การมีข้อพิพาทเกี่ยวกับขอบเขตหรือความหมายของคำพิพากษา
เป็นที่ยอมรับกันในแนวบรรทัดฐานคำตัดสินของศาลโลกตั้งแต่ศาลโลกเก่า (คือคดี Chorzow Factory) จนถึงศาลโลกใหม่ว่า ขณะที่มีการร้องขอให้ตีความคำพิพากษา จะต้องมีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจริง (the existence of a actual dispute) ระหว่างรัฐคู่ความเกี่ยวกับขอบเขตหรือความหมายของคำพิพากษา มิใช่เพียงแค่โอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดหรือมีข้อพิพาท (potential dispute)
โดยคำว่า “ข้อพิพาท” (dispute) นี้เป็นถ้อยคำทางกฎหมายที่มีความหมายเฉพาะคือหมายถึงกรณีที่รัฐคู่พิพาทมีความเห็นที่ไม่ตรงกันหรือต่างกัน (divergence of view) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เฉพาะเจาะจงอาจเป็นประเด็นข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงก็ได้
ฉะนั้น ข้อพิพาทจึงมิได้มีความหมายเพียงแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าหรือเห็นว่า คำตัดสินของศาลนั้นไม่ชัดเจนหรือคลุมเครือ ในคำร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดี Asylum นั้น ศาลโลกกล่าวว่า ข้อพิพาทนั้นจะต้องเป็นกรณีที่มีความเห็นที่ไม่เหมือนกันระหว่างรัฐคู่พิพาทในประเด็นที่มีการกำหนดไว้ชัดเจนแน่นอน (A dispute requires a divergence of view between the parties on definite points.)
****อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการให้ศาลโลกตีความคำพิพากษา หรือพูดง่ายๆก็คือ ต้องการตัดเขตอำนาจศาลโลกตั้งแต่แรก ก็จะต้องมีการคัดค้านในเบื้องต้นเสียทันทีว่า ไม่มีข้อพิพาทหรือความเห็นที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับขอบเขตหรือความหมายของคำพิพากษาระหว่างรัฐคู่ความ ซึ่งหากขาดเงื่อนไขข้อนี้แล้ว ศาลโลกก็ไม่สามารถที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ เพราะว่าศาลโลกจะตีความได้ก็ต่อเมื่อ
มีประเด็น “ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจริง” (actual dispute) แล้วเท่านั้น
เช่นกรณีคดี Chorzow Factory ที่โปแลนด์ต่อสู้ว่า
ไม่มีข้อพิพาทหรือความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาแต่อย่างใด
คุณประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
จาก http://www.enlightened-jurists.com/blog/33
จากบางส่วนของ
http://hereisthai1.blogspot.com/2011/05/annie-handicraf.html
ภาพโดยอ.เทพมนตรี ลิมปพยอม
Thepmontri Limpaphayom:
แต่เดิมทหารไทยรักษาการณ์อยู่ฝั่งนี้.....ส่วนนอกประตูเหล็กทหารกัมพูชานั่งอยู่ เรายังครอบครองพื้นที่ปราสาทพระวิหารไปจนถึงเป้ยตาดี
นอกรั้วลวดหนามเป็นการกั้นอาณาบริเวณ ไม่ใช่พรมแดนตามที่เข้าใจกัน
พูดง่ายๆกัมพูชามีสิทธิในตัวปราสาทเฉพาะอำนาจอธิปไตย ซึ่งไทยสงวนสิทธิ์ในการทวงคืนไว้แล้วครับ
เป็นที่ยอมรับกันในแนวบรรทัดฐาน
โดยคำว่า “ข้อพิพาท” (dispute) นี้เป็นถ้อยคำทางกฎหมายที่มีควา
ฉะนั้น ข้อพิพาทจึงมิได้มีความหมายเพีย
****อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการให
คุณประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
จาก http://www.enlightened-jurists
จากบางส่วนของ
ภาพโดยอ.เทพมนตรี ลิมปพยอม
Thepmontri Limpaphayom:
แต่เดิมทหารไทยรักษาการณ์อยู่ฝั
นอกรั้วลวดหนามเป็นการกั้นอาณาบ
พูดง่ายๆกัมพูชามีสิทธิในตัวปรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น