บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เขมรปัดประชุม GBC เพื่อหารือถอนหทารตามมาตรการศาลโลก


เขตปลอดทหารตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 

ฟิฟทีนมูฟ — โฆษกกลาโหมเขมรปัดแนวคิดไทยที่จะให้ประชุมจีบีซีเพื่อหารือการถอนทหารออกจาก เขตปลอดทหาร ระบุเรื่องไปถึงคณะมนตรีความมั่นคงฯ ศาลโลกและอาเซียนแล้ว จะประชุมกันสองฝ่ายไม่ได้อีก ไทยต้องทำตามศาลฯ เท่านั้น
กรณีที่ฝ่ายไทยเสนอแนวคิดให้มีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป หรือ GBC เพื่อกำหนดกรอบขั้นตอนการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศ ท่าทีของกัมพูชาในเรื่องนี้ตามรายงานของวิทยุเสียงอเมริกาภาคภาษาเขมร (๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔) โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ได้ออกมาปฏิเสธข้อเสนอให้มีการจัดการประชุม GBC เพื่อหารือขั้นตอนการถอนทหารของทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่เขตปลอดทหาร

พล.ท.ชุม โซะเจียต โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา กล่าวว่า จุดยืนของกัมพูชาคือ การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไม่สามารถปฏิบัติได้ เพราะเรื่องปราสาทพระวิหารไปถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่กรุงเฮก และอาเซียนแล้ว ดังนั้น คำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นมาตรการที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่ง ครัด เช่นเดียวกัน ปัญหาสำคัญสุดคือไทยต้องเคารพตามคำสั่งของศาลฯ

จับตาตลาดหุ้นกัมพูชา กับเป้าหมายบรรษัทพิบาล (วิจารณ์โลก)



ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ตลอดจนในการเพิ่มเงินรายได้จากการจัดเก็บภาษีของประเทศยากจนแห่งนี้ ทั้งนี้ถ้าหากตลาดแห่งนี้สามารถดำเนินงานด้วยความโปร่งใสเต็มที่อย่างชนิด ที่พวกหน่วยงานกำกับตรวจสอบวาดหวังกันเอาไว้ สิ่งหนึ่งซึ่งอาจจะสามารถใช้เป็นมาตรวัดสัมฤทธิผลในเรื่องนี้ได้ ก็คือรัฐวิสาหกิจ 3 รายที่กำหนดจะเป็นหลักทรัพย์แรกๆ ที่เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดแห่งนี้

ตลาดหลักทรัพย์แห่งใหม่ในกัมพูชาที่เพิ่งทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวัน ที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา นอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดพวกนักลงทุนระหว่างประเทศแล้ว หลายๆ ฝ่ายยังวาดหวังเอาไว้ด้วยว่า มันจะสามารถรุนหลังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รายนี้ ให้ก้าวไปสู่การมีความโปร่งใสเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (Cambodia Securities Exchange หรือ CSX) ยังไม่มีหลักทรัพย์ใดเข้าจดทะเบียนซื้อขายเลยสักหลักทรัพย์เดียว เนื่องจากแรงขับดันของความต้องการที่จะให้แน่ใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องอยู่ในระดับเหนือกว่ามาตรฐาน

“เราต้องการทำให้แน่ใจว่ามีความโปร่งใสอย่างเต็มเปี่ยม” ฮวต พุม รองกรรมการผู้จัดการของคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งกัมพูชา กล่าว “ข้อมูลข่าวสารทางการเงินจะต้องมีการตรวจสอบและมีการเปิดเผยอย่างสม่ำเสมอ พวกบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้ จะต้องทำให้ได้ตามมาตรฐานสากล ตลาดหลักทรัพย์เป็นวิธีที่ดีในการสร้างหลักประกันว่าบริษัทต่างๆ จะมีบรรษัทภิบาลที่มั่นคงหนักแน่น ตลาดหุ้นสามารถช่วยทำให้เกิดกระแสการสร้างวัฒนธรรมบรรษัทที่ดียิ่งขึ้นกว่า เดิมขึ้นมา”



เป็นที่คาดหมายกันว่าการซื้อขายหลักทรัพย์จะเริ่มต้นได้ในระยะต่อไปของปีนี้ ทันทีที่กิจการรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่งซึ่งได้ประกาศแผนการที่จะจดทะเบียนในตลาด CSX ไปแล้ว สามารถผ่าน “มาตรฐานสอบบัญชีระหว่างประเทศ” ได้ รัฐวิสาหกิจเหล่านี้ได้แก่ เทเลคอม แคมโบเดีย (Telecom Cambodia), การประปาพนมเปญ (Phnom Penh Water Supply Authority), และ การท่าเรือสีหนุวิลล์ (Sihanoukville Autonomous Ports)

อย่างไรก็ดี มีคำเตือนจากทางธนาคารโลกว่า การใช้ตลาด CSX เพื่อผลักดันภาคเศรษฐกิจและการเงินที่ยังมีขนาดเล็กของกัมพูชาให้ก้าวเดินไป บนเส้นทางแห่งความโปร่งใสตรวจสอบได้นั้น จะไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาภาวะธรรมาภิบาลย่ำแย่ของทั่วทั้งประเทศได้สัก เท่าไรนัก เรื่องนี้น่าจะช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมพวกนักเคลื่อนไหวชาวกัมพูชาที่รณรงค์ต่อสู้อย่างหนักเพื่อให้ภาวะธรรมา ภิบาลในประเทศนี้ดีขึ้นกว่าเดิม จึงแสดงท่าทีระมัดระวังตัวเกี่ยวกับความคาดหมายที่มีต่อตลาด CSX ตั้งแต่แรกๆ ที่ว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้จะเป็น “ตัวเร่ง” ที่จะ “ช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ”ขึ้นภายในภาคบรรษัททั้งที่เป็นกิจการของรัฐ และกิจการของเอกชน

“เมื่อตอนที่กัมพูชาเข้าไปเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก หรือ WTO เมื่อปี 2004 มีการมองโลกในแง่ดีว่า เรื่องหลักนิติธรรมและวัฒนธรรมการเคารพทำตามระเบียบกฎหมาย จะมีการปรับปรุงกระเตื้องดีขึ้น” เยง วิรัค ผู้อำนวยการบริหารของ ศูนย์การศึกษาทางกฎหมายเพื่อชุมชน องค์กรภาคประชาสังคมซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงพนมเปญ กล่าวแสดงความคิดเห็นโดยยกตัวอย่างกรณีคล้ายๆ กันมาเปรียบเทียบ “ผู้คนจำนวนมากในตอนนั้นคาดหมายว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจน่าจะปรับปรุงดีขึ้น เนื่องจากประเทศต้องออกกฎหมายฉบับใหม่ๆ มาบังคับใช้จำนวนมาก รวมทั้งต้องปรับปรุงโครงสร้างทางด้านกฎหมายอีกด้วย”

ทว่าความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาในระยะเวลา 7 ปีนับตั้งแต่นั้น วิรัคกล่าวว่ามันกลับเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงแบบผิวเผินเปลือกๆ เป็นต้นว่ากฎหมายต่างๆ ที่ผ่านออกมานั้น เอาเข้าจริงแล้วก็ถูกนำมาบังคับใช้แบบเลือกใช้เฉพาะส่วนเฉพาะกรณี “กัมพูชาเป็นรัฐ 2 มาตรฐาน นั่นคือคนร่ำรวยและทรงอำนาจยังคงได้รับประโยชน์จากระบบต่อไป ขณะที่คนยากจนและอ่อนแอเป็นฝ่ายสูญเสียพ่ายแพ้” เยงกล่าว “สิ่งที่เราได้มาก็คือการปล้นสะดม “อย่างถูกกฎหมาย” โดยพวกเจ้าพ่อนักธุรกิจที่นั่งอยู่ในรัฐบาลเท่านั้นเอง”

การประเมินสถานการณ์อย่างเลวร้ายเช่นนี้ สอดคล้องกับที่ปรากฏอยู่ในรายงานประจำปีขององค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) หน่วยงานเฝ้าระวังระดับโลกที่มีจุดมุ่งหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น กัมพูชาอยู่ในอันดับที่ 154 จาก 178 ประเทศที่ถูกติดตามจับตาเรื่องการทุจริต เพื่อจัดทำดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์ปัญหาคอร์รัปชั่น ประจำปีของ TI ประจำปี 2010 ดีขึ้นนิดเดียวจากที่เคยอยู่ในอันดับ 158 ในจำนวน 180 ประเทศที่ถูกประเมินโดย TI ในปี 2009


นายกรัฐมนตรี ฮุนเซน ของกัมพูชา กำลังถูกบีบคั้นกดดันให้ยุติการโกงกินกันอันอึกทึกมโหฬาร ซึ่งก้าวเข้ามาเกาะกุมประเทศชาติ ตั้งแต่ตอนที่กัมพูชาเดินทางออกจากภาวะความทุกข์ยากแสนสาหัสในปี 1991 ปีแห่งการลงนามในข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส เพื่อยุติช่วงระยะเวลาร่วมๆ 2 ทศวรรษแห่งสงคราม, การล้างเผ่าพันธุ์, และความขัดแย้งภายใน ในเวลานี้ประเทศที่มีจำนวนประชากร 11 ล้านคนแห่งนี้ ยังคงมีผู้คนมากกว่าหนึ่งในสามซึ่งดำรงชีวิตโดยที่มีรายได้ไม่ถึง 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาจากโลกตะวันตก เป็นสิ่งที่สำคัญมากเหลือเกินสำหรับกัมพูชาซึ่งมีฐานะเป็นประเทศยากจนที่สุด รายหนึ่งของภูมิภาคแถบนี้ ฮุนเซนนั้นมีความสามารถมากในการดึงดูดความช่วยเหลือให้ยังคงหลั่งไหลเข้ามา ไม่ขาดสาย ทั้งๆ ที่การปกครองของเขากำลังมีสภาพเป็นการปกครองแบบผด็จการอย่างเบ็ดเสร็จมาก ขึ้นทุกที และคอยรับปากรับคำอย่างขอไปทีต่อเสียงเรียกร้องของพวกผู้บริจาคความช่วย เหลือที่ให้เร่งรัดปราบปรามการทุจริตฉ้อโกง

เมื่อปีที่แล้ว พวกผู้บริจาคตะวันตกได้อัดฉีดเงินช่วยเหลือมาให้เป็นจำนวน 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มสูงขึ้นจากระดับ 950 ล้านดอลลาร์ที่ให้มาในปีก่อนหน้านั้น เรื่องนี้ทำให้กลุ่มสิทธิมนุษยชนทั้งในกัมพูชาเองและในระดับนานาชาติ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์พวกประเทศผู้บริจาคว่า กำลังให้รางวัลระบอบปกครองที่ทรยศต่อคำมั่นสัญญาในเรื่องที่จะปรับปรุงยก ระดับ “ภาวะธรรมาธิบาล” แถมยังทำการปราบปราบอย่างโจ่งแจ้งเปิดเผยต่อผู้ต่อต้านคัดค้าน ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกรัฐสภา, นักหนังสือพิมพ์, หรือบุคลากรในภาคประชาสังคม

คุย วัต นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชาวกัมพูชา เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มซึ่งได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของ ประเทศ และเขากำลังมองตลาดหลักทรัพย์ CSX ว่าเป็น “ก้าวเดินตามธรรมชาติก้าวต่อไป” ในการพัฒนาของประเทศนี้ “ตลาดหลักทรัพย์จะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในฐานะเป็นแหล่งอีกแหล่งหนึ่งที่เราสามารถเข้าไประดมเงินทุนเพื่อนำมาขยาย ธุรกิจของเรา” คุย ซึ่งเป็นประธานบริหารของ วีทรัสต์ พร็อบเพอร์ตี ที่ตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงพนมเปญ อธิบายให้ไอพีเอสฟัง “ตลาดหลักทรัพย์ยังจะจัดการกับปัญหาเรื่องคอร์รัปชั่นได้ด้วย โดยจะแสดงวิธีการที่พวกบริษัทกัมพูชาจะต้องโปร่งใส, จะต้องเสียภาษี”

เก็บความจาก www.atimes.com

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฮวยเซงเผยดำเนิน ๔ มาตรการ-ย้ำรัฐบาลปูแดงไม่โจมตีเขมร

ฮุน เซน ระหว่างพบนายทหารระดับสูงประจำพื้นที่ปราสาทพระวิหารที่เสียมราฐ ๒๙ ก.ค. ๕๔ฟิฟทีนมูฟ – ฮุน เซน ระหว่างพบนายทหารระดับสูงประจำพื้นที่ปราสาทพระวิหารที่เสียมราฐ เผย ๔ มาตรการใหญ่ ที่เขมรกำลังดำเนินการ คือ การทหาร นโยบาย การทูต และกฎหมาย ระบุไทยถอนทหาร ๑๐ คน สุดท้ายพ้นวัดแก้วฯ แล้ว และรัฐบาลเพื่อไทยจะไม่โจมตีกัมพูชา ส่วนเรื่องต่าง ๆ อยู่ในมือคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลก และอาเซียน เจีย ดารา-ชิน จันปัว ยังพล่อยเรียกไทยว่าศัตรูชาวสยามผู้รุกราน ขณะรายงานสถานการณ์สงบแต่เขมรเตรียมพร้อมตลอดเวลา ย้ำไม่ถอนทหารหากไม่มีผู้สังเกตการณ์และไม่ถอนก่อนไทย
ตามรายงานของสำนักข่าวซีอีเอ็นและหนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ (๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔) ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เรียกร้องให้ทหารทั้งหมดที่ประจำการในสมรภูมิปราสาทพระวิหาร เอาใจใส่ต่อการป้องกันบูรณภาพดินแดนตามแนวทางยกระดับการป้องกันชาติ ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์สำหรับกัมพูชา ตามสโลแกนที่ว่าทั้งหมดเพื่อการป้องกันชาติ การป้องกันชาติเพื่อทุกคน โดยเป็นการกล่าวระหว่างการพบหารือกับนายทหารระดับสูงของกองทัพแห่งชาติ กัมพูชา ที่ประจำการด้านปราสาทพระวิหาร ร่วม ๑๐๐ คน เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ที่ผ่านมา ที่โรงแรมซิตี้อังกอร์1 จังหวัดเสียมราฐ ซึ่งเป็นการเดินทางไปเป็นประธานพิธีเปิดศูนย์พัฒนาทหารพิการกูแลน ที่จะมีขึ้นในช่วงเช้าวันที่ ๓๑ กรกฎาคม

ฮุน เซน ระบุว่า กัมพูชากำลังดำเนินการใน ๔ มาตรการใหญ่ คือ การทหาร นโยบาย การทูต และกฎหมาย โดยอยู่ในบริบทใหม่ของสถานการณ์ที่กัมพูชาจะต้องประเมินเพื่อเตรียมพร้อมรับ มือ โดยบริบทใหม่ คือ ๑.วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระไม่ใช่จุดที่ทหารไทยรุกรานเข้ามาปะปนกับกองกำลังติด อาวุธของกัมพูชาอีกต่อไป ซึ่งที่นี่เป็นจุดศูนย์กลางที่กัมพูชาเรียกว่าไทยรุกรานกัมพูชา แต่เราได้ทำให้กองกำลังที่เหลือของไทยออกไปจากวัด และการที่ทหารไทยจำนวน ๑๐ คนที่เหลือนั้นออกไปจากวัด เป็นความเจ็บปวดอย่างมากของผู้นำระดับสูงของไทย
๒. ในเวลาข้างหน้านี้ประเทศไทยจะมีรัฐบาลใหม่ แต่รัฐบาลใหม่จะไม่สนับสนุนให้กองกำลังติดอาวุธของไทยทำการโจมตีกัมพูชาอีก อย่างที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยทำ ๓. สถานการณ์ใหม่อยู่ตรงที่ว่า ความขัดแย้งพรมแดนกัมพูชา-ไทย อยู่ในระเบียบวาระของคณะมนตรีความมั่นคงขององค์การสหประชาชาติ อยู่ในระเบียบวาระของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก และอยู่ในระเบียบวาระของอาเซียน นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวกับนายทหารระดับสูงว่า การป้องกันดินแดนด้วยอาวุธ ด้วยมนุษย์ และการสู้รบกัน ต้องเป็นการหนุนหลังเป็นอย่างแรก แต่ส่วนใหญ่ที่เหลือเป็นกิจการระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะที่คณะมนตรีความมั่นคง และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่กัมพูชาไม่อาจมองข้ามได้
ฮุน เซน กล่าวว่า ความสำเร็จที่กัมพูชาได้รับที่ผ่านมาไม่ใช่การได้รับโดยแยกจากกัน แต่เป็นการควบรวมมาตรการทั้ง ๔ (การทหาร นโยบาย การทูต และกฎหมาย) โดยมีความเกี่ยวข้องไม่อาจแยกกันได้กับยุทธศาสตร์ยกระดับการป้องกันชาติของ ประชาชนกัมพูชาทุกระดับชั้น ในขณะที่กองกำลังติดอาวุธของเราที่แนวหน้าได้รับการเลื่อนชั้นยศ กองกำลังที่แนวหลังก็ควรได้รับการเลื่อนชั้นเช่นกัน กล่าวคือมีความเกี่ยวข้องโยงใยกัน โดยเฉพาะไม่อาจมีการสู้รบได้โดยขาดการสนับสนุนด้านเสบียง สัมภาระจากแนวหลัง ฮุน เซน กล่าวอีกว่า ตนมองว่ากิจการทั้งหมดที่กัมพูชาได้กระทำในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะกองกำลังติดอาวุธของกัมพูชานั้น มีความสามัคคีอย่างยิ่ง ทั้งกองทัพแห่งชาติกัมพูชา กองกำลังตำรวจ หน่วยสารวัตรทหาร โดยเฉพาะการสร้างความร่วมมือกับสถาบัน หน่วยงานทั้งกรุงพนมเปญ ระดับจังหวัด อำเภอ ตลอดผู้มีใจเอื้อเฟื้อต่าง ๆ
พล.อ.เจีย ดารา รองผู้บัญชาการในกองทัพแห่งชาติกัมพูชา และเป็นผู้บัญชาการประจำด้านปราสาทพระวิหาร ได้กล่าวรายงานในระหว่างการพบหารือว่า แม้ว่าสถานการณ์ทั่วไปตามแนวชายแดนจะมีความสงบ แต่ทหารกัมพูชามีการเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมสูงสุด เพื่อป้องกันดินแดนจากศัตรูชาวสยามผู้รุกราน นอกจากนี้ พล.อ.เจีย ดารา ยังกล่าวอีกว่า ทหารทั้งหมดที่ประจำการตามแนวชายแดนมีความยินดีอย่างยิ่งที่นายกรัฐมนตรีฮุน เซน เสนอกษัตริย์กัมพูชาให้แต่งตั้งเลื่อนชั้นยศโดยทั่วหน้า นี่เป็นขวัญกำลังใจอย่างที่สุดสำหรับกองทัพแห่งชาติกัมพูชาที่จะได้ปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัด ในบัญชาของสมเด็จฯ นายกรัฐมนตรี
ขณะที่ พล.ท.ชิน จันปัว2 รองผู้บัญชาการในกองทัพแห่งชาติกัมพูชา ประจำด้านที่ ๓ กล่าวรายงานว่า สถานการณ์ในสมรภูมิด้านที่ ๓ ไม่แตกต่างจากด้านปราสาทพระวิหาร แม้ขณะนี้กำลังของทหารสยามผู้รุกรานอยู่ในความสงบ และมีการถอนกำลังและยุทโธปกรณ์ออกไป แต่ทหารกัมพูชาประจำพื้นที่ด้านที่ ๓ ยังคงเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมสูงสุด โดยเฉพาะรอรับคำสั่งจากสมเด็จฯ นายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังกล่าวอีกว่า การถอนทหารของประเทศทั้งสองที่จะมีขึ้น ผู้สังเกตการณ์ของอินโดนีเซียจะต้องเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ก่อน กัมพูชาจะไม่ถอนกำลังก่อนฝ่ายไทย

ปราสาทพระวิหาร 'อภิสิทธิ์' vs 'นพดล' และคนขายชาติ


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 30 กรกฎาคม 2554 05:38 น.

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น


ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - การปะทะคามรมอย่างดุเด็ดเผ็ดมันระหว่าง 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' รักษาการ นายกรัฐมนตรี ศิษย์แม่พระธรณีบีบมวยผม กับ'นายนพดล ปัทมะ' อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลูกกะเป๋งทักษิณ ในกรณีปราสาทพระวิหาร ที่ต่างก็กล่าวโทษกันไปมาว่าอีกฝ่ายเป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยอาจต้องเสียดินแดน ให้กัมพูชานั้นได้สร้างความขบขันให้คนไทยจำนวนไม่น้อย
    
       เพราะหากย้อนไปดูถึงผลงานที่ทั้งสองคนทำไว้กับประเทศชาติก็ดูจะไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก
    
       **'ติ้งเหล่' คนไทยหัวใจเขมร
    
       สำหรับ 'ติ้งเหล่' นพดลนั้นผลงานการยกแผ่นดินไทยให้เขมรมีให้เห็นอย่างเด่นชัด โดยใน ช่วงที่เขานั่งในเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช นั้น นายนพดลได้ทำข้อตกลงที่ไทยจะสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียน "ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก" ของกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชาได้จัดทำ "แผนที่ฉบับใหม่" แสดงขอบเขตปราสาทพระวิหารประกอบคำขอขึ้นทะเบียน ขณะที่รัฐบาลไทยโดยนาย นพดล ในฐานะ รมว.การต่างประเทศ ก็แบะท่ายืนยันว่าพร้อมแสดงแผนผังบริเวณปราสาทที่ฝ่ายกัมพูชาจะใช้ยื่นต่อยู เนสโกขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมระบุว่ากรมแผนที่ทหารตรวจสอบบริเวณดังกล่าวอย่างละเอียดแล้ว ไม่มีส่วนใดล้ำเข้ามาในดินแดนที่ไทยอ้างสิทธิ์ !! ซึ่งเท่ากับเขาเป็นตัวแทนประเทศไทยที่เสนอหน้าไปยืนยันว่าพื้นที่บริเวณดัง กล่าวนั้นเป็นของกัมพูชา ?
    
       ทั้งนี้ หากย้อนไปดูการปฏิบัติหน้าที่ของ รมว.ต่างประเทศ ของนายนพดล ปัทมะ ก็จะเห็นถึงการดำเนินการผลักดันให้กัมพูชาขึ้นทะเทียนปราสาทพระวิหารอย่าง เป็นขั้นเป็นตอน โดย ใน วันที่ 14 พ.ค. 2551นายนพดลได้เดินทางไปยังเกาะกง กัมพูชา เพื่อร่วมเปิดถนนสายที่ 48 กับนายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และหารือถึงการทำบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เพื่อให้มีการบริหารและจัดการร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งนับเป็นการดำเนินการที่เร่งรีบเพื่อให้กัมพูชาสามารถนำรายละเอียดเหล่า นี้ไปเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่จะมีขึ้นที่ประเทศแคนาดา ในเดือนกรกฎาคม 2551 ได้ทัน
    
       จากนั้นในวันที่ 22 พ.ค. 2551นายนพดล ก็ได้หารือกับ นายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยมีผู้แทนระดับสูงของยูเนสโกเข้าร่วมด้วย โดยครั้งนั้นไทยและกัมพูชามีข้อตกลงร่วมกันว่า ไทยจะสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ขณะที่กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร โดยฝ่ายกัมพูชาจะจัดทำแผนที่ฉบับใหม่แสดงขอบเขตปราสาทพระวิหารเพื่อใช้แทน แผนที่ฉบับเดิมที่กัมพูชาใช้ประกอบคำขอขึ้นทะเบียน
    
       แต่หลังจากนั้นก็เกิดกระแสวิจารณ์อย่างหนักว่าแผนที่ที่ทางกัมพูชา ยื่นให้ฝ่ายไทยนั้นรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของไทยประมาณ 200 เมตร แต่นายนพดลก็ออกมาแก้เกี้ยวว่าเป็นแค่เรื่องของการถือแผนที่คนละฉบับเท่า นั้น แต่ต่อมาในวันที่ 5 มิ.ย. 2551กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ประกาศรับแผนที่ฉบับใหม่จากฝ่ายกัมพูชาที่จะ ใช้แทนแผนที่เดิมที่ยื่นไว้เมื่อปี 2549 และได้ขอความร่วมมือกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ตรวจสอบข้อมูลในภูมิประเทศจริงเพื่อความถูกต้องชัดเจน
    
       มีการตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงดังกล่าวรัฐบาลไทยพยายามเร่งรีบดำเนินการเพื่อให้นำไปสู่การขึ้น ทะเบียนปราสาทพระวิหาร โดยใน วันที่ 16 มิ.ย. 2551สภาความมั่นคงแห่งชาติของไทย ก็ได้ให้ความเห็นชอบแผนที่ฉบับใหม่ตามที่กัมพูชาเสนอ และวันรุ่งขึ้น 17 มิ.ย.2551 คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนที่ฉบับนี้ พร้อมทั้งมอบอำนาจให้ รมว.ต่างประเทศไปลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วมกับ นายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เพื่อยืนยันข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายตามที่ตกลงกันไว้ในการหารือที่กรุงปารีส ด้วย จากนั้นวันที่ 18 มิ.ย. 2551นายนพดลได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็น มรดกโลกร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
    
       แม้ว่าต่อมาทนายความของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จะได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด และในที่สุด วันที่ 28 มิ.ย.2551 ศาลปกครองกลางก็ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามที่พันธมิตรฯร้องขอ แต่นายนพดลและรัฐบาลนายสมัครก็ไม่ได้สนใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลแต่อย่าง ใด
    
       ว่ากันว่าการประกาศสนับสนุนการขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ของกัมพูชาแบบสุดลิ่มทิ่มประตูของนายนพดลนั้นมีความไม่ชอบมาพากลและมีผล ประโยชน์ทับซ้อน โดยสม เด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้เสนอสัมปทานธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยบริเวณรอยต่อ ไทย-กัมพูชาให้อดีตนายกฯทักษิณ เป็นสิ่งแลกเปลี่ยน
    
       ทั้งนี้ มีหลักฐานปรากฏชัดจากเอกสารลับทางการทูตของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ซึ่ง 'วิกิลีกส์' เว็บไซต์จอมแฉ นำมาเผยแพร่ในช่วงปี 2550 ซึ่งเอกสารดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในระดับที่ไม่ธรรมดาระหว่างสม เด็จฮุน เซน และทักษิณ พร้อมทั้งระบุถึงการแบ่งสรรผลประโยชน์จากการสำรวจและผลิตน้ำมันในพื้นที่ทับ ซ้อนทางทะเลของไทย-กัมพูชา โดย นายเกา คิม ฮอร์น เจ้า หน้าที่ระดับสูงกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา กล่าวว่า จะมีการแบ่งรายได้ในพื้นที่ใกล้ไทยมากที่สุด สัดส่วนไทย 80% กัมพูชา 20 % ส่วนพื้นที่ตรงกลางแบ่ง 50-50 และสัดส่วนไทย 20 กัมพูชา 80 สำหรับพื้นที่ใกล้ฝั่งกัมพูชา ขณะที่รายละเอียดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกัมพูชา กับนายแกรี ฟลาเฮอร์ตี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของเชฟรอน ในปี 2550 ก็ระบุว่า ผู้บริหารของเชฟรอนเห็นว่าพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยนั้น เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ดีที่สุดในโลก
    
       มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าข้อตกลงดังกล่าวน่าจะเกิดขึ้นก่อนปี 2550 คือก่อนที่ทักษิณจะถูกปฏิวัติยึดอำนาจ (19 ก..2549) และเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นในขณะที่ไทยและกัมพูชายังไม่มีการปักปันเขตแดนใน บริเวณดังกล่าวแต่อย่างใด
    
       อีกทั้งยังมีเอกสาทางการทูต ในช่วงปี 2552 ที่ระบุว่า "การไปเยือนพนมเปญของทักษิณฯ ถูกนักสังเกตการณ์ส่วนใหญ่มองว่า เป็นความต่อเนื่องของ พ.ต.ท.ทักษิณและสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในการใช้และกันเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว”
    
       ดังนั้นการที่ 'นายนพดล ปัทมะ' จะปฏิเสธว่าตนและรัฐบาลนายสมัครไม่ได้สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนประสาท พระวิหารในลักษณะที่มีการรุกล้ำแผ่นดินไทยนั้นก็ล้วนแต่เป็นการ 'โกหกคำโต' เพราะสิ่งที่นายนพดลดำเนินการไปทั้งหมดนั้นล้วนมีหลักฐานชัดเจน !!
    
       **'มาร์ค' ดื้อตาใส ทำไทยเสียดินแดน
    
       ขณะที่นายอภิสิทธิ์นั้นแม้จะได้ขึ้นมานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ถึง 2 ปีกว่า คือตั้งแต่ ธ.ค.2551 และเพิ่งประกาศยุบสภาไปเมื่อ 9 พ.ค.2554 ที่ผ่านมา แต่ตลอดเวลานายกฯอภิสิทธิ์ก็หาได้ดำเนินการใดๆที่จะคัดค้านการขึ้นทะเบียน ประสาทพระวิหารของกัมพูชา หนำซ้ำยังยืนยันที่จะยึด MOU43 (บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างไทยและกัมพูชา เรื่องการจัดทำหลักเขตแดนทางบก ปี 2543) ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับแผนที่ 1 : 200,000 อันจะนำไปสู่การเสียดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบพื้นที่ปราสาทพระวิหาร อีกทั้งเป็นแผนที่ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการ ผิดทั้งตำแหน่งของปราสาทพระวิหาร ผิดทั้งเส้นเขตแดนในแผนที่ และที่สำคัญยังเป็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำไว้ตั้งแต่ปี 2505 เพื่อหวังกินพื้นที่ดินแดนไทย
    
       เหตุที่นายอภิสิทธิ์ต้องทำหน้ามึนยึดข้อตกลงใน MOU43 ต่อไปทั้งที่มีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านอย่างต่อเนื่อง ก็เพราะบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ถูกจัดทำขึ้นในสมัยที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็น ผู้ ลงนาม ดังนั้นการที่จะประกาศยกเลิก MOU43 ก็เท่ากับยอมรับความผิดพลาดของพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้นายกรัฐมนตรีดีกรีออกซฟอร์ดอย่างอภิสิทธิ์ถึงกับทำทุกทางที่จะรักษา MOU43 เอาไว้เพื่อปกป้องพรรคประชาธิปัตย์ที่เขาสังกัดอยู่
    
       ตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ก็ได้พร่ำยืนยันว่า MOU43 ไม่ทำให้ไทยเสียดินแดน ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วการปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวทำให้ทหารไทย ไม่สามารถรักษาอธิปไตยในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเพราะ ไม่สามารถเข้าไปใน พื้นที่ดังกล่าวได้ ขณะที่กัมพูชากลับส่งกองกำลังทหารพร้อมอาวุธหนักเข้ามาตั้งฐานทัพอยู่ใน พื้นที่ อีกทั้งทำให้คนไทยตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาไม่สามารถเข้าไปในที่ดินของตนเอง ได้เนื่องจากถูกทหารเขมรขับไล่และเข้ามายึดพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
    
       จะเห็นว่า2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติแต่อย่างใด ไม่เคยดำเนินการคัดค้านหรือสั่งให้มีการผลักดันทหารและชาวบ้านกัมพูชาที่ รุกล้ำเข้ามาตั้งฐานทัพและหมู่บ้านในผืนแผนดินไทย ทั้งบริเวณรอบปราสาทพระวิหารและ แนวชายแดนไทยที่ติดกับกัมพูชา ปล่อยให้ทหารกัมพูชาเข้ามายึดที่นาของคนไทย ทั้งที่เป็นที่ดินที่มีโฉนดถูกต้องตามกฎหมาย นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่าต้องรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยการไม่ใช้ความรุนแรงกับกัมพูชาทั้งๆ ที่ทหารเขมรเป็นฝ่ายยิงถล่มทหารไทยก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะเกิดการปะทะ
    
       ซ้ำร้ายยังปล่อยให้กัมพูชาเหิมเกริมเข้ามาจับ 7 คนไทยถึงในแผ่นดินเกิด และนำตัวไปดำเนินคดีที่กรุงพนมเปญ โดยที่รัฐบาลไทยไม่เคยคิดจะช่วยเหลือ ส่งผลให้ นายวีระ สมความคิด แกนนำเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ และ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ ต้องถูกคุมขังอยู่ในคุกเขมรจนถึงทุกวันนี้
    
       น่าแปลกที่นายอภิสิทธิ์นั้นมีท่าทีโอนอ่อนยอมศิโรราบต่อกัมพูชา เรื่อยมา และทุกครั้งที่ต้องมีการเจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารใน เวทีโลกรัฐมนตรีของ รัฐบาลชุดนี้ก็ดูจะยอมเป็นลูกไล่และไม่เคยทันเกมกัมพูชาเลยสักครั้ง รัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่เคยชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นให้นานาชาติได้รับรู้ ปล่อยให้กัมพูชาโจมตีกล่าวหาไทยอยู่ฝ่ายเดียว
    
       'ความผิดปกติ' ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ทำให้หลายฝ่ายอดตั้งข้อสงสัยไม่ได้ว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์อาจจะคิด 'สวมตอ' หวังได้ผลประโยชน์ในธุรกิจพลังงานในอ่าวไทยด้านที่ติดกับกัมพูชาเหมือนที่สม เด็จฮุน เซน เคยทำข้อตกลงไว้กับทักษิณ ชินวัตร เพราะมีข่าวว่ากลุ่มทุนในรัฐบาลชุดนี้ก็เตรียมที่จะเข้าไปลงทุนในพื้นที่ดัง กล่าวเช่นกัน
    
       ดังนั้น คงไม่เกินไปที่จะกล่าวว่า 'นายอภิสิทธิ์' มิได้มีพฤติกรรมที่ต่างจาก “นายนพดล” เลยแม้แต่น้อย

36 เขมรแหกตาถอนกำลังพ้น เขาวิหาร - แฉเปลี่ยนชุดทหารเป็น พลเรือน

กลุ่มทหารเขมรนำครอบ ครัว ภรรยา และเด็ก เข้าปักหลักตั้งชุมชนและสร้างบังเกอร์ บริเวณเชิงบันไดทางขึ้นปราสาทพระวิหาร ในพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ครั้งใหม่ (แฟ้มภาพ ถ่ายเมื่อ 28 เม.ย.54)
       ศรีสะเกษ - ทหารไทยเขาพระวิหารโต้ลั่นเขมรยังไม่ได้ถอนกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ออก จากบริเวณเขาพระวิหารตามคำสั่งศาลโลกแต่อย่างใด แฉทหารเขมรแหกตาชาวโลกเปลี่ยนชุดเป็นพลเรือนสีเทาติดตรารูปปราสาทพระวิหาร ปักหลักเฝ้ารักษาปราสาทเช่นเดิม แถมขนเด็ก-สตรีเข้ายึดพื้นที่ 4.6 ตร.กม.มากขึ้น
      
       วันนี้ (29 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ศรีสะเกษว่า จากการที่ฝ่ายกัมพูชาได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของกัมพูชาว่าขณะนี้ทหาร กัมพูชาได้มีการถอนกำลังทหารออกจากบริเวณเขาพระวิหารเสร็จสิ้นแล้ว ตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกนั้น จากการตรวจสอบที่บริเวณเขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่าทหารกัมพูชายังคงตรึงกำลังอยู่ที่บริเวณเขาพระวิหารเช่นเดิม อีกทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปืนใหญ่ยังตั้งอยู่ที่เดิม ไม่ได้มีการเคลื่อนย้ายออกไปจากพื้นที่แต่อย่างใด
      
       แหล่งข่าวทหารไทยปฏิบัติหน้าที่บริเวณเขาพระวิหาร เปิดเผยว่า ขณะนี้ทหารกัมพูชายังไม่ได้ถอนกำลังทหารออกจากบริเวณเขาพระวิหารตามที่เป็น ข่าวแต่อย่างใด ซึ่งจากการที่ทหารไทยได้จับตาดูความเคลื่อนไหวทางกัมพูชาอย่างใกล้ชิดพบว่า ทหารกัมพูชาได้มีการเปลี่ยนชุดเครื่องแบบทหารออกแล้วสวมใส่ชุดยามเฝ้ารักษา ปราสาทพระวิหารแทน ซึ่งเป็นชุดสีเทาทั้งชุด ติดตรารูปปราสาทพระวิหารที่แขนเสื้อด้านขวาเพื่อเป็นการพรางตาเพื่อให้เข้า ใจผิดว่ามีการถอนกำลังทหารออกไปแล้ว ซึ่งหากทหารกัมพูชาถอนกำลังทหารออกไปจริง ทหารไทยที่เฝ้ารักษาอยู่บริเวณเขาพระวิหารจะต้องทราบ อีกทั้งการจะขนเอาปืนใหญ่และรถถังลงไปจากเขาพระวิหาร ทหารไทยสามารถตรวจการณ์พบได้แน่นอน
      
       แหล่งข่าวทหาร เปิดเผยต่อว่า ขณะนี้ทางฝ่ายกัมพูชาได้มีการนำเอาผู้หญิงและเด็กขึ้นมาอยู่ที่บริเวณเขาพระ วิหารเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณทางขึ้นประสาทพระวิหาร และที่บริเวณหน้าวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทหารกัมพูชาต้องการแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่บริเวณพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ว่าได้มีการยึดครองมานานแล้ว ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วบรรดาเด็กและผู้หญิงเหล่านี้เป็นลูกเมียของทหาร กัมพูชาที่ขนครอบครัวขึ้นมาหวังให้เป็นโล่มนุษย์ป้องกันไม่ให้ทหารไทยใช้ อาวุธในการปะทะ เมื่อมีเหตุการณ์ปะทะกันขึ้น
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะเดียวกันที่บริเวณผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งวันนี้เป็นวันที่ 7 ในการเปิดให้ประชาชนนักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวบนอุทยานฯ ได้มีนักท่องเที่ยวพากันมาเที่ยวชมที่บริเวณผามออีแดงอย่างต่อเนื่อง ทำให้บรรดาพ่อค้า แม่ค้า ที่ส่วนมากแล้วเป็นชาวบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย ที่นำสินค้า ของที่ระลึก และอาหารมาจำหน่ายให้บริการนักท่องเที่ยวมีรายได้ดี โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ คอยรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

'มาร์ค'ไม่ขัด'รบ.น้องปู' ใช้สัมพันธ์นช.คุยเขมร กห.มอบกรมชายแดนฯ วางแนวทางหารือ'จีบีซี'




แม้ว-มาร์ค
"อภิสิทธิ์" ไม่ขัดหากรัฐบาลใหม่ใช้สัมพันธ์ "ทักษิณ" แก้ปัญหาไทย-เขมร ดักคอแต่ต้องเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนกลุ่ม หรือส่วนคน ด้านสภากลาโหมมอบ “กรมกิจการชายแดนทหาร” ประสานกัมพูชา วางแนวทางถก"จีบีซี" เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก

วันที่ 28 ก.ค.2554 เวลา 13.45 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาไทย-กัมพูชาของรัฐบาลใหม่ที่ควรดำเนินการว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งเข้ามาสานต่อ คือ เรื่องปัญหาไทย-กัมพูชา เพราะจะต้องมีกระบวนการหลายอย่างที่ต้องทำโดยเร่งด่วน

เมื่อถามว่า หากรัฐบาลใหม่ใช้ความสัมพันธ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาจะดีหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าใช้แล้วเป็นประโยชน์กับประเทศก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่าใช้แล้วกลายเป็น ประโยชน์ส่วนกลุ่ม ส่วนคน หรือมากระทบกระเทือนทำให้ประเทศเสียเปรียบ

สภากลาโหมมอบ “กรมกิจการชายแดนทหาร” ประสานกัมพูชา วางแนวทางถก"จีบีซี"

พ.อ.ธนา ธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังประชุมสภากลาโหมว่า ที่ประชุมได้หารือกรณีเมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่กระทรวงการต่างประเทศได้เรียกประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อหารือเกี่ยว กับคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก) ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวต่อข้อพิพาทประสาทเขาพระวิหาร โดยสภากลาโหมเสนอให้กระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นหน่วยงานความมั่นคงหาช่องทางเจรจากับฝ่ายกัมพูชาในกรอบคณะกรรมการ ชายแดนทั่วไปร่วมไทย-กัมพูชา หรือจีบีซี ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมมีความพร้อมและเห็นพ้องต่อแนวทางจะใช้กลไกแบบทวิภาคี รวมทั้งที่ผ่านมามีการเสนอกรอบวาระจะประชุม จีบีซี ครั้งที่ 8 เข้าสู่การพิจารณารับรองของคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาแล้ว เนื้อหาเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการดูแลความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้งการแก้ปัญหาต่างๆ ตามแนวชายแดนสองประเทศ

พ.อ.ธนาธิป กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม อาจจำเป็นต้องนำเสนอให้ ครม.พิจารณาขยายกรอบการเจรจาให้ครอบคลุมประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงนำเข้าสู่วาระการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณารับรองให้เป็นไปตามบท บัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย มาตรา 190 ต่อไป

"การ ประชุมจีบีซี ที่จะมีขึ้นครั้งต่อไป มีวาระสำคัญคือเจรจาเพื่อความเข้าใจตรงกันระหว่างไทยกับกัมพูชาเกี่ยวกับ มาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก โดยกระทรวงกลาโหมได้มอบหมายให้กรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นหน่วยประสานงานกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งต้องมีความโปร่งใส เสมอภาค และยุติธรรม" โฆษกกระทรวงกลาโหม ระบุ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฮอเร่งร่างข้อตกลงไทย-เขมรรับผู้สังเกตการณ์อาเซียน


เอกสารแถลงข่าวกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ กรณีนายฮอ นำฮง ส่งจดหมายถึงรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เสนอร่างข้อตกลงที่ ๒ เกี่ยวกับการส่งผู้สังเกตการณ์ 


ฟิฟทีนมูฟ – ฮอ นำฮง เสนอร่างข้อตกลงที่สองระหว่างไทย-เขมร ไปยัง รมว.ต่างประเทศอินโดฯ เร่งส่งผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ปราสาทพระวิหารเพื่อปฏิบัติตามมาตรการชั่ว คราวศาลโลก ส่วนโฆษกสำนักนายกฯ เขมร เผยเขมรทำหน้าที่ตนเองครบถ้วนแล้วยังเหลือแต่ฝ่ายไทย ระบุถอนทหารในพื้นที่ที่ไม่จำเป็นออกแล้ว ยังเหลือไว้ที่ปราสาทฯ รอผู้สังเกตการณ์มาถึง
ก่อนหน้านี้เมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ กัมพูชาได้เสนอร่างข้อตกลงระหว่างไทยและกัมพูชา โดยมีอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนเป็นพยานลงนาม เพื่อปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ล่าสุดเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ตามเอกสารแถลงข่าวของกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา นายฮอ นำฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ได้ส่งจดหมายถึงนายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เสนอร่างข้อตกลงที่สองในการจัดส่งผู้สังเกตการณ์ โดยเนื้อหาในจดหมายระบุว่า อ้างถึงจดหมายของตนลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ กรณีเสนอร่างข้อตกลงระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชา และราชอาณาจักรไทย ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ตนใคร่ขอเสนอข้อตกลงที่สองซึ่งแนบมาด้วย

จดหมายระบุต่อว่า วัตถุประสงค์ของข้อตกลงใหม่นี้ เพื่อนำไปสู่การวางคณะผู้สังเกตการณ์ (IOT) เพื่อตรวจประเมินในพื้นที่ของเขตปลอดทหารตามมาตรการชั่วคราว (PDZ) และการตรวจสอบการถอนเจ้าหน้าที่ทหารของทั้งกัมพูชาและไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการทำงานของคณะผู้สังเกตการณ์ จดหมายระบุในตอนท้ายว่า หวังว่าอินโดนีเซียจะเร่งพิจารณาและตอบร่างข้อตกลงใหม่โดยเร็ว รวมถึงการตอบจากฝ่ายไทย นายฮอ นำฮง ได้ส่งสำเนาจดหมายดังกล่าวถึงรัฐมนตรีต่างประเทศไทยด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เอกสารแถลงข่าวของกระทรวงต่างประเทศกัมพูชาไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดร่างข้อ ตกลงที่สองที่นายฮอ นำฮง อ้างถึง
นอกจากนี้ ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา (๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔) นายไพ ซีพาน โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เปิดเผยว่ากัมพูชายังไม่ได้รับการตอบรับจากฝ่ายไทย เกี่ยวกับการถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาท ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้มีมาตรการชั่วคราว ส่วนอินโดนีเซียเห็นว่าควรต้องรอรัฐบาลใหม่ของไทยเพื่อหารือในเรื่องนี้ นายไพ ซีพาน ระบุอีกว่ากัมพูชาได้ทำหน้าที่ของตนทุกอย่างแล้วในการตอบสนองต่อคำสั่งของ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ยังเหลือแต่ฝ่ายไทยเท่านั้น นอกจากนี้สถานการณ์ตามแนวชายแดนยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง กัมพูชาได้ลดจำนวนทหารลงในพื้นที่ที่ไม่มีความจำเป็น แต่ในพื้นที่พระวิหาร ทหารกัมพูชายังคงอยู่เช่นเดิมจนถึงเวลาที่ผู้สังเกตการณ์มาถึง

"สมปอง"ชี้ไทยไม่เสียดินแดนให้เขมร จี้กองทัพรับใช้ประเทศอย่างเต็มกำลัง

"สมปอง"ชี้ไทยไม่เสียดินแดนให้เขมร จี้กองทัพรับใช้ประเทศอย่างเต็มกำลัง "วัลย์วิภา"ดักคอรัฐบาลใหม่อย่า"เกี้ยเซียะ"รัฐบาลกัมพูชา


เมื่อเวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 9 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาท เขา พระวิหาร และเว็บไซต์ฟิฟทีนมูฟ จัดเสวนาหัวข้อ “15 กรกฎาคม ขึ้นเขา ออกทะเล” กำหนดผู้ร่วมในงานประมาณ 50 คน
ผู้ดำเนินการรายการระบุเหตุผล ตั้งหัวข้อเสวนา เพราะกัมพูชาเองให้ความสำคัญมากกับวันดังกล่าว เป็นวันกล่าวหาไทยรุกรานดินแดนบนเขาพระวิหารเมื่อ 15 ก.ค.2551 วันนั้น พลตรีกนก เนตระคเวสนะ ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี(ยศขณะนั้น) นำกำลังทหารเพียง 20 นาย ขึ้นไปกดดันให้ทหารกัมพูชาปล่อย 3 คนไทยที่มุดรั้วลวดหนามไปนั่งประท้วงแสดงสิทธิในเขตดินแดนประเทศไทย และยังตรงกับการเชิญยกฐานธงชาติไทยมาทั้งฐานโดยไม่ลดธงลงจากจุดผาเป้ยตาดี หลังศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา และปัจจุบันศาลโลกตัดสิน ใช้มาตรการนอกเหนือคำขอของกัมพูชาโดยตีผังกลุ่มรูปสี่เหลี่ยมคางหมูเป็นเขต ปลอดทหาร คลุมพื้นที่มากกว่า 4.6 ตร.กม.ที่อ้างสิทธิกันอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนประเทศไทย 
ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตผู้ร่วมคณะทนายความสู้คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505 นำการเสวนากล่าวตอนหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจชัดเจนและไม่ใจเสียว่า ไทยเสียปราสาทพระวิหารและดินแดนโดยรอบไปแล้วนั้นว่า “ยังไม่เสีย” ไทยไม่ยอมรับคำตัดสินศาลโลก พันเอกถนัด คอมันตร์ รมว.ต่างประเทศ ทำหนังสือขอสงวนสิทธิไว้ต่อองค์การสหประชาชาติ และทหารไทยก็ล้อมรั้วรอบตัวปราสาท และเรียกเป็นเขตปราสาทพระวิหารไม่ได้เรียกเขตพรมแดนประเทศแต่อย่างใด เราอนุญาตให้กัมพูชาขึ้นมาได้ทางบันไดหักเท่านั้นเอง เมื่อเฮลิคอปเตอร์กัมพูชาบินขึ้นมา ทหารไทยก็ยิงตกยังมีหลักฐานอยู่
ซึ่งผู้พิพากษาศาลโลกเสียง ข้างมากก็ไม่ได้พิจารณาแผนที่ เขตแดน แต่ตัดสินในประเด็นกฎหมายปิดปาก ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ประท้วงไปแล้วอย่างสุภาพบุรุษคือไล่ทหารฝรั่งเศสไปถอดเครื่องแบบทหาร และว่ากล่าวเชิญมาแล้วทำไมต้องแต่งทหารและชักธงชาติฝรั่งเศสเหนือเขาพระ วิหารด้วย แต่ศาลมองไม่เห็นเป็นการประท้วง
"ประการสำคัญ ในทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการ ประเทศไทยไม่เคยยอมรับว่าเสียดินแดน ไม่เคยส่งมอบดินแดนคืนให้ใคร เหมือนกรณีพิธีส่งมอบดินแดนเกาะฮ่องกงคืนประเทศจีน หลังอังกฤษบังคับเช่าครอบครองเป็นร้อยปี” 
ศ.ดร.สมปอง กล่าวอีกว่า ส่วนในทางทะเลนั้นก็ยืนยันชัดเจนว่า การประกาศสิทธิทะเลอาณาเขตและไหล่ทวีปของรัฐบาลในอดีตของกัมพูชาไม่ถูกต้อง ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศรองรับการทำแผนที่มั่วแบบนั้น ประการสำคัญเรื่องเขตแดนทางทะเลจะแยกจากเขตแดนทางทะเล ไม่นำมาโยงกัน และต้องบอกว่าน่าเสียใจเพราะประเทศไทยเป็นผู้นำในด้านกฎหมายทะเล เป็นประเทศประธานประชุมเรื่องนี้หลายท่าน และนอกนั้นก็ล้วนเป็นชาวเอเซีย แต่ปัจจุบันจะปล่อยให้มีการล่วงละเมิดทางทะเลหรือ เชื่อว่ากองทัพเรือไทยที่เข็มแข็งในย่านนี้คงไม่ยอมปล่อยให้ประเทศไทยเสีย เปรียบ และข้อให้ทำหน้าที่อย่างเต็มกำลัง 
ด้าน หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ ภาคีเครือข่ายติดตามสถานการณ์ปราสาท เขาพระวิหาร กล่าวถึงการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทยกับกัมพูชา 2.6 หมื่นตร.กม. ตามบันทึกความเข้าใจร่วมไทย-กัมพูชา หรือเอ็มโอยู 2544 ซึ่งแปลกมากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย นายสุรเกียรติ เสถียรไทย ไปลงนามกับนายสก อัน แค่ที่ปรึกษารัฐบาล เป็นประธานองค์การปิโตรเลียมของกัมพูชา เมื่อ 18 มิ.ย.2544 และต่อมาลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมไทย-กัมพูชา หรือจอยท์คอมมูนิเก้ 2544 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับ นายกฯ ฮุน เซน
ซึ่งต่อมา คนไทยคิดว่าถูกเลิกไปแล้วในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ 15 พ.ย.2552 แต่ความจริงแค่แขวนไว้ แค่เหตุผลทางการเมืองต่อกระแสกดดันให้เลิก เอ็มโอยู 43 ยุคนายชวน หลีกภัย อันเป็นต้นเรื่องสืบเนื่องมาถึงเอ็มโอยู 44 ด้วย

“เชื่อว่าเอ็มโอยู 44 และจอยท์คอมมูนิเก้ 44 จะเดินตามโมเดล เอ็มโอยู 43 คือ รัฐบาลใหม่จะพูดว่าแนวเขตพรมแดนทางทะเลยังไม่ชัดเจน ดังนั้น ต้องเจรจากันก่อน ซึ่งเรื่องนี้ต้องไปดูในข้อ 14 ในฉบับภาษาอังกฤษ หรือข้อ 13 ในฉบับแปลภาษาไทยของกระทรวงต่างประเทศของไทย ระบุคณะกรรมการร่วม จะต้องดำเนินการขจัดอุปสรรคเขตแดนทางบกให้แล้วเสร็จเสียก่อน ซึ่งมีแนวโน้มทางบกจะสำเร็จตามที่กัมพูชาต้องการและได้เปรียบ”
ม.ล.วัลย์วิภา ขยายความถึงขั้นตอนสำคัญคือกระบวนการเจรจาสองประเทศ ซึ่งจะเดินไปเพื่อกัมพูชาได้ประโยชน์ เพราะรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พูดและเขียนไว้ให้เป็นหลักฐานเป็นคุณกับฝ่ายกัมพูชาที่นำไปเสนอในศาลโลก ข้อที่ว่า ไทยไม่เคยแสดงความชัดเจนเรื่องเขตแดนอยู่จุดไหน ไทยไม่เคยอ้างอธิปไตยอย่างเต็มที่ในบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร ไทยไม่เคยยืนยันแผนที่ประเทศไทยมาตราส่วน 1 ต่อ 5 หมื่นในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ตัวอย่างชัดเจนเมื่อ 7 คนไทยถูกจับที่บ้านหนองจาน นายกฯอภิสิทธิ์ไม่ยืนยันเป็นดินแดนไทย กลับใช้คำว่า ”เขตพื้นที่ปฏิบัติการ” ขณะที่กัมพูชายืนยันเป็นดินแดนของเขา อีกทั้งเมื่อกัมพูชายื่นร้องต่อคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ก.ค.2551 ไทยก็ยื่นชี้แจงโต้ตอบเพียงแค่เขมรละเมิดเอ็มโอยู 43 ทั้งที่เอ็มโอยู 43 สอดแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนที่ศาลโลกปี 2505 ไม่ได้รับพิจารณา
สุดท้ายในเวทีกล่าวฝากรัฐบาลใหม่ว่า อย่าดูหมิ่นประชาชนเหมือนรัฐบาลประชาธิปัตย์ ต้องรู้จักชี้เขตแดนประเทศไทยได้ ไม่รู้อาณาเขตประเทศไม่ได้ อย่าให้เรื่องผลประโยชน์พลังงานในทะเลมาเป็นตัวล่อเปิดช่องเจรจาเสียเปรียบ และจะต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44 และเจซี 44 ไม่ผูกพันกับข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศรองรับ รวมทั้งต้องช่วยนำนายวีระ สมความคิด นางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ 

กรุงเทพธุรกิจ

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สยามประเทศและ ร.5 รอดจาก ฝรั่งเศส เพราะอะไร ท่านทราบรึไม่

  by น.นันท์นภัส ,

ที่มาและอานิสงค์แห่งพระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า

 ข้าพเจ้านึกอยาก จะบันทึกเรื่องนี้ก็สืบเนื่องมาจากการถูกรบกวนจากวิญญาณเวลานอน น้องชายคนนึงจึงแนะนำพระคาถานี้ให้ข้าพเจ้านำไปสวด ข้าพเจ้าจึงต้องค้นคว้าหาข้อมูลเองทางอินเตอร์เน็ต ต้องขอบพระคุณน้องเพชร และ ครูอินเตอร์เน็ตด้วยนะคะ
 พระคาถาดังกล่าวคือ "คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า" นั่นเอง ได้ยินมาว่าศักศิทธิ์นักแล มาดูรายละเอียดและเกร็ดประวัติกันเจ้าค่ะ


ที่มาของพระคาถามาจากหลายแห่ง เช่น
คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า
จาก หนังสือ พ่อรักลูก (พิเศษ)
เป็น อันว่าวันนี้ขอย้อนต้นนิดหนึ่ง ท่านบอกว่าในสมัยหนึ่ง มีคนเขามาหาท่านแล้วเขาส่งหนังสือมาให้ เวลานั้นเป็นเวลาค่ำ ท่านบอกว่าค่ำๆอย่างนี้อ่านหนังสือไม่ออก จะต้องจุดไฟ แล้วก็ใช้กระแสไฟอ่าน พอตกเวลากลางคืนก็ปรากฏว่าเวลาที่เจริญพระกรรมฐาน ก็ใช้กำลังของอภิญญายกจิตโดยใช้ มโนมยิทธิไม่ ใช่ใช้อภิญญาใหญ่ ขึ้นไปนมัสการองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาที่จุฬามณีเจดียสถาน พอไปถึงก็กราบองค์สมเด็จพระพิชิตมาร พอเงยหน้าขึ้นท่านก็บอกว่า
"ตามธรรมดาพระนี่ ถึงแม้ว่าไม่มีแสงไฟก็ควรจะอ่านหนังสือออก"
ตามบันทึกของท่านก็ถามว่า "ทำอย่างไรจึงจะอ่านออกพระพุทธเจ้าข้า"
ท่านบอก ว่า "ทิพจักขุญาณของเธอมีแล้ว แต่อาศัยที่เป็นผู้ปรารถนาพุทธภูมิมาเดิม ทิพจักขุญาณจึงไม่แจ่มใสเหมือนพระอริยเจ้า ฉะนั้น เพื่อจะให้ความแจ่มใสเกิดขึ้นเห็นภาพชัด ควรปฏิบัติแบบนี้ ควรใช้คาถานี้ไปภาวนาจนเป็นฌานสมาบัติ"
เรื่องฌานนี่มันเรื่องเล็ก ท่านบอกว่า จะคว้าอะไรขึ้นมา มันก็เป็นฌานทันทีเพราะมีการคล่องอยู่แล้ว คาถาก็เห็นจะเป็นมงกุฎพระพุทธเจ้า ท่านบอกว่าอย่างนี้
"อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตัง โสอิ อิโสตัง พุทธะ ปิติอิ"
ท่านกล่าว ว่า "คาถานี้ถ้าไปเรียนและภาวนาทำให้เป็นฌาน นิมิตต่างๆจะมีอาการแจ่มใส คนที่ตาไม่ดีก็อ่านหนังสือออกได้ หรือว่าเวลามืดๆ ก็สามารถจะมองเห็นหนังสือได้ และมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ตามความประสงค์ ถ้าใช้คาถานี้เป็นฌาน" ท่านว่าอย่างนั้น
เป็น อันว่าท่านย้ำมาว่าไอ้มืดๆ มันก็อ่านหนังสือออก และท่านบอกว่าท่านก็มาทำ มาทำมันก็ไม่นานใช้เวลาเพียงครู่เดียว จิตก็เข้าถึงฌาน ๔ ทรงฌาน ๔ สยาบๆ ก็เลยว่ากันถึงฌาน ๘ ถึงฌาน ๘ ก็หลบลงมาฌาน ๔ ในรูปฌาน ทำไปทำมาก็เลยลองหลับตาอ่านหนังสือ ก็เห็นอ่านออก แต่ว่าวิธีนี้ท่านบอกว่าจะใช้ทั่วๆไปไม่ได้ เอาไว้แต่เมื่อมันจำเป็น ถ้าจำเป็นจริงๆ ไม่ต้องหยิบหนังสือมา เป็นแต่เพียงนึกว่าจะอ่านหนังสือ มันก็มีความเข้าใจว่าหนังสือฉบับนั้นเขาว่าอย่างไร
วงเล็บของท่านมีไว้บอกว่า ( ใครอ่านแล้วถ้าทำได้ จงอย่าทำตนเป็นผู้วิเศษ เมื่อเวลาอ่านหนังสือต่อหน้าคน ถ้ามันอ่านไม่ออกจริงๆ ก็ใช้ไฟใช้แว่นส่อง ถ้ามันจำเป็นจริงๆ ก็เอาจิตจับจากภาพหนังสือนั้นเสีย ใช้ใจอย่างเดียวก็อ่านหนังสือออก) นี่เป็นวิธีปฏิบัติของท่าน

  • แหล่งที่สองมาจากหลวงปู่เอี่ยม สุวัณณสโรหรือพระภาวนาโกศลเถระ เกิดเมื่อวันที่ 2ตุลาคม พ.ศ. 2375 ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)ได้โปรดเกล้าฯ ให้ท่านได้เข้ามาดูแลวัดหนังและเป็นเจ้าอาวาสในปี 2442 ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อาราธนาให้หลวงปู่เอี่ยมเข้าสู่พระบรมมหาราชวังก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป หลวง ปู่เอี่ยมล่วงรู้ด้วยทิพยญาณว่า พระองค์ท่านจะเผชิญกับม้าพยศจากฝรั่งเศส จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวาย"พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า"ไว้สำหรับทรงเสกหญ้าให้ม้าพยศกิน ปรากฏว่า เหตุการณ์ที่ท่านบอกนั้นเป็นความจริง ด้วยราชสำนักฝรั่งเศสได้นำม้าพยศมาถวาย แต่ด้วยพระพุทธานุภาพแห่งพระคาถา และเดชะพระมหาบารมีของพระองค์ ทำให้องค์รัชกาลที่ 5 ทรงปลอดภัย และทรงแสดงพระปรีชาสามารถปราบม้าพยศตัวนั้นได้อย่างง่ายดาย


เนื้อหาที่คัดลอกจาก http://www.lekpluto.com/index01/special03.html
มีดังต่อไปนี้
หลวงปู่เอี่ยมนั้นเป็น "ศิษย์มีครู " ดังนั้น จึงถอดแบบอย่างมาจากองค์หลวงปู่รอดแทบจะเป็นพิมพ์เดียวกัน หลวงปู่รอดเก่งอย่างไร หลวงปู่อี่ยมก็เก่งอย่างนั้น จึง ไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ท่านจะมีศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือมากมาย ทั้งที่วัดอยู่ในถิ่นห่างไกลความเจริญ การเดินทางไปมาหาสู่ไม่สะดวก แม้แต่พระเจ้าน้องยาเธอ "กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์" เจ้ากรมพระนครบาล (มหาดไทยในปัจจุบัน) ยังน้อมตัวเป็นศิษย์ และท่านผู้นี้แหละ ที่ถวายคำแนะนำและทูลเชิญเสด็จล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕ให้เสด็จมาขอรับคำพยากรณ์จากหลวงปู่เอี่ยม ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป
ในการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่หนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น ไม่ได้เป็นการเสด็จเพื่อแสวงหาความสำราญแต่อย่างใด แต่เป็นการเสด็จเพื่อดำเนินพระราชวิเทโศบายด้านการต่างประเทศอย่างชาญฉลาดเป็นการเสด็จเพื่อเจริญพระราชไมตรีกับราชวงศ์ต่าง ๆ ของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัสเซียและเยอรมันซึ่งเป็นศัตรูคู่แค้นของอังกฤษ และฝรั่งเศส ด้วยหลักการที่ว่า "ศัตรูของเพื่อนก็คือศัตรูของเรา" เมื่อ ผูกสัมพันธ์กับรัสเซีย เยอรมัน และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ได้แล้ว อังกฤษ และฝรั่งเศสก็จะไม่กล้ารุกราน หรือยึดเอาประเทศไทยเป็น "อาณานิคม" อีกต่อไป ซึ่งส่งผลทำให้ไทยเราดำรงความเป็นเอกราชมาจนทุกวันนี้
การเสด็จประพาสยุโรปในสมัยนั้น ทำ ได้ทางเดียว คือ "ทางเรือ" ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางแรมเดือน การออกทะเลหรือมหาสมุทรนั้น แม้ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาการเดินเรือ มีเรือที่มั่นคงแข็งแรง ประสิทธิภาพสูง มีการติดต่อสื่อสารที่ทันท่วงที ก็ยังไม่วายจะ "อับปาง" เลยล่ะ หากออกเดินทางในช่วงมรสุม หรือ "สุ่มสี่สุ่มห้า" ล่ะก็ เป็นเสร็จทุกราย คนโบราณจึงสอนเอาไว้ว่า "อย่าไว้ใจทะเลคืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล มีภยันตรายรอบด้าน ทุกเวลานาที" ท่านผู้อ่านลองหลับตาวาดภาพการเดินเรือในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีล่วงมาแล้วซิครับ ว่ายากลำบาก และมีอันตรายเพียงใด แต่ล้นเกล้า ฯ รัชกาล ที่ ๕ท่านก็ทรงเสด็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย เป็นการเสียสละพระองค์อย่างสูงสุด ที่ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกจะทำได้ ตอนหน้าจะได้กล่าวถึงคำพยากรณ์และการแก้ไขเหตุร้ายแรงที่ประสบตามคำพยากรณ์ เป็นเรื่องของความเชื่อถือในคุณพระ และคาถาอาคม หากท่านเห็นว่า "ไม่ไร้สาระ" จนเกินไป

เมื่อล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕ ได้ รับคำแนะนำจากพระเจ้าน้องยาเธอ "กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์"ให้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เข้านมัสการ "หลวงปู่เอี่ยม" วัดโคนอน เพื่อขอรับคำพยากรณ์ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น ภายหลังที่กำหนดการเสด็จวัดโคนอนได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นการส่วนพระองค์เรียบ ร้อยแล้ว ก็ได้ส่งหมายกำหนดการไปถวายแด่หลวงปู่เอี่ยม เป็นการภายใน เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับเสด็จ
ขบวนเสด็จประกอบด้วย เรือพายสี่แจวที่ทรงประทับ และขบวนเรือคุ้มกัน ควบคุมโดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ ได้ เคลื่อนที่เข้าคลองลัดสู่วัดโคนอน ชาวบ้านละแวกนั้นไม่ได้ไหวตัวหรือเอะใจแต่อย่างใด เพราะเห็นเป็นขบวนเรือธรรมดา มิได้ประดับประดาธงทิวให้แปลกไปกว่าเรือลำอื่นดูเหมือนกับเรือที่ขุนนางหรือ เศรษฐีผู้มีทรัพย์ใช้กันทั่วไป และผู้ที่ขึ้นมาจากเรือสี่แจวต่างก็แต่งกายแบบธรรมดา มี หมวกสวมไว้บนศีรษะ ใบหน้าบ่งบอกถึงเป็นผู้มีบุญ หนวดบอกถึงผู้มีอำนาจดวงตาฉายแววแห่งความเมตตาปราณีตลอดเวลา เวลาเดินมีคนล้อมหน้าล้อมหลัง ทุกคนไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า "บุรุษผู้ขึ้นมาจากเรือสี่แจวนั้น คือ เจ้าชีวิตแห่งกรุงสยาม พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า ผู้ทรงประกาศเลิกทาสโดยสิ้นเชิง"
พระปลัดเอี่ยมนั่งรออยู่บนอาสนะอันสมควรแก่ฐานานุรูป ภาย ในพระอุโบสถอันแคบ แบบวัดราษฏร์ในเขตอันไกลจากพระบรมมหาราชวัง กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ก้าวนำเสด็จเข้ามาภายในพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรง จุดธูปเทียนบูชาสักการะพระประธาน กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงเสด็จกลับมาถวายนมัสการพระปลัดเอี่ยม ซึ่งกราบทูลให้ทรงประทับนั่งธรรมดาตามสบายพระองค์
"ที่ รูปมาในวันนี้ ("รูป" เป็นคำที่พระมหากษัตริย์สมัยก่อนใช้แทนพระนามเมื่อมีพระราชดำรัสกับพระสงฆ์) เพื่อขอให้ท่านปลัดได้ช่วยตรวจดูเหตุการณ์ว่า การที่รูปจะเสด็จไปยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักในยุโรปนั้น จักเป็นอย่างไรบ้าง ด้วยหนทางไกลและอันตรายมีอยู่รอบด้าน"
"มหาบพิตร อาตมาจักตรวจสอบให้ อย่าได้ทรงมีพระหทัยกังวล ทั้งนี้ด้วยพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพแบบพระองค์นั้น มีบุญญาธิการ สามารถผ่านพ้นความทุกข์ได้อย่างมั่นคง"
พระ ปลัดเอี่ยมลุกจากที่นั่งไปคุกเข่าลงหน้าพระประธาน ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ระลึกถึงองค์พระรัตนตรัย และหลวงปู่รอดผู้มรณภาพไปแล้ว ขอบารมีในการจะเข้า "ฌาน" เพื่อดูอนาคตด้วย "อนาคตังสญาณ" จาก นั้นก็กลับเข้ามาสู่ท่านั่งสมาธิตัวตรง เจริญอานาปานสติ แล้วเข้าสู่ฌานที่ ๔ ตามลำดับ จากนั้นเข้าสู่อนาคตังสญาณ โดยกำหนดจิตไว้มั่นเพื่อให้นิมิตเกิด
ใน ท่ามกลางความคะนองของท้องทะเล และคลื่นลมตลอดจนวังวนของทะเล เรือพระที่นั่งกำลังอยู่ในปากแห่งวังวนนั้น น้ำในวังวนเชี่ยวกราก และส่งแรงดูดมหาศาล ภายใต้วังวนนั้น ซากเรือใหญ่น้อยจมอยู่เป็นอันมาก พ้นจากทะเลมาสู่บก พลันภาพของกลุ่มคนที่นั่งกันอยู่เป็นชั้น ๆ ส่งเสียงจ้อกแจัก ด้านล่างเป็นผืนหญ้า และมีผู้จูงม้าเข้ามาในที่นั้น ม้าตัวนั้นมีคนถือเชือกที่ล่ามขาทั้งสี่คอยดึงไว้ไม่ให้พยศ ดวงตาของมันเหลือกโปน น้ำลายฟูมปาก
ภาพ ของฝรั่งแต่งตัวด้วยเครื่องแบบประหลาด ผายมือให้พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรงเสด็จไปรับม้าเพื่อประทับ แล้วทุกอย่างก็ดับวูบหายไป ถึงวาระที่ออกจากญาณพอดีลุกขึ้นเดินมานั่งบนอาสนะที่เดิม ก่อนจะกราบทูลความถวายว่า
"มหาบพิตร การเสด็จพระราชดำเนินสู่ยุโรปครั้งนี้ จะต้องประสบภัยสองครั้ง ครั้งแรกในทะเลที่วังวน อาตมา จะถวายผ้ายันต์พิเศษและคาถากำกับ เมื่อเข้าที่คับขันขอให้ทรงเสด็จไปยืนที่หัวเรือ แล้วภาวนาคาถากำกับผ้ายันต์แล้วโบกผ้านั้น จะเกิดลมมหาวาตะพัดให้เรือหลุดจากการเข้าสู่วังวนได้
ภัยครั้งที่สองเกิดจากสัตว์จตุบท (สี่เท้า) คืออัศดรชาติอันดุร้ายที่ฝ่ายตรงข้ามจะทดลองพระองค์อาตมาจะถวายคาถาพิเศษสำหรับภาวนาเวลาถอนหญ้าให้อัศดรอันดุร้ายนั้นกิน จะคลายพยศและสามารถประทับบังคับให้ทำตามพระราชหฤทัยได้เหมือนม้าเชื่อง" ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เล่าลือกันมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง(ร.5) ปู่ย่าตายายได้เล่าสืบทอดกันมาอันมีส่วนหนึ่งเกี่ยวพันกับพระบรมรูปทรงม้าที่ลานพระราชวังดุสิต
คาถาเสกหญ้าให้ม้ากินที่หลวงปู่เอี่ยมถวายนั้น คือ "คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย" หรือ "มงกุฎพระพุทธเจ้า" มีตัวคาถาว่า"อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ "
หลัง จากได้ทรงมีพระราชดำรัสกับพระปลัดเอี่ยมพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็ทรงถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระปลัดเอี่ยม จากนั้นได้เสด็จทอดพระเนตรโดยรอบวัดโคนอน ซึ่งตอนนี้มีผู้จดจำพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าได้แม่นยำ ได้บอกกันออกไป ทำให้มีผู้มาหมอบเฝ้ารับเสด็จกันเป็นจำนวนพอสมควร ครั้นทรงสำราญพระอิริยาบถพอสมควรแล้ว ก็เสด็จกลับสู่พระบรมมหาราชวัง เพื่อเตรียมพระองค์ไปทวีปยุโรปต่อไป
การเสด็จประพาสยุโรปในครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ร.ศ. ๑๑๖) ได้ทรงเตรียมการทุกอย่างไว้เป็นอย่างดียิ่ง ในส่วนที่เป็นกิจการภายในประเทศ ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อหน้ามหาสมาคม จากนั้นได้ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้ามหาสมาคมซึ่งประกอบไปด้วยพระบรมวงศานุ วงศ์ เหล่าเสนามหาอำมาตย์ ข้าราชบริพาร และพระราชาคณะอันมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู กรุงเทพฯ มีใจความสำคัญ ดังนี้
๑. จักไม่เปลี่ยนแปลงจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาอื่น
๒. จักเสวยน้ำจัณฑ์ (เหล้า) ต่อเมื่อไม่เป็นการผิดพระราชประเพณีต่อฝ่ายที่จะกระชับสัมพันธไมตรี และจะเสวยเพียงเพื่อไมตรีไม่ให้เสียพระเกียรติยศ
๓. จะไม่ล่วงประเวณีต่อสตรีไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ตลอดเวลาที่พ้นออกไปจากพระราชอาณาเขตสยาม
ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อความสำราญส่วนพระองค์ แต่ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อประเทศชาติโดยแท้ จากจดหมายเหตุและพระราชหัตถเลขา ที่ทรงมีมายังพระพันปีหลวงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ทรงบอกชัดเจนว่า
ทรง ต้องผจญภัยในท้องทะเล กับคลื่นลมที่แปรปรวน ทรงพบกับความลำบากนานาประการอาทิ ต้องทรงงดเสวยพระโอสถหมากและพระโอสถมวน (หมาก พลู บุหรี่) และต้องให้ช่างมาขูดคราบพระทนต์ (ฟัน) ที่เกิดจากคราบหมากคราบปูนออกเพื่อให้พระทนต์ขาว ห้องพระบรรทมในเรือพระที่นั่งก็ไม่สะดวกสบาย อากาศร้อนเป็นที่สุด การเสวยก็ไม่เป็นไปตามที่ทรงพระประสงค์ ฯลฯ ซึ่งความยากลำบากเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาแรมเดือน ในช่วงที่ต้องใช้ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางเสด็จและในช่วงที่เสด็จรอนแรมในท้องทะเลนั่นเอง คำพยากรณ์ข้อที่ ๑ ของหลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอนก็เป็นจริง
เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นอยู่ในบริเวณใกล้กับ สะดือทะเล หรือ "ซากัสโซ ซี" อันบริเวณนั้นมักจะเกิดน้ำวนเป็นประจำ และเรือลำใดบังเอิญหลงเข้าไปในวังน้ำวนนั้น ก็มีหวังจมลงอับปางเป็นแน่แท้ และแล้วเรือพระที่นั่งมหาจักรี ก็พลัดเข้าไปในวังวนนั้นจนได้
กัปต้นคัมมิง (Commander Cumming) แห่ง ราชนาวีอังกฤษซึ่งไทยได้ขอยืมตัวมาเป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งเป็นการ ชั่วคราว ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มสติกำลังความสามารถ บังคับเรือให้สู้กับแรงหมุนและดูดอย่างเต็มที่ ด้วยหากเรือพระที่นั่งเข้าปากวังวนแล้วการรอดออกมานั้นหมดหนทาง
ใน ขณะที่วิกฤตินั้น ได้มีผู้เข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อระลึกถึงคำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมข้อแรกขึ้นมาได้ ก็ทรงจัดฉลองพระองค์ให้รัดกุม อาราธนาผ้ายันต์ของพระปลัดเอี่ยมติดมาด้วย เมื่อเสด็จมาถึงตอนหัวเรือ กัปตันกำลังแก้ไขสถานการณ์สุดกำลัง ทรงไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน แต่ เสด็จไปยืนอธิษฐานจิตถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราช และบารมีทศพิธราชธรรม และการเลิกทาสที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการช่วยเหลือพสกนิกรให้พ้นจากการเป็น ทาส จบลงด้วยพระปลัดเอี่ยมและผ้ายันต์ ทรงโบกผ้ายันต์นั้นไปมาด้วยความมั่นพระราชหฤทัย แล้วปาฎิหาริย์ก็ปรากฎ เหตุการณ์ก็แปรเปลี่ยน จู่ ๆ ก็เกิดลมมหาวาตะพัดมาในทิศทางที่อยู่ในแนวเดียวกับวังวน แรงลมทำให้เกิดกระแสคลื่นสะกัดกระแสวนของวังน้ำ ดันเรือพระที่นั่งให้พ้นจากแรงดูดสามารถตั้งเข็มเข้าสู่เส้นทางได้ ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนว่า "ฮูเรย์" ของกัปตันและลูกเรือ
ส่วน ผู้ติดตามเสด็จนั้นอ้าปากค้างทำอะไรไม่ถูก จนทรงพับผ้ายันต์เก็บแล้วนั่นแหละ จึงค่อย ๆร้องว่า สาธุ สาธุ คำพยากรณ์ข้อแรกเป็นที่ประจักษ์แก่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า "แม่นยำยิ่งนัก" คงเหลือแต่คำพยากรณ์ข้อที่สองซึ่งยังมาไม่ถึง แต่ก็ทรงเตรียมพระองค์รับสถานการณ์หากจะเกิดขึ้น
เส้นทางเสด็จพระราชดำเนินนั้น มีช่วงที่รอนแรมในมหาสมุทรอินเดียยาวนานถึง ๑๕ วัน ๑๕คืน คือเส้นทางระหว่างเมืองกอล (Galle) ประเทศศรีลังกา ไปยังเมืองเอเดน (Aden) เมือง ท่าปากทางเข้าสู่ทะเลแดงของประเทศเยเมน ช่วงนี้แหละที่น่าจะเป็นช่วงอันตรายที่สุดและลำบากที่สุด เหตุการณ์ตามคำพยากรณ์ข้อที่ ๑ ข้างต้น คงเกิดในช่วงเส้นทางนี้ คือระหว่างวันที่ ๒๓ เมษายน ถึง ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ (ขอย้ำอีกครั้ง เ%B style="color: black; "> เมื่อเสด็จมาถึงตอนหัวเรือ กัปตันกำลังแก้ไขสถานการณ์สุดกำลัง ทรงไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน แต่ เสด็จไปยืนอธิษฐานจิตถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราช และบารมีทศพิธราชธรรม และการเลิกทาสที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการช่วยเหลือพสกนิกรให้พE0อียด ณ ที่นี้ เมื่อพระองค์เสด็จถึงประเทศฝรั่งเศสประธานาธิบดี เฟลิกซ์ ฟอร์ ได้ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ แม้จะไม่เต็มใจนัก แต่แรกไม่คิดจะต้อนรับขับสู้อย่างดีหรอกครับแต่ สืบข่าวดูแล้ว ทุกประเทศที่พระองค์เสด็จผ่านมาก่อนหน้าที่จะเข้าฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นสวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรีย ฮังการี รัสเซีย เดนมาร์ก อังกฤษเบลเยี่ยม เยอรมัน ต่างก็ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ โดยเฉพาะรัสเซีย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสทรงยกย่องนับถือเสมือนหนึ่งพระอนุชาร่วมอุทรของพระองค์เอง มีการฉายภาพพระบรมฉายาลักษณ์คู่กัน เผยแพร่ไปทั่วยุโรป แล้วอย่างนี้ "เจ้าเศษฝรั่ง" จะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนได้อย่างไร



 ในช่วงที่ทรงพำนักในกรุงปารีส ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๑ กันยายน ถึง ๑๗ กันยายน ๒๔๔๐นี่เอง ที่ พระองค์ได้ประสบกับความแม่นยำในอนาคตังสญาณของพระปลัดเอี่ยม ข้อที่ ๒ หากไม่ได้เตรียมการ หรือเตรียมพระองค์ล่วงหน้าแล้ว มีหวังที่จะต้องเอาพระชนม์ชีพไปทิ้งเสียที่นี่กระมัง

โบราณว่าไว้ "หากไม่เข้าถ้ำเสือ แล้วจะได้ลูกเสืออย่างไร ? " เป็นบทท้าทายคำพิสูจน์ให้เห็นเด่นชัดตอนที่ล้นเกล้า ร.๕ พระปิยมหาราชเสด็จพระราชดำเนินเหยียบดินแดนของผู้ที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นศัตรูที่ร้ายกาจหวังจะครอบครองแผ่นดินไทยให้ได้ทั้งหมด แม้จะได้เป็นบางส่วนแล้วก็ตามก็หาเป็นที่พอใจไม่
ในช่วงที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรปครั้งแรก เมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) นั้น สยามประเทศของเรายังคงมีกรณีพิพาทต่อกันในเรื่อง "สิทธิสภาพนอกอาณาเขต" กล่าวคือเราต้องยอมให้อังกฤษและฝรั่งเศสตั้งศาลกงสุลของตนในดินแดนไทย สำหรับตัดสินคดีความต่าง ๆ เมื่อคนของเขา หรือคนใดก็ตามแม้แต่คนไทยหัวใสบางคนที่ยอมตนจดทะเบียนเป็นคนในบังคับ (คล้าย ๆ กับการโอนสัญชาติ แต่ไม่ใช่ เพราะยังไม่มีสิทธิที่จะพำนักในประเทศของเขา ) ซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อย เพราะ เวลาทำผิดแล้วไม่ต้องขึ้นศาลไทย ไม่ใช้กฎหมายไทยตัดสิน คนไทยเองก็เถอะ หากทำความผิดต่อคนของเขาแล้ว ต้องขึ้นศาลเขาและต้องยอมเขาทุกอย่าง (คุ้นๆไหมเอ่ย) แม้ศาลไทยจะตัดสินว่า "ถูก" หากเขาเห็นว่า "ผิด"คน ผู้นั้นก็ต้องถูกลงอาญา ซึ่งเป็นหนามยอกอกของคนไทยในสมัยนั้นมาก ต้องยอมให้คนต่างชาติต่างแดนมากดหัวเรา มาเอาเปรียบเรา เป็นการยั่วยุให้เราหมดความอดทน หากก่อสงคราม ก็มีหวังสูญเสียเอกราชของชาติแน่นอน
กรณี "พระยอดเมืองขวาง" แขวง เมืองคำเกิดคำมวน วีรบุรุษไทยที่รักผืนแผ่นดินไทย รักในองค์พระมหากษัตริย์ไทย ได้ดับความอหังการ์ของทหารฝรั่งเศสที่บุกรุกอธิปไตยของไทยที่เมืองขวาง จนต้องถูกจำคุกเสียหลายปี แม้ศาลไทยจะให้ปล่อยตัวเพราะเป็นการทำตามหน้าที่ แต่ศาลกงสุลของฝรั่งเศสในไทยตัดสินให้จำคุก ท่านก็ต้องติดคุกเพื่อชาติ เรื่องนี้คนไทยทั้งแผ่นดินในขณะนั้น แค้นแทบจะกระอักเลือดเลยครับ เกือบจะทำสงครามกันรอมร่ออยู่แล้ว ดีแต่องค์พระปิยม หาราชเจ้า ท่านทรงดำเนินวิเทโศบายด้านต่างประเทศด้วยการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศ ต่าง ๆ ในยุโรปเสียก่อน แล้วพระองค์ก็ทรงทำสำเร็จเสียด้วย ผู้ที่แค้นแทบจะกระอักเลือดแทน ก็คงจะเป็น "เจ้าเศษฝรั่ง" น่ะเองซึ่งมันก็รอจังหวะและโอกาสที่จะล้างแค้นเหมือนกัน มันคิดว่า
"หากไม่มีล้นเกล้า ฯ ร.๕ เสียพระองค์หนึ่ง สยามประเทศเราก็เปรียบเสมือนมังกรที่ไร้หัว"ที่ นี้คงมีโอกาสมากขึ้นหากจะฮุบประเทศชาติของเราไว้ในกำมือ และแล้วแผนการอันแยบยลก็อุบัติขึ้นเมื่อพระองค์เสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศส แม้เขาจะต้อนรับพระองค์อย่างสมพระเกียรติก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียงหน้าฉากเท่านั้น หลังฉากน่ะหรือ ? ได้ กำหนดขึ้นเพื่อต้อนรับพระองค์ไว้เรียบร้อยแล้ว ในสนามแข่งม้าชานกรุงปารีสนั่นเอง เมื่อพระองค์ได้รับคำทูลเชิญให้เสด็จทอดพระเนตรการแข่งม้านัดสำคัญนัดหนึ่ง ซึ่งมีขุนนาง ข้าราชการ พระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศสมาชมกันมาก พวกมันได้นำเอาม้าดุร้ายและพยศอย่างร้ายกาจมาถวายให้ทรงประทับ โดย ถือโอกาสขณะที่อยู่ท่ามกลางมหาสมาคม แม้รู้ว่าม้านั้นดุร้าย พระปิยมหราชเจ้าก็จะไม่ทรงหลีกหนี ด้วยขัตติยะมานะที่ทรงมีอยู่ในฐานะผู้นำประเทศ หากทรงพลาดพลั้งนั่นคือ "อุบัติเหตุ" ใครก็จะเอาผิดหรือต่อว่าเจ้าเศษฝรั่งไม่ได้
ม้าตัวนั้นเล่าลือกันว่า เคยโขกกัดผู้เลี้ยงดูและผู้หาญขึ้นไปขี่ตายมาแล้วหลายคน จะเอาไปไหนต้องมีคนจูงด้วยเชือกล่ามเท้าทั้งสี่ไว้ เพื่อป้องกันการพยศและขบกัดผู้คน นัยว่าเป็นม้าของเจ้าชายแห่งฝรั่งเศสพระองค์หนึ่ง เมื่อถูกนำเข้ามาในสนาม ทุกคนก็ส่งเสียงร้องด้วยความตกใจและหวาดกลัว ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสเริ่มวางหลุมพราง โดยกราบบังคมทูลว่า
"ไม่ทราบเกล้าว่าเมื่ออยู่ในสยามประเทศเคยทรงม้าหรือไม่ พระเจ้าข้า"
"แน่นอน ข้าพเจ้าเคยทรงอยู่เป็นประจำ เพราะในสยามประเทศก็มีม้าพันธุ์ดีอยู่มาก"
"โอ วิเศษ ขออัญเชิญพระองค์ทรงเสด็จขึ้นทรงม้า ตัวที่กำลังถูกจูงเข้ามานี้ให้ประจักษ์ชัดแก่สายตาของผู้คนในสนามม้านี้ด้วย เถิดพระเจ้าข้า"
ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสกราบทูลด้วยความกระหยิ่มใจ
"แน่นอน ข้าพเจ้า จะแสดงให้ท่านทั้งหลายได้ดูว่า กษัตริย์แห่งสยามประเทศนั้นไม่เคยหวาดหวั่นกลัวแม้แต่อัสดรที่พยศดุร้าย หรือผู้คุกคามที่มีอาวุธพร้อมสรรพ "
จบ พระราชดำรัสก็ทรงลุกขึ้นเปิดพระมาลาขึ้นรับการปรบมืออันกึกก้องสนามม้าแห่ง นั้น แล้วเสด็จพระราชดำเนินลงจากอัฒจันทร์ สู่ลู่ด้านล่างซึ่งขณะนั้นม้ายืนส่งเสียงร้องและเอากีบเท้าตะกุยจนหญ้า ขาดกระจุยกระจาย
คำ พยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมยังกึกก้องอยู่ในพระกรรณ ทรงก้มพระวรกายลงใช้พระหัตถ์ขวารวบยอดหญ้าแล้วดึงขึ้นมากำมือหนึ่ง ทรงตั้งจิตอธิษฐานถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราชและพระปลัดเอี่ยม เจริญภาวนาพระคาถาอิติปิโสเรือนเตี้ยที่พระปลัดเอี่ยมถวายสามจบ ทรงเป่าลมจากพระโอษฐ์ลงไปบนกำหญ้านั้น แล้วแผ่เมตตาซ้ำ ยื่นส่งไปที่ปากม้า เจ้าสัตว์สี่เท้าผู้ดุร้ายสะบัดแผงคอส่งเสียงดังลั่นก่อนจะอ้าปากงับเอาหญ้า ในพระหัตถ์ไปเคี้ยวกินแล้วก็กลืนลงไป
ผู้ แทนรัฐบาลฝรั่งเศสโบกผ้าเช็ดหน้า เป็นสัญญาณให้แก้เชือกที่ตรึงเท้าม้าออกไปพ้นทั้งสี่เท้าบัดนี้เจ้าสัตว์ ร้ายพ้นจากพันธนาการ และบรรดาผู้ที่จูงมันเข้ามาก็ผละหนี เพราะ เกรงกลัวในความดุร้ายของมัน พระปิยะมหาราชเจ้าทรงทอดสายพระเนตรจับจ้องอยู่ที่นัยน์ตาของม้านั้น ก็เห็นว่ามันมีแววตาอันเป็นปกติ มิได้เหลือกโปนดุร้าย ทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปตบที่ขาหน้าของมันสามครั้ง เจ้าม้านั้นก็ก้มหัวลงมาดมที่พระกรไม่แสดงอาการตื่น หญ้าเสกสำริดผลตามประสงค์
อาชา ที่ดุร้ายกลับเชื่องลงเหมือนม้าลากรถ เจ้าชีวิตแห่งสยามประเทศยกพระบาทขึ้นเหยียบโกลนข้างหนึ่งแล้วหยัดพระวรกาย ขึ้นประทับบนอานม้าอย่างสง่างามไร้อาการต่อต้านของม้าที่เคยดุร้ายเสียงคนบน อัฒจันทร์ส่งเสียงตะโกนขึ้นเป็นเสียงเดียวกันว่า "บราโวส บราโวส" อันหมายถึงว่า "วิเศษที่สุด เก่งที่สุด ยอดที่สุด" (อ่านถึงตรงนี้แล้วก็น้ำตาซึม) ทรงกระตุ้นม้าให้ออกเดินเหยาะย่างไปโดยรอบสนาม ผ่านอัฒจันทร์ที่มีผู้คนคอยชม เปิด พระมาลารับเสียงตะโกนเฉลิมพระเกียรติบางคนก็โยนหมวก โดยมีดอกกุหลาบลงมาเกลื่อนสนามตลอดระยะทางที่ทรงเหยาะย่างม้าผ่านไปจนครบรอบ จึงเสด็จลงจากหลังม้ากลับขึ้นไปประทับบนพระที่นั่งตามเดิม
บรรดา พี่เลี้ยงม้าก็เข้ามาจูงม้านั้นออกไปจากสนาม คำพยากรณ์ข้อที่สองและคาถาที่พระปลัดเอี่ยมแห่งวัดโคนอนถวาย ได้สำริดผลประจักษ์แก่พระราชหฤทัย ทรงระลึกถึงพระปลัดเอี่ยมว่า เป็นผู้ที่จงรักภักดีโดยแท้จริง และได้ช่วยให้ทรงผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายมาถึงสองครั้งสองครา และทั้งหมดนี้คือจุดเล็ก ๆในเกร็ดพระราชประวัติ เป็นปฐมเหตุแห่งพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระราชวังดุสิตที่เล่าขานกันต่อมาช้านาน และยังคงกึกก้องในโสตประสาทของปวงชนชาวไทยต่อไปชั่วกาลปาวสาน
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า
ความหมายมาจาก....พุทธภูมิธรรมประการคือ
  • อิติปิโส วิเสเสอิ (ความกล้าหาญบำเพ็ยความดี) อุสาหะ
  • อิเสเสพุทธะนาเมอิ (มีปัญญา รู้เหตุ รู้ผล ดี-ชั่ว)อุมมัคคะ
  • อิเมนาพุทธะตังโสอิ (มีใจไม่ท้อถอยมุ่งมั่นกระทำความดี)อวัฏฐานะ
  • อิโสตังพุทธะปิติอิ (เสียสละกระทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์)หัตถจริยา
วิเคราะห์....พิจารณา แล้ว นอกจากสวดให้ทิพยจักษุแจ่มใส ดังสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานหลวงพ่อฤษี อานุภาพพรรณาไว้ว่า ภาวนาทุกวันกันนรก เสกน้ำล้างหน้ากันโรค แผ่เมตตาสรรพสัตว์ศตรูแพ้ภัยไปเอง ภาวนา 18 คาบสมปรารถนา นะจังงัง คาบ คาบมหาละรวย เสกสีผึ้งเสียงเพราะจับใจ เสกใบลานกันอาวุธเสก มงกุฏสวมเกล้าเป็นมงคล เนื่องจากเป็นบทสวดที่ยาว จึงไม่นิยมนำมาบริกรรมเป็นกรรมฐาน หากถอดเป็นหัวใจ4-5คำจึงจะนำมาบริกรรมเช่นสัมปจิตฉามิได้


เคล็ดในการใช้คาถา " มงกุฎพระพุทธเจ้า "

คาถามีอยู่ว่า . . .
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิอิโสตัง พุทธปิติอิ "

ว่า 3 จบ (หรือ9 จบ)
สำหรับอานิสงค์ของคาถานี้เป็น คาถาครอบจักรวาล เรานำไปใช้ในทางกุศลได้
ทุก ๆ เรื่อง โดยมีประวัติ ของการใช้คาถานี้มายาวนาน ส่วนใหญ่ในราชสำนัก แม้ พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 ท่านก็ทรงพระคาถานี้ดังกล่าวข้างต้น
คราวนี้เรามาดูว่าเคล็ดในการว่าคาถาบทนี้กัน
หลักในการว่าคาถาให้มีความศักดิ์สิทธิ์นั้น มีพื้นฐานจาก จิต " เป็นสำคัญ หากจิตมีสมาธิสูง ตั้งมั่นคาถาก็ยิ่งทรงความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นระหว่างที่ว่าคาถาให้ จับลมหายใจสบายพร้อม ๆ กับ
การภาวนาคาถาบทนี้ เป็นขั้นที่ 1 ระดับสูงกว่านี้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านใช้คาถาบทนี้
โดยมีนิมิต กำกับคาถา โดยทรงพุทธนิมิต ไว้ดังนี้ โดยตั้งกำลังใจว่าเรา ขอกราบอาธารณาบารมี
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเหนือเศียรเกล้าของข้าพเจ้า เพื่อปกปักรักษาคุ้มครองข้าพเจ้าด้วยเทอญ

หรือ
ขึ้นต้นด้วย พระคาถา ควรตั้ง นะโม3 ก่อนทุกครั้งไปแล้วสวดว่าดังนี้
"อิ ติ ปิ โส วิ เส เส อิ 
อิ เส เส พุท ธะ นา เม อิ 
อิ เม นา พุท ธะ ตัง โส อิ
อิ โส ตัง พุท ธะ ปิ ติ อิ
 " 3 หรือ 9 จบ แล้วอธิฐานตามต้องการ


คาถามงกุฏพระพุทธเจ้าคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า เป็นพ่อแม่แห่งคาถา เป็นคาถาสำคัญอันผู้ศึกษาสรรพวิชาต้องเรียนรู้สำหรับครอบคาถาทั้งปวง คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า ใช้ภาวนาเสกล้างหน้าทุกวันตอนเช้า จะเสริมสง่าราศี เสริมอำนาจบารมี ป้องกันผองภัยแคล้วคลาดศาสตราอาวุธ ป้องกันภูติพราย ภยันตรายทั้งปวงทั้งหลายไม่มาแผ้วพานใช้ได้สารพัดตามแต่จะอธิฐาน


จากเกร็ดความรู้ข้างต้น ทำให้ข้าพเจ้า รู้สึกซาบซึ้งในพระคุณอันใหญ่หลวงดังนี้

1.พระ บารมีแห่งพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ และหลวงปู่เอี่ยม ที่มีมหาอำนาจและบารมี คอยปกปักรักษาพระพุทธเจ้าหลวงแห่งดินแดนสยามประเทศ
2. พระมหากรุณาธิคุณ และพระปัญญาของพระพุทธเจ้าหลวงแห่งปวงชนชาวสยาม(ร.5)
ที่ทรงเสียสละเพื่อปกป้องสยามประเทศสุดพระกำลัง ด้วยพระบารมีแห่งพระธรรมราชา
3. พระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวข้างต้น

ท่านผู้อ่าน เห็นด้วยไหมเจ้าคะ ?

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง