Written by Administrator |
โดย ในการสัมมนานั้นมีวิทยากรคือ อาจารย์วีรพันธุ์ มาไลยพันธุ์ อดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งบรรยายเรื่อง "หลักฐานสำคัญทางโบราณคดี กรณีปราสาทพระวิหารและชายแดนบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก" พลเรือเอกถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ บรรยายเรื่อง "ประเด็นปัญหาพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา" และในช่วงบ่ายมีงานเสวนาเรื่อง "จากศาลโลกถึงมรดกโลก ปราสาทพระวิหารกับปัญหาพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา" โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระ ด้านคดีระหว่างประเทศ และนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการอาวุโส ฝ่ายความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเข่าร่วมในการเสวนา TAF จึงขอนำข้อมูลบางส่วนที่น่าสนใจมานำเสนอ ณ ที่นี้ การสัมมนาเริ่มเต้นด้วยการบรรยายเรื่อง "หลักฐานสำคัญทางโบราณคดี กรณีปราสาทพระวิหารและชายแดนบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก" ของอาจารย์วีรพันธุ์ มาไลยพันธุ์ อาจารย์วีรพันธุ์ได้แสดงความเห็นว่า ในการต่อสู้ในศาลโลกในปี 2505 นั้น ประเทศไทยยังไม่ได้ใช้หลักฐานทางโบราณคดีและธรณีวิทยาในการต่อสู้อย่างเต็ม ศักยภาพ ทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานอยู่มากมาย เช่น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ขวานหินของคนโบราณ ไหที่ปั้นขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 18 โดยเฉพาะหลักฐานทางภาษาศาสตร์ซึ่งมีหลักศิลาจารึกหรือการจารึกตัวอักษรมาก มาย เช่นการอ่านอักษรขอมโบราณซึ่งมีสลักเอาไว้ในภาษาสันสกฤตได้ความว่า ปราสาทพระวิหารน่าจะมีความสัมพันธ์กับปราสาทโดนตวลที่อยู่ใกล้ โดยในปีพ.ศ. 1581 มีพราหมณ์ชื่อศรีสุกรรมากำสเตง ซึ่งได้รับมอบหมายจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ให้มาดูแลปราสาทพระวิหาร ปราสาทโดนตวล และปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ในเขตอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และจารึกที่ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ก็บอกอายุปราสาทว่าอยู่ในปี พ.ศ. 1585 แสดงว่ามีการใช้สอยพื้นที่ร่วมกันมาอย่างน้อย 4 ปีหรือมากกว่านั้น ซึ่งข้อความในจารึกยังบอกด้วยว่า ผู้ดูแลปราสาทพระวิหารในตอนนั้นอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีเทวสถานอยู่ในหมู่ บ้านบริเวณพื้นที่ราบหน้าเขาด้านล่างลงไป ซึ่งอธิบายได้ว่า ปราสาทพระวิหารในสมัยก่อนถูกใช้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพราหมณ์ และเป็นเขตที่ไม่มีนักบวชอยู่ในลักษณะเดียวกับการใช้วัดพระแก้วของไทย ซึ่งพระสงฆ์ต้องไปจำพรรษาที่วัดโพธิ์ เช่นเดียวกับปราสาทพระวิหารที่นักบวชน่าจะไปพำนักอยู่บริเวณโดยรอบที่เป็น เทวสถานขนาดเล็กที่สร้างร่วมสมัยกับปราสาทพระวิหาร แสดงให้เห็นว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตเทวสถานเดียวกับเทวสถานที่ตั้งอยู่ใน ประเทศไทย นอกจากนั้น อาจารย์วีรพันธุ์ยังได้ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่เหตุการณ์ ร.ศ.112 การเสียดินแดนเพื่อแลกกับจังหวัดจันทบุรีและตราด การทำสนธิสัญญาระหว่างสยามและฝรั่งเศสเพื่อปักปันเขตแดน จนถึงการสู้คดีในศาลโลกและการดำเนินการหลังคำตัดสินของศาลโลกที่ให้ปราสาท พระวิหารเป็นของกัมพูชา โดยกล่าวว่าแผนที่ 1:200,000 ที่กัมพูชายึดถือนั้นมีความหยาบ และเป็นการจัดทำแต่เพียงฝ่ายเดียวของฝรั่งเศสโดยสยามยังไมได้ร่วมลงนามด้วย และยังลากเส้นเขตแดนออกนอกเส้นแนวสันปันน้ำตามเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาระหว่าง สยามและฝรั่งเศส แต่ไทยไม่ได้ทักท้วงถึงข้อผิดพลาดนั้นอย่างชัดเจน ซึ่งกัมพูชาได้นำไปประกอบในการยื่นต่อศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหาร จึงทำให้ไทยไม่ควรยอมรับในแผนที่ 1:200,000 เพราะอาจจะทำให้ไทยเสียดินแดนรวมแล้วถึง 1.5 ล้านไร่ ทั้งนี้ อาจารย์วีรพันธุ์ยังตั้งข้อสังเกตุว่า กัมพูชาได้ให้ความสำคัญกับการตั้งคณะกรรมมาธิการชายแดนร่วมไทย-กัมพูชา โดยได้จัดผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการถึคง 24 คน แต่สำหรับฝ่ายไทยกลับลดจำนวนลงเหลือ 16 คน และทั้งหมดนั้นไม่มีนักโบราณคดี นักธรณีวิทยา นักประวัติศาสตร์ และนักทำแผนที่ของฝ่ายพลเรือนเข้าร่วมเลย จึงทำให้ขาดมิติในการเจรจาไปเป็นอย่างมาก ต่อมา พลเรือเอกถนอม เจริญลาภ ได้บรรยายในหัวข้อ "ประเด็นปัญหาพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา" โดยเน้นไปที่พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาในอ่าวไทย ซึ่งพลเรือเอกถนอมได้กล่าวว่า ในสมัยนั้นกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้พบกับเจ้าสีหนุในระหว่างที่กรม หมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นประธานในการร่าง United Nation Convention on The Law of The Sea ของสหประชาชาติ โดยในตอนนั้นได้มีการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการว่า ในระหว่างที่ยังไม่ทราบว่าปราสาทพระวิหารเป็นของใคร ก็ควรที่จะมีการใช้ประโยชน์บนตัวปราสาทร่วมกันก่อน โดยละเรื่องอธิปไตยเอาไว้เจรจากันทีหลัง ซึ่งเจ้าสีหนุเห็นด้วย และได้สั่งการให้รัฐบาลกัมพูชาประสานไปยังสถานฑูตไทยในกัมพูชาเพื่อดำเนิน การ แต่เกิดการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์ในไทยขึ้นเสียก่อน ทำให้กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ไม่ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศและทำให้เรื่องขาดการสานต่อ โดยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ซึ่งทำรัฐประหารสำเร็จนั้นเห็นว่าปราสาทพระวิหาร เป็นของไทย 100% จึงไม่จำเป็นต้องมีการจัดการร่วม ซึ่งทำลายบรรยากาศในการเจรจาไป ประกอบกับเมื่อสถานการณ์เริ่มตึงเครียดขึ้น ไทยได้มีการส่งกำลังทหารขึ้นไปประจำยังปราสาทพระวิหาร จึงทำให้การจัดการร่วมล้มเหลวไป และเรื่องก็ขึ้นสู่ศาลโลกในที่สุด ทั้ง นี้ พลเรือเอกถนอมได้กล่าวว่า เรื่องการเจรจาเขตแดนนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ไม่มีประเทศใดสามารถยอมกันได้ ยิ่งถ้าไม่มีการสร้างบรรยากาศในการเจรจาที่ดี ก็ยิ่งไม่สามารถตกลงกันได้ ทั้งนี้ มีคำพูดอยู่ว่า ถ้ายังเจรจากันได้ก็ควรเจรจากัน เพราะถ้าเราเจรจา ชัยชนะก็ยังอยู่ในมือของเรา แต่ถ้าตราบใดให้ประเทศหรือองค์กรที่สามมาเป็นผู้ตัดสินแล้ว การชนะหรือแพ้ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคู่เจรจาอีกต่อไป ซึ่งถือเป็นความเสี่ยง ดังนั้นในพื้นที่ทับซ้อนในทะเลระหว่างสองประเทศนั้น ไทยและกัมพูชาควรสร้างบรรยากาศในการเจรจาที่ดีระหว่างกัน โดยอาจจะใช้แนวทางของการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมหรือ JDA ระหว่างไทยและมาเลเซียที่ตนก็มีส่วนร่วมในการเจรจา ซึ่ง JDA นั้นเน้นการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ โดยละเรื่องเขตแดนไว้เจรจากันในภายหลัง สำหรับ เส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะในทะเลซึ่งมีพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชานั้น พลเรือเอกถนอมได้กล่าวว่า เส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะนั้นเป็นสิทธิที่รัฐชายฝั่งจะสามารถประกาศได้ โดยสามารถประกาศได้เต็มที่ตามหลักที่กฏหมายใระหว่างประเทศให้มา ไม่สามารถพูดได้ว่าเส้นของประเทศใดถูกต้องตามหลักกฏหมายมากกว่ากัน เพราะทุกคนลากอย่างถูกต้องทั้งสิ้น แต่การประกาศนั้นจะมีผลผูกพันเฉพาะประเทศของตนเท่านั้น ไม่มีผลพูกพันกับประเทศอื่นถ้ายังไม่ได้ตกลงกัน ซึ่งเมื่อมีพื้นที่ทับซ้อน รัฐชายฝั่งที่เกี่ยวข้องจะต้องทำการเจรจากับเพื่อตกลงกำหนดเขตแดนกัน ซึ่งเรื่องนี้กฏหมายระหว่างประเทศกำหนดว่าเป็นเรื่องระหว่างสองประเทศต้องหา ข้อสรุปร่วมกันเอง สุดท้าย พลเรือเอกถนอมยังได้ยืนยันว่า อธิปไตยของเกาะกูดนั้นเป็นของไทย และกัมพูชาก็ยอมรับในเรื่องนี้เสมอมา สังเกตุจากแผนที่ที่กัมพูชาใช้ก็จะวงเล็บว่าเกาะกูดเป็นของสยาม และเส้นเขตแดนที่กัมพูชาลากนั้น แม้ว่าจะดูเหมือนทับเกาะกูดไปครึ่งเกาะ แต่ความจริงแล้วกัมพูชาลากอ้อมเกาะไปตามชายฝั่งของเกาะ ซึ่งสุดท้ายแล้วเส้นนี้ก็ยังไม่ใช่เส้นเขตแดนที่แท้จริง ไทยและกัมพูชาต้องทำการเจรจากันเพื่อกำหนดเส้นเขตแดนก่อน สำหรับใน ช่วงบ่ายในการเสวนาเรื่อง "จากศาลโลกถึงมรดกโลก ปราสาทพระวิหารกับปัญหาพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา" นั้น ศาสตราจารย์ ดร.ชุมพรได้กล่าวว่า ตอนนี้ต้องยอมรับแล้วว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลก และเป็นของกัมพูชาทั้งใต้ดิน บนดิน และในอากาศ ตามคำนิยามของคำว่าอธิปไตย ซึ่งไทยก็ยอมรับมาโดยตลอด ทั้งนี้ ตนไม่เห็นด้วยที่ไทยถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก เนื่องจากการอยู่ในภาคีมรดกโลกนั้นทำให้ไทยสามารถต่อสู้และชี้แจงได้ในเวที ระหว่างประเทศ แต่ถ้าไทยถอนตัวแล้วมาต่อสู้กันเองก็จะไม่มีประโยชน์กับไทย กัมพูชาก็จะสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่มีใครคัดค้าน นอกจากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ชุมพรยังวิเคราะห์ถึงการออกมาตราการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกว่า มาตราการนี้เป็นมาตราการชั่วคราวเท่านั้น โดยเฉพาะเรื่องการถอนทหาร ไม่ได้มีผลกับการตัดสิน และเขตถอนทหารที่ศาลร่างมาให้ก็เป็นเพียงเขตคร่าว ๆ เท่านั้น ไมได้ต้องการให้ไทยและกัมพูชาดำเนินการตามนั้นทั้งหมด แต่ต้องการให้ไทยและกัมพูชาทำการเจรจากันเพื่อถอนทหารออกจากพื้นที่ภายในเขต นั้น และจะถอนทหารอย่างไรก็เป็นเรื่องของทั้งสองฝ่ายต้องทำการเจรจา แต่สำหรับมาตราการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ส่วนตัวติดใจกับมาตราการในข้อสองมากที่สุดที่ให้ไทยไม่ขัดขวางการขนส่งสิ่ง ของให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช้ทหารของกัมพูชาในปราสาทพระวิหาร ซึ่งกัมพูชาจะต้องใช้ถนนที่ตัดใหม่ผ่านพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ในการส่งสิ่งของแน่นอน ทั้งนี้ ตามหลักแล้ว การปฏิบัติใด ๆ นั้นไทยสามารถอ้างได้ว่าไทยยอมปฏิบัติตามถ้าการกระทำเหล่านั้นไม่ส่งผลกระทบ ต่อไทย ซึ่งทางการไทยควรจะมีการดำเนินการที่ทำให้แน่ใจว่า การส่งสิ่งของจะไม่ใช่เป็นการส่งกำลังบำรุงทางทหาร เช่น ควรจะมีการตรวจสอบว่าสิ่งที่ขนเข้าไปในปราสาทนั้นมีอัตรายต่อไทยหรือไม่ ถ้ามีไทยก็มีสิทธิที่จะไม่อนุญาตได้ และถือเป็นการยืนยันอธิปไตของไทยอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งที่ผ่านมาไทยดำเนินการอ่อนเกินไปในการยืนยันอธิปไตยของไทยในพื้นที่ทับ ซ้อน นอกจากนั้น คณะทำงานฝ่ายไทยยังใช้ MoU 2543 ในการต่อสู้ เพราะมันแสดงให้เห็นว่ากัมพูชากับไทยมีความต้องการที่จะเจรจาปักปันเขตแดน กัน และหมายความว่ากัมพูชายอมรับว่าแผนที่ 1:200000 นั้นยังมีข้อผิดพลาดและไม่ถูกต้องจึงต้องการปักปันเขตแดนใหม่ เพราะถ้าแผนที่ถูกต้องก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมาทำ MoU ร่วมกับไทย ศาสตราจารย์ ดร.ชุมพรยังกล่าวอีกว่า ในการออกมาตราการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกนั้น คณะทำงานฝ่ายไทยต่อสู้ได้ดีมาก ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว แต่แม้ว่าจะดีขนาดไหนก็ยังไม่ได้หมายความว่าไทยจะชนะแน่นอน เพราะที่ผ่านมาชัดเจนว่าการตัดสินของศาลโลกนั้นคาดการณ์ไม่ได้เลย ทั้งนี้ในการออกมาตราการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ค่อนข้างชัดเจนว่า ศาลโลกปฏิเสธทุกคำร้องของไทย แต่ก็ไม่ได้ออกมาตราการตามคำร้องของกัมพูชาเช่นกัน โดยศาลโลกเลือกที่จะออกมาตราการด้วยตนเองตามที่ศาลโลกเห็นสมควร ซึ่งมาตราการคุ้มครองชั่วคราวนี้เป็นเพียงมาตราการชั่วคราวเท่านั้น การตัดสินว่าจะตีความหรือไม่นั้นต้องรอการดำเนินการต่อไป โดยกัมพูชานั้นดูเหมือนจะถือไพ่เหนือกว่าเพราะศาลโลกยอมรับแผนที่ 1:200000 ในการตัดสินครั้งแรกไปแล้ว แม้ว่าจะเป็นการยอมรับเพียงแค่การประกอบคำตัดสินเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าศาลโลกจะรับรองว่าเขตแดนจะต้องเป็นไปตามในแผนที่ 1:200000 เนื่องจากศาลโลกไม่มีอำนาจ แต่ไทยก็ยังถือไผ่เหนือกว่าในอีกด้านหนึ่งเพราะกัมพูชาไม่เคยท้วงติงเส้นเขต แดนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นหลังการตัดสินของศาลโลกในปี 2505 และเวลาก็ล่วงเลยมานานแล้ว ซึ่งทำให้กัมพูชาอาจโดนกรณีกฏหมายปิดปากได้เช่นกัน จากนั้นนายเสริม สุขบรรยายว่า เชื่อว่าสถานการณ์การสู้รบทั้งหมดนี้เป็นเจตนาที่กัมพูชาจะต้องการสร้างความ วุ่นวายเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลโลก และเล่าเหตุการณ์ในช่วงที่มีการประชมภาคีอนุสัญญามรดกโลก ซึ่งจุดยืนของไทยคือไม่ต้องการให้นำแผนจัดการเข้าหารือ แต่ทางที่ประชุมของ UNSCO นั้นเห็นว่าควรทำการบูรณะปราสาท จึงทำการเสนอญัตติเข้าไป ซึ่งผู้แทนไทยก็พอยอมรับได้ แต่ในความเป็นจริงกลับมีการเพิ่มข้อความให้มีการรับรองแผนจัดการปราสาทพระ วิหารด้วย โดยภาคีสมาชิกทั้ง 21 ประเทศต่างสนับสนุน ทำให้ไทยไม่มีทางเลือกนอกจากต้องแสดงเจตนาที่จะถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญา มรดกโลกและทำการ Walk Out ออกจากที่ประชุม ทาง UNSCO เลยดึงแผนจัดการออกและเดินหน้าแผนบูรณะต่อไป แต่ส่งหลังสือมาชี้แจงกับไทยว่าไม่มีการพิจารณาแผนการจัดการซึ่งไม่เป็นความ จริง เพราะถ้าไทยไม่ Walk Out ก็คงมีการอนุมัติแผนการจัดการไปแล้ว แต่ในท้ายที่สุดก็ยังไม่มีการอนุมัติแผนการจัดการนั้น ทั้งนี้ นายเสริมสุขให้ข้อคิดว่า การทำงาของฝ่ายไทยนั้นไม่มีเอกภาพเท่าที่ควร ยังมีความเห็นที่ต่างกันอยู่ในคณะทำงาน ซึ่งควรจะต้องมีการปรับปรุงการทำงานตรงนี้ และเห็นด้วยว่าฝ่ายความมั่นคงของไทยอ่อนเกินไป โดยไม่พยายามมากพอในการแสดงอธิปไตยของไทยให้ชัดเจน สุดท้าย นายวีรพัฒน์ นักวิชาการอิสระได้วิเคราะห์ว่า แม้ว่านายสุวิทย์ คุณกิตติจะแสดงเจตนาในการถอนตัวจากภาคีมรดกโลกแล้ว แต่จากเอกสารต่าง ๆ ยังเชื่อว่า ไทยยังมีสถานะเป็นภาคีมรดกโลกอยู่เช่นเดิม ซึ่งไทยควรจะต้องดำเนินการคัดค้านแผนการของกัมพูชาต่อไป พร้อมกันนั้นยังได้วิเคราะห์ถึงอนาคตของการตีความคำตัดสินของศาลโลก โดยชี้ว่ามีหลายสัญญาณที่ทำให้เชื่อว่าไทยน่าจะยังได้เปรียบอยู่ในต่อสู้คดี ในการตีความนี้ เช่นกัมพูชาพยายามจะตั้งให้ศาลพิจารณาแผนที่ 1:200000 เป็นหลัก แต่ศาลกลับเลือกพิจารณาพื้นที่ข้างเคียงหรือ Vinicity ของปราสาทมากกว่า ซึ่งถือเป็นการกลับคำร้องของกัมพูชา โดยผู้สนใจสามารถ Download เอกสารการบรรยายได้จาก https://sites.google.com/site/verapat/temple ทั้ง นี้ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนจากการสัมมนาเท่านั้น ผู้สนใจเนื้อหาเกี่ยวกับการสัมมนาฉบับเต็ม สามารถติดต่อไปได้ที่คณะกรรมาธิการของวุฒิสภาทั้ง 7 คณะครับ | เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา, คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา, คณะกรรมาธิการทหาร วุฒิสภา, คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา, คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา, คณะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา, และคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย และกัมพูชาได้ร่วมจัดงานสัมมนาเรื่อง "มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา" เพื่อเป็นเวทีนำเสนอข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องใน ประเด็นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทยกัมพูชา และยังเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นนี้ด้วย
วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลจากการสัมมนา "มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา" ของวุฒิสภา เพื่อความเข้าใจสถานการณ์ไทย-กัมพูชา
ปิโตรเลียมเขมรเอาใจปู-เหลี่ยม เผยจรกาสวมตอดอดเจรจาลับ
ฟิฟทีนมูฟ — ปิโตรเลียมเขมรเอาใจยิ่งลักษณ์-ทักษิณ เร่งเจรจาปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่ตนลากมั่ว หวังเปิดทางสำรวจน้ำมันแบ่งผลประโยชน์ ออกแถลงการณ์คายเรื่องลับ สุเทพดอดเจรจาลับ ซก อาน หลายครั้งทั้งที่ฮ่องกงและคุนหมิง ต้องการเจรจาเรื่องให้จบภายในรัฐบาลมาร์ค เขมรอ้างคายเรื่องลับเพื่อปกป้องตนเองและทักษิณจากพวก ปชป.
องค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ภายใต้การกำกับของนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ออกแถลงการณ์ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔ โดยกล่าวว่า องค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ภายใต้การแนะนำของรัฐบาลกัมพูชามีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะแสวงหาหนทางสลาย ความขัดแย้งให้มีความเท่าเทียมและโปร่งใส บนพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเล รัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลของพระราชอาณาจักรไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ (MOU) เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เกี่ยวกับพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งบันทึกความเข้าใจฯ นี้ ได้แจกแจงเกี่ยวกับพื้นที่ที่ต้องกำหนดเขตแดน (Area to be Delimited) และพื้นที่ที่ต้องพัฒนาร่วมกัน (Joint Development Area)
แถลงการณ์กล่าวต่อว่า บันทึกความเข้าใจฯ ๒๕๔๔ ไม่ใช่เป็นเพียงความเห็นชอบบนกระดาษเท่านั้น หากแต่ประเทศทั้งสองได้ใช้ทรัพยากรและความเอาใจใส่อย่างสูงในการปฏิบัติตาม บันทึกความเข้าใจฯ นี้ โดยตั้งคณะกรรมการเทคนิคร่วม อนุกรรมการเทคนิคร่วม และคณะทำงาน ๒ คณะ เกี่ยวข้องกับการกำหนดเขตแดนและการพัฒนาร่วม
การหารือและเจรจาระหว่างประเทศทั้งสองมีความก้าวหน้าอย่างมากในระหว่าง พ.ศ.๒๕๔๔ – ๒๕๕๐ ประเทศทั้งสองได้มีข้อเสนอที่แตกต่างกันสองแบบสำหรับพื้นที่พัฒนาร่วม (JDA) กล่าวคือ ข้อเสนอสลายข้อติดขัด (Break-through Proposal) (แบ่งเท่ากันตลอดทั้งพื้นที่) เสนอโดยฝ่ายกัมพูชา และข้อเสนอแบ่งพื้นที่พัฒนาร่วมออกเป็น ๓ เขต (Three-zone Proposal) ที่เสนอโดยฝ่ายไทย
แถลงการณ์ขององค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔
ในระยะสามปีที่ผ่านมานี้ แม้ไม่ใช่การประชุมคณะกรรมการเทคนิคร่วม (JTC) อย่างเป็นทางการก็ตาม รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ต่อสัมพันธ์กับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อเจรจาปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเลหลายครั้ง รวมทั้งมีการประชุมระหว่างสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรี ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา และอดีตรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ และอดีตรัฐมนตรีกลาโหม ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ที่ จ.กณดาล ประเทศกัมพูชา และการพบกันอย่างลับ ๆ ระหว่างนายสุเทพ และรองนายกรัฐมนตรี ซก อาน ที่ฮ่องกง เมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ และที่คุนหมิง วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ในระหว่างการพบกันนั้น นายสุเทพได้แจ้งความต้องการอย่างสูงที่จะแก้ปัญหานี้ให้จบในสมัยของรัฐบาล อภิสิทธิ์ การเจรจาลับเกิดขึ้นตามการร้องขอของอดีตรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ยืนยันว่าได้รับการแต่งตั้งจากอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นว่าเหตุใดต้องมีการเจรจาเป็นการลับ? ในช่วงของรัฐบาลก่อน ๆ ทุกการเจรจาทำขึ้นอย่างเปิดเผย แต่ถูกกล่าวหาจากพรรคประชาธิปัตย์ว่ามีผลประโยชน์ซ่อนเร้น กัมพูชามีความเคลือบแคลงอย่างมากว่า เหตุอะไรรัฐบาลอภิสิทธิ์มีความจำเป็นต้องทำการเจรจาลับ? ประชาชนไทยหรือสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้ทราบเกี่ยวกับการเจรจานี้ด้วยหรือ ไม่? ในขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านปัจจุบัน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ชี้แจงไปจนถึงกล่าวหา ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร ที่เจรจาแบบเปิดเผยกับกัมพูชา ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนแอบแฝงกับกัมพูชา และขัดขวางการดำเนินการเจรจาระหว่างรัฐบาลใหม่ของไทย ในการเจรจากับกัมพูชา กัมพูชามีความจำเป็นต้องแสดงเรื่องปกปิดอำพรางนี้ เพื่อการปกป้องตนเองของกัมพูชา และ ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร ต่อต้านการบิดเบือนจากพวกประชาธิปัตย์ในประเทศไทย
รัฐบาลใหม่ นำโดยนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้มีการพบหารือหรือยกข้อเสนอใดกับรัฐบาลกัมพูชา ในการแก้ปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนแต่อย่างใด อย่าว่าแต่จะมีข้อเสนอใดเพื่อแก้ปัญหาขัดแย้งที่เป็นการแลกเปลี่ยนผล ประโยชน์ส่วนตัว ดังที่ได้มีการกล่าวหาโดยนางอานิก อัมระนันทน์ สมาชิกสภาฯ ไทย ของพรรคประชาธิปัตย์ ในการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๓-๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
แถลงการณ์กล่าวในตอนท้ายว่า รัฐบาลกัมพูชายินดีต้อนรับการเริ่มต้นเจรจากันอีกครั้งอย่างเปิดเผยและเป็น ทางการในปัญหานี้ และต่อเนื่องการแก้ปัญหาการงานนี้ให้ได้โดยเร็วเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเป็นผลประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนและประเทศทั้งสอง
ไทยเตรียมขายไฟฟ้าให้เขมร เดินสายผ่านช่องสะงำ
เรื่องขายไฟฟ้าให้เขมร เช้า บิ๊กน้ำมันเยิ้มบินด่วนประชุมผู ้ว่าฯ ศรีสะเกษ อนุมัติขายไฟ
ตกบ่ายเจ้าหน้าที่สองประเทศประช ุมทำความตกลง
ฟิฟทีนมูฟ — สัมพันธ์ดี ไทย-เขมร หารือเชื่อมระบบไฟฟ้าจาก จ.ศรีสะเกษ เข้าไปยังเขมร พื้นที่ จ.อุดรมีชัย ผ่านด่านช่องสะงำ ผู้ว่า จ.อุดรมีชัย และ ออกญา ลี ยงพัต ราชาแห่งเกาะกงเจ้าของ บ.ลียงพัต ผู้ดำเนินการเชื่อมสายฝั่งเขมรเข้าร่วมหารือ กับนายอำเภอภูสิงห์และตัวแทนเจ้าหน้าที่ของไทยศูนย์ข่าวนครวัต (๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔) รายงานว่า เมื่อบ่ายวันที่ ๒๙ สิงหาคม เจ้าหน้าที่จังหวัดอุดรมีชัยของกัมพูชา และจังหวัดศรีสะเกษของไทย ได้พบหารือเกี่ยวกับการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเข้าไปยังประเทศกัมพูชา ผ่านทางจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
การหารือเพื่อเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าจากจังหวัดศรีสะเกษเข้าไปยังประเทศ กัมพูชา ระหว่างเจ้าหน้าทีของทั้งสองประเทศ ดังกล่าว ฝ่ายกัมพูชานำโดย นายเบ็จ โซะเค็น1 ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย และออกญา ลี ยงพัต23 เจ้าของบริษัทลียงพัต ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือในการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า พร้อมด้วย พล.ท.เจีย มอน และเจ้าหน้าที่จังหวัดที่เชี่ยวชาญระบบไฟฟ้า ส่วนฝ่ายไทย มีนายอำเภอภูสิงห์ รองผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งรับผิดชอบ ๑๙ จังหวัด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหาร หลังการหารือสองฝ่ายจะนำเอกสารความตกลงไปตรวจสอบอีกครั้ง
ทำงานกันรวดเร็วจนเหลือเชื่อ แถมลี ยงพัต มีเอี่ยวอีก
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ความเห็นแย้งต่อคำสั่งศาลโลก 18 ก.ค. 2554 และข้อเสนอแนะ
>โดย ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม
1. คำสั่งศาลโลกต่อคำร้องขอของกัมพูชาให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว
เมื่อ วันที่ 28 เม.ย. 2554 กัมพูชาได้ยื่นขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice: ICJ ซึ่งต่อไปเรียกว่า “ศาลโลก”) ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505 และพร้อมกันนี้กัมพูชาได้ยื่นคำร้องเร่งด่วนขอให้ศาลโลกกำหนดมาตรการคุ้ม ครองชั่วคราว โดยอ้างในคำร้องว่าตั้งแต่วันที่ 22 เม.ย. 2554 เป็นต้นมาได้เกิดเหตุการณ์ที่ร้ายแรงในอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร รวมทั้งอาณาบริเวณอื่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา อันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ และประชาชนต้องอพยพหนีภัย โดยเหตุการณ์ทั้งหมดไทยเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น
ดังนั้นกัมพูชาจึงร้องขอให้ศาลโลกได้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวตาม ธรรมนูญของศาลโลก (Statute of ICJ) มาตรา 41 และระเบียบของศาลโลก (Rules of Court) ข้อที่ 73 ให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากส่วนของดินแดนกัมพูชาในพื้นที่บริเวณปราสาทพระ วิหารในทันทีและไม่มีเงื่อนไข ห้ามไทยดำเนินกิจกรรมทางทหารใดๆ ในบริเวณดังกล่าว และให้ไทยงดเว้นการดำเนินการใดๆ ที่อาจกระทบสิทธิของกัมพูชา หรือเพิ่มความขัดแย้ง
ในวันที่ 30-31 พ.ค. 2554 ศาลโลกได้รับฟังการให้ถ้อยคำของทั้งไทยและกัมพูชากรณีคำร้องขอของกัมพูชาให้ ศาลโลกกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยกัมพูชาสรุปขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวรวม 3 ข้อตามที่กล่าวมาแล้ว ในขณะที่ไทยสรุปขอให้ศาลจำหน่ายคดีที่กัมพูชายื่นให้พิจารณาเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2554 ออกจากสารบบความ ต่อมาในวันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมานี้ศาลโลกได้อ่านคำสั่งต่อคำร้องขอของกัมพูชาให้กำหนดมาตรการคุ้ม ครองชั่วคราวดังนี้
(A) โดยเอกฉันท์ ยกคำขอของประเทศไทยที่ให้จำหน่ายคดีที่กัมพูชายื่นให้พิจารณาเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2554 ออกจากสารบบความ
(B) กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังนี้
(1) โดยคะแนนเสียง 11 ต่อ 5 ทั้งสองฝ่ายต้องถอนกำลังทหารซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตปลอดทหารชั่วคราว (Provisional Demilitarized Zone: PDZ) ตามที่กำหนดในย่อหน้าที่ 62 ของคำสั่งนี้ในทันที และงดเว้นจากการวางกำลังทหารภายในเขตนั้น และจากกิจกรรมทางอาวุธใดๆ ที่มุ่งหมายไปที่เขตนั้น
(ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Owada, Al-Khasawneh, Xue, Donoghue, Cot)
(2) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1 ประเทศไทยจะต้องไม่ขัดขวางการเข้าถึงอย่างอิสระ (free access) ของกัมพูชาไปยังปราสาทพระวิหาร หรือการจัดส่งเสบียงของกัมพูชาให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทหารของตนในปราสาทพระ วิหาร (ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Donoghue)
(3) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1 ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินความร่วมมือกันต่อไปตามที่ทั้งสองฝ่ายได้เข้าร่วมใน กรอบอาเซียน และโดยเฉพาะต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์ที่แต่งตั้งโดยอาเซียนเข้าไปยัง เขตปลอดทหารชั่วคราวดังกล่าวได้ (ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Donoghue)
(4) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1 ทั้งสองฝ่ายต้องงดเว้นจากการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้ข้อพิพาทที่ปรากฏต่อศาลเลวร้ายลงหรือเกิดมากขึ้น หรือทำให้มันยากยิ่งขึ้นที่จะแก้ไข (ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Donoghue)
(C) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1 ตัดสินว่าแต่ละฝ่ายต้องแจ้งต่อศาลถึงการปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ข้างต้น (ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Donoghue)
(D) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1 ตัดสินว่าจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาต่อคำร้องขอสำหรับการตีความ ศาลยังคงอำนาจต่อไปในการพิจารณาเรื่องราวสาระที่ก่อให้เกิดคำสั่งครั้งนี้ (ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Donoghue)
2. ความเห็นแย้ง ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะ
องค์คณะผู้พิพากษาในครั้งนี้มีผู้พิพากษาทั้งหมด 16 คน โดยมี Mr. Hisashi Owada เป็นประธาน และมีผู้พิพากษาเฉพาะกิจ (Judge ad hoc) จำนวน 2 คน ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาได้ใช้สิทธิที่ให้ไว้ในธรรมนูญของศาลโลก มาตรา 31 ในการเลือกผู้พิพากษาเฉพาะกิจฝ่ายละหนึ่งคน โดยไทยได้เลือก Mr. Jean-Pierre Cot ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส และเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณที่ University Paris-I โดยเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสหกรณ์และการพัฒนาของฝรั่งเศส และเคยได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารของ UNESO ส่วนกัมพูชาได้เลือก Mr. Gilbert Guillaume ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสเช่นกัน และเคยเป็นประธานศาลโลก (ช่วง ค.ศ. 2000-2003) รวมทั้งผู้อำนวยการนิติการที่กระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส อันทำให้องค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้ประกอบด้วยผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสถึง 3 คน โดยผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสอีกหนึ่งคนคือ Mr. Ronny Abraham ซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการนิติการที่กระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส
จากคำสั่งศาลดังกล่าวทั้งหมดมี 4 ข้อใหญ่ โดยข้อ (B) เป็นคำสั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวซึ่งแบ่งเป็น 4 ข้อย่อยคือ ข้อ (1)-(4)
2.1 คำสั่งศาลข้อ (A): สำหรับคำสั่งศาลในข้อนี้ ผู้พิพากษาทั้งหมดเห็นว่าไม่ควรจำหน่ายคดีที่กัมพูชายื่นออกจากสารบบความตาม ที่ไทยขอ ซึ่งในประเด็นนี้แสดงให้เห็นว่าผู้พิพากษาเฉพาะกิจชาวฝรั่งเศสที่ไทยเลือก ได้มีเห็นไปในทางไม่เป็นคุณต่อไทยด้วย เมื่อศาลมีคำสั่งไม่จำหน่ายคดี ศาลจึงต้องพิจารณาคำขอของกัมพูชาที่ยื่นให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระ วิหารปี 2505 ต่อไป ซึ่งอาจใช้เวลาพิจารณานานเป็นปีก็ได้
อย่างไรก็ตามศาลได้เน้นย้ำในย่อหน้าที่ 41 ของคำสั่งว่า “ข้อสรุปนี้ไม่ไปตัดสินล่วงหน้าผลลัพธ์ของกระบวนการพิจารณาคดีหลัก” และย่อหน้าที่ 68 ของคำสั่งว่า “คำตัดสินที่มีในกระบวนการพิจารณาคดีขณะนี้ต่อคำร้องขอสำหรับการกำหนด มาตรการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ไม่ได้เป็นการตัดสินล่วงหน้าประเด็นใดๆ ที่ศาลอาจต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอสำหรับการตีความดังกล่าว” นั้นก็หมายความว่าถึงแม้ศาลจะได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ก็ไม่ได้หมายความว่าศาลจะต้องรับคำขอของกัมพูชาให้มีการตีความดังกล่าว ในส่วนนี้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
2.1.1 เนื่องจากมีผู้พิพากษาศาลโลกจำนวน 5 คนซึ่งมีประธานและรองประธานศาลโลกรวมอยู่ด้วยจะครบวาระการดำรงในวันที่ 5 ก.พ. 2555 จึงต้องมีการจัดการเลือกตั้งผู้พิพากษาใหม่จำนวน 5 คน ทำให้องค์คณะผู้พิพากษาปัจจุบันอาจเร่งการพิจารณาคดีให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 5 ก.พ. 2555 หรืออาจชะลอการพิจารณาคดีไปหลังวันที่ 5 ก.พ. 2555 อย่างไรก็ดีศาลโลกได้กำหนดให้ไทยต้องส่งข้อสังเกตที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written Observation) ให้ศาลภายในวันที่ 21 พ.ย. 2554 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศได้ออกมาให้ข่าวว่า น่าจะส่งข้อสังเกตดังกล่าวให้ศาลโลกได้ประมาณกลางเดือน พ.ย. นี้ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ศาลโลกจะไปเริ่มพิจารณาคดีหลังวันที่ 5 ก.พ. 2555
2.1.2 หากวิเคราะห์จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาแล้ว การที่กัมพูชายื่นขอให้ศาลโลกตีความและกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวน่าจะ เกิดจากปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ซึ่งขณะนี้กัมพูชาต้องการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารสำหรับเป็นพื้นที่เขต กันชนเพื่อให้เกิดความครบถ้วนสมบูรณ์ของแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารรวม ทั้งแผนที่ฉบับสุดท้ายที่กัมพูชาต้องเสนอให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาตามมติ ที่ 32 COM 8B.102 อีกทั้งเพื่อระงับการดำเนินการใดๆ ของไทยที่จะขัดขวางหรือทำให้กระทบต่อการดำเนินการของกัมพูชาตามมติต่างๆ ของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งจะเห็นได้จากคำร้องขอให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของกัมพูชาที่ระบุ ให้ไทยงดเว้นการดำเนินการใดๆ ที่อาจกระทบสิทธิของกัมพูชา
2.1.3 ในคำร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารนั้น นายฮอร์ นำฮง ในฐานะผู้แทนกัมพูชาได้ลงนามในคำร้องขอดังกล่าวโดยลงวันที่ 20 เม.ย. 2554 แต่ปรากฏในข้อที่ 34 ของคำร้องขอดังกล่าวได้มีข้อความกล่าวถึงเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างทหารไทย กับกัมพูชาในวันที่ 22 และ 26 เม.ย. 2554 อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดหลังจากวันลงนามในคำร้องขอดังกล่าว จึงเชื่อได้ว่ากัมพูชามีการเตรียมสร้างสถานการณ์การสู้รบไว้ล่วงหน้าเพื่อ ให้คำร้องขอของตนมีน้ำหนักและรับฟังได้มากยิ่งขึ้น
หากจะโต้แย้งว่า นายฮอร์ นำฮง อาจลงวันที่ผิดพลาดไป ก็ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะคำร้องที่ขอให้ศาลโลกกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวที่ยื่นต่อศาลโลกใน วันเดียวกัน นายฮอร์ นำฮง กลับลงวันที่ 28 เม.ย. 2554 ได้ถูกต้อง หากมีการยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลเห็น จะทำให้ความน่าเชื่อถือของฝ่ายกัมพูชาลดลงได้ไม่มากก็น้อย แต่เป็นที่น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งว่าสำเนาคำร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษา ที่กัมพูชาได้ยื่นซึ่งเผยแพร่ทาง Website ของศาลโลก ณ ปัจจุบันนั้น ในหน้าสุดท้ายได้มีการแก้ไขเปลี่ยนลายมือชื่อของนายฮอร์ นำฮง พร้อมวันที่ที่เขียนด้วยลายมือ ไปเป็นอักษรพิมพ์แล้วโดยที่ได้มีการพิมพ์เปลี่ยนวันที่เป็น 28 เม.ย. 2554
2.1.4 ในการสู้คดีนี้ ไทยได้มีการตั้งคณะดำเนินคดีปราสาทพระวิหารที่มีองค์ประกอบ 15 คน นำโดยนายวีรชัย พลาศรัย ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำเนเธอร์แลนด์ทำหน้าที่เป็นผู้แทน (Agent) ฝ่ายไทย และมีที่ปรึกษากฎหมาย (Counsel) ชาวต่างชาติ 3 คน โดยมีคนหนึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส คือ Mr. Alain Pellet ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ที่ University Paris Ouest และเคยเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลฝรั่งเศสด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นไทยยังได้เลือกผู้พิพากษาเฉพาะกิจซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส โดยกัมพูชาก็เลือกผู้พิพากษาเฉพาะกิจเป็นชาวฝรั่งเศสเช่นกัน อันทำให้องค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้ที่มีจำนวน 16 คนประกอบด้วยผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสถึง 3 คน
กระทรวงการต่างประเทศของ ไทยได้ให้เหตุผลที่เลือกที่ปรึกษากฎหมายและผู้พิพากษาเฉพาะกิจเป็นชาว ฝรั่งเศสว่า ทั้งสองท่านมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ยอมรับนับถือ รวมทั้งมีความจำเป็นเนื่องจากเอกสารทางกฎหมายในเรื่องเขตแดนไทย-กัมพูชาส่วน ใหญ่เป็นภาษาฝรั่งเศส และในการดำเนินการจำเป็นต้องมีความเข้าใจแนวคิดทางกฎหมายฝรั่งเศสเป็นอย่าง ดี
นอกจากนี้ผู้พิพากษาเฉพาะกิจดังกล่าวยังมีแนวความคิดที่สอดคล้องกับแนว คิดของคณะที่ปรึกษากฎหมายของฝ่ายไทย แต่หากวิเคราะห์ปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชาที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว ก็จะพบว่ามีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศฝรั่งเศสเข้ามาล่าอาณานิคมใน พื้นที่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีต โดยได้กดดันและข่มเหงไทยเพื่อเอาดินแดนมาเป็นของตน อีกทั้งยังเป็นผู้จัดทำแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 แต่ฝ่ายเดียว ซึ่งกัมพูชาในฐานะรัฐผู้สืบสิทธิจากฝรั่งเศสได้ใช้แผนที่ดังกล่าวในระวางดง รักเป็นแผนที่ภาคผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องต่อศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหารและชนะคดีมาแล้วในอดีต ดังนั้นจึงควรต้องถือว่าฝรั่งเศสเป็นเสมือนคู่กรณีกับไทยในคดีนี้ด้วย
ในที่สุดแล้ว การสู้คดีครั้งนี้ของฝ่ายไทยคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึงการมีผล บังคับใช้หรือไม่ของแผนที่ดังกล่าวในการกำหนดเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา รวมทั้งการกระทำต่างๆ ในอดีตของฝรั่งเศสที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อไทย ดังนั้นเมื่อถึงเวลาดังกล่าวแล้ว ทั้งที่ปรึกษากฎหมายและผู้พิพากษาเฉพาะกิจชาวฝรั่งเศสที่ไทยเลือกอาจไม่ สามารถดำรงความเป็นกลาง และอาจเอนเอียงเพื่อรักษาเกียรติภูมิของชาติตนเองก็เป็นไปได้
เหตุผลที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยให้ดังกล่าวข้างต้นจึงไม่น่าจะเพียง พอและรับฟังได้ เนื่องจากยังมีบุคคลสัญชาติอื่นๆ ซึ่งไทยสามารถเลือกได้อีกมากที่คุณสมบัติไม่ด้อยกว่าชาวฝรั่งเศสทั้งสองคน ดังกล่าว ด้วยองค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้มีผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสถึง 3 คน การต่อสู้คดีของไทยจึงต้องระมัดระวังและพิจารณาแก้ไขป้องกันปัญหาดังกล่าว ไว้ด้วย
2.2 คำสั่งศาลข้อ (B)–(D): สำหรับคำสั่งศาลส่วนที่เหลือ มีผู้พิพากษาหนึ่งคนซึ่งเป็นชาวอเมริกัน Ms. Joan E. Donoghue ที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลส่วนที่เหลือทั้งหมดทุกข้อ ผู้พิพากษาท่านนี้ได้ให้ความเห็นแย้งไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า จากการที่ประเทศไทยได้ปล่อยให้คำประกาศ (declaration) ปี 2493 ที่ได้จัดทำเพื่อรับอำนาจศาลตามมาตรา 36 วรรคสองของธรรมนูญของศาลโลก สิ้นสุดลงโดยไม่ต่อใหม่ ทำให้ศาลไม่มีเขตอำนาจที่จะทำการตัดสินใดใหม่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจัดการหาข้อยุติเรื่องเขตแดน หรือตัดสินปัญหาอำนาจอธิปไตย หรือชี้ขาดความรับผิดชอบของรัฐ หรือสั่งให้ฝ่ายต่างๆ ปฏิบัติในแนวทางที่กำหนด
กระบวนการพิจารณาคดีที่ถูกต้องในกรณีการตีความคำพิพากษาตามธรรมนูญของศาล โลก มาตรา 60 นั้น ศาลจะมีขอบเขตแค่เพียงบอกฝ่ายไทยและกัมพูชาว่าอะไรที่คำพิพากษาเมื่อปี 2505 หมายถึง แต่ศาลกลับนำมาตรา 41 ซึ่งเกี่ยวกับอำนาจศาลในการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวมาทาบบนมาตรา 60 แล้วกำหนดมาตรการที่ไม่ได้ผูกพันโดยคำพิพากษาเมื่อปี 2505 หรือเชื่อมโยงกับกระบวนการตีความตามมาตรา 60 ศาลได้ออกคำสั่งที่ผูกพันซึ่งกำหนดขอบเขตการเคลื่อนย้ายกำลังติดอาวุธของ ทั้งสองฝ่ายโดยรวมถึงพื้นที่ที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตยสำหรับทั้ง สองฝ่ายเลย ยิ่งไปกว่านั้นยังใช้สมมุติฐานว่ามาตรการชั่วคราวเป็นส่วนหนึ่งในคดีการตี ความ
ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่ามาตรชั่วคราวการดังกล่าวนั้นเกินกว่าเขตอำนาจศาล เนื่องจากผู้พิพากษาท่านนี้เห็นว่าในคดีนี้ศาลไม่มีอำนาจกำหนดมาตรการคุ้ม ครองชั่วคราวใดๆ จึงไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลข้อ (B)–(D) ทั้งหมด ในส่วนนี้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
ฝ่ายไทยควรใช้ประโยชน์จากความเห็นแย้งดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประเด็นคำประกาศปี 2493 ของประเทศไทยที่ได้สิ้นสุดการบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่ปี 2503 เป็นเหตุผลสำคัญในการไม่รับอำนาจศาลในเรื่องที่เห็นว่าอยู่นอกขอบเขตของการ ตีความที่ถูกต้อง นั่นคือ หากศาลรับคำขอให้ตีความของกัมพูชา ศาลจะมีขอบเขตอำนาจแค่เพียงบอกฝ่ายไทยและกัมพูชาว่าคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ที่ทั้งสองฝ่ายมีข้อพิพาทกัน หมายถึงอะไรเท่านั้น โดยไม่มีเขตอำนาจที่จะทำการตัดสินสิ่งใดใหม่ได้
2.3 คำ สั่งศาลข้อ (1): สำหรับคำสั่งศาลในข้อนี้ ศาลได้กำหนดเขตปลอดทหารชั่วคราว มีผู้พิพากษาถึง 5 คนซึ่งมีประธานศาลโลกและผู้พิพากษาเฉพาะกิจชาวฝรั่งเศสที่ไทยเลือกรวมอยู่ ด้วยที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลในข้อนี้ เหตุผลหลักที่ผู้พิพากษาทั้งห้าคนไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลในข้อนี้พอสรุปได้ ดังนี้
ประการที่หนึ่ง ศาลไม่มีอำนาจไปกำหนดเขตปลอดทหารดังกล่าวให้ล้ำเข้าไปในพื้นที่ที่อยู่ภาย ใต้อำนาจอธิปไตยของแต่ละรัฐซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่พิพาทแต่อย่างใด อันเป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของรัฐนั้นๆ โดยปราศจากความยินยอมของรัฐดังกล่าว หากจะมีการกำหนดเขตปลอดทหารก็ควรจำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่ที่มีข้อพิพาทกันเท่า นั้น
ประการที่สอง ศาลกำหนดเขตปลอดทหารดังกล่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่ตำแหน่งของมุมทั้งสี่มีการ กำหนดพิกัดที่แน่นอน โดยปราศจากการอธิบายให้เหตุผลว่าทำไมจึงต้องเป็นพิกัดดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการกำหนดในลักษณะที่ไม่เป็นจริง (artificial manner) โดยไม่ได้คำนึงถึงภูมิประเทศจริง รวมถึงความเป็นไปได้และความยากลำบากในการดำเนินการหรือการบังคับให้เป็นไป ตามมาตรการดังกล่าวของแต่ละฝ่าย
ประธานศาลโลกได้ให้ความเห็นแย้งเฉพาะตนบางส่วนพอสรุปได้ว่า คำสั่งกำหนดเขตปลอดทหารของศาลโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดเขต ล้ำเข้าไปในดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐโดยที่ดินแดนนั้นไม่ได้เป็น พื้นที่ที่มีปัญหาข้อพิพาทแต่อย่างใด จากทั้งหมดประมาณ 40 คำสั่งของศาลโลกในการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว มีเพียง 3 คดีเท่านั้นที่มีประเด็นของการถอนกำลังของฝ่ายคู่กรณีเกิดขึ้นและที่ศาลโลก ได้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวสั่งให้ฝ่ายที่มีข้อพิพาทกันหยุดกองกำลัง ติดอาวุธของตนจากการต่อสู้ที่ได้เกิดขึ้นจริงหรืออาจเกิดขึ้นได้ และให้กองกำลังของแต่ละฝ่ายออกจากเขตที่กำหนดตามคำสั่งศาล
แต่ศาลโลกไม่เคยสั่งไปไกลถึงกับให้ฝ่ายต่างๆ ถอนจากเขตปลอดทหารชั่วคราวซึ่งถูกคิดขึ้นมาอย่างไม่เป็นจริงโดยศาล และที่ประกอบด้วยส่วนของดินแดนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยอย่างไม่มีข้อโต้แย้งของ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อย่างที่ปรากฏในคำสั่งครั้งนี้
ส่วนผู้พิพากษาเฉพาะกิจชาวฝรั่งเศสที่ไทยเลือกได้ให้ความเห็นแย้งเฉพาะ ตนบางส่วนพอสรุปได้ว่า ศาลโลกได้รับคำร้องขอให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างการยื่นคำ ร้องขอให้ตีความคำพิพากษาตามธรรมนูญของศาลโลก มาตรา 60 และได้เคยใช้อำนาจนี้มาก่อนเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในคดีอาวีนา (Avena) ซึ่งเป็นคดีระหว่างเม็กซิโกกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งสถานการณ์ในครั้งนั้นแตกต่างจากในครั้งนี้อย่างสิ้นเชิง โดยในครั้งนั้นเป็นเรื่องของคนที่กำลังจะถูกประหารชีวิต หากศาลไม่มีคำสั่งให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ก็อาจทำให้คำพิพากษาสำหรับคำร้องขอให้ตีความที่จะมีขึ้นภายหลังกลายเป็น เรื่องไม่มีผลบังคับใช้เนื่องคนผู้นั้นได้ถูกประหารชีวิตไปแล้ว
แต่ในครั้งนี้เป็นเรื่องของการร้องขอให้ตีความคำพิพากษาเดิมที่ได้มีมา เกือบครึ่งศตวรรษมาแล้ว โดยที่การปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวมิได้เคยเป็นปัญหาแต่อย่างใดตลอดช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมา พื้นฐานของเขตอำนาจดั้งเดิมของศาลในเรื่องนี้ได้หมดสิ้นไปนานแล้ว ดังนั้นการพิจารณาในการจำกัดสิทธิในอธิปไตยเหนือดินแดนโดยการกำหนดมาตรการ คุ้มครองชั่วคราว จึงไม่สมควรควรกำหนดในกรณีที่ยังไม่ได้มีการตรวจสอบอำนาจศาลอย่างจริงจัง เสียก่อน
นอกจากนี้การที่กัมพูชาร้องขอให้ศาลย้อนกลับไปพิจารณาเพื่อพิพากษาว่า เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาในบริเวณใกล้เคียงกับปราสาทพระวิหารเป็นไป ตามเส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่ภาคผนวก 1 นั้น ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการตีความคำพิพากษา แต่เป็นลักษณะของการทบทวนคำพิพากษาดังกล่าวตามธรรมนูญของศาลโลก มาตรา 61
ผู้พิพากษาเฉพาะกิจคนดังกล่าวยังให้ความเห็นด้วยว่า จากข้อพิจารณาเกี่ยวกับคำร้องขอของกัมพูชานั้น ทำให้เกิดคำถามว่าได้มีการอาศัยกระบวนการพิจารณาของศาลโดยอ้อมค้อมเพื่อให้ เป็นประโยชน์ และเป็นไปได้หรือไม่ว่า ศาลกำลังเผชิญกับความพยายามในการนำคำร้องขอที่มีลักษณะเป็นเรื่องใหม่เข้า สู่การพิจารณาของศาล โดยนำประเด็นดังกล่าวไปพ่วงติดกับความขัดแย้งในเรื่องเกี่ยวกับการตีความคำ พิพากษา
ทั้งนี้เพื่อที่จะได้มีฐานรองรับเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ศาลจึงควรต้องพิจารณาประเด็นดังกล่าวในการพิจารณาคดีหลักเพื่อที่จะไม่ได้ เป็นการสนับสนุนการกระทำในลักษณะนี้ อันเป็นการขัดต่อหลักการที่สำคัญอย่างมากที่ว่าด้วยการยินยอมของทั้งสองฝ่าย ในการรับเขตอำนาจศาล นอกจากนี้ศาลได้ปฏิเสธคำร้องขอให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของกัมพูชา โดยพิจารณาว่ามีลักษณะเพื่อผลประโยชน์ฝ่ายเดียวมากเกินไป ศาลจึงได้กำหนดเขตปลอดทหารชั่วคราว แต่การกำหนดเขตดังกล่าวขาดความเหมาะสม ซึ่งหากทั้งสองฝ่ายเห็นว่ามาตรการดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติได้ในพื้นที่ จริง สถานการณ์ก็จะเลวร้ายลงไปอีกแทนที่จะดีขึ้น และจะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการที่ทั้งสองฝ่ายจะยอมรับในคำพิพากษาของศาลใน คดีหลักอันเกี่ยวข้องกับการกำหนดบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารที่อยู่ภาย ใต้อธิปไตยของกัมพูชา
">มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
2.3.1 การ ที่ผู้นำระดับสูงฝ่ายไทยหลายคนออกมาแสดงความพอใจต่อคำสั่งศาลดังกล่าวจึงไม่ เป็นการสมควร ที่ถูกแล้วถึงแม้ฝ่ายไทยได้แสดงเจตนาว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลในฐานะที่ เป็นสมาชิกสหประชาชาติก็ตาม แต่ควรที่จะต้องแสดงความไม่เห็นด้วยและท้วงติงในการที่ศาลได้ใช้อำนาจเกิน ขอบเขตอำนาจศาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนโดยไปกำหนดเขตปลอดทหารรุกล้ำเข้ามาใน ดินแดนอันอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทยอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีข้อโต้แย้ง ทั้งนี้เพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของฝ่ายไทยซึ่งตั้งอยู่บนความถูกต้อง ความยุติธรรม และความชอบธรรมในการปกป้องรักษาอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนไทย
2.3.2 สำหรับ เขตปลอดทหารชั่วคราวที่ศาลกำหนดนั้น ศาลระบุอย่างชัดเจนในย่อหน้าที่ 61 ของคำสั่งศาลว่า ย่อมไม่กระทบต่อการดำเนินการทางปกครองตามปกติ ซึ่งรวมถึงการให้เจ้าหน้าที่ที่มิใช่ทหารเข้าไปประจำการในส่วนที่จำเป็นต่อ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและทรัพย์สิน ดังนั้นฝ่ายไทยควรต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำการในเขตดังกล่าวเพื่อ ดำเนินการต่างๆ ทางปกครอง และคอยสอดส่องดูความเคลื่อนไหวของฝ่ายกัมพูชาด้วย ทั้งนี้ควรต้องมีการตกลงหาข้อสรุปอย่างชัดเจนกับฝ่ายกัมพูชาเพื่อป้องกัน ปัญหาขัดแย้งที่อาจเกิดในประเด็นนี้ด้วยว่า เจ้าหน้าที่ที่มิใช่ทหารนั้นหมายรวมถึงเจ้าหน้าที่ในลักษณะใดบ้าง มีพื้นที่ประจำการที่ใดได้ และอนุญาตให้มีอาวุธแบบใดได้บ้างในการใช้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในเขต ดังกล่าว
นอกจากนี้คำสั่งศาลไม่ได้ให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตดังกล่าวต้องออก ไปด้วย ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญเนื่องจากมี ตลาด วัด และชุมชนกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียวที่อยู่ในพื้นที่พิพาทบนเขาพระวิหาร อีกทั้งชุมชนดังกล่าวเกือบทั้งหมดเป็นครอบครัวของทหารกัมพูชา รวมทั้งเป็นการยากที่จะแยกแยะว่าบุคคลใดเป็นทหารหรือไม่หากอยู่ในชุด พลเรือน และจะมีหลักประกันอย่างไรที่จะป้องกันไม่ให้มีชาวกัมพูชาเข้ามาอาศัยเพิ่ม ขึ้นอีก หรือมีการก่อสร้างอะไรเพิ่มเติม ดังนั้นจึงต้องมีการตกลงหาข้อสรุปอย่างชัดเจนกับฝ่ายกัมพูชาในประเด็นนี้ ด้วย
เขตปลอดทหารชั่วคราวที่ศาลกำหนดมีแนวเขตตามเส้นสีแดงของรูปที่ 1 ซึ่งแสดงบนแผนที่ มาตราส่วน 1: 50,000 ลำดับชุด L 7017 ระวาง 5937 IV บ้านภูมิซรอล เขตดังกล่าวมีพื้นที่ประมาณ 17 ตารางกิโลเมตรกว่า หากพิจารณาภูมิประเทศตามลำดับความสูง (เส้นสีส้ม) และใช้เส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา (เส้นปะสีส้ม) ตามที่แสดงในแผนที่ดังกล่าว จะเห็นว่าพื้นที่ที่ฝ่ายไทยต้องถอนกำลังทหารส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงซึ่งมี ชัยภูมิการรบที่ดี ส่วนพื้นที่ที่ฝ่ายกัมพูชาต้องถอนกำลังทหารนั้น ยกเว้นบริเวณบนเขาพระวิหารที่ปัจจุบันมีกำลังทหารกัมพูชาประจำการอยู่แล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดลงของเชิงเขาซึ่งมีชัยภูมิรบที่ไม่ดีเลย
ถึงแม้ฝ่ายกัมพูชาจะต้องถอนกำลังทหารประมาณ 4,000 คน ในขณะที่ฝ่ายไทยต้องถอนกำลังทหารประมาณ 1,000 คน แต่ก็ไม่ได้แสดงว่าฝ่ายไทยได้เปรียบตามที่หลายฝ่ายกล่าวอ้างแต่อย่างใด เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องถอนอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหมดออกจากบริเวณที่ตั้ง ปัจจุบันด้วย ซึ่งฝ่ายไทยถึงแม้นจะได้วางกำลังทหารจำนวนน้อยกว่าฝ่ายกัมพูชามาก แต่ฝ่ายไทยอาศัยอาวุธยุทโธปกรณ์และชัยภูมิที่เหนือกว่าในการต่อสู้
2.4 คำสั่งศาลข้อ (2): สำหรับคำสั่งศาลในข้อนี้ ศาลได้กำหนดให้ฝ่ายไทยจะต้องไม่ขัดขวางการเข้าถึงอย่างอิสระของกัมพูชาไปยัง ปราสาทพระวิหาร หรือการจัดส่งเสบียงของกัมพูชาให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทหารของตนในปราสาทพระ วิหาร โดยความมุ่งหมายของคำสั่งศาลในข้อนี้แล้ว มิได้หมายความว่ากัมพูชาจะสามารถรุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทยเพื่อผ่านไปยัง ปราสาทพระวิหารได้อย่างอิสระและไม่มีเงื่อนไขใดๆ
แต่หมายความว่าหากกัมพูชามีเหตุผลอันจำเป็นที่จะต้องเข้ามาในดินแดนไทย เพื่อผ่านไปยังปราสาทพระวิหาร ไทยต้องยอมให้ผ่านจะไปขัดขวางไม่ได้ ทั้งนี้ไทยย่อมมีสิทธิในการที่จะสอบถามเหตุผลและตรวจสอบตามความเหมาะสมก่อน เพื่อพิจารณาให้ผ่านไปได้ แต่ไทยไม่สามารถตั้งเงื่อนไขในการให้ผ่านใดๆ ที่ไม่สมเหตุผลหรือไม่เหมาะสมได้ ในส่วนนี้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
เนื่องจากปัจจุบันมีทางเข้าถึงปราสาทพระวิหารได้ถึง 3 ทาง คือ ทางบันไดทางขึ้นใหญ่ทางทิศเหนือ ทางบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออกตรงช่องบันไดหัก และทางถนนทางทิศตะวันตกจากบ้านโกมุยในฝั่งกัมพูชาที่กัมพูชาได้สร้างรุกล้ำ ผ่านพื้นที่ 4.6 ก.ม. ขึ้นไปยังปราสาทพระวิหาร สำหรับบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออกซึ่งมีความสูงชันมากนั้น เดิมเป็นบันไดหินขนาดเล็กและมีหลายส่วนที่ชำรุดเสียหาย แต่ปัจจุบันกัมพูชาได้สร้างบันไดไม้คร่อมบนบันไดหินดังกล่าวตามรูปที่ 2 เพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้เป็นเส้นทางเดินขึ้นไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารตาม แผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาได้ส่งให้ศูนย์มรดกโลก เนื่องจากบันไดทางขึ้นใหญ่ทางทิศเหนือและถนนทางทิศตะวันตกจากบ้านโกมุย หากกัมพูชาจะใช้ผ่านขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารจะต้องผ่านพื้นที่ 4.6 ก.ม. ที่เป็นข้อพิพาท
ดังนั้นไทยจึงไม่ควรให้กัมพูชาผ่านไปยังปราสาทพระวิหารโดยใช้สองเส้นทาง นี้ ไทยควรต้องเจรจาตกลงกับกัมพูชาให้กัมพูชาใช้เฉพาะบันไดทางขึ้นทางทิศตะวัน ออกดังกล่าวเพื่อขึ้นไปถึงยังปราสาทพระวิหารเท่านั้น ส่วนทางขึ้นอื่นควรใช้ได้เฉพาะเมื่อมีเหตุผลจำเป็นอันไม่สามารถหลีกเลี่ยง ได้ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่ทั้งไทยและกัมพูชาจะได้ตกลงกัน แต่ทางที่ดีที่สุดควรให้กัมพูชาใช้ทางขึ้นเฉพาะทางบันไดทางทิศตะวันออกดัง กล่าวเท่านั้น
2.5 คำสั่งศาลข้อ (3): สำหรับคำสั่งศาลในข้อนี้ ศาลให้ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินความร่วมมือกันต่อไปตามที่ทั้งสองฝ่ายได้เข้า ร่วมในกรอบอาเซียน และโดยเฉพาะต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์ที่แต่งตั้งโดยอาเซียนเข้าไปยัง เขตปลอดทหารชั่วคราวดังกล่าวได้ ในส่วนนี้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
คำ สั่งนี้ศาลโลกไม่ได้กำหนดว่า คณะผู้สังเกตการณ์จะต้องเข้าไปในเขตปลอดทหารชั่วคราวในทันทีหรือก่อนที่จะมี การถอนกำลังทหารออกจากเขตดังกล่าว แต่ปรากฏว่า นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กลับออกมาแถลงยืนยันว่า ทหารกัมพูชาจะถอนออกจากเขตดังกล่าวก็ต่อเมื่อคณะผู้สังเกตการณ์ได้เข้าไปใน เขตดังกล่าวก่อน การกระทำดังกล่าวของนายฮุน เซน จึงเป็นการไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับคำสั่งศาล เพราะศาลสั่งตามข้อ (1) ให้ถอนกำลังทหารทั้งสองฝ่ายออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราวในทันที แต่ไม่ได้สั่งตามข้อ (3) ว่าคณะผู้สังเกตการณ์ต้องเข้าไปยังเขตดังกล่าวในทันทีหรือก่อนที่จะมีการถอน กำลังทหารของทั้งสองฝ่าย
ก่อนหน้านี้ในการประชุมอย่างไม่เป็นทาง การของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2554 ไทยและกัมพูชาได้ให้คำมั่นต่อกันและต่ออาเซียนที่จะไม่ให้เกิดการปะทะกัน อีก และเพื่อให้ความมั่นใจต่อกัน ต่ออาเซียน และต่อประชาคมโลก ทั้งสองประเทศได้เชิญรัฐบาลอินโดนีเซียให้ส่งคณะผู้สังเกตการณ์ไปในพื้นที่ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ฝั่งละ 15 คน โดยอินโดนีเซียจะได้มีหนังสือถึงไทยและกัมพูชาเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (Terms of Reference on the Deployment of the Indonesian Observers Team in the Affected Areas of the Cambodia-Thailand Border: TOR)
แต่หลังจากนั้นไทยและกัมพูชาก็ยังไม่สามารถตกลงเงื่อนไขการส่งคณะผู้ สังเกตการณ์อินโดนีเซียไปในพื้นที่ดังกล่าวได้ เนื่องจากไทยยืนยีนว่าคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียจะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ได้ก็ต่อเมื่อกองกำลังกัมพูชาต้องถอนออกจากปราสาทพระวิหาร วัดแก้วสิกขาคีรีสะวารา ชุมชน และตลาดก่อน
ทั้งนี้หากคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าไปโดยที่ยังมีกองกำลัง กัมพูชาอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมรับการกระทำดังกล่าวของ กัมพูชา อีกทั้งยังเป็นการยอมรับการสูญเสียอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนไทย แต่กัมพูชาปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามที่ไทยยืนยัน ดังนั้นคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียจึงยังไม่สามารถเขาปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่เมื่อศาลโลกมีคำสั่งตามข้อ (1) ให้ทั้งสองฝ่ายถอนฝ่ายถอนกำลังทหารออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราว การส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าไปปฏิบัติหน้าที่จึงไม่น่าจะมีปัญหา อีกต่อไป
2.6 คำสั่งศาลข้อ (4): สำหรับคำสั่งศาลในข้อนี้ ศาลให้ทั้งสองฝ่ายต้องงดเว้นจากการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้ข้อพิพาทที่ปรากฏต่อศาลเลวร้ายลงหรือเกิดมากขึ้น หรือทำให้มันยากยิ่งขึ้นที่จะแก้ไข ในส่วนนี้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
สำหรับคำสั่งศาลในข้อ นี้ ศาลได้กำหนดเป็นหลักการอย่างกว้างๆ ไม่ได้ระบุเป็นการเฉพาะเจาะจงอย่างชัดเจนว่าการกระทำใดที่ทั้งสองฝ่ายต้องด เว้น ดังนั้นไทยควรต้องเจรจาหารือกับกัมพูชาเพื่อให้มีการกำหนดอย่างชัดเจนใน ประเด็นนี้อันจะเป็นการป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างของการกระทำที่กัมพูชาอาจทำ เช่น การส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวกัมพูชาขึ้นไปอยู่อาศัยในชุมชนบนเขาพระวิหาร มากขึ้น และการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่วัดแก้วสิกขาคีรีสะวารา ชุมชน หรือตลาด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กัมพูชาควรงดเว้นเพราะจะทำให้มีข้อพิพาทเกิดมากขึ้น
2.7 คำ สั่งศาลข้อ (C)-(D): สำหรับคำสั่งศาลในข้อ (C) ศาลสั่งให้แต่ละฝ่ายต้องแจ้งต่อศาลถึงการปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ข้างต้น ในส่วนนี้คงไม่มีประเด็นปัญหา แต่สำหรับคำสั่งศาลในข้อ (D) ที่ศาลสั่งว่าจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาต่อคำร้องขอสำหรับการตีความ ศาลยังคงอำนาจต่อไปในการพิจารณาเรื่องราวสาระที่ก่อให้เกิดคำสั่งครั้งนี้ นั้น มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
หลังจากที่ศาลมีคำสั่งแล้ว หากสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีการกระทำของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขัดต่อคำสั่งศาลในข้อหนึ่งข้อใดและทั้งสอง ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ ฝ่ายที่ได้รับผลกระทบย่อมสามารถที่จะนำประเด็นดังกล่าวให้ศาลพิจารณาเพื่อ เปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ทั้งนี้ตามระเบียบของศาลโลก ข้อ 76 ตัวอย่างเช่น หากมีการขยายชุมชนกัมพูชาบนเขาพระวิหาร หรือกัมพูชามีการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่บนเขาพระวิหาร โดยกัมพูชาปฏิเสธที่จะระงับการกระทำดังกล่าวตามที่ไทยเรียกร้อง ไทยย่อมสามารถนำประเด็นดังกล่าวไปขอให้ศาลพิจารณาเปลี่ยนแปลงคำสั่งเกี่ยว กับมาตรการคุ้มครองชั่วคราวได้
สุดท้ายนี้ใน การสู้คดีที่กัมพูชาร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาลไทยไม่ควรปล่อยให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบต่อสู้คดีนี้ แต่เพียงฝ่ายเดียว ควรให้ผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยดำเนินการต่อสู้คดีด้วย โดยอาจตั้งเป็นรูปของคณะกรรมการกลาง นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศควรแปลเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวกับคำสั่งศาลโลก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. นี้ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูลด้วย
( โดย ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ )
1. คำสั่งศาลโลกต่อคำร้องขอของกัมพูชาให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว
เมื่อ วันที่ 28 เม.ย. 2554 กัมพูชาได้ยื่นขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice: ICJ ซึ่งต่อไปเรียกว่า “ศาลโลก”) ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505 และพร้อมกันนี้กัมพูชาได้ยื่นคำร้องเร่งด่วนขอให้ศาลโลกกำหนดมาตรการคุ้ม ครองชั่วคราว โดยอ้างในคำร้องว่าตั้งแต่วันที่ 22 เม.ย. 2554 เป็นต้นมาได้เกิดเหตุการณ์ที่ร้ายแรงในอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร รวมทั้งอาณาบริเวณอื่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา อันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ และประชาชนต้องอพยพหนีภัย โดยเหตุการณ์ทั้งหมดไทยเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น
ดังนั้นกัมพูชาจึงร้องขอให้ศาลโลกได้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวตาม ธรรมนูญของศาลโลก (Statute of ICJ) มาตรา 41 และระเบียบของศาลโลก (Rules of Court) ข้อที่ 73 ให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากส่วนของดินแดนกัมพูชาในพื้นที่บริเวณปราสาทพระ วิหารในทันทีและไม่มีเงื่อนไข ห้ามไทยดำเนินกิจกรรมทางทหารใดๆ ในบริเวณดังกล่าว และให้ไทยงดเว้นการดำเนินการใดๆ ที่อาจกระทบสิทธิของกัมพูชา หรือเพิ่มความขัดแย้ง
ในวันที่ 30-31 พ.ค. 2554 ศาลโลกได้รับฟังการให้ถ้อยคำของทั้งไทยและกัมพูชากรณีคำร้องขอของกัมพูชาให้ ศาลโลกกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยกัมพูชาสรุปขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวรวม 3 ข้อตามที่กล่าวมาแล้ว ในขณะที่ไทยสรุปขอให้ศาลจำหน่ายคดีที่กัมพูชายื่นให้พิจารณาเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2554 ออกจากสารบบความ ต่อมาในวันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมานี้ศาลโลกได้อ่านคำสั่งต่อคำร้องขอของกัมพูชาให้กำหนดมาตรการคุ้ม ครองชั่วคราวดังนี้
(A) โดยเอกฉันท์ ยกคำขอของประเทศไทยที่ให้จำหน่ายคดีที่กัมพูชายื่นให้พิจารณาเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2554 ออกจากสารบบความ
(B) กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังนี้
(1) โดยคะแนนเสียง 11 ต่อ 5 ทั้งสองฝ่ายต้องถอนกำลังทหารซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตปลอดทหารชั่วคราว (Provisional Demilitarized Zone: PDZ) ตามที่กำหนดในย่อหน้าที่ 62 ของคำสั่งนี้ในทันที และงดเว้นจากการวางกำลังทหารภายในเขตนั้น และจากกิจกรรมทางอาวุธใดๆ ที่มุ่งหมายไปที่เขตนั้น
(ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Owada, Al-Khasawneh, Xue, Donoghue, Cot)
(2) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1 ประเทศไทยจะต้องไม่ขัดขวางการเข้าถึงอย่างอิสระ (free access) ของกัมพูชาไปยังปราสาทพระวิหาร หรือการจัดส่งเสบียงของกัมพูชาให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทหารของตนในปราสาทพระ วิหาร (ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Donoghue)
(3) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1 ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินความร่วมมือกันต่อไปตามที่ทั้งสองฝ่ายได้เข้าร่วมใน กรอบอาเซียน และโดยเฉพาะต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์ที่แต่งตั้งโดยอาเซียนเข้าไปยัง เขตปลอดทหารชั่วคราวดังกล่าวได้ (ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Donoghue)
(4) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1 ทั้งสองฝ่ายต้องงดเว้นจากการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้ข้อพิพาทที่ปรากฏต่อศาลเลวร้ายลงหรือเกิดมากขึ้น หรือทำให้มันยากยิ่งขึ้นที่จะแก้ไข (ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Donoghue)
(C) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1 ตัดสินว่าแต่ละฝ่ายต้องแจ้งต่อศาลถึงการปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ข้างต้น (ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Donoghue)
(D) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1 ตัดสินว่าจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาต่อคำร้องขอสำหรับการตีความ ศาลยังคงอำนาจต่อไปในการพิจารณาเรื่องราวสาระที่ก่อให้เกิดคำสั่งครั้งนี้ (ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย: Donoghue)
2. ความเห็นแย้ง ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะ
องค์คณะผู้พิพากษาในครั้งนี้มีผู้พิพากษาทั้งหมด 16 คน โดยมี Mr. Hisashi Owada เป็นประธาน และมีผู้พิพากษาเฉพาะกิจ (Judge ad hoc) จำนวน 2 คน ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาได้ใช้สิทธิที่ให้ไว้ในธรรมนูญของศาลโลก มาตรา 31 ในการเลือกผู้พิพากษาเฉพาะกิจฝ่ายละหนึ่งคน โดยไทยได้เลือก Mr. Jean-Pierre Cot ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส และเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณที่ University Paris-I โดยเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสหกรณ์และการพัฒนาของฝรั่งเศส และเคยได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารของ UNESO ส่วนกัมพูชาได้เลือก Mr. Gilbert Guillaume ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสเช่นกัน และเคยเป็นประธานศาลโลก (ช่วง ค.ศ. 2000-2003) รวมทั้งผู้อำนวยการนิติการที่กระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส อันทำให้องค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้ประกอบด้วยผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสถึง 3 คน โดยผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสอีกหนึ่งคนคือ Mr. Ronny Abraham ซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการนิติการที่กระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส
จากคำสั่งศาลดังกล่าวทั้งหมดมี 4 ข้อใหญ่ โดยข้อ (B) เป็นคำสั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวซึ่งแบ่งเป็น 4 ข้อย่อยคือ ข้อ (1)-(4)
2.1 คำสั่งศาลข้อ (A): สำหรับคำสั่งศาลในข้อนี้ ผู้พิพากษาทั้งหมดเห็นว่าไม่ควรจำหน่ายคดีที่กัมพูชายื่นออกจากสารบบความตาม ที่ไทยขอ ซึ่งในประเด็นนี้แสดงให้เห็นว่าผู้พิพากษาเฉพาะกิจชาวฝรั่งเศสที่ไทยเลือก ได้มีเห็นไปในทางไม่เป็นคุณต่อไทยด้วย เมื่อศาลมีคำสั่งไม่จำหน่ายคดี ศาลจึงต้องพิจารณาคำขอของกัมพูชาที่ยื่นให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระ วิหารปี 2505 ต่อไป ซึ่งอาจใช้เวลาพิจารณานานเป็นปีก็ได้
อย่างไรก็ตามศาลได้เน้นย้ำในย่อหน้าที่ 41 ของคำสั่งว่า “ข้อสรุปนี้ไม่ไปตัดสินล่วงหน้าผลลัพธ์ของกระบวนการพิจารณาคดีหลัก” และย่อหน้าที่ 68 ของคำสั่งว่า “คำตัดสินที่มีในกระบวนการพิจารณาคดีขณะนี้ต่อคำร้องขอสำหรับการกำหนด มาตรการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ไม่ได้เป็นการตัดสินล่วงหน้าประเด็นใดๆ ที่ศาลอาจต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอสำหรับการตีความดังกล่าว” นั้นก็หมายความว่าถึงแม้ศาลจะได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ก็ไม่ได้หมายความว่าศาลจะต้องรับคำขอของกัมพูชาให้มีการตีความดังกล่าว ในส่วนนี้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
2.1.1 เนื่องจากมีผู้พิพากษาศาลโลกจำนวน 5 คนซึ่งมีประธานและรองประธานศาลโลกรวมอยู่ด้วยจะครบวาระการดำรงในวันที่ 5 ก.พ. 2555 จึงต้องมีการจัดการเลือกตั้งผู้พิพากษาใหม่จำนวน 5 คน ทำให้องค์คณะผู้พิพากษาปัจจุบันอาจเร่งการพิจารณาคดีให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 5 ก.พ. 2555 หรืออาจชะลอการพิจารณาคดีไปหลังวันที่ 5 ก.พ. 2555 อย่างไรก็ดีศาลโลกได้กำหนดให้ไทยต้องส่งข้อสังเกตที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written Observation) ให้ศาลภายในวันที่ 21 พ.ย. 2554 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศได้ออกมาให้ข่าวว่า น่าจะส่งข้อสังเกตดังกล่าวให้ศาลโลกได้ประมาณกลางเดือน พ.ย. นี้ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ศาลโลกจะไปเริ่มพิจารณาคดีหลังวันที่ 5 ก.พ. 2555
2.1.2 หากวิเคราะห์จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาแล้ว การที่กัมพูชายื่นขอให้ศาลโลกตีความและกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวน่าจะ เกิดจากปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ซึ่งขณะนี้กัมพูชาต้องการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารสำหรับเป็นพื้นที่เขต กันชนเพื่อให้เกิดความครบถ้วนสมบูรณ์ของแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารรวม ทั้งแผนที่ฉบับสุดท้ายที่กัมพูชาต้องเสนอให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาตามมติ ที่ 32 COM 8B.102 อีกทั้งเพื่อระงับการดำเนินการใดๆ ของไทยที่จะขัดขวางหรือทำให้กระทบต่อการดำเนินการของกัมพูชาตามมติต่างๆ ของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งจะเห็นได้จากคำร้องขอให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของกัมพูชาที่ระบุ ให้ไทยงดเว้นการดำเนินการใดๆ ที่อาจกระทบสิทธิของกัมพูชา
2.1.3 ในคำร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารนั้น นายฮอร์ นำฮง ในฐานะผู้แทนกัมพูชาได้ลงนามในคำร้องขอดังกล่าวโดยลงวันที่ 20 เม.ย. 2554 แต่ปรากฏในข้อที่ 34 ของคำร้องขอดังกล่าวได้มีข้อความกล่าวถึงเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างทหารไทย กับกัมพูชาในวันที่ 22 และ 26 เม.ย. 2554 อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดหลังจากวันลงนามในคำร้องขอดังกล่าว จึงเชื่อได้ว่ากัมพูชามีการเตรียมสร้างสถานการณ์การสู้รบไว้ล่วงหน้าเพื่อ ให้คำร้องขอของตนมีน้ำหนักและรับฟังได้มากยิ่งขึ้น
หากจะโต้แย้งว่า นายฮอร์ นำฮง อาจลงวันที่ผิดพลาดไป ก็ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะคำร้องที่ขอให้ศาลโลกกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวที่ยื่นต่อศาลโลกใน วันเดียวกัน นายฮอร์ นำฮง กลับลงวันที่ 28 เม.ย. 2554 ได้ถูกต้อง หากมีการยกประเด็นนี้ขึ้นมาให้ศาลเห็น จะทำให้ความน่าเชื่อถือของฝ่ายกัมพูชาลดลงได้ไม่มากก็น้อย แต่เป็นที่น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งว่าสำเนาคำร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษา ที่กัมพูชาได้ยื่นซึ่งเผยแพร่ทาง Website ของศาลโลก ณ ปัจจุบันนั้น ในหน้าสุดท้ายได้มีการแก้ไขเปลี่ยนลายมือชื่อของนายฮอร์ นำฮง พร้อมวันที่ที่เขียนด้วยลายมือ ไปเป็นอักษรพิมพ์แล้วโดยที่ได้มีการพิมพ์เปลี่ยนวันที่เป็น 28 เม.ย. 2554
2.1.4 ในการสู้คดีนี้ ไทยได้มีการตั้งคณะดำเนินคดีปราสาทพระวิหารที่มีองค์ประกอบ 15 คน นำโดยนายวีรชัย พลาศรัย ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำเนเธอร์แลนด์ทำหน้าที่เป็นผู้แทน (Agent) ฝ่ายไทย และมีที่ปรึกษากฎหมาย (Counsel) ชาวต่างชาติ 3 คน โดยมีคนหนึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส คือ Mr. Alain Pellet ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ที่ University Paris Ouest และเคยเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลฝรั่งเศสด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นไทยยังได้เลือกผู้พิพากษาเฉพาะกิจซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส โดยกัมพูชาก็เลือกผู้พิพากษาเฉพาะกิจเป็นชาวฝรั่งเศสเช่นกัน อันทำให้องค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้ที่มีจำนวน 16 คนประกอบด้วยผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสถึง 3 คน
กระทรวงการต่างประเทศของ ไทยได้ให้เหตุผลที่เลือกที่ปรึกษากฎหมายและผู้พิพากษาเฉพาะกิจเป็นชาว ฝรั่งเศสว่า ทั้งสองท่านมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ยอมรับนับถือ รวมทั้งมีความจำเป็นเนื่องจากเอกสารทางกฎหมายในเรื่องเขตแดนไทย-กัมพูชาส่วน ใหญ่เป็นภาษาฝรั่งเศส และในการดำเนินการจำเป็นต้องมีความเข้าใจแนวคิดทางกฎหมายฝรั่งเศสเป็นอย่าง ดี
นอกจากนี้ผู้พิพากษาเฉพาะกิจดังกล่าวยังมีแนวความคิดที่สอดคล้องกับแนว คิดของคณะที่ปรึกษากฎหมายของฝ่ายไทย แต่หากวิเคราะห์ปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชาที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว ก็จะพบว่ามีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศฝรั่งเศสเข้ามาล่าอาณานิคมใน พื้นที่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีต โดยได้กดดันและข่มเหงไทยเพื่อเอาดินแดนมาเป็นของตน อีกทั้งยังเป็นผู้จัดทำแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 แต่ฝ่ายเดียว ซึ่งกัมพูชาในฐานะรัฐผู้สืบสิทธิจากฝรั่งเศสได้ใช้แผนที่ดังกล่าวในระวางดง รักเป็นแผนที่ภาคผนวก 1 ต่อท้ายคำฟ้องต่อศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหารและชนะคดีมาแล้วในอดีต ดังนั้นจึงควรต้องถือว่าฝรั่งเศสเป็นเสมือนคู่กรณีกับไทยในคดีนี้ด้วย
ในที่สุดแล้ว การสู้คดีครั้งนี้ของฝ่ายไทยคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึงการมีผล บังคับใช้หรือไม่ของแผนที่ดังกล่าวในการกำหนดเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา รวมทั้งการกระทำต่างๆ ในอดีตของฝรั่งเศสที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อไทย ดังนั้นเมื่อถึงเวลาดังกล่าวแล้ว ทั้งที่ปรึกษากฎหมายและผู้พิพากษาเฉพาะกิจชาวฝรั่งเศสที่ไทยเลือกอาจไม่ สามารถดำรงความเป็นกลาง และอาจเอนเอียงเพื่อรักษาเกียรติภูมิของชาติตนเองก็เป็นไปได้
เหตุผลที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยให้ดังกล่าวข้างต้นจึงไม่น่าจะเพียง พอและรับฟังได้ เนื่องจากยังมีบุคคลสัญชาติอื่นๆ ซึ่งไทยสามารถเลือกได้อีกมากที่คุณสมบัติไม่ด้อยกว่าชาวฝรั่งเศสทั้งสองคน ดังกล่าว ด้วยองค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้มีผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสถึง 3 คน การต่อสู้คดีของไทยจึงต้องระมัดระวังและพิจารณาแก้ไขป้องกันปัญหาดังกล่าว ไว้ด้วย
2.2 คำสั่งศาลข้อ (B)–(D): สำหรับคำสั่งศาลส่วนที่เหลือ มีผู้พิพากษาหนึ่งคนซึ่งเป็นชาวอเมริกัน Ms. Joan E. Donoghue ที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลส่วนที่เหลือทั้งหมดทุกข้อ ผู้พิพากษาท่านนี้ได้ให้ความเห็นแย้งไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า จากการที่ประเทศไทยได้ปล่อยให้คำประกาศ (declaration) ปี 2493 ที่ได้จัดทำเพื่อรับอำนาจศาลตามมาตรา 36 วรรคสองของธรรมนูญของศาลโลก สิ้นสุดลงโดยไม่ต่อใหม่ ทำให้ศาลไม่มีเขตอำนาจที่จะทำการตัดสินใดใหม่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจัดการหาข้อยุติเรื่องเขตแดน หรือตัดสินปัญหาอำนาจอธิปไตย หรือชี้ขาดความรับผิดชอบของรัฐ หรือสั่งให้ฝ่ายต่างๆ ปฏิบัติในแนวทางที่กำหนด
กระบวนการพิจารณาคดีที่ถูกต้องในกรณีการตีความคำพิพากษาตามธรรมนูญของศาล โลก มาตรา 60 นั้น ศาลจะมีขอบเขตแค่เพียงบอกฝ่ายไทยและกัมพูชาว่าอะไรที่คำพิพากษาเมื่อปี 2505 หมายถึง แต่ศาลกลับนำมาตรา 41 ซึ่งเกี่ยวกับอำนาจศาลในการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวมาทาบบนมาตรา 60 แล้วกำหนดมาตรการที่ไม่ได้ผูกพันโดยคำพิพากษาเมื่อปี 2505 หรือเชื่อมโยงกับกระบวนการตีความตามมาตรา 60 ศาลได้ออกคำสั่งที่ผูกพันซึ่งกำหนดขอบเขตการเคลื่อนย้ายกำลังติดอาวุธของ ทั้งสองฝ่ายโดยรวมถึงพื้นที่ที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตยสำหรับทั้ง สองฝ่ายเลย ยิ่งไปกว่านั้นยังใช้สมมุติฐานว่ามาตรการชั่วคราวเป็นส่วนหนึ่งในคดีการตี ความ
ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่ามาตรชั่วคราวการดังกล่าวนั้นเกินกว่าเขตอำนาจศาล เนื่องจากผู้พิพากษาท่านนี้เห็นว่าในคดีนี้ศาลไม่มีอำนาจกำหนดมาตรการคุ้ม ครองชั่วคราวใดๆ จึงไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลข้อ (B)–(D) ทั้งหมด ในส่วนนี้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
ฝ่ายไทยควรใช้ประโยชน์จากความเห็นแย้งดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประเด็นคำประกาศปี 2493 ของประเทศไทยที่ได้สิ้นสุดการบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่ปี 2503 เป็นเหตุผลสำคัญในการไม่รับอำนาจศาลในเรื่องที่เห็นว่าอยู่นอกขอบเขตของการ ตีความที่ถูกต้อง นั่นคือ หากศาลรับคำขอให้ตีความของกัมพูชา ศาลจะมีขอบเขตอำนาจแค่เพียงบอกฝ่ายไทยและกัมพูชาว่าคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ที่ทั้งสองฝ่ายมีข้อพิพาทกัน หมายถึงอะไรเท่านั้น โดยไม่มีเขตอำนาจที่จะทำการตัดสินสิ่งใดใหม่ได้
2.3 คำ สั่งศาลข้อ (1): สำหรับคำสั่งศาลในข้อนี้ ศาลได้กำหนดเขตปลอดทหารชั่วคราว มีผู้พิพากษาถึง 5 คนซึ่งมีประธานศาลโลกและผู้พิพากษาเฉพาะกิจชาวฝรั่งเศสที่ไทยเลือกรวมอยู่ ด้วยที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลในข้อนี้ เหตุผลหลักที่ผู้พิพากษาทั้งห้าคนไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลในข้อนี้พอสรุปได้ ดังนี้
ประการที่หนึ่ง ศาลไม่มีอำนาจไปกำหนดเขตปลอดทหารดังกล่าวให้ล้ำเข้าไปในพื้นที่ที่อยู่ภาย ใต้อำนาจอธิปไตยของแต่ละรัฐซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่พิพาทแต่อย่างใด อันเป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของรัฐนั้นๆ โดยปราศจากความยินยอมของรัฐดังกล่าว หากจะมีการกำหนดเขตปลอดทหารก็ควรจำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่ที่มีข้อพิพาทกันเท่า นั้น
ประการที่สอง ศาลกำหนดเขตปลอดทหารดังกล่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่ตำแหน่งของมุมทั้งสี่มีการ กำหนดพิกัดที่แน่นอน โดยปราศจากการอธิบายให้เหตุผลว่าทำไมจึงต้องเป็นพิกัดดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการกำหนดในลักษณะที่ไม่เป็นจริง (artificial manner) โดยไม่ได้คำนึงถึงภูมิประเทศจริง รวมถึงความเป็นไปได้และความยากลำบากในการดำเนินการหรือการบังคับให้เป็นไป ตามมาตรการดังกล่าวของแต่ละฝ่าย
ประธานศาลโลกได้ให้ความเห็นแย้งเฉพาะตนบางส่วนพอสรุปได้ว่า คำสั่งกำหนดเขตปลอดทหารของศาลโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดเขต ล้ำเข้าไปในดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐโดยที่ดินแดนนั้นไม่ได้เป็น พื้นที่ที่มีปัญหาข้อพิพาทแต่อย่างใด จากทั้งหมดประมาณ 40 คำสั่งของศาลโลกในการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว มีเพียง 3 คดีเท่านั้นที่มีประเด็นของการถอนกำลังของฝ่ายคู่กรณีเกิดขึ้นและที่ศาลโลก ได้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวสั่งให้ฝ่ายที่มีข้อพิพาทกันหยุดกองกำลัง ติดอาวุธของตนจากการต่อสู้ที่ได้เกิดขึ้นจริงหรืออาจเกิดขึ้นได้ และให้กองกำลังของแต่ละฝ่ายออกจากเขตที่กำหนดตามคำสั่งศาล
แต่ศาลโลกไม่เคยสั่งไปไกลถึงกับให้ฝ่ายต่างๆ ถอนจากเขตปลอดทหารชั่วคราวซึ่งถูกคิดขึ้นมาอย่างไม่เป็นจริงโดยศาล และที่ประกอบด้วยส่วนของดินแดนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยอย่างไม่มีข้อโต้แย้งของ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อย่างที่ปรากฏในคำสั่งครั้งนี้
ส่วนผู้พิพากษาเฉพาะกิจชาวฝรั่งเศสที่ไทยเลือกได้ให้ความเห็นแย้งเฉพาะ ตนบางส่วนพอสรุปได้ว่า ศาลโลกได้รับคำร้องขอให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างการยื่นคำ ร้องขอให้ตีความคำพิพากษาตามธรรมนูญของศาลโลก มาตรา 60 และได้เคยใช้อำนาจนี้มาก่อนเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในคดีอาวีนา (Avena) ซึ่งเป็นคดีระหว่างเม็กซิโกกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งสถานการณ์ในครั้งนั้นแตกต่างจากในครั้งนี้อย่างสิ้นเชิง โดยในครั้งนั้นเป็นเรื่องของคนที่กำลังจะถูกประหารชีวิต หากศาลไม่มีคำสั่งให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ก็อาจทำให้คำพิพากษาสำหรับคำร้องขอให้ตีความที่จะมีขึ้นภายหลังกลายเป็น เรื่องไม่มีผลบังคับใช้เนื่องคนผู้นั้นได้ถูกประหารชีวิตไปแล้ว
แต่ในครั้งนี้เป็นเรื่องของการร้องขอให้ตีความคำพิพากษาเดิมที่ได้มีมา เกือบครึ่งศตวรรษมาแล้ว โดยที่การปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวมิได้เคยเป็นปัญหาแต่อย่างใดตลอดช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมา พื้นฐานของเขตอำนาจดั้งเดิมของศาลในเรื่องนี้ได้หมดสิ้นไปนานแล้ว ดังนั้นการพิจารณาในการจำกัดสิทธิในอธิปไตยเหนือดินแดนโดยการกำหนดมาตรการ คุ้มครองชั่วคราว จึงไม่สมควรควรกำหนดในกรณีที่ยังไม่ได้มีการตรวจสอบอำนาจศาลอย่างจริงจัง เสียก่อน
นอกจากนี้การที่กัมพูชาร้องขอให้ศาลย้อนกลับไปพิจารณาเพื่อพิพากษาว่า เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาในบริเวณใกล้เคียงกับปราสาทพระวิหารเป็นไป ตามเส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่ภาคผนวก 1 นั้น ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการตีความคำพิพากษา แต่เป็นลักษณะของการทบทวนคำพิพากษาดังกล่าวตามธรรมนูญของศาลโลก มาตรา 61
ผู้พิพากษาเฉพาะกิจคนดังกล่าวยังให้ความเห็นด้วยว่า จากข้อพิจารณาเกี่ยวกับคำร้องขอของกัมพูชานั้น ทำให้เกิดคำถามว่าได้มีการอาศัยกระบวนการพิจารณาของศาลโดยอ้อมค้อมเพื่อให้ เป็นประโยชน์ และเป็นไปได้หรือไม่ว่า ศาลกำลังเผชิญกับความพยายามในการนำคำร้องขอที่มีลักษณะเป็นเรื่องใหม่เข้า สู่การพิจารณาของศาล โดยนำประเด็นดังกล่าวไปพ่วงติดกับความขัดแย้งในเรื่องเกี่ยวกับการตีความคำ พิพากษา
ทั้งนี้เพื่อที่จะได้มีฐานรองรับเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ศาลจึงควรต้องพิจารณาประเด็นดังกล่าวในการพิจารณาคดีหลักเพื่อที่จะไม่ได้ เป็นการสนับสนุนการกระทำในลักษณะนี้ อันเป็นการขัดต่อหลักการที่สำคัญอย่างมากที่ว่าด้วยการยินยอมของทั้งสองฝ่าย ในการรับเขตอำนาจศาล นอกจากนี้ศาลได้ปฏิเสธคำร้องขอให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของกัมพูชา โดยพิจารณาว่ามีลักษณะเพื่อผลประโยชน์ฝ่ายเดียวมากเกินไป ศาลจึงได้กำหนดเขตปลอดทหารชั่วคราว แต่การกำหนดเขตดังกล่าวขาดความเหมาะสม ซึ่งหากทั้งสองฝ่ายเห็นว่ามาตรการดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติได้ในพื้นที่ จริง สถานการณ์ก็จะเลวร้ายลงไปอีกแทนที่จะดีขึ้น และจะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการที่ทั้งสองฝ่ายจะยอมรับในคำพิพากษาของศาลใน คดีหลักอันเกี่ยวข้องกับการกำหนดบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารที่อยู่ภาย ใต้อธิปไตยของกัมพูชา
">มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
2.3.1 การ ที่ผู้นำระดับสูงฝ่ายไทยหลายคนออกมาแสดงความพอใจต่อคำสั่งศาลดังกล่าวจึงไม่ เป็นการสมควร ที่ถูกแล้วถึงแม้ฝ่ายไทยได้แสดงเจตนาว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลในฐานะที่ เป็นสมาชิกสหประชาชาติก็ตาม แต่ควรที่จะต้องแสดงความไม่เห็นด้วยและท้วงติงในการที่ศาลได้ใช้อำนาจเกิน ขอบเขตอำนาจศาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนโดยไปกำหนดเขตปลอดทหารรุกล้ำเข้ามาใน ดินแดนอันอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทยอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีข้อโต้แย้ง ทั้งนี้เพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของฝ่ายไทยซึ่งตั้งอยู่บนความถูกต้อง ความยุติธรรม และความชอบธรรมในการปกป้องรักษาอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนไทย
2.3.2 สำหรับ เขตปลอดทหารชั่วคราวที่ศาลกำหนดนั้น ศาลระบุอย่างชัดเจนในย่อหน้าที่ 61 ของคำสั่งศาลว่า ย่อมไม่กระทบต่อการดำเนินการทางปกครองตามปกติ ซึ่งรวมถึงการให้เจ้าหน้าที่ที่มิใช่ทหารเข้าไปประจำการในส่วนที่จำเป็นต่อ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและทรัพย์สิน ดังนั้นฝ่ายไทยควรต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำการในเขตดังกล่าวเพื่อ ดำเนินการต่างๆ ทางปกครอง และคอยสอดส่องดูความเคลื่อนไหวของฝ่ายกัมพูชาด้วย ทั้งนี้ควรต้องมีการตกลงหาข้อสรุปอย่างชัดเจนกับฝ่ายกัมพูชาเพื่อป้องกัน ปัญหาขัดแย้งที่อาจเกิดในประเด็นนี้ด้วยว่า เจ้าหน้าที่ที่มิใช่ทหารนั้นหมายรวมถึงเจ้าหน้าที่ในลักษณะใดบ้าง มีพื้นที่ประจำการที่ใดได้ และอนุญาตให้มีอาวุธแบบใดได้บ้างในการใช้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในเขต ดังกล่าว
นอกจากนี้คำสั่งศาลไม่ได้ให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตดังกล่าวต้องออก ไปด้วย ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญเนื่องจากมี ตลาด วัด และชุมชนกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียวที่อยู่ในพื้นที่พิพาทบนเขาพระวิหาร อีกทั้งชุมชนดังกล่าวเกือบทั้งหมดเป็นครอบครัวของทหารกัมพูชา รวมทั้งเป็นการยากที่จะแยกแยะว่าบุคคลใดเป็นทหารหรือไม่หากอยู่ในชุด พลเรือน และจะมีหลักประกันอย่างไรที่จะป้องกันไม่ให้มีชาวกัมพูชาเข้ามาอาศัยเพิ่ม ขึ้นอีก หรือมีการก่อสร้างอะไรเพิ่มเติม ดังนั้นจึงต้องมีการตกลงหาข้อสรุปอย่างชัดเจนกับฝ่ายกัมพูชาในประเด็นนี้ ด้วย
เขตปลอดทหารชั่วคราวที่ศาลกำหนดมีแนวเขตตามเส้นสีแดงของรูปที่ 1 ซึ่งแสดงบนแผนที่ มาตราส่วน 1: 50,000 ลำดับชุด L 7017 ระวาง 5937 IV บ้านภูมิซรอล เขตดังกล่าวมีพื้นที่ประมาณ 17 ตารางกิโลเมตรกว่า หากพิจารณาภูมิประเทศตามลำดับความสูง (เส้นสีส้ม) และใช้เส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา (เส้นปะสีส้ม) ตามที่แสดงในแผนที่ดังกล่าว จะเห็นว่าพื้นที่ที่ฝ่ายไทยต้องถอนกำลังทหารส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงซึ่งมี ชัยภูมิการรบที่ดี ส่วนพื้นที่ที่ฝ่ายกัมพูชาต้องถอนกำลังทหารนั้น ยกเว้นบริเวณบนเขาพระวิหารที่ปัจจุบันมีกำลังทหารกัมพูชาประจำการอยู่แล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดลงของเชิงเขาซึ่งมีชัยภูมิรบที่ไม่ดีเลย
ถึงแม้ฝ่ายกัมพูชาจะต้องถอนกำลังทหารประมาณ 4,000 คน ในขณะที่ฝ่ายไทยต้องถอนกำลังทหารประมาณ 1,000 คน แต่ก็ไม่ได้แสดงว่าฝ่ายไทยได้เปรียบตามที่หลายฝ่ายกล่าวอ้างแต่อย่างใด เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องถอนอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหมดออกจากบริเวณที่ตั้ง ปัจจุบันด้วย ซึ่งฝ่ายไทยถึงแม้นจะได้วางกำลังทหารจำนวนน้อยกว่าฝ่ายกัมพูชามาก แต่ฝ่ายไทยอาศัยอาวุธยุทโธปกรณ์และชัยภูมิที่เหนือกว่าในการต่อสู้
2.4 คำสั่งศาลข้อ (2): สำหรับคำสั่งศาลในข้อนี้ ศาลได้กำหนดให้ฝ่ายไทยจะต้องไม่ขัดขวางการเข้าถึงอย่างอิสระของกัมพูชาไปยัง ปราสาทพระวิหาร หรือการจัดส่งเสบียงของกัมพูชาให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทหารของตนในปราสาทพระ วิหาร โดยความมุ่งหมายของคำสั่งศาลในข้อนี้แล้ว มิได้หมายความว่ากัมพูชาจะสามารถรุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทยเพื่อผ่านไปยัง ปราสาทพระวิหารได้อย่างอิสระและไม่มีเงื่อนไขใดๆ
แต่หมายความว่าหากกัมพูชามีเหตุผลอันจำเป็นที่จะต้องเข้ามาในดินแดนไทย เพื่อผ่านไปยังปราสาทพระวิหาร ไทยต้องยอมให้ผ่านจะไปขัดขวางไม่ได้ ทั้งนี้ไทยย่อมมีสิทธิในการที่จะสอบถามเหตุผลและตรวจสอบตามความเหมาะสมก่อน เพื่อพิจารณาให้ผ่านไปได้ แต่ไทยไม่สามารถตั้งเงื่อนไขในการให้ผ่านใดๆ ที่ไม่สมเหตุผลหรือไม่เหมาะสมได้ ในส่วนนี้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
เนื่องจากปัจจุบันมีทางเข้าถึงปราสาทพระวิหารได้ถึง 3 ทาง คือ ทางบันไดทางขึ้นใหญ่ทางทิศเหนือ ทางบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออกตรงช่องบันไดหัก และทางถนนทางทิศตะวันตกจากบ้านโกมุยในฝั่งกัมพูชาที่กัมพูชาได้สร้างรุกล้ำ ผ่านพื้นที่ 4.6 ก.ม. ขึ้นไปยังปราสาทพระวิหาร สำหรับบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออกซึ่งมีความสูงชันมากนั้น เดิมเป็นบันไดหินขนาดเล็กและมีหลายส่วนที่ชำรุดเสียหาย แต่ปัจจุบันกัมพูชาได้สร้างบันไดไม้คร่อมบนบันไดหินดังกล่าวตามรูปที่ 2 เพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้เป็นเส้นทางเดินขึ้นไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารตาม แผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาได้ส่งให้ศูนย์มรดกโลก เนื่องจากบันไดทางขึ้นใหญ่ทางทิศเหนือและถนนทางทิศตะวันตกจากบ้านโกมุย หากกัมพูชาจะใช้ผ่านขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารจะต้องผ่านพื้นที่ 4.6 ก.ม. ที่เป็นข้อพิพาท
ดังนั้นไทยจึงไม่ควรให้กัมพูชาผ่านไปยังปราสาทพระวิหารโดยใช้สองเส้นทาง นี้ ไทยควรต้องเจรจาตกลงกับกัมพูชาให้กัมพูชาใช้เฉพาะบันไดทางขึ้นทางทิศตะวัน ออกดังกล่าวเพื่อขึ้นไปถึงยังปราสาทพระวิหารเท่านั้น ส่วนทางขึ้นอื่นควรใช้ได้เฉพาะเมื่อมีเหตุผลจำเป็นอันไม่สามารถหลีกเลี่ยง ได้ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่ทั้งไทยและกัมพูชาจะได้ตกลงกัน แต่ทางที่ดีที่สุดควรให้กัมพูชาใช้ทางขึ้นเฉพาะทางบันไดทางทิศตะวันออกดัง กล่าวเท่านั้น
2.5 คำสั่งศาลข้อ (3): สำหรับคำสั่งศาลในข้อนี้ ศาลให้ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินความร่วมมือกันต่อไปตามที่ทั้งสองฝ่ายได้เข้า ร่วมในกรอบอาเซียน และโดยเฉพาะต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์ที่แต่งตั้งโดยอาเซียนเข้าไปยัง เขตปลอดทหารชั่วคราวดังกล่าวได้ ในส่วนนี้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
คำ สั่งนี้ศาลโลกไม่ได้กำหนดว่า คณะผู้สังเกตการณ์จะต้องเข้าไปในเขตปลอดทหารชั่วคราวในทันทีหรือก่อนที่จะมี การถอนกำลังทหารออกจากเขตดังกล่าว แต่ปรากฏว่า นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กลับออกมาแถลงยืนยันว่า ทหารกัมพูชาจะถอนออกจากเขตดังกล่าวก็ต่อเมื่อคณะผู้สังเกตการณ์ได้เข้าไปใน เขตดังกล่าวก่อน การกระทำดังกล่าวของนายฮุน เซน จึงเป็นการไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับคำสั่งศาล เพราะศาลสั่งตามข้อ (1) ให้ถอนกำลังทหารทั้งสองฝ่ายออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราวในทันที แต่ไม่ได้สั่งตามข้อ (3) ว่าคณะผู้สังเกตการณ์ต้องเข้าไปยังเขตดังกล่าวในทันทีหรือก่อนที่จะมีการถอน กำลังทหารของทั้งสองฝ่าย
ก่อนหน้านี้ในการประชุมอย่างไม่เป็นทาง การของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2554 ไทยและกัมพูชาได้ให้คำมั่นต่อกันและต่ออาเซียนที่จะไม่ให้เกิดการปะทะกัน อีก และเพื่อให้ความมั่นใจต่อกัน ต่ออาเซียน และต่อประชาคมโลก ทั้งสองประเทศได้เชิญรัฐบาลอินโดนีเซียให้ส่งคณะผู้สังเกตการณ์ไปในพื้นที่ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ฝั่งละ 15 คน โดยอินโดนีเซียจะได้มีหนังสือถึงไทยและกัมพูชาเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (Terms of Reference on the Deployment of the Indonesian Observers Team in the Affected Areas of the Cambodia-Thailand Border: TOR)
แต่หลังจากนั้นไทยและกัมพูชาก็ยังไม่สามารถตกลงเงื่อนไขการส่งคณะผู้ สังเกตการณ์อินโดนีเซียไปในพื้นที่ดังกล่าวได้ เนื่องจากไทยยืนยีนว่าคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียจะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ได้ก็ต่อเมื่อกองกำลังกัมพูชาต้องถอนออกจากปราสาทพระวิหาร วัดแก้วสิกขาคีรีสะวารา ชุมชน และตลาดก่อน
ทั้งนี้หากคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าไปโดยที่ยังมีกองกำลัง กัมพูชาอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมรับการกระทำดังกล่าวของ กัมพูชา อีกทั้งยังเป็นการยอมรับการสูญเสียอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนไทย แต่กัมพูชาปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามที่ไทยยืนยัน ดังนั้นคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียจึงยังไม่สามารถเขาปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่เมื่อศาลโลกมีคำสั่งตามข้อ (1) ให้ทั้งสองฝ่ายถอนฝ่ายถอนกำลังทหารออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราว การส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าไปปฏิบัติหน้าที่จึงไม่น่าจะมีปัญหา อีกต่อไป
2.6 คำสั่งศาลข้อ (4): สำหรับคำสั่งศาลในข้อนี้ ศาลให้ทั้งสองฝ่ายต้องงดเว้นจากการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้ข้อพิพาทที่ปรากฏต่อศาลเลวร้ายลงหรือเกิดมากขึ้น หรือทำให้มันยากยิ่งขึ้นที่จะแก้ไข ในส่วนนี้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
สำหรับคำสั่งศาลในข้อ นี้ ศาลได้กำหนดเป็นหลักการอย่างกว้างๆ ไม่ได้ระบุเป็นการเฉพาะเจาะจงอย่างชัดเจนว่าการกระทำใดที่ทั้งสองฝ่ายต้องด เว้น ดังนั้นไทยควรต้องเจรจาหารือกับกัมพูชาเพื่อให้มีการกำหนดอย่างชัดเจนใน ประเด็นนี้อันจะเป็นการป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างของการกระทำที่กัมพูชาอาจทำ เช่น การส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวกัมพูชาขึ้นไปอยู่อาศัยในชุมชนบนเขาพระวิหาร มากขึ้น และการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่วัดแก้วสิกขาคีรีสะวารา ชุมชน หรือตลาด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กัมพูชาควรงดเว้นเพราะจะทำให้มีข้อพิพาทเกิดมากขึ้น
2.7 คำ สั่งศาลข้อ (C)-(D): สำหรับคำสั่งศาลในข้อ (C) ศาลสั่งให้แต่ละฝ่ายต้องแจ้งต่อศาลถึงการปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ข้างต้น ในส่วนนี้คงไม่มีประเด็นปัญหา แต่สำหรับคำสั่งศาลในข้อ (D) ที่ศาลสั่งว่าจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาต่อคำร้องขอสำหรับการตีความ ศาลยังคงอำนาจต่อไปในการพิจารณาเรื่องราวสาระที่ก่อให้เกิดคำสั่งครั้งนี้ นั้น มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังนี้
หลังจากที่ศาลมีคำสั่งแล้ว หากสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีการกระทำของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขัดต่อคำสั่งศาลในข้อหนึ่งข้อใดและทั้งสอง ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ ฝ่ายที่ได้รับผลกระทบย่อมสามารถที่จะนำประเด็นดังกล่าวให้ศาลพิจารณาเพื่อ เปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ทั้งนี้ตามระเบียบของศาลโลก ข้อ 76 ตัวอย่างเช่น หากมีการขยายชุมชนกัมพูชาบนเขาพระวิหาร หรือกัมพูชามีการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่บนเขาพระวิหาร โดยกัมพูชาปฏิเสธที่จะระงับการกระทำดังกล่าวตามที่ไทยเรียกร้อง ไทยย่อมสามารถนำประเด็นดังกล่าวไปขอให้ศาลพิจารณาเปลี่ยนแปลงคำสั่งเกี่ยว กับมาตรการคุ้มครองชั่วคราวได้
สุดท้ายนี้ใน การสู้คดีที่กัมพูชาร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาลไทยไม่ควรปล่อยให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบต่อสู้คดีนี้ แต่เพียงฝ่ายเดียว ควรให้ผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยดำเนินการต่อสู้คดีด้วย โดยอาจตั้งเป็นรูปของคณะกรรมการกลาง นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศควรแปลเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวกับคำสั่งศาลโลก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. นี้ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูลด้วย
( โดย ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ )
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ไทย-เขมรเตรียมเปิดจุดผ่านแดนอีกสองแห่ง
ฟิฟทีนมูฟ — สื่อเขมรรายงาน จนท.ไทย-เขมร ร่วมหารือเปิดจุดผ่านแดนสองแห่ง โดยกำหนดเปิด ๓๑ ส.ค. นี้ ขณะสื่อท้องถิ่นไทยเผยหารือเปิดจุดผ่อนปรนชั่วคราวและเปิดตลาดพื้นที่ ช่องกร่าง พร้อมกันรั้วทางเดิน ขณะเขมรโวยไม่เอารั้วเพราะทำเสียบรรยากาศ
หนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ (๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔) รายงานว่า เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ที่ผ่านมา กองกำลังป้องกันพรมแดนของทั้งไทยและกัมพูชา ระหว่างผู้บัญชาการและรองผู้บัญชาการสองฝ่ายได้ร่วมหารือกัน เพื่อเปิดจุดผ่านแดนอีก ๒ แห่ง คือ ด่านทมอดูน1 และด่านจุบโกกี2 ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อ.บันเตียอำปึล จ.อุดรมีชัย ของกัมพูชา และ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์
ร.ท.คัด โซะเคือน3 ผู้กำกับการตำรวจจุบโกกี กองพันที่ ๗๐๒ ตำรวจป้องกันพรมแดน4 (ตชด.กัมพูชา) เปิดเผยว่า พ.อ.ยีม พัน5 ผู้บัญชาการจังหวัดทหารบกอุดรมีชัย ประจำด่านจุบโกกี ได้นำกำลังระดับผู้บัญชาการและรองผู้บัญชาการทหารอำเภอบันเตียอำปึล พร้อมตำรวจป้องกันพรมแดนจำนวนหนึ่ง พบปะหารือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ที่นำโดย พ.อ.ณัฎฐ์ ศรีอินทร์ ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ ๒๖6
โดยการหารือมีประเด็นหลักที่สำคัญสองประเด็น คือ ๑. ทหารกัมพูชาและทหารไทยร่วมพบปะสร้างมิตรภาพเพื่อผลักดันให้เกิดความสัมพันธ์ อันดี แสวงหาหนทางสลายความขัดแย้งร่วมกัน ให้กองกำลังทั้งสองฝ่ายมีความเชื่อใจกัน ให้มีเศรษฐกิจที่ดี เป็นผลประโยชน์สำหรับประชาชนทั้งสองฝ่ายที่จะนำสินค้ามาค้าขายระหว่างกัน ๒. ในวันที่ ๓๑ สิงหาคม เจ้าหน้าที่ทั้งจาก อ.บันเตียอำปึล และ อ.บ้านกรวด จะพบปะหารือเพื่อกำหนดวันเปิดด่านผ่านแดนทั้งสองแห่งอย่างเป็นทางการ
ขณะที่ หนังสือพิมพ์โคราชรายวัน คนอีสาน (๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๔) รายงานว่าการพบปะหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ของสองประเทศ มีขึ้นเมื่อวันที ๑๕ สิงหาคม ในพื้นที่ช่องกร่าง ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ โดยฝ่ายไทยประกอบด้วย พ.อ.ธัญญา เกียรติสาร ผู้บังคับการทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ ๒ กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ ๒ นายชาติชาย รัตนภานพ นายอำเภอพนมดงรัก พ.อ.ณัฎฐ์ ศรีอินทร์ ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ ๒๖ เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายกัมพูชาประกอบด้วย พล.ท. ซอ ณารงค์ ผู้ช่วยเสนาธิการกองทัพบก และเสนาธิการสมรภูมิรบที่ ๓ พร้อมด้วยนายฮุณ เรือน นางสโลม กึมลอน รองนายอำเภอปันเตียอำปึล และพล.ต. เนี๊ยะ วงศ์ รองผู้บังคับการกองพลน้อยที่ ๔๒ หารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานติดต่อกันในด้านต่างๆ บริเวณพื้นที่ชายแดนไทยและกัมพูชา รวมถึงแนวทางการเปิดจุดผ่อนปรน เพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าในพื้นที่ชั่วคราว บริเวณช่องกร่าง ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยกำหนดพื้นที่วางจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ของตน เอง
พ.อ.ณัฎฐ์ ศรีอินทร์ ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ ๒๖ กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยกำกับกำลังพล ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดนช่องกร่าง ต.บักได ชี้รายละเอียดข้อเสนอพิจารณาเบื้องต้นของผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทยได้เดินทาง มาตรวจพื้นที่ช่องกร่าง ตั้งแต่วันที่ ๕ สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีข้อเสนอ ดังนี้
๑. การเปิดจุดผ่อนปรนชั่วคราวดังกล่าว อย่าให้มีผลกระทบกับเส้นเขตแดน รวมทั้งหลักเขตแดน โดยเฉพาะบริเวณช่องกร่าง มีหลักเขตที่ ๒๒ ตั้งอยู่ อย่าให้แนวตลาดเข้าไปใกล้ เนื่องจากเกรงผู้ไม่หวังดีทำลายหรือเปลี่ยนแปลงหลักเขตได้ แต่อาจจะมีการอนุญาตให้ประชาชนทั้ง ๒ ประเทศสามารถเข้าชมหรือถ่ายภาพได้ แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายดูแลร่วมกัน ๒. ตลาดทั้งสองฝ่ายควรแยกออกจากกันเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม โดยมีพื้นที่ตรงกลางไว้รองรับการสัญจรไปมาของกันและกัน และ ๓. ร่วมกันวางมาตรการที่ดีร่วมกันในระยะยาว โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด
ในเบื้องต้นฝ่ายไทยได้สรุปข้อพิจารณามานำเสนอประชุมร่วมกับกัมพูชามี ๔ เรื่อง ประกอบด้วย ๑. รูปแบบและแผนผังการเปิดตลาดแลกเปลี่ยนสินค้า ๒. แนวความคิดกำหนดขอบเขต ๓. ประเภทสินค้าที่กัมพูชานำมาขาย และ ๔. วันเวลาเปิด-ปิด สำหรับแผนผังตลาดของไทยจะอยู่บริเวณหน้าฐานปฏิบัติการทหารช่องกร่าง และจะมีรั้วกำหนดขอบเขตชัดเจน ซึ่งจะเว้นตรงกลางเป็นช่องว่างทางเดินและจะมีรั้วหรือลวดหนามกั้นทางเดินไป ยังตลาดของกัมพูชาตรงกันข้าม ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายดูแลความสงบเรียบร้อยและการเข้า-ออกของ ประชาชนทั้งสองประเทศ สำหรับวัน เวลาในการเปิดตลาดนั้น ในช่วงแรกฝ่ายไทยเสนอให้เปิดตลาดนัดสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ในทุกวันพุธของสัปดาห์ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. โดยจะเปิดตลาดครั้งแรกในวันพุธที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
ระหว่างการหารือกัมพูชาได้โต้แย้งเรื่องที่ไทยกำหนดรั้วลวดหนามเพื่อกั้น เขตทางเดินสองฝั่งถนนเข้ามายังฝั่งไทย โดยเห็นว่าหากมีรั้วกั้นจะทำให้เสียบรรยากาศความสัมพันธ์ได้ ซึ่งพลโทซอ ณารงค์ ไม่อยากให้มีรั้วลวดหนามกั้นแนวถนนทั้งสองฝั่ง ยืนยันว่า ชาวกัมพูชาที่เดินทางมาตลาดที่จะเปิดใหม่นี้ เป็นคนดี ไม่มีคนร้าย และมีคนไม่มากที่จะมาตลาดแห่งนี้
ขณะที่พ.อ.ธัญญา เกียรติสาร ผู้บังคับการชุดเฉพาะกิจที่ ๒ กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ ๒ ชี้แจงว่า การกำหนดพื้นที่เดิน เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีทั้งไทยและกัมพูชา ที่อาจใช้ช่องว่างที่ไม่มีรั้วกันหลบหนีหรือลักลอบกระทำผิดกฎหมาย หรือขนสิ่งผิดกฎหมาย จึงจำเป็นจะต้องดำเนินการทำรั้วลวดหนามกั้นพื้นที่ไว้ แต่กัมพูชาไม่เห็นด้วย ซึ่งฝ่ายไทยระบุว่าเป็นข้อเสนอเบื้องต้น ที่จะต้องหารือกันในรายละเอียดอีกครั้ง เพราะเหลือเวลาอีกประมาณ ๒ สัปดาห์ นอกจากนี้แต่ละฝ่ายจะมีการตั้งคณะกรรมการหรือส่งตัวแทนมาร่วมประชุมย่อยกัน อีกครั้ง เพื่อหารือและเตรียมเปิดตลาดในวันที่ ๓๑ สิงหาคมนี้
มรดกโลกเขมรโต้ RBC ไม่คุยเสนอแผนบริหารฯ ร่วม
ฟิฟทีนมูฟ — คณะกรรมการมรดกโลกเขมรออกแถลงการณ์โต้ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ ที่ระบุว่าที่ประชุม RBC เห็นชอบเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารร่วมกัน และจะหารือกับผู้ว่าฯ พระวิหาร สิ้นเดือนนี้ แถลงการณ์ระบุไม่มีการคุยเรื่องนี้ และไม่มีเหตุผลที่ยกเอาเรื่องนี้มาพูดถึงอีก
คณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชา ออกแถลงการณ์ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ตอบโต้คำให้สัมภาษณ์ของ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ โดยในตอนต้นของแถลงการณ์ กล่าวแสดงการตอบรับการประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-กัมพูชา (RBC) ที่จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้หยิบยกประเด็นปัญหาต่าง ๆ ขึ้นหารือ รวมถึงมีการเตรียมการณ์สำหรับผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียในอนาคต การค้าขายและการท่องเที่ยวตามแนวชายแดน สร้างความเจริญให้พื้นที่ชายแดน และร่วมกันต่อต้านการลักลอบนำเข้ายาเสพติด
คณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชา อ้างคำให้สัมภาษณ์ของผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่เผยแพร่ในเอเอสทีวีและไทยทีวี วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ว่าคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค กัมพูชา-ไทย เห็นพ้องว่าจะเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารร่วมกัน และจะนำเรื่องหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดพระวิหารของกัมพูชา ในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยคณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชาขอปฏิเสธว่า ตามข่าวสารที่แจ้งโดยคณะตัวแทนกัมพูชาที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวนั้น ไม่มีการหารือเกี่ยวกับการเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารร่วมกันเลย ดังนั้น ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องยกปัญหานี้ขึ้นมากล่าวถึงอีก
อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ เชื่อ เขตแดนทางบกไม่กระทบในทะเล
ASTV
7 กมธ.วุฒิสภา เสวนา มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ถกข้อพิพาทจากคำสั่งศาลโลก-กก.มรดกโลก อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ ระบุ ไทย-กัมพูชา ต่างฝ่ายต่างปล่อยสัมปทานพลังงาน เพื่ออ้างเขตแดนตัวเอง แนะฝ่ายการเมืองอย่าล้วงลูกคณะทำงาน ชี้ขั้นตอนซับซ้อนหาประโยชน์ยาก เชื่อ เขตแดนทางบกไม่กระทบในทะเล ยัน เกาะกูด เป็นของไทยทั้งเกาะ ด้าน เมียปิยสวัสดิ์ อ้างรัฐ มาร์ค ไม่เลิกเอ็มโอยู 44 เหตุหวั่นกระทบความสัมพันธ์เพื่อนบ้าน
วันนี้ (26 ส.ค.) ที่โรงแรมรอยัล ริเวอร์ ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วุฒิสภา 7 คณะ อาทิ กมธ.การต่างประเทศ กมธ.การปกครองและ กมธ.การทหาร เป็นต้น โดย พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคทางทะเลฝ่ายไทย กล่าวตอนหนึ่งว่า ประเด็นเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอ่าวไทย-กัมพูชา ที่รัฐบาลสองฝ่ายไม่สามารถตกลงเรื่องเขตแดนได้ พบว่า มีมากถึง 2.6 หมื่น ตร.กม.และมีแหล่งพลังงานอยู่มหาศาล เบื้องต้นเชื่อว่า แหล่งพลังงานจะอยู่ในฝั่งไทยมากกว่าฝั่งกัมพูชา เนื่องจากลักษณะสัณฐานของภูมิประเทศที่มีส่วนเว้า ซึ่งขณะนี้ยอมรับว่า ในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวรัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้มีการให้สัมปทานบริษัทเอกชนที่จะเข้ามาขุดเจาะหาพลังงานกันแล้ว โดยรัฐบาลไทยได้ให้สัมปทานไปแล้วตั้งแต่ปี 2511 กับหลายบริษัท เช่น บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นต้น เช่นเดียวกับรัฐบาลกัมพูชาที่ให้สัมปทานกับบริษัทเอกชน ตั้งปี 2540
ในพื้นที่สัมปทานในพื้นที่กัมพูชา ยังมีปัญหาคือ หากขุดก๊าซแล้วจะไปไหนต่อ เพราะทางประเทศกัมพูชาไม่มีท่อก๊าซ และไม่มีโรงแยกก๊าซ ที่ผ่านมา รัฐบาลกัมพูชาคิดว่าจะขายให้กับฝั่งไทย แต่ก็มีปัญหาด้านการเมืองก่อน แต่คิดว่าปัญหานี้น่าจะเจรจากันได้เร็วๆล นี้ ส่วนผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะเป็นประเด็นผลโยชน์ของบุคคล ผมไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น เพราะมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่หลายหน่วยงาน เรื่องการเจรจานี้ยังมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่ ดังนั้น ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลคณะทำงานชุดนี้ยังทำงานอยู่ ควรปล่อยให้คณะนี้ทำงานต่อไป อย่าได้ล้วงลูก และเรื่องซุกผลประโยชน์ ผมว่าไม่มีทาง เพราะตั้งแต่โบราณกระบวนการเจรจาได้ถูกเซทไว้อย่างเป็นระบบแล้ว พล.ร.อ.ถนอม กล่าว
ทั้งนี้ พล.ร.อ.ถนอม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการบรรยายว่า การตั้งข้อสังเกตของหลายฝ่ายที่กังวลในประเด็นแหล่งพลังงานทางอ่าวไทย ในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ว่า ที่ผ่านมา ทั้ง 2 ประเทศ ประกาศว่า เป็นพื้นที่ของตนเองฝ่ายเดียว ซึ่งไม่มีผลรับรอทางกฎหมาย เพราะตามกฎบัตรสหประชาชาติ ระบุว่า ในพื้นที่ทับซ้อนต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศให้ได้ข้อยุติก่อน ขณะนี้ตนเห็นว่าแนวทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ต้องมีการเจรจากันและมีขั้นตอนอีกมา ดังนั้น เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ด้านพลังงาน จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เพราะการเจรจาเรื่องผลประโยชน์ดังกล่าวต้องมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุทกศาสตร์ กระทรวงการต่างประเทศ กรมแผนที่ทางทหาร กรมสนธิสัญญา กรมเชื้อเพลิง เป็นต้น และที่สำคัญต้องผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา ตามกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
พล.ร.อ.ถนอม กล่าวอีกว่า สำหรับข้อกังวลเรื่องกรณีที่ศาลโลกกำลังวินิจฉัยเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ยืนยันว่า การพิจารณาของศาลโลกจะพิจารณาเฉพาะการปักปันทางบก ถึงหลักเขตที่ 73 ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องถึงเขตแดนทางทะเล และไม่ได้ผ่ากลางเกาะกูดอย่างที่หลายฝ่ายซึ่งไม่มีความเข้าใจออกมาวิจารณ์ เพราะในอดีตมีหลักฐานที่ฝ่ายกัมพูชายอมรับว่าเกาะกูดเป็นของไทยหลายอย่างอีกด้วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีมติให้ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อไป พล.ร.อ.ถนอม กล่าวว่า มติ ครม.ดังกล่าวยังไม่ได้มีการยกเลิก เป็นเพียงการเห็นชอบในหลักการเท่านั้น และส่งเรื่องต่อให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งขณะนี้เรื่องยังคงค้างอยู่ ดังนั้น เป็นหน้าที่ที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องพิจารณาต่อไป ความเห็นส่วนตัวมองว่าหากมีการยกเลิกเอ็มโอยู 44 นั้นเท่ากับเป็นการล้มการเจรจาที่ผ่านมาตั้งปี 2513 ซึ่งหากเป็นไปตามนั้นไม่รู้กี่ปีจะได้ใช้พลังงานในพื้นที่ดังกล่าว
ด้าน นางอานิก อัมระนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ซึ่งได้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายด้วย เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า สาเหตุที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ยกเลิกเอ็มโอยู 44 อย่างเด็ดขาด โดยการนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภานั้น เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งกรณีที่คณะรัฐมนตรีชุดที่แล้ว ให้ความเห็นชอบในหลักการเพื่อยกเลิกนั้น เป็นเพียงการแสดงจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยกับเส้นเขตแดนทางทะเลที่กัมพูชาได้เขียนขึ้น ส่วนสาเหตุที่มาเรียกร้องในรัฐบาลชุดใหม่ เป็นเพราะต้องแสดงจุดยืนว่าเราคัดค้านและในเอ็มโอยู 44 ยังไม่มีการตกลงเรื่องการจัดสรรพลังงานที่แน่ชัด เกรงว่า จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่งได้
7 กมธ.วุฒิสภา เสวนา มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ถกข้อพิพาทจากคำสั่งศาลโลก-กก.มรดกโลก อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ ระบุ ไทย-กัมพูชา ต่างฝ่ายต่างปล่อยสัมปทานพลังงาน เพื่ออ้างเขตแดนตัวเอง แนะฝ่ายการเมืองอย่าล้วงลูกคณะทำงาน ชี้ขั้นตอนซับซ้อนหาประโยชน์ยาก เชื่อ เขตแดนทางบกไม่กระทบในทะเล ยัน เกาะกูด เป็นของไทยทั้งเกาะ ด้าน เมียปิยสวัสดิ์ อ้างรัฐ มาร์ค ไม่เลิกเอ็มโอยู 44 เหตุหวั่นกระทบความสัมพันธ์เพื่อนบ้าน
วันนี้ (26 ส.ค.) ที่โรงแรมรอยัล ริเวอร์ ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วุฒิสภา 7 คณะ อาทิ กมธ.การต่างประเทศ กมธ.การปกครองและ กมธ.การทหาร เป็นต้น โดย พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคทางทะเลฝ่ายไทย กล่าวตอนหนึ่งว่า ประเด็นเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอ่าวไทย-กัมพูชา ที่รัฐบาลสองฝ่ายไม่สามารถตกลงเรื่องเขตแดนได้ พบว่า มีมากถึง 2.6 หมื่น ตร.กม.และมีแหล่งพลังงานอยู่มหาศาล เบื้องต้นเชื่อว่า แหล่งพลังงานจะอยู่ในฝั่งไทยมากกว่าฝั่งกัมพูชา เนื่องจากลักษณะสัณฐานของภูมิประเทศที่มีส่วนเว้า ซึ่งขณะนี้ยอมรับว่า ในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวรัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้มีการให้สัมปทานบริษัทเอกชนที่จะเข้ามาขุดเจาะหาพลังงานกันแล้ว โดยรัฐบาลไทยได้ให้สัมปทานไปแล้วตั้งแต่ปี 2511 กับหลายบริษัท เช่น บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นต้น เช่นเดียวกับรัฐบาลกัมพูชาที่ให้สัมปทานกับบริษัทเอกชน ตั้งปี 2540
ในพื้นที่สัมปทานในพื้นที่กัมพูชา ยังมีปัญหาคือ หากขุดก๊าซแล้วจะไปไหนต่อ เพราะทางประเทศกัมพูชาไม่มีท่อก๊าซ และไม่มีโรงแยกก๊าซ ที่ผ่านมา รัฐบาลกัมพูชาคิดว่าจะขายให้กับฝั่งไทย แต่ก็มีปัญหาด้านการเมืองก่อน แต่คิดว่าปัญหานี้น่าจะเจรจากันได้เร็วๆล นี้ ส่วนผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะเป็นประเด็นผลโยชน์ของบุคคล ผมไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น เพราะมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่หลายหน่วยงาน เรื่องการเจรจานี้ยังมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่ ดังนั้น ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลคณะทำงานชุดนี้ยังทำงานอยู่ ควรปล่อยให้คณะนี้ทำงานต่อไป อย่าได้ล้วงลูก และเรื่องซุกผลประโยชน์ ผมว่าไม่มีทาง เพราะตั้งแต่โบราณกระบวนการเจรจาได้ถูกเซทไว้อย่างเป็นระบบแล้ว พล.ร.อ.ถนอม กล่าว
ทั้งนี้ พล.ร.อ.ถนอม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการบรรยายว่า การตั้งข้อสังเกตของหลายฝ่ายที่กังวลในประเด็นแหล่งพลังงานทางอ่าวไทย ในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ว่า ที่ผ่านมา ทั้ง 2 ประเทศ ประกาศว่า เป็นพื้นที่ของตนเองฝ่ายเดียว ซึ่งไม่มีผลรับรอทางกฎหมาย เพราะตามกฎบัตรสหประชาชาติ ระบุว่า ในพื้นที่ทับซ้อนต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศให้ได้ข้อยุติก่อน ขณะนี้ตนเห็นว่าแนวทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ต้องมีการเจรจากันและมีขั้นตอนอีกมา ดังนั้น เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ด้านพลังงาน จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เพราะการเจรจาเรื่องผลประโยชน์ดังกล่าวต้องมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุทกศาสตร์ กระทรวงการต่างประเทศ กรมแผนที่ทางทหาร กรมสนธิสัญญา กรมเชื้อเพลิง เป็นต้น และที่สำคัญต้องผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา ตามกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
พล.ร.อ.ถนอม กล่าวอีกว่า สำหรับข้อกังวลเรื่องกรณีที่ศาลโลกกำลังวินิจฉัยเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ยืนยันว่า การพิจารณาของศาลโลกจะพิจารณาเฉพาะการปักปันทางบก ถึงหลักเขตที่ 73 ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องถึงเขตแดนทางทะเล และไม่ได้ผ่ากลางเกาะกูดอย่างที่หลายฝ่ายซึ่งไม่มีความเข้าใจออกมาวิจารณ์ เพราะในอดีตมีหลักฐานที่ฝ่ายกัมพูชายอมรับว่าเกาะกูดเป็นของไทยหลายอย่างอีกด้วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีมติให้ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อไป พล.ร.อ.ถนอม กล่าวว่า มติ ครม.ดังกล่าวยังไม่ได้มีการยกเลิก เป็นเพียงการเห็นชอบในหลักการเท่านั้น และส่งเรื่องต่อให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งขณะนี้เรื่องยังคงค้างอยู่ ดังนั้น เป็นหน้าที่ที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องพิจารณาต่อไป ความเห็นส่วนตัวมองว่าหากมีการยกเลิกเอ็มโอยู 44 นั้นเท่ากับเป็นการล้มการเจรจาที่ผ่านมาตั้งปี 2513 ซึ่งหากเป็นไปตามนั้นไม่รู้กี่ปีจะได้ใช้พลังงานในพื้นที่ดังกล่าว
ด้าน นางอานิก อัมระนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ซึ่งได้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายด้วย เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า สาเหตุที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ยกเลิกเอ็มโอยู 44 อย่างเด็ดขาด โดยการนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภานั้น เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งกรณีที่คณะรัฐมนตรีชุดที่แล้ว ให้ความเห็นชอบในหลักการเพื่อยกเลิกนั้น เป็นเพียงการแสดงจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยกับเส้นเขตแดนทางทะเลที่กัมพูชาได้เขียนขึ้น ส่วนสาเหตุที่มาเรียกร้องในรัฐบาลชุดใหม่ เป็นเพราะต้องแสดงจุดยืนว่าเราคัดค้านและในเอ็มโอยู 44 ยังไม่มีการตกลงเรื่องการจัดสรรพลังงานที่แน่ชัด เกรงว่า จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่งได้
วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ไทยรับข้อเสนอเขมร ให้ผู้สังเกตการณ์เข้าพื้นที่พิพาท
| ||||
ผู้ว่าราชการ จ.ศรีสะเกษ เปิดเผยว่า ฝ่ายไทยยอมรับให้ผู้สังเกตการณ์จากต่างชาติเข้าในพื้นที่พิพาทตามข้อเสนอของ กัมพูชา และประสานความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัดพระวิหาร ของกัมพูชา เพื่อหารือเรื่องการเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารร่วมกัน ในวันที่ 30 สิงหาคม ที่ จ.ศรีสะเกษ
ส่วนสถานการณ์ตามแนวชายแดนด้าน จ.สุรินทร์ และจ.บุรีรัมย์ ทางการไทยเตรียมประสานความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัดฝั่งกัมพูชา เพื่อเปิดจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนชั่วคราวบริเวณช่องสายตะกู อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ และบริเวณช่องกร่าง ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ในวันที่ 31 สิงหาคมนี้
วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554
สิ่งที่รัฐบาล ปู พึงรู้เกี่ยวกับฮุนเซน
by supaluk
ฮุน เซน นับเป็นผู้นำรัฐบาลต่างประเทศคนแรกที่ได้ส่งสาส์นแสดงความยินดีต่อการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างเป็นทางการ โดยเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยเป็นผู้รับหน้าที่ส่งสาส์นดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งยังนับเป็นนักการทูตต่างชาติคนแรกที่เข้าพบ ยิ่งลักษณ์ อย่างเป็นทางการอีกด้วย
แน่นอนว่าการกระทำเช่นนี้ของ ฮุน เซน ในด้านหนึ่งนั้น ก็ต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งที่พึงกระทำอย่างยิ่งในฐานะที่ ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศที่กำลังมีปัญหาขัดแย้งอยู่กับประเทศไทย แต่ที่ผิดปกติก็คือการที่ ฮุน เซน ได้สั่งการให้ถอนทหารเขมรหลายร้อยนายออกไปจากพื้นที่พิพาทโดยรอบปราสาทพระวิหารแต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาล ฮุน เซน ได้ยืนกระต่ายขาเดียวมาโดยตลอดว่าจะไม่ยอมถอนทหารออกไปจากเขตปราสาทพระวิหารอย่างเด็ดขาด แต่ฝ่ายที่จะต้องถอนทหารออกจากพื้นที่ดังกล่าวก็คือฝ่ายไทยเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ในคำร้องที่รัฐบาล ฮุน เซน ยื่นต่อศาลโลกนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม การแสดงท่าทีเป็นมิตรของ ฮุน เซน ที่มีต่อ ยิ่งลักษณ์ (น้องสาวของ ทักษิณ เพื่อนรัก) ดังกล่าวนี้ ก็ยังถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีได้เช่นกัน (หากเทียบกับท่าทีที่มีต่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เพราะ ถ้าหากว่า ฮุน เซน มีเจตนาดีดังที่ได้พรรณาไว้ในสาส์นแสดงความยินดีที่ส่งถึงมือ ยิ่งลักษณ์ ดังกล่าวนี้จริงๆ ก็ย่อมจะทำให้ปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆที่ไทยกับกัมพูชามีอยู่ต่อกันนั้นสามารถที่จะเจรจาตกลงกันได้ง่ายขึ้นและเกิดผลที่เป็นรูปธรรมกว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน
ถึงกระนั้นก็ตาม สิ่งที่ ยิ่งลักษณ์ พึงจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการคบค้าสมาคมกับ ฮุน เซน ก็คือต้องจดจำไว้เลยว่าคนอย่าง ฮุน เซน นั้นไม่ยอมเสียเปรียบใคร และพร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากทุกคนที่เห็นว่าพอจะมีประโยชน์ต่อการรักษาผลประโยชน์และอำนาจทางการเมืองของเขาได้สืบไป
อย่างในกรณีของปราสาทพระวิหารนั้น แม้แต่เพื่อนรักอย่าง ทักษิณ ก็เกือบจะพลาดท่าให้กับ ฮุน เซนมาแล้ว เมื่อปรากฏว่า ฮุน เซน ได้มีจดหมายเชิญถึง ทักษิณ เพื่อขอให้เดินทางไปเยือนกัมพูชาในฐานะนายกรัฐมนตรีของไทย โดยสถานที่ที่ ฮุน เซน ได้จัดเตรียมไว้เพื่อจัดพิธีต้อนรับอย่างใหญ่โตนั้นก็คือสถานที่ที่เป็นที่ตั้งของวัดแก้วสิกขาสวารักษ์ในทุกวันนี้นั่นเอง แต่ก็ยังนับว่าดีที่ ทักษิณ ไม่พลาดเสียทีให้แก่ ฮุน เซน ในคราวนั้น
ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่ารัฐบาล ทักษิณ ในเวลานั้นมีรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศเป็นถึงศาสตราจารย์ทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศอย่าง กันตธีร์ ศุภมงคล ที่ได้ให้คำปรึกษาว่า ทักษิณ ไม่พึงเดินทางไปสถานที่ที่ ฮุน เซน จัดเตรียมไว้ดังกล่าว เพราะการเดินทางไปสถานที่เช่นว่านั้นจะเป็นเสมือนการยอมรับว่าพื้น ที่ (ซึ่งอยู่ในพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร) ดังกล่าวนั้นอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชานั่นเอง
โดยกรณีในลักษณะเดียวกันนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาก็เคยใช้ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลมาแล้ว ซึ่งก็คือกรณีที่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเสด็จเยือนปราสาทพระวิหาร โดยมีข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสคอยต้อนรับในขณะที่ตัวปราสาทนั้นประดับประดาไปด้วยธงชาติฝรั่งเศส ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นก็ได้ถูกฝ่ายกัมพูชาใช้เป็นพยานหลักฐานสำคัญและทำให้ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของฝ่ายกัมพูชาเมื่อ 50 ปีที่แล้ว
ถึงแม้ว่าในกรณีของ ทักษิณ ดังกล่าวนี้จะไม่เกิดขึ้นเพราะไหวตัวทันก็ตาม แต่สำหรับ ฮุน เซน แล้วหาได้หยุดเพียงเท่านั้นไม่ เมื่อปรากฏว่า ฮุน เซน ได้สั่งการให้ชาวเขมรโยกย้ายเข้าไปตั้งชุมชน ตลาดและวัดในพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรดังกล่าวเรื่อยมา และที่ถือว่าผิดปกติอย่างยิ่งก็คือทางการไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศได้ให้การยืนยันว่าได้ทำการประท้วงการกระทำดังกล่าวของฝ่าย ฮุน เซน มาโดยตลอด แต่ก็มิทราบได้ว่าเหตุไฉนการประท้วงที่ว่านั้นมันถึงเงียบกริบมาโดยตลอดเช่นกัน
ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าผู้นำรัฐบาลไทยในช่วงนั้นไม่ต้องการให้เรื่องนี้กลายเป็นข่าวใหญ่โต เนื่องจากเชื่อมั่นว่าด้วยความเป็นเพื่อนรักที่มีอยู่กับ ฮุน เซน นั้นจะทำให้สามารถพูดจาเพื่อตกลงกันได้โดยง่าย และในขณะเดียวกัน ช่วงเวลานั้นก็เป็นช่วงที่ (ผู้นำ) รัฐบาลไทยกับกัมพูชากำลังเจรจาต่อรองกันในหลายเรื่องเช่นการปักปันเขตแดนทางบก การแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในเขตทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย และการลงทุนพัฒนาเกาะกงให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเป็นต้น จึงทำให้ต้องเก็บงำการประท้วงที่ว่านี้เอาไว้เพื่อไม่ให้เสียบรรยากาศของการเจรจาต่อรองดังกล่าว
ครั้นแล้ว ทักษิณ ก็พลาดจนได้ เมื่อความเชื่อมั่นที่เต็มเปี่ยมนั้นต้องมีอันสูญสลายไปกับการถูกรัฐประ หารยึดอำนาจทางการเมืองในเดือนกันยายน 2549 และถึงแม้ว่าพลพรรคของ ทักษิณ จะชนะการเลือก ตั้งทั่วไปในปี 2551 แต่ความเชื่อมั่นที่เคยมีในอดีตนั้นก็ได้กลับกลายเป็นอาวุธที่ได้ย้อนกลับมาทิ่มแทง ทักษิณ จนแทบจะเอาตัวไม่รอด มิหนำซ้ำเพื่อนรักอย่าง ฮุน เซน นั้นก็ยังมิยอมอพยพชาวเขมรออกไปจากพื้นที่พิพาทดังกล่าวจนเท่าทุกวันนี้อีกด้วย
นอกจากนี้ ก็มีอีกกรณีหนึ่งที่ ยิ่งลักษณ์ (น้องรักของ ทักษิณ) จะต้องระมัดระวังไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ซึ่งก็คือการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในเขตทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย เพราะกระแสข่าวล่าสุดที่หลุดออกมาจากปากของ Steve Glick ประธานของกลุ่มบริษัท Chevron แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้สำรวจหาแหล่งน้ำมันและแก๊สฯรายใหญ่ที่สุดที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ฮุน เซน นั้น ก็คือกลุ่มบริษัท Chevron พร้อมแล้วที่จะลงทุนขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯในอ่าวไทย โดยในขณะนี้ยังรอเพียงไฟเขียวจากรัฐบาล ฮุน เซน เท่านั้น
ฉะนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกันที่ ฮุน เซน ต้องรีบร้อนส่งสาส์นแสดงความดีใจถึง ยิ่งลักษณ์ เช่นนี้ เพราะผลประโยชน์จากน้ำมันและแก๊สฯที่ ฮุน เซน คาดหวังว่าจะได้อย่างเป็นกอบเป็นกำนั้นย่อมไม่ใช่เพียงเฉพาะในเขตน่านน้ำของกัมพูชาเท่านั้น หากแต่ ฮุน เซน ยังได้มองถึงเขตทับซ้อนทางทะเลที่มีอยู่กับไทยที่มีอาณาบริเวณกว้างกว่า 27,000 ตารางกิโลเมตรด้วย และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ ฮุน เซน ยังคาดหวังด้วยว่าผลลัพธ์ของการเจรจากับ ยิ่งลักษณ์ นั้นจะออกมาอย่างเดียวกันกับที่เคยตกลงในหลักการไว้กับ ทักษิณ เพื่อนรักด้วย
ทั้งนี้โดยความต้องการของ ฮุน เซน ได้ถูกเปิดเผยโดยเว็บไซต์เจ้าปัญหาอย่าง Wiki-leak ซึ่งได้ปล่อยข้อมูลลับออกมาว่า “ฮุน เซน กับ ทักษิณ นั้นเคยตกลงแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างกันในสัดส่วน 80 ต่อ 20”
ซึ่งหากจะว่าไปแล้วกรณีดังกล่าวนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะก่อนหน้านี้ ฮุน เซน ได้หลุดปากออกมาในโอกาสเป็นประธานในพิธีมอบปริญญาบัตรให้กับผู้จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญว่าเขาได้กำหนดให้เวลากับกลุ่ม Chevron ยักษ์ ใหญ่ในวงการน้ำมันของสหรัฐฯ เพื่อให้ดำเนินการขุดค้น-นำเอาน้ำมันและแก๊สฯที่อยู่ในเขตน่านน้ำทางทะเลของกัมพูชาในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้ภายในปี 2012 หากไม่เช่นนั้นก็จะดำเนินการถอนสัมปทานทันที
พร้อมกันนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้การปิโตรเลียมแห่งชาติซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลกัมพูชานั้น ให้เร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อให้ร่วมทุนกับ Chevron Corp ในการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯเป็นการเฉพาะอีกด้วย
ส่วนในอีกด้านหนึ่งนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้รัฐวิสาหกิจปิโตรเลียมแห่งชาติเร่งเซ็นสัญญากับกลุ่ม TOYO Engineering จากญี่ปุ่นเพื่อให้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกในกัมพูชา ด้วยหวังว่าจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลุ่ม TOYO ตัดสินใจลงทุนในด้านดังกล่าวนี้ในกัมพูชาในระยะต่อไป
ทั้งนี้โดย ฮุน เซน ได้ให้คำมั่นว่ารัฐบาลของเขาจะเร่งทำการร่างกฎหมายน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเพื่อให้สภาแห่งชาติให้การรับรองและประกาศบังคับใช้ในเร็วๆนี้ จึงเชื่อได้เลยว่ากฎหมายน้ำมันฉบับแรกของกัมพูชาจะผ่านการเห็นชอบในทุกวาระได้อย่างชนิดที่เรียกว่าแบบม้วนเดียวจบ
ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าด้วยอำนาจอันท่วมล้นของรัฐบาล ฮุน เซน นั้น ได้กำหนดวันเวลาไว้แล้วว่าแก๊สฯและน้ำมันหยดแรกในอ่าวไทยนั้น จะต้องถูกสูบขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชาให้ได้ในวันที่ 12 ธันวาคม 2012 หรือ 12-12-12 (ว่ากันว่าเป็นเคล็ดวิชาที่จะทำให้ ฮุน เซน สามารถที่จะครองอำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาได้ยาวนานถึง 36 ปีติดต่อกันหรือก่อนที่จะถ่ายโอนอำนาจให้กับ ฮุน มาเนตร บุตรชายคนโตเมื่อ ฮุน เซน มีอายุครบ 70 ปีพอดี)
ทั้งนี้โดยธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้น เชื่อว่าน้ำมันและแก๊สฯ ในเขตทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวนี้มีน้ำมันสำรองที่มากถึง 2,000 ล้านบาร์เรล และมีแก๊สฯอีกกว่า 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตหรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกันมากกว่า 5 ล้านล้านบาท ซึ่งถ้าหากขุดค้นขึ้นมาก็จะทำให้รัฐบาล ฮุน เซน มีรายรับมากกว่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเลยทีเดียว
แต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการตัดสินใจของกลุ่มบริษัทต่างๆ ตลอดช่วงที่ผ่านมา ก็คือการที่ไทยกับกัมพูชายังไม่สามารถตกลงกันได้ทั้งในส่วนของการแบ่งปันผลประโยชน์และเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างกัน
แต่ถึงกระนั้น ทักษิณ กับ ฮุน เซน ก็เคยตกลงในหลักการร่วมกันมาแล้ว เมื่อเดือนสิงหาคม 2549 โดยได้แบ่งเขตทับซ้อนทางทะเลออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่อยู่ตรงกึ่งกลางให้แบ่งผลประโยชน์ในสัดส่วน 50 ต่อ 50 แต่ก็ยังตกลงกันไม่ได้คือเขตที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของแต่ละฝ่าย ซึ่งฝ่ายไทยเสนอให้แบ่ง 60 ต่อ 40 แต่ฝ่ายกัมพูชาต้องการให้แบ่ง 90 ต่อ 10 เพราะได้รับข้อมูลว่าพื้นที่ที่อยู่ใกล้ฝั่งกัมพูชานั้นมีน้ำมันและแก๊สฯมากกว่าเขตที่อยู่ใกล้ฝั่งไทย
ครั้นเมื่อรู้ไส้เห็นพุงของ ฮุน เซน เช่นนี้แล้ว จึงอยู่ที่ ยิ่งลักษณ์ เองว่าจะเลือกเดินตามรอยทางที่ผู้เป็นพี่ชายได้วางไว้หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่ ยิ่งลักษณ์ พึงจะต้องระมัดระวังไว้ให้มากอย่างยิ่งยวดนั้นย่อมมิใช่สีเสื้อต่างๆ ในประเทศไทยอย่างแน่นอน หากแต่เป็น ฮุน เซน เพื่อนรักของ ทักษิณ นั่นเอง!!!
ทรงฤทธิ์ โพนเงิน
ฮุน เซน นับเป็นผู้นำรัฐบาลต่างประเทศคนแรกที่ได้ส่งสาส์นแสดงความยินดีต่อการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างเป็นทางการ โดยเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยเป็นผู้รับหน้าที่ส่งสาส์นดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งยังนับเป็นนักการทูตต่างชาติคนแรกที่เข้าพบ ยิ่งลักษณ์ อย่างเป็นทางการอีกด้วย
แน่นอนว่าการกระทำเช่นนี้ของ ฮุน เซน ในด้านหนึ่งนั้น ก็ต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งที่พึงกระทำอย่างยิ่งในฐานะที่ ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศที่กำลังมีปัญหาขัดแย้งอยู่กับประเทศไทย แต่ที่ผิดปกติก็คือการที่ ฮุน เซน ได้สั่งการให้ถอนทหารเขมรหลายร้อยนายออกไปจากพื้นที่พิพาทโดยรอบปราสาทพระวิหารแต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาล ฮุน เซน ได้ยืนกระต่ายขาเดียวมาโดยตลอดว่าจะไม่ยอมถอนทหารออกไปจากเขตปราสาทพระวิหารอย่างเด็ดขาด แต่ฝ่ายที่จะต้องถอนทหารออกจากพื้นที่ดังกล่าวก็คือฝ่ายไทยเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ในคำร้องที่รัฐบาล ฮุน เซน ยื่นต่อศาลโลกนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม การแสดงท่าทีเป็นมิตรของ ฮุน เซน ที่มีต่อ ยิ่งลักษณ์ (น้องสาวของ ทักษิณ เพื่อนรัก) ดังกล่าวนี้ ก็ยังถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีได้เช่นกัน (หากเทียบกับท่าทีที่มีต่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เพราะ ถ้าหากว่า ฮุน เซน มีเจตนาดีดังที่ได้พรรณาไว้ในสาส์นแสดงความยินดีที่ส่งถึงมือ ยิ่งลักษณ์ ดังกล่าวนี้จริงๆ ก็ย่อมจะทำให้ปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆที่ไทยกับกัมพูชามีอยู่ต่อกันนั้นสามารถที่จะเจรจาตกลงกันได้ง่ายขึ้นและเกิดผลที่เป็นรูปธรรมกว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน
ถึงกระนั้นก็ตาม สิ่งที่ ยิ่งลักษณ์ พึงจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการคบค้าสมาคมกับ ฮุน เซน ก็คือต้องจดจำไว้เลยว่าคนอย่าง ฮุน เซน นั้นไม่ยอมเสียเปรียบใคร และพร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากทุกคนที่เห็นว่าพอจะมีประโยชน์ต่อการรักษาผลประโยชน์และอำนาจทางการเมืองของเขาได้สืบไป
อย่างในกรณีของปราสาทพระวิหารนั้น แม้แต่เพื่อนรักอย่าง ทักษิณ ก็เกือบจะพลาดท่าให้กับ ฮุน เซนมาแล้ว เมื่อปรากฏว่า ฮุน เซน ได้มีจดหมายเชิญถึง ทักษิณ เพื่อขอให้เดินทางไปเยือนกัมพูชาในฐานะนายกรัฐมนตรีของไทย โดยสถานที่ที่ ฮุน เซน ได้จัดเตรียมไว้เพื่อจัดพิธีต้อนรับอย่างใหญ่โตนั้นก็คือสถานที่ที่เป็นที่ตั้งของวัดแก้วสิกขาสวารักษ์ในทุกวันนี้นั่นเอง แต่ก็ยังนับว่าดีที่ ทักษิณ ไม่พลาดเสียทีให้แก่ ฮุน เซน ในคราวนั้น
ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่ารัฐบาล ทักษิณ ในเวลานั้นมีรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศเป็นถึงศาสตราจารย์ทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศอย่าง กันตธีร์ ศุภมงคล ที่ได้ให้คำปรึกษาว่า ทักษิณ ไม่พึงเดินทางไปสถานที่ที่ ฮุน เซน จัดเตรียมไว้ดังกล่าว เพราะการเดินทางไปสถานที่เช่นว่านั้นจะเป็นเสมือนการยอมรับว่าพื้น ที่ (ซึ่งอยู่ในพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร) ดังกล่าวนั้นอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชานั่นเอง
โดยกรณีในลักษณะเดียวกันนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาก็เคยใช้ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลมาแล้ว ซึ่งก็คือกรณีที่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเสด็จเยือนปราสาทพระวิหาร โดยมีข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสคอยต้อนรับในขณะที่ตัวปราสาทนั้นประดับประดาไปด้วยธงชาติฝรั่งเศส ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นก็ได้ถูกฝ่ายกัมพูชาใช้เป็นพยานหลักฐานสำคัญและทำให้ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของฝ่ายกัมพูชาเมื่อ 50 ปีที่แล้ว
ถึงแม้ว่าในกรณีของ ทักษิณ ดังกล่าวนี้จะไม่เกิดขึ้นเพราะไหวตัวทันก็ตาม แต่สำหรับ ฮุน เซน แล้วหาได้หยุดเพียงเท่านั้นไม่ เมื่อปรากฏว่า ฮุน เซน ได้สั่งการให้ชาวเขมรโยกย้ายเข้าไปตั้งชุมชน ตลาดและวัดในพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรดังกล่าวเรื่อยมา และที่ถือว่าผิดปกติอย่างยิ่งก็คือทางการไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศได้ให้การยืนยันว่าได้ทำการประท้วงการกระทำดังกล่าวของฝ่าย ฮุน เซน มาโดยตลอด แต่ก็มิทราบได้ว่าเหตุไฉนการประท้วงที่ว่านั้นมันถึงเงียบกริบมาโดยตลอดเช่นกัน
ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าผู้นำรัฐบาลไทยในช่วงนั้นไม่ต้องการให้เรื่องนี้กลายเป็นข่าวใหญ่โต เนื่องจากเชื่อมั่นว่าด้วยความเป็นเพื่อนรักที่มีอยู่กับ ฮุน เซน นั้นจะทำให้สามารถพูดจาเพื่อตกลงกันได้โดยง่าย และในขณะเดียวกัน ช่วงเวลานั้นก็เป็นช่วงที่ (ผู้นำ) รัฐบาลไทยกับกัมพูชากำลังเจรจาต่อรองกันในหลายเรื่องเช่นการปักปันเขตแดนทางบก การแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในเขตทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย และการลงทุนพัฒนาเกาะกงให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเป็นต้น จึงทำให้ต้องเก็บงำการประท้วงที่ว่านี้เอาไว้เพื่อไม่ให้เสียบรรยากาศของการเจรจาต่อรองดังกล่าว
ครั้นแล้ว ทักษิณ ก็พลาดจนได้ เมื่อความเชื่อมั่นที่เต็มเปี่ยมนั้นต้องมีอันสูญสลายไปกับการถูกรัฐประ หารยึดอำนาจทางการเมืองในเดือนกันยายน 2549 และถึงแม้ว่าพลพรรคของ ทักษิณ จะชนะการเลือก ตั้งทั่วไปในปี 2551 แต่ความเชื่อมั่นที่เคยมีในอดีตนั้นก็ได้กลับกลายเป็นอาวุธที่ได้ย้อนกลับมาทิ่มแทง ทักษิณ จนแทบจะเอาตัวไม่รอด มิหนำซ้ำเพื่อนรักอย่าง ฮุน เซน นั้นก็ยังมิยอมอพยพชาวเขมรออกไปจากพื้นที่พิพาทดังกล่าวจนเท่าทุกวันนี้อีกด้วย
นอกจากนี้ ก็มีอีกกรณีหนึ่งที่ ยิ่งลักษณ์ (น้องรักของ ทักษิณ) จะต้องระมัดระวังไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ซึ่งก็คือการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในเขตทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย เพราะกระแสข่าวล่าสุดที่หลุดออกมาจากปากของ Steve Glick ประธานของกลุ่มบริษัท Chevron แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้สำรวจหาแหล่งน้ำมันและแก๊สฯรายใหญ่ที่สุดที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ฮุน เซน นั้น ก็คือกลุ่มบริษัท Chevron พร้อมแล้วที่จะลงทุนขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯในอ่าวไทย โดยในขณะนี้ยังรอเพียงไฟเขียวจากรัฐบาล ฮุน เซน เท่านั้น
ฉะนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกันที่ ฮุน เซน ต้องรีบร้อนส่งสาส์นแสดงความดีใจถึง ยิ่งลักษณ์ เช่นนี้ เพราะผลประโยชน์จากน้ำมันและแก๊สฯที่ ฮุน เซน คาดหวังว่าจะได้อย่างเป็นกอบเป็นกำนั้นย่อมไม่ใช่เพียงเฉพาะในเขตน่านน้ำของกัมพูชาเท่านั้น หากแต่ ฮุน เซน ยังได้มองถึงเขตทับซ้อนทางทะเลที่มีอยู่กับไทยที่มีอาณาบริเวณกว้างกว่า 27,000 ตารางกิโลเมตรด้วย และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ ฮุน เซน ยังคาดหวังด้วยว่าผลลัพธ์ของการเจรจากับ ยิ่งลักษณ์ นั้นจะออกมาอย่างเดียวกันกับที่เคยตกลงในหลักการไว้กับ ทักษิณ เพื่อนรักด้วย
ทั้งนี้โดยความต้องการของ ฮุน เซน ได้ถูกเปิดเผยโดยเว็บไซต์เจ้าปัญหาอย่าง Wiki-leak ซึ่งได้ปล่อยข้อมูลลับออกมาว่า “ฮุน เซน กับ ทักษิณ นั้นเคยตกลงแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างกันในสัดส่วน 80 ต่อ 20”
ซึ่งหากจะว่าไปแล้วกรณีดังกล่าวนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะก่อนหน้านี้ ฮุน เซน ได้หลุดปากออกมาในโอกาสเป็นประธานในพิธีมอบปริญญาบัตรให้กับผู้จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญว่าเขาได้กำหนดให้เวลากับกลุ่ม Chevron ยักษ์ ใหญ่ในวงการน้ำมันของสหรัฐฯ เพื่อให้ดำเนินการขุดค้น-นำเอาน้ำมันและแก๊สฯที่อยู่ในเขตน่านน้ำทางทะเลของกัมพูชาในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้ภายในปี 2012 หากไม่เช่นนั้นก็จะดำเนินการถอนสัมปทานทันที
พร้อมกันนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้การปิโตรเลียมแห่งชาติซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลกัมพูชานั้น ให้เร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อให้ร่วมทุนกับ Chevron Corp ในการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯเป็นการเฉพาะอีกด้วย
ส่วนในอีกด้านหนึ่งนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้รัฐวิสาหกิจปิโตรเลียมแห่งชาติเร่งเซ็นสัญญากับกลุ่ม TOYO Engineering จากญี่ปุ่นเพื่อให้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกในกัมพูชา ด้วยหวังว่าจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลุ่ม TOYO ตัดสินใจลงทุนในด้านดังกล่าวนี้ในกัมพูชาในระยะต่อไป
ทั้งนี้โดย ฮุน เซน ได้ให้คำมั่นว่ารัฐบาลของเขาจะเร่งทำการร่างกฎหมายน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเพื่อให้สภาแห่งชาติให้การรับรองและประกาศบังคับใช้ในเร็วๆนี้ จึงเชื่อได้เลยว่ากฎหมายน้ำมันฉบับแรกของกัมพูชาจะผ่านการเห็นชอบในทุกวาระได้อย่างชนิดที่เรียกว่าแบบม้วนเดียวจบ
ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าด้วยอำนาจอันท่วมล้นของรัฐบาล ฮุน เซน นั้น ได้กำหนดวันเวลาไว้แล้วว่าแก๊สฯและน้ำมันหยดแรกในอ่าวไทยนั้น จะต้องถูกสูบขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชาให้ได้ในวันที่ 12 ธันวาคม 2012 หรือ 12-12-12 (ว่ากันว่าเป็นเคล็ดวิชาที่จะทำให้ ฮุน เซน สามารถที่จะครองอำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาได้ยาวนานถึง 36 ปีติดต่อกันหรือก่อนที่จะถ่ายโอนอำนาจให้กับ ฮุน มาเนตร บุตรชายคนโตเมื่อ ฮุน เซน มีอายุครบ 70 ปีพอดี)
ทั้งนี้โดยธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้น เชื่อว่าน้ำมันและแก๊สฯ ในเขตทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวนี้มีน้ำมันสำรองที่มากถึง 2,000 ล้านบาร์เรล และมีแก๊สฯอีกกว่า 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตหรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกันมากกว่า 5 ล้านล้านบาท ซึ่งถ้าหากขุดค้นขึ้นมาก็จะทำให้รัฐบาล ฮุน เซน มีรายรับมากกว่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเลยทีเดียว
แต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการตัดสินใจของกลุ่มบริษัทต่างๆ ตลอดช่วงที่ผ่านมา ก็คือการที่ไทยกับกัมพูชายังไม่สามารถตกลงกันได้ทั้งในส่วนของการแบ่งปันผลประโยชน์และเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างกัน
แต่ถึงกระนั้น ทักษิณ กับ ฮุน เซน ก็เคยตกลงในหลักการร่วมกันมาแล้ว เมื่อเดือนสิงหาคม 2549 โดยได้แบ่งเขตทับซ้อนทางทะเลออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่อยู่ตรงกึ่งกลางให้แบ่งผลประโยชน์ในสัดส่วน 50 ต่อ 50 แต่ก็ยังตกลงกันไม่ได้คือเขตที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของแต่ละฝ่าย ซึ่งฝ่ายไทยเสนอให้แบ่ง 60 ต่อ 40 แต่ฝ่ายกัมพูชาต้องการให้แบ่ง 90 ต่อ 10 เพราะได้รับข้อมูลว่าพื้นที่ที่อยู่ใกล้ฝั่งกัมพูชานั้นมีน้ำมันและแก๊สฯมากกว่าเขตที่อยู่ใกล้ฝั่งไทย
ครั้นเมื่อรู้ไส้เห็นพุงของ ฮุน เซน เช่นนี้แล้ว จึงอยู่ที่ ยิ่งลักษณ์ เองว่าจะเลือกเดินตามรอยทางที่ผู้เป็นพี่ชายได้วางไว้หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่ ยิ่งลักษณ์ พึงจะต้องระมัดระวังไว้ให้มากอย่างยิ่งยวดนั้นย่อมมิใช่สีเสื้อต่างๆ ในประเทศไทยอย่างแน่นอน หากแต่เป็น ฮุน เซน เพื่อนรักของ ทักษิณ นั่นเอง!!!
ทรงฤทธิ์ โพนเงิน
เจีย มอน ไม่แน่ใจ RBC คุยน้ำมันหรือไม่
ฟิฟทีนมูฟ – เจีย มอน หน. RBC เขมรเผยนำคณะ ๓๕ คน ร่วมหารือไทย คุยปัญหาทุกด้าน เน้นสร้างความไว้วางใจ ระบุไม่แน่ใจจะนำเรื่องสำรวจแหล่งน้ำมันคุยด้วยหรือไม่ ขึ้นกับที่ประชุม ขณะ โกย กวง เผยเขมรหวังการแก้ปัญหาเขตแดนคืบหน้าเพราะเขมรไว้ใจรัฐบาลปูแดง
หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ฉบับภาษาเขมร (๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔) รายงานอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ พล.ท.เจีย มอน1 รองผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารภูมิภาคที่ ๔ วานนี้ ก่อนออกเดินทางมาร่วมประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (RBC) ที่ประเทศไทย เปิดเผยว่าตนจะนำคณะเจ้าหน้าที่ทหารจำนวน ๓๕ คน เพื่อร่วมประชุมทวิภาคีเป็นเวลา ๓ วัน กับฝ่ายไทย
พล.ท.เจีย มอน กล่าวว่า คณะจะหารือเกี่ยวกับปัญหาทุกด้านที่มีตามแนวตะเข็บชายแดนกัมพูชา-ไทย อย่างเช่น ปัญหาความมั่นคงและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทหาร และสิ่งที่สำคัญสุดคือ กัมพูชาจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน เพราะมันเป็นปัญหาหลักในการทำให้มีความก้าวหน้า สำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งพรมแดน
นอกจากนี้ พล.ท.เจีย มอน ได้ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับการขุดสำรวจน้ำมันในพื้นที่อ้างสิทธิ์ ทับซ้อนทางทะเล ระหว่างไทยและกัมพูชา โดยกล่าวเพียงว่า มีการกล่าวถึงมากว่าจะมีการนำเอาเรื่องนี้ไปหารือหรือไม่ซึ่งขึ้นกับที่ ประชุม ไม่สามารถยืนยันล่วงหน้าได้ กัมพูชาหวังว่าในศักราชใหม่ของความร่วมมือนี้ จะมีความก้าวหน้ามากขึ้นหลังค้างคามาเป็นเวลานาน
ขณะที่ นายโกย วง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา กล่าวว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับการเดินทางเยือน กัมพูชาของผู้นำไทยคนใหม่ กัมพูชาหวังว่า การแก้ปัญหาพรมแดนระหว่างกัมพูชาและไทยจะมีความคืบหน้า หลังจากไทยมีรัฐบาลใหม่ เพราะกัมพูชาไว้วางใจพวกเขา
ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ที่ จ.นครราชสีมา นอกจากจะมี พล.ท.เจีย มอน เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายกัมพูชาแล้ว ยังมี พล.อ. เนียง พาต2 เลขาธิการกระทรวงกลาโหม และเป็นหัวหน้าสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (GBC) เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมด้วย โดยเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พล.อ.เนียง พาต ได้จัดประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง อาทิเช่น รองผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการภูมิภาคทหารที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๕ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ที่กระทรวงกลาโหมกัมพูชา เพื่อหารือในการสร้างความร่วมมือที่ดีในระดับภูมิภาคทหารระหว่างกัมพูชาและ ไทย ตลอดจนเตรียมการประชุม RBC ที่มีขึ้น
หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ฉบับภาษาเขมร (๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔) รายงานอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ พล.ท.เจีย มอน1 รองผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารภูมิภาคที่ ๔ วานนี้ ก่อนออกเดินทางมาร่วมประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (RBC) ที่ประเทศไทย เปิดเผยว่าตนจะนำคณะเจ้าหน้าที่ทหารจำนวน ๓๕ คน เพื่อร่วมประชุมทวิภาคีเป็นเวลา ๓ วัน กับฝ่ายไทย
พล.ท.เจีย มอน กล่าวว่า คณะจะหารือเกี่ยวกับปัญหาทุกด้านที่มีตามแนวตะเข็บชายแดนกัมพูชา-ไทย อย่างเช่น ปัญหาความมั่นคงและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทหาร และสิ่งที่สำคัญสุดคือ กัมพูชาจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน เพราะมันเป็นปัญหาหลักในการทำให้มีความก้าวหน้า สำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งพรมแดน
นอกจากนี้ พล.ท.เจีย มอน ได้ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับการขุดสำรวจน้ำมันในพื้นที่อ้างสิทธิ์ ทับซ้อนทางทะเล ระหว่างไทยและกัมพูชา โดยกล่าวเพียงว่า มีการกล่าวถึงมากว่าจะมีการนำเอาเรื่องนี้ไปหารือหรือไม่ซึ่งขึ้นกับที่ ประชุม ไม่สามารถยืนยันล่วงหน้าได้ กัมพูชาหวังว่าในศักราชใหม่ของความร่วมมือนี้ จะมีความก้าวหน้ามากขึ้นหลังค้างคามาเป็นเวลานาน
ขณะที่ นายโกย วง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา กล่าวว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับการเดินทางเยือน กัมพูชาของผู้นำไทยคนใหม่ กัมพูชาหวังว่า การแก้ปัญหาพรมแดนระหว่างกัมพูชาและไทยจะมีความคืบหน้า หลังจากไทยมีรัฐบาลใหม่ เพราะกัมพูชาไว้วางใจพวกเขา
ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ที่ จ.นครราชสีมา นอกจากจะมี พล.ท.เจีย มอน เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายกัมพูชาแล้ว ยังมี พล.อ. เนียง พาต2 เลขาธิการกระทรวงกลาโหม และเป็นหัวหน้าสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (GBC) เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมด้วย โดยเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พล.อ.เนียง พาต ได้จัดประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง อาทิเช่น รองผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการภูมิภาคทหารที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๕ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ที่กระทรวงกลาโหมกัมพูชา เพื่อหารือในการสร้างความร่วมมือที่ดีในระดับภูมิภาคทหารระหว่างกัมพูชาและ ไทย ตลอดจนเตรียมการประชุม RBC ที่มีขึ้น
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554
"ปชป."จวก"เขมร"พลิกลิ้น! พร้อมกลับลำถก "จีบีซี" รัฐบาล"ยิ่งลักษณ์"
ปชป.บี้ "บัวแก้ว"ประสาน ‘กัมพูชา’ ขอแผนคุมปราสาทพระวิหาร หากสัมพันธ์แน่น อัด ‘เขมร’ พลิกลิ้นพร้อมกลับลำถก ‘จีบีซี’ กับรัฐบาลใหม่
ที่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ว่าที่โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ(กต.)ในรัฐบาลชุดใหม่ว่า ภาระหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีมากมาย หวังว่ารัฐมนตรีคนใหม่จะทำงานอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะคดีปราสาทพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ขณะนี้ยังค้างอยู่ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถึงแม้จะมีการสั่งให้ถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบ แต่ในทางปฏิบัติก็ยังไม่มีการดำเนินการของทั้งสองฝ่าย จึงอยากรัฐบาลมีความระมัดระวังในการเจรจาเรื่องใดๆ กับทางกัมพูชา อย่าให้เรื่องการถอนทหารทำให้ไทยเสียเปรียบ โดยให้ดำเนินการปรึกษากับฝ่ายความมั่นคงเพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศ
นายชวนนท์ กล่าวต่อว่า ส่วนการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชา แม้ขณะนี้ประเทศไทยได้ถอนตัวจากการเป็นภาคีมรดกโลกแล้ว แต่ขั้นตอนที่มีความสมบูรณ์ประเทศไทยต้องส่งจดหมายไปยังยูเนสโก จึงอยากให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งตัดสินใจดำเนินการ เพราะมีกระแสระบุว่ารัฐบาลมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชา และจะมีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ ดังนั้นขอให้รัฐบาลไปขอแผนบริหารจัดการของกัมพูชาที่ได้ส่งไปถึงยูเนสโก จากนั้นให้เปิดเผยต่อประชาชนให้เห็นแผนที่ฉบับนั้น ว่าจะเป็นแผนที่ที่ใช้ระวาง 1 ต่อ 2 แสน และกินพื้นที่ประเทศไทยเข้ามาเป็นจำนวนมากใช่หรือไม่ เพราะสิ่งนี้คือกุญแจดอกสำคัญระหว่างความสัมพันธ์ของไทยและกัมพูชา
“ถ้ารัฐบาลชุดนี้สามารถให้กัมพูชายกเลิกแผนที่ฉบับนั้นได้ ผมคิดว่าจะเป็นคุณูปการมหาศาล และถ้าการรื้อฟื้นความสัมพันธ์อยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง โดยไม่ได้มีการนำผลประโยชน์ของประเทศไปแลกกับผลประโยชน์ส่วนตัว ผมก็จะลองติดตามเรื่องเหล่านี้ต่อไป” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวและว่า ส่วนที่รัฐบาลกัมพูชาเปลี่ยนท่าทีเปิดทางพร้อมถกจีบีซีร่วมกับทหารไทยนั้น ก็เป็นความชัดเจนว่ากัมพูชาทำเพื่อการเมือง เพราะเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนรัฐบาล ทางกัมพูชาก็กลับมาบอกว่าจะดำเนินการตามแนวทางที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์วาง เอาไว้ในเรื่องกระบวนการจีบีซี ทั้งที่ผ่านทางกัมพูชาก็แสดงความไม่เห็นด้วยมาโดยตลอด
ที่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ว่าที่โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ(กต.)ในรัฐบาลชุดใหม่ว่า ภาระหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีมากมาย หวังว่ารัฐมนตรีคนใหม่จะทำงานอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะคดีปราสาทพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ขณะนี้ยังค้างอยู่ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถึงแม้จะมีการสั่งให้ถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบ แต่ในทางปฏิบัติก็ยังไม่มีการดำเนินการของทั้งสองฝ่าย จึงอยากรัฐบาลมีความระมัดระวังในการเจรจาเรื่องใดๆ กับทางกัมพูชา อย่าให้เรื่องการถอนทหารทำให้ไทยเสียเปรียบ โดยให้ดำเนินการปรึกษากับฝ่ายความมั่นคงเพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศ
นายชวนนท์ กล่าวต่อว่า ส่วนการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชา แม้ขณะนี้ประเทศไทยได้ถอนตัวจากการเป็นภาคีมรดกโลกแล้ว แต่ขั้นตอนที่มีความสมบูรณ์ประเทศไทยต้องส่งจดหมายไปยังยูเนสโก จึงอยากให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งตัดสินใจดำเนินการ เพราะมีกระแสระบุว่ารัฐบาลมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชา และจะมีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ ดังนั้นขอให้รัฐบาลไปขอแผนบริหารจัดการของกัมพูชาที่ได้ส่งไปถึงยูเนสโก จากนั้นให้เปิดเผยต่อประชาชนให้เห็นแผนที่ฉบับนั้น ว่าจะเป็นแผนที่ที่ใช้ระวาง 1 ต่อ 2 แสน และกินพื้นที่ประเทศไทยเข้ามาเป็นจำนวนมากใช่หรือไม่ เพราะสิ่งนี้คือกุญแจดอกสำคัญระหว่างความสัมพันธ์ของไทยและกัมพูชา
“ถ้ารัฐบาลชุดนี้สามารถให้กัมพูชายกเลิกแผนที่ฉบับนั้นได้ ผมคิดว่าจะเป็นคุณูปการมหาศาล และถ้าการรื้อฟื้นความสัมพันธ์อยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง โดยไม่ได้มีการนำผลประโยชน์ของประเทศไปแลกกับผลประโยชน์ส่วนตัว ผมก็จะลองติดตามเรื่องเหล่านี้ต่อไป” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวและว่า ส่วนที่รัฐบาลกัมพูชาเปลี่ยนท่าทีเปิดทางพร้อมถกจีบีซีร่วมกับทหารไทยนั้น ก็เป็นความชัดเจนว่ากัมพูชาทำเพื่อการเมือง เพราะเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนรัฐบาล ทางกัมพูชาก็กลับมาบอกว่าจะดำเนินการตามแนวทางที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์วาง เอาไว้ในเรื่องกระบวนการจีบีซี ทั้งที่ผ่านทางกัมพูชาก็แสดงความไม่เห็นด้วยมาโดยตลอด
จีนขยาย “อำนาจละมุน” เซ็นความตกลงร่วมมือกับ “ฮุนเซน” 29 ฉบับรวด
สำนักข่าวกัมพูชา - กัมพูชาและจีนบรรลุข้อตกลงด้านความร่วมมือ การลงทุน การค้าและความช่วยเหลือทั้งหมด 29 ฉบับ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างการเดินทางเยือนกัมพูชาของนายโจวหยงคาง สมาชิกกรรมการประจำกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) และประธานคณะกรรมาธิการการเมืองและกฎหมาย คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ข้อตกลงที่ลงนามร่วมกันมีขึ้นหลังนายจ้าวหยงคาง หารือกับนายกรัฐมนตรี ฮุนเซน ของกัมพูชา เมื่อวันเสาร์ (20 ส.ค.) นายเอียงสุภเล็ธ ผู้ช่วยนายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายต่างให้คำมั่นที่จะสร้างเสริมมิตรภาพระหว่างสองประเทศที่มีอย่าง ยาวนานให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น นายโจวหยงคาง กล่าวว่า ความร่วมมือระดับทวิภาคีในภาคการเมือง การค้า เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ได้กล่าวตอบว่า การเดินทางเยือนของนายจ้าวหยงกังจะช่วยส่งเสริมมิตรภาพระหว่างจีนและกัมพูชา ต่อไป นายเอียงสุภเล็ธ ระบุว่า กัมพูชา ยืนยันว่า ยังคงยึดมั่นกับนโยบายจีนเดียว และรัฐบาลกัมพูชาจะกระตุ้นความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้มากยิ่งขึ้น และการเดินทางเยือนจีนของนายกรัฐมนตรีฮุนเซนเมื่อปี 2553 นั้นนับเป็นยุคใหม่ของความสัมพันธ์ของสองประเทศ นายกรัฐมนตรี ฮุนเซน ยังได้แสดงความรู้สึกขอบคุณจีนสำหรับความช่วยเหลือและการสนับสนุนเป็นจำนวน มาก และยาวนานต่อกัมพูชา และหวังให้กิจการของจีนเข้าลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น | ||||
| ||||
|
รมว.กห.จ่อปรับกำลังส่ง ตร.คุม - ให้อิเหนาดูพระวิหาร แย้ม “ปู” ไปเขมรหลังถกจีบีซี
| ||||
|
ทธศักดิ์ย้ำชัดปมเขมร จำต้องมี'ผู้สังเกตการณ์' เป็นพยานทำให้โปร่งใส ไม่ใช่ปท.ที่3แทรกแซง!
"ยุทธ ศักดิ์" เป็นปลื้ม "ทูลกระหม่อมฯ" ประทานดอกไม้ "เจ้าตัว" ยันจะทำงานเทิดทูนสถาบัน-รักษาราชบัลลังก์ด้วยชีวิต เผยปมเขมร ต้องมี "ผู้สังเกตการณ์" เพื่อเป็นพยานว่าใครผิด-ใครถูก ชี้ไม่ใช่เป็นการให้ "ประเทศที่ 3" เข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน คาด "ยิ่งลักษณ์-ฮุนเซน" เจอกันหลังถกจีบีซีเสร็จ
วันที่ 22 ส.ค. 2554 เวลา 09.00 น. ดร.มนัส โนนุช กรรมการและผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นผู้แทนพระองค์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี อัญเชิญแจกันดอกไม้ประทานแก่พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ในโอกาสรับตำแหน่ง ในโอกาสนี้ ผู้แทนพระองค์ฯ ได้นำกระแสรับสั่งของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ ความว่า "ขอให้ทำงานด้วยความอดทน มีความตั้งใจ และรักษาเกียรติยศ ชื่อเสียง ที่มีไว้อย่างมั่นคง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต"
จากนั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ถือเป็นพระกรุณาธิคุณล้นเกล้าฯที่ท่านให้ความเมตตากรุณาต่อตน ซึ่งตนได้รับทราบจากผู้แทนพระองค์ว่า ท่านได้ติดตามผลงานของตนมาตลอดเวลา และการที่ได้เข้ามาเป็นรมว.กลาโหมครั้งนี้ ท่านขอให้กำลังใจและมีความอดทน ความตั้งใจ และรักษาเกียรติยศชื่อเสียงอย่างที่เคยดำรงไว้ให้มั่นคงต่อไป ถือเป็นการให้กำลังใจที่ขอเทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯ และจะปฏิบัติโดยไม่ได้มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ตนได้รับพระราชทานสูงสุด ครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมเป็นกำลังใจมากสำหรับตนในการที่จะทำงานด้วยความซื่อ สัตย์สุจริต และเพื่อประเทศชาติต่อไป ทั้งนี้ตนจะทำงานทุกอย่างเพื่อเทิดทูนสถาบัน ราชบัลลังก์ด้วยชีวิต
รม ว.กลาโหม ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการถอนกำลังทหารตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาว่า คงไม่ใช่การถอนทหาร แต่เป็นการปรับกำลังในพื้นที่ ตามคำสั่งชั่วคราวของศาลตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งวันนี้ (22ส.ค.) จะมีการหารือกันอีกครั้งเพื่อวางกรอบหัวข้อนำไปประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วน ภูมิภาคไทย-กัมพูชา (อาร์บีซี) ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ โดยในวาระสุดท้ายจะเป็นเรื่องกรอบการดำเนินการตามคำสั่งศาลโลกว่า จะดำเนินการอย่างไรในส่วนของทหาร โดยให้อาร์บีซีตีกรอบ เพื่อใช้ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ต่อไปขณะเดียวกันคณะกรรมการจีบีซีฝ่ายไทยจะให้เลขานุการไปหารือกับกัมพูชา คิดว่าหลังประชุมอาร์บีซีสิ้นสุด เลานุการจะประสานงานในเรื่องวันเวลาที่จะประชุมจีบีซี รวมถึงกรอบการประชุม การปรับกำลัง การตั้งจุดตรวจร่วม การดำเนินการต่อผู้สังเกตุการณ์จะมีกี่ชุด เป็นต้น
"หากมีการปรับกำลังทหารออก ทั้งสองฝ่ายต้องคุยกันว่า จะเอากำลังส่วนไหนไปหนุน ขั้นแรกที่เราพูดคุยกับกัมพูชาคือ เมื่อนำกำลังทหารออก ควรนำกำลังตำรวจเข้าไปทดแทน และมากำหนดว่า จะเป็นตำรวจตระเวนชายแดน หรือตำรวจภูธร หรือทหารพราน ซึ่งขณะนี้ผบ.ตร.ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมและเตรียมกำลังตำรวจเพื่อไปปรับ กำลังแทนทหาร แต่เรามีจุดตรวจร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งต้องไปดูว่า จัดตรงไหน เพื่อดูความเรียบร้อยของการปรับกำลัง"พล.อ.ยุทธศักดิ์กล่าว
เมื่อ ถามว่า จะต้องส่งผู้สังเกตการณ์ลงไปในพื้นที่ด้วยใช่หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ใช่ เพราะในคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กำหนดให้มีผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียด้วย ตอนแรกอาจเข้าใจกันว่า จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่หลังจากที่ตนได้เดินทางลงพื้นที่ไปรับฟังและรับทราบจากผู้ปฏิบัติใน พื้นที่ คิดว่าต้องมีผู้สังเกตการณ์ และเป็นความจำเป็นต้องมี เพราะการกล่าวอะไร หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นต้องมีพยาน ผู้สังเกตการณ์จะเป็นพยานที่ดีที่สุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้สังเกตการณ์อยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ต่อไปหากเกิดเหตุการณ์เขาจะเป็นพยานได้หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า คำว่า "ช่วงหนึ่ง" ต้องกะระยะเวลาว่า แค่ไหน ถ้าเหตุการณ์ปกติจริง ๆ การอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก โปร่งใส ไม่เอาเปรียบกัน ภาพการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจถ้าถึงช่วงนั้นต้องพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง แต่ขณะนี้กองทัพภาคที่ 2 ได้เตรียมที่พักให้กับผู้สังเกตุการณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้สังเกตุการณ์จะเป็นพลเรือน แต่จะกำหนดกันอีกครั้งหลังจากการประชุมจีบีซีว่า ผู้สังเกตุการณ์จะแต่งกายอย่างไร คิดว่า ไม่ได้เป็นการให้ประเทศที่ 3 เข้ามาแทรกภายในกิจการของเรา เพราะเขามีหน้าที่รับทราบ และปฏิบัติตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเท่านั้น อย่างไรก็ตามขณะนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังไม่มีกำหนดเดินทางไปพบสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แต่อาจหลังจากมีการประชุมจีบีซีเรียบร้อยแล้ว
thaiinsider
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เขมรถอนทัพออกจากเขาพระวิหารรอบที่4 และ สื่อกัมพูชาอ้างว่า มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงของสื่อไทย
เขมรถอนทัพออกจากเขาพระวิหารรอบที่4
กัมพูชา ถอนกองทัพออกจาก บริเวณรอบเขาพระวิหารหนที่ 4
นายไพ สีพาน กล่าวว่า กัมพูชาเสียใจอย่างมาก ต่อการเผยแพร่ข่าวบิดเบือนของสื่อไทย
กัมพูชา ถอนกองทัพออกจาก บริเวณรอบเขาพระวิหารหนที่ 4
"พล.อ.เจีย ดารา" รองผู้บัญชาการเดินทาง มาร่วมพิธี
เผยเป็นนโยบายของ "สมเด็จ ฮุน เซน" ที่ต้องการให้ แนวชายแดนเกิดสันติภาพ
เว็ปไซต์ฟิฟทีนมูฟ รายงาน หนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่และสำนักข่าวซีอีเอ็น
เผยว่า กัมพูชาถอนทหารกองพลน้อยสนับสนุนที่ 9 พร้อมกองพันน้อยในสังกัด 9 กองพัน
ออกจากพื้นที่แนวหน้าบริเวณโอร์จักจแรง เพื่อกลับไปประจำการที่ตั้งเดิมใน จ.พระวิหาร
โดยมี พล.อ.เจีย ดารา รองผู้บัญชาการและหัวหน้าคณะบัญชาการหน่วยสมรภูมิแนวหน้า
ด้านภูมิภาคทหารที่ 5 ร่วมเป็นประธานในพิธีซึ่ง พล.อ.เจีย ดารา กล่าวในระหว่างพิธีว่า
เป็นการปรับลดกำลัง ถอนทหารครั้งที่ 4 ของกัมพูชา ซึ่งวัตถุประสงค์ เป็นความพยายามของ
สมเด็จฮุน เซน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อกันในกิจการพรมแดน
โดยรัฐบาลกัมพูชา-ไทย เป็นผู้สลายความขัดแย้ง มีเป้าหมายคือกระชับความสัมพันธ์
และสร้างความร่วมมือ ซึ่งทั้งกองทัพ ครอบครัวทหาร และประชาชนตามแนวชายแดน
ต่างสนับสนุนจุดยืนสันติภาพของ สมเด็จ ฮุน เซน ที่ต้องการให้ชายแดนมีสันติภาพ
มีความร่วมมือที่ดี ระหว่างมีความร่วมมือที่ดีระหว่างสองประเทศ
เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนของทั้งไทยและกัมพูชา
ให้อยู่กันอย่างสันติและกลมเกลียว
นอกจากนี้ ยังมี รายงานข่าวว่า ศูนย์ข่าวต้นมะขาม (ดึมอัมปึล) อ้างว่า
นายไพ สีพาน เลขาธิการและโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา
ที่ได้ยืนยันถึงจุดยืนของรัฐบาลกัมพูชาอีกครั้งว่า
เคารพคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่สั่งให้กัมพูชา - ไทย ถอนทหาร
ออกจากบริเวณพื้นที่พิพาท เขาพระวิหาร และรับผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นท่าทีล่าสุด หลังสื่อกัมพูชาอ้างว่า มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงของสื่อไทย
นายไพ สีพาน กล่าวว่า กัมพูชาเสียใจอย่างมาก ต่อการเผยแพร่ข่าวบิดเบือนของสื่อไทย
และไม่ควรให้มีการตีพิมพ์ข่าวแบบนี้อีก เผยว่า พล.อ.เตีย บัญ
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีฯกลาโหม ได้ยืนยันแล้วว่า
กัมพูชารักษาจุดยืนของตน โดยไม่เบี่ยงเบนออกไปจากคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีของเขมร กล่าวว่า จะยึดถือคำสั่งของศาลโลก
โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีของเขมร กล่าวว่า จะยึดถือคำสั่งของศาลโลก
ต่อการให้ส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ในการถอนทหาร และไม่ควรมีการตีพิมพ์ข่าวแบบนี้อีก
โดยศูนย์ข่าวต้นมะขาม ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า สื่อไหนของไทยตีพิมพ์ข่าวบิดเบือนในเรื่องใด
ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย ในประเด็นการส่งผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียลงพื้นที่
ที่มา : สำนักข่าว inn
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)