วมทำสังฆกรรมกันอีก เสียเงินค่าสมาชิกจำนวนเป็นสิบๆ ล้าน และในที่สุดเราอาจต้องเข้าร่วมแผนบริหารจัดการกับเขมรหรือถูกคณะกรรมการมรดกโลกออกมติให้ไทยรับแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของเขมรเพื่อสันติภาพตามหลักการของยูเนสโกและเหตุผลการกำเนิดของมรดกโลก “สันติภาพและสันติสุขจะดำรงอยู่อย่างกลมเกลียวในหมู่มวลสมาชิก”
สำหรับเรื่องศาลโลกแล้ว ประเทศไทยไม่เคยยอมรับอำนาจของศาลโลกอีกภายหลังจากคดีปราสาทพระวิหารที่ทำให้ไทยต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยที่ตัวปราสาท คำพิพากษาของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ตัดสินตามคำฟ้องของฝ่ายกัมพูชา ข้อความที่สำคัญซึ่งเป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบันคือ
1. ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนพื้นที่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา 2. ไทยมีพันธกรณีที่จะต้องถอนกำลังทหาร ตำรวจและยามรักษาการณ์ออกจากบริเวณปราสาทพระวิหาร ปัญหาของคำตัดสินสองข้อนี้ก็คือ จะตีความคำพิพากษาอย่างไร ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกทั้งๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน และมีการตั้งข้อสงวนสิทธิ์เพื่อเรียกคืนตัวปราสาท
อย่างไรก็ตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2505 ได้นำไปสู่การปฏิบัติตามคำพิพากษา กล่าวคือ เรื่องอำนาจอธิปไตยที่ตัวปราสาทและการกำหนดเขตบริเวณพื้นที่ด้วยการไปทำรั้วลวดหนามรูปสี่เหลี่ยมคางหมูครอบตัวปราสาท (หากแต่คงปล่อยให้กัมพูชาขึ้นมาใช้อำนาจอธิปไตยที่ตัวปราสาททางช่องบันไดหัก) แม้ในเวลานั้นจอมพลถนอม กิตติขจรได้แสดงทัศนะผ่านสื่อมวลชนด้วยบทสัมภาษณ์ที่ว่า “ก็คืนเฉพาะพื้นที่ที่รองรับตัวปราสาทเท่านั้น ส่วนว่าจะขึ้นหรือเข้ามาทางไหนในบริเวณตัวปราสาทพระวิหารเราไม่รับทราบเป็นเรื่องของเขมรเอง”
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 ย้ำให้เห็นว่าการจะให้กัมพูชาเข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยที่ปราสาทพระวิหารนั้น จะต้องให้ประเทศไทยเสียพื้นที่น้อยที่สุด “พื้นที่ที่เราจะปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นคือพื้นที่ที่รองรับตัวปราสาทเท่านั้น” และส่วนที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่นั้นก็ควรหมายถึงพื้นที่ที่รองรับตัวปราสาทนั่นเอง หาได้ใช่พื้นที่บริเวณ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่เป็นของประเทศไทยโดยสมบูรณ์ไม่
ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในรายงานของคุณจาพิกรณ์ เศรษฐบุตร เจ้าหน้าที่ของกรมสนธิสัญญาฯ ในเวลานั้น ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน จอมพลประภาส จารุเสถียร ได้ขึ้นไปที่ตัวปราสาทพร้อมออกคำสั่งให้ยกเสาธงโดยไม่ลดผืนธงลงมา แล้วนำธงและเสาธงมาตั้งอยู่บริเวณที่เราเรียกว่าผามออีแดงในปัจจุบัน ตำบลตรงนั้นจึงเรียกว่าตำบลเสาธงชัยจนถึงปัจจุบัน
มีผู้กล่าวกันว่าเมื่อเรากั้นรั้วลวดหนามโอบล้อมรอบตัวปราสาท มีการตั้งประตูเหล็กที่เชิงบันไดนาค ห่างจากบันไดลงมาทางทิศเหนือซึ่งเป็นบันไดสิงห์มา 20 เมตร จอมพลประภาสได้ออกคำสั่งปิดประตูเหล็กนั้นแบบ “ปิดประตูตาย” ออกคำสั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่ของไทยเข้าออกและไม่ยอมให้เขมรเข้ามาอีกหากเข้ามาก็จัดการขั้นเด็ดขาดได้ ประเทศไทยได้จัดส่งรายงานและแผนผังการล้อมรั้วอาณาบริเวณไปยังองค์การสหประชาชาติและศาลโลกว่าประเทศไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว
การออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก ด้วยการยึดแผนผังจากฝ่ายกัมพูชาได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 17 ตารางกิโลเมตรซึ่งเป็นพื้นที่ของฝ่ายไทย ส่วนฝ่ายกัมพูชาเสียพื้นที่เพียงเล็กน้อยส่วนใหญ่เป็นชะง่อนผาและพื้นที่สูงชัน มีข้อน่าสังเกตว่าการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกในครั้งนี้ ประกาศบนแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชา จึงเป็นอะไรที่ประเทศไทยของเราเสียเปรียบอย่างมาก
ศาลโลกไม่ได้มีอำนาจที่จะสั่งการกับประเทศไทยหรือว่าสั่งได้แล้ว ครั้งหนึ่งอดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้ทำหนังสือไปยังสำนักราชเลขาธิการ รายงานว่าการตีความในคดีปราสาทพระวิหารไม่สามารถกระทำได้แล้ว รัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส่งตัวแทนประเทศไทยไปขึ้นศาลโลก ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ต่อปฏิญาณการยอมรับอำนาจศาลโลกมาตั้งนานแล้ว หรือว่าเรายอมรับอำนาจศาลโลกไปแล้วจริง ผมเองก็งงๆ กับเหตุการณ์ครั้งนี้ ศาลโลกคณะปัจจุบันมีอำนาจตีความคำพิพากษาของศาลโลกในคดีนี้ได้จริงหรือ ทำไมระดับอธิบดีกรมสนธิสัญญา และกฎหมายจึงมีทัศนะที่แตกต่างกันแม้ข้อกฎหมายเหมือนกัน แต่การดำรงตำแหน่งต่างปีกัน
นอกจากนี้ศาลโลกชุดปัจจุบันไปหยิบยกแผนผังที่กระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชาจัดส่งมาให้เป็นเอกสารประกอบการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวได้อย่างไร แล้วแบบนี้จะเชื่อได้ว่าศาลโลกจะตีความคำพิพากษาได้อย่างยุติธรรมจริงหรือ
ศาลโลกชุดปัจจุบันจะหมดวาระเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ศาลโลกชุดนี้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเกินขอบเขตที่ศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ได้ตัดสิน และออกตามที่กัมพูชาต้องการเพราะเป็นพื้นที่ตรงตามแผนบริหารการจัดการของสองโซน (ตัวปราสาทพื้นที่โดยรอบที่ห่อหุ้ม) ทำไมศาลจึงทำเช่นนั้น? เพราะศาลโลกเป็นเพียงศาลการเมืองระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นศาลสั่งได้
บทสรุปของเรื่องนี้มันจึงอยู่ที่ว่า หากประเทศไทยทำตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวด้วยการถอนกำลังทหารให้คงเหลือเป็นตำรวจตระเวนชายแดน อาจส่งผลให้กัมพูชาสมประโยชน์ และหากประเทศไทยยืนยันที่จะกลับไปเป็นรัฐภาคีแฟรนไชส์อีก ประเทศไทยของเราก็จะเสียประโยชน์ เสียประโยชน์ทั้งทำตามที่ศาลโลก (มีอำนาจหรือไม่มีอำนาจ) สั่งตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราว และในเวทีมรดกโลกที่จะเกิดขึ้นประมาณกลางปีหน้า
หากเรากลับเข้าไปนั่งเป็นสมาชิกอย่างสมบูรณ์ ลืมเรื่องการลาออกของคุณสุวิทย์ คุณกิตติ ลืมความบาดหมางของทหารผู้เสียชีวิต ลืมการเสียชีวิตของพี่น้องประชาชน ประเทศไทยของเราต้องเสียดินแดนอย่างแน่นอน เสียดินแดนแบบง่ายๆ เหมือนกินกล้วยเข้าปาก ประวัติศาสตร์ต้องจารึกการกระทำของคนไทยใน พ.ศ.นี้ว่าเราเสียดินแดนโดยไม่ต้องรบ
ปัญหาสำคัญกรณีปราสาทพระวิหารที่จะเกิดขึ้นในปีหน้ามีสองเรื่อง เรื่องแรกคือเรื่องมรดกโลก และเรื่องที่สองคือเรื่องศาลโลก ทั้งสองเรื่องนี้ต่างสอดคล้องกันมีผลต่อเนื่องซึ่งกันและกัน เรื่องมรดกโลกเป็นที่ทราบกันดีว่าการลาออกของคุณสุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย มีเหตุผลข้อใหญ่ก็คือ แผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารที่เข้าสู่ที่ประชุมทำให้เราอาจสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน คุณสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ลุกขึ้นแสดงเหตุผลต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ขอให้ที่ประชุมเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารการจัดการออกไปก่อน แต่ในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ปารีสเมื่อกลางปีที่ผ่านมา “ไม่เลื่อน”
คุณสุวิทย์จึงแถลงลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกโดยอ่านจดหมายลาออกกลางที่ประชุม การลาออกของคุณสุวิทย์ในเวลานั้น ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของสมาชิกและมีบางประเทศถึงกับตกใจเดินเข้ามาขอให้คุณสุวิทย์อย่าลาออก ประเทศภาคีสมาชิกส่วนใหญ่ ไม่คิดว่าประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกจะกล้าลาออก การลาออกในวันนั้นได้ส่งผลให้คณะกรรมการยังไม่พิจารณาแผนบริหารจัดการ แต่ผ่านการตรวจสอบรับรองแบบไม่เป็นทางการ ต่อมานางอิรีน่า โบโกว่า ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก จึงส่งหนังสือตามหลังคุณสุวิทย์มายังเมืองไทย โดยย้ำว่าการลาออกของประเทศไทยจะยังไม่สมบูรณ์ (จนกว่าจ่ายเงินที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้น) ต้องมีจดหมายจากนายกรัฐมนตรีและการลาออกจะมีผล 1 ปีถัดไป
คุณสุวิทย์ลาออกเพราะเหตุผลที่ว่า แผนบริหารการจัดการได้รุกล้ำดินแดนประเทศไทยอันอาจให้ไทยต้องสูญเสียดินแดนไปในอนาคต (และแม้วันนี้เราก็ได้สูญเสียดินแดนไปด้วยการปล่อยให้กัมพูชาเข้ามายึดครองพื้นที่) การลาออกด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงชวนให้คิดได้ว่ารัฐบาลของคุณปู ยิ่งลักษณ์ จะต้องตอบคำถามก่อนการกลับเข้าไปขอคืนสถานภาพที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาใบลาออกของคุณสุวิทย์นั้น “ประเทศไทยจะไม่สูญเสียดินแดนแล้วใช่ไหม
ประเทศไทยในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะไม่มีการสูญเสียดินแดนอีกแล้วใช่หรือไม่” การประชุมมรดกโลกในปีหน้าจะกระทำกันราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2555 หัวข้อของคณะกรรมการในวาระแรกเป็นการขอแสดงความยินดีที่รัฐภาคีสมาชิกอย่างประเทศไทยจะกลับมาร่วมทำสังฆกรรมกันอีก เสียเงินค่าสมาชิกจำนวนเป็นสิบๆ ล้าน และในที่สุดเราอาจต้องเข้าร่วมแผนบริหารจัดการกับเขมรหรือถูกคณะกรรมการมรดกโลกออกมติให้ไทยรับแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของเขมรเพื่อสันติภาพตามหลักการของยูเนสโกและเหตุผลการกำเนิดของมรดกโลก “สันติภาพและสันติสุขจะดำรงอยู่อย่างกลมเกลียวในหมู่มวลสมาชิก”
สำหรับเรื่องศาลโลกแล้ว ประเทศไทยไม่เคยยอมรับอำนาจของศาลโลกอีกภายหลังจากคดีปราสาทพระวิหารที่ทำให้ไทยต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยที่ตัวปราสาท คำพิพากษาของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ตัดสินตามคำฟ้องของฝ่ายกัมพูชา ข้อความที่สำคัญซึ่งเป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบันคือ
1. ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนพื้นที่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา 2. ไทยมีพันธกรณีที่จะต้องถอนกำลังทหาร ตำรวจและยามรักษาการณ์ออกจากบริเวณปราสาทพระวิหาร ปัญหาของคำตัดสินสองข้อนี้ก็คือ จะตีความคำพิพากษาอย่างไร ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกทั้งๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน และมีการตั้งข้อสงวนสิทธิ์เพื่อเรียกคืนตัวปราสาท
อย่างไรก็ตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2505 ได้นำไปสู่การปฏิบัติตามคำพิพากษา กล่าวคือ เรื่องอำนาจอธิปไตยที่ตัวปราสาทและการกำหนดเขตบริเวณพื้นที่ด้วยการไปทำรั้วลวดหนามรูปสี่เหลี่ยมคางหมูครอบตัวปราสาท (หากแต่คงปล่อยให้กัมพูชาขึ้นมาใช้อำนาจอธิปไตยที่ตัวปราสาททางช่องบันไดหัก) แม้ในเวลานั้นจอมพลถนอม กิตติขจรได้แสดงทัศนะผ่านสื่อมวลชนด้วยบทสัมภาษณ์ที่ว่า “ก็คืนเฉพาะพื้นที่ที่รองรับตัวปราสาทเท่านั้น ส่วนว่าจะขึ้นหรือเข้ามาทางไหนในบริเวณตัวปราสาทพระวิหารเราไม่รับทราบเป็นเรื่องของเขมรเอง”
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 ย้ำให้เห็นว่าการจะให้กัมพูชาเข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยที่ปราสาทพระวิหารนั้น จะต้องให้ประเทศไทยเสียพื้นที่น้อยที่สุด “พื้นที่ที่เราจะปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นคือพื้นที่ที่รองรับตัวปราสาทเท่านั้น” และส่วนที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่นั้นก็ควรหมายถึงพื้นที่ที่รองรับตัวปราสาทนั่นเอง หาได้ใช่พื้นที่บริเวณ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่เป็นของประเทศไทยโดยสมบูรณ์ไม่
ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในรายงานของคุณจาพิกรณ์ เศรษฐบุตร เจ้าหน้าที่ของกรมสนธิสัญญาฯ ในเวลานั้น ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน จอมพลประภาส จารุเสถียร ได้ขึ้นไปที่ตัวปราสาทพร้อมออกคำสั่งให้ยกเสาธงโดยไม่ลดผืนธงลงมา แล้วนำธงและเสาธงมาตั้งอยู่บริเวณที่เราเรียกว่าผามออีแดงในปัจจุบัน ตำบลตรงนั้นจึงเรียกว่าตำบลเสาธงชัยจนถึงปัจจุบัน
มีผู้กล่าวกันว่าเมื่อเรากั้นรั้วลวดหนามโอบล้อมรอบตัวปราสาท มีการตั้งประตูเหล็กที่เชิงบันไดนาค ห่างจากบันไดลงมาทางทิศเหนือซึ่งเป็นบันไดสิงห์มา 20 เมตร จอมพลประภาสได้ออกคำสั่งปิดประตูเหล็กนั้นแบบ “ปิดประตูตาย” ออกคำสั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่ของไทยเข้าออกและไม่ยอมให้เขมรเข้ามาอีกหากเข้ามาก็จัดการขั้นเด็ดขาดได้ ประเทศไทยได้จัดส่งรายงานและแผนผังการล้อมรั้วอาณาบริเวณไปยังองค์การสหประชาชาติและศาลโลกว่าประเทศไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว
การออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก ด้วยการยึดแผนผังจากฝ่ายกัมพูชาได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 17 ตารางกิโลเมตรซึ่งเป็นพื้นที่ของฝ่ายไทย ส่วนฝ่ายกัมพูชาเสียพื้นที่เพียงเล็กน้อยส่วนใหญ่เป็นชะง่อนผาและพื้นที่สูงชัน มีข้อน่าสังเกตว่าการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกในครั้งนี้ ประกาศบนแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชา จึงเป็นอะไรที่ประเทศไทยของเราเสียเปรียบอย่างมาก
ศาลโลกไม่ได้มีอำนาจที่จะสั่งการกับประเทศไทยหรือว่าสั่งได้แล้ว ครั้งหนึ่งอดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้ทำหนังสือไปยังสำนักราชเลขาธิการ รายงานว่าการตีความในคดีปราสาทพระวิหารไม่สามารถกระทำได้แล้ว รัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส่งตัวแทนประเทศไทยไปขึ้นศาลโลก ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ต่อปฏิญาณการยอมรับอำนาจศาลโลกมาตั้งนานแล้ว หรือว่าเรายอมรับอำนาจศาลโลกไปแล้วจริง ผมเองก็งงๆ กับเหตุการณ์ครั้งนี้ ศาลโลกคณะปัจจุบันมีอำนาจตีความคำพิพากษาของศาลโลกในคดีนี้ได้จริงหรือ ทำไมระดับอธิบดีกรมสนธิสัญญา และกฎหมายจึงมีทัศนะที่แตกต่างกันแม้ข้อกฎหมายเหมือนกัน แต่การดำรงตำแหน่งต่างปีกัน
นอกจากนี้ศาลโลกชุดปัจจุบันไปหยิบยกแผนผังที่กระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชาจัดส่งมาให้เป็นเอกสารประกอบการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวได้อย่างไร แล้วแบบนี้จะเชื่อได้ว่าศาลโลกจะตีความคำพิพากษาได้อย่างยุติธรรมจริงหรือ
ศาลโลกชุดปัจจุบันจะหมดวาระเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ศาลโลกชุดนี้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเกินขอบเขตที่ศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ได้ตัดสิน และออกตามที่กัมพูชาต้องการเพราะเป็นพื้นที่ตรงตามแผนบริหารการจัดการของสองโซน (ตัวปราสาทพื้นที่โดยรอบที่ห่อหุ้ม) ทำไมศาลจึงทำเช่นนั้น? เพราะศาลโลกเป็นเพียงศาลการเมืองระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นศาลสั่งได้
บทสรุปของเรื่องนี้มันจึงอยู่ที่ว่า หากประเทศไทยทำตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวด้วยการถอนกำลังทหารให้คงเหลือเป็นตำรวจตระเวนชายแดน อาจส่งผลให้กัมพูชาสมประโยชน์ และหากประเทศไทยยืนยันที่จะกลับไปเป็นรัฐภาคีแฟรนไชส์อีก ประเทศไทยของเราก็จะเสียประโยชน์ เสียประโยชน์ทั้งทำตามที่ศาลโลก (มีอำนาจหรือไม่มีอำนาจ) สั่งตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราว และในเวทีมรดกโลกที่จะเกิดขึ้นประมาณกลางปีหน้า
หากเรากลับเข้าไปนั่งเป็นสมาชิกอย่างสมบูรณ์ ลืมเรื่องการลาออกของคุณสุวิทย์ คุณกิตติ ลืมความบาดหมางของทหารผู้เสียชีวิต ลืมการเสียชีวิตของพี่น้องประชาชน ประเทศไทยของเราต้องเสียดินแดนอย่างแน่นอน เสียดินแดนแบบง่ายๆ เหมือนกินกล้วยเข้าปาก ประวัติศาสตร์ต้องจารึกการกระทำของคนไทยใน พ.ศ.นี้ว่าเราเสียดินแดนโดยไม่ต้องรบ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)