โดย : ประชุม ประทีป
ถอดเสียง ศาลพนมเปญ อัยการกัมพูชา ซักถาม ”วีระ-ราตรี” บางส่วนที่มีนัยสำคัญ แสดงสิทธิความเจ้าของดินแดนประเทศไทย โดยเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ
ห้องพิจารณาคดีศาลชั้นต้น กรุงพนมเปญ คดีอาญา 3025
ศาลเปิดการพิพากษาคดี
ผู้ต้องหาที่ 1.วีระ สมความคิด อายุ 53 คนไทย 2.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ อายุ 50 คนไทย
ถูกกล่าวหา 1.เข้าแดนกัมพูชาโดยไม่ได้รับอนุญาต 2.เข้าพื้นที่ค่ายทหารโดยไม่ได้รับอนุญาต 3.แอบซ่อนข้อมูลทำให้อันตรายต่อการป้องกันชาติ จุดกระทำ 519-66 จุด 22271 หมู่บ้านโจกเจ็ย จ.เตียเมียนเจย 29 ธันวาคม 2010 เวลา 13.10 น.
นายซวส สำอาด รองหัวหน้าศาลชั้นต้น กรุงพนมเปญ ในฐานะประธาน
นาย เอือง เซียง และ นานเจ็ย สุวรรณ เป็นตุลาการชั้นต้น
นายซก เฮียน เป็นผู้แทนอัยการ
ทนาย รุ โอน เป็นทนายของราตรี ทนายปิ๊ก เป็นทนายของวีระ
พยาน 4 คน 1.นายพลโท ชัย ซินนาฤทธิ์ นายทหารด้านความมั่นคง 2.นายพล พอน พิสิฐ ผู้บัญชาการกองตรวจคนเข้าเมือง 3.นายพันเซง ทาบี หัวหน้าสำนักงานทหารชายแดน 4.นายซิน สุเพียนี เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของคณะกรรมการเขตแดนร่วม (JBC)
ศาล ถามราตรี : มีความคิดเห็นต่อศาลไหม
ราตรี : ขอเปลี่ยนล่ามเป็น นางวรรณรี เทพพนม ชาวกัมพูชา เนื่องจากล่ามคนเก่าสื่อสารไม่ชัดเจน ขอส่งหลักฐาน แผนที่ ขอนำส่งพยานบุคคล 2 ท่าน
ศาลถามวีระ : มีความคิดเห็นต่อศาลไหม
วีระ : เพื่อความยุติธรรม ยังไม่ยอมรับตราบใดที่เราไม่สามารถนำพยานเข้า
ศาล : จะพิจารณา และขอให้ฟังการพิจารณา ศาลไม่ต้องประกาศสิทธิอีกครั้ง ผู้เป็นล่ามก็ไม่ต้องเปลี่ยน เพราะได้ตั้งล่ามในกระบวนการ 3 คนไว้แล้ว ขอเบิกอัยการพยานรออยู่ข้างนอก และให้นำนางราตรีออกไปข้างนอก
ศาลถาม ผู้แทนอัยการคิดเห็นอย่างไร ที่ผู้ต้องหาขอเพิ่มพยานหลักฐาน
อัยการ : ศาลได้ดำเนินการเพียงพอ การขอร้องของผู้ต้องหา
ศาล : เรื่องล่าม ผู้พิพากษาบอกแล้วมีล่าม 3 คน ก็ให้ตั้งใจฟังผู้เป็นล่าม เรื่องขอนำพยาน เราได้ไต่สวน เป้าหมายร่วมของศาล ประธานมีสิทธิ์ตัดสิน และจะต้องมีมติรวมประธาน 100 เปอร์เซ็นต์
ศาล: เมื่อคุณเข้ามา คุณผ่านเจ้าหน้าที่ 2 ประเทศหรือไม่
วีระ: ไม่ผ่านเพราะผมอยู่ในแผ่นดินไทย ไม่ใช่แผ่นดินกัมพูชา
ศาล: มีวัตถุประสงค์อะไรที่นำคณะ
วีระ: ผมจะไปดูหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา หลักที่ 46 ผมเข้าไปยังอยู่ในแผ่นดินไทย ไม่ใช่แผ่นดินกัมพูชา
ศาล: คุณเชี่ยวชาญ
วีระ: ผมเคยเห็นแผนที่ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ และเห็นเอกสารสิทธิ์ของชาวบ้าน
ศาล : ที่ผ่านมาคุณเคยหลบหนีเข้ามาแล้วถูกจับตัวไหม
วีระ: ผมไม่เคยหลบหนีเข้ามา อยู่บนแผ่นดินไทยซึ่งมี น.ส.3 แล้วเจ้าหน้าที่กัมพูชามาจับผม
ศาล: คุณเคยทำข้อตกลง
วีระ: เคย และข้อตกลงนั้นก็ชัดเจนว่า ผมเข้าในดินแดนไทย
ศาล: ข้อตกลงนั้นมีเจ้าหน้าที่ร่วมไหม
วีระ: มีเจ้าหน้าที่ไทยอยู่
ศาล: ทำมากี่ครั้ง
วีระ: ครั้งเดียว
ศาล: เมื่อไร
วีระ: 20 สิงหาคม 2553
ศาล : เมื่อคุณเข้ามาประเทศกัมพูชา คุณทำอะไรบ้างเป็นส่วนตัว
วีระ: ผมไม่ได้เข้ากัมพูชานะ
ศาล: คุณว่าคุณไม่ได้เข้ากัมพูชา แต่ทำไมใน VDO คุณบอกอีกนิดเดียวจะถูกจับ
วีระ: เพราะผมเคยถูกจับในแดนไทย
ศาล: คุณหมายความว่า เจ้าหน้าที่กัมพูชาจับตัวในแดนไทยใช่ไหม
วีระ: ใช่ เพราะตอนนี้แดนไทยถูกกัมพูชามายึด
ศาล: คุณเคยเข้าป่าถ่าย VDO ตัดต้นไม้พยุง และถ่ายคลังอาวุธของเขมรในเดือนสิงหา 2010
วีระ: ผมเข้าไปถ่ายป่าเฉลิมพะเกียรติของประเทศไทย ไม่ใช่คลังอาวุธ
ศาล: ผมถามตามที่คุณวีระเขียนไว้ในสมุด
วีร: ในสมุดเป็นบันทึก ผมไปดูตัดไม้พยุง
ศาล; คุณเคยถอนหลักเขตตาเมือนโต๊ดหรือไม่
วีระ: เป็นหลักเขตในดินแดนไทย
ศาล: สมุดบันทึกที่เขียนเป็นของคุณ ผมได้ตรวจตัวหนังสือ
วีร: ผมขอให้เอาหน้านั้นมาดู มิฉะนั้นจะกล่าวหาผมฝ่ายเดียว
อัยการ : ผมถามตามที่คุณเขียนในสมุด คุณเข้าไปในป่าและเข้าไปดู
วีระ : ผมยืนยันแล้วว่าเป็นดินแดนไทย เป็นป่าไม้เฉลิมพระเกียรติ ใน VDO จะเห็น
อัยการ : คุณถอนหลักเขต
วีระ: ผมถอนหลักเขต แต่ก็ไม่มีใครอ้างเป็นเจ้าของ ปราสาทตาเมือนโต๊ด ก็เป็นของไทย
อัยการ: คุณเคยปลอมตัวเป็นคนเก็บเห็ด ที่ปราสาทตาควายไหม
วีระ: ปราสาทตาควาย ไปกับชาวบ้านที่เก็บเห็ด
ภาคบ่าย :
เชิญพยานฝ่ายโจทย์ นายพัน เซง ทาบี หัวหน้าสำนักงานทหารชายแดน
ศาล : สถานที่จับและคุมตัวไป มีระยะทางกี่เมตร
ทหาร : นับจากเส้นชายแดนถึงจุดจับ 800 เมตร
ศาล : ในที่ใด จะพูดว่าเป็นพื้นที่ทหาร
ทหาร: จุดถูกจับไปถึงค่ายทหาร ระยะทาง 4 กิโลเมตร เสาซีเมนต์เป็นจุดมิให้ประชาชนทั้ง 2 เข้ามาได้
อัยการ : (ชูแผนวาด) ทุ่งนานี้เป็นของชาวนาไทยหรือชาวนากัมพูชา หรือกองทหารครับ
ทหาร : เสาซีเมนต์นี้ ไทยเอามาปักเพื่อมิให้ไทย-กัมพูชา เข้า แต่ก่อนมีลวดหนาม ต่อมาตัด
ศาล : ให้ชี้แนวรบของคุณอยู่ตรงไหน
ทหาร: ขออนุญาตไม่อธิบายบังเกอร์กองทัพ เพราะเป็นความลับ
อัยการ : ท่านยอมรับเจบีซี คณะกรรมการปักปันพื้นที่ของรัฐบาลทั้งสองหรือไม่
วีระ : ไม่ยอมรับเจบีซี เอ็มโอยู43 และผมส่งภาพถ่ายทางอากาศ
อัยการ : ทำไมไม่ยอมรับ
วีระ : เพราะเจบีซีเถื่อน
ศาล : หากไม่รับเจบีซี ศาลขอปิดการพิจารณาไต่สวนวีระเท่านี้
ศาล: การพิจารณาครั้งนี้มีหลักฐานพยานมาชี้แจงเรียบร้อยแล้ว ขอให้อัยการสรุป (จากนั้นให้จำเลยกล่าว)
วีระ : ศาลที่เคารพ อัยการไม่ทราบความจริง พยามใช้จินตนาการปรักปรำผม อัยการไม่ทราบว่าผมเป็นองค์กรภาคประชาชน ทำหน้าที่ตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศไทย ผมไม่มีเจตนาจะไปทำอันตรายให้ประเทศเพื่อนบ้าน การเข้ามา 2 ครั้งในแผ่นดินไทย ขอย้ำมันมีเอกสารสิทธิ์ของคนไทย และมีแผนที่ ไม่ใช่วาดเอง และหลักเขต 46, 47 ยังปรากฏอยู่ ถ้ากัมพูชาไม่ยอมรับก็เท่ากับปฏิเสธหลักเขต 46, 47
ข้อกล่าวหาทั้ง 3 ข้อ ประเด็นสำคัญที่สุด ต้องพิสูจน์ให้ชัดเจนเสียก่อนว่า แผ่นดินนั้นเป็นแผ่นดินไทย หรือกัมพูชา ถ้าศาลรับฟังเฉพาะเจ้าหน้าที่กัมพูชาฝ่ายเดียว ไม่ฟังเหตุผลของผม ก็ไม่เป็นธรรม
ประเด็นหัวใจคือความขัดแย้ง เรื่องแผนที่ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ได้ยืนยันกับคนไทยเมื่อ 8 สิงหาคม 2010 ว่าไทยใช้แผนที่สันปันน้ำเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญกัมพูชาจะอ้างแผนที่ 1: 200,000 ก็ไม่ตรงความจริง เพราะที่เอามาแสดงเป็นแผนที่วาดขึ้นเอง
แผนที่อีกชุดของผมเป็นภาพถ่ายดาวเทียม หากเป็นแผ่นดินกัมพูชา ผมจะยอมรับผิด แต่ถ้าเป็นแผ่นดินไทย โปรดเมตตาต่อผมด้วย...
ราตรี : ขอเมตตาจากศาล พิจารณาหลักฐานเอกสาร แผนที่ ที่ยื่นให้ศาล ให้ความเป็นธรรมต่อฉันและคุณวีระด้วย ขอบคุณ
ศาล : คำพิพากษาคดีอาญา ที่ 12 ร.2 พ. วันที่ 1 ก.พ.2011 หลังศาลฟังการไต่สวนผู้ต้องหา ประมวลกับข้อมูลหลักฐานต่าง ๆ จากตำรวจ และฟังอัยการ คำชี้แจงป้องกันคดีของทนาย ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าการลักลอบเข้ามา การประมวลข้อมูล มีภัยต่อการป้องกันชาติ
...ศาลเห็นว่ามีหลักฐานลงโทษ เพียงพอ ดังคำแถลงของผู้แทนอัยการ...แผนที่ที่อ้างว่าทำมาฝ่ายเดียว การอ้างของผู้ต้องหา การชี้แจงแผนที่นั้น ศาลไม่ยอมรับเลย เพราะพยานผู้ต้องหามิใช่ผู้เชี่ยวชาญ
การที่ผู้ต้องหาเป็นผู้แทนองค์กร มิใช่รัฐบาลนั้น ศาลก็ไม่ยอมรับพิจารณา ศาลมีหลักฐานลงโทษเพียงพอแล้ว และไม่มีเหตุผลใดๆ จะให้ศาลตรวจสอบพื้นที่ จึงลงโทษนายวีระ จำคุก 8 ปี ปรับ 1.8 ล้านเรียล นางสาวราตรี จำคุก 6 ปี ปรับ 1.2 ล้านเรียล
---------------------------------------------------------
*ข้อสังเกต
1.นับแต่วันถูกจับกุม 29 ธันวาคม 2553 จนถึงการตัดสินคดี 1 กุมภาพันธ์ 2554 รวม 35 วัน
2.ศาลชั้นต้นกัมพูชา ไม่ยอมรับพยานเอกสาร(แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม) และพยานบุคคล 2 คน แต่กลับยอมรับอัยการแสดงแผนผังวาดด้วยมือ
3.ทั้งสองคนไทยแสดงเจตนารมณ์จะ ต่อสู้คดีในศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา แต่ระหว่างนั้นเกิดความยุ่งยาก สับสน จนกระทั่งหมดระยะอุทธรณ์คดีภายใน 30 วัน อย่างไรก็ตาม เครือข่ายคนไทยฯ ระบุว่าได้ยื่นอุทธรณ์ทัน แต่ภายหลังทางการไทยโน้มน้าวให้ทั้งสองคนถอนการอุทธรณ์ และไม่ยอมรับการกระทำใดๆ ของเครือข่ายคนไทยฯ
4.รัฐบาล โดยกระทรวงการต่างประเทศ พยายามเดินเรื่องและโน้มน้าวให้ทั้งสองลงนามขอพระราชทานอภัยโทษ ทว่า เมื่อลงนามแล้ว นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ดังนั้น คนไทยทั้งสองต้องถูกจองจำเป็นเวลา 2 ใน 3 ของโทษ
5.มีข้อเสนอจาก นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา ให้ใช้ช่องทางตามสนธิสัญญาโอนตัวนักโทษที่ไทยกับกัมพูชาลงนามไว้ แต่รัฐบาลก็ไม่เลือกจะทำ
สิ่งที่รัฐไทยและประชาชนไทยควร คำนึง คือ ใครและอะไรเป็นต้นสาเหตุ อะไรเป็นผลสะท้อนตามมา และรัฐบาลกัมพูชากระทำขัดต่อกฎบัตรระหว่างประเทศ กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ รวมทั้งกฎหมายกัมพูชาเองหรือไม่ (โปรดดูภาพข้อความภาษาเขมร รัฐธรรมนูญ มาตรา 38)
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น