บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นักการทูต อินโดนีเซีย ระบุศาลโลกตัดสินพิพาทไทย-เขมร เรื่องไม่จบ 2ฝ่ายไม่ถอนทหาร หวังกลับมาอาเซียน "สุวิทย์"แจ้งผอ.ยูเนสโกเลื่อนวาระพระวิหาร




นายพี แอล อี เพรียตนา อัครราชทูตที่ปรึกษาด้านกิจการสังคมและวัฒนธรรมและการทูตสาธารณะ สถานทูตอินโดนีเซีย ประจำกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ จาการ์ตา โพสต์ ฉบับวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา ระบุกัมพูชาร้องขอศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก) เมื่อปลายเม.ย. ให้ตีความคำตัดสินเมื่อ 15 มิ.ย.2505 เพียงเพราะต้องการหาความชอบธรรมทางกฎหมาย เร่งให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ให้ไทยยุติการเคลื่อนไหวทางทหารทั้งหมดตามชายแดนปราสาทพระวิหาร และยุติการกระทำที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นการรุกราน 
แต่ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติหลายคนเห็น ตรงตามที่ไทยแย้งว่า คำตัดสินปี 2505 ไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทชายแดน และไทยได้ปฏิบัติตามคำตัดสินดังกล่าวแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องให้ศาลโลกตีความอีก 
นอกจากนี้ ศาลโลกยังไม่มีอำนาจในการตัดสินเพิ่มเติมให้แก่กัมพูชา เพราะคดีนี้อยู่นอกเหนืออำนาจของศาลโลก ดังนั้น การตีความของศาลโลกจะประกาศประมาณวันที่ 15 ก.ค.นี้ จะไม่ได้รับการยอมรับอย่างง่ายดาย หรือจะนำมาซึ่งสันติภาพโดยอัตโนมัติ ทั้งไทยและกัมพูชาจะไม่ยอมถอนทหารออกจากชายแดน เพราะเท่ากับทำลายอธิปไตยของตนเอง
นายเพรียตนา ตั้งคำถามว่า เหตุใดกัมพูชาจึงร่วมเจรจาสามฝ่ายกับไทยและอินโดนีเซีย เมื่อ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากยื่นเรื่องต่อศาลโลก เขาเห็นว่ามาตรการแก้ไขที่ทั้งสามฝ่ายตกลงกันที่กรุงจาการ์ตา คือ ทางออกที่ปฏิบัติได้จริงมากที่สุด 
"แต่ก็น่าผิดหวังที่ไทยและกัมพูชาใน ฐานะสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ทำตามรับปากไว้ เรื่องนี้เป็นมากกว่าบทเรียนทางการเมืองด้านลบที่เกิดขึ้นตั้งแต่คนรุ่นก่อน และจะส่งต่อไปจนถึงคนรุ่นต่อไป การรักษาสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพเป็นเป้าหมายสูงสุดสำหรับอนาคตของอาเซียน ไม่ใช่เป้าหมายในอดีต สิ่งเหล่านี้จะต้องสร้างขึ้นจากความมุ่งมั่นและความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง จากบุคคลระดับผู้นำ ไม่ใช่เพียงสัญญาปากเปล่า" นายเพรียตนา ระบุ
ด้าน นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 เปิดเผยว่า วันที่ 19 มิ.ย. เวลา 11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับ 16.00 น.ตามเวลาไทย) จะเข้าพบ นางอิริน่า โบโกวา ผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก เพื่อหารือเกี่ยวกับร่างมติที่ประชุม และยืนยันจุดยืนและข้อมูลความเห็นของไทย ขอให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริการจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ตามที่กัมพูชาเสนอออกไปก่อน เพราะจะนำไปสู่ความขัดแย้ง  
"คณะผู้แทนไทยจะพยายามทำทุกวิถีทาง ไม่ให้เสียดินแดน และแสดงจุดยืนไทยไม่ต้องการให้พิจารณาพื้นที่รอบปราสาทตามที่กัมพูชาเสนอ เพราะมีบางส่วนรุกล้ำเข้ามาในฝั่งไทย รวมทั้งต้องการให้มีการเจรจาปักปันเขตแดนให้เสร็จสิ้นก่อน"
นายสุวิทย์ กล่าวด้วยว่า จะสอบถามเกี่ยวกับเงินจำนวน 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินที่กัมพูชาได้ขอไปใช้นอกพื้นที่ปราสาทพระวิหารว่า เป็นการใช้ผิดประเภทหรือไม่ เนื่องจากหมู่บ้านตีนบันไดปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนไทย 
"การสอบถามเรื่องการใช้เงิน ยังเป็นการยืนยันว่า ไทยไม่ยอมรับและไม่เห็นด้วยกับการใช้เงิน และเพื่อป้องกันปัญหาอาจเกิดขึ้นในอนาคต หากกัมพูชานำเรื่องการใช้เงินในหมู่บ้านดังกล่าวมาเรียกร้องสิทธิ" 
เขาระบุอีกว่า ไทยเตรียมส่งจดหมายเพื่อแสดงจุดยืนถึงผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก ตัวแทนจากประเทศบาห์เรน ซึ่งเป็นประธานในการประชุม และกรรมการมรดกโลก 19 ชาติ เพื่อเป็นการทำความเข้าใจในเหตุผลและจุดยืนของไทย ส่วนจะมีมาตรการในการพิจารณาตัดสินใจอย่างไร ได้มีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางไว้ทั้งหมดแล้ว แต่ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ 
สำหรับการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้ง นี้ จะตรวจสอบความพร้อมระเบียบวาระต่างๆ ที่จะพิจารณาในการประชุมครั้งนี้ โดยแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร อยู่ในวาระที่ 62 ของการประชุม คาดว่า 23 มิ.ย.นี้ จะพิจารณาเรื่องนี้
ทหารโชว์แผนที่ 3 มิติปราสาทพระวิหารอยู่แดนไทย พลโทนพดล โชติศิริ เจ้ากรมแผนที่ทหาร ได้นำรูปหุ่นจำลองหรือแผนที่ 3 มิติ แสดงลักษณะภูมิประเทศปราสาทพระวิหาร สัดส่วน 1 ต่อ 12,000 ซึ่งย่อมาจาก 1 ต่อ 200,000 โดยแผนที่ 3 มิติ ดังกล่าวจะช่วยทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในเส้นสันปันน้ำในดินแดนของไทย
นอกจากนี้ ยังมีถนน ตลาดและห้องน้ำที่อยู่ในแผนบริหารจัดการของกัมพูชา ซึ่งเป็นการรุกล้ำดินแดนไทย โดยเจ้ากรมแผนที่ทหาร มั่นใจว่า ภาพแผนที่ 3 มิติดังกล่าวจะช่วยให้คณะกรรมการมรดกโลกเกิดความเข้าใจชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง