บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มรดกโลกเขมรสรรเสริญสุภลักษณ์-อ้างนพเหล่-ปฏิเสธเส้นเขตปราสาทตามมติครม.๒๕๐๕

ฟิฟทีนมูฟ — สื่อเขมรเผยแพร่แถลงการณ์มรดกโลกเขมร ยกย่องสรรเสริญบทความของสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ว่าจับจิตจับใจ ซ้ำยกผลงานนพดล ปัทมะ ทั้งแถลงการณ์ร่วมและการดำเนินการอื่นว่าไทยเห็นชอบให้เขมรเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร พร้อมปฏิเสธไม่รับรู้เส้นแนวเขตปราสาทที่ลากเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ระบุแผนบริหารจัดการวาดแค่พื้นที่ปราสาท ไม่ได้ระบุเขตแดนกำกับ เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา (๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๔) หนังสือพิมพ์ของกัมพูชาหลายฉบับ รวมถึงบายนทีวี เผยแพร่ข่าว “คณะกรรมการมรดกโลกเขมรยกย่องสรรเสริญนักข่าวไทย” โดยอ้างถึงแถลงการณ์ของคณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชา ฉบับลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ ซึ่งมีเนื้อหายกย่องบทความของนายสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี คอลัมต์นิสต์ประจำของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น หนึ่งในเครือข่าย ๗.๑ ล้าน โดยมีรายละเอียดว่า คณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชาขอยกย่องสรรเสริญอย่างสูงยิ่ง ต่อบทความที่จับใจของนายสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ที่มีจุดยืนว่า “พรรคประชาธิปัตย์ทำผิดเรื่องปราสาทพระวิหารมาตั้งแต่ต้น” ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The Nation วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ แถลงการณ์กล่าวต่อว่า คณะกรรมการฯ ขอขยายความประเด็นที่นายสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ยกขึ้นเขียนว่า “อย่างน้อยที่สุดมาถึงปัจจุบัน กัมพูชาได้เห็นชอบใช้เส้นเขตแดนนี้ เป็นเขตแดนของปราสาทพระวิหารในการเสนอขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และในแผนบริการจัดการฯ ของตน” เพื่อยืนยันให้ชัดเจน กัมพูชาไม่ทราบ คือไม่ได้ใช้อะไรที่เรียกว่าเส้นเขตแดนที่ลากโดยคณะรัฐมนตรี และเป็นการทำฝ่ายเดียวโดยรัฐบาลไทย ควรระลึกด้วยว่า ตามเอกสารแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ โดยตัวแทนระดับสูงของประเทศทั้งสอง1 โดยมีนาง Françoise Rivière เป็นสักขีพยาน ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบต่อการเสนอชื่อปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลก โดยไม่มีพื้นที่ทับซ้อน เป็นผลให้กัมพูชาได้เสนอเอกสารถึงคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อขึ้นทะเบียนในการประชุมครั้งที่ ๓๒ โดยมีแผนผังกราฟฟิกที่ได้รับการแก้ไข (Revised Graphic Plan of the Property) รวมอยู่ด้วย ซึ่งแสดงเฉพาะบริเวณปราสาทเท่านั้น โดยไม่มีเส้นเขตแดนแต่อย่างใด แถลงการณ์กล่าวต่อว่า นี่ก็ได้ยืนยันอีกครั้งด้วย โดยภาคีทั้งสอง ในการประชุมวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑2 ที่ศูนย์มรดกโลกขององค์การยูเนสโก ว่า “การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลก ไม่กระทบสิทธิของพระราชอาณาจักรกัมพูชา และพระราชอาณาจักรไทย เกี่ยวกับการดำเนินการกำหนดเส้นเขตแดนในคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ของประเทศทั้งสอง” แถลงการณ์กล่าวทิ้งท้ายว่า โดยสรุป คณะกรรมการฯ ขอทำการยืนยันอีกครั้งว่า กัมพูชาไม่ทราบว่ามีการเห็นชอบ หรือใช้อะไรที่เรียกว่า แผนที่ที่ลากโดยคณะรัฐมนตรีไทย เป็นเส้นเขตแดนในการเสนอขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และในแผนบริหารจัดการปราสาทของกัมพูชา แต่อย่างใด แม้บทความโดยส่วนใหญ่ของนายสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น จะมีเนื้อหาเป็นไปในลักษณะสับสนในประวัติศาสตร์ คลาดเคลื่อนหรือในหลายกรณีเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง ก็ตาม แต่มักได้รับการแปลและตีพิมพ์ซ้ำในสื่อกัมพูชาอยู่เนือง ๆ และในหลายโอกาสได้รับเกียรตินำขึ้นเผยแพร่ในเว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในฐานะบทความแนะนำ เช่นเดียวกับนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่ได้รับความยกย่องนับถืออย่างสูงและกล่าวอ้างถึง จากคณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชาในหลายโอกาส แม้เคยผลิตบทความในลักษณะ “กูมั่ว” เมื่ออ้างถึงบ้านโกมุย หรือ โกมวย ว่าหมายถึง โคปุระที่ ๑ ทั้งที่คำสะกดที่แท้จริงตามภาษาเขมรของโกมุยหรือโกมวย คือ “ค ๑” ในภาษาไทย (ตัว ค ในภาษาเขมรออกเสียง โก เป็นอักษรวรรค ก เสียงโฆษะ) ที่หมายถึง หมู่บ้านคแมร์ ๑ หรือ ค๑ ที่เป็นหน่วยทหารระดับกองร้อย เท่านั้น Short link: http://15th.me/jbwXfD Share 4 -------------------------------------- ฝ่ายไทยคือ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศ ขณะนั้น [↩] วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ที่สำนักงานมรดกโลก กรุงปารีส มาดามฟรังซัวส์จัดทำบันทึกช่วยจำ ระบุว่าฝ่ายไทย นายนพดล ปัทมะ ยินยอมให้กัมพูชาฝ่ายเดียวจัดทำ “แผนที่ใหม่” แนบท้ายแถลงการณ์ร่วมที่ระบุว่าเป็นการขึ้นทะเบียนที่เปลี่ยนมาเป็นเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร (The Temple of Preah Vihear) กำหนดแผนและขั้นตอนในการจัดสรรพื้นที่อนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกโลกทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท [↩]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง