บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

 เขมรแจงละเอียดประชุมมรดกโลก เผยทุกประเทศหนุนพิจารณาแผน
โพสต์เมื่อ 25 มิถุนายน 2011 - 12:35 น. โดย n/e - 12:35 น.
ฟิฟทีนมูฟ – เขมรออกข่าว ๗ ข้อการดำเนินงานของตัวแทนในการประชุมมรดกโลก เผยคณะกรรมการฯ หนุนให้ปฏิบัติตามมติการประชุมครั้งที่ ๓๔ ให้พิจารณาลงมติแผนฯ เผยเขมรวิ่งล็อบบี้ทุกประเทศและหน่วยงานของยูเนสโก สาธยายการรุกรานของไทยตั้งแต่ปี ๒๕๐๕-๕๔ ระบุไทยก่ออาชญากรรมต่อมรดกโลก ศาสนาและสิทธิมนุษยชน ยั่วยุให้ทุกประเทศกล่าวโทษไทย เร่งให้ส่งผู้เชี่ยวชาญไปประเมินและซ่อมแซมปราสาท ออกมาตรการป้องกันความเสียหายในอนาคต ขณะโฆษกหน่วยข่าวฯ เขมรระบุท่าทียูเนสโกส่งนัยเขมรชนะในการประชุมครั้งนี้

วานนี้ (๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔) หน่วยข่าวและตอบโต้เร็วในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ออกเอกสารประกาศข่าวรายงานการดำเนินการของนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา หัวหน้าคณะตัวแทนกัมพูชา ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ ๓๕ ที่กรุงปารีส โดยอ้างการให้ข่าวของผู้แทนกัมพูชาประจำองค์การยูเนสโก ระบุ ๗ ประเด็น การดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้


๑. คณะตัวแทนกัมพูชาได้พูดคุยล็อบบี้คณะตัวแทนของประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง ๒๑ ประเทศ (ยกเว้นไทย) และหน่วยงานสำคัญ ๆ ขององค์การยูเนสโก ประกอบด้วยศูนย์มรดกโลก องค์การ ICCROM และ ICOMOS เป็นต้น

๒. นายกีชอร์ เรา (Kishore Rao) ประธานศูนย์มรดกโลก และนาย Mounir Bouchenaki ผู้อำนวยการ ICCROM ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก ได้ร่วมกันประสานงานและแยกหารือกับคณะตัวแทนกัมพูชาและไทย เพื่อหาข้อสรุปที่เป็นไปได้ ส่งให้คณะตัวแทนทั้งสองฝ่ายแสดงความเห็น ในประเด็นสำคัญของร่างมติการประชุมครั้งที่ ๓๕ ของคณะกรรมการมรดกโลก กรณีปัญหาปราสาทพระวิหาร


เอกสารประกาศข่าวของหน่วยข่าวและตอบโต้เร็ว ๒๔ มิ.ย.๕๔ กรณีการประชุมมรดกโลก

๓. คณะตัวแทนไทยได้พยายามอย่างเกรี้ยวกราด เพื่อสกัดกั้นแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร โดยแสดงจริตที่หยาบคายและก้าวร้าว ทั้งในขณะแยกหารือ และในบริเวณที่ทำการยูเนสโก โดยเฉพาะได้รวมตัวกันอย่างชุลมุลเข้าไปในห้องเจรจา ถึง ๒๘ คน โดยมีนักข่าวที่มีกล้องวิดีโอติดตัวอีก ๗ คนด้วย ​พวกเขาได้พูดโกหกอย่างไร้ยางอายว่า ไม่มีความเสียหายต่อปราสาทอย่างการกล่าวอ้างของกัมพูชา แล้วความเสียหายเล็กน้อยเหล่านั้น เป็นผลหลงเหลือมาจากสงครามระหว่างเขมรในอดีตเท่านั้น ไทยได้ทำแบบจำลองปราสาทพระวิหาร และใช้รูปถ่ายเมื่อ ๕๐ ปีก่อน ที่ดูแลโดยนักโบราณคดี เพื่อเปรียบเทียบ โดยพูดโกหกว่าปราสาทพระวิหารไม่มีความเสียหายแต่อย่างใด และมีสภาพเหมือนเดิม

๔. ผลอันเป็นก้าวแรกในการหารือกรณีนั้น ประเทศจำนวนมากได้สนับสนุนให้เคารพและปฏิบัติตามมติการประชุมครั้งที่ ๓๔ ของคณะกรรมการมรดกโลก ที่กรุงบราซิเลีย ทั้ง ๕ ข้อ ที่คณะกรรมการมรดกโลกได้เห็นชอบไปแล้ว โดยมีทั้งการลงนามโดยตัวแทนของกัมพูชา ไทย และประธานกรรมการอีกด้วย โดยเฉพาะตัวแทนของประเทศบราซิลที่เป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งที่ ๓๔ ก็ได้ยืนยันว่า คณะกรรมการมรดกโลกควรเคารพมติการประชุมครั้งที่ ๓๔

๕. ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา คณะตัวแทนกัมพูชาได้ทำงานอย่างเร่งด่วน ในการอธิบายประวัติการรุกราน และการโจมตีปราสาทพระวิหารจากฝ่ายทหารไทย ภายหลังการตัดสินคดีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก โดยเฉพาะระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๕-๒๕๐๖ พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๒ และในเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔ ส่งผลให้รัฐบาลกัมพูชาร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยแสดงหลักฐานหนังสือและดีวีดี เป็นภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ ที่ยืนยันความเสียหายของปราสาทพระวิหาร และการละเมิดสิทธิมนุษยชน

๖. คณะตัวแทนกัมพูชาได้ล็อบบี้กับนานาชาติ เพื่อกล่าวโทษการกระทำรุกรานของกองทัพไทย บนบูรณภาพดินแดนของกัมพูชา รวมทั้งอาชญากรรมต่อมรดก อาชญากรรมต่อศาสนา และการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการใช้ระเบิดแตกอากาศ1

๗. คณะตัวแทนกัมพูชากำลังดำเนินการเจรจาด้วยภาพที่อ่อนน้อมและหนักแน่น เพื่อปกป้องผลจากการประชุมที่ ๓๔ ของคณะกรรมการมรดกโลก ที่กรุงบราซิเลีย และผลักดันให้มีการสนับสนุนจากนานาชาติ เพื่อนำไปสู่การเร่งรัดให้ส่งผู้เชี่ยวชาญไปประเมินความเสียหาย และเตรียมการซ่อมแซมปราสาทพระวิหาร พร้อมทั้งออกมาตรการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเคารพตามอนุสัญญามรดกโลก ค.ศ.๑๙๗๒ และอนุสัญญา ค.ศ.๑๙๕๔ ว่าด้วยการป้องกันสมบัติทางวัฒนธรรมในยามขัดกันด้วยอาวุธ

วันเดียวกัน หนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพของกัมพูชา รายงานอ้างการให้สัมภาษณ์ของนายติต โซะเทีย โฆษกหน่วยข่าวและตอบโต้เร็ว ในปัญหาการหารือแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ที่องค์การยูเนสโก โดยระบุว่าตนยังไม่ต้องการพูดว่าใครชนะใครแพ้ในขณะนี้ เพียงแต่ต้องการยืนยันว่า มาถึงขณะนี้ แผนการณ์ของกัมพูชากรณีปราสาทพระวิหารไม่เดินถอยหลัง

หากมองตามท่าทีที่ดีขององค์การยูโนสโกกรณีปราสาทพระวิหาร มีความหมายว่า กัมพูชาประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่เรียบร้อยแล้ว ต่อแผนการอนุรักษ์และพัฒนา เพราะคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง ๒๑ คน ได้สนับสนุนการดำเนินการของกัมพูชา เนื่องจากกัมพูชามีข้อโต้แย้งและช่องทางกฎหมายครบถ้วน คณะกรรมการมรดกโลกจำนวนมากผลักดันให้เคารพและปฏิบัติตามมติการประชุมครั้งที่ ๓๔ ที่กรุงบราซิลเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓

เอกสารประกาศข่าวอย่างเป็นทางการและคำให้สัมภาษณ์ที่เต็มไปด้วยความมั่นใจของกัมพูชาครั้งนี้ เป็นผลอันเกิดจากความมั่นใจต่อมติการประชุมครั้งที่ ๓๔ ที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะตัวแทนไทย ลงนามร่วมกับหัวหน้าคณะตัวแทนกัมพูชา และประธานการประชุมฯ ชาวบราซิล ที่มีประเด็นหลักคือ การแสดงการได้รับเอกสารแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชา (WHC-10/34.COM/7B.Add.3) และเห็นชอบให้นำขึ้นหารือเพื่อลงมติในการประชุมประจำปีครั้งนี้ เป็นผลให้การเสนอขอเลื่อนการพิจารณาลงมติของไทยได้รับการสนับสนุนน้อยและมีน้ำหนักที่เบา นอกจากนี้ ข้อสังเกตจากการล็อบบี้ของกัมพูชาและร่างมติของคณะกรรมการมรดกโลก มีเนื้อหาที่เลยเถิดไกลกว่ากรอบของมรดกโลกทางวัฒนธรรม เอนเอียงเข้าข้างกัมพูชาอย่างชัดเจน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นไปได้ว่า เกิดจากการชี้แจงและโต้แย้งด้วยประเด็นที่แผ่วเบาและมิได้มุ่งด้วยแก่นหลักของปัญหา รวมถึงท่าที่ทีกลับไปกลับมาของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงที่ผ่านมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง