บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

“ทำไมต้องยัดข้อหา 7 คนไทยรุกเขตแดนเขมร”? โดย อ. ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

เมื่อวันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ.2553 สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ได้ลงพื้นที่สำรวจที่จังหวัดสระแก้ว พร้อมกับสมาชิกวุฒิสภา นักวิชาการ เพื่อสอบถามชาวบ้านที่เดือดร้อนที่ได้รับผลกระทบจากการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกรุกล้ำและยึดครองที่ดินทำกินของประชาชนชาวไทยใน จ.สระแก้ว


หลักฐานชัดเจนว่าประชาชนจำนวนมากในจังหวัดสระแก้ว ได้รับผลกระทบจากกรณี UNHCR ได้ขอให้ประเทศไทยได้ช่วยเหลือเขมรอพยพในยุคเขมรแตกซึ่งหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในราชอาณาจักรไทย  และประเทศไทยได้ให้ความเมตตาช่วยเหลือและกั้นรั้วเอาไว้เพื่อจำกัดไม่ให้เขมรอพยพออกนอกพื้นที่  ครั้งเมื่อสงครามในประเทศกัมพูชาสงบลงก็ปรากฏว่าเขมรบางส่วนก็ได้กลับประเทศและบางส่วนก็ยังคงอาศัยอยู่ในดินแดนไทยและยึดที่ทำกินให้กลายเป็นของชาวกัมพูชา ทั้งๆที่ดินเหล่านั้นคนไทยมีเอกสารสิทธิ์ในการทำกินในพื้นที่ดังกล่าวอย่างชัดเจน


การที่ข้าราชการและนักการเมืองปล่อยปละละเลย ก็ทำให้ชุมชนชาวกัมพูชาขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และเหิมเกริมจนทำให้มีกองกำลังทหารเข้ามาอารักขาที่ดินทำกินเหล่านั้นให้ตกเป็นของกัมพูชา โดยที่คนไทยเข้าไปทำกินพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้  ฝ่ายกัมพูชาได้ยึดแนวรั้วที่ UNHCR กั้นให้เอาไว้เป็นหลัก อีกทั้งมีการเคลื่อนย้ายหลักเขตทางบกเพื่อความได้เปรียบในเรื่องเส้นเขตแดนของกัมพูชา
           
เพราะหลักเขตเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ดังนั้นจึงมีโอกาสถูกเคลื่อนย้ายไปมา หรือสูญหายได้ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 (บันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543) จึงมีวัตถุประสงค์หนึ่งคือหาหลักเขตทั้งหมด 73 หลักในตำแหน่งเดิมที่สยามกับฝรั่งเศสตกลงกัน นับตั้งแต่ ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ (หลักเขตที่ 1) ไปทางทิศตะวันตกจนสุดที่ บ้านหาดเล็ก จ.ตราด (หลักเขตที่ 73) ซึ่งได้มีการจัดทำหลักเขตแดนเป็นแท่งคอนกรีตแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1919  (พ.ศ. 2462)


จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 นายวีระ สมความคิด ได้เดินเข้าไปสำรวจดินแดนไทยแล้วถูกทหารเขมรจับในพื้นที่ซึ่งมี น.ส. 3 ของนายเบ พูลสุข ซึ่งเสียภาษีให้กับรัฐไทยทุกปี แต่ไม่มีโอกาสกลับเข้าไปทำมาหากินอีก


จึงไม่น่าแปลกใจที่ 7 คนไทย ซึ่งเดินเข้าไปสำรวจหลักเขตแดนทางบกนั้น จึงได้ถูกทหารเขมรจับในที่ดินที่มีการแจ้งการครอบครองที่ดินของราชอาณาจักรไทยประเภท ส.ค. 1 ของนายบุญจันทร์ เกษธาตุ ซึ่งก็เสียภาษีให้กับรัฐไทยทุกปีเช่นกัน แต่ก็ไม่มีโอกาสกลับเข้าไปทำมาหากินในพื้นที่ดังกล่าวอีก


หลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คนไทยเคยมาอยู่อาศัย และทำมาหากินโดยที่คนกัมพูชาไม่เคยมาอยู่อาศัยมาก่อน แต่เพราะหลักเขตมีโอกาสเคลื่อนย้ายไปมา หรือถูกทำลาย สร้างใหม่ตลอดระยะเวลา 92 ปี จึงมีโอกาสอย่างยิ่งที่จะเจรจาหาตำแหน่งหลักเขตเดิมนั้นเกิดความผิดพลาดได้


ด้วยเหตุผลนี้เอง รัฐบาลหรือข้าราชการไทย จึงไม่ควรด่วนสรุปโดยเด็ดขาดว่า 7 คนไทยรุกเข้าไปในพื้นที่กัมพูชาโดยเด็ดขาด ด้วยเหตุผล 3 ประการสำคัญคือ



  1. จุดที่ถูกจับทั้ง 2 ครั้ง มีทั้ง น.ส. 3 และ ส.ค. 1 โดยปรากฏชื่อ-สกุล ปรากฏตัวตนที่ชัดเจนที่มีสิทธิ์ทำกินและจ่ายภาษีให้รัฐไทยครบถ้วน แต่ไม่ได้มีโอกาสเข้าไปทำกินเพราะเขมรมาอาศัยอยู่


2. ปรากฏหลักฐานชัดเจนในการเข้ามาของเขมรอพยพที่หนีสงครามในประเทศมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ในพื้นที่ดังกล่าวย่อมชัดเจนว่าเป็นผืนแผ่นดินไทย เคยมีคนไทยทำมาหากิน แต่ถูกกัมพูชาเข้ามายึดครองอยู่ในปัจจุบัน


3. คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี)  ยังตกลงเรื่องการหาหลักเขตเดิมที่แน่นอนของหลักเขตที่ 46, 47, 48 ยังไม่ได้ (ซึ่งเป็นบริเวณจุดที่ทหารเขมรจับกุมชาวไทย) และหลักเขตมีการเคลื่อนย้ายมาแล้วหลายครั้ง


4. รัฐสภายังไม่ผ่านความเห็นชอบพิกัดหลักเขตที่ 46, 47, 48 เพราะ เจบีซีไทย-กัมพูชยังตกลงกันไม่ได้ จึงยังไม่เริ่มต้นแม้กระทั้งการับฟังความเห็นของประชาชน และการทำประชาพิจารณ์ ฯลฯ


แต่เป็นที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งว่าคนไทยด้วยกันเอง ทั้งรัฐบาล ทหาร กระทรวงการต่างประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัด นักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ต่างกล่าวหาว่าคนไทยรุกเข้าไปในเขตแดนกัมพูชาแล้วได้อย่างไร?


เรื่องนี้ตัวละครอย่าง “นายพนิช วิกิตเศรษฐ์” ที่ได้รับมอบภารกิจ “ลับ” เพื่อชวนภาคประชาชนลงหลายพื้นที่ซึ่งมีปัญหานั้น มีความหมายอย่างยิ่ง !!!


เพราะแปลว่านายกรัฐมนตรีต้องการตรวจสอบความผิดปกติโดยที่ไม่ให้มีใครรู้ โดยข้ามผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก แม่ทัพภาคที่ 1 และกองกำลังบูรพา


ซึ่งอาจถูกตีความให้ง่ายขึ้นก็คือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี “ไม่ไว้ใจทหาร”   


ลองคิดดูว่า ถ้านายพนิช ได้เดินทางไปกับภาคประชาชนที่กำลังเคลื่อนไหวในพื้นที่แล้วพบเหตุการณ์สมมุติดังต่อไปนี้ เช่น ทหารไทยถอนกำลังออกจากวัดแก้วสิขะคีรีสะวารา  หรือ 7 คนไทยในดินแดนของไทยแล้วค้นพบความจริงว่ามีชุมชนและทหารกัมพูชาเต็มไปหมด โดยที่ 7 คนไทยไม่ถูกทหารเขมรจับกุม จะเกิดอะไรขึ้น!!!?


สถานการณ์ที่ประชาชนโจมตีรัฐบาลเรื่อง บันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 จะถูกเบี่ยงประเด็นโยนออกไปว่า ภาคประชาชนกับรัฐบาลค้นพบร่วมกันว่าทหารเป็นปัญหาเพราะเป็นผู้ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องชายแดนไทย-กัมพูชา ใช่หรือไม่?


ถือเป็นชนักชั้นดีที่เอาไว้ติดหลังทหาร !?


ทั้งๆที่ความเป็นจริงข้อตกลงใน บันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 ของรัฐบาลต่างหาก ที่เป็นปัญหาทำให้ทหารไม่สามารถใช้กองกำลังในการผลักดันชุมชนและทหารกัมพูชาให้ออกจากพื้นที่ได้!!


ด้วยเหตุนี้รายงานของฝ่ายความมั่นคงจึงตอบโต้ด้วยการส่งรายงานไปยังกระทรวงการต่างประเทศแถลงข่าวเสียตั้งแต่วันแรกๆแบบชุ่ยๆว่า คนไทยรวมถึงนาย พนิช ส.ส.ประชาธิปัตย์ซึ่งได้รับมอบหมายภารกิจนายกรัฐมนตรี ได้รุกเข้าไปในเขตแดนกัมพูชาถึง 1.2 กิโลเมตร


แต่เมื่อภาคประชาชนออกมาเคลื่อนไหวจับผิด แสดงเอกสารสิทธิ์ในที่ทำกิน กระทรวงการต่างประเทศก็มีการตั้งคณะทำงานอีก 1 ชุด ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ แต่ก็ไม่ได้ลงเข้าไปในพื้นที่จริงจึงได้แต่ประมาณการตัวเลขใหม่ว่าไทยรุกแดนเขมรหดเหลือ 55 เมตร


ล่าสุดจากคำพูดของนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคือคนไทยรุกแดนกัมพูชาตามแนวสันปันน้ำ 8 เมตร!!!?


ดังนั้นการด่วนสรุปจากอำนาจรัฐทุกส่วนว่าคนไทยต้องผิดนั้น น่ามีความเคลือบแคลงสงสัยว่าจะมีความแฝงเร้นไปด้วยผลประโยชน์หลายระดับหรือไม่?


เช่น ในระดับล่างๆก็คือสินค้าเถื่อนหนีภาษี, ข้าราชการไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่อ้างว่าใกล้เขมรจึงอันตรายแล้วขอซื้อต่อมาในราคาถูกๆแล้วขายให้นักการเมืองท้องถิ่นเพื่อออกโฉนด, ขีดเส้นล้อมรั้วให้เป็นพื้นที่เขมรสมคบพ่อค้าเพื่อตัดไม้พะยูงไปขาย, ต้องการความสงบรักษาด่านเพื่อบ่อนคาสิโน


ส่วนในระดับรัฐบาลก็มีผลประโยชน์ระดับชาติก็คือการเจรจาผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นขุมทรัพย์ของมหาอำนาจทุนข้ามชาติและนักการเมืองเพียงไม่กี่คน


ดังนั้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อเดินหน้าผลประโยชน์ ทุกฝ่ายจึงพร้อมใจกันด่วนสรุปในทุกกระบวนท่าว่า 7 คนไทยต้องรุกเข้าไปในดินแดนกัมพูชา


เพื่อที่จะได้ไม่ต้องรับผิดชอบและแสวงหาผลประโยชน์ต่อไปกับกัมพูชาต่อไปได้   ... มันก็แค่นั้นเอง!!!?

นายบุญจันทร์ เกษธาตุ พร้อมบุตรสาว นางนีรนุช ปรากฏตัวยืนยัน 7 คนไทยถูกจับในดินแดนไทย

ที่ดินนายบุญจันทร์ เกษธาตุ มีเอกสาร ส.ค. 1 เสียภาษีทุกปีถูกระบุ 7 คนไทยถูกจับบนที่ดินผืนนี้ ซึ่งเป็นแผ่นดินไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง