เมื่อ 30 ต.ค. เจ้านโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา สมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระโอรส กษัตริย์องค์ปัจจุบัน นายกฯ ฮุน เซน และเหล่านักการเมือง ร่วมทำพิธีเฉลิมฉลองวันครบรอบ 20 ปีที่เจ้าสีหนุเสด็จนิวัติกัมพูชา หลังเสด็จไปลี้ภัยในต่างแดน ทั้งยังเป็นการฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ 89 พรรษาของเจ้าสีหนุใน 31 ต.ค. ด้วย
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554
เขมรฉลอง 20 ปี 'สีหนุ' คืนถิ่น ยันไม่ทิ้งประเทศอีก
เมื่อ 30 ต.ค. เจ้านโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา สมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระโอรส กษัตริย์องค์ปัจจุบัน นายกฯ ฮุน เซน และเหล่านักการเมือง ร่วมทำพิธีเฉลิมฉลองวันครบรอบ 20 ปีที่เจ้าสีหนุเสด็จนิวัติกัมพูชา หลังเสด็จไปลี้ภัยในต่างแดน ทั้งยังเป็นการฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ 89 พรรษาของเจ้าสีหนุใน 31 ต.ค. ด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเป็นของไทย แผนที่เถื่อน
โดย เทพมนตรี ลิมปพยอม
“ศาลโลกมิได้มีอำนาจจะยกดินแดนของประเทศไทยให้กับประเทศกัมพูชาได้” ในคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินตามคำฟ้องของกัมพูชาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 กัมพูชาฟ้องร้องให้ศาลตัดสิน 5 ข้อ ได้แก่
1. ขอให้ศาลชี้ขาดเรื่องแผนที่ว่าเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน (แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000)
2. เส้นเขตแดนที่ปรากฏไว้บนแผนที่เป็นเส้นเขตแดนที่ถูกต้อง
3. ให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
4. ให้ไทยถอนกำลังยามรักษาการณ์ ตำรวจ ทหารออกจากบริเวณปราสาทพระวิหาร
5. ให้ไทยคืนโบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณปราสาท
ศาลโลกได้ตัดสินตามคำฟ้องของกัมพูชาด้วยการใช้กฎหมายปิดปาก และตัดสินขัดต่อหลักความยุติธรรมและไม่เคารพต่อสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นไว้ ก่อนหน้านี้ (อนุสัญญาฉบับ ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907) ศาลโลกได้ตัดสินตามกฎหมายปิดปาก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 โดยตัดสินให้กัมพูชาได้ 3 ข้อ
1.ให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
2.ให้ไทยถอนกำลังยามรักษาการณ์ ตำรวจ ทหารออกจากบริเวณปราสาทพระวิหาร
3.ให้ไทยคืนโบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณปราสาท
เมื่อศาลตัดสินเสร็จสิ้นแล้ว คณะทนายความฝ่ายไทยได้ทำรายงานมายังรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีใจความสำคัญว่า ศาลไม่กล้าตัดสินเรื่องแผนที่และเป็นการดีที่เรื่องแผนที่นั้นตกไป (แผนที่ 1 : 200,000) และแผนที่ก็มิได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดนีเซีย (เพราะคำฟ้องข้อที่ 1 ตกไป)
ดังนั้น การที่กระทรวงการต่างประเทศกลับไปใช้แผนที่ที่ไม่ถูกต้องและไม่เคารพคำ พิพากษาของศาลโลกโดยนำไปใช้บังคับประเทศลาว ในความตกลงไทย-ลาวเมื่อ พ.ศ. 2537 กับทั้งไปใช้เป็นพื้นทางกฎหมายระหว่างประเทศในการจัดทำ MOU 43 ฉบับเถื่อนกับประเทศกัมพูชา และยังปล่อยให้ประเทศกัมพูชาใช้เส้นที่ลากไม่ถูกต้องใน MOU 44 สร้างพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลจนเกิดเอกสิทธิ์ในพื้นที่นั้น
อนึ่ง กัมพูชาลากเส้นผ่ากลางเกาะกูดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปเมื่อ พ.ศ. 2515 โดยขาดพื้นฐานทางกฎหมาย และในที่สุดเมื่อมีการจัดทำ MOU 43 เป้าหมายของกัมพูชามีความชัดเจนมากขึ้นต่อเรื่องที่จะย้ายตำแหน่งของหลักเขต ที่ 73 แม้เมื่อตกลงกันไม่ได้ในคณะกรรมาธิการเทคนิคร่วมจนต้องย้ายพื้นที่ตรงนี้ ไปสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบกบริเวณอื่น ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่ากัมพูชามีความอุตสาหะที่จะย้ายหลักเขตแดนให้จงได้โดย ใช้ในโครงวาดกำกับหลักเขตมาตราส่วน 1 : 20,000 และแผนที่ 1 : 200,000 ที่เป็นแผนที่ปลอมเพราะไม่มีการประชุม ไม่มีการลงนามรับรองจากคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน และแน่นอนศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ได้ตัดสินไม่ยอมรับความถูกต้องและเส้นเขตแดนบนแผนที่
คำถามก็มีอยู่ว่า ทำไมกระทรวงการต่างประเทศจึงไปยอมรับแผนที่ และทำไมเมื่อ MOU เถื่อนทั้งสองฉบับไม่ผ่านรัฐสภาตามบทบัญัติในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่คนเสื้อแดงต้องการหนักหนา อีกทั้งสร้างภาพว่าเคารพรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงไม่มีหน่วยงานของรัฐหน่วยงานไหนแม้กระทั่งกระทรวงการต่างประเทศหรือคณะ รัฐธรรมนูญนำไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกันเล่า
คำ พิพากษาของศาลโลกที่กรุงเฮก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 (ค.ศ. 1962) ได้ยกคำฟ้องของกัมพูชาไม่ทำการพิจารณาตัดสินในข้อที่ว่า ขอให้ศาลพิจารณา ว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสจริงกับขอให้ศาล พิจารณาว่าเส้นเขตแดนที่ปรากฏบนแผนที่นั้นเป็นเส้นเขตแดนที่ถูกต้อง เพราะ ศาลเชื่อตามคำให้การของฝ่ายไทยประกอบคำชี้แจงของผู้เชี่ยวชาญที่ฝ่ายไทยว่า จ้างมา คือศาสตราจารย์ Dr.W.Schermerhorn แห่งสถาบัน Dean (ที่ศาลโลกให้ความเชื่อถือ)
รายงานของสถาบันแห่งนี้ปรากฏอยู่ท้ายคำให้การภาคผนวก สรุปความได้ว่าเส้นสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผา และปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนเส้นขอบหน้าผานี้ ตามแผนที่ที่ได้แสดงต่อหน้าศาล (ท่านผู้อ่านหาอ่านได้จากเว๊บไซต์ (ICJ)) เส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่ภาคผนวกนั้นเป็นเส้นเขตแดนที่ไม่ถูกต้องไม่มี พื้นฐานทางภูมิศาสตร์รองรับ
นอกจากนี้เส้นเขตแดนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสได้ ประชุมตกลงกันนั้นคือ “เส้นเขตแดนเดินตามสันปันน้ำ และสันปันน้ำอยู่ที่เส้น ขอบหน้าผา” ซึ่งหลักการนี้คณะกรรมการปักปันฯ กระทำตามอนุสัญญา ปี ค.ศ. 1904 ในรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปันฯ ได้ตกลงกันไว้ว่าเส้นเขตแดนที่บริเวณเทือกเขาพนมดงรักนั้นปรากฏหลักฐานเป็น ปราการธรรมชาติเพราะมีหน้าผาเป็นเส้นเขตแดน เหตุนี้คณะกรรมการปักปันฯ จึงมีมติให้ทำแผนที่กำกับการปักปันครั้งนั้นโดยมอบหมายให้ประธานคณะกรรมการ ฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศสไปจัดทำแผนที่ที่ได้ตกลงกันไว้พร้อมพิมพ์แผนที่นั้น ด้วย และเมื่อแผนที่พิมพ์เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะต้องนำเข้าสู่ที่ ประชุมของคณะกรรมการเพื่อตรวจพิจารณาแผนที่ และลงนามรับรองแผนที่ว่าเส้นเขตแดนที่ได้ปักปันกันไว้นั้นถูกต้องด้วย
ประธานฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศสได้แก่ พันเอกแบร์นาร์ดได้ทำการเบิกเงินไปจัดทำแผนที่ขึ้นมา 11 ระวางและพิมพ์เสร็จสิ้นประมาณกลางปี ค.ศ. 1908 ซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 ได้สลายตัวไปก่อนแผนที่จะพิมพ์เสร็จ และเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีการประชุม ของคณะกรรมการปักปันฯ และไม่มีการลงนามกำกับแผนที่ชุดนี้ จึงสรุปตามสามัญสำนึกได้ว่าแผนที่ทั้ง 11 ระวางเป็นแผนที่เก๊ และไม่สามารถมาใช้เป็นเอกสารสำคัญที่มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ แผนที่เป็นของเก๊ไม่สมบูรณ์และไม่ควรนำมาใช้ แม้ว่าต่อมาภายหลังจะมี เสนาบดีของไทยไปขอแผนที่ชุดนี้เพิ่มเติมก็มิได้หมายความว่าประเทศสยามในเวลา นั้นจะรับรองแผนที่ เพราะเสนาบดีผู้นั้นมิได้เป็นคณะกรรมการปักปันฯและไม่มี อำนาจลงนามในแผนที่
ดังนั้นศาลโลกจึงมิได้ตัดสินแผนที่เก๊ชุดนี้แต่ยังเห็นด้วยกับคำให้การของ ฝ่ายไทยว่า แผนที่ชุดนี้ไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อิน โดจีนฝรั่งเศสแต่อย่างใด ดังนั้นเรื่องแผนที่เก๊ชุดนี้ควรนำเข้ากรุปิดตาย ไม่ควรนำกลับมาใช้ได้อีก อีกทั้งคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ซึ่งตัดสินให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชานั้น รัฐบาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ออกคำแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาล โลกในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) โดยได้มีหนังสือลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในนาม รัฐบาลไทยไปถึง ฯพณฯ ท่านอู ถั่น รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก โดยมีเนื้อหาสาระดังนี้
“ในคำแถลงเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม 2505 (ค.ศ. 1962) รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลฯ โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าคำพิพากษาดังกล่าว ขัดอย่างชัดแจ้งต่อบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 และ ค.ศ. 1907 ในข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรง ตลอดจนขัดต่อหลักกฎหมาย และหลักความยุติธรรม ถึง กระนั้นก็ตาม ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีแห่งคำพิพากษาตาม ที่ได้ให้คำมั่นไว้ภายใต้ข้อที่ 94 ของกฎบัตรสหประชาชาติ
ข้าพเจ้าขอแจ้งให้ท่านทราบด้วยว่า การตัดสินใจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระ วิหารนั้น รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาจะตั้งข้อสงวนสิทธิ์อย่างชัดเจนเพื่อสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่ประเทศไทยมี หรือพึงมีในอนาคตในการเรียกคืนปราสาทพระวิหาร โดยใช้วิถีทางที่ชอบด้วย กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือในอนาคต และขอยืนยันการคัดค้านคำพิพากษาของ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศซึ่งวินิจฉัยให้ปราสาทพระวิหารเป็นของ กัมพูชา ข้าพเจ้าจึงขอเรียนมาเพื่อทราบพร้อมทั้งขอให้ท่านส่งหนังสือฉบับนี้ ไปยังประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติทุกประเทศ”
การตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกคืนตัวปราสาทยังคงดำรงอยู่และไม่มีอายุค วาม เนื่องจากการให้เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินนั้นเข้ากันกับข้อบทของ กฎหมายระหว่างประเทศ ศาลโลกฯ กระทำการล่วงละเมิดสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ ตัดสินบนหลักความไม่ ยุติธรรม แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมรัฐบาลที่ผ่านๆ มาจึงไม่สนใจเรื่องข้อสงวนสิทธิ์ และถ้าเราพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนกับ เรื่องแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งศาลโลกมิได้ตัดสินตามคำฟ้องของกัมพูชา และเห็นด้วยกับคำให้การของฝ่ายไทยที่ระบุว่าแผนที่ชุดนี้ไม่ได้เป็นผลงานของ คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน
เป็นที่น่าแปลกใจว่าทั้งรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย เมื่อ พ.ศ. 2543 ที่ทำ MOU 43 และรัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2546 ที่ทำ TOR46 ต่างยึดมั่นถือมั่นกับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 และถึงกับขนาดไปรับรองให้เป็นเอกสารสำคัญตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ดังนั้นใครเล่าจะแก้ปัญหาของแผนที่เก๊นี้ได้ ใครเล่าจะยุติปัญหาไม่นำแผนที่เก๊นี้มาใช้อีก และใครเล่าที่จะขี่ม้าขาวตัว ใหม่มาใช้ข้อสงวนสิทธิ์ที่เรายื่นไว้ต่อสหประชาชาติ เรียกคืนปราสาทพระวิหารกลับมาเป็นของคนไทยทั้งประเทศ
นับตั้งแต่ศาลโลกได้ตัดสินคดีปราสาทพระวิหารไปเมื่อ พ.ศ. 2505 (พ.ศ. 1962) ประเทศไทยก็มิได้ยอมรับแผนที่เก๊ที่ไม่ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขต แดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส แต่เป็นผลงานของ พันเอกแบร์นาร์ดในฐานะที่เขาเป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการชุดนี้ เขา ได้ทำเรื่องเบิกเงินสูงถึง 7,000 ฟรังก์แต่ใช้ไปในการจัดทำแผนที่เพียง 6,000 ฟรังก์เท่านั้น แผนที่ดังกล่าวมีทั้งหมด 11 ระวางเริ่มจากเขตแดนกัมพูชาไปจนถึงเขตแดนลาว เรียกชื่อแผนที่ตามภูมิประเทศและเมืองสำคัญๆ ต่าง เช่น แผนที่ระวางโขง ระวางดงรัก ระหว่างกุเลน เป็นต้น
แผนที่ชุดนี้พิมพ์เสร็จราวเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1908 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ได้สลายตัวไปแล้ว และพึ่งเป็นการเริ่มต้นของคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาตามสนธิสัญญา ฉบับใหม่ในปี ค.ศ. 1907 สนธิสัญญาฉบับนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศสยามใหม่ในเวลานั้น สยามได้เสียดินแดนเพิ่มเติมไปอีกเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นแผนที่ทั้ง 11 ระวาง อันได้แก่ 1. ระวางเมืองคอบและเมืองเชียงล้อม 2. ระวางลำน้ำต่างๆ ทางภาคเหนือ 3. ระวางเมืองน่าน 4. ระวางปากลาย 5. ระวางน้ำเหือง 6. ระวางจำปาศักดิ์ 7. ระวางแม่โขง 8. ระวางดงรัก 9. ระวางพนมกุเลน 10. ระวางทะเลสาบ 11. ระวางตราด ซึ่งเป็นผลงานของพันเอกแบร์นาร์ดจึงเป็นแผนที่เก๊ เพราะไม่ได้นำเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อให้ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโด จีนฝรั่งเศส ตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 ได้พิจารณา คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้สลายตัวไปแล้ว เหตุที่ผมต้องย้ำเรื่องนี้อยู่เสมอเพราะมีผู้ไปแอบอ้างเรื่องที่เจ้านายของ ประเทศสยามได้ทำการขอแผนที่ชุดนี้เพิ่มเติม (ซึ่งพวกเขาตีความว่าได้เป็นการยอมรับแผนที่ด้วย)
การสู้คดีในศาลโลกคณะทนายฝ่ายไทยได้ทำการต่อสู้ในชั้นศาล เนื่องจาก ผู้ขอแผนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกในคณะกรรมการปักปันเขตแดน-สยามอินโดจีน เจ้านายพระองค์นั้นจึงไม่สามารถเป็นตัวแทนของประเทศสยามในการยอมรับแผนที่ เก๊ชุดนี้ได้ ด้วยการอธิบายเหตุผลนี้ทำให้ศาลโลกไม่ตัดสินแผนที่ และยอมรับว่าแผนที่เก๊ชุดนี้ไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดน สยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสแต่อย่างใด
มีนักการเมืองที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้พยายามทำให้สังคมเข้าใจว่า การตัดสินของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหารนั้นศาลยอมรับเรื่องเส้นเขตแดน ที่ปรากฏบนแผนที่เก๊ชุดดังกล่าว ซึ่งในข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย นักการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งยังหลง เชื่อคำโกหกของนักวิชาการไทยสายเขมรว่า “ศาลได้ยกปราสาทพระวิหารและดิน แดนโดยรอบให้กับกัมพูชาไปแล้ว อันสอดคล้องกับสมุดปกขาวของกระทรวงการต่างประเทศที่จัดทำขึ้นแล้วแท้งไม่ได้ คลอดออกมา” ทั้งคำอธิบายของนักการเมืองที่มักชอบพูดชอบเป็นข่าวกับข้า ราชการบางคนของกระทรวงการต่างประเทศยิ่งทำให้ประเทศกัมพูชาได้เปรียบประเทศ ไทยในเวทีนานาชาติ
เพื่อให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจตรงกันในเรื่องที่มาที่ไปของแผนที่ เก๊ 1:200,000 ทุกระวาง ผมจึงขออธิบายอย่างง่ายๆ ดังนี้ครับ เมื่อประเทศสยามได้ลงนามในอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนขึ้นมา 1 ชุด ฝ่ายไทยมีหม่อมชาติเดชอุดมเป็นประธาน ฝ่ายฝรั่งเศสมีพันเอกแบร์นาร์ด เป็นประธาน ทั้งสองฝ่ายได้ทำหน้าที่ตามที่อนุสัญญาได้กล่าวถึง โดยกำหนดให้พรมแดนธรรมชาติเป็นเส้นเขตแดน ซึ่งในการประชุมครั้งสุดท้ายที่ ประชุมของคณะกรรมการได้มีมติให้มีการจัดทำแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เพื่อแสดงเส้นเขตแดนที่ได้ตกลงกันไว้ (อันเป็นผลมาจากการเดินสำรวจ) โดยที่เส้นเขตแดนด้านทิวเขาพนมดงรัก (อันเป็นที่ตั้งตัวปราสาทพระวิหารแห่งนี้ด้วย) ได้กำหนดให้ใช้สันปันน้ำที่ขอบหน้าผา
ทั้งนี้ พันเอกแบร์นาร์ดก็ได้กล่าวหลายครั้งทั้งในที่ประชุมและการแสดงปาฐกถาที่ ปารีส เมื่อคณะกรรมการมีมติให้พิมพ์แผนที่ ได้มอบหมายให้ฝ่ายฝรั่งเศสไปดำเนินการมา และในที่สุดแผนที่พิมพ์เสร็จไม่ได้ เข้าที่ประชุม และคณะกรรมการสลายตัว แผนที่เก๊ที่พิมพ์มาทั้ง 11 ระวาง จึงเป็นแผนที่ที่ไม่สมบูรณ์ไม่ได้ผ่านการพิจารณา ผมจึงเรียกว่าแผนที่ เก๊
ต่อมาประเทศสยามได้มีการแลกเปลี่ยนและสูญเสียดินแดนเพิ่มเติม ได้มี การทำสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1907 และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนฯ ชุดที่ 2 โดยคณะกรรมการชุดนี้มีพระองค์เจ้าบวรเดชและพันตรีมองแกร์ เป็นประธานทั้งสอง ฝ่าย มีการประชุมกันเป็นลำดับ โดยพื้นที่ที่ฝ่ายสยามได้สูญเสียไปนั้น บางส่วนไม่สามารถใช้พรมแดนธรรมชาติได้เพราะเป็นที่ลุ่ม จึงจำเป็นต้องจัดสร้างหลักเขตแดน ส่วนไหนที่ใช้พรมแดนธรรมชาติ เช่น สันปันน้ำ ส่วนนั้นก็เป็นไปตามอนุสัญญา 1904 คณะกรรมการปักปันฯ ได้ทำงานอยู่หลายปีในที่สุดก็ได้เลือกที่จะปักหลักเขต
โดยหลักที่ 1 เลือกบริเวณช่องสะงำ เป็นหลักเขตที่ 1 และตามช่องต่างๆ ได้วางเสาศิลาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นชัดเจน พรมแดนของสยามและกัมพูชา ตั้งแต่ช่องสะงำไปจนถึงหลักเขตที่ 73 ที่จังหวัดตราด มีหลักเขตรวมทั้งหมด 74 หลักเขต และมีแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ทำเป็นโครงวาดแสดงจุดอ้างอิงกำกับไว้ทุกหลักเขตด้วย (เฉพาะหลักเขตที่ 22 มี 22A และ 22B ต่อมายุบรวมกันเป็นหลักเขตเดียว) ปัจจุบันจึงเหลือหลักเขต 73 หลักเขต (กัมพูชาพยายามจะย้ายหลักเขตที่ 73 ให้ได้ในอนาคตอันใกล้นี้)
คณะกรรมการเมื่อมีการปักหลักเขตเรียบร้อยแล้วจึงได้ประชุมกันเป็น ครั้งสุดท้าย รายงานการประชุมระบุว่าต้องทำแผนที่ระบุตำแหน่งหลักเขตทั้ง 74 หลักเขต เพื่อกันเอาไว้เป็นหลักฐาน หากอนาคตหลักเขตนั้นถูกเคลื่อนย้าย นอกจากนี้คณะกรรมการไม่ได้สนใจแผนที่ 11 ระวางของคณะกรรมการชุดแรกเลย เพราะเห็นว่าพรมแดนตั้งแต่ช่องสะงำไปจนถึงทาง ใต้ของเมืองจำปาสัก มีทิวเขามองเห็นสันปันน้ำที่ขอบหน้าผาอย่างชัดเจนซึ่ง เป็นไปตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 แล้ว คณะกรรมการชุดที่ 2 นี้ยังได้จัดทำแผนที่จากช่องสะงำไปจนถึงตราด 5 ระวาง ได้แก่ระวางหมายเลข 1 หมายเลข 5 เมื่อพิมพ์แผนที่ออกมาแล้ว ปรากฏว่าแผนที่กลับไม่ระบุตำแหน่งของหลักเขต ทั้ง 74 หลักเขต ตามที่คณะกรรมการชุดที่ 2 ต้องการ จึงเป็นแผนที่ที่ไม่สมบูรณ์อีกเช่นกัน
ผมจึงถือว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ของคณะกรรมการปักปันฯ ทั้งชุดที่ 1 และชุดที่ 2 นั้น เป็นแผนที่ที่ใช้ไม่ได้และแน่นอนศาลโลกไม่ได้ยอมรับแผนที่เก๊มาตราส่วน 1:200,000 นี้เลย
หลังจากคำพิพากษาของศาลโลกที่ได้ตัดสินให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระ วิหารเป็นของกัมพูชา ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยไม่ยอมรับคำพิพากษา ดังกล่าว รวมทั้งขอตั้งข้อสงวนสิทธิ์เพื่อเรียกปราสาทพระวิหารคืนจากกัมพูชา ในอนาคต ประเทศไทยไม่ยอมรับแผนที่ 1 : 200,000 เป็นข้อผูกพันต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และแน่นอนว่าประเทศไทยไม่ยอมรับว่า แผนที่ชุดนี้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน แต่อย่างไร การไม่ยอมรับแผนที่ 1 : 200,000 ไทยได้แสดงคำให้การคัดง้างกับคำกล่าวหาของกัมพูชาที่ว่า แผนที่ 1 : 200,000 คือแผนที่ที่เป็นผลงานของคณะกรรมการฯ เพราะกรรมการมีมติให้พิมพ์แผนที่ 11 ระวาง เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วแผนที่ชุดนี้ไม่ได้เข้าสู่วาระการพิจารณา เพราะคณะกรรมการสลายตัวไปก่อนหน้านี้ จึงมิได้มีการพิจารณาแผนที่ ดังนั้น แผนที่ชุดนี้ทั้งหมดจึงเป็นแผนที่ “เก๊”
ผมอยากจะเรียนให้ผู้อ่านทราบว่า การที่ผมเปิดเผยข้อมูลบางอย่างก็ เพราะผมคิดว่าเราน่าจะได้ตัวการที่นำพาประเทศไทยไปยอมรับแผนที่ 1 : 200,000
เอกสารว่าด้วยเรื่องความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐ ประชาชนลาว เกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตลอดแนว โดยที่รัฐบาลของทั้งสองประเทศ ตกลงที่จะร่วมกันสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-ลาวตลอดแนว ให้เป็นไป ตามอนุสัญญาวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 ความตกลงวันนี่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และพิธีสารแนบท้ายอนุสัญญาวันที่ 25 สิงหาคม 1926 และแผนที่ที่จัดทำขึ้นตามความตกลงทุกฉบับที่กล่าวข้างต้น ในความตกลงนี้ ลง นามกันวันที่ 8 กันยายน 2539 ณ จังหวัดสงขลา มี ดร.อำนวย วีรวรรณ เป็นตัวแทนของไทย
ในแผนแม่บทที่เป็นไปตามข้อตกลงไทย-ลาว นั้นก็ได้ระบุ “วิธีการกำหนดแนวเส้นเขตแดน ในแผนแม่บท” ในข้อ 5.1.3 กล่าวว่า ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกนั้นจะปฏิบัติตามแนวเขตแดนที่ได้กำหนไว่ ในสนธิสัญญา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และอนุสัญญาแนบท้ายและแผนที่ที่กำหนดแนวเส้นเขตระหว่างอินโดจีน-สยาม มาตรา ส่วน 1 : 200,000 แผนแม่บทฉบับนี้ลงนามในหนังสือชื่อ ปัญหาเขตแดนไทย-ลาว ระบุชัดเจนเกี่ยวกับแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 มีทั้งหมด 11 ระวาง ซึ่งตรงกันกับรัฐบาลของคุณชวน หลีกภัย
1.ระวางเมืองคอบและเชียงล้อม
2.ระวางลำน้ำต่างๆ ทางภาคเหนือ
3.ระวางเมืองน่าน
4.ระวางปากลาย
5.ระวางน้ำเหือง
6.ระวางจำปาศักดิ์
7.ระวางแม่โขง
8.ระวางดงรัก (ที่ตั้งปราสาทพระวิหาร)
9.ระวางพนมกุเลน
10.ระวางทะเลสาบ
11.ระวางเมืองตราด
ตอนที่แล้วผมได้แสดงข้อมูลให้ผู้อ่านได้ทราบเกี่ยวกับการใช้แผนที่ มาตราส่วน 1:200,000 ที่ประเทศไทยนำไปใช้ใน “ความตกลงไทย-ลาว” และได้ทำการปักปันเขตแดนไทยลาวจนเสร็จสิ้นไปแล้ว การยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ให้มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2539 ฝ่ายไทยเองได้ยืนยันกับประเทศลาวว่า ประเทศลาวอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบ สิทธิ์ เป็นรัฐอาณานิคมของฝรั่งเศสมาก่อน ดังนั้นแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ทุกระวาง (11 ระวาง) จึงยังมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน จะเห็นว่าฝ่ายไทยไม่สนใจต่อคำตัดสินของศาล โลกในคดีปราสาทพระวิหารที่ไม่ได้ตัดสินเรื่องแผนที่ และคำพิพากษาแย้งของผู้พิพากษาส่วนหนึ่งก็ระบุชัดว่า แผนที่ 1:200,000 ไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนแต่อย่างใด
การที่ฝ่ายไทยนำแผนที่เก๊ไปเป็นหลักฐานในการพิจารณาเพื่อปักปันเขต แดนกับลาว จึงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และหากประเทศลาวได้ทราบเรื่องนี้ก็ สมควรที่จะเรียกร้องให้มีการปักปันเขตแดนใหม่ ฝ่ายไทยได้แสดงให้เห็นชัดว่า ไม่เคารพต่อคำพิพากษาของศาลโลก (แม้ในเวลานั้นเราไม่ยอมรับคำตัดสิน ไม่ยอมรับแผนที่ ประเทศไทยได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์เอาไว้เพื่อเรียกคืนตัวปราสาท) ประเทศไทยหลัง พ.ศ.2505 กลับไปปัดฝุ่นแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000 เก๊มาใช้กับประเทศเพื่อนบ้าน
สมัยรัฐบาลภายใต้การนำของนายชวน หลีกภัย โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปกรุงพนมเปญ เพื่อลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก (MOU 2543) ซึ่งก่อนที่จะลงนาม เราได้ค้นพบเอกสารด่วนที่สุด ประกอบด้วยหนังสือที่ กต 0603/1574 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2543 ถึงนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ลงนามหนังสือโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีข้อความเกี่ยวกับการประชุมและการลงนามโดยย่อ บันทึกความเข้าใจฯ ระบุชัดเรื่องแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ว่าเป็นพื้นฐานทางกฎหมาย ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก
“พื้นฐานทางกฎหมาย การสำรวจและจัดทำ (ปัก) หลักเขตแดนทางบกจะดำเนินการโดยใช้บรรดาเอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยกับกัมพูชา ตามกฎหมายระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนและ เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้ (application) อนุสัญญาและสนธิสัญญาดังกล่าว”
นอกจากนี้ในวันที่ 12 มิถุนายน 2543 ได้มีหนังสือบันทึกข้อความจากสำนักนายกรัฐมนตรีถึงนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ลงนามหนังสือโดยนายวรากรณ์ สามโกเศศ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง โดยระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับการเตรียมตัวที่จะไปเยือนกัมพูชาและจะมีการลงนาม บันทึกความเข้าใจฯ (MOU 43) ข้อความที่น่าสนใจคือ
“พื้นฐานทางกฎหมาย การสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินการโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทย กับกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศคือ อนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้ายและแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน”
ทางซ้ายมือด้านล่างของหนังสือบันทึกข้อความฉบับนี้ มีลายเซ็นต์นายชวน หลีกภัย ได้ลงนาม ”อนุมัติ” การ ใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ต่อมาในปี พ.ศ.2546 สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มีการจัดทำแผนแม่บท (TOR 2546) และได้นำเอาแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน มาใช้ในการสำรวจ และค้นหาหลักเขตแดน รวมถึง “เส้นเขตแดนใหม่” มีการยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ว่าเป็นแผนที่ที่จะใช้เป็นพื้นฐานในการหาเส้นเขตแดน
ด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากเรียกร้องใครก็ได้ ที่เห็นว่าการนำเอาแผนที่เก๊ มาใช้เป็นหลักฐานเอกสารที่เป็นพื้นฐานทางกฎหมายกับทั้งประเทศลาวและกัมพูชา นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทั้งคุณชวน หลีกภัย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้กระทำลงไป
ดังนั้นแผนที่ที่นำมาใช้เป็นผลผูกพันทางกฎหมายทั้งประเทศลาวและ กัมพูชานั้น ไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน แต่อย่างใด หากแต่เป็นแผนที่เก๊ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในการปักปันเขต แดน แผนที่เก๊นี้มีประโยชน์อยู่อย่างเดียวที่จะประกาศให้ประชาชนคนไทยได้ทราบ ว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิยมหาราช ของพวกเราทุกคนนั้น ใครมากระทำย่ำยีต่อประเทศสยามของเรา และยังเป็นเครื่องเตือนสติถึงความเจ้าเล่ห์เพทุบายของหมาป่าฝรั่งเศสที่มา ยึดมาแบ่งแผ่นดินของเราไป
วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ครม.เครียดถกปมจีบีซี.'ไทย-เขมร'
"ครม." เครียดถกปมจีบีซี."ไทย-เขมร" เผยที่ประชุมเสียงแตก 3 กลุ่ม "รมว.กลาโหม"แจงกลางที่ประชุม ส่งจม.น้อยของ "ผบ.สส." ย้ำชัดหากครม.ไม่มีมติ ก็จะไม่มีคนไปประชุม
18ต.ค.2554
แหล่งข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.
ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ได้ใช้เวลาในการหารือกันว่า 1 ชั่วโมงครึ่ง
หลังจากที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ได้เสนอวาระจร
เพื่อขอให้ ครม.ให้ความเห็น
กรณีที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
จะเดินทางไปเจรจากับทางการกัมพูชา
เพื่อหารือถึงกรอบการเจรจาคณะกรรมการเขตแดนทั่วไปไทย - กัมพูชา (จีบีซี)
ซึ่งเป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลโลก ซึ่งทำให้รัฐมนตรีในที่ประชุม
ครม.แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายทันที
โดยฝ่ายแรกเป็นส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ
นำโดยนายสุรพงษ์ และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
ที่ยืนยันว่าครม.จะควรมีมติให้ชัดเจนในท่าทีที่มีต่อการวางกรอบการเจรจา
หรือดำเนินการนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ
ฝ่ายที่สอง เป็นกลุ่มของ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ และนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น
รมช.สาธารณสุข ที่ไม่เห็นด้วยกับการให้
ครม.มีมติตามที่กระทรวงการต่างประเทศนำเสนอ
แต่สนับสนุนให้รัฐบาลนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
นายปลอดประสพและนายต่อพงษ์ ระบุว่าจะได้เป็นเวทีสำหรับการแฉพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นฝ่ายสร้างปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา ส่วนฝ่ายที่สาม คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่เห็นว่า ครม.ไม่ควรมีมติ และไม่จำเป็นต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเพียงการเดินทางไปหารือเพื่อวางกรอบการเจรจาเท่านั้น ไม่ได้เป็นการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ จึงไม่น่าจะเข้าข้อกำหนดตามมาตรา 190
แหล่งข่าวระบุว่า ระหว่างที่รัฐมนตรีทั้ง 3 กลุ่มกำลังถกเถียงกันนั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ได้ลุกขึ้นกล่าวว่า “ผมได้รับจดหมายน้อยมาจากบุคคลสำคัญ เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้ความเห็นมาว่า หาก ไม่มีมติครม. ไม่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ก็จะไม่เดินทางไปเจรจากับทางการกัมพูชา” ทำให้ที่ประชุม ครม.ถึงกับตะลึงและส่งเสียงฮือขึ้นมาทันที จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้สอบถามความเห็นจากเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าว ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า กรณีดังกล่าวอาจจะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย 2 ข้อ คือ มาตรา 190 และมาตรา 179 ที่นายกรัฐมนตรี มีสิทธินำเรื่องเข้าหารือกับรัฐสภา เพื่อฟังความคิดเห็นโดยไม่ต้องลงมติ แต่กรณีการหารือกรอบการเจรจาจีบีซีนั้นไม่เข้ากรอบดังกล่าว จึงไม่ต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้
แหล่งข่าวระบุว่า จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงตัดสินใจว่า “เรื่องนี้ไม่ต้องนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา และไม่จำเป็นต้องมีมติ ครม. เพื่อแสดงท่าทีและวางกรอบในการเดินทางไปเจรจาครั้งนี้ และขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปเจรจาครั้งนี้เดินทางไปเจรจาอย่างสบายใจ หากใครไม่ยอมเดินทางก็ให้เจ้ากระทรวงต้นสังกัดมาหารืออีกครั้งหนึ่ง”
นายปลอดประสพและนายต่อพงษ์ ระบุว่าจะได้เป็นเวทีสำหรับการแฉพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นฝ่ายสร้างปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา ส่วนฝ่ายที่สาม คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่เห็นว่า ครม.ไม่ควรมีมติ และไม่จำเป็นต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเพียงการเดินทางไปหารือเพื่อวางกรอบการเจรจาเท่านั้น ไม่ได้เป็นการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ จึงไม่น่าจะเข้าข้อกำหนดตามมาตรา 190
แหล่งข่าวระบุว่า ระหว่างที่รัฐมนตรีทั้ง 3 กลุ่มกำลังถกเถียงกันนั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ได้ลุกขึ้นกล่าวว่า “ผมได้รับจดหมายน้อยมาจากบุคคลสำคัญ เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้ความเห็นมาว่า หาก ไม่มีมติครม. ไม่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ก็จะไม่เดินทางไปเจรจากับทางการกัมพูชา” ทำให้ที่ประชุม ครม.ถึงกับตะลึงและส่งเสียงฮือขึ้นมาทันที จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้สอบถามความเห็นจากเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าว ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า กรณีดังกล่าวอาจจะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย 2 ข้อ คือ มาตรา 190 และมาตรา 179 ที่นายกรัฐมนตรี มีสิทธินำเรื่องเข้าหารือกับรัฐสภา เพื่อฟังความคิดเห็นโดยไม่ต้องลงมติ แต่กรณีการหารือกรอบการเจรจาจีบีซีนั้นไม่เข้ากรอบดังกล่าว จึงไม่ต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้
แหล่งข่าวระบุว่า จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงตัดสินใจว่า “เรื่องนี้ไม่ต้องนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา และไม่จำเป็นต้องมีมติ ครม. เพื่อแสดงท่าทีและวางกรอบในการเดินทางไปเจรจาครั้งนี้ และขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปเจรจาครั้งนี้เดินทางไปเจรจาอย่างสบายใจ หากใครไม่ยอมเดินทางก็ให้เจ้ากระทรวงต้นสังกัดมาหารืออีกครั้งหนึ่ง”
วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554
มติไทยยันไม่ถอนตัวภาคีอนุสัญญามรดกโลก
มติไทยยันไม่ถอนตัวภาคีอนุสัญญามรดกโลก หลังเปรียบเทียบพบข้อดีมากกว่าเสีย เผยยูเนสโกพร้อมช่วยเหลือน้ำท่วมไทยเพิ่ม ให้แจ้งของบก่อน 1 ก.พ. 55 เพื่อบูรณะโบราณสถานน้ำท่วม…
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. นางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญามรดกโลก โดยมี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณากรณีประเทศไทยได้ถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลกขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ในรัฐบาลชุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยจากการหารือแล้ว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยควรอยู่ในภาคีอนุสัญญามรดกโลกของยูเนสโกต่อไป ส่งผลให้ประเทศไทยก็ยังคงเป็น 1 ในคณะกรรมการมรดกโลก จาก 21 ประเทศต่อไปด้วย เนื่องจากเห็นว่า เมื่อเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการเข้าร่วมภาคีอนุสัญญาดังกล่าวแล้ว เห็นว่าการเป็นภาคีอนุสัญญาต่อไป จะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย และจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศมากกว่า
"หากมีการถอนตัวอย่างเป็นทางการ ต้องมีหนังสือรับรองจากนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการต่างประเทศยืนยันก่อน แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการดำเนินการใดๆ จึงถือว่าประเทศไทยยังคงสถานะภาคีอนุสัญญาตามเดิม ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบแล้วเห็นตรงกันว่า หากเรายังยืนยันออกจากภาคีอนุสัญญา ก็จะมีข้อเสียเปรียบมากมาย เช่น เราไม่ได้มีส่วนรับรู้เกี่ยวกับข้อมูลและการดำเนินการต่างๆเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ประเทศไทยยังต้องการผู้เชี่ยวชาญจากยูเนสโกเข้ามาดูแลบูรณะโบราณสถาน เพราะมีผู้เชี่ยวชาญโดยตรง รวมทั้งไทยก็ยังมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ที่เสนอการขึ้นทะเบียนมรดกโลกอยู่ 3 แหล่ง ได้แก่ แก่งกระจาน ภูมิพาย และภูพระบาท" รมว.วัฒนธรรม กล่าว
นางสุกุมล กล่าวต่อว่า ขณะนี้ประเทศไทย ยังถือว่าเป็นภาคีสมาชิกของยูเนสโกอยู่ เนื่องจากยูเนสโก ได้ส่งหนังสือแสดงความจำนงให้ความช่วยเหลือซ่อมแซมบูรณะมรดกโลก ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทางประเทศไทยก็ได้มีการส่งหนังสือแจ้งกลับ เพื่อขอรับการช่วยเหลือฉุกเฉินเร่งด่วนดังกล่าวแล้ว โดยทางยูเนสโกจะให้งบประมาณช่วยเหลือ 75,000 เหรียญสหรัฐ และยังได้แจ้งต่ออีกว่า หากประเทศไทยยังต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมในการบูรณะโบราณสถาน โดยเฉพาะแหล่งมรดกโลก ให้แสดงความจำนงไปยังศูนย์มรดกโลก ภายในวันที่ 1 ก.พ. 2555 เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกยูเนสโก ในการให้การช่วยเหลือแหล่งมรดกโลกที่ได้รับความเสียหายรุนแรง และอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายเฉียบพลันต่อไป
ไทยรัฐออนไลน์
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554
บทสรุปพลังงานอ่าวไทย-กัมพูชาของใคร
จาก http://thai-energy.blogspot.com/2011/10/blog-post_08.html
สวัสดีอีกครั้งทุกๆ ท่าน อาทิตย์นี้ผมอยู่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. มีเหตุการณ์ภัยธรรมชาติมากมาย ไหนจะแผ่นดินไหว ไหนจะพายุเฮอริเคนเข้า ก็ต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ทุกๆ ท่านก็ต้องรักษาตัวด้วยเพราะตอนนี้ที่เมืองไทยก็เหมือนว่าจะเข้าช่วงฤดูฝนแล้ว รักษาตัวด้วยนะครับทุกท่าน
กลับมาเรื่องที่ผมสัญญาว่าจะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องแหล่งพลังงานพื้นที่ทับซ้อนนี้ ก่อนอื่นบอกก่อนว่าทุกท่านต้องทำใจเป็นกลางแล้วมองตามภาพข้างล่าง สองภาพนี้
1. ถ้าการที่จะมีข้อมูลของสหรัฐอเมริกามาตีพิมพ์เรื่องนี้เมื่อปีที่แล้วเป็นไปได้ หรือไม่ว่าข้อมูลดิบน่าจะมีก่อนหน้านี้ถึง 3-4 ปีแล้ว 2. เป็นอีกหนึ่งเหตุผลหรือเปล่าที่ทางกัมพูชาพยายามทำให้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนแล้วทางเขาจะได้ผลประโยชน์ด้วยซึ่งทางฝั่งเขาไม่น่าจะมีสิทธิแต่แรก คราวนี้เพื่อความชัดเจน ผมเขียนจดหมายไปถึงผู้ที่จัดทำข้อมูลชุดนี้ที่ทำงานอยู่ที่กระทรวงพลังงานภายในของสหรัฐอเมริกา ผลปรากฏว่าทางเขาไม่ตอบอะไรเลย (ปกติติดต่ออะไรเขาตอบเสมอ) อาจจะเป็นเพราะว่าทางอเมริกาไม่อยากยุ่งหรือว่ามีบริษัทน้ำมันสัญชาติอเมริกาเข้าไปเอี่ยวกับทางฝั่งกัมพูชารึป่าวอันนี้ผมไม่ทราบ... แล้วจากข้อมูลที่ได้ประเด็นข้อตกลงเรื่องนี้ควรจะเป็นอย่างไรซึ่งก่อนหน้านี้มีผู้ใหญ่ประจำกระทรวงบอกว่า “แบ่งพลังงานอ่าวไทยเขมรวิน-วิน 50:50 ตรงพื้นที่ทับซ้อนใกล้ฝั่งใครเอาไป 80:20” วิน-วินจริงรึครับ?? ถ้าจากข้อมูลชุดนี้ ท่าทางว่าฝั่งกัมพูชาเขาจะวินอย่างเดียวละครับเนี่ย เพราะทางเขาไม่มีสิทธิ์ตั้งแต่แรกแล้วมันควรจะเป็นอย่างไรละ ถ้าถามผมโดยยึดผลประโยชน์ของชาติไทบเป็นหลักและอิงตามสากลควรจะเป็นอย่างนี้ 1. แหล่งน้ำมันฝั่งใครของประเทศนั้น เราก็คงไม่อยากไปเอาของเขาอยู่แล้ว 2. บนพื้นที่ทับซ้อนไทยต้องไม่ต่ำกว่า 80% เพราะเป็นแอ่งพลังงานของเราแต่แรก แต่เข้าใจว่ากลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเราอาจจะต้องให้เขาบ้างเพื่อจะได้มีการนำพลังงานมาใช้ทั้งสองฝ่าย โดยต้องเปิดเผยข้อมูลการขุดเจาะทั้งสองฝ่าย (ในกรณีที่เรามีข้อมูลทุกอย่างพร้อม และตัดสินใจจะนำพลังงานมาใช้) 3. แหล่งน้ำมันบริเวณฝั่งกัมพูชาเนื่องจากว่าอยู่ในแอ่งเดียวกับเรา (Thai Cenozoic Basins) เขาต้องรายงานข้อมูลการขุดเจาะรวมถึงวันที่จะเจาะในรัศมี 4-5 กิโลเมตรนับจากเขตแดนทางกัมพูชาไปในประเทศกัมพูชา และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเราในกรณีที่หลุมเจาะใกล้เขตแดนระหว่างประเทศในระยะ 4-5 กิโลเมตรทำไมต้องเป็นแบบนี้??? เพราะป้องกันทางฝั่งกัมพูชาใช้เทคโนโลยีในการเจาะมาลักลอบเอาน้ำมันของเรา เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีการเจาะแบบแนวนอน (Horizontal Drilling) ซึ่งแต่ก่อนมีแบบแนวตั้งแบบเดียว (Vertical Drilling) และช่วงท่อแนวนอนนี้สามารถยึดไปได้ประมาณ 3-4 กิโลเมตร ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีบางประเทศนำไปใช้ในการลักลอบน้ำมันใต้ดิน (บางแหล่งชั้นน้ำมัน Connect กันหมด) และรัฐบาลเรารวมไปถึงคนไทยเราต้องรู้ทันด้วย ตามรูปประกอบจาก Internet ข้างล่าง | ||||||||||
ซึ่งข้อตกลงนี้ก็ต้องให้นักกฎหมายและนักธรณีวิทยามาดูด้วย เพราะผมพูดในเชิงนโยบายและประสบการณ์ของผมด้านพลังงานและขุดเจาะน้ำมัน สุดท้ายนี้ผมเชื่อว่าถ้าคนไทยเราสามัคคีกันผลประโยชน์ต้องตกเป็นของคนไทยแน่นอน ดูอย่างทีมวอลเลย์บอลหญิงของเราสิเป็นตัวบอกได้ดีเลยครับ ผมขอฝากข้อมูลหรือบทความนี้ไปถึงคนไทยทุกคนและรัฐบาลใหม่ด้วย ขอขอบคุณครับ |
วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554
จีนขอมีเอี่ยวในน้ำมันและแก๊สฯไทย-เขมร
โดย ทรงฤทธิ์ โพนเงิน | ||
|
วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ความเป็นชาติและความสิ้นชาติ
ขณะที่กำลังปวดหัวอยู่กับเรื่องหญ้าแพรก เรือดันน้ำ เรื่องนิติเรด ไปจนถึงเรื่องทหารไทยแห่งกองทัพไทยแท้ๆ แต่กลับคิดจะหาทางแก้ไขกฎหมายสภากลาโหม ที่ช่วยปกป้องไม่ให้เกิดการแทรกแซงกองทัพ ฯลฯ จนแทบไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรต่อมิอะไรต่อไปดี เผอิญมีโอกาสไปเปิดดูเว็บไซต์ของพรรคพวก ชื่อว่า Muslim Today เห็นข่าวเล็กๆ อยู่ชิ้นหนึ่ง ที่ดูจะแปลกออกไป จากข่าวซึ่งปรากฏอยู่ในสื่อทั่วๆ ไป เลยต้องขออนุญาตนำมาขยายผลเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้…
——————————————-
ข่าวดังกล่าวพาดหัวเอาไว้ว่า ยุคแรงงานเขมรเป็นใหญ่ ล้อมกรอบทุบรถพังยับ ทำร้ายตำรวจไม่ถูกจับ โดยแจกแจงรายละเอียดไว้ว่า…วันที่ 2 ต.ค.54 บริเวณสนามฟุตบอลข้างบ้านพักพนักงานของโรงเชือดไก่ บจก.พนัส อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เกิดเหตุแรงงานจากกัมพูชาเกือบ 2,000 คน ก่อการจลาจล ทุบตีรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เหตุเกิดในช่วงเย็น ขณะที่มีการแข่งขันฟุตบอลเชื่อมสัมพันธ์แรงงานไทยกับแรงงานเขมร ของโรงเชือดไก่ โดยแรงงานไทยมีประมาณ 100 คน ขณะที่แรงงานเขมรและกองเชียร์ของโรงเชือดไก่ที่เดียวมีประมาณ 2,000 คน ซึ่งมีการดื่มสุราจนเมากันเป็นจำนวนมาก และระหว่างแข่งขัน นักเตะแรงงานเขมรเล่นแรงและเตะแรงงานไทย ทำให้เกิดชุลมุนต่างตะลุมบอนกันวุ่นวาย
เจ้าของโรงงานแจ้ง พ.ต.ท.ณัฐจักร นำตำรวจและหน่วยกู้ภัยมากว่า 100 คน มาถึงก็ให้แรงงานไทยกว่า 100 คน ออกจากที่เกิดเหตุไปก่อน เพราะกลัวจะทะเลาะบานปลายไปอีก สร้างความไม่เข้าใจต่อแรงงานเขมร เพราะเข้าใจว่า เข้าข้างแรงงานไทย จึงปิดล้อมตำรวจและรถยนต์สายตรวจ เอาไม้ก้อนอิฐ ก้อนหินขว้างปา และไล่ทำร้ายตำรวจ ทำลายรถยนต์สายตรวจและทรัพย์สินตำรวจเสียหาย และใช้ไม้ อิฐ ก้อนหิน ทำร้ายพันตำรวจโท ณัฐจักร เอี่ยมสุวรรณ รอง ผกก.สถานีตำรวจภูธรพนัสนิคม และปิดล้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยกู้ภัย ต่อมา พ.ต.อ.พิสิฐ โปรยรุ่งโรจน์ รอง ผกก.ตำรวจภูธร จังหวัดชลบุรี นำกำลังตำรวจ และกองร้อยควบคุมฝูงชนกว่า 500 นาย พร้อมอาวุธกระบองและโล่เข้าไปกดดัน….
จนกระทั่งเวลา 21.30 น. ทางแกนนำแรงงานเขมรยอมสลายตัว และเลิกปิดล้อมตำรวจภูธรพนัสนิคม และคืนรถยนต์สายตรวจ โดยตำรวจรับปากจะหาแรงงานไทยที่เป็นคนก่อเหตุชกต่อยแรงงานเขมรมาดำเนินคดี ส่วนเจ้าของโรงงานก็รับปากจะยอมชดใช้ค่าเสียหาย ซ่อมรถยนต์สายตรวจและทรัพย์สินของตำรวจที่เสียหาย จำนวน 100,000 บาท
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 ก.ค.54 ที่โรงงานจีเอฟพีที (ไทย) อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี เกิดปัญหาพิพาททะเลาะชกต่อย ระหว่างแรงงานกัมพูชากับแรงงานไทย รปภ.ของโรงงานควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.หนองใหญ่ มาระงับเหตุ คนงานเขมรรวมตัวกันกว่า 200 คน เพราะไม่พอใจคนงานไทย 2 คน ขณะที่กำลังนำตัวคนงานไทย 2 คนขึ้นรถและกำลังขับออกจากโรงงาน กลุ่มคนงานเขมรยังไม่พอใจ รวมตัวกันมากขึ้นถึง 700 คน ตำรวจพยายามเจรจากับแกนนำคนงานเขมร แต่ก็ไม่เป็นผล คนงานเขมรต่างก็หยิบไม้และก้อนหินขว้างปาใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจและรถยนต์ของตำรวจที่จอดอยู่จนเสียหาย โดยไม่มีการดำเนินคดีกับกลุ่มแรงงานเขมร…
——————————————————
อันที่จริงข่าวที่ว่านี้ก็คงเป็นแค่ข่าวการทะเลาะเบาะแว้งธรรมดาๆ จะเป็นด้วยความเข้าใจผิด หรือไม่เข้าใจก็แล้วแต่ ซึ่งย่อมสามารถเกิดขึ้นได้เสมอๆสำหรับผู้คนทุกชาติ ทุกภาษา แต่จะเป็นเพราะเหตุที่บรรดานักการเมืองไทยระดับรัฐมนตรี ระดับประธานรัฐสภา เพิ่งยกขบวนไปแสดงมิตรไมตรี เตะฟุตบอลเชื่อมความสัมพันธ์กับรัฐบาลเขมร อย่างชนิดเป็นที่ชื่นมื่น ระดับบางรายที่เคยมีอุปนิสัยหยาบกร้าน ก้าวร้าว ต่อใครก็ตามที่มีฐานะเป็นฝ่ายตรงกันข้าม แม้ว่าจะเป็นคนไทยด้วยกันก็แล้วแต่ ถึงขั้นผวาเข้ากราบไข่ผู้นำกัมพูชา อย่างแทบไม่น่าเชื่อสายตา มันเลยทำให้อดไม่ได้ที่จะนำเอาข่าวคราวเหล่านี้มาขบคิด พิจารณา ภายใต้ภาวะที่ความเป็นชาติ ความเป็นประเทศในหมู่ชนชาวไทย มันชักจะเป็นอะไรที่ดูจะตกต่ำ เสื่อมโทรม ลงไปเรื่อยๆ…
——————————————————–
เพราะแม้ว่าสัมพันธภาพระหว่างไทยกับกัมพูชาภายใต้รัฐบาลชุดนี้…จะดูดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม ยินดี อย่างไม่พึงต้องสงสัย แต่ภายใต้สัมพันธภาพที่ดีขึ้นนั้น ถ้าหากมันเกิดขึ้นภายใต้ความตกต่ำของความเป็นชาติในหมู่คนไทยด้วยกันเอง มันก็ออกจะเป็นอะไรที่น่าหนักใจ น่าวิตก ห่วงใย เป็นอย่างยิ่ง เพราะมันอาจไม่ใช่สัมพันธภาพที่ตั้งอยู่บนความรัก ความปรารถนาดี ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันตามปกติ แต่มันอาจกลายเป็นสัมพันธภาพ ที่ตั้งอยู่บนการรับใช้ การเป็นทาส อันมีที่มาจากการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มคนที่ไม่ได้สนใจความเป็นชาติ นอกเสียจากผลประโยชน์ของตัวกู-พวกกูล้วนๆ…
————————————————————
ยิ่งถ้าใครได้รับทราบคำพูด คำจา ของคนไทยบางกลุ่ม บางราย ในงานเลี้ยงรื่นเริง แสดงความยินดีของกลุ่มคนไทยในแผ่นดินเขมรนั้น ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องหนักใจเข้าไปใหญ่ ไม่เพียงแต่คำพูดอันเป็นที่เสียดแทงความรู้สึกของผู้คนในชาติเดียวกันกับตัวเองเท่านั้น ความไม่สนใจในความเป็นชาติ ไร้เสียซึ่งความรู้สึกผูกพันกับผู้คนในแผ่นดินเดียวกันกับตัวเอง ชนิดแทนที่จะคิดยกพวกไปตีกับใครต่อใคร ที่ไม่ใช่ชาติเดียวกัน ดันคิดจะอาศัยแผ่นดินเขมรยกพวกไปตีกับคนชาติเดียวกันไปซะนี่…ทำให้คนเหล่านี้ดูจะเป็นอะไรที่ตกต่ำซะยิ่งกว่าแรงงานเขมร ซึ่งเข้ามาหากินในเมืองไทย ไม่รู้กี่เท่าต่อกี่เท่า…
————————————————————–
ว่าไปแล้ว…การนำเอาความเป็นชาติมาใช้เป็นตัวแบ่งแยก กีดกัน มุ่งร้ายทำลายซึ่งกันและกัน มันย่อมเป็นสิ่งที่ควรปฏิเสธอยู่แล้วแน่ๆ แต่การไร้เสียซึ่งความเป็นชาติ ไร้เสียซึ่งความผูกพันต่อผู้คนในแผ่นดินเดียวกัน เหลือแต่เพียงผลประโยชน์ของ ตัวกู-พวกกู เป็นสรณะ แต่เพียงเท่านั้น อันนี้…ไม่ว่าจะเป็นชาติไหน แบบไหน ฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ อันตราย ไปด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งประเภทที่มุ่งแต่จะได้มาซึ่งผลประโยชน์ของ ตัวกู-พวกกู โดยไม่สนใจแม้กระทั่งปราการด่านสุดท้าย ในการปกป้องความเป็นชาติอย่าง กองทัพ ด้วยแล้ว ยิ่งเป็นอะไรที่ฉิบหายหนักขึ้นไปใหญ่ ไม่ต้องรอให้กองทัพไทยเผชิญหน้ากับกองทัพเขมรหรอก แค่เจอเข้ากับแรงงานเขมรไล่ตีแรงงานไทยในแผ่นดินไทยแท้ๆ ก็เรียกว่า สิ้นชาติ กันเห็นๆ…
—————————————————————
ปิดท้ายด้วยวาทะวันนี้ จาก วิลเลียมที่ 3 กษัตริย์อังกฤษ…มีอยู่วิธีหนึ่งที่แน่นอน ในอันที่จะทำให้ข้าพเจ้าไม่ต้องได้เห็นความย่อยยับของประเทศตัวเอง นั่นคือ…ข้าพเจ้าจะขอตายในคูรบแห่งสุดท้าย…
ท่านขุนน้อย
——————————————-
ข่าวดังกล่าวพาดหัวเอาไว้ว่า ยุคแรงงานเขมรเป็นใหญ่ ล้อมกรอบทุบรถพังยับ ทำร้ายตำรวจไม่ถูกจับ โดยแจกแจงรายละเอียดไว้ว่า…วันที่ 2 ต.ค.54 บริเวณสนามฟุตบอลข้างบ้านพักพนักงานของโรงเชือดไก่ บจก.พนัส อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เกิดเหตุแรงงานจากกัมพูชาเกือบ 2,000 คน ก่อการจลาจล ทุบตีรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เหตุเกิดในช่วงเย็น ขณะที่มีการแข่งขันฟุตบอลเชื่อมสัมพันธ์แรงงานไทยกับแรงงานเขมร ของโรงเชือดไก่ โดยแรงงานไทยมีประมาณ 100 คน ขณะที่แรงงานเขมรและกองเชียร์ของโรงเชือดไก่ที่เดียวมีประมาณ 2,000 คน ซึ่งมีการดื่มสุราจนเมากันเป็นจำนวนมาก และระหว่างแข่งขัน นักเตะแรงงานเขมรเล่นแรงและเตะแรงงานไทย ทำให้เกิดชุลมุนต่างตะลุมบอนกันวุ่นวาย
เจ้าของโรงงานแจ้ง พ.ต.ท.ณัฐจักร นำตำรวจและหน่วยกู้ภัยมากว่า 100 คน มาถึงก็ให้แรงงานไทยกว่า 100 คน ออกจากที่เกิดเหตุไปก่อน เพราะกลัวจะทะเลาะบานปลายไปอีก สร้างความไม่เข้าใจต่อแรงงานเขมร เพราะเข้าใจว่า เข้าข้างแรงงานไทย จึงปิดล้อมตำรวจและรถยนต์สายตรวจ เอาไม้ก้อนอิฐ ก้อนหินขว้างปา และไล่ทำร้ายตำรวจ ทำลายรถยนต์สายตรวจและทรัพย์สินตำรวจเสียหาย และใช้ไม้ อิฐ ก้อนหิน ทำร้ายพันตำรวจโท ณัฐจักร เอี่ยมสุวรรณ รอง ผกก.สถานีตำรวจภูธรพนัสนิคม และปิดล้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยกู้ภัย ต่อมา พ.ต.อ.พิสิฐ โปรยรุ่งโรจน์ รอง ผกก.ตำรวจภูธร จังหวัดชลบุรี นำกำลังตำรวจ และกองร้อยควบคุมฝูงชนกว่า 500 นาย พร้อมอาวุธกระบองและโล่เข้าไปกดดัน….
จนกระทั่งเวลา 21.30 น. ทางแกนนำแรงงานเขมรยอมสลายตัว และเลิกปิดล้อมตำรวจภูธรพนัสนิคม และคืนรถยนต์สายตรวจ โดยตำรวจรับปากจะหาแรงงานไทยที่เป็นคนก่อเหตุชกต่อยแรงงานเขมรมาดำเนินคดี ส่วนเจ้าของโรงงานก็รับปากจะยอมชดใช้ค่าเสียหาย ซ่อมรถยนต์สายตรวจและทรัพย์สินของตำรวจที่เสียหาย จำนวน 100,000 บาท
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 ก.ค.54 ที่โรงงานจีเอฟพีที (ไทย) อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี เกิดปัญหาพิพาททะเลาะชกต่อย ระหว่างแรงงานกัมพูชากับแรงงานไทย รปภ.ของโรงงานควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.หนองใหญ่ มาระงับเหตุ คนงานเขมรรวมตัวกันกว่า 200 คน เพราะไม่พอใจคนงานไทย 2 คน ขณะที่กำลังนำตัวคนงานไทย 2 คนขึ้นรถและกำลังขับออกจากโรงงาน กลุ่มคนงานเขมรยังไม่พอใจ รวมตัวกันมากขึ้นถึง 700 คน ตำรวจพยายามเจรจากับแกนนำคนงานเขมร แต่ก็ไม่เป็นผล คนงานเขมรต่างก็หยิบไม้และก้อนหินขว้างปาใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจและรถยนต์ของตำรวจที่จอดอยู่จนเสียหาย โดยไม่มีการดำเนินคดีกับกลุ่มแรงงานเขมร…
——————————————————
อันที่จริงข่าวที่ว่านี้ก็คงเป็นแค่ข่าวการทะเลาะเบาะแว้งธรรมดาๆ จะเป็นด้วยความเข้าใจผิด หรือไม่เข้าใจก็แล้วแต่ ซึ่งย่อมสามารถเกิดขึ้นได้เสมอๆสำหรับผู้คนทุกชาติ ทุกภาษา แต่จะเป็นเพราะเหตุที่บรรดานักการเมืองไทยระดับรัฐมนตรี ระดับประธานรัฐสภา เพิ่งยกขบวนไปแสดงมิตรไมตรี เตะฟุตบอลเชื่อมความสัมพันธ์กับรัฐบาลเขมร อย่างชนิดเป็นที่ชื่นมื่น ระดับบางรายที่เคยมีอุปนิสัยหยาบกร้าน ก้าวร้าว ต่อใครก็ตามที่มีฐานะเป็นฝ่ายตรงกันข้าม แม้ว่าจะเป็นคนไทยด้วยกันก็แล้วแต่ ถึงขั้นผวาเข้ากราบไข่ผู้นำกัมพูชา อย่างแทบไม่น่าเชื่อสายตา มันเลยทำให้อดไม่ได้ที่จะนำเอาข่าวคราวเหล่านี้มาขบคิด พิจารณา ภายใต้ภาวะที่ความเป็นชาติ ความเป็นประเทศในหมู่ชนชาวไทย มันชักจะเป็นอะไรที่ดูจะตกต่ำ เสื่อมโทรม ลงไปเรื่อยๆ…
——————————————————–
เพราะแม้ว่าสัมพันธภาพระหว่างไทยกับกัมพูชาภายใต้รัฐบาลชุดนี้…จะดูดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม ยินดี อย่างไม่พึงต้องสงสัย แต่ภายใต้สัมพันธภาพที่ดีขึ้นนั้น ถ้าหากมันเกิดขึ้นภายใต้ความตกต่ำของความเป็นชาติในหมู่คนไทยด้วยกันเอง มันก็ออกจะเป็นอะไรที่น่าหนักใจ น่าวิตก ห่วงใย เป็นอย่างยิ่ง เพราะมันอาจไม่ใช่สัมพันธภาพที่ตั้งอยู่บนความรัก ความปรารถนาดี ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันตามปกติ แต่มันอาจกลายเป็นสัมพันธภาพ ที่ตั้งอยู่บนการรับใช้ การเป็นทาส อันมีที่มาจากการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มคนที่ไม่ได้สนใจความเป็นชาติ นอกเสียจากผลประโยชน์ของตัวกู-พวกกูล้วนๆ…
————————————————————
ยิ่งถ้าใครได้รับทราบคำพูด คำจา ของคนไทยบางกลุ่ม บางราย ในงานเลี้ยงรื่นเริง แสดงความยินดีของกลุ่มคนไทยในแผ่นดินเขมรนั้น ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องหนักใจเข้าไปใหญ่ ไม่เพียงแต่คำพูดอันเป็นที่เสียดแทงความรู้สึกของผู้คนในชาติเดียวกันกับตัวเองเท่านั้น ความไม่สนใจในความเป็นชาติ ไร้เสียซึ่งความรู้สึกผูกพันกับผู้คนในแผ่นดินเดียวกันกับตัวเอง ชนิดแทนที่จะคิดยกพวกไปตีกับใครต่อใคร ที่ไม่ใช่ชาติเดียวกัน ดันคิดจะอาศัยแผ่นดินเขมรยกพวกไปตีกับคนชาติเดียวกันไปซะนี่…ทำให้คนเหล่านี้ดูจะเป็นอะไรที่ตกต่ำซะยิ่งกว่าแรงงานเขมร ซึ่งเข้ามาหากินในเมืองไทย ไม่รู้กี่เท่าต่อกี่เท่า…
————————————————————–
ว่าไปแล้ว…การนำเอาความเป็นชาติมาใช้เป็นตัวแบ่งแยก กีดกัน มุ่งร้ายทำลายซึ่งกันและกัน มันย่อมเป็นสิ่งที่ควรปฏิเสธอยู่แล้วแน่ๆ แต่การไร้เสียซึ่งความเป็นชาติ ไร้เสียซึ่งความผูกพันต่อผู้คนในแผ่นดินเดียวกัน เหลือแต่เพียงผลประโยชน์ของ ตัวกู-พวกกู เป็นสรณะ แต่เพียงเท่านั้น อันนี้…ไม่ว่าจะเป็นชาติไหน แบบไหน ฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ อันตราย ไปด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งประเภทที่มุ่งแต่จะได้มาซึ่งผลประโยชน์ของ ตัวกู-พวกกู โดยไม่สนใจแม้กระทั่งปราการด่านสุดท้าย ในการปกป้องความเป็นชาติอย่าง กองทัพ ด้วยแล้ว ยิ่งเป็นอะไรที่ฉิบหายหนักขึ้นไปใหญ่ ไม่ต้องรอให้กองทัพไทยเผชิญหน้ากับกองทัพเขมรหรอก แค่เจอเข้ากับแรงงานเขมรไล่ตีแรงงานไทยในแผ่นดินไทยแท้ๆ ก็เรียกว่า สิ้นชาติ กันเห็นๆ…
—————————————————————
ปิดท้ายด้วยวาทะวันนี้ จาก วิลเลียมที่ 3 กษัตริย์อังกฤษ…มีอยู่วิธีหนึ่งที่แน่นอน ในอันที่จะทำให้ข้าพเจ้าไม่ต้องได้เห็นความย่อยยับของประเทศตัวเอง นั่นคือ…ข้าพเจ้าจะขอตายในคูรบแห่งสุดท้าย…
ท่านขุนน้อย
บทบาทของเขมรกับการเมืองไทย
การ
ดำเนินนโยบายของประเทศต่างๆ ในโลกนี้ ล้วนมีจุดประสงค์เหมือนๆ กัน คือ
การรักษาผลประโยชน์ของชาติของตน เมื่อพูดถึงผลประโยชน์ของชาติ
ย่อมมีรายละเอียดมากมายเกี่ยวข้องกันหลายเรื่องราว
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
ผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ก็มองเห็นกันง่ายๆ เช่น ป่าไม้
เหมืองแร่ น้ำมันใต้ทะเลและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ
ส่วนผลประโยชน์ที่เป็นนามธรรมเช่น ความสงบร่มเย็นของประเทศหรือของสังคม
ก็เป็นผลประโยชน์ที่มีความสำคัญมากทีเดียว เพราะหากบ้านเมืองสงบ
ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ และสังคม การทำมาค้าขาย ย่อมดำเนินไปได้ด้วยดี
เมื่อเราเข้าใจเกี่ยวกับผลประโยชน์
แล้ว จะต้องเข้าใจต่อไปอีกว่า
ผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างตนและผลประโยชน์ของชาติ
ก็อีกประเด็นหนึ่งที่ควรจะทำความเข้าใจเสียก่อนแล้วค่อยมา “ถกเขมร” กัน
ผลประโยชน์ทับซ้อนก็คือ
การที่รัฐบาล
ซึ่งส่วนมากล้วนเป็นนายทุนระดับชาติที่พยายามเข้าถึงทรัพยากรและงบประมาณของ
ชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
นักการเมืองที่ร่ำรวยจึงพยายามรวมตัวกันให้เป็นปึกแผ่น
เพื่อจะได้เข้าไปบริหารประเทศและบริหารงบประมาณด้วยการวางแผนใช้งบประมาณ
อย่างแนบเนียนผ่านนโยบายรัฐบาล ซึ่งดูเหมือนว่าจะดีหากมองอย่างผิวเผิน
แต่ถ้ามองอย่างลึกซึ้งแล้ว
นายทุนที่แอบแฝงมาในคราบของรัฐบาลนี่เองที่ส่วนใหญ่ก็คือ
เสือที่ห่อหุ้มตนเองด้วยหนังวัว แล้วแอบเข้าไปอยู่ในท่ามกลางฝูงวัว
เผลอเมื่อไรก็จับกินได้ง่ายๆ อย่างละม่อม จนวัวหมดคอก
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในวันนี้
รัฐบาลเริ่มมีนโยบายแบบผลประโยชน์ทับซ้อนเต็มไปหมด
นโยบายแต่ละนโยบายล้วนสนับสนุนให้พรรคพวกเพื่อนฝูงพี่น้องและญาติได้รับ
ประโยชน์อย่างมหาศาล
แล้วพรางตาด้วยผักชีโรยหน้าแบบหลอกชาวบ้านให้ตายใจด้วยเศษเงินเล็กน้อยแล้ว
ไปกินของใหญ่ที่ชาวบ้านไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น เรื่องรถยนต์คันแรก
และบ้านหลังแรก
เป็นเรื่องที่รัฐบาลสร้างนโยบายขึ้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกพ้องอย่าง
แนบเนียน ดูง่ายๆ เช่นการลดภาษีให้ผู้ประกอบการ 23 เปอร์เซ็นต์
งานนี้คนที่ได้รับผลประโยชน์ ดูเหมือนว่าจะเป็นประชาชนผู้ซื้อบ้านซื้อรถ
แต่เนื้อหาที่แท้จริงได้แก่นักธุรกิจที่จะขายบ้านและรถด้วยนโยบายแรงจูงใจ
ของรัฐบาลที่จะคืนภาษีให้หนึ่งแสนบาท
จับตามองให้ดี
ภาษีที่จะคืนให้คือ เงินของประเทศ
แต่เมื่อกระตุ้นตัณหาของผู้ซื้อสำเร็จแล้ว
บรรดานายทุนและผู้ประกอบการจะได้รับผลประโยชน์แบบเนื้อๆ สองเด้งรวด
นี่คือตัวอย่างของผลประโยชน์ทับซ้อน
ไม่ต้องกล่าวถึงบรรดาญาติมิตรผู้ใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีที่มีธุรกิจเกี่ยวกับ
บ้านที่ดินและรถยนต์กันทั่วหน้าจะได้อานิสงส์สักปานใด
นี่คือ ต้นแบบโคลนนิ่ง ทักษิณละ
เขาจะไม่กินแบบตะกละตะกลามในที่แจ้งๆ
แต่เขาจะกินจากเรื่องที่สลับซับซ้อนที่ใครตามไม่ทัน เช่น เขาเคยออกนโยบาย
หมู่บ้านละล้าน ทั้งหมดแปดหมื่นหมู่บ้าน รัฐต้องจ่ายเงินแปดหมื่นล้าน
แต่คิดคร่าวๆ เงินเหล่านี้ หากประชาชนนำไปซื้อโทรศัพท์มือถือ
ที่ขณะนั้นเขาผูกขาดอยู่เพียงคนเดียว
เพียงสามสิบเปอร์เซ็นต์เขาจะโกยเงินเข้ากระเป๋าไปเท่าไร
นี่ไม่นับการขายอุปกรณ์โทรคมนาคมให้พม่าโดยบริษัทของเขาเป็นผู้รับเงินที่
กู้ไปจากรัฐแต่มาซื้อของในตระกูลของเขา หากถามว่า ทักษิณโกงไหม
ก็ตอบว่าไม่โกง เพราะเขาไม่ได้ขายอุปกรณ์เหล่านี้ แต่ญาติๆ
ของเขาเป็นผู้ขาย ฟังดูดีแต่ทับซ้อนไว้ทั้งพวง
ทีนี้เรามาดูผลประโยชน์ทับซ้อน
ที่ทักษิณ กำลังรวมหัวกับฮุนเซ็นเล่นการเมืองข้ามชาติ นั้นคือ
ฮุนเซ็นจะพยายามสร้างสถานการณ์ทุกอย่างที่พยายามทำลายความน่าเชื่อถือของ
รัฐบาลที่แล้ว เช่น
การส่งทหารเข้ามายิงตามแนวชายแดนจนมีคนบาดเจ็บล้มตายเพื่อแสดงให้เห็นว่า
ตราบใดนายกรัฐมนตรีเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่ตระกูลชินวัตร
ตราบนั้นประเทศไทยไม่ต้องสงบ
แต่พอรัฐบาลตระกูลชินวัตรเข้ามาพี่ชายมาบัญชาการอยู่กับฮุนเซ็น
ปัญหาข้อพิพาทที่ชักจะบานปลายสงบเงียบ ประชาชนตามแนวชายแดนอยู่เย็นเป็นสุข
พรรคเพื่อไทยก็จะบอกว่า
เห็นไหมพอพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลแม้แต่ชายแดนยังสงบเลย นี่คือ
ตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าตระกูลชินวัตร ทำได้ทุกอย่าง
แม้แต่คิดกับต่างชาติมาเข่นฆ่าคนไทยเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเมือง
และนายฮุนเซ็น
คือเพื่อนบ้านที่ไร้มารยาทที่สุด ยุแหย่
ให้คนไทยที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมารบกันเอง
การปล่อยให้พวกเสื้อแดงและพลพรรคเพื่อไทยเข้าไปจัดกิจกรรมทางการเมือง
เป็นการตอกย้ำว่า ฮุนเซ็นก็คือ ประธานสาขาพรรคเพื่อไทยประจำเขมร
นักการเมืองคนไหนทำผิดกฎหมาย ก็หนีไปอยู่เขมรก็จะปลอดภัย
ไม่ว่าตัวน้อยตัวใหญ่ นับว่าเป็นประเทศฝนตกขี้หมูไหลจริงๆ
พอฮุนเซ็นยุแหย่
สร้างเงื่อนไขให้คนไทยรบกันเองได้สำเร็จแล้ว
นักท่องเที่ยวก็ไม่กล้ามาไทยเพราะเขารบกันอยู่เรื่อย ก็มุ่งตรงเข้าเวียดนาม
เขมร โดยตรง
นี่คือ ผลประโยชน์ที่ไทยต้องเสียไปจากการยุแหย่ของฮุนเซ็น
เราต้องสูญเสียผลประโยชน์จากการ
ท่องเที่ยวไปอย่างมหาศาล
เพราะความร่วมมือกวนเมืองของทักษิณและฮุนเซ็นนี่เอง ตอนนี้พอมีอำนาจ
ก็จะมาร่วมเสวยสุข
ด้วยการหยิบยกเรื่องน้ำมันใต้ทะเลในอาณาเขตทับซ้อนไทยเขมรมาคุยก่อนเรื่อง
อื่น
จุดทับซ้อนก็อยู่ตรงที่ว่า ปู
มีนโยบาย ที่จะเข้าไปจัดการทรัพยากรน้ำมันและแก๊สใต้ทะเล
แต่ทักษิณก็รอที่จะเข้าไปลงทุนในฐานะเอกชนนักลงทุนคนหนึ่ง
แม้พี่น้องคู่นี้จะโกหกเก่งทั้งคู่ว่า เรื่องนี้ไม่มีส่วนรู้ส่วนเห็น
แต่ติดตามดูให้ดีๆ ผลที่ออกมาล้วนตรงกันข้ามเสมอ
มีสิ่งใดบ้างที่ปูปฏิเสธแล้วไม่ทำบ้าง ปฏิเสธแล้วทำทุกเรื่อง...
เขาเรียกว่า โกหกหน้าด้านๆ
ฮุนเซ็นได้ชื่อว่า
เป็นเพื่อนยามยากที่ทักษิณ ซาบซึ้งน้ำใจเป็นหนักเป็นหนา
ความร่วมมือก่อความวุ่นวายให้ประเทศไทยที่ทำให้รัฐบาลคู่ต่อสู้ต้องพ่ายแพ้
ไปอย่างย่อยยับ บัดนี้ได้อำนาจเบ็ดเสร็จ
จึงถึงเวลาที่ทักษิณจะตอบแทนคุณฮุนเซ็นแล้ว การตอบแทนคุณที่ทักษิณจะทำ
จะไปกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติมากน้อยเพียงใดไม่สนใจ
ขอให้ตัวเองได้แบ่งประโยชน์ให้แก่กันและกันก็พอแล้ว
ตราบใดที่คนไทยไม่เข้าใจเขมรให้ทะลุทะลวง ตราบนั้น
เขมรก็กลายเป็นตัวช่วยนักการเมืองไทยที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
กอบโกยทรัพยากรธรรมชาติไปเป็นของตนเองและพวกพ้องจนชาติแทบจะไม่เหลืออะไร.
ข่าวสังคมคนไทยในอเมริกา |
ศาลปค.สูงสุดยืนตามศาลปค.ชั้นต้นสั่งยกคำร้องพธม.
ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ นายวุฒิชัย แสงสำราญ ตุลาการศาลปกครองกลาง ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่มีคำสั่งยืนตามศาลปกครอง ชั้นต้นให้ยกคำร้องของนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพวกที่ยื่นฟ้องรมว.กระทรวงการต่าง ประเทศและคณะรัฐมนตรี ขอให้เพิกถอนบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเห็น ว่า การดำเนินการของรมว.ต่างประเทศ และคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและการจัดทำหลักเขตทางบก ระหว่างราชอาณาจักรไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา ค.ศ.2000 หรือMOU 2543 ข้อกำหนดและแผนแม่บทสำหรับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราช อาณาจักรไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ TOR 2546 มติรัฐสภาที่เห็นชอบกรอบการเจรจาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา ตลอดแนว ในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา และกลไกอื่น ๆ ภายใต้กรอบนี้
ตลอดจนการนำบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วรวม 3 ฉบับ เสนอให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ และร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราช อาณาจักรกัมพูชา ว่า ด้วยปัญหาชายแดนในพื้นไทย-ปราสาทพระวิหาร กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวิเฮียร์ ที่จัดทำขึ้นในเดือนเม.ย.2552 และรอความเห็นชอบจากรัฐสภา เป็นการใช้อำนาจทางบริหารของรัฐ โดยฝ่ายบริหารตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และเมื่อมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในเรื่องดังกล่าวต้องผ่าน การตรวจสอบและให้ความเห็นชอบของรัฐสภาในฐานของฝ่ายนิติบัญญัติก่อน อันเป็นการควบคุมทางการเมืองตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขการดำเนินการดังกล่าวของรมว.ต่างประเทศและคณะรัฐมตรี จึงเป็นกรณีการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือการดำเนินกิจการทางปกครอง คดีพิพาทนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง ที่ศาลปกครองชั้นต้นสั่งไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น จึงชอบแล้วศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย
ส่วนที่นายปานเทพ ขอให้ศาลปกครองสูงสุดส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีการดำเนินการ เกี่ยวกับ MOU 2543 ไม่ถูกต้องตามกระบวนการขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ และการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีที่ขอให้รัฐสภาเห็นชอบตามกรอบการเจรจาสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชาตลอดแนวในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดน ร่วมไทย-กัมพูชาและกลไกอื่น ๆ ภายใต้กรอบนี้ โดยมีการกำหนดกรอบการเจรจาในความหมายเดียวกับข้อความของMOU2543 ดังกล่าวเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ นั้น เห็นว่า เมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องคดีนี้แล้วก็ไม่มีเหตุให้ต้องส่ง ข้อโต้แย้งดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 211 ของรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดคดีบันทึกการประชุมคณะกรรมการเขตแดนร่วม ไทย-กัมพูชา
วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554
MOU 43 และ MOU 44 จุดเริ่มต้นและการยอมรับ
***** บทความนี้ของอาจารย์ เทพมนตรี ลิปพยอม ที่เขียนลงในผู้จัดการออนไลน์ จำนวน 3 ครั้ง เมื่ออาจารย์ท่านเขียนจบแล้วเปลี่ยนเรื่องเขียนผมจึงเอามารวมลงไว้เพื่อความต่อเนื่องของบทความครับ*****
จากการศึกษาเรื่อง MOU 43 และ MOU 44 โดยละเอียดกับทั้งหนังสือต้นร่างที่มีการประชุมตกลงกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เราอาจมองเห็นภาพความต่อเนื่องกันของการทำ MOU 43 และ MOU 44 โดยที่ MOU ทั้งสองฉบับนี้ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) กับไม่ใส่ใจที่จะนำเรื่องนี้ไปผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาตามที่ตราไว้ในบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช 2540 ผมจึงถือว่า MOU ดังกล่าว เป็น MOU เถื่อนทั้ง 2 ฉบับ แต่อย่างไรก็ดี MOU ต่างถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมืองทั้งสองประเทศไม่ว่าจะเป็นไทยหรือกัมพูชามากกว่าที่จะคิดถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม
MOU 43 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำเขตแดนทางบก ส่วน MOU 44 เป็นเรื่องการแบ่งพื้นที่ทะเลและมีส่วนเกี่ยวเนื่องกัน เพราะโดยหลักการแล้วต้องจัดการกับเขตแดนทางบกให้จบเสียก่อน ก่อนที่จะจัดการผลประโยชน์ในพื้นที่ทะเล อย่างไรก็ดี การจัดทำ MOU ทั้งสองฉบับมีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้ทางฝ่ายกัมพูชาแทบทั้งสิ้น
MOU (Memorandum of Understanding) หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “บันทึกความเข้าใจ” ฉบับที่จะกล่าวถึงก่อนได้แก่
1. MOU 43 “บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก” ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ระหว่างม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และนายวาร์ คิม ฮง ภายใต้รัฐบาลนายชวน หลีกภัย หนังสือต้นร่างที่ระบุถึงเรื่องนี้ได้แก่
หนังสือลงวันที่ 9 มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นรายงานผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาอันเป็นที่มาของการจัดทำ MOU 43 โดยสาระสำคัญในเนื้อหาของหนังสือฉบับนี้ก็คือ
1. เป็นการนำเสนอนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร) ให้อนุมัติเพื่อดำเนินการจัดทำ MOU
2. เป็นการรายงานผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาครั้งที่ 2 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 5-7 มิถุนายน 2543
3. เป็นการไปหยิบเอาแผนที่เก๊ 11 ระวาง ที่อ้างว่าจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามอินโดจีน (เมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา) มาเป็นเอกสารที่ผูกพันไทยกับกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
4. เป็นจุดเริ่มต้นของ TOR 46 ที่เน้นย้ำแผนที่เก๊ทั้ง 11 ระวางว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก อันเป็นผลทำให้กัมพูชาเข้ายึดครองพื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหารและแนวชายแดนไทย-กัมพูชาโดยรัฐบาลและทหารไทยนิ่งเฉย
5. เป็นที่มาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาและคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม ที่มีหน้าที่เป็นผู้กำหนด TOR (ซึ่งเป็นที่มาของ TOR 46 ซึ่งทำเสร็จสิ้นไปตั้งแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) และทำการพิสูจน์หลักเขตแดนรวมถึงการกำหนดเขตแดนร่วมกันกับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งในปัจจุบันนี้มีผลงานที่มีปัญหาคือ รายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) 3 ฉบับที่ยังไม่ผ่านที่ประชุมของรัฐสภา
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทั้ง MOU 43 และ MOU 44 ไม่ได้ผ่านกระบวนการเห็นชอบจากรัฐสภาแต่เป็นอำนาจเผด็จการทั้งรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ดอดไปทำ MOU กับรัฐบาลสมเด็จฯ ฮุนเซน ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักนิติรัฐ และนิติธรรมอย่างไม่เป็นที่สงสัย (และถ้ารัฐบาลปัจจุบันจะเถียงว่าไม่จริงก็ขอให้นำ MOU ทั้ง 2 ฉบับนี้เข้าสู่ขบวนการตีความโดยศาลรัฐธรรมนูญ) ปัญหาสำคัญคือ MOU 43 และ MOU 44 มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะในวันที่ทำ MOU 44 นั้นได้มีการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมเพิ่มเติมไปด้วยว่า เมื่อจัดทำหลักเขตแดนทางบก (MOU 43) เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะหันมาพิจารณาพื้นที่ที่เรียกว่าเขตทับซ้อนทางทะเลอันเป็นเนื้อหาของ MOU 44 ล้วนๆ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่าการไปยอมรับสิ่งที่เขมรได้กระทำไปนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องขาดหลักความยุติธรรม
MOU 44 แม้จะมีวัตถุประสงค์ที่ดีแต่ผิดหลักการในการทำ MOU และการไปยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดที่เขมรได้ทำขึ้น ข้อสังเกตก็คือ การประกาศเขตพื้นที่ของเขมรได้ประกาศขอบเขตเส้นไหล่ทวีปเมื่อปี 2515 ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่า
ก. จุดเริ่มต้นของเส้นไหล่ทวีปยังไม่มีค่าพิกัดที่แน่นอน
ข. เส้นไหล่ทวีปที่ลากผ่านเกาะกูดของไทยไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ
ค. เส้นไหล่ทวีปในแนวเหนือ-ใต้กำหนดจากเกาะของฝ่ายกัมพูชา โดยไม่คำนึงถึงเกาะของฝ่ายไทย
การไปทำ MOU 44 คือ การที่ไปยอมรับเส้นที่เขมรสร้างขึ้นตามพิกัดบริเวณอ่าวไทยซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นของไทย แต่ MOU 44 ไปสร้างหลักการแบ่งตามที่เขมรอ้างสิทธิ
สำหรับประเทศไทยเราแล้ว เราก็ได้ประกาศเส้นไหล่ทวีปบริเวณอ่าวไทยในปี พ.ศ. 2516 เหมือนกันและมีหลักการแบ่งที่ถูกต้องตามหลักสากลดังนี้
ก. จุดเริ่มของเส้นไหล่ทวีปยังมีค่าพิกัดไม่แน่นอนเช่นกัน
ข. เส้นช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของกัมพูชา
ค. ส่วนที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับกัมพูชาโดยใช้หลักการของเส้นมัธยะ (Equidistance line) ตามหลักสากล
ดังนั้น หากเราพิจารณาสถานภาพของ MOU 44 แล้วจะพบว่า
1. เป็น MOU เถื่อน เพราะไม่ผ่านขั้นตอนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ถือว่าเป็นโมฆะ
2. เป็น MOU เถื่อนที่ไปยอมรับความผิดพลาดของเขมร
3. ถ้าไม่ยกเลิก MOU ฉบับนี้แสดงว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลย่อมรู้เห็นเป็นใจต่อการกระทำที่ฉ้อฉล และมุ่งผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง สมควรที่จะมีการทบทวนและยกเลิก
ผมคิดว่าโดยหลักการแล้ว MOU 43 และ MOU 44 เป็น MOU เถื่อน และเป็น MOU ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักนิติธรรมและนิติรัฐ อีกทั้งยังขัดแย้งต่ออนุสัญญา ปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1907 กับขัดต่อกฎหมายทางทะเลซึ่งเป็นหลักกฎหมายสากลโดยทั่วไป
เมื่อผมเขียนบทความเรื่องนี้ไปสองตอนปรากฏว่านักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกรุงเทพมหานครท่านหนึ่งได้โทรศัพท์มา และถามความเห็นผมเกี่ยวกับเรื่อง MOU 44 ผมก็คุยด้วยความปรารถนาดีและได้แสดงความเห็นไปในประเด็นต่างๆ เหมือนที่ผมได้นำเสนอไปในบทความ ผมได้เสนอเงื่อนไขประการสำคัญต่อพรรคประชาธิปัตย์ว่า หากต้องการกู้เกียรติยศศักดิ์ศรีคืนก็ควรทำในสิ่งที่ถูกต้องไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก
โดยเฉพาะหัวหน้าพรรคควรแสดงจุดยืนต่อเรื่องนี้และควรใช้เสียงของ ส.ส.เข้าชื่อแล้วส่ง MOU 43 ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าถูกต้องหรือไม่ในการไปทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ. 2540 มาตรา 224 การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศต้องผ่านขบวนการของรัฐสภาเสียก่อน และเมื่อเกิดการตีความจากศาลแล้วผลเป็นประการใดก็ย่อมช่วยให้พรรคประชาธิปัตย์ดีขึ้นในสายตาของประชาชน รวมทั้งหากการทำ MOU 43 ผิดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญก็จะพาให้ MOU 44 ต้องมีปัญหาแน่นอน เพราะเมื่อการจัดทำหลักเขตแดนทางบกตาม MOU 43 ไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ ทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาจะหาเหตุผลเพื่อเอาประโยชน์ในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตรนั้นไม่ได้เลย
เมื่อผมพูดเสร็จสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติมีชื่อผู้นั้นก็ยังบอกว่าอดีตนายกฯ มาร์คเป็นห่วงเรื่องนี้มากกำชับมาว่า จะต้องทำเรื่องนี้ให้กระจ่างและตั้งอยู่บนประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ (ผมคิดในใจว่าเอาอีกแล้ว) ไม่แปลกเลยที่พรรคประชาธิปัตย์จะเหมาะสมกับความเป็นพรรคที่ซื่อสัตย์มืออาชีพ หรือรัฐบาลรู้อย่างไรประชาชนรู้แบบนั้น (ผมไม่เห็นจะเป็นมืออาชีพตรงไหน) เรื่องข้อมูลข่าวสารเราต้องยอมรับว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยยอมบอกอะไรเลย ประชาชนรู้เรื่องทีหลังแทบทั้งสิ้น
MOU 43 เป็นการสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบกระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งใช้แผนที่ 1:200,000 เป็นข้อผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปักหลักเขตมีทั้งหมด 74 หลัก (ปัจจุบันเหลือ 73 หลัก) เพราะหลักเขตที่ 22 มีสองหลัก ต่อมาภายหลังจึงยกเลิกไป 1 หลักและการที่จะต้องทำ MOU 43 นี้ก็เพื่อการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนที่สูญหายหรือถูกเคลื่อนย้ายให้กลับมาสู่ที่เดิม
ความมุ่งมาดปรารถนาของกัมพูชาที่ใช้แผนที่ 1:200,000 ก็คงมีเหตุผลมาจากความพยายามจะย้ายหลักเขตที่ 73 ไปในตำแหน่งที่ต้องการเพื่อให้การประกาศเขตไหล่ทวีปในปี พ.ศ. 2515 ของกัมพูชามีจุดอ้างอิงที่สมบูรณ์ในการลากเส้นไปผ่านเกาะกูดเพื่อเป็นอาณาเขตทางทะเลของกัมพูชา กัมพูชาก็คงรู้ว่าประเทศไทยก็คงไม่ยอมแน่ ต่อมาประเทศไทยในปี พ.ศ. 2516 จึงทำการประกาศพื้นที่ไหล่ทวีปบ้าง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดพื้นที่ที่ทับซ้อนกันขึ้น และต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิในอ่าวไทย ทั้งๆ ที่วิธีการของกัมพูชานั้นได้กระทำผิดมาตรฐานทางหลักวิชาการและการแบ่งเขตในทะเล
ด้วยเหตุนี้การที่กัมพูชากล่าวอ้างสิทธิในทะเลของไทยถือเป็นการมั่วเอา และคิดไปเองว่าเขตแดนในทะเลนั้นจะต้องอ้างอิงหลักเขตที่ 73 แล้วยิงตรงลงมาผ่านจุดสูงสุดของเกาะกูด การที่รัฐบาลไทยในสมัยทักษิณไปทำ MOU 44 ยอมรับเส้นเขตแดนก็เท่ากับว่าไปรับรองสิ่งที่กัมพูชาประกาศเอาไว้ ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้กลับมาเป็นรัฐบาลในปี พ.ศ. 2544 นั้นก็เลยอดที่จะไปทำ MOU ด้วยตนเอง ซึ่งก่อนหน้านั้นรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้เตรียมการเอาไว้แล้ว
อนึ่ง ไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ MOU 44 เป็น MOU เถื่อนและถือเป็นโมฆะอย่างแน่นอน เพียงแต่จะมีผู้ใดหากกล้าส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือชื่ออ่าวไทยควรเปลี่ยนเป็นชื่ออ่าวเขมร-ไทยถึงจะสาสมกับการแบ่งพื้นที่ทางทะเล และการยอมรับของประเทศไทยในเส้นที่เขมรลากมั่วๆ โดยมิชอบใน MOU 44
จากการศึกษาเรื่อง MOU 43 และ MOU 44 โดยละเอียดกับทั้งหนังสือต้นร่างที่มีการประชุมตกลงกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เราอาจมองเห็นภาพความต่อเนื่องกันของการทำ MOU 43 และ MOU 44 โดยที่ MOU ทั้งสองฉบับนี้ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) กับไม่ใส่ใจที่จะนำเรื่องนี้ไปผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาตามที่ตราไว้ในบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช 2540 ผมจึงถือว่า MOU ดังกล่าว เป็น MOU เถื่อนทั้ง 2 ฉบับ แต่อย่างไรก็ดี MOU ต่างถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมืองทั้งสองประเทศไม่ว่าจะเป็นไทยหรือกัมพูชามากกว่าที่จะคิดถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม
MOU 43 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำเขตแดนทางบก ส่วน MOU 44 เป็นเรื่องการแบ่งพื้นที่ทะเลและมีส่วนเกี่ยวเนื่องกัน เพราะโดยหลักการแล้วต้องจัดการกับเขตแดนทางบกให้จบเสียก่อน ก่อนที่จะจัดการผลประโยชน์ในพื้นที่ทะเล อย่างไรก็ดี การจัดทำ MOU ทั้งสองฉบับมีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้ทางฝ่ายกัมพูชาแทบทั้งสิ้น
MOU (Memorandum of Understanding) หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “บันทึกความเข้าใจ” ฉบับที่จะกล่าวถึงก่อนได้แก่
1. MOU 43 “บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก” ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ระหว่างม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และนายวาร์ คิม ฮง ภายใต้รัฐบาลนายชวน หลีกภัย หนังสือต้นร่างที่ระบุถึงเรื่องนี้ได้แก่
หนังสือลงวันที่ 9 มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นรายงานผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาอันเป็นที่มาของการจัดทำ MOU 43 โดยสาระสำคัญในเนื้อหาของหนังสือฉบับนี้ก็คือ
1. เป็นการนำเสนอนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร) ให้อนุมัติเพื่อดำเนินการจัดทำ MOU
2. เป็นการรายงานผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาครั้งที่ 2 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 5-7 มิถุนายน 2543
3. เป็นการไปหยิบเอาแผนที่เก๊ 11 ระวาง ที่อ้างว่าจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามอินโดจีน (เมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา) มาเป็นเอกสารที่ผูกพันไทยกับกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
4. เป็นจุดเริ่มต้นของ TOR 46 ที่เน้นย้ำแผนที่เก๊ทั้ง 11 ระวางว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก อันเป็นผลทำให้กัมพูชาเข้ายึดครองพื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหารและแนวชายแดนไทย-กัมพูชาโดยรัฐบาลและทหารไทยนิ่งเฉย
5. เป็นที่มาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาและคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม ที่มีหน้าที่เป็นผู้กำหนด TOR (ซึ่งเป็นที่มาของ TOR 46 ซึ่งทำเสร็จสิ้นไปตั้งแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) และทำการพิสูจน์หลักเขตแดนรวมถึงการกำหนดเขตแดนร่วมกันกับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งในปัจจุบันนี้มีผลงานที่มีปัญหาคือ รายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) 3 ฉบับที่ยังไม่ผ่านที่ประชุมของรัฐสภา
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทั้ง MOU 43 และ MOU 44 ไม่ได้ผ่านกระบวนการเห็นชอบจากรัฐสภาแต่เป็นอำนาจเผด็จการทั้งรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ดอดไปทำ MOU กับรัฐบาลสมเด็จฯ ฮุนเซน ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักนิติรัฐ และนิติธรรมอย่างไม่เป็นที่สงสัย (และถ้ารัฐบาลปัจจุบันจะเถียงว่าไม่จริงก็ขอให้นำ MOU ทั้ง 2 ฉบับนี้เข้าสู่ขบวนการตีความโดยศาลรัฐธรรมนูญ) ปัญหาสำคัญคือ MOU 43 และ MOU 44 มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะในวันที่ทำ MOU 44 นั้นได้มีการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมเพิ่มเติมไปด้วยว่า เมื่อจัดทำหลักเขตแดนทางบก (MOU 43) เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะหันมาพิจารณาพื้นที่ที่เรียกว่าเขตทับซ้อนทางทะเลอันเป็นเนื้อหาของ MOU 44 ล้วนๆ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่าการไปยอมรับสิ่งที่เขมรได้กระทำไปนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องขาดหลักความยุติธรรม
MOU 44 แม้จะมีวัตถุประสงค์ที่ดีแต่ผิดหลักการในการทำ MOU และการไปยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดที่เขมรได้ทำขึ้น ข้อสังเกตก็คือ การประกาศเขตพื้นที่ของเขมรได้ประกาศขอบเขตเส้นไหล่ทวีปเมื่อปี 2515 ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่า
ก. จุดเริ่มต้นของเส้นไหล่ทวีปยังไม่มีค่าพิกัดที่แน่นอน
ข. เส้นไหล่ทวีปที่ลากผ่านเกาะกูดของไทยไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ
ค. เส้นไหล่ทวีปในแนวเหนือ-ใต้กำหนดจากเกาะของฝ่ายกัมพูชา โดยไม่คำนึงถึงเกาะของฝ่ายไทย
การไปทำ MOU 44 คือ การที่ไปยอมรับเส้นที่เขมรสร้างขึ้นตามพิกัดบริเวณอ่าวไทยซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นของไทย แต่ MOU 44 ไปสร้างหลักการแบ่งตามที่เขมรอ้างสิทธิ
สำหรับประเทศไทยเราแล้ว เราก็ได้ประกาศเส้นไหล่ทวีปบริเวณอ่าวไทยในปี พ.ศ. 2516 เหมือนกันและมีหลักการแบ่งที่ถูกต้องตามหลักสากลดังนี้
ก. จุดเริ่มของเส้นไหล่ทวีปยังมีค่าพิกัดไม่แน่นอนเช่นกัน
ข. เส้นช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของกัมพูชา
ค. ส่วนที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับกัมพูชาโดยใช้หลักการของเส้นมัธยะ (Equidistance line) ตามหลักสากล
ดังนั้น หากเราพิจารณาสถานภาพของ MOU 44 แล้วจะพบว่า
1. เป็น MOU เถื่อน เพราะไม่ผ่านขั้นตอนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ถือว่าเป็นโมฆะ
2. เป็น MOU เถื่อนที่ไปยอมรับความผิดพลาดของเขมร
3. ถ้าไม่ยกเลิก MOU ฉบับนี้แสดงว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลย่อมรู้เห็นเป็นใจต่อการกระทำที่ฉ้อฉล และมุ่งผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง สมควรที่จะมีการทบทวนและยกเลิก
ผมคิดว่าโดยหลักการแล้ว MOU 43 และ MOU 44 เป็น MOU เถื่อน และเป็น MOU ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักนิติธรรมและนิติรัฐ อีกทั้งยังขัดแย้งต่ออนุสัญญา ปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1907 กับขัดต่อกฎหมายทางทะเลซึ่งเป็นหลักกฎหมายสากลโดยทั่วไป
เมื่อผมเขียนบทความเรื่องนี้ไปสองตอนปรากฏว่านักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกรุงเทพมหานครท่านหนึ่งได้โทรศัพท์มา และถามความเห็นผมเกี่ยวกับเรื่อง MOU 44 ผมก็คุยด้วยความปรารถนาดีและได้แสดงความเห็นไปในประเด็นต่างๆ เหมือนที่ผมได้นำเสนอไปในบทความ ผมได้เสนอเงื่อนไขประการสำคัญต่อพรรคประชาธิปัตย์ว่า หากต้องการกู้เกียรติยศศักดิ์ศรีคืนก็ควรทำในสิ่งที่ถูกต้องไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก
โดยเฉพาะหัวหน้าพรรคควรแสดงจุดยืนต่อเรื่องนี้และควรใช้เสียงของ ส.ส.เข้าชื่อแล้วส่ง MOU 43 ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าถูกต้องหรือไม่ในการไปทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ. 2540 มาตรา 224 การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศต้องผ่านขบวนการของรัฐสภาเสียก่อน และเมื่อเกิดการตีความจากศาลแล้วผลเป็นประการใดก็ย่อมช่วยให้พรรคประชาธิปัตย์ดีขึ้นในสายตาของประชาชน รวมทั้งหากการทำ MOU 43 ผิดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญก็จะพาให้ MOU 44 ต้องมีปัญหาแน่นอน เพราะเมื่อการจัดทำหลักเขตแดนทางบกตาม MOU 43 ไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ ทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาจะหาเหตุผลเพื่อเอาประโยชน์ในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตรนั้นไม่ได้เลย
เมื่อผมพูดเสร็จสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติมีชื่อผู้นั้นก็ยังบอกว่าอดีตนายกฯ มาร์คเป็นห่วงเรื่องนี้มากกำชับมาว่า จะต้องทำเรื่องนี้ให้กระจ่างและตั้งอยู่บนประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ (ผมคิดในใจว่าเอาอีกแล้ว) ไม่แปลกเลยที่พรรคประชาธิปัตย์จะเหมาะสมกับความเป็นพรรคที่ซื่อสัตย์มืออาชีพ หรือรัฐบาลรู้อย่างไรประชาชนรู้แบบนั้น (ผมไม่เห็นจะเป็นมืออาชีพตรงไหน) เรื่องข้อมูลข่าวสารเราต้องยอมรับว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยยอมบอกอะไรเลย ประชาชนรู้เรื่องทีหลังแทบทั้งสิ้น
MOU 43 เป็นการสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบกระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งใช้แผนที่ 1:200,000 เป็นข้อผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปักหลักเขตมีทั้งหมด 74 หลัก (ปัจจุบันเหลือ 73 หลัก) เพราะหลักเขตที่ 22 มีสองหลัก ต่อมาภายหลังจึงยกเลิกไป 1 หลักและการที่จะต้องทำ MOU 43 นี้ก็เพื่อการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนที่สูญหายหรือถูกเคลื่อนย้ายให้กลับมาสู่ที่เดิม
ความมุ่งมาดปรารถนาของกัมพูชาที่ใช้แผนที่ 1:200,000 ก็คงมีเหตุผลมาจากความพยายามจะย้ายหลักเขตที่ 73 ไปในตำแหน่งที่ต้องการเพื่อให้การประกาศเขตไหล่ทวีปในปี พ.ศ. 2515 ของกัมพูชามีจุดอ้างอิงที่สมบูรณ์ในการลากเส้นไปผ่านเกาะกูดเพื่อเป็นอาณาเขตทางทะเลของกัมพูชา กัมพูชาก็คงรู้ว่าประเทศไทยก็คงไม่ยอมแน่ ต่อมาประเทศไทยในปี พ.ศ. 2516 จึงทำการประกาศพื้นที่ไหล่ทวีปบ้าง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดพื้นที่ที่ทับซ้อนกันขึ้น และต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิในอ่าวไทย ทั้งๆ ที่วิธีการของกัมพูชานั้นได้กระทำผิดมาตรฐานทางหลักวิชาการและการแบ่งเขตในทะเล
ด้วยเหตุนี้การที่กัมพูชากล่าวอ้างสิทธิในทะเลของไทยถือเป็นการมั่วเอา และคิดไปเองว่าเขตแดนในทะเลนั้นจะต้องอ้างอิงหลักเขตที่ 73 แล้วยิงตรงลงมาผ่านจุดสูงสุดของเกาะกูด การที่รัฐบาลไทยในสมัยทักษิณไปทำ MOU 44 ยอมรับเส้นเขตแดนก็เท่ากับว่าไปรับรองสิ่งที่กัมพูชาประกาศเอาไว้ ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้กลับมาเป็นรัฐบาลในปี พ.ศ. 2544 นั้นก็เลยอดที่จะไปทำ MOU ด้วยตนเอง ซึ่งก่อนหน้านั้นรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้เตรียมการเอาไว้แล้ว
อนึ่ง ไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ MOU 44 เป็น MOU เถื่อนและถือเป็นโมฆะอย่างแน่นอน เพียงแต่จะมีผู้ใดหากกล้าส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือชื่ออ่าวไทยควรเปลี่ยนเป็นชื่ออ่าวเขมร-ไทยถึงจะสาสมกับการแบ่งพื้นที่ทางทะเล และการยอมรับของประเทศไทยในเส้นที่เขมรลากมั่วๆ โดยมิชอบใน MOU 44
วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554
MOU 2544 ล็อกสเปก..ทำให้ไทยเสียเปรียบจริงหรือ??
บันทึกความเข้าใจ
ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับ
รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิใน
ไหล่ทวีปทับซ้อนกัน หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า MOU 2544
มีประเด็นที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันว่าไทยหรือกัมพูชา
ใครได้เปรียบ-เสียเปรียบกันแน่?
เรื่องอย่างนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบกับกรณีปัญหาอ้าง สิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนกันระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่ตั้งอยู่รอบอ่าว ไทย
คือไทย-มาเลเซีย,ไทย-เวียดนาม เพื่อเปรียบเทียบดังนี้
1.ไทย-มาเลเซีย
ครั้งแรก เจรจาตกลงได้เส้นเขตไหล่ทวีปต่อจากทะเลอาณาเขตที่ประชิดกันบริเวณปากแม่น้ำ โก-ลก จ.นราธิวาส จำนวน 1 เส้น และเมื่อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOUฉบับลงวันที่ 6 ก.ย.2515 ไว้เป็นหลักฐาน
ครั้งต่อมา เจรจาต่อได้พื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area=JDA) และตกลงแบ่งปัน ผลประโยชน์น้ำมันและแก๊สคนละครึ่ง เมื่อได้ข้อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOU ลงวันที่ 21 ก.พ.2522 ไว้เป็นหลักฐาน เหมือนครั้งแรก
2.ไทย-เวียดนาม กระบวนการแก้ปัญหาเหมือนไทย-มาเลเซีย คือเมื่อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOU แต่เรียกว่า Agreement ลง 9 ส.ค.2540 ไว้เป็นหลักฐานด้วยแต่ แตกต่างตรงที่ว่าไทย-เวียดนามมีผลการเจรจาได้เส้นเขตไหล่ทวีปเบ็ดเสร็จเด็ด ขาด ไม่มี JDA
เมื่อพิจารณาจาก 2 กรณีดังที่กล่าวมาแล้วจะมองเห็นประเด็นที่สำคัญ คือ
1.กระบวนการแก้ปัญหาทั้ง 2 กรณีนำปัญหาความขัดแย้งไปวางบนโต๊ะเจรจา เมื่อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOU ไว้เป็นหลักฐาน
2.คณะกรรมการผู้แทนการเจรจามีอิสระในการเจรจาแก้ปัญหาที่อาจได้คำตอบ ได้เส้นเขตไหล่ทวีปหรือได้ JDA หรือได้ทั้งเส้นเขตไหล่ทวีปและ JDA
ตัวแบบการแก้ปัญหาจาก 2 กรณีดังกล่าวจะพบว่าการแก้ปัญหาไทย-กัมพูชา แตกต่างกับ2 กรณีอย่างเด่นชัด คือการแก้ปัญหายังไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่กลับจัดทำ MOU 2544 ให้เป็นโต๊ะเจรจา ที่กำหนดตัวแบบการเจรจาไว้เรียบร้อยแล้ว...
เรียบร้อยแล้วอย่างไรนั้น สามารถหาคำตอบได้โดย:
พิจารณาสาระสำคัญของ MOU 2544
1.ข้อ 2(ก) กำหนดให้ทำ JDA ในพื้นที่พัฒนาร่วมใต้เส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันและยอมรับว่าพื้นที่นี้ทับซ้อนนี้ ชอบธรรมโดยทั้ง 2 ฝ่ายพึงพอใจร่วมกันแล้ว เพราะให้เจรจาเรื่อง "ตัวเลขแบ่งปันผลประโยชน์" เท่านั้น หมายความว่า"ไม่ต้องเจรจาตัวเลขจำนวนพื้นที่ไหล่ทวีปอีกแล้วเพราะทั้ง 2 ฝ่ายเห็นว่าพื้นที่นี้ทับซ้อนถูกต้องชอบธรรมแล้ว"ใช่หรือไม่?
2.ข้อ 2(ข) กำหนดให้เจรจาตัวเลขเขตแดนทางทะเล(ทะเลอาณาเขต-เส้นเขตไหล่ทวีป-เส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ)ในพื้นที่เหนือเส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือ เพราะยังไม่สามารถตกลงกันได้
3.ผลจากข้อ 4 ได้ตอกย้ำว่าต้องมีการปฏิบัติตามข้อ 2(ก) และ (ข) โดยมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 3 คณะ คณะที่ 1 มีหน้าที่เจรจาเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ในพื้นที่ JDA คณะที่ 2 มีหน้าที่เจรจาเขตแดนทางทะเลในพื้นที่ด้านบนเหนือแลตติจูด 11 องศาเหนือ และคณะที่ 3 มีหน้าที่ให้คำปรึกษาคณะที่ 2
พิจารณาจากกระบวนการแก้ปัญหาที่แตกต่างกับ 2 กรณีคือไม่ใช้ตัวแบบนำปัญหาความขัดแย้งไปวางบนโต๊ะเจรจา แต่ใช้วิธีสร้าง MOU 2544 เป็นโต๊ะเจรจา ซึ่งเท่ากับสร้างข้อผูกมัดให้คณะผู้แทนการเจรจาไม่มีอิสระหาคำตอบเป็นอย่าง อื่นนอกจากต้องเจรจาภายใต้คำตอบที่มองเห็นอย่างชัดเจนว่า ต้องมี JDA เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์กันเท่านั้น.. อย่างนี้เรียกว่า MOU2544 ล็อกสเปก ใช่หรือไม่?
คำถามที่ตามมาคือเป็น MOU 2544 ล็อกสเปก มันเสียหายอย่างไร? การหาคำตอบประเด็นนี้คงต้องกลับไปดูที่สาระสำคัญของ MOU 2544
MOU 2544 ข้อ 2(ก) และข้อ 2(ข) จะพบว่า มีความขัดแย้งกัน กล่าวคือในเมื่อยอมรับว่าพื้นที่ด้านเหนือของเส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันยังต้องมีการเจรจาตัวเลขเขตแดนทางทะเล (ทะเลอาณาเขต-เส้นเขตไหล่ทวีป-เส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ) ดังนั้นหากเขตแดนทางทะเลด้านเหนือเส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือ เปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้พื้นที่ JDA ด้านใต้เส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือ เปลี่ยนแปลงไปด้วย
แต่การที่ MOU 2544 ข้อ 2(ก) กำหนดให้ไม่ต้องเจรจาตัวเลขจำนวนพื้นที่ JDA และให้เจรจา"ตัวเลขแบ่งปันผลประโยชน์"เท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่ขัดกันเองในสาระสำคัญของ MOU 2544 และหากพิจารณาข้อเท็จจริงจะได้คำตอบที่ปฎิเสธไม่ได้ว่า
1. เขตแดนทางทะเลในพื้นที่ด้านบนเหนือแลตติจูด 11 องศาเหนือ ต้องเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เป็นคุณกับไทย เพราะเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากจากหลักเขตที่ 73 มายังเกาะกูด เป็นเส้นที่ไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายใดๆ ยอมรับ
2.ผลจากความเป็นจริงที่ว่า เขตแดนทางทะเลดังกล่าวต้องเปลี่ยนไปในทิศทางที่เป็นคุณกับไทยนั้นย่อมส่งผลกระทบให้ "จำนวนพื้นที่ที่ทำ JDA เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เป็นคุณกับฝ่ายไทยด้วย" กล่าวคือ จำนวนพื้นที่ทับซ้อนใน JDA จะเป็นของไทยมากว่ากัมพูชาและจะส่งผลให้ไทยมีสิทธิอธิปไตยในทรัพยากรธรรมชาติมากกว่ากัมพูชา
แต่ใน MOU 2544 กลับไปกำหนดว่า ไม่ต้องเจรจาเรื่องจำนวนพื้นที่ใน JDA ให้เจรจาเรื่องตัวเลขการแบ่งปันผลประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติโดยถือว่าทับซ้อน ชอบธรรมแล้ว การเจรจาบนพื้นฐานอย่างนี้ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายสูญเสียสิทธิอธิปไตยอันพึงมีพึงได้ไปตามข้อกำหนดใน MOU2544 แล้วใช่หรือไม่?
ดังนั้นท่านผู้อ่านคงพอจะมองเห็นคำตอบได้แล้วใช่ไหมว่า MOU 2544 ล็อกสเปก..ทำให้ไทยเสียเปรียบจริงหรือไม่?
เรื่องอย่างนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบกับกรณีปัญหาอ้าง สิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนกันระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่ตั้งอยู่รอบอ่าว ไทย
คือไทย-มาเลเซีย,ไทย-เวียดนาม เพื่อเปรียบเทียบดังนี้
1.ไทย-มาเลเซีย
ครั้งแรก เจรจาตกลงได้เส้นเขตไหล่ทวีปต่อจากทะเลอาณาเขตที่ประชิดกันบริเวณปากแม่น้ำ โก-ลก จ.นราธิวาส จำนวน 1 เส้น และเมื่อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOUฉบับลงวันที่ 6 ก.ย.2515 ไว้เป็นหลักฐาน
ครั้งต่อมา เจรจาต่อได้พื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area=JDA) และตกลงแบ่งปัน ผลประโยชน์น้ำมันและแก๊สคนละครึ่ง เมื่อได้ข้อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOU ลงวันที่ 21 ก.พ.2522 ไว้เป็นหลักฐาน เหมือนครั้งแรก
2.ไทย-เวียดนาม กระบวนการแก้ปัญหาเหมือนไทย-มาเลเซีย คือเมื่อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOU แต่เรียกว่า Agreement ลง 9 ส.ค.2540 ไว้เป็นหลักฐานด้วยแต่ แตกต่างตรงที่ว่าไทย-เวียดนามมีผลการเจรจาได้เส้นเขตไหล่ทวีปเบ็ดเสร็จเด็ด ขาด ไม่มี JDA
|
|
1.กระบวนการแก้ปัญหาทั้ง 2 กรณีนำปัญหาความขัดแย้งไปวางบนโต๊ะเจรจา เมื่อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOU ไว้เป็นหลักฐาน
2.คณะกรรมการผู้แทนการเจรจามีอิสระในการเจรจาแก้ปัญหาที่อาจได้คำตอบ ได้เส้นเขตไหล่ทวีปหรือได้ JDA หรือได้ทั้งเส้นเขตไหล่ทวีปและ JDA
ตัวแบบการแก้ปัญหาจาก 2 กรณีดังกล่าวจะพบว่าการแก้ปัญหาไทย-กัมพูชา แตกต่างกับ2 กรณีอย่างเด่นชัด คือการแก้ปัญหายังไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่กลับจัดทำ MOU 2544 ให้เป็นโต๊ะเจรจา ที่กำหนดตัวแบบการเจรจาไว้เรียบร้อยแล้ว...
เรียบร้อยแล้วอย่างไรนั้น สามารถหาคำตอบได้โดย:
พิจารณาสาระสำคัญของ MOU 2544
1.ข้อ 2(ก) กำหนดให้ทำ JDA ในพื้นที่พัฒนาร่วมใต้เส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันและยอมรับว่าพื้นที่นี้ทับซ้อนนี้ ชอบธรรมโดยทั้ง 2 ฝ่ายพึงพอใจร่วมกันแล้ว เพราะให้เจรจาเรื่อง "ตัวเลขแบ่งปันผลประโยชน์" เท่านั้น หมายความว่า"ไม่ต้องเจรจาตัวเลขจำนวนพื้นที่ไหล่ทวีปอีกแล้วเพราะทั้ง 2 ฝ่ายเห็นว่าพื้นที่นี้ทับซ้อนถูกต้องชอบธรรมแล้ว"ใช่หรือไม่?
2.ข้อ 2(ข) กำหนดให้เจรจาตัวเลขเขตแดนทางทะเล(ทะเลอาณาเขต-เส้นเขตไหล่ทวีป-เส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ)ในพื้นที่เหนือเส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือ เพราะยังไม่สามารถตกลงกันได้
3.ผลจากข้อ 4 ได้ตอกย้ำว่าต้องมีการปฏิบัติตามข้อ 2(ก) และ (ข) โดยมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 3 คณะ คณะที่ 1 มีหน้าที่เจรจาเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ในพื้นที่ JDA คณะที่ 2 มีหน้าที่เจรจาเขตแดนทางทะเลในพื้นที่ด้านบนเหนือแลตติจูด 11 องศาเหนือ และคณะที่ 3 มีหน้าที่ให้คำปรึกษาคณะที่ 2
พิจารณาจากกระบวนการแก้ปัญหาที่แตกต่างกับ 2 กรณีคือไม่ใช้ตัวแบบนำปัญหาความขัดแย้งไปวางบนโต๊ะเจรจา แต่ใช้วิธีสร้าง MOU 2544 เป็นโต๊ะเจรจา ซึ่งเท่ากับสร้างข้อผูกมัดให้คณะผู้แทนการเจรจาไม่มีอิสระหาคำตอบเป็นอย่าง อื่นนอกจากต้องเจรจาภายใต้คำตอบที่มองเห็นอย่างชัดเจนว่า ต้องมี JDA เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์กันเท่านั้น.. อย่างนี้เรียกว่า MOU2544 ล็อกสเปก ใช่หรือไม่?
คำถามที่ตามมาคือเป็น MOU 2544 ล็อกสเปก มันเสียหายอย่างไร? การหาคำตอบประเด็นนี้คงต้องกลับไปดูที่สาระสำคัญของ MOU 2544
MOU 2544 ข้อ 2(ก) และข้อ 2(ข) จะพบว่า มีความขัดแย้งกัน กล่าวคือในเมื่อยอมรับว่าพื้นที่ด้านเหนือของเส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันยังต้องมีการเจรจาตัวเลขเขตแดนทางทะเล (ทะเลอาณาเขต-เส้นเขตไหล่ทวีป-เส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ) ดังนั้นหากเขตแดนทางทะเลด้านเหนือเส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือ เปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้พื้นที่ JDA ด้านใต้เส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือ เปลี่ยนแปลงไปด้วย
แต่การที่ MOU 2544 ข้อ 2(ก) กำหนดให้ไม่ต้องเจรจาตัวเลขจำนวนพื้นที่ JDA และให้เจรจา"ตัวเลขแบ่งปันผลประโยชน์"เท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่ขัดกันเองในสาระสำคัญของ MOU 2544 และหากพิจารณาข้อเท็จจริงจะได้คำตอบที่ปฎิเสธไม่ได้ว่า
1. เขตแดนทางทะเลในพื้นที่ด้านบนเหนือแลตติจูด 11 องศาเหนือ ต้องเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เป็นคุณกับไทย เพราะเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากจากหลักเขตที่ 73 มายังเกาะกูด เป็นเส้นที่ไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายใดๆ ยอมรับ
2.ผลจากความเป็นจริงที่ว่า เขตแดนทางทะเลดังกล่าวต้องเปลี่ยนไปในทิศทางที่เป็นคุณกับไทยนั้นย่อมส่งผลกระทบให้ "จำนวนพื้นที่ที่ทำ JDA เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เป็นคุณกับฝ่ายไทยด้วย" กล่าวคือ จำนวนพื้นที่ทับซ้อนใน JDA จะเป็นของไทยมากว่ากัมพูชาและจะส่งผลให้ไทยมีสิทธิอธิปไตยในทรัพยากรธรรมชาติมากกว่ากัมพูชา
แต่ใน MOU 2544 กลับไปกำหนดว่า ไม่ต้องเจรจาเรื่องจำนวนพื้นที่ใน JDA ให้เจรจาเรื่องตัวเลขการแบ่งปันผลประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติโดยถือว่าทับซ้อน ชอบธรรมแล้ว การเจรจาบนพื้นฐานอย่างนี้ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายสูญเสียสิทธิอธิปไตยอันพึงมีพึงได้ไปตามข้อกำหนดใน MOU2544 แล้วใช่หรือไม่?
ดังนั้นท่านผู้อ่านคงพอจะมองเห็นคำตอบได้แล้วใช่ไหมว่า MOU 2544 ล็อกสเปก..ทำให้ไทยเสียเปรียบจริงหรือไม่?
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)