บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปราสาทพระวิหาร ภูมิประเทศที่ไทยตั้งชื่อเป็นหลักฐาน (ภูมิบ้าน ภูมิเมือง)

ปราสาทพระวิหาร ภูมิประเทศที่ไทยตั้งชื่อเป็นหลักฐาน (ภูมิบ้าน ภูมิเมือง)
เป้ยตาดีจุดสูงสุด


จุดปันน้ำที่สับสนของศาลโลก


ประตูทางขึ้น


ปราสาทพระวิหารส่วนใน


ทางขึ้นเขาเดิมๆ


ภาพตัดเขาพระวิหาร


ทีมทนายฝ่ายไทย

เหตุการณ์ชายแดนที่ยืดเยื้อจากกรณีศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของ ผู่อื่นแม้ว่าสถานที่ดังกล่าวจะตั้งอยู่บนเขาที่แบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ ซึ่ง เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจต่อข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นที่รู้กันมาช้านานว่า การค้นพบปราสาทเขาพระวิหารบนเทือกเขาพนมดงรัก ที่บ้านภูมิซรอล ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ นั้น มีทางขึ้นอยู่เชิงเขาด้านล่างทางทิศเหนือไปจนสุดยอดเขาซึ่งอยู่สูงจากระดับ น้ำทะเล ๖๕๗ เมตร ที่มีชะง่อนหน้าผาลงไปสู่พื้นที่ที่เรียกกันว่าเขมรต่ำ อันเป็นเขตอำเภอจอมกระสานจังหวัดกำปงธมประเทศกัมพูชา

ปราสาทพระวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ เพื่อเป็น ศาสนสถานของลัทธิไศวนิกายที่นับถือพระศิวะ (อิศวร) เป็นพระผู้เป็นเจ้าศักดิ์สิทธิ์ 'ซึ่งถูกทิ้งร้างประมาณ พ.ศ.๑๙๗๔ หลังจากที่พระเจ้าสามพระยาได้ยกทัพมาตีกรุงศรียโสธรปุระ (นครวัด นครธม) ของกัมพูชาได้ และในปี พ.ศ.๒๔๔๒ นั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพประสิทธิ์ประสงค์ ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกได้ไปพบปราสาทนี้ ในครั้งนั้นพระองค์ทรงตั้งชื่อว่า ปราสาทพรหมวิหาร แทนชื่อ ปราสาทศิขเรศวร และสลักข้อความไว้ที่ชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ์" (๑๑๘ คือร.ศ.๑๑๘) อันเป็นหลักฐานที่เกิดก่อนการทำสัญญาปักปันเขตแดนไทยกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๔๔๗(ค.ศ.๑๙๐๔)

ในยุคการล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสนั้นได้ทำให้ภูมิภาคส่วนนี้ถูกรุกรานไปด้วย กล่าวคือ ปี พ.ศ.๒๔๑๐ นั้นไทย (สยาม) จำต้องทำสนธิสัญญายอมยกกัมพูชาให้ฝรั่งเศสเป็นผู้อารักขายกเว้นเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ที่ยังเป็นของไทยจนเมื่อเกิดกรณีพิพาทสยาม - ฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.๒๔๓๖ ฝรั่งเศสได้ส่งเรือปืนเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา และบังคับให้ไทย (สยาม) ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการเสียลาวและกัมพูชาให้ฝรั่งเศสตั้งแต่ครั้งนั้น

จากกรณีฝรั่งเศสยึดจันทบุรีและยึดตราดจนเป็นเหตุให้ไทยต้องทำสนธิสัญญาในปี พ.ศ.๒๔๔๗ (ค.ศ.๑๙๐๔) ยกหลวงพระบางกับดินแดนภาคใต้ของเทือกเขาพนมดงรักให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับ จันทบุรี ซึ่งสนธิสัญญาฉบับนี้ได้กำหนดให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนสยาม - ฝรั่งเศสตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก

พ.ศ.๒๔๕๐ (ค.ศ.๑๙๐๗) ไทย (สยาม) ทำสนธิสัญญายกเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองด่านซ้าย ตราด และเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ใต้แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด คืนมาเป็นของไทย และกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศสปี พ.ศ.๒๔๘๓ ก่อนสงครามมหาเอเซียบบูรพานั้น ทำให้พ.ศ.๒๔๘๔ รัฐบาลไทยได้เข้ายึดดินแดนที่เคยเสียไปในรัชกาลที่ ๕คืนมาตามสนธิสัญญาโตเกียว แต่เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลงและญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ก็ทำใหไทยต้องคืนดินแดนดังกล่าวให้ฝรั่งเศสอีก แต่ไทยก็ยังคงครอบครองปราสาทพระวิหารอยู่ ซึ่งฝรั่งเศสได้ประท้วงในเรื่องนี้อยู่หลายครั้ง ใน พ.ศ.๒๔๙๒(ค.ศ.๑๙๔๙)

ครั้นเมื่อกัมพูชาได้เอกราชโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ (ค.ศ.๑๙๕๓) ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๐๐ ประเทศไทยตกลงจะเจรจาปัญหาเขตแดนกับกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาได้ตอบรับว่าพร้อมที่จะเจรจา แต่ก็ไม่มีการเจรจากันแต่อย่างใด ตั้งแต่นั้นมาได้เกิดการประท้วงเรียกร้อง-การเจรจา- หลายครั้งหลายหน ในที่สุดวันที่ ๓ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๐๕ รัฐบาลไทยได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่สามจำยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาเนื่องจาก ตระหนักถึงกรณีในกฎบัตรสหประชาชาติของประเทศไทยและได้ส่งหนังสือแจ้งนายอู ถั่น รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ โดยตั้งข้อสงวนของไทยในคดีดังกล่าวให้ทราบต่อมาคณะรัฐมนตรีได้กำหนดขอบ เขตบริเวณปราสาทพระวิหารโดยกำหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบปราสาทล้อมรั้ว ลวดหนามและทำป้ายบอกเขตบริเวณไทย-กัมพูชา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง