บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไก่ตัวเท่าควายของนายกษิตและกระทรวงต่างประเทศ

ขอบคุณ ฟิฟทีนมูฟ – 

 

ย้อนไปเมื่อราว ๖๐ ปีที่แล้ว เกือบสิบปีก่อนเขมรนำกรณีปราสาทพระวิหารฟ้องเป็นคดีความในศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ หรือที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “ศาลโลก” นั้น นายกนต์ธีร์ ศุภมงคล อธิบดีกรมสหประชาชาติ ในขณะนั้น เสนอไปยังนายวรการบัญชา รัฐมนตรีต่างประเทศในเวลานั้น เป็นผลให้ไทยรับอำนาจศาลโลก ทั้งที่ไม่อยู่ในข่ายต้องรับ ในห้วงของการเปลี่ยนแปลงจากศาลเก่าสู่การตั้งศาลใหม่ และช่วงเวลาไม่กี่เดือนก่อนอายุคำรับอำนาจศาล ๑๐ ปี จะหมด ใน พ.ศ. ๒๕๐๒ กัมพูชาชิงนำคดีขึ้นฟ้อง ไทยจึงอยู่ในสภาพบังคับให้ต้องไปสู้คดี เมื่อประกอบกับความอวดดีของ ไทยเสียท่าถูกศาลโลกโดยเหตุผลของการเมืองระหว่างประเทศ หาเหตุอ้างยกปราสาทพระวิหารให้เขมร ดังคำตัดสิน วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ เหตุการณ์ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้ ดูว่าวันนี้รัฐบาลไทยกำลังเดินย่ำรอยอดีต

นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แฟ้มภาพ: นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
การนำข้อพิพาทปราสาทพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชาไปสู่ศาลโลกอีกครั้ง ตามจดหมายข่าว (Press Release) อย่างไม่เป็นทางการ (Unofficial) ของเจ้าหน้าที่ศาลโลก เลขที่ ๒๐๑๑/๑๔ วันที่ ๒ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๑๑ ที่ระบุว่าราชอาณาจักรกัมพูชายื่นคำร้อง เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ขอให้ตีความคำตัดสินเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ของศาลโลก กรณีปราสาทพระวิหาร (กัมพูชา กับ ประเทศไทย) พร้อมขอให้มีมาตรการคุ้มครองชั่วคราว

[ ประเด็นความพยายามของกัมพูชานำเรื่องสู่ศาลโลก ฟิฟทีนมูฟได้รายงานมาโดยลำดับ: (๑๘ ก.พ.)  (๒๑ ก.พ.) (๒๓ ก.พ.) (๒๖ มี.ค.) ]
กรณียื่นคำร้องของกัมพูชาคราวนี้ เป็นการ “เปิดคดีใหม่” และขอให้ศาลดำเนินการภายใน “คดีใหม่”  คำว่าเปิดคดีใหม่ (open new case) นี้หมายถึงการ “ฟ้องเป็นคดีใหม่” ไม่ใช่การฟ้องให้ปรับปรุงแก้ไขคำพิพากษาเดิมที่ต้องกระทำภายใน ๑๐ ปี และการเปิดคดีใหม่นี้ เขมรอ้างถึงข้อ ๖๐ และ ๙๘ ของธรรมนูญศาลฯ ที่พูดถึงการตีความคำตัดสินเดิม (construe)  เป็นการเล่นในสองทาง คือ ฟ้องเป็นคดีใหม่และให้ตีความคำตัดสินคดีเดิม
ประการหนึ่ง คดีดังกล่าวอยู่นอกเหนือเงื่อนไขที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นใหม่ที่กำหนดให้กระทำ ได้ภายใน ๑๐ ปี ประการหนึ่ง การเปิดคดีใหม่ดังกล่าวเป็นการขยายขอบเขตจากคำฟ้องและคำตัดสินเดิม และอีกประการหนึ่ง ประเทศไทยไม่อยู่ในฐานะที่ต้องขึ้นศาลฯ และไม่อยู่ใต้บังคับศาลฯ เนื่องจากไม่ได้มีปฏิญญาประกาศรับอำนาจพิจารณามาร่วม ๕๐ ปี นับแต่การสิ้นอายุคำรับอำนาจฯ ของนายวรการบัญชา
ตามความเห็นของนักกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นผู้ร่างกฎหมายของสหประชาชาติหลายฉบับ ในชั้นต้นของกระบวนการ คือในภาคคำคู่ความเป็นลายลักษณ์อักษร (written proceedings) ต้องยืนยันสถานะตนอย่างเข็มแข็งและปฏิเสธอำนาจการพิจารณาของศาลฯ พร้อมทั้งไม่ควรไปต่อสู้ในชั้นเนื้อหา หากว่าศาลฯ ดึงดันจะดำเนินการต่อ ไทยก็ชอบที่จะถอนตัว ไม่ร่วมกระบวนการและไม่รับผลการพิจารณา
แต่ทว่า รัฐบาลไทยกำลัง “ถลำไปลึก” เตรียมการสู้คดีใน “ชั้นเนื้อหา” ฟังจากคำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ระบุจะเตรียมเอกสารหลักฐาน ฟังจากเด็กน้อยชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ฟังจากนายกษิต ภิรมย์ ที่ให้สัมภาษณ์เกี่ยวเนื่องกับการเตรียมการ หรือฟังจากปากผู้เยาว์อย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ดี  ประเทศไทยโดยรัฐบาลประชาธิปัตย์และผู้นำใน พ.ศ. ๒๕๕๔ กำลังทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ และไม่มีอำนาจทำ
ประการหนึ่ง การที่กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งทนายชาวฝรั่งเศสว่าความในคดีนี้ เป็นเรื่องที่ถูกตำหนิอย่างกว้างขวาง ว่ากระทำในสิ่งที่ไม่ควร เพราะฝรั่งเศสถือเป็นคู่กรณีโดยตรงของไทยในเรื่องปราสาทพระวิหาร และท่าทีของราชการฝรั่งเศสหลายต่อหลายครั้งระหว่างเหตุพิพาทไทย-กัมพูชา ล่าสุดนั้น ฝรั่งเศสได้แสดงท่าทียื่นมือให้ความช่วยเหลือ อาทิเช่น เพื่อแก้ปัญหาพิพาท และมีท่วงท่าที่เอนเอียงอยู่ข้างกัมพูชา
ยิ่งกว่านั้น ยังมีเรื่องที่น่าอายและเป็นการ “ปล่อยไก่” ตัวเท่าควายของกระทรวงการต่างประเทศ โดยการนำของนายกษิต ภิรมย์ อีกประการ คือ การแต่งตั้งผู้พิพากษาสมทบ (Judge ad hoc) ที่เป็นชาวฝรั่งเศส ทั้งที่ศาลโลกมีผู้พิพากษาประจำสัญชาติฝรั่งเศสอยู่แล้ว โดยระเบียบข้อบังคับของศาล (Rule of Court) และธรรมนูญศาล ห้ามไม่ให้มีผู้พิพากษาสัญชาติเดียวกันเกินกว่า ๑ คน ในคดีหนึ่ง ๆ นี่จะกลายเป็นความ “ไม่รู้เรื่อง” ที่วงการกฎหมายระหว่างประเทศจะมองด้วยสายตาขบขัน และที่ศาลโลกประเด็นนี้จะกลายเป็นตลกเรื่องเอกที่จะขำกันไม่ออก
กรณีคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้ จะเป็นบทเรียนสอนคนไทยซ้ำอีกครั้งว่า ความไม่รู้นำไปสู่ความเสียหายได้ทางหนึ่ง ความไม่รู้แล้ว “อวดดีอวดรู้” นำไปสู่ความเสียหายที่ยิ่งกว่า และจะกลายเป็นเรื่อง “เสียรู้” ให้เขาหยันซ้ำได้อีกครั้ง ว่าเรื่องเดียวกันนี้ ห้าสิบปียัง “โง่ซ้ำโง่ซ้อน” มีประสบการณ์แต่ไม่รู้เรียนรู้จำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง