บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

"33 ประเด็น ถาม-ตอบ ราชอาณาจักรไทยกำลังจะเสียดินแดน" โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์และทีมงาน

"33 ประเด็น ถาม-ตอบ ราชอาณาจักรไทยกำลังจะเสียดินแดน" โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์และทีมงาน
โดยปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2010 เวลา 4:29 น.






1. พันธมิตรฯ นักวิชาการ คัดค้านเรื่องอะไรเกี่ยวกับเขตแดนไทย-กัมพูชา?

ตอบ:


คัดค้านไม่ให้ประเทศไทยเสียดินแดนจาก


1. ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทั้งปวงที่ไทยทำกับกัมพูชา
2. การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก


3. การรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยโดยกัมพูชา










สรุปถาม-ตอบเกี่ยวกับข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน กับเขาพระวิหาร

2. แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทำโดยใคร และเมื่อไหร่?
ตอบ: ทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) โดยสยามไม่เคยเซ็นยอมรับเห็นชอบด้วย และไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส และไม่เป็นไปตามที่ได้มีการเดินสำรวจและตกลงปักปันกันระหว่างสยามกับฝรั่งเศส

3. ถ้าไทยไม่ยึดแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนแล้วฝ่ายไทยยึดหลักอะไรเรื่องเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา ?
ตอบ:
1.สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส (ค.ศ. 1904 และ ค.ศ.1907) และยึดสันปันน้ำเป็นเขตแดน
2.ผลงานการสำรวจและปักปันระหว่างสยามกับฝรั่งเศสที่ยึดสันปันน้ำและหน้าผาเป็นเส้นเขตแดน

4. แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนทำให้ไทยเสียดินแดนเพราะอะไร?
ตอบ: มีความผิดพลาดมาก เขียนผิดธรรมชาติ และรุกล้ำดินแดนไทยบริเวณเขาพระวิหาร 2,875 ไร่ สุ่มเสี่ยงที่ไทยจะเสียดินแดนเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่มีแผนจะผนวกเข้าเป็นมรดกโลกร่วมกับปราสาทพระวิหาร 1.5 ล้านไร่ และดินแดนส่วนอื่นๆอีกรวม 1.8 ล้านไร่ ตลอดชายแดนไทย-กัมพูชา

5.ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ระหว่างไทยกับกัมพูชามีอยู่ในเอกสารอะไรบ้าง?
ตอบ:
  1. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 (เอ็มโอยู 2543)
  2. แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2546 (ทีโออาร์ 2546)
  3. มติรัฐสภาเรื่องกรอบการเจรจาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย –กัมพูชา (เจบีซี) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551
  4. บันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี)

6. ปัญหา บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543 (เอ็มโอยู 2543) ที่สำคัญคืออะไร?
ตอบ:
1. มีการระบุให้ไทย-กัมพูชาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนได้ด้วย ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา (อยู่ใน ข้อ 1 ค.) ทำให้ไทยต้องสุ่มเสี่ยงเสียดินแดนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

2. งดเว้นดำเนินการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมพื้นที่ชายแดน (ข้อ 5) โดยฝ่ายกัมพูชานอกจากจะรุกล้ำและยึดครองดินแดนเพิ่มเติมไทยแล้ว กัมพูชายังร้องเรียนกับไทยและนานาชาติกล่าวหาว่าไทยเป็นฝ่ายละเมิดเงื่อนไขนี้ตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ฝ่ายไทยไม่ได้โต้แย้งหลายครั้ง

3. ให้ระงับข้อพิพาทใดๆที่เกิดจาการตีความหรือการบังคับใช้ เอ็มโอยู 2543 โดยสันติวิธีด้วยการปรึกษาหารือและการเจรจา (ข้อ 8) ทำให้กัมพูชาเหิมเกริมรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยมากขึ้น

4. ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 224

5. เป็นเอกสารเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเอกสารหลายชนิดที่มีข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน (ดูคำตอบข้อ 5)

7. การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชาที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร?

ตอบ:
1. เขตแดนไทย-กัมพูชาซึ่งต้องไปหา/ซ่อมแซม/หลักเขตแดนทางบกเก่า 73 หลัก จาก ช่องสะงำ จ. ศรีสะเกษ (หลักเขตที่ 1) ไปทางทิศตะวันออก ถึง บ้านหาดเล็ก จ.ตราด (หลักเขตที่ 73) ความยาว 603 กิโลเมตร หากสูญหายหรือต้องการทำเพิ่มเพื่อความชัดเจนก็สามารถทำได้
2. เขตแดนถาวรตามธรรมชาติที่ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวหรือทำอะไรอีก เพราะบรรพบุรุษสยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงสำรวจและปักปันไปเมื่อ 103 ปีที่แล้ว ว่าให้ใช้สันปันน้ำและหน้าผาซึ่งชัดเจนมากเป็นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติโดยไม่เคยและไม่ต้องสำรวจเพื่อทำหลักเขตแดนใดๆทั้งสิ้น จาก ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันออก จนถึง ช่องบก จ.อุบลราชาธานี ความยาว 195 กิโลเมตร ซึ่งย่อมรวมถึงเขาพระวิหารและบริเวณปราสาทพระวิหารด้วย

8. ศาลโลกตัดสินคดี ปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ตัดสินแค่ไหน?
ตอบ:
1. ศาลโลกไม่ตัดสินแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตามที่กัมพูชาร้องขอ
2. ศาลโลกไม่ตัดสินเส้นเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนตามที่กัมพูชาร้องขอ
3. ด้วยกฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ได้คัดค้านและทักท้วง ศาลโลกตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
4. ไทยจะต้องถอนทหาร, ตำรวจ, ผู้ดูแลจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียง
5. ไทยมีพันธะต้องคืนบรรดาโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับปราสาทคืนให้กัมพูชา



9. ไทยปฏิบัติตัวอย่างไรกับคดีปราสาทพระวิหาร?
ตอบ:
1. ไทยยื่นประท้วง คัดค้าน และสงวนสิทธิ์ในตัวปราสาทพระวิหารต่อองค์การสหประชาชาติ ซึ่งการสงวนไว้ซึ่งสิทธิ์ไม่มีกำหนดระยะเวลา
2. ล้อมรั้วรอบตัวปราสาทสำหรับแนวปฏิบัติการไม่ให้เจ้าหน้าที่ของไทยเข้าไปเท่านั้น โดยไทยยังคงยึดถือว่าแนวหน้าผาและสันปันน้ำที่มีความชัดเจนยังคงเป็นเส้นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติที่แท้จริง</span> และในทางปฏิบัติบันไดทางขึ้นตัวปราสาทฯยังอยู่ฝั่งไทย โดยที่กัมพูชาก็ยอมรับสภาพเช่นนี้มาโดยตลอด ไม่เคยร้องขอให้เกินไปกว่านี้แต่อย่างใด
3. หลังจากคดีปราสาทพระวิหาร ประเทศไทยไม่ได้ต่ออายุขยายคำประกาศรับเขตอำนาจบังคับของศาลโลกจนถึงปัจจุบัน (คำประกาศหมดอายุในระหว่างพิจารณาคดีปราสาทพระวิหาร)

10. ศาลโลกจะขยายผล หรือกัมพูชาจะฟ้องศาลโลกแล้วไทยจะเสียดินแดนมากกว่านี้ได้หรือไม่?
ตอบ:
  1. ไทยได้เรียนรู้ว่าศาลโลกไม่ให้ความเป็นธรรมกับไทย ศาลโลกใช้กฎหมายปิดปากกับไทยเป็นประเทศเดียวและประเทศแรกในโลก ศาลโลกตัดสินตามการเมืองเอาใจเขมรให้มาอยู่ข้างโลกเสรีกับมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็น ทั้งนี้ทนายของกัมพูชาก็คืออดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
  2. ศาลโลกจำกัดคำพิพากษาเฉพาะประเด็นที่ฟ้องและตัดสินเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น ไม่สามารถขยายผลไปยังแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ได้
  3. ที่จริงแล้วคำพิพากษาศาลโลกไม่มีอำนาจหรือสภาพบังคับประเทศต่างๆได้ แต่ไทยเลือกที่จะปฏิบัติตามโดยดีเอง
  4. การขึ้นศาลโลกคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต้องยินยอม ไทยจึงมีสิทธิ์ที่จะไม่ยินยอมขึ้นศาลโลกได้

11. เพราะมีเอ็มโอยู 2543 เป็นเครื่องมืออันวิเศษทำให้ไทยกับกัมพูชาจำกัดวงให้เจรจากันเอง โดยไม่ต้องไปศาลโลกอีกครั้งให้ไทยต้องเสียเปรียบ ใช่หรือไม่?
ตอบ: ไม่จริง เพราะศาลโลกไม่สามารถขยายผลเกินกว่าขอบเขตที่ตัดสินในคำพิพากษา ศาลโลกไม่อยู่ในสภาพบังคับไทยได้ และ ไม่มีใครมาบังคับให้ไทยต้องขึ้นศาลโลกได้ (ดูคำตอบข้อ 10)

12. เพราะมีเอ็มโอยู 2543 เป็นเครื่องมืออันวิเศษทำให้องค์การสหประชาชาติหรือนานาชาติไม่มาแทรกแซง จริงหรือไม่ ?
ตอบ: ไม่จริง เพราะกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อ 2 วรรค 7 ไม่ให้องค์การสหประชาชาติหรือนานาชาติมาแทรกแซงความสัมพันธ์หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศอยู่แล้วตราบใดที่ไม่เป็นอันตรายในระดับนานาชาติ

13. หากไทยยินยอมกัมพูชาที่จะเดินสำรวจเพื่อจัดทำหลักเขตแดนทางบกบริเวณ “เขาพระวิหาร” จะมีความหมายว่าอย่างไร?
ตอบ:
  1. เท่ากับว่าไทยได้สละแนวขอบหน้าผาและสันปันน้ำที่มีความชัดเจนที่สุด ซึ่งบรรพบุรุษสยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงกันเมื่อ 103 ปีที่แล้วว่าให้ใช้เป็นเส้นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติโดยไม่ต้องจัดทำหลักเขตแดนใดๆทั้งสิ้น ให้กลายมาเป็นว่าต้องมาสำรวจและตกลงจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่ระหว่างไทย-กัมพูชา
  2. ทำให้นานาชาติเข้าใจว่า ไทย-กัมพูชา กำลังยึดถือเส้นเขตแดนอย่างอื่นที่ต้องสำรวจซ้ำและมีความไม่ชัดเจนจนถึงขั้นต้องทำหลักเขตแดนกันใหม่จากที่ไม่เคยมี ซึ่งย่อมต้องหมายถึงแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน มากกว่าจะหมายถึงขอบหน้าผาตามที่ฝ่ายไทยและฝรั่งเศสยึดถือ

14. ในเอ็มโอยู 2543 ไม่ได้มี เฉพาะแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งอยู่ในข้อ 1 (ค) เท่านั้น แต่ยังหมายถึงให้ทำตามสนธิสัญญาในข้อ 1 (ก) และ 1(ข) ได้ด้วย จึงไม่ได้สรุปว่าจะใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ใช่หรือไม่?
 ตอบ:
1. “ชื่อเต็มของแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน” อ้างว่าเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งทำตามสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ทำให้นานาชาติย่อมเข้าใจว่า แผนที่เป็นผลงานสุดท้ายที่สรุปกันแล้ว จึงต้องยึดเอาแผนที่เป็นหลักตลอดแนวเขตแดนไทย-กัมพูชา โดยไม่มีการยกเว้นในระวางใดทั้งสิ้น
2. เอกสารกรมสนธิสัญญากระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2547 ระบุชัดเจนว่าหากสันปันน้ำขัดแย้งกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ให้ยึดแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนเป็นหลัก รวมถึงระวางดงรักและเขาพระวิหารด้วย
3. หากยึดตามสนธิสัญญาว่าให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนจริง ก็คงไม่มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่ในบริเวณเขาพระวิหาร เพราะบริเวณดังกล่าวบรรพบุรุษสยามกับฝรั่งเศสเมื่อ 103 ปีที่แล้วได้สรุปให้ใช้ขอบหน้าผาซึ่งเป็นสันปันน้ำที่มีความชัดเจนให้เป็นเขตแดนตามธรรมชาติโดยไม่ต้องจัดทำหลักเขตแดนใดๆทั้งสิ้น
4. กัมพูชากล่าวหาไทยว่าใช้ทหารรุกรานดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ทั้งในบันทึกผลการประชุม เจบีซี และในคณะกรรมการมรดกโลก แต่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้ทักท้วงแต่ประการใด

15. ผลบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน?
ตอบ:
1. บันทึกการประชุมเพื่อสำรวจซ้ำและจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่โดยเฉพาะบริเวณเขาพระวิหาร เสมือนเป็นการสละผลงานการสำรวจและปักปันของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมสยาม-ฝรั่งเศสซึ่งได้สรุปไปเมื่อ 103 ปีที่แล้วว่า ให้ใช้แนวสันปันน้ำและหน้าผาเป็นเส้นเขตแดนถาวรตามธรรมชาติโดยไม่เคยต้องทำหลักเขตแดนใดๆ
2. เป็นผลบันทึกการประชุมที่มีคำปราศรัยใส่ร้ายประเทศไทยว่ารุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ฝ่ายไทยไม่ได้มีการโต้แย้งใดๆ
3. มีร่างข้อตกลงชั่วคราว ที่ยืนยันจะใช้ เอ็มโอยู 2543 และ ทีโออาร์ 2546 ซ้ำ และยังตกลงจะให้ทหารทั้งสองฝ่ายออกจากดินแดนบริเวณเขาพระวิหาร ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นพื้นที่สันติภาพ และทำให้แผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาสามารถดำเนินการได้ทันที

16. เอ็มโอยู 2543 คือเครื่องมืออันวิเศษที่ทำให้ไทยสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสดงว่าว่าฝ่ายกัมพูชาละเมิดเอ็มโอยู 2543 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม จริงหรือไม่? และหากไม่มี เอ็มโอยู 2543 ก็จะไม่มีเครื่องมือไปบอกว่ากัมพูชาทำผิดข้อตกลง จริงหรือไม่?
ตอบ:
ไม่จริง เพราะไทยเรามีสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส และผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมสยาม-ฝรั่งเศส ที่สามารถระบุชัดเจนด้วยเหตุผลที่แข็งแรงกว่าว่า “กัมพูชาละเมิดอธิปไตยไทย”รุกล้ำเลยแนวสันปันน้ำและขอบหน้าผา
ตรงกันข้ามเหตุผลของ เอ็มโอยู 2543 ที่ใช้เหตุผลว่า มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในพื้นที่พิพาทนั้น กลับใช้กับพื้นที่ซึ่งเป็นของไทยและไม่เคยเป็นของกัมพูชามาก่อน มาบัดนี้ไทยก็ไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในดินแดนไทยได้แต่อย่างใด
ซ้ำร้ายกัมพูชากลับกล่าวหาว่าไทยเป็นฝ่ายเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตามเอ็มโอยู 2543 อีกด้วย

17. ข้อผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน แม้มีปัญหาในอดีตก็จะต้องกลับมาเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาอยู่ดี เราไม่ควรห่วงเกินไป จริงหรือไม่?
ตอบ:
  1. กัมพูชาได้อาศัยเงื่อนไทยที่ไทยตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยในส่วนที่กัมพูชาไม่เคยครอบครองมาก่อน
  2. กัมพูชาสามารถโฆษณาชวนเชื่อจากข้อผิดพลาดมากมายกับนานาชาติว่าไทย-กัมพูชา ยึดถือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนแล้ว
  3. ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาได้ใช้เป็นเอกสารประกอบพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชา
  4. รัฐสภาไทยมีโอกาสตกเป็นเครื่องมือของอำนาจทุนที่ครอบงำพรรคที่เอื้อประโยชน์ต่อกัมพูชาได้

18. เอ็มโอยู 2543 ยกเลิกฝ่ายเดียวไม่ได้ จริงหรือไม่?
ตอบ: ไม่จริง ไม่มีข้อห้ามใน เอ็มโอยู 2543 ว่าห้ามยกเลิก แม้แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ใช้ ครม.ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 (บันทึกความเข้าใจพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล) กับกัมพูชามาแล้วทั้งๆที่ในเวลานั้นอ้างเหตุผลทางการเมือง ในขณะที่กัมพูชาได้ละเมิดเอ็มโอยู 2543 ไปแล้วหลายครั้ง ไทยจึงมีสิทธิ์ และมีความชอบธรรมที่จะยกเลิก เอ็มโอยู 2543 อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

คำถามเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

19. สาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ปี 2551 คืออะไร?
ตอบ:
  1. ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
  2. กัมพูชาได้ส่งแผนผังรวมถึงขอบด้านข้างตัวปราสาทพระวิหารซึ่งไทยถือว่ารุกล้ำดินแดนไทย
  3. กัมพูชาเสนอเอกสารในลักษณะจะทำให้พื้นที่กันชน และพื้นที่พัฒนารอบตัวปราสาทพระวิหาร กินรุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทย
  4. กัมพูชาเสนอเอกสารแผนที่ภาพรวมว่าเขตแดนไทย-กัมพูชาคือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ส่วนไทยไม่ทักท้วงในประเด็นนี้
  5. จะมีการตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่อให้ความคุ้มครองทรัพย์สินมรดกโลก (มี 7 ชาติ อเมริกา,จีน,ญี่ปุ่น,ฝรั่งเศส,เบลเยียม,กัมพูชา,ไทย)
  6. กำหนดให้กัมพูชายื่นแผนบริหารจัดการในปี 2553

20. สาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 ปี 2552 คืออะไร?
ตอบ:กัมพูชาได้ร้องต่อคณะกรรมการมรดกโลกว่า ไทยใช้กำลังทหารรุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ในบริเวณเขาพระวิหารตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมาจนทำให้กัมพูชาเสียหาย โดยฝ่ายไทยไม่ทักท้วงแต่ประการใด

21. สาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34 ปี 2553 คืออะไร?
ตอบ:
  1. คณะกรรมการมรดกโลกได้แจ้งในรายงานว่า องค์การยูเนสโกได้ให้เงินช่วยเหลือรัฐบาลกัมพูชา จำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐ ซ่อมและสร้างตลาดกัมพูชาในดินแดนไทย เพราะจากเหตุที่กัมพูชาได้กล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้ทักท้วงอีก
  2. กัมพูชาได้ส่งมอบแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนให้กับทุกชาติประกอบแผนบริหารจัดการมรดกโลก (ยกเว้นประเทศไทย)
  3. ไทย-กัมพูชา ยอมลงนามในร่างมติประนีประนอมระหว่างกัน โดยให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาในการประชุมครั้งที่ 35 เดือนมิถุนายน 2554
22. เหตุผลที่เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารเป็น มิถุนายน 2554 เพราะอะไร?
ตอบ:
1. ฝ่ายไทยร้องเรียนว่ากัมพูชาได้ส่งเอกสารล่วงหน้าไม่ถึง 6 สัปดาห์ ผิดกติกามรดกโลก
2. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นชอบให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ ลงนามประนีประนอมกับกัมพูชาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 โดยมีเงื่อนไขจะทำให้ไทยต้องเสียเปรียบในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554

23. สิ่งที่นายสุวิทย์ คุณกิตติลงนามร่างมติประนีประนอมกับกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกสรุปว่ามีเนื้อหาอะไร?
ตอบ:
1. รับมอบเอกสารการประชุมครั้งที่ 34
2. อ้างถึงมติคณะกรรมการมรดกโลกและการรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกย้อนหลังทั้งหมดในกรณีปราสาทพระวิหาร
3. ศูนย์มรดกโลกได้รับมอบเอกสารจากกัมพูชาแล้ว
4. จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานฯพื้นที่มรดกโลกปราสาทพระวิหาร 7 ชาติ
5. จะตัดสินพิจารณาเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 35 ปี 2554

24. สิ่งที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ลงนาม มีนัยยะต่อการประชุมครั้งที่ 35 ปี เดือนมิถุนายน 2554 ว่าอย่างไร?
ตอบ:
1. ไทยและคณะกรรมการมรดกโลกได้รับมอบเอกสารล่วงหน้าแล้ว 1 ปี ก่อนถึงการประชุมครั้ง ที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554 ทำ
ฝ่ายไทยให้หมดข้ออ้างที่เคยใช้ว่ากัมพูชาไม่ได้ยื่นแผนบริหารจัดการล่วงหน้า 6 สัปดาห์ตามกติกาของคณะกรรมการมรดกโลก
2. ไทยได้รับมอบเอกสารการประชุมครั้งที่ 34 ซึ่งทุกประเทศ (ยกเว้นประเทศไทย)ต่างได้รับมอบแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน
3. ไทยได้ยอมรับการอ้างอิงและการรับรองรายงานการประชุมและการลงมติของคณะกรรมการมรดกโลกที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งการขึ้น
ทะเบียนปราสาทพระวิหารที่ขีดเส้นกระทบไทย, การอ้างอิงแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน, การอ้างว่าไทยรุกรานกัมพูชาตาม
แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน, การที่ยูเนสโกให้เงินสนับสนุนกัมพูชาสร้างตลาดในดินแดนไทยเพราะไทย
รุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยที่ไทยไม่ได้ปฏิเสธ
4. ไม่ปฏิเสธการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆโดยรัฐภาคีเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์
อย่างยั่งยืนของปราสาทพระวิหาร 7 ชาติ

25. เอ็มโอยู 2543 ที่อ้างว่าการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไม่แล้วเสร็จ เป็นเหตุผลที่ทำให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลก จริงหรือไม่?
ตอบ:
  1. ไม่จริง เพราะที่ผ่านมาคณะกรรมการมรดกโลกได้รับแต่แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน โดยไทยไม่คัดค้านจึงเชื่อว่าคำว่า การจัดทำหลักเขตแดนไม่แล้วเสร็จนั้น หมายถึงไม่แล้วเสร็จตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งไม่กระทบต่อพื้นที่บริหารจัดการมรดกโลกที่น้อยกว่าเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน
       และชื่อของแผนที่ใน เอ็มโอยู 2543 นานาชาติย่อมเข้าใจว่า เป็นแผนที่ซึ่งได้ปฏิบัติตามสนธิสัญญาและคณะ
       กรรมการปักปันสยามกับฝรั่งเศส จึงเป็นผลลัพธ์ของการกำหนดเส้นเขตแดน
2. ไม่จริง เพราะถ้าเชื่อเช่นนั้นจริง ยูเนสโกจะไม่ให้เงินมาสนับสนุนสร้างตลาดกัมพูชาในดินแดนไทย
3. ไม่จริง เพราะถ้ามีน้ำหนักทำให้เลื่อนได้จริง นายสุวิทย์ คุณกิตติ ไม่จำเป็นต้องลงนามในร่างข้อตกลงประนีประนอมที่ทำให้ฝ่ายไทยต้องเสียเปรียบในการประชุมมรดกโลกครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554

26. เงื่อนไขที่สำคัญที่จะทำให้คณะกรรมการมรดกโลกอนุมัติแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาคืออะไร?
ตอบ:
  1. ฝ่ายไทยหมดข้ออ้างตามที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ลงนามประนีประนอมกับกัมพูชาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553
  2. พื้นที่รอบเขาพระวิหารเป็นพื้นที่สันติภาพและสงบ ไม่มีทหารและไม่มีการปะทะ ตลอดจนมีการรื้อถอนสิ่งที่ไม่เกี่ยวออกจากแผนบริหารจัดการมรดกโลกออกจากพื้นที่
คำถามเกี่ยวกับกรณีกัมพูชารุกล้ำและยึดครองดินแดนไทย

27. หลังจากไทยได้ลงนามใน เอ็มโอยู 2543 กับกัมพูชาแล้วเกิดอะไรขึ้น?
ตอบ:
1. กัมพูชาประกาศพระราชกฤษฎีกาใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนบริเวณเขาพระวิหาร ทั้งๆที่ไม่เคยทำเช่นนี้มาก่อน
2. รุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยมากขึ้นบริเวณเขาพระวิหาร ทั้งการขยายตลาด ชุมชน สร้างวัด สร้างถนนวิ่งอ้อมจากฝั่งกัมพูชาเข้ามาในดินแดนไทยขึ้นถึงตัวปราสาทพระวิหาร และขยายตัวมากขึ้นอย่างไม่หยุด
3. ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก พร้อมทั้งนำแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนเป็นเอกสารประกอบด้วย
4. รุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยเพิ่มเติม ทั้งช่องตาเฒ่า, ปราสาทโดนตรวล, ปราสาทตาเมือนธม, ภูมะเขือ, ปราสาทตาควาย, ถนนศรีเพ็ญ ฯลฯ
5. เป็นฝ่ายร้องเรียนกับนานาชาติว่าไทยละเมิด เอ็มโอยู 2543 รุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน

28. การประท้วงถือว่าไทยยังไม่เสียดินแดนจริงหรือไม่?
ตอบ: ในทางพฤตินัยถือว่าไทยได้สูญเสียดินแดน เพราะไทยไม่แสดงอธิปไตยเหนือดินแดนในบริเวณที่ถูกรุกรานและยึดครองได้ เช่น การเก็บภาษี การบังคับใช้กฎหมาย การเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา ฯลฯ ยิ่งที่ปล่อยให้เป็นปัญหานานวันก็ยิ่งยากในการขอพื้นที่คืน

29. ต้องการสงครามกัมพูชาหรือไม่?
ตอบ: การปะทะตามตะเข็บชายแดนเพื่อรักษาอธิปไตย เป็นการปะทะจำกัดขอบเขต ต่างกันกับการทำสงครามอย่างสิ้นเชิง

การละเมิดอธิปไตยควรใช้การเจรจาและทางการทูตเป็นจุดเริ่มต้น แต่หากไม่ฟังแล้ว ไทยต้องแสดงอธิปไตยเหนือดินแดนในพื้นที่ดังกล่าวให้ได้ เช่น การใช้ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, การจัดเก็บภาษี การบังคับใช้กฎหมาย การเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา แต่เมื่อฝ่ายทางการไทยอ่อนแอกัมพูชาจึงเหิมเกริมและใช้กองกำลังทหารติดอาวุธรุกรานและยึดครอง ดังนั้นไทยก็มีความชอบธรรมที่จะใช้ทหารในการผลักดันเช่นกันเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติ

30. กลยุทธ์ทางการทหารของกัมพูชาคืออะไร?
 ตอบ:
1. ใช้ทหารบุกรุกยึดครองแล้วขยายชุมชนให้กัมพูชายึดครองโดยพฤตินัย
2. พื้นที่มรดกโลกปราสาทพระวิหาร เมื่อใกล้ถึงวันพิจารณาแผนบริหารจัดการ กัมพูชาจึงถอนชุมชน เพื่อให้ถอนทหารและงดเว้นการปะทะทั้งสองฝ่าย โดยใช้ข้ออ้างในการสำรวจและทำหลักเจแดนตามเอ็มโอยู 2543 แต่แท้ที่จริงก็คือการทำให้เป็นพื้นที่สันติภาพเพื่อให้แผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมมรดกโลกครั้งที่ 35 ถือเป็นการนำนานาชาติมาผ่านเวทีมรดกโลกมาสร้างความชอบธรรมให้กัมพูชายึดครองดินแดนไทย ขยายความชอบธรรมในกรรมสิทธิ์ในดินแดนดังกล่าวให้เป็นของกัมพูชาในระหว่างที่เจรจาไม่สำเร็จตามที่กัมพูชาต้องการ

31. กัมพูชาถอนชุมชน ตลาดและวัด โดยอ้างหลายครั้งว่าสถานภาพถอยกลับไปก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 โดยฝ่ายไทยอ้างเป็นผลงานว่าเป็นผลงานจาก เอ็มโอยู 2543 และการเจรจา จริงหรือไม่?
ตอบ:
กัมพูชาอ้างว่าให้ถอยกลับไปก่อน วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 หมายถึงว่า ทหารไทยได้เลิกรุกรานกัมพูชาตาแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน และพร้อมที่จะบริหารจัดการในพื้นที่มรดกโลกแล้ว โดยกัมพูชาได้สร้างหลักฐานเอกสารอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ
  1. ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 กัมพูชาให้ร้ายว่าไทยรุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 จนองค์การยูเนสโกให้เงินสนับสนุนกัมพูชาให้ซ่อมสร้างตลาดในดินแดนไทย 50,000 เหรียญสหรัฐ โดยไทยไม่ทักท้วง
  2. ในคำปราศรัยในบันทึกผลการประชุม ประธานเจบีซีฝ่ายกัมพูชากล่าวร้ายว่าตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ประเทศไทยได้มีการปะทะละเมิดเอ็มโอยู 2543
32. การลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก ได้อะไร?
ตอบ:
  1. ยกเลิกสิ่งที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ และไม่ยอมรับการละเมิดอธิปไตยไทย
  2. ถือเป็นการปฏิเสธมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ผิดพลาดในการประชุมที่ผ่านมาทั้งหมด และสิ่งทีกำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตโดยฝ่ายไทยได้แจ้งล่วงหน้าก่อนแล้ว
  3. หากไทยลาออกจาภาคีอนุสัญญามรดกโลกล่าช้า หรือยังจะใช้เป็นเวทีในการเจรจาคัดค้านต่อไป ย่อมเท่ากับว่าไทยยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ผ่านมา และหากปล่อยผ่านไปถึงการประชุมลงมติแผนบริหารจัดการมรดกโลกในครั้งที่ 35 ในเดือนมิถุนายน 2554 แล้ว ไทยจะต้องเผชิญหน้ากับมหาอำนาจอีกหลายชาติ จากที่เคยเผชิญหน้ากับกัมพูชาประเทศเดียว
  4. ไม่กระทบต่อทะเบียนมรดกโลกที่ได้อนุมัติไปแล้วก่อนหน้านี้
33. ข้อเสนอของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย?
1. ลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก เพื่อแสดงการปฏิเสธมติคณะกรรมการมรดกโลกและองค์การยูเนสโกที่ได้ละเมิดอธิปไตยไทยและไม่ฟังคำทักท้วง
2. ผลักดันชุมชนและทหารกัมพูชาออกจากดินแดนไทย พร้อมทั้งทวงคืนแผ่นดินไทยกลับมาดังเดิม
3. ยกเลิกและหยุดยั้งข้อผูกพันทั้งปวงที่เกี่ยวเนื่องกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน






ภาพที่ 5 ความหมายใน เอ็มโอยู 2543 ของกัมพูชา คณะกรรมการมรดกโลก
และกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศของไทย


ภาพที่ 6 กัมพูชาได้ยื่นเอกสารร้องเรียนคณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโกว่าไทย รุกรานกัมพูชาตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน


กัมพูชาได้เงินสนับสนุนจากยูเนสโก 5 หมื่นเหรียญสหรัฐซ่อมแซมตลาดกัมพูชาในดินแดนไทย เพราะไทยรุกรานกัมพูชาตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน แสดงว่าเงื่อนไขเอ็มโอยู 2543 นานาชาติไม่ได้เข้าใจเหมือนที่รัฐบาลไทยบอกคนไทย


อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 7 แห่ง 1.5 ล้านไร่ ฝ่ายไทยได้มีแผนที่จะไปผนวกเข้ากับมรดกโลกปราสาทพระวิหาร ทั้งๆที่ทะเบียนมรดกโลกถือโดยกัมพูชา








 












ภาพที่ 4 ความหมายของรัฐบาลอธิบายเส้นเขตแดนมีให้เลือก 2 เส้นหลังเซ็น เอ็มโอยู 2543

ภาพที่ 3 เส้นเขตแดนของไทยที่ยึดถือหลังคำพิพากษาศาลโลก (สีแดง) และได้ล้อมรั้ว (ตามเส้นสีเหลือง) สำหรับแนวปฏิบัติการให้เจ้าหน้าที่ไทยถอนออกจากพื้นที่ดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลโลก

ภาพที่ 2 เส้นเขตแดนที่สำรวจและปักปันเสร็จเมื่อ 103 ปีที่แล้ว โดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสม สยาม-ฝรั่งเศส

ภาพที่ 1 ภาพแสดงลักษณะเขตแดนไทย (พื้นที่สีเขียว) – กัมพูชา (พื้นที่สีขาว) มีเส้นเขตแดน 2 ประเภทคือ 1. เส้นเขตแดนถาวรที่ใช้สันปันน้ำและหน้าผาที่มีความชัดเจนตามธรรมชาติ จากหลักเขตที่ 1 ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันออกจนสุดที่ช่องบก จ.อุบลราชธานี ความยาว 195 กิโลเมตร (เส้นสีน้ำเงิน) 2. เส้นเขตแดนที่ไม่ชัดเจนและมีการทำหลักเขตแดน ตั้งแต่ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันตกและลงมาทางใต้จนสุด บ้านหาดเล็ก จ.ตราด ความยาม 603 กิโลเมตร มีการจัดทำหลักเขตแดนทางบกตั้งแต่หลักที่ 1 ถึง 73 (เส้นสีแดง)


 
หน้าปกหนังสือแบบสรุปสั้น"33 ประเด็น ถาม-ตอบ ราชอาณาจักรไทยกำลังจะเสียดินแดน" แจกฟรีไม่มีจำหน่าย (ช่วยกันเผยแพร่ให้มากที่สุด)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง