วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ศาลปค.สูงสุดยืนตามศาลปค.ชั้นต้นสั่งยกคำร้องพธม.
ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ นายวุฒิชัย แสงสำราญ ตุลาการศาลปกครองกลาง ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่มีคำสั่งยืนตามศาลปกครอง ชั้นต้นให้ยกคำร้องของนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพวกที่ยื่นฟ้องรมว.กระทรวงการต่าง ประเทศและคณะรัฐมนตรี ขอให้เพิกถอนบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเห็น ว่า การดำเนินการของรมว.ต่างประเทศ และคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและการจัดทำหลักเขตทางบก ระหว่างราชอาณาจักรไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา ค.ศ.2000 หรือMOU 2543 ข้อกำหนดและแผนแม่บทสำหรับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราช อาณาจักรไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ TOR 2546 มติรัฐสภาที่เห็นชอบกรอบการเจรจาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา ตลอดแนว ในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา และกลไกอื่น ๆ ภายใต้กรอบนี้
ตลอดจนการนำบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วรวม 3 ฉบับ เสนอให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ และร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราช อาณาจักรกัมพูชา ว่า ด้วยปัญหาชายแดนในพื้นไทย-ปราสาทพระวิหาร กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวิเฮียร์ ที่จัดทำขึ้นในเดือนเม.ย.2552 และรอความเห็นชอบจากรัฐสภา เป็นการใช้อำนาจทางบริหารของรัฐ โดยฝ่ายบริหารตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และเมื่อมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในเรื่องดังกล่าวต้องผ่าน การตรวจสอบและให้ความเห็นชอบของรัฐสภาในฐานของฝ่ายนิติบัญญัติก่อน อันเป็นการควบคุมทางการเมืองตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขการดำเนินการดังกล่าวของรมว.ต่างประเทศและคณะรัฐมตรี จึงเป็นกรณีการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือการดำเนินกิจการทางปกครอง คดีพิพาทนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง ที่ศาลปกครองชั้นต้นสั่งไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น จึงชอบแล้วศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย
ส่วนที่นายปานเทพ ขอให้ศาลปกครองสูงสุดส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีการดำเนินการ เกี่ยวกับ MOU 2543 ไม่ถูกต้องตามกระบวนการขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ และการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีที่ขอให้รัฐสภาเห็นชอบตามกรอบการเจรจาสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชาตลอดแนวในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดน ร่วมไทย-กัมพูชาและกลไกอื่น ๆ ภายใต้กรอบนี้ โดยมีการกำหนดกรอบการเจรจาในความหมายเดียวกับข้อความของMOU2543 ดังกล่าวเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ นั้น เห็นว่า เมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องคดีนี้แล้วก็ไม่มีเหตุให้ต้องส่ง ข้อโต้แย้งดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 211 ของรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดคดีบันทึกการประชุมคณะกรรมการเขตแดนร่วม ไทย-กัมพูชา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น