เปิดเขาพระวิหาร ฉากละครมรดกโลกของเขมร โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
โดยปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2010 เวลา 2:21 น.
ในผลบันทึกการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ซึ่งได้พิจารณาที่จะสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกบริเวณพื้นที่เขาพระวิหารนั้น ได้ถูกตั้งคำถามว่าเหตุใด JBC จึงได้ประชุมที่จะจัดทำหลักเขตแดนทางบกในพื้นที่เขาพระวิหาร
เพราะพื้นที่บริเวณเขาพระวิหารถือเป็นพื้นที่ซึ่งนอกจากจะมีอนุสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 ว่าให้ยึดหลักสันปันน้ำแล้ว ยังมีรายงานของคณะกรรมการปักปันสยาม-ฝรั่งเศสเมื่อ 103 ปีที่แล้ว ได้เดินสำรวจและแบ่งเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารว่าให้ใช้หน้าผาเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่มีความชัดเจนในตัวเองและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ โดยที่ไม่ต้องจัดทำหลักเขตแดนใดๆทั้งสิ้น
ดังนั้นการที่มีการประชุมเพื่อที่จะสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่เขาพระวิหารซ้ำอีกครั้ง ย่อมทำให้กัมพูชายึดถือไปโฆษณาในนานาประเทศว่า ประเทศไทยได้สละหลักสันปันน้ำและผลงานการปักปันของคณะกรรมการผสมสยามฝรั่งเศส ให้มาเป็นการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่ ซึ่งก็คือแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวและจะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดนบริเวณเขาพระวิหารประมาณ 2,800 ไร่ โดยทันที
เพราะฉะนั้นในเวลาที่ฝ่ายไทยไปอ้างเพียงแค่ว่า การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่เขาพระวิหารยังไม่แล้วเสร็จตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 (MOU 2543) กับคณะกรรมการมรดกโลก และองค์การยูเนสโก จึงไม่มีใครเข้าใจอย่างอื่นนอกเสียจากว่า พื้นที่ซึ่งยังสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนยังไม่แล้วเสร็จนั้นหมายถึง แผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวที่รุกล้ำดินแดนไทยเกินกว่าแนวหน้าผาจำนวนมาก ย่อมไม่กระทบกับพื้นที่บริหารจัดการมรดกโลกแต่ประการใด
หลักฐานที่ชัดถึงวิธีคิดแบบนี้ก็คือการที่ยูเนสโกตัดสินใจให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือกัมพูชาจำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างและซ่อมแซมตลาดกัมพูชาซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนไทย โดยเหตุผลในการช่วยเหลือก็เพราะ ไทยได้ใช้กำลังทหารรุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เมื่อปี 2551 ทั้งๆที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นดินแดนและอธิปไตยของไทยอย่างชัดเจน
ด้วยเหตุนี้ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตรองประธานคณะกรรมธิการด้านกฎหมายขององค์การสหประชาชาติ จึงเห็นว่า MOU 2543 เป็นอันตรายอย่างยิ่ง สมควรที่จะยกเลิก และหันกับไปใช้อนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 และผลงานของคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสเมื่อ 103 ปีที่แล้ว ซึ่งจะระบุอย่างชัดเจนว่าต้องยึดหลักสันปันน้ำและหน้าผาเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาแต่เพียงอย่างเดียว
ในการประชุม JBC กัมพูชาพยายามให้มีคำปราศรัยบันทึกให้เป็นหลักฐานว่าฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรุกล้ำกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียวในบริเวณเขาพระวิหารและพื้นที่อื่นๆตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 มีการจัดทำร่างข้อตกลงชั่วคราวขึ้น โดยมีเนื้อหาในการรับรอง MOU 2543 ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งยังให้ทหารทั้งสองฝ่ายถอนกำลังออกจากพื้นที่บริเวณวัดแก้วสิขะคีรีสวาราซึ่งเป็นดินแดนไทย แต่กลับไม่พูดถึงการถอนชุมชน วัด ตลาด ถนน และสิ่งปลูกสร้างของกัมพูชาซึ่งเกิดขึ้นจำนวนมากในพื้นที่บริเวณดังกล่าว
เมื่อผลบันทึกการประชุม JBC ได้มีความพยายามในการผลักดันให้ขอความเห็นชอบโดยรัฐสภา แต่ก็ได้ถูกประชาชนกดดันและท้วงติงอย่างหนักเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 เป็นผลทำให้ รัฐบาลต้องยอมจำนนตั้งคณะกรรมาธิการของรัฐสภาเพื่อกลั่นกรองถ่วงเวลาอีกครั้ง
ตามมาด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่หมกเม็ดและถูกจับได้กลางที่ประชุมรัฐสภาเมื่อคืนวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 โดย ส.ว.คำนูณ สิทธิสมาน ซึ่งนายกรัฐมนตรีอ้างว่าแค่ผิดพลาด จะมีเนื้อหาหลักการใหญ่ที่ทำให้สัญญาที่มีผลการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตนั้นต้องลดขั้นตอนลงจนถึงขั้นปิดหูปิดตาประชาชน และลดขั้นตอนการกลั่นกรองจากรัฐสภา ซึ่งหากผ่านไปได้โดยไม่มีใครจับได้เสียก่อนก็จะเป็นผลทำให้ ผลบันทึกการประชุม JBC ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาอีกต่อไป
แต่เมื่อถูกจับได้เสียก่อนนายกรัฐมนตรีจึงต้องรับปากว่าจะแก้ไขด้วยการแปรญัตติในชั้นกรรมาธิการ และสัญญาว่าจะคว่ำร่างนี้ในวาระที่ 3 หากไม่ผ่านตามที่จะแก้ไขไป
ต่อมาผลบันทึกการประชุม JBC ที่มีปัญหาหมกเม็ดมากมายและทำให้ไทยต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบกัมพูชานั้น วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์จำนวน 62 คนได้เข้าชื่อกันเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ผลบันทึกการประชุม JBC นั้นจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาหรือไม่?
เรื่องที่เข้าประชุมอยู่ในรัฐสภา และอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรรมาธิการของสมาชิกรัฐสภาอยู่แล้ว แต่กลับนำเรื่อง JBC ที่มีปัญหาหมกเม็ดมากมายเช่นนี้เพิ่งจะมาขอคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมถูกตั้งข้อสงสัยเอาได้ว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เหล่านี้มีความต้องการให้ JBC หมกเม็ดและอัปยศเช่นนี้ ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาอีกต่อไป และต้องการให้ JBC เดินหน้าตามแผนของตัวเองต่อไปตามใจชอบ ใช่หรือไม่?
คำถามที่ชวนสงสัยที่กล่าวข้างต้นนี้ต้องเพิ่มความเคลือบแคลงสงสัยมากขึ้นไปอีก เมื่อทหารไทยและทหารกัมพูชาปรับลดและถอนกำลังออกจากพื้นที่วัดแก้วสิขะคีรีสะวารา โดยฝ่ายไทยสามารถเข้ามาท่องเที่ยวถึงตัวปราสาทพระวิหารได้ คงเหลือแต่ประเด็นที่ว่าไทยได้พยามร้องขอให้มีพ่อค้าแม่ขายของฝ่ายไทยเข้าไปค้าขายพื้นที่ดังกล่าวได้ด้วย
การถอนกำลังที่กำลังเกิดขึ้นนั้น ไม่แตกต่างจากร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างไทย-กัมพูชา ของ JBC อย่างไม่ผิดเพี้ยน จึงถือเป็นการปฏิบัติไปล่วงหน้าโดยที่ไม่ต้องมีการลงนามในร่างข้อตกลงชั่วคราว และไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาอีกด้วย
ฟังดูแล้วเหมือนเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ประชาชนไทยจะสามารถเข้าไปท่องเที่ยวพื้นที่ปราสาทพระวิหารได้แล้ว เป็นบรรยากาศชื่นมื่นต่อเนื่องหลังรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาจัดคอนเสิร์ทสานสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว
แต่เบื้องหลังแล้วการปรับกำลังถอนทหารนั้น กัมพูชาได้วางหมากเอาไว้อย่างแยบคายยิ่งนัก โดยกัมพูชาได้กำหนดให้ทหารทั้ง 2 ประเทศถอนกำลังทหารให้กลับไปในสภาพก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 โดยมีเป้าหมายในการตอกย้ำกับนานาชาติว่า ไทยได้ถอยออกจากการรุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ในปี 2551 ซึ่งกัมพูชาได้ร้องต่อองค์การยูเนสโกจนได้เงินสนับสนุนมาสร้างตลาดกัมพูชาในดินแดนไทยมาแล้วในปีเดียวกัน
เมื่อรู้ความจริงเช่นนี้ประชาชนชาวไทยจะยินดีแค่ไหน ถ้ารู้ว่าตัวเองนั้นอยู่ในฐานะนักท่องเที่ยวที่มาชมปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบนั้น กำลังจะถูกนำไปประกอบรายงานในแผนบริหารจัดการมรดกโลกของกัมพูชาในการประชุมมรดกโลกปีหน้าว่าไทยและกัมพูชาตกลงเจรจากันได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กัมพูชากำลังได้ในสิ่งที่ต้องการมาโดยตลอดคือให้ทหารทั้งสองฝ่ายถอนออกจากดินแดนพื้นที่วัดแก้วสิขะคีรีสะวารา เพราะความขัดแย้งที่ลดลง การตกลงกันได้ระหว่างสองประเทศ ย่อมเกิดเป็นพื้นที่สันติภาพที่เกิดขึ้นระหว่างสองประเทศ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่คณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณาอนุมัติแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชา และให้คณะกรรมการ 7 ชาติเข้าบริหารได้อย่างสมบูรณ์
ส่วนรัฐบาลไทยก็ได้สร้างภาพเพื่อยืนยันว่า MOU 2543 และ JBC ทำให้คนไทยได้เข้าไปท่องเที่ยวตัวปราสาทพระวิหารได้ และสร้างกระแสสันติภาพเพื่อขัดขวางการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในทุกวิถีทาง
ส่วนมรดกโลกในกลางปี 2554 ไทยยังไร้ยุทธศาสตร์ที่จะไปหยุดยั้งแผนบริหารจัดการมรดกโลก และยังไม่รู้ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลเสียด้วยซ้ำ แต่ถ้านายกรัฐมนตรีมีความมั่นใจว่า MOU 2543 ที่คลุมเครือไม่รู้ว่าเส้นไหนคือเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาคือยาวิเศษ เหนือว่า อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และ ผลงานการปักปันของสยาม-ฝรั่งเศสเมื่อ 103 ปีแล้ว ซึ่งระบุแนวหน้าผาเป็นเส้นเขตแดนพื้นที่เขาพระวิหารแล้ว
นายกรัฐมนตรีก็ควรจะประกาศให้ชัดว่าหากกอด MOU 2543 เอาไว้แล้วคณะกรรมการมรดกโลกยังอนุมัติแผนบริหารจัดการเขาพระวิหารให้เป็นของกัมพูชาได้อีก จะขอรับผิดชอบด้วยอะไร !?
เพราะพื้นที่บริเวณเขาพระวิหารถือเป็นพื้นที่ซึ่งนอกจากจะมีอนุสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 ว่าให้ยึดหลักสันปันน้ำแล้ว ยังมีรายงานของคณะกรรมการปักปันสยาม-ฝรั่งเศสเมื่อ 103 ปีที่แล้ว ได้เดินสำรวจและแบ่งเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารว่าให้ใช้หน้าผาเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่มีความชัดเจนในตัวเองและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ โดยที่ไม่ต้องจัดทำหลักเขตแดนใดๆทั้งสิ้น
ดังนั้นการที่มีการประชุมเพื่อที่จะสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่เขาพระวิหารซ้ำอีกครั้ง ย่อมทำให้กัมพูชายึดถือไปโฆษณาในนานาประเทศว่า ประเทศไทยได้สละหลักสันปันน้ำและผลงานการปักปันของคณะกรรมการผสมสยามฝรั่งเศส ให้มาเป็นการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่ ซึ่งก็คือแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวและจะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดนบริเวณเขาพระวิหารประมาณ 2,800 ไร่ โดยทันที
เพราะฉะนั้นในเวลาที่ฝ่ายไทยไปอ้างเพียงแค่ว่า การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่เขาพระวิหารยังไม่แล้วเสร็จตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 (MOU 2543) กับคณะกรรมการมรดกโลก และองค์การยูเนสโก จึงไม่มีใครเข้าใจอย่างอื่นนอกเสียจากว่า พื้นที่ซึ่งยังสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนยังไม่แล้วเสร็จนั้นหมายถึง แผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวที่รุกล้ำดินแดนไทยเกินกว่าแนวหน้าผาจำนวนมาก ย่อมไม่กระทบกับพื้นที่บริหารจัดการมรดกโลกแต่ประการใด
หลักฐานที่ชัดถึงวิธีคิดแบบนี้ก็คือการที่ยูเนสโกตัดสินใจให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือกัมพูชาจำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างและซ่อมแซมตลาดกัมพูชาซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนไทย โดยเหตุผลในการช่วยเหลือก็เพราะ ไทยได้ใช้กำลังทหารรุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เมื่อปี 2551 ทั้งๆที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นดินแดนและอธิปไตยของไทยอย่างชัดเจน
ด้วยเหตุนี้ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตรองประธานคณะกรรมธิการด้านกฎหมายขององค์การสหประชาชาติ จึงเห็นว่า MOU 2543 เป็นอันตรายอย่างยิ่ง สมควรที่จะยกเลิก และหันกับไปใช้อนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 และผลงานของคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสเมื่อ 103 ปีที่แล้ว ซึ่งจะระบุอย่างชัดเจนว่าต้องยึดหลักสันปันน้ำและหน้าผาเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาแต่เพียงอย่างเดียว
ในการประชุม JBC กัมพูชาพยายามให้มีคำปราศรัยบันทึกให้เป็นหลักฐานว่าฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรุกล้ำกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียวในบริเวณเขาพระวิหารและพื้นที่อื่นๆตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 มีการจัดทำร่างข้อตกลงชั่วคราวขึ้น โดยมีเนื้อหาในการรับรอง MOU 2543 ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งยังให้ทหารทั้งสองฝ่ายถอนกำลังออกจากพื้นที่บริเวณวัดแก้วสิขะคีรีสวาราซึ่งเป็นดินแดนไทย แต่กลับไม่พูดถึงการถอนชุมชน วัด ตลาด ถนน และสิ่งปลูกสร้างของกัมพูชาซึ่งเกิดขึ้นจำนวนมากในพื้นที่บริเวณดังกล่าว
เมื่อผลบันทึกการประชุม JBC ได้มีความพยายามในการผลักดันให้ขอความเห็นชอบโดยรัฐสภา แต่ก็ได้ถูกประชาชนกดดันและท้วงติงอย่างหนักเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 เป็นผลทำให้ รัฐบาลต้องยอมจำนนตั้งคณะกรรมาธิการของรัฐสภาเพื่อกลั่นกรองถ่วงเวลาอีกครั้ง
ตามมาด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่หมกเม็ดและถูกจับได้กลางที่ประชุมรัฐสภาเมื่อคืนวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 โดย ส.ว.คำนูณ สิทธิสมาน ซึ่งนายกรัฐมนตรีอ้างว่าแค่ผิดพลาด จะมีเนื้อหาหลักการใหญ่ที่ทำให้สัญญาที่มีผลการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตนั้นต้องลดขั้นตอนลงจนถึงขั้นปิดหูปิดตาประชาชน และลดขั้นตอนการกลั่นกรองจากรัฐสภา ซึ่งหากผ่านไปได้โดยไม่มีใครจับได้เสียก่อนก็จะเป็นผลทำให้ ผลบันทึกการประชุม JBC ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาอีกต่อไป
แต่เมื่อถูกจับได้เสียก่อนนายกรัฐมนตรีจึงต้องรับปากว่าจะแก้ไขด้วยการแปรญัตติในชั้นกรรมาธิการ และสัญญาว่าจะคว่ำร่างนี้ในวาระที่ 3 หากไม่ผ่านตามที่จะแก้ไขไป
ต่อมาผลบันทึกการประชุม JBC ที่มีปัญหาหมกเม็ดมากมายและทำให้ไทยต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบกัมพูชานั้น วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์จำนวน 62 คนได้เข้าชื่อกันเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ผลบันทึกการประชุม JBC นั้นจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาหรือไม่?
เรื่องที่เข้าประชุมอยู่ในรัฐสภา และอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรรมาธิการของสมาชิกรัฐสภาอยู่แล้ว แต่กลับนำเรื่อง JBC ที่มีปัญหาหมกเม็ดมากมายเช่นนี้เพิ่งจะมาขอคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมถูกตั้งข้อสงสัยเอาได้ว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เหล่านี้มีความต้องการให้ JBC หมกเม็ดและอัปยศเช่นนี้ ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาอีกต่อไป และต้องการให้ JBC เดินหน้าตามแผนของตัวเองต่อไปตามใจชอบ ใช่หรือไม่?
คำถามที่ชวนสงสัยที่กล่าวข้างต้นนี้ต้องเพิ่มความเคลือบแคลงสงสัยมากขึ้นไปอีก เมื่อทหารไทยและทหารกัมพูชาปรับลดและถอนกำลังออกจากพื้นที่วัดแก้วสิขะคีรีสะวารา โดยฝ่ายไทยสามารถเข้ามาท่องเที่ยวถึงตัวปราสาทพระวิหารได้ คงเหลือแต่ประเด็นที่ว่าไทยได้พยามร้องขอให้มีพ่อค้าแม่ขายของฝ่ายไทยเข้าไปค้าขายพื้นที่ดังกล่าวได้ด้วย
การถอนกำลังที่กำลังเกิดขึ้นนั้น ไม่แตกต่างจากร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างไทย-กัมพูชา ของ JBC อย่างไม่ผิดเพี้ยน จึงถือเป็นการปฏิบัติไปล่วงหน้าโดยที่ไม่ต้องมีการลงนามในร่างข้อตกลงชั่วคราว และไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาอีกด้วย
ฟังดูแล้วเหมือนเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ประชาชนไทยจะสามารถเข้าไปท่องเที่ยวพื้นที่ปราสาทพระวิหารได้แล้ว เป็นบรรยากาศชื่นมื่นต่อเนื่องหลังรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาจัดคอนเสิร์ทสานสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว
แต่เบื้องหลังแล้วการปรับกำลังถอนทหารนั้น กัมพูชาได้วางหมากเอาไว้อย่างแยบคายยิ่งนัก โดยกัมพูชาได้กำหนดให้ทหารทั้ง 2 ประเทศถอนกำลังทหารให้กลับไปในสภาพก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 โดยมีเป้าหมายในการตอกย้ำกับนานาชาติว่า ไทยได้ถอยออกจากการรุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ในปี 2551 ซึ่งกัมพูชาได้ร้องต่อองค์การยูเนสโกจนได้เงินสนับสนุนมาสร้างตลาดกัมพูชาในดินแดนไทยมาแล้วในปีเดียวกัน
เมื่อรู้ความจริงเช่นนี้ประชาชนชาวไทยจะยินดีแค่ไหน ถ้ารู้ว่าตัวเองนั้นอยู่ในฐานะนักท่องเที่ยวที่มาชมปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบนั้น กำลังจะถูกนำไปประกอบรายงานในแผนบริหารจัดการมรดกโลกของกัมพูชาในการประชุมมรดกโลกปีหน้าว่าไทยและกัมพูชาตกลงเจรจากันได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กัมพูชากำลังได้ในสิ่งที่ต้องการมาโดยตลอดคือให้ทหารทั้งสองฝ่ายถอนออกจากดินแดนพื้นที่วัดแก้วสิขะคีรีสะวารา เพราะความขัดแย้งที่ลดลง การตกลงกันได้ระหว่างสองประเทศ ย่อมเกิดเป็นพื้นที่สันติภาพที่เกิดขึ้นระหว่างสองประเทศ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่คณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณาอนุมัติแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชา และให้คณะกรรมการ 7 ชาติเข้าบริหารได้อย่างสมบูรณ์
ส่วนรัฐบาลไทยก็ได้สร้างภาพเพื่อยืนยันว่า MOU 2543 และ JBC ทำให้คนไทยได้เข้าไปท่องเที่ยวตัวปราสาทพระวิหารได้ และสร้างกระแสสันติภาพเพื่อขัดขวางการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในทุกวิถีทาง
ส่วนมรดกโลกในกลางปี 2554 ไทยยังไร้ยุทธศาสตร์ที่จะไปหยุดยั้งแผนบริหารจัดการมรดกโลก และยังไม่รู้ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลเสียด้วยซ้ำ แต่ถ้านายกรัฐมนตรีมีความมั่นใจว่า MOU 2543 ที่คลุมเครือไม่รู้ว่าเส้นไหนคือเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาคือยาวิเศษ เหนือว่า อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และ ผลงานการปักปันของสยาม-ฝรั่งเศสเมื่อ 103 ปีแล้ว ซึ่งระบุแนวหน้าผาเป็นเส้นเขตแดนพื้นที่เขาพระวิหารแล้ว
นายกรัฐมนตรีก็ควรจะประกาศให้ชัดว่าหากกอด MOU 2543 เอาไว้แล้วคณะกรรมการมรดกโลกยังอนุมัติแผนบริหารจัดการเขาพระวิหารให้เป็นของกัมพูชาได้อีก จะขอรับผิดชอบด้วยอะไร !?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น