บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หมู่บ้านอนุรักษ์ฯสมเด็จเดโช ฮุน เซน แห่งพระวิหาร


by Supalak ,


 
แม้การได้รับสถานภาพแห่งการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหาร หรือ Preah Vihear ของ กัมพูชานั้นจะทำให้รัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำสูงสุดของ ฮุน เซน ต้องเผชิญกับความขัดแย้งที่มีอยู่กับรัฐบาลไทยภายใต้การนำของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในตลอดช่วงเกือบ 3 ปี มานี้ก็ตามแต่ก็หาได้เป็นอุปสรรคต่อความพยายามของ ฮุน เซน ในอันที่จะทำให้วิมานสวรรค์ของพระศิวะแห่งนี้กลายเป็นสวรรค์บนพื้นผิวโลกของ มนุษย์ให้ได้อย่างแท้จริงแต่อย่างใด

ทั้งนี้โดยถ้าหากจะนับจากการที่คณะผู้แทนของ UNESCO ได้เดินทางเข้าไปสำรวจในพื้นที่ปราสาทฯดังกล่าวครั้งแรกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2009 ซึ่งคณะผู้แทนของ UNESCO ก็ ได้ให้การแนะนำเพื่อให้รัฐบาลกัมพูชาของ ฮุน เซน ดำเนินการต่างๆเพื่อรองรับแผนการบริหารและจัดการมรดกโลกที่ได้มีการจัดแบ่ง เขตต่างๆ ออกเป็น 5 เขตนั้นก็ปรากฏว่ารัฐบาลของ ฮุน เซน ได้เร่งดำเนินการต่างๆตามการแนะนำของคณะผู้แทน UNESCO ได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยความรวดเร็วยิ่ง

โดย เฉพาะอย่างยิ่ง การก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นมาใหม่เพื่อให้มีบทบาทในการอนุรักษ์มรดกโลกที่ ฮุน เซน ได้ให้ชื่อว่าหมู่บ้านสมเด็จเดโช ฮุน เซน แห่งพระวิหารหรือ Eco-Village of Samdech Techo Hun Sen of Preah Vihear นั้นถือเป็นเขตที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วที่สุดในเวลานี้

กล่าวสำหรับตามแผนการของ ฮุน เซน แล้วหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากตัวปราสาทพระวิหารเข้าไปในเขตกัมพูชาประมาณ 20 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตที่กว้างถึง 43,997 เฮกตาร์หรือเกือบ 275,000 ไร่นั้น ฮุน เซน ได้จัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 เขตด้วยกัน

โดยเขตแรกนั้น ก็คือ เขตที่อยู่อาศัยของชาวเขมรอย่างน้อย 800 ครอบ ครัว พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆอย่างครบครัน เช่นโรงเรียน โรงพยาบาล น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์และถนนในหมู่บ้านที่สามารถเชื่อมต่อกับภายนอกได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เป็นต้น ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ปรากฏว่าทางการ กัมพูชาได้ทำการสร้างบ้านให้กับชาวเขมรที่สมัครใจเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน แห่งนี้เสร็จแล้วจำนวน มากกว่า 320 หลัง ส่วนที่เหลือนั้นก็คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2011 นี้อย่างแน่นอน เพราะ จนถึงเวลานี้มีชาวเขมรมากกว่า 790 ครอบครัวแล้วที่ได้สมัครใจเข้าไปตั้งรกรากอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้

ส่วนที่ถือว่าได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วนั้น ก็คือโรงเรียน โรงพยาบาลและถนนที่กว้างถึง 9เมตร ที่เชื่อมต่อจากหมู่บ้านไปยังหมู่บ้านแสมที่อยู่รอบนอกสุดของเขตมรดกโลก นอกจากนี้ รัฐบาลของ ฮุน เซน ยังได้เร่งมือดำเนินการขุดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่ง เพื่อตอบสนองความต้องการให้ได้ อย่างเพียงพอตลอดปีทั้งในครัวเรือน สถานที่ราชการ แหล่งธุรกิจ และการเกษตร ซึ่งถ้าหากการดำเนินงานเป็นไปตามแผนการที่ ฮุน เซน ได้วางไว้จริง ก็หมายความว่าสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเหล่านี้จะดำเนินการแล้วเสร็จอย่างครบ ถ้วนภายในปี 2011 นี้เช่นเดียวกัน

สำหรับเขตที่สอง ก็คือเขตพิพิธภัณฑ์อนุรักษ์มรดกโลกหรือ Eco-Global Museum นั้น ถือเป็นส่วนที่ ฮุน เซน หมายมั่นที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งค้นคว้าอันทันสมัยที่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ความยิ่งใหญ่ในอดีตของกัมพูชา ด้วยหวังว่าจะเป็นเขตหนึ่งที่จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายแสนจน ถึงล้านคนให้เดินทางไปเยือนวิมานสวรรค์ของพระศิวะแห่งนี้ในแต่ละปีเช่นเดียว กับนครวัดที่เสียมเรียบ (เสียมราฐ) ซึ่ง ทำให้กัมพูชามีรายได้จากการท่องเที่ยวปีละหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้โดย ฮุน เซน ได้วาง แผนการที่จะเชื่อมต่อมรดกโลกทั้งสองแห่งนี้เข้าด้วยกันอีกต่างหาก

ส่วน ชาวต่างชาติที่มีทุนทรัพย์จนเหลือล้นนั้น ก็สามารถที่จะลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านอนุรักษ์ฯสมเด็จเดโช ฮุน เซน แห่งนี้ได้เช่นกัน ทั้งนี้ด้วยการเข้าไปลงทุนในเขตที่สามที่ ฮุน เซน จัดสรรไว้เพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศเป็นการเฉพาะทั้งในธุรกิจบริการ และการท่องเที่ยวอย่างครบครัน เช่นสนามกอล์ฟ โรงแรม รีสอร์ท และศูนย์การค้า เป็นต้นซึ่งเฉพาะในเขตพื้นที่นี้ ฮุน เซน ยังได้มองถึงเงินลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว

อย่าง ไรก็ตาม เนื่องจากว่าการได้มาซึ่งมรดกโลกของปราสาทพระวิหารแห่งนี้ยังคงคุกรุ่นไป ด้วยความขัดแย้งที่มีอยู่กับไทย จึงทำให้ ฮุน เซน ต้องเพิ่มเขตที่สี่เข้าไปในหมู่บ้านอนุรักษ์ฯ สมเด็จเดโช ฮุน เซน แห่งนี้เป็นการเฉพาะอีกเขตหนึ่ง ซึ่งในที่นี้ก็คือเขตที่พักของครอบครัวทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่เก็บกู้ระเบิดนั่นเอง

โดย ที่ผ่านมานั้น ก็ปรากฏว่า ฮุน เซน ได้โยกย้ายอดีตทหารเขมรแดงและครอบครัวให้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ในเขตนี้แล้ว หลายร้อยครอบครัว ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะมีการโยกย้ายเข้าไปเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่อง จากว่าผลประโยชน์ที่ครอบครัวของอดีตทหารเขมรแดงเหล่านี้จะได้รับเป็นการตอบ แทนจาก ฮุน เซน นั้นไม่ใช่เพียงการเลื่อนยศและเพิ่มอัตราเงินเดือนเท่านั้น หากยังได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินและสร้างบ้านพักให้อยู่อาศัยได้อย่างถาวร อีกด้วย
ความจริงแล้ว ฮุน เซน ได้เริ่มดำเนินการโยกย้ายครอบครัวอดีตทหารเขมรแดงเข้ามาอยู่ในเขตปราสาท พระวิหารนับเป็นเวลากว่า 2 ปีมาแล้วหรือนับจากที่ได้มีการปะทะด้วยกำลังอาวุธกับทหารไทยในครั้งแรกในช่วงปลายปี 2008 เพียงแต่ว่าในช่วงเวลานั้นคณะผู้แทนของ UNESCO ยัง ไม่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจพื้นที่ในเขตปราสาทพระวิหาร จึงทำให้ยังไม่มีแนวความคิดเกี่ยวกับการก่อตั้งหมู่บ้านอนุรักษ์ฯ สมเด็จเดโช ฮุน เซน แต่อย่างใด

แต่ ถึงกระนั้น ฮุน เซน ก็ได้ใช้แนวนโยบายทหารนิยมด้วยการทั้งให้ ทั้งแจก และทั้งแถมผลประโยชน์ต่างๆนานาให้กับครอบครัวอดีตทหารเขมรแดงที่สมัครใจเข้า ไปตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ที่ต่อเนื่องจากกับ เขตปราสาทพระวิหารดังกล่าว และครั้นเมื่อคณะผู้แทนของ UNESCO ได้เข้าไปสำรวจพื้นที่พร้อมกับการเสนอแนะให้รัฐบาลกัมพูชาของ ฮุน เซน ดำเนินการต่างๆตามการเสนอแนะดังกล่าวที่มีอยู่ทั้งหมด 13 ข้อ เสนอแนะ ซึ่งรวมถึงข้อเสนอแนะให้ดำเนินการก่อตั้งหมู่บ้านอนุรักษ์มรดกโลกดังกล่าว ด้วยนั้น จึงทำให้ ฮุน เซน ใช้เป็นโอกาสในการโยกย้ายครอบครัวอดีตทหารเขมรแดงเข้าไปได้อย่างเหมาะเจาะ และยังได้ถือโอกาสใช้ชื่อของตนเป็นชื่อหมู่บ้านอีกด้วย

สำหรับการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะผู้แทนของ UNESCO อีก 12 ข้อ ที่เหลือนั้น ฮุน เซน ก็ได้สั่งการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการและปฏิบัติตามอย่างเคร่ง ครัด ซึ่งก็เป็นผลทำให้การดำเนินงานได้คืบหน้าไปแล้วในหลายด้าน เช่น การก่อสร้างบันไดไม้ที่มีความยาวเกือบ 1,500 เมตรสำหรับใช้เป็นทางขึ้นสู่ตัวปราสาทพระวิหารจากด้านตะวันออกหรือจากฝั่งกัมพูชานั้นก็สร้างเสร็จแล้ว ส่วนถนนราดยางขนาดกว้าง 9 เมตรจากหมู่บ้านแสมเข้ามายังปราสาทพระวิหารนั้นก็เสร็จแล้วเช่นกัน

โดยหมู่บ้านแสมดังกล่าวนี้ถือเป็นประตูสู่มรดกโลกแห่งปราสาทพระวิหาร ซึ่งตามการเสนอแนะของ คณะผู้แทนของ UNESCO นั้น จะพัฒนาให้หมู่บ้านแสมแห่งนี้เป็นศูนย์รวมของธุรกิจภาคบริการต่างๆอย่างครบ วงจร เช่น ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ศูนย์อาหาร ไนท์คลับ ศูนย์จำหน่ายของที่ระลึก สถานีรถ โดยสาร และธนาคารเป็นต้น ต่างก็ล้วนแล้วแต่จะถูกจัดให้อยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้ทั้งสิ้น (และที่แน่ๆ ที่ดินส่วนใหญ่ในเขตดังกล่าวนี้ได้ตกไปอยู่ในมือพรรคพวกของ ฮุน เซน เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน)

เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าการกระทบกระทั่งกับไทยในตลอดช่วงเกือบ 3 ปี มานี้หาได้มีผลกระทบต่อการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆเพื่อรองรับแผนการ บริหารและจัดการมรดกโลกแห่งนี้ของกัมพูชา แต่อย่างใด ทั้งยังเชื่อด้วยว่าการประกาศถอนตัวของไทยจาก UNESCO ใน ครั้งนี้ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อ ฮุน เซน อีกต่างหาก โดยถึงแม้ว่าความขัดแย้งที่เป็นอยู่นี้จะทำให้รัฐบาลของ ฮุน เซน ไม่สามารถที่จะเดินหน้าในการปฏิบัติแผนการบริหารและจัดการมรดกโลกแห่งนี้ได้ จนถึงทุกวันนี้ก็ตาม แต่สำหรับฮุน เซน แล้วก็สามารถที่จะเอาตัวรอดได้ด้วยการให้เหตุผลต่อชาวเขมรทั้งในและต่าง ประเทศว่าสาเหตุและอุปสรรคที่สำคัญที่สุดนั้นมาจากการขัดขวางของรัฐบาลไทย นั่นเอง

ซึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่านี้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการทำให้ ฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชาของเขานั้นสามารถที่จะยึดกุมชัยชนะทั้งในการเลือกตั้ง ระดับท้องถิ่นในต้นปี 2012 และการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไปในกลางปี 2013 ได้อย่างแน่นอน (โดยไม่ต้องสนใจเลยว่าจะสามารถปฏิบัติแผนการบริหารและจัด การมรดกโลกได้จริงๆเมื่อใด) นี่จึงนับได้ว่าปราสาทพระวิหารแห่งนี้คือมรดกของ ฮุน เซน โดยแท้!!!
ทรงฤทธิ์ โพนเงิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง