บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไทยแจงศาลโลกรอบ 2

ไทยแจงศาลโลกรอบ 2 ยืนยันปฏิบัติตามคำตัดสินศาลมาตลอด แต่เขมรยังกล่าวหาไม่หยุด เชื่อต่างชาติเข้าใจ คาดทราบผลพิจารณาของศาลปลายมิ.ย. จวกแม้วเป็นคนชาติไหนคอยให้ท้ายกัมพูชา นายกษิต ภิรมย์ รมว.การกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์จากกรุงเฮก ประเทศเนเธนแลนด์ ถึงการเข้าชี้แจงต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก จากการที่ประเทศกัมพูชาได้ยื่นเรื่องต่อศาลโลกให้พิจารณาออกมาตรการคุ้มครอง ชั่วคราวบริเวณปราสาทพระวิหารว่า การให้ข้อมูลต่อศาลโลกที่มีขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. ทางกัมพูชาได้ให้การต่อศาล ในเวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศเนเธนแลนด์ และได้ให้การเสร็จสิ้นแล้ว โดยกัมพูชาให้การลักษณะขยายความจากเอกสารที่ยื่นต่อศาลโลก เน้น ในเรื่องถอนทหารไทยออกจากพื้นที่ 4.6 ตร.กม. อ้างว่า ก็เพื่อเป็นไปตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน
นายกษิต กล่าวว่า คณะดำเนินการด้านกฎหมายของไทย นำโดยนายวีระชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ได้ให้ข้อมูลต่อศาล ในเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยมให้การโต้แย้งคำให้การของกัมพูชา เน้นว่าการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเป็นอำนาจนอกเหนือศาลโลก
ส่วนการที่กัมพูชาเรียกร้องให้ขยายความคำตัดสินกรณีปราสาทพระวิหาร ในเรื่องเส้นเขตแดนนั้น เป็นเรื่องเกินขอบเขตอำนาจศาล และศาลก็ไม่มีอำนาจพิจารณาในคดีเดิม เนื่องจากการยื่นร้องกรณีปราสาทพระวิหารปี 2505 ที่ไม่ได้ร้องขอต่อศาลเกี่ยวกับเรื่องเขตแดน หากกัมพูชาอยากจะทราบในส่วนนี้ ก็ต้องยื่นร้องต่อศาลใหม่
ระบุไทยปฏิบัติตามคำตัดสินศาลโลกมาตลอดแต่เขมรกล่าวหาไม่หยุด
ทั้งนี้เนื่องจาก ในปี 2505 ศาลโลกมีคำตัดสินให้ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา แต่ศาลก็ไม่ได้มีคำตัดสินในเรื่องเขตแดน ขณะที่ไทยได้ปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลกครบถ้วนแล้ว ทั้งการถอนทหารออกจากปราสาทพระวิหาร และคืนวัตถุโบราณให้กับกัมพูชาไปแล้วเมื่อ 50 ปีก่อน แต่กัมพูชายังกล่าวหาว่าไทยยังไม่ถอนทหาร ซึ่งไม่เป็นเรื่องจริง  ไทยจึงต้องเน้นย้ำในเรื่องนี้ให้ศาลโลกได้ทราบ
"ตลอดเวลาที่ผ่านมา กัมพูชายอมรับเส้นขอบเขตของพื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร ตามมติของคณะรัฐมนตรี ยุครัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ 10 ก.ค. 2505 ที่มีขึ้นเพื่อเป็นการปฎิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าว โดยฝ่ายกัมพูชานิ่งเฉย และไม่ได้ทักท้วงใดๆมานานกว่า 40 ปี แต่การที่กัมพูชาพึ่งจะออกมาเรียกร้อง สืบเนื่องจากที่กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และต้องการพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งหมายถึงพื้นที่ 4.6 ตร.กม. เข้ามาประกอบในแผนบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร"นายกษิตกล่าว 
นายกษิต กล่าวว่า ในระหว่างที่ไทยชี้แจงต่อศาลและโต้แย้งคำให้การของกัมพูชา ฝ่ายไทยได้แสดงภาพถ่ายสไลด์ต่อศาลโลก ที่ทำขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 10 ก.ค. 2505 ซึ่งเป็นภาพถ่ายรั้วแนวเส้นแบ่งเขตตรงปราสาทพระวิหาร ที่ระบุชัดว่า พื้นที่หลังรั้วตรงตัวเป็นปราสาทพระวิหารเป็นพื้นที่ที่กัมพูชายอมรับ แม้ว่าแนวรั้วจริงจะทรุดโทรมไปบ้างในสมัยเขมรแดง แต่มีบางส่วนที่มีร่องรอยให้เห็นอยู่สามารถตรวจสอบได้
นายกษิต ระบุว่า การที่กัมพูชาต้องการให้ถอนทหารก็ต้องยื่นฟ้องใหม่ และต้องระบุให้ครบถ้วนว่า มีทหารกัมพูชา และไทยอยู่ตรงชุดไหนบ้าง เนื่องจากเรื่องนี้อยู่นอกเหนืออำนาจศาลเช่นกัน
เชื่อประเทศมหาอำนาจเข้าใจข้อเท็จจริงมากขึ้น
เมื่อถามว่า มีความมั่นใจขนาดไหน เนื่องจากมีประเทศมหาอำนาจให้การสนับสนุนกัมพูชาอยู่ นายกษิต กล่าวว่า คงไม่เหมือนเดิม เนื่องจากครั้งนั้นกัมพูชาพึ่งประกาศเอกราช แต่ตอนนี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว เป็นเรื่องผลประโยชน์และความร่วมมือที่ทับซ้อนกัน จะบอกว่าประเทศไหนสนับสนุนประเทศใดคงจะลำบาก ซึ่งในศาลโลกประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน ซึ่งประกอบด้วยประเทศที่หลากหลาย
ขณะที่ ผู้พิพากษาเฉพาะกิจที่ไทยและกัมพูชาแต่งตั้งขึ้น ฝ่ายละ 1 คน จะช่วยถึงการให้ข้อมูลต่อศาลโลกเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ความมั่นใจขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อม ซึ่งเราได้เตรียมการมา 2 ปีแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีการพบปะกับที่ปรึกษาชาวต่างชาติกว่า 10 ครั้ง และยังมีการลงพื้นที่ใกล้กับประสาทพระวิหารเพื่อดูสถานที่จริงทั้งทางบกและ ทางทะเลที่บริเวณเกาะกูด
อย่างไรก็ตาม ผลการพิจารณาครั้งนี้ จะทราบอีก 4 สัปดาห์ข้างหน้า หรือประมาณปลายเดือนมิถุนายน 2554 
ซัดทักษิณให้ท้ายเขมร
เมื่อถามว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างชาติว่า เอะอ่ะอะไรประเทศไทยก็ยิงเข้าประเทศเพื่อนบ้าน นายกษิต กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลกัมพูชาอยู่หรือไม่ พูดได้อย่างไร ทำไมถึงให้ท้ายกัมพูชาตลอดเวลา มีเหตุผลอะไรที่ประเทศไทยจะทำร้ายประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา สิ่งสำคัญอยู่ที่ประเทศไทยไม่เคยกุเรื่องขึ้นมาเพื่อต้องการดินแดนของประเทศ อื่น
"ความเป็นจริงเราให้ความช่วยเหลือกัมพูชาเสมอมา เหตุใด พ.ต.ท.ทักษิณจึงพูดกล่าร้ายต่อไทย ขอให้คิดใหม่และพูดใหม่ในเรื่องนี้"นายกษิต กล่าว
ส่วนที่มีการปลุกระดมคนผ่านทางเฟสบุ๊กให้ไปชุมนุมประท้วงหน้าศาลโลกนั้น ก็มีชาวกัมพูชาประมาณ 20 คน ไปชุมนุมบริเวณหน้าศาลโลกได้สักพัก และก็เดินทางกลับ โดยในกลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวไม่มีคนไทยแต่อย่างใด เนื่องจากคนไทยรู้ว่าอะไรเป็นอะไร"นายกษิตกล่าว

ที่มา : ไทยโพส

คำสงวนสิทธิ์ของรัฐบาลไทยปี พ.ศ. 2505 ที่ยังมีผลอยู่

จาก Rattawoot Pratoomraj

วาทะไทย-กัมพูชา ณ ศาลโลก (ยกแรก)


ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก (“ศาลโลก”) ได้เผยแพร่เอกสาร Verbatim Record CR 2011/13 และ CR 2011/14 ซึ่งเป็นบันทึกคำแถลงที่กัมพูชาและไทยได้แถลงเป็นวาจาต่อศาล เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 เกี่ยวกับกรณีที่กัมพูชาได้ขอให้ศาลมีมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวกับ ปราสาทพระวิหาร ขอยกใจความของถ้อยคำบางตอนมาสรุปดังนี้

นายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา
“...ท่านประธานศาล ท่านผู้พิพากษาที่เคารพ เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ จะให้กัมพูชามีความหวังได้อย่างไร ในเมื่อตลอดหลายปีที่ผ่านมา ฝ่ายไทยนั้นจะยอมประชุมด้วยก็เพียงเพื่อเป็นข้ออ้างที่จะผัดผ่อนประเด็นต่อ ไปเรื่อยๆ เป็นวงจรไม่รู้จบ แสดงให้เห็นถึงแผนการถ่วงเวลาและเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ของฝ่ายไทย…”
(CR 2011/13 หน้า 23)

นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรไทยประจำเนเธอร์แลนด์
“…ภาพของลูกแกะตัวน้อยที่ถูกจับจ้องโดยเจ้าสุนัขป่าตัวร้าย ซึ่งกัมพูชาพยายามจะวาดภาพให้ศาลเห็นนั้น ล้วนเป็นเท็จ ไทยเองเมื่อสมัยศตวรรษที่ 19 ก็คุ้นเคยกับกรรมของลูกแกะตัวน้อยเป็นอย่างดี ไทยจึงหวังอย่างจริงใจว่าจะไม่มีประเทศใดรวมไปถึงกัมพูชาที่จะต้องรับชะตา กรรมลูกแกะซ้ำในสมัยศตวรรษที่ 21...”
(CR 2011/14 หน้า 21)

เซอร์แฟรงคลิน เบอร์แมน ทนายความฝ่ายกัมพูชา
“…กัมพูชาไม่แน่ใจว่า “พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร” ที่สื่อมวลชนและทางการไทยอ้างถึงนั้น หมายถึงพื้นที่ใดโดยแน่ชัด แต่ดูเหมือนว่าจะหมายถึงดินแดนใกล้เคียงกับตัวปราสาทพระวิหารที่ไทยนำมา อ้างอธิปไตยภายหลังศาลมีคำพิพากษา…”
(CR 2011/13 หน้า 27)
“…แน่นอน ไทยย่อมต้องอ้างว่า การที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษานั้น กัมพูชาทำไปเพื่อหวังได้สิ่งที่ถูกศาลปฏิเสธไปเมื่อครั้งที่แล้ว...แต่ไทย เองคงกลืนน้ำลายตัวเองไม่ลง เพราะไทยเองนั้นเป็นฝ่ายปลุกเสกการตีความคำพิพากษาขึ้นมาใหม่อย่าง วิปลาส...เพียงเพื่อจะผูกมัดกัมพูชาว่าเป็นผู้ตีความคำพิพากษาไปเองฝ่าย เดียว”
(CR 2011/13 หน้า 35)

ศาสตราจารย์อลัง เปลเล่ต์ ทนายความฝ่ายไทย
“…วันนี้กัมพูชาพยายามใช้วิธีอ้างว่าไทยยังคงมีหน้าที่ต้องถอนกำลังเจ้า หน้าที่ออกไปจากบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาท ทั้งๆ ที่ไทยเองก็ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว...และเมื่อเช้า นี้กัมพูชาก็ยอมรับต่อศาลเองว่า ไทยกับกัมพูชาเพิ่งมามีความเห็นเกี่ยวกับคำพิพากษาไม่ตรงกันเมื่อไม่นานมา นี้...นั่นไงครับท่านประธานศาล! กัมพูชากำลังสารภาพว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาจนกระทั่งไม่นานมานี้ กัมพูชาก็เห็นตรงกับไทยว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยถอนกำลังออกไปเรียบ ร้อยแล้ว...”
(CR 2011/14 หน้า 25)


ศาสตราจารย์ฌอง-มาร์ค โซเรล ทนายความฝ่ายกัมพูชา
“…กัมพูชาหวังพึ่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวจากศาลก็เพราะการเจรจาหยุดยิง ระหว่างไทยและกัมพูชาในระดับนายทหารนั้นเป็นสถานการณ์ที่มีความเปราะ บาง...สาเหตุหนึ่งก็เพราะว่าหากไทยก้าวเข้าไปสู่สถานการณ์การเมืองภายใน ประเทศที่เปราะบางด้วยแล้ว ก็ไม่มีอะไรประกันว่าการเจรจาหยุดยิงจะได้รับการรับรองให้แน่นอน ดูตัวอย่างความติดขัดในอดีตได้จากการที่รัฐสภาไทยไม่ให้ความยินยอมข้อตกลง เกี่ยวกับคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมระหว่างสองประเทศเป็นต้น...ความวุ่นวายทาง การเมืองของไทยย่อมอาจนำไปสู่การปะทะกันด้วยอาวุธได้อีก...”
(CR 2011/13 หน้า 45-47)

ศาสตราจารย์ศาสตราจารย์เจมส์ ครอว์ฟอร์ด ทนายความฝ่ายไทย
“…เวลาเกือบ 50 ปีหลังคำพิพากษานี้ไม่ใช่เวลาน้อยๆ แต่กัมพูชากลับขอให้ศาลมองทุกอย่างเป็นปัจจุบัน ขอศาลให้สั่งให้ทหารไทยต้องถอนกำลังออกไปจากตัวปราสาท ทั้งๆที่ตอนศาลมีคำพิพากษาทหารเหล่านั้นยังไม่ทันได้เกิดเสียด้วยซ้ำ...ราว กับว่าคำพิพากษาถูกหุ้มด้วยวุ้นถนอมอาหาร ไม่แปรเปลี่ยนข้ามทศวรรษหรือแม้ศตวรรษ หากเรายอมรับหลักการแบบนี้ แล้วระยะเวลาตีความจะไปสิ้นสุดที่จุดใด?...”
(CR 2011/14 หน้า 33)

ศาสตราจารย์โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์ ทนายความฝ่ายไทย
“…การตั้งคณะผู้สังเกตการณ์จากประเทศอินโดนีเซียและการกลับเข้าสู่กระบวนการ เจรจาโดยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ย่อมทำให้ข้ออ้างเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนของมาตรการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ฟังไม่ขึ้น...”
(CR 2011/14 หน้า 54)


---------------------------------------------
หมายเหตุ
ศาลโลกยังคงรับฟังการแถลงด้วยวาจาต่อในวันที่ 31 พฤษภาคม 2554.
บทวิคราะห์ประเด็นคดีปราสาทพระวิหาร อ่านเพิ่มได้ที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple/summary1962

เกี่ยวกับผู้เขียน อดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สำนักกฎหมาย Freshfields Bruckhaus Deringer (กรุงปารีส). นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด.

ไทยแจงศาลโลกยันไม่ได้รุกรานกัมพูชาก่อน

Pic_175356 'ชวนนท์' เผยไทยแจงศาลโลก ไม่เคยรุกรานกัมพูชาก่อน ยัน การปะทะ ไม่เกี่ยวกับพระวิหาร เพราะเกิดที่ตาเมือนและตาควาย ระบุ รออีก 3 สัปดาห์ ศาลตัดสินออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้ไทยถอนทหารหรือไม่...
เมื่อ เวลาประมาณ 23.00 น. วันที่ 30 พ.ค. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรมว.ต่างประเทศ กล่าวในรายการ ข่าว 3 มิติ และ สถานีโทรทัศน์​ทีเอ็นเอ็น ถึงการให้การต่อศาลโลก กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในวันนี้ ว่า ไทยเริ่มชี้แจง เมื่อเวลา ประมาณ ​16.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือ ประมาณ 21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย หลักๆ ดูก่อนว่าศาลมีขอบเขตอำนาจในการที่จะพิจารณาเรื่องการออกมาตรการชั่วคราว หรือไม่ เพราะว่าสิ่งที่ทำ เราได้ยืนยันว่า คำตัดสินเมื่อปี ค.ศ.1962 หรือ ปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยได้ปฏิบัติไปหมดสิ้น เราไม่มีข้อขัดแย้งกันในเรื่องคำตัดสิน เพราะฉะนั้น สิ่งที่กัมพูชามาเรียกร้อง เป็นเรื่องที่มากกว่าคำตัดสินในอดีตหรือไม่
อัน ที่สอง เรื่องที่กัมพูชาอ้างว่ามีการปะทะ ไทยบุกรุกเข้าไปโดยจุดต่างๆ มีความเกี่ยวเนื่องกับพระวิหารหรือไม่ อย่างไร จริงๆ แล้ว มีการอ้างถึงการปะทะ ที่ปราสาทตาเมือน  และ ตาควาย ซึ่งห่างจากพระวิหาร เราได้ชี้แจงกับผู้พิพากษาว่าไม่น่าเกี่ยวข้องกัน และ ความเสียหายเกิดขึ้นกับไทยด้วย มีรูปถ่าย ที่โรงเรียนภูมิซรอล ซึ่งไม่ใช่พื้นที่พระวิหาร กัมพูชาใช้อาวุธเข้ามาในฝั่งไทยก่อน ยืนยันว่าเราไม่มีแนวคิดจะรุกรานประเทศเพื่อนบ้าน แต่ไทยเป็นประเทศผู้ให้ช่วยเหลือมากมาย หลังศาลตัดสิน 2505 ดังนั้น สิ่งที่กัมพูชากล่าวอ้างไม่เป็นความจริง
นายชวนนท์ กล่าวอีกว่า ศาลได้รับฟังข้อมูลต่างๆ ที่ทางที่ปรึกษา 3 ท่านให้ข้อมูลไป ซึ่งท่านหนึ่งให้ข้อมูลขอบเขตอำนาจของศาล อีกท่านเป็นเรื่องขอบเขตอำนาจในการพิจารณาคดี ท่านที่สาม เรื่องการออกมาตรการชั่วคราว  เรายืนยันว่าได้ทำตามคำตัดสินของศาลอย่างครบถ้วน กัมพูชาไม่จำเป็นต้องเรียกร้องใดๆ นอกจากนั้น เรื่องการปะทะ ไม่ได้เกิดจากฝ่ายไทยเริ่มต้น และ จุดต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดที่พระวิหาร แต่เกิดบริเวณตาควาย ตาเมือน แต่สิ่งที่เรียกร้องวันนี้เป็นสิ่งที่นอกเหนือจากคำตัดสิน ส่วนในช่วงเช้า นายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้พูดเรื่องที่เราได้คาดเดาไว้อยู่แล้ว ที่มีการฟ้องร้อง ทางที่ปรึกษาได้มีเวลา 3 ชั่วโมง ในการนำคำร้องกลับไปทบทวน และเพิ่มคำชี้แจงในวันนี้ ซึ่งเป็นการตอบคำถามที่ชัดเจนค่อนข้างครบถ้วน

นาย ชวนนท์ กล่าวด้วยว่า ท่าทีของศาลโลก ตนบอกไม่ได้ แต่เราคิดว่าสิ่งที่เราต้องการจะพูด ข้อมูลที่เตรียมมาครบถ้วนสมบูรณ์ หวังว่าคำตัดสินจะเป็นประโยชน์ต่อไทย โดย ต้องรออีก3สัปดาห์ กว่าศาลจะตัดสินว่าจะออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้ไทยถอนกำลังในพื้นที่ ปราสาทพระวิหารโดยทันทีตามที่กัมพูชาร้องขอหรือไม่ ส่วนเรื่องคำขอจะต้องรอการทำคำชี้แจงอย่างเป็นทางการจากไทยอีกครั้ง ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ส่วน ในวันพรุ่งนี้ กัมพูชาจะมีเวลา 1 ชั่วโมง ในการสรุุปคำชี้แจง ในเวลา 10.00 น. และ  ไทยมีเวลา 1 ชั่วโมงเช่นกัน  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กัมพูชาขยายความการตัดสิน แต่กัมพูชา พยายามแอบอ้างให้ลามไปถึงแผนที่ เชื่อว่าเราจะได้รับความเข้าใจและคำตัดสินที่ดีของประเทศไทย
ขณะที่ ทวิตเตอร์ของกระทรวงการต่างประเทศtwitter.com/#!/mfathai_pr_th ได้รายงานว่า คณะดำเนินคดีฝ่ายไทยเริ่มแถลงต่อศาลโลกกรณีกัมพูชาขอมาตรการชั่วคราวสืบ เนื่องกับคดีปราสาทพระวิหารแล้ว โดย ออท. ณ กรุงเฮกกล่าวเป็นคนแรก  ลำดับการกล่าวคำแถลงของคณะไทย ออท. ณ กรุงเฮกกล่าวภาพรวมก่อน ตามด้วยที่ปรึกษา กม. คือ ศ.เปลเล่ต์ ศ. ครอว์ฟอร์ด และ ศ. แม็คเรย์ ออท. ณ กรุงเฮก แจงไทยปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกอย่างครบถ้วนแล้วตั้งแต่ปี 2505 แม้ผลตัดสินจะเป็นที่ถกเถียง ไทยชี้กัมพูชารับการตีความเส้นขอบเขตบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารตามมติ ครม. 2505 ไม่เคยท้วง แต่เพิ่งเปลี่ยนท่าทีเพราะจะขึ้นทะเบียนมรดกโลก

ไทย ชี้กัมพูชายอมรับด้วยว่าสองฝ่ายยังต้องเจรจากำหนดเส้นเขตแดนโดยลงนาม บันทึกความเข้าใจปี 2543 เพื่อจัดทำหลักเขตตลอดแนวรวมบริเวณปราสาทพระวิหาร ออท. ณ กรุงเฮกย้ำไทยปรารถนาจะอยู่ร่วมกับกัมพูชาอย่างสันติ พยายามพัฒนาความสัมพันธ์และร่วมมือ ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะสร้างความขัดแย้งกับกัมพูชา ออท. ณ กรุงเฮกชี้ไทยยึดแนวสันติ แก้ไขข้อพิพาทด้วยวิถีทางการทูต มีบทบาทร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพใน 21 ประเทศ รวมถึงในกัมพูชาเมื่อปี 2534-2536 ออท. ณ กรุงเฮกย้ำไทยไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มโจมตีกับกัมพูชาเมื่อ ก.พ. และ เม.ย.- พ.ค. แต่เป็นฝ่ายถูกโจมตี จนต้องใช้สิทธิตอบโต้เพื่อปกป้องอธิปไตย ไทยแจงกัมพูชาต้องการดินแดนที่จะใช้สำหรับแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร เพื่อให้กระบวนการขึ้นทะเบียนมรดกโลกสมบูรณ์ ซึ่งรุกล้ำเข้ามาในฝั่งไทย
1. ศ.อลัง เปลเล่ต์ ที่ปรึกษากฎหมายของไทยชี้แจงเหตุที่คำขอตีความและคำขอมาตรการชั่วคราวของ กัมพูชาอยู่นอกเขตอำนาจของศาลโลก 2. ศ.เปลเล่ต์: ประเด็นให้ไทยถอนทหารและคืนโบราณวัตถุนั้นเป็นการผูกพันครั้งเดียวไทยได้ ดำเนินการแล้ว 3. ศ.เปลเล่ต์: ไทยไม่ได้โต้แย้งอธิปไตยของ กพช เหนือปราสาทฯ ไม่มีความเห็นต่างในเรื่องนี้ ศาลจึงไม่มีอำนาจตีความและออกมาตรการชั่วคราว 4. ศ.เปลเล่ต์: การตีความเหตุผลของคำพิพากษาทำได้เมื่อจำเป็นต่อคำตัดสินเท่านั้น การพยายามเปลี่ยน คำพิพากษาเป็นกำหนดเส้นเขตแดนจึงไม่ถูกต้อง 5. ศ.เปลเล่ต์:การตีความต้องไม่แก้ไขสิ่งที่ศาลพิพากษาแล้ว เรื่องเขตแดนเป็นเหตุผลประกอบการตัดสินได้หากจำเป็นเท่านั้น

1.ศ.ครอว์ฟอร์ด: ศาลไม่มีเขตอำนาจออกมาตรการชั่วคราวคดีนี้เพราะมิใช่เขต อำนาจที่จะพิจารณาว่าคู่ความปฏิบัติตามคำตัดสินแล้ว? ซึ่งเป็นเรื่องของ UNSC 2.ศ.ครอว์ฟอร์ด:คำพิพากษาในคดีปราสาทฯเกี่ยวข้องกับปราสาทฯ เท่านั้น ศาลปฏิเสธเมื่อ 2505 ว่าคดีพิพากษาเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือปราสาทฯ ไม่ใช่เขตแดน 3.ศ.ครอว์ฟอร์ด:คำขอมาตรการชั่วคราวอ้างความจำเป็นฉุกเฉินจากเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นห่างจากปราสาทฯและเกิดภายหลังคำพิพากษา 2505 ศาลจึงไม่มีเขตอำนาจ
1. ศ.โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์นำเสนอข้อวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ศาลไม่ควรมีคำสั่งออกมาตรการชั่ว คราว 3 ประการ (ต่อ) 2. ศ.แม็คเรย์: ไทย-กพช ไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับคำพิพากษาในคดีเดิม มาตรการชั่วคราวไม่มีความสมดุล เพราะสั่งให้ไทยดำเนินการเพียงฝ่ายเดียว 3.ศ.แม็คเรย์:คำขอของกพช.ไม่เข้าเงื่อนไขเรื่องความจำเป็นเร่งด่วน หลักฐานที่กพช.อ้างเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อยู่นอกบริเวณที่ศาลโลกพิพากษาปี 2505 4. ศ.แม็คเรย์: การขอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราวเท่ากับให้ศาลตัดสินในเบื้องต้นเกี่ยวกับความ ถูกต้องของแผนที่ ซึ่งขัดกับแนวปฏิบัติของศาล


ไทยรัฐออนไลน์ 


ความเห็น วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
 
ลองอ่านบันทึกคำแถลงของทั้งฝ่ายกัมพูชาและไทยแล้ว ยอมรับว่ายกแรกฝ่ายไทยชกสนุกกว่า.

ทนายฝ่ายไทยท่านหนึ่งกล่าวว่า กัมพูชาขอให้ไทยถอนทหารออกไปตามคำพิพากษา ทั้งๆที่ในวันที่พิพากษา ทหารไทยเหล่านั้นยังไม่ทันได้เกิดเสียด้วยซ้ำ!

---
อ่านบันทึกกระบวนพิจารณาวันแรก (30 พ.ค.) ได้ที่ http://www.icj-cij.org/docket/index.php?p1=3&p2=3&k=89&case=151&code=ct2&p3=2

ข้อความสรุปโดยรัฐบาลไทย
http://twitter.com/#!/MFAThai_PR_TH
www.icj-cij.org
‎30/05/2011: Request for interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the Case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) (Cambodia v. Thailand) - Public hearings – request for the indication of provisional measures

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สรุปคำ ต่อคำ จากห้องข่าวศาลโลก เรื่องกัมพูชา จากคุณ เสริมสุข กสิติประดิษฐ์ และ คลิป อาจารย์ เทพมนตรี ต่อกรณีดังกล่าว



สรุปคำ ต่อคำ จากห้องข่าวศาลโลก เรื่องกัมพูชา จากคุณ เสริมสุข กสิติประดิษฐ์

โดย Natthamon Viboolpanth เมื่อ 30 พฤษภาคม 2011 เวลา 17:56 น.
http://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=218484571516961&id=100000662582889
Sermsuk Kasitipradit
ลงทะเบียนonline มาที่ ICJ's PEACE PALACE
ที่ประชุมศาลดลก นัดประวัติศาตร์ เร่มในอีกสิบนาที ห้องpress ที่นี่เยียมยอดจริงๆ
SK:ฮอร์นำฮง นำทีมฝ่ายกพช. ตามด้วยวาร์คิมฮง ฝ่ายไทยนำโดยท่านทูต วีรชัย เร่มชี้แจงข้อกล่าวหาจากฝายกพช.
ท้าวความถึงคำพิพากษาปี 2505 แต่ไทยไม่ได้ฏิบัติตาม ที่ศาลสั่ง
S K: ผู้พิพากษาองค์คระ 17 คน ผลัดกันอ่านคำร้องของกพช. กล่าวหาไทย
Navin Inarn มานก็ช่างกล้าพูดได้หน้าตาเฉยเลยนะครับว่าเราไม่ทำตาม เราต้องโต้กลับไปว่าหากคุณว่าเราไม่ทำตามทำไมคุณมรึงไม่ร้องตั้งแต่ 40 ปีที่แล้ว ทำไมถึงพึ่งมาร้องแรกแหกกระเชิงตอนนี้
SK: กพช.เสนอให้ออกมาตราการชั่วคราว สาเหตุเพราะมีเหตุสุ้รบร้ายแรงในพื้นที่เขตแดนสร้างความเสียหายต่อกพช.
การสู้รบยังมีอยู่ขระยื่นเรื่องให้ส ไทยต้องรับผิดชอบต่อเหตุร้ายที่เกิดขค้น เพื่อหลีกหเลี่ยงความเสียหายต้องออกมาตรากาชั่วคราว
SK: ศาลสลับอ่านเป็นอังกฤษฝรั่งเศส
SK: ให้ยุติปฏิบัติการทหาร ถอนทหาร และกระทำการใดๆ ไม่กระทบสิทธิของกพช.
SK:ฮอร์นำฮง ขึ้นอ่านคำร้องเรียน
SK:อานเป็นภาษาฝรั่งเศส โอ้มายก๊อด
SK:ขอทำงานก่อนเด้อ เด๋วรายงานสรุป
58 minutes ago
SK: ออร์นำฮง ใช้เวลาสามสิบห้านาที ทนายคนแรกขึ้นต่อ ฮงย้ำต้องมีมาตราการชั่วคราวเพื่อยุติปัญหากระทบกระทั่งที่ชายแดน มีการอ้างแผนที่1/200000 ว่าเป็นเส้นเขตแดน การที่ทหารไทยมาอยุ่ในพท.รอบปราสนาท อยู่ในเขตอธิปไตยของไทย 32 minutes ago ·
SK:อธิปไตยของเขมร เขียนผิด
SK:ทนายคนที่สองพยายามชี้ให้เห็นว่าทั้งไทยแะลเขมร ยอมรับแผนที่1/200000 เป็นเส้นเขตแดน 25 minutes ago ·
SK:การที่เขมรเสนอตีความตามมาตรา60 เป็นเรื่องชอบธรรมและศาลต้องมีคำวินิจฉียในเรื่องคำร้องให้ตีความ 14 minutes ago ·
SK: ทนายคนที่สองพยายามลากเรื่องแผนที่1/200000 annex 1 เนื่องจากศาลโกลปปี 2505 เอามาใช้ยกปราสนาทให้เขมร
SK:ทนาย คนทมี่สองใช้เวลาสี่สิบนาที ย้ำเน้นเรื่องแผนที่1/200000 ตลอด ว่าการมาฟ้องร้องครั้งนี้จำเป็นเพื่อให้ได้ส้งที่ยังไม่ได้รับจากคำพิพากษา เมื่อปี 1962 เป้าหมายชัดเจนให้ตีความให้จชัเเจนเรื่องเส้นเขตแดน พัก 15 นาที coffee brake
 -------------------------------------------------------------
(เริ่ม อย่างนี้ ก็เข้าทางไปร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว อย่างที่ บนเวทีพธม คุณเทพมนตรี/ปานเทพ/ประพันธ์ ฯลฯ รวมถึง ศ.ดร.สมปอง ท่านกล่าวไว้หลายครั้งว่าจะไปทำไม ก็ยังไปให้เขาย้ำ อีกนะคะ--->ข้าพเจ้าเอง)
-------------------------------------------------------------
SK: ตามดูบรรยาการป้องประชุมของศาลโลก peace palace ข่าวห้าโมงเย็น ระบบส่งภาพ ห้องpress สุดยอด ไม่นีักว่าจะส่งภาพได้ทันข่าวห้าโมง รายงานสด
------------------------------------------------------------
ต่อ SK: ทนายคนที่สาม professor กฏหมายตากฝรั่งเศส jean marc sorel มาสนับสนุนคำร้องทำไมต้องมี มาตราการคุ้มครองชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมา คำร้องมีเหตุผล เพราะสถานการณ์ตึงเครียดชายแดน คำร้องจะช่วยรักษาสถานภาพที่เป้นอยู่ไม่ให้สู่รบกัน
(อ่านแล้วเป็นไง ยอมรับให้กองทัพเขมรอยู่บนพื้นที่ชายแดนไทย ฉลุย แล้ว ----->ข้าพเจ้าเอง)
-----------------------------------------------------------
Sermsuk Kasitipradit ขณะนีั้เป็นการให้คำชี้แจงของทนายคนที่สองต้่อจากฮอรนำฮง ช่วงสามทุ่มเวลาไทยทูตวีรชัยจะขึุ้นชี้แจงหักล้างข้อกล่าวหาของกพช. 20 minutes ago
SK: รมว.กษิต บอกไม่แปลกใจกับข้อกล่าวหาด้านเดียวของฝ่ายกพช. คาดการณ์มาแล้วว่าจะมีการนำเสนอลักษระเช่นนี้ ไม่หนักใจพร้อมชี้แจงในช่วงเย็น คณะทำงานเดินทางกลับไปที่รร.ที่พักเตรียมการณ์ก่อนกลับมาอีกทีเวลา สี่โมงเย็นที่นี่ สามทุ่มบ้านเรา ในช่วงบ่ายจะชี้แจงในส่วนที่ไทยเห็นว่าไม่มีึความจำเป็นต้องมีมาตราการชั่ว คราว และศาลไม่มีอำนาจพิจารณาในเรื่องเขตแดน อย่างที่ฝ่ายกัมพุชาเสนอ  16 minutes ago
SK: ทนายฝรั่งเศสของกพช. พูดได้แสบกระดองใจมากว่าสร้างวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระมาตั้งนานจากปี 2542 แต่ไม่เคยได้รับยการท้ักท้วงจากฝ่ายไทยเลย แล้วจะมาบอกว่าเป็นพท.ของไทยได้อย่างไร ฟังแล้วจึ๊กกืยเลย...เข้าใจว่ากต.ไทยจะทำหนังสือประท้วง ในเรื่องนี้ไว้คงมีการใช้่ชี้แจงตอบโต้
a few seconds ago
  • Sermsuk Kasitipradit
    สรุป จากช่วงเช้า..พยายามชี้ให้เห็นว่าไทยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา2505 เป้นเหตุให้เกิดการสุ้รบชายแดนเพราะไทยลำแดน แม้จะม่ีการหยุดยิงแต่ก็เป้นลักษณะ precarious ceasefire ที่ล่อแหลมพร้อมเกิดเหตุได้ตบอดเวลา จำเป็นต้อวมีัมาตราการชั่วคราว ทนายกพช.เปิดประเด็นเรื่องแผนที่1/200000 และความชอบธรรมในการตีความตามที่กพช.ร้องขอ บอกเป้นแผนที่ที่ศาลบ
    โลกใช เตัดสาินยกตัวปราสาทให้กพช. ย้ำพท. 4.6 ตร.กม. อยุ่ในเขตอธิปไตจของกพช. ภายใต้แผนที่ฝรั่งเศส และการมาศาลบดลกครั้งนี้เพื่อสห้ช่วยยุติปัยหาขัดแย้งไทยกัมพูชา  9 minutes ago · 
  •  Hong Hongnaajaa คุณเสริมสุขคะ คือจำได้ว่าเคยได้ยินเวที พธม. บอกว่าวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ มีหลักฐานว่าสร้างในปี 2546 ซึ่งหากสร้างในปี 2546 จริง ก็พิสูจน์ได้ว่ากพช.ละเมิดข้อตกลง MOU 2543 ที่ทำไว้กับไทยใช่ไหมคะ a few seconds ago
    SK: เป็นประเด็นที่ไทยจะชี้แจงในช่วงดึกครับว่ามีการบะ เมิดข้อตกลงกันอย่างไร ทั้งๆที่ทัี้งสองฝ่ายเป็นคู่สัญญาแต่ไม่ได้ปฏิบัติตาม เอกสารการประท้วงทั้งหมดที่มีจะมีการส่งให้ศาลโลกเพื่อรับรู้ในเรื่องนี้ว่า มันมีปัญหาเขตแดนร่วมกัน การมาให้ออกมาตราการชั่วคราวจะไม่น่่ากระทำได้เพราะไม่รุ้่แนวเขตที่ชัดเจนอ ยุ่ตรงไหน jbc ยังไม่ได้ทำงาน เป็นแนวของการชี้แจงไทย จะบอกด้วยว่าหลังศาลโลกตัดสินแล้วทำไอะไร ไป มีการถอนคนออกจากรอบปราสาท มีมติครมง.ตีเส้น ทั ได้ทำตามมที่ศาลโลก วินิจฉัย ทนายไทยทัี้งหมดมีสามคนครับ จะชี้แจงหักล้วางในส่ิงที่กพชงเสนอ ไม่มีอำนาจตีความ สถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายต่อมีมาตราการชั่วคราว อย่างที่ขอ หลังครม.ตีเส้นแนวเขตรอบปราสาทเขมรไม่เคยทักท้วสงเลย ห้าสิบปีให้หลังมาท้วง
  • SK: ไทยชี้แจงจากสามทุ่มถึงห้าทุ่มเวลาไทย เวลากรุงเฮก สี่โมงเย็นถึงหกโมงเย็นครับ
    SK: ข่าวทุ่มไทยพีบีเอสจะมีสรุปภาพรวมพร้อมภาพเด้ดจากศาลโลก เปิดดูไม่เสียงตังค์ครับ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
Sermsuk Kasitipradit
การ ชี้แจงทั้งสองฝ่ายในวันนี้และพรุ่งนี้จะเป็นเรื่องที่กพช.ขอให้ออกมาตราการ ชั่วคราว ให้ถอนทหารออกจากพท.รอบปราสาท หยุดปฏิบัติการทางทหาร ส่วนประเด็นตีความคำพิพากษาเข้าใจว่าน่าจะใช้เวลาอีกหนึ่งปีจากนี้ไป ส่วนมาตราการชั่วคราวกลางดือนหน้าน่าจะออกคำวินิจฉัยได้ ประเด็นที่พูดกันจะเป็นเรื่องทำไมต้องออก ไทยจะค้านว่าทำไมต้องไม่ออกศาลมีอำนาจไหม มาออกอย่างนี้ขณะที่มีปัยหาเขตแดน บอกว่าสถานการณ์เร่งด่วนต้งอรีบออก ฝ่ายไทยจะบอกว่าไม่ได้รีบด่วนอะพไร สถานการณ์ขณะนี้สงบนิ่ง ไม่จำเป็นต้องมีอะไรมาคุ้มครอง อีกชม.ครึ้่ง ฝ่ายไทยขึ้นหักล้างคำชี้แจงของกพช.
12 minutes ago

--------------------------**
** ด้านล่างนี้เป็นลิงค์เสริมเพื่ออ่านส่วนอื่น ประกอบเรื่องนี้
จาก 15thmove
  • เน แมวแมว
    ที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศของฝ่ายไทยในคดีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร
    http://www.mfa.go.th/web/200.php?id=27436www.mfa.go.th
  •   เน แมวแมว
    กระทรวงการต่างประเทศเตรียมความพร้อมในการชี้แจงต่อศาลโลกhttp://www.mfa.go.th/web/200.php?id=2743918 minutes ago ·
แบ่งปัน

  • ถูกใจ Chaiyong Tamorn รักในหลวง
    • Natthamon Viboolpanth
      ที่ฟัง พธม ขึ้นเวทีมาตลอด ทาง อินเตอร์เน็ต เมเนเจอร์ ออนไลน์ ทุกท่านบนเวที ได้ พูดไว้ล่วงหน้ามาหมดแล้วทุกประเด็นที่ กัมพูชาจะกล่าวอ้าง ดังนั้น การได้เห็นคำร้องศาลโลกครั้งนี้ เราก็รู้กันล่วงหน้าอยู่แล้วว่า ต้องเป็นตามนี้ และ พวก ศาลโลก ก็จะ...ดูเพิ่มเติม
      5 ชั่วโมงที่แล้ว · 2 คน
    • Natthamon Viboolpanth
      ก็ บอกมาแต่ต้นเป็นปี ๆ กันแล้ว ว่า เขาแหย่ตีมาปุ๊บ / ถอยชาวบ้านปั๊บ /พื้นที่ว่างเขาก็รุกเข้า/ ไทยก็ ถอนทหารออกมา ยกเว้นทหารที่เขาอยุ่ในพื้นที่จริง ๆ ที่เขาไม่ยอมให้เข้ามาเด็ดขาด เขายอมตายป้องกันเขตแดน ทำไม พันธมิตรถึงต้องออกมาต่อสุ้ ทำไม คนไ...ดูเพิ่มเติม
      5 ชั่วโมงที่แล้ว · 1 คน
    • ชะโลม โลม กุรัมย์ จะให้ทำอย่างไร หนอ...เวรกรรม
      4 ชั่วโมงที่แล้ว
    • Annie Handicraft
      ‎- จากปีพศ. 2505 กพช.ถือแผนที่1:200,000ก็จริง แต่ICJ เมื่อปีพศ.๒๕๐๕ วินิจฉัยคดีแค่เรื่องเดียว คือใครเป็นเจ้าของบริเวณปราสาทพระวิหาร. ข้ออ้างเรื่องแผนที่เป็นแค่เหตุผลประกอบการวินิจฉัยว่าปราสาทฯตั้งอยู่ในกัมพูชาหรือไทย.

      ศาลวินิจฉัยว่า ปราสาทฯตั้งอยู่ในเขตกัมพูชา ศาลย้ำว่า เรื่องแผนที่ฯและเส้นพรมแดนนั้นเป็นเพียงเหตุผลที่นำมาสู่ผลวินิจฉัย แต่ไม่ใช่เรื่องที่ศาลพิพากษาผูกพันไทย

      - หลังจากศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 ในเดือนถัดมาไทยก็ได้ยื่นบันทึกต่อศาลโลก พร้อมแผนที่ แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้าง
      ข้อสำคัญคือ ไม่เคยมีการประท้วงจากกพช.เลยว่าบันทึกที่ไทยส่งไปนั้น ทำผิด

      จนกระทั่งมี MOU 43 ซึ่งระบุถึง แผนที่ 1:200,000ของกพช. ไทยมีการเซ็นยอมรับยืนยันเอกสารอันนี้จากนายกชวน จึงทำให้เขมรมีความชอบธรรมที่จะสามารถอ้างแผนที่ 1:200,000 เป็นหลักฐานในการฟ้องไทยได้งัยล่ะ..... โอ้ยเหนื่อย
      เขมรไม่ได้ระบุ MOU43ในคำฟ้อง แต่ถ้าไม่มีการเซ็นรับ MOU มันจะยกแผนที่ขึ้นมาอ้างได้มั้ย ว่าไทยรับว่าแผนที่อันนี้ถูกต้อง....
      4 ชั่วโมงที่แล้ว · 2 คน
    • Annie Handicraft ‎- จะเห็นได้ว่าเห็นว่า เขมรนำเอาเรืองแผนที่ 1:200,000 มาใช้ประโยชน์มากที่สุด เพราะนี่คือจุดอ่อนของไทย
      4 ชั่วโมงที่แล้ว · 2 คน
    • Annie Handicraft
      ถ้าเขมรมันบอกว่า ตรูละเมิดตรงไหน เพราะพท. 1:200,000 เป็นของตรูตามแผนที่ล่ะ ถ้าไม่ใช่แผ่นดินตรู ทำใมทหารไทยรบ.ไทยถึงให้มีตลาด ชุมชน วัด ทหารกพช. ในบริเวณนั้นได้ ทำใมทหารไทยไม่ไล่ออกไปล่ะ ตรูอยู่มาตั้งกี่ปี ก็ขนาดรถแบ๊คโฮของไทยทำท่าทางเหมือนจ...ดูเพิ่มเติม
      4 ชั่วโมงที่แล้ว · 2 คน
    • ชะโลม โลม กุรัมย์ ผมก็คนหนึ่งที่งงคือกัน....ไม่รู้จะถามใคร และไม่รู้ใครจะตอบได้ ใครตอบได้บอก ทหารพรานมออีแดงหน่อยค้าบ ได้โปรด....
      4 ชั่วโมงที่แล้ว · 1 คน
    • Natthamon Viboolpanth คุณแอนนี่ ดูคอมเม้นต์ก่อนสุดท้ายของคุณ เสริมสุข จะเห็นว่า เขาจี๊ดจ๊าดกับคำแถลงดังว่าของเขมร และ เราก็เลยเขียนไว้ที่นี่ ดังกระทู้ตอบข้างบนนี้ค่ะ
      4 ชั่วโมงที่แล้ว · 1 คน
    • Natthamon Viboolpanth คุณ ชะโลม ในวาระนี้ ต้องทำใจ 50/50 ไว้นะคะ ความหวังของไทยเราอาจริบหรี่ เพราะท่านอาจารย์ ศ.ดร.สมปอง ท่านก็ท้วงติง แล้วว่า ไม่ให้ไปขึ้นศาล รบ นี้ก็ยังไป ดังนั้น โอกาสพ่ายครั้งนี้ มีถึง 80-90% ทีเดียวเชียวค่ะ แต่พันธมิตรคงจะต้องเหนื่อยต่อสู้ กับเรื่องนี้ต่อไปอีกนาน
      4 ชั่วโมงที่แล้ว


โฆษกเลี้ยงแกะออกโรงอีก ป้ายสีซ้ำไทยยิงถล่มปราสาทพระวิหาร ศาลโลกเริ่มไต่สวน

โฆษกเลี้ยงแกะออกโรงอีก ป้ายสีซ้ำไทยยิงถล่มปราสาทพระวิหาร ศาลโลกเริ่มไต่สวน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  30 พฤษภาคม 2554 11:07 น.


ทหาร ไทยให้สัญญาณและ "แพ็ตตั้น" เร่งเครื่องจนควันโขมง ส่งเสียงคำรามประกาศอาณาเขตที่บริเวณชายแดนด้านปราสาทพระวิหารวันที่ 9 ก.พ. ขณะที่กัมพูชาพยายามปั่นสถานการณ์ให้การปะทะบริเวณชายแดนกลายเป็น "สงคราม" ในสายตาของชาวโลก และเรียกร้องให้ยูเอ็นส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปประจำ ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่าหากไทยตั้งใจจะยิงทำลาย ด้วยรถถังคันนี้ก็สามารถทำให้ปราสาทอายุ 1,000 ปีพังทะลายราบได้ กัมพูชากำลังออกโรงโกหกชาวโลกอีกรอบ ขณะศาลโลกเริ่มไต่สวนเพื่อคุ้มครองปราสาทมรดกโลกเร่งด่วนตามคำขอ. -- REUTERS/Sukree Sukplang.
      
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กองงานโฆษกรัฐบาลกัมพูชาเริ่มการโฆษณาชวนเชื่ออีกครั้งหนึ่ง โดยกล่าวหาซ้ำๆ ว่าไทยตั้งใจยิ่งถล่มปราสาทพระวิหารในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ปราสาทได้รับความเสียหาย และยังตอบโต้การให้สัมภาษณ์ครั้งล่าสุดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งย้ำอีกครั้งเช่นกันว่า ทหารไทยไม่ได้กระทำเช่นนั้น
      
      
      
       การรณรงค์ของโฆษกกัมพูชาครั้งใหม่ยังมีขึ้นขณะที่ศาลระหว่างประเทศ ได้เปิดการไต่สวนตามคำร้องของกัมพูชาที่ขอให้มีคำสั่งคุ้มครองปราสาทเก่าแก่
      
       กัมพูชากล่าวหาว่า ไทยยิงถล่มปราสาทพระวิหารด้วยปืนใหญ่และปืนครกกว่า 400 นัด และ ได้นำคณะทูตานุทูตขึ้นไปดูความเสียหาย ซึ่งบริเวณบันไดนาคทางขึ้นกับบริเวณโคปะรุชั้นนอก ที่ปรากฏเป็นรอยกะเทาะในบางจุด โดยอาจจะเกิดจากวัตถุเคลื่อนที่เร็ว เช่น สะเก็ดระเบิด หรือสะเก็ดจากกระสุนปืนชนิดต่างๆ
      
       นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซนแถลงในช่วงเดียวกันว่า ปราสาทได้พังลงไปส่วนหนึ่ง ซึ่งทราบกันในเวลาต่อมาว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างไร
      
       “ผู้นำในรัฐบาลของไทยจะต้องตระหนักว่าทั้งโลกมีความทรงจำที่ดี ในต้นเดือนมีนาคม 2554 รัฐบาลไทยได้คัดค้านอย่างแข็งขันเมื่อกัมพูชาจัดคณะทูตทหารจาก 12 ประเทศไปดูด้วยตาของตัวเองความเสียหายต่างๆ ที่เกิดจากกระสุนปืนใหญ่ปืนครกของไทยกว่า 400 นัด รวมทั้งกระสุนลูกหว่านที่ยิงขึ้นไประหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์”
      
       สำนักตอบโต้เร็ว กองโฆษกรัฐบาลระบุดังกล่าว ในบทความเห็นลงวันที่ 27 พ.ค. 2554 ที่เผยแพร่ผ่านสำนักข่าวกัมพูชา
      
       แต่ฝ่ายทหารของไทยกล่าวว่า ทหารพูชาใช้ปราสาทพระวิหารเป็นที่หลบ และใช้เป็นที่ตั้งอาวุธหนักยิงเข้าใส่ฝ่ายไทย ทำให้ต้องยิงตอบโต้ตามหลักปฏิบัติทั่วไป “ยิงจากจุดใด ยิงสวนไปที่จุดนั้น” และเวลาต่อมาฝ่ายไทยได้จัดคณะทูตานุทูตไปดูความเสียหายที่ไทยได้รับจากการ ยิงโดยไม่จำแนกเป้าหมายของฝ่ายกัมพูชาที่ชายแดนด้านนั้น
      
       หลายฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ถ้าหากฝ่ายไทยยิงอย่างตั้งใจเพื่อทำลายปราสาทมรดกโลกด้วยกระสุนปืนใหญ่กับ ปืนครกจำนวนกว่า 400 นัด ตามที่ฝ่ายกัมพูชากล่าวหา ปราสาทหินเก่าแก่อายุ 1,000 ปี ก็น่าจะทลายราบลงไม่มีชิ้นดี เพราะเป็นเป้าหมายที่โดดเด่นและอยู่ในรัศมีการยิง แม้กระทั่งยิงด้วยปืนจากรถถังเพียงไม่กี่นัด
      

       
โกหกแบบเดิมๆ


ทหาร กัมพูชาจัดเรียงกระสุนปืนกลหนักที่ปราสาทพระวิหาร ภาพวันที่ 5 ก.พ.2554 ขณะการปะทะชายแดนด้านนี้กำลังระอุร้อน และ โฆษกพยายามโกหกชาวโลกว่าที่ปราสาทไม่มีทหารและไม่มีอาวุธ มีเพียงตำรวจถืออาวุธเบารักษาความสงบ ภาพเหล่านี้ทำให้การโกหกของกัมพูชาไร้น้ำหนัก แต่อาจจะได้ผลกับกลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไปและไม่มีข้อมูลเพียงพอ ขณะที่ศาลระหว่างประเทศกำลังพิจารณาการคุ้มครองปราสาทเร่งด่วนตามที่กัมพูชา ร้องขอ. -- REUTERS/Pheara.
       
2


ภาพ เก่านำมาเล่าใหม่ ทหารกัมพูชาขนกระสุนปืนใหญ่จากรถปิ๊กอัพที่ปราสาทพระวิหารวันที่ 8 ก.พ.2554 ขณะการปะทะที่ชายแดนด้านนั้นดำเนินมาหลายวัน ฝ่ายกัมพูชาออกโฆษณาชวนเชื่อว่าไม่มีทหารและอาวุธที่ปราสาท มีเพียงตำรวจติดอาวุธเบารักษาความ กัมพูชากำลังรณรงค์อีกรอบเพื่อป้ายสีไทย ขณะที่ศาลโลกเริ่มพิจารณาไต่สวนคุ้มครองปราสาทมรดกโลกตามคำร้องขอ. -- REUTERS/Damir Sagolj.
       
3


ภาพ วันที่ 8 ก.พ.2554 ทหารกัมพูชาตั้งบังเกอร์บนปราสาทพระวิหารยิงสู้กับฝ่ายไทย ขณะโฆษณาชวนเชื่อว่าไม่มีทหารในบริเวณปราสาท ทั้งป้ายสีอีกว่าไทยยิงถล่มกกว่า 400 นัด ทำให้ปราสาทมรดกโลกเสียหายหนัก นายกฯ ฮุนเซนโกหกเองถึงขนาดว่า "ปราสาทพังไปปีกหนึ่ง" โฆษกกัมพูชากำลังรณรงค์โกหกอีกครั้ง ขณะศาลโลกเปิดไต่สวนเพื่อคุ้มครองปราสาทมรดกโลกตามที่เขมรร้องขอ. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
4

       แต่โฆษกรัฐบาลกัมพูชาได้บิดเบือนเรื่องนี้ไม่หยุดโดยมีเจตนาสร้าง ความไขว้เขวให้แก่ฝ่ายต่างๆ ที่อยู่ไกลจากเหตุการณ์และไร้ข้อมูลเพียงพอ
      
       ภาพจากสำนักข่าวเอเอฟพี และรอยเตอร์ รวมทั้งสำนักข่าวต่างประเทศอื่นๆ ล้วนแสดงให้เห็นทหารกัมพูชาจำนวนมากหลบพักพิงอยู่ภายในโคปะรุชั้นต่างๆ รวมทั้งในพระวิหารชั้นในสุดด้วย
      
       นอกจากนั้น หลายภาพยังแสดงให้เห็นทหารเขมรขนกระสุนปืนใหญ่ และติดตั้งปืนกลหนักอยู่ภายในปราสาทแห่งนี้ ผู้สื่อข่าวของเอพีระบุอย่างชัดเจนว่ามีทหารกัมพูชา 200-300 นายอยู่ในปราสาทพระวิหารในช่วงที่เกิดการปะทะ
      
       ฝ่ายกัมพูชาออกรณรงค์เรื่องนี้อย่างหนักในเดือน ก.พ.-มี.ค. ในความพยามทำให้สถานการณ์ปะทะที่ชายแดนมีความรุนแรงใหญ่โตถึงขั้นสงคราม ขณะเดียวกันก็ออกเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติส่งกองกำลัง รักษาสันติภาพเข้าประจำชายแดนสองประเทศ ซึ่งกัมพูชาไม่ประสบความสำเร็จ
      
       โฆษกกัมพูชารณรงค์เรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งในขณะที่ศาลระหว่างประเทศ เริ่มเปิดการไต่สวนในวันที่จันทร์ 30 พ.ค.ศกนี้ ตามคำร้องของกัมพูชาที่ขอให้มีคำสั่งเร่งด่วนปกป้องคุ้มครองปราสาทพระวิหาร
      
       การปะทะที่ชายแดนด้านปราสาทตาเมือน-ตาควายซึ่งอยู่ห่างจากพระวิหาร ออกไปกว่า 100 กม.ทางทิศตะวันตก ปะทุขึ้นในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ขณะนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาเดินทางไปยังกรุงเฮก ยื่นคำร้องต่อศาลโลกขอให้ตีความคำพิพากษาปี 2505 ที่ยกปราสาทให้เป็นของฝ่ายเขมรขณะที่สองฝ่ายยังกล่าวอ้างสิทธิเหนือดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรโดยรอบ
      
       พร้อมกันนี้กัมพูชาได้ยื่นคำพร้องให้ศาลโลกมีคำสั่งปกป้องคุ้มครอง ปราสาทที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในเดือน ก.ค.2551 เป็นการเร่งด่วนโดยอ้างว่าฝ่ายไทยก้าวร้าวรุกรานต่อกัมพูชาตลอดมาและยังยิง ทำลายปราสาทให้ได้รับความเสียหายอีกด้วย.
      
       
ยิงจากทิศไหนสวนกลับไปทางนั้น


ภาพ วันที่ 8 ก.พ.2554 ทหารกัมพูชาเดินผ่านซากสิ่งปลูกสร้างที่เคยเป็นเพิ่งพักในบริเวณปราสาทพระ วิหาร ซึ่งถูกฝ่ายไทยยิงถล่มราบ กัมพูชากล่าวหาว่าไทยเจตนายิงถล่มปราสาทพระวิหารกว่า 400 นัดด้วยปืนใหญ่และปืนครก ทำให้ปราสาทเสียหายหนัก โฆษกกัมพูชากำลังออกโรงโกหกอีกขณะศาลโลกเริ่มไต่สวนเพิ่อคุ้มทครองปราสาท มรดกโลกตามที่กัมพูชาร้องขอ. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
5


ช่าง ภาพกัมพูชาถ่ายรูปรอยแตกบนเสาหินทางเข้าโคปุระแห่งหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการตกกระทบของวัตถุเคลื่อนที่เร็ว อาจจะเป็นสะเก็ดจากกระสุนปืนใหญ่ ปืน ค.หรือสะเก็ดระเบิดทั่วไป "ยิงมาจากไหนยิงกลับไปที่นั่น" เป็นหลักปฏิบัติการทั่วไปในการยิงตอบโต้ แต่กัมพูชาโกหกว่าไม่ทหารที่ปราสาททั้งป้ายสีว่าไทยตั้งใจยิงถล่มทำให้ ปราสาทมรดกโลกเสียหายหนัก. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
6


ทหาร กัมพูชาชี้ให้ดูรอยแตกบนเชิงชายทางเข้าโคปุระแห่งหนึ่ง ที่เกิดจากการตกกระทบของวัตถุเคลื่อนที่เร็ว อาจจะเป็นสะเก็ดจากกระสุนปืนใหญ่ ปืน ค.หรือสะเก็ดระเบิดทั่วไป "ยิงมาจากไหนยิงกลับไปที่นั่น" เป็นหลักปฏิบัติการทั่วไปในการยิงตอบโต้ แต่กัมพูชาโกหกว่าไม่ทหารที่ปราสาททั้งป้ายสีว่าไทยตั้งใจยิงถล่มทำให้ ปราสาทมรดกโลกเสียหายหนัก. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
7


เหนื่อย ก็พัก-- ทหารกัมพูชาพร้อม "ลูกเบ" หรือ ระเบิดอาร์พีจี B40 ใช้โคปุระแห่งหนึ่งของปราสาทพระวิหาร เป็นที่หลบพัก ในเหตุการณ์ปะทะที่ชายแดนวันที่ 8 ก.พ.2554 กัมพูชาโกหกว่าไม่ทหารอยู่ที่นั่น ทั้งป้ายสีว่าไทยตั้งใจยิงถล่มทำให้ปราสาทมรดกโลกเสียหายหนัก. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
8


เหนื่อย ก็พัก-- ทหารกัมพูชากลุ่มใหญ่อาศัยโคปุระแห่งหนึ่งของปราสาทพระวิหารเป็นที่หลบพัก ในเหตุการณ์ปะทะที่ชายแดนวันที่ 8 ก.พ.2554 กัมพูชาโกหกว่าไม่ทหารอยู่ที่นั่น ทั้งป้ายสีว่าไทยตั้งใจยิงถล่มทำให้ปราสาทมรดกโลกเสียหายหนัก. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
9


ภาพ วันที่ 5 ก.พ.2554 เป็นซากเศษเหลือซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นกระสุนปืนครกจากการยิงของฝ่ายไทยที่ บริเวณปราสาทพระวิหารขณะการปะทะเริ่มรุนแรง กัมพูชาโกหกชาวโลกว่าไม่มีทหารที่นั่น และป้ายสีว่าไทยมีเจตนายิงถล่มปราสาทมรดกโลกด้วยปืนใหญ่และปืน ค.กว่า 400 นัด โฆษกกัมพูชาออกรณรงค์โกหกอีกรอบ ขณะศาลโลกเปิดไต่สวนในสัปดาหนี้เพื่อคุ้มครองเร่งด่วนปราสาทตามที่กัมพูชา ร้องขอ. -- AFP PHOTO.
       
10


ภาพ วันที่ 6 ก.พ.2554 ทหารกัมพูชาจัดเตรียมปืนไร้แรงสะท้อนในที่ตั้งมั่นใกล้ปราสาทพระวิหารเพื่อ ยิงเข้าใส่ฝ่ายไทย สิ่งปลูกสร้างที่มองเห็นอยู่เบื้องหลังเข้าใจว่าจะเป็นบริเวณวัดแก้วสิขา คีรีสวาระ ฝ่ายกัมพูชาออกโฆษณาชวนเชื่อว่าไม่มีทหารตั้งอยู่ที่บริเวณวัด แต่วัดได้รับความเสียหายจากการยิงถล่มของฝ่ายไทย ขณะที่ฝ่ายไทยกล่าวว่ายิงมาจากทิศใด-ยิงสวนกลับไปตามทางนั้นตามวิธีปฏิบัติ. -- REUTERS/Pheara.
       
11


ทหาร กัมพูชาเตรียมจรวด BM21 ไว้ที่ชายแดนปราสาทพระวิหารวันที่ 7 ก.พ.2554 ขณะการปะทะเริ่มรุนแรง และรัฐบาลฮุนเซนพยายามปั่นสถานการณ์ให้ดูเป็น "สงครามชายแดน" ในสายตาของชาวโลก จรวดหมู่ออกแบบมาเพื่อยิงทำลายทหารราบที่ชุมนุมกันในสนามรบ การยิงที่ไม่มีระบบนำวิถีทำให้คลาดเคลื่อนไม่โดนเป้าหมาย สร้างความเสียหายให้เป้าหมายทางพลเรือนบ่อยๆ. -- AFP PHOTO

ซกถึงพนมเปญเผย ๓ ประเด็นไทยยกเจรจา


ฟิฟทีนมูฟ – ซก อาน กลับถึงพนมเปญเช้านี้ ประชุมไม่ได้ผลแต่ยูเนสโกเห็นการปกปิดของไทย เผยไทยคุย ๓ ประเด็น คือ ขวางผู้เชี่ยวชาญ ขอให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการฯ และให้การเจรจาที่จะมีต่อไปเป็นทวิภาคีโดยไม่มียูเนสโกเข้าร่วม ไม่พูดถึงการคุยนอกรอบอีกครั้งแต่ย้ำจะนำปัญหาความเสียหายปราสาทขึ้นหารือใน การประชุมเดือน มิ.ย. ที่จะถึง
นายซก อาน หัวหน้าคณะเจรจามรดกโลกของกัมพูชา ระหว่างให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่สนามบินพนมเปญ ๒๙ พ.ค. ๕๔
แฟ้มภาพ: นายซก อาน หัวหน้าคณะเจรจามรดกโลกกัมพูชา ระหว่างให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่สนามบินพนมเปญ ๒๙ พ.ค. ๕๔

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔) นายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เดินทางกลับจากการประชุมมรดกโลกที่องค์การยูเนสโก ถึงกรุงพนมเปญ ตามรายงานของสำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา นายซก อาน ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า การประชุมที่กรุงปารีสไม่ได้รับผลอันใด แต่เป็นการประชุมที่มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่า ด้วยการประชุมนี้ องค์การยูเนสโกได้เห็นชัดถึงความต้องการของไทยในการปิดบังความผิดของตน
นายซก อาน กล่าวต่ออีกว่า ในการประชุมนี้ ไทยได้ยกขึ้นมา ๓ ประเด็น คือ ๑. ไทยขัดขวางไม่ให้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปศึกษาความเสียหายของปราสาทพระวิหาร ๒.ไทยต้องการให้เลื่อนคำร้องการพัฒนาและบริหารปราสาทพระวิหาร1 ที่ได้เสร็จสิ้นแล้วในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓ ที่ประเทศบราซิล2 และ ๓. ไทยต้องการให้มีการเจรจาทวิภาคี โดยไม่ให้มีการเข้าร่วมของยูเนสโก
รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวในตอนท้ายว่า กัมพูชาจะยกปัญหาความเสียหายของปราสาทพระวิหาร ขึ้นหารือในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่กรุงปารีส ในเดือนมิถุนายน ที่จะถึงนี้

เขมรต่างแดนร่อนจม.ชวนประท้วงไทยหน้าศาลโลก-กต.แนะไปหน้าสถานทูต

Posted on by n/e - 21:59 น.

ฟิฟทีนมูฟ  — เขมรต่างแดนร่อนหนังสือชวนประท้วงไทยหน้าศาลโลก เรียกไทยว่าโจรสยาม ศัตรูผู้รุกราน กล่าวหาว่าก่อสงครามกลืนกินดินแดนเขมรและรังแกชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ เรียกร้องให้ยุติสงครามรุกรานในทันที ขณะที่ กต.เขมรแนะให้ไปหน้าสถานทูตไทย เพื่อแสดงความเจ็บปวดของเขมรที่ถูกไทยรุกราน
ภาพการชุมนุมประท้วงของชาวเขมรต่างแดนหน้าศาลโลก ๒๘ พฤษภาคม ตามรายงานของวิทยุฝรั่งเศสสากล ภาคเขมร
ภาพการชุมนุมประท้วงของชาวเขมรต่างแดนหน้าศาลโลก ๒๘ พฤษภาคม ตามรายงานของวิทยุฝรั่งเศสสากล ภาคเขมร
ชาวเขมรต่างแดนออกเอกสารร่อนทั่วอินเตอร์เน็ต เรียกร้องให้เขมรต่างแดนในทุกประเทศ ไปรวมตัวกันประท้วงไทยที่หน้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก เพื่อกล่าวโทษไทยที่ได้รุกรานแผ่นดินกัมพูชา พร้อมทั้งยิงปืนใหญ่กว่า ๔๐๐ ลูก เข้าใส่ปราสาทพระวิหาร ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวซีอีเอ็น เมื่อช่วงเย็นวันนี้ (๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔)

โดยเอกสารเรียกร้องกล่าวต่อไปว่า ไทยได้ก่อการรุกรานแผ่นดินกัมพูชา โดยเฉพาะที่ปราสาทตาควาย ปราสาทตาเมือน ในจังหวัดอุดรมีชัย เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ถึง ๓ พฤษภาคม โดยไทยได้ยิงปืนใหญ่จำนวนมากมาบนแผ่นดินกัมพูชา และราษฎรชาวเขมรในพื้นที่นั้น ซึ่งยืนยันให้เห็นว่าพวกโจรสยามมีความปรารถนาต้องการกลืนกินแผ่นดินของเขมร และรังแกราษฎรชาวเขมรผู้บริสุทธิ์อีกด้วย และเอกสารเรียกร้องระบุว่า นี่เป็นมูลเหตุที่ชาวเขมรทำการประท้วงหน้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่กรุงเฮก ในวันที่ ๒๘-๓๐ พฤษภาคม นี้ นี่เป็นเวลาที่ชาวเขมรที่อยู่ทั่วโลกมารวมตัวกันประท้วงต่อต้านศัตรูผู้ รุกราน คือ สยาม
เอกสารดังกล่าว เรียกร้องว่า ๑. เรียกร้องให้พวกสยามยุติการรุกรานแผ่นดินกัมพูชาในทันที ๒. เรียกร้องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก กล่าวโทษประเทศไทย ที่ได้ละเมิดบูรณภาพดินแดนกัมพูชาและก่อสงครามรุกรานกัมพูชา และทำความเสียหายให้กับปราสาทพระวิหารของเขมร ๓. ยินดีและเร่งให้รัฐบาลกัมพูชาแก้ปัญหาพรมแดนโดยเข้าร่วมกับองค์กรระหว่าง ประเทศ ซึ่งหลังจากการประกาศข้อเรียกร้องที่กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ ๒๘ พฤษภาคม เวลา ๑๒.๓๐ น. – ๑๒.๕๐ น. ชาวเขมรต่างแดนระบุว่าจะเคลื่อนขบวนไปหน้าสถานทูตไทยประจำกรุงเฮก เพื่อเรียกร้องให้ยุติสงครามรุกรานกัมพูชาในทันทีก่อนสลายตัว
ขณะที่ นายโกย กวง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวว่า ชาวเขมรนอกประเทศที่รวมตัวกันที่กรุงเฮก เพื่อทำการประท้วงกล่าวโทษสยามที่รุกรานดินแดนกัมพูชานั้น ควรไปรวมตัวกันทำการประท้วงที่หน้าสถานทูตไทยประจำกรุงเฮก เพื่อแสดงให้เห็นอย่างเป็นทางการถึงความเจ็บปวดของชาวเขมร ต่อการรุกรานของสยามบนดินแดนกัมพูชา และกล่าวต่อว่า ชาวเขมรควรเปิดโอกาสให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก มีบรรยากาศที่สงบในการพิจารณาคดี
​นอกจากนี้ นายโกย กวง กล่าวต่อว่า การที่ชาวเขมรจากประเทศต่าง ๆ มารวมตัวที่กรุงเฮก เป็นการแสดงจากจิตใจรักดินแดนรักปราสาท เป็นมรดกของชาติและโลก โดยเฉพาะร่วมกันป้องกันดินแดนไม่ให้สูญหาย และเรียกร้องให้สยามยุติการรุกรานกัมพูชา

ข้อคิดเห็นในภาพรวมต่อ คำตัดสินของศาลโลก ปี ๒๕๐๕

โดย Rattawoot Pratoomraj เมื่อ 23 พฤษภาคม 2011 เวลา 12:47 น.


กรณี ศาลโลก นั้นมีความฉ้อฉล ขัดหลักข้อเท็จจริง ขัดหลักกฏหมาย และแท้จริงเป็นเครื่องมือมหาอำนาจ ในการช่วยเขมร (ตามอุดมการณ์ผลประโยชน์เพื่อชาติตนเอง) <http://www.facebook.com/note.php?note_id=137971756244175>

ดัง นั้น แนวทางการต่อสู้คือไม่สู้ในยุทธภูมิที่ไม่มีวันชนะ หรือในทางกฏหมาย คือ ไม่ยอมรับเขตอำนาจศาล (ซึ่งไทยไม่อยู่ในปัจจุบัน) หรือตัดฟ้อง ไม่ใช่ตกหลุมพรางไปต่อสู้ ซึงจะติดกับดัก และถูกปล้นเหมือนเดิมแน่นอน

ขอยกตัวอย่างความฉ้อฉล ดังนี้ (ประเด็นกฏหมายที่ลึกซึ้งดูได้จากข้อสงวนสิทธิทวงคืนปราสาท ของ ดร.ถนัด คอมันตร์ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000072311)

๑ นักกฏหมายบางท่านบอกเป็นหลักกฏหมายทางแพ่ง ของอังกฤษ ชาติเดียว ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ในเรื่องเกี่ยวกับอธิปไตยและเขตแดนได้ เพราะเกี่ยวกับชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนทั้งชาติ ไม่ใช่เรื่องทรัพย์สินส่วนบุคคล ผิดหลักทางแพ่ง

๒ นักกฏหมายบางท่านก็บอกว่า ศาลโลกส่อเจตนาว่าฉ้อฉล เพราะยกมาใช้กับไทย กรณีนี้ครั้งเดียว เพราะไม่เป็นสากล อีกทั้งผู้พิพากษาที่เห็นแย้ง ในภายหลังเป็นประธานศาลโลกคนต่อมา ก็ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินครั้งนี้

๓ สมมติใช้หลักกฏหมายปิดปาก ฝ่ายไทยก็อ้่างได้หนักแน่นกว่าว่า ไทยใช้อำนาจปกครองเหนือพื้นที่ตั้งของตัวปราสาท (อธิปไตยทางการบริหาร) มาก่อนฝรั่งเศสทำแผนที่ ส่วนผมเพิ่มให้อีกว่า แม้จะนับหลังจาก ทำแผนที่แล้ว รวมระยะเวลาถึงก่อนวันฟ้อง ไทยก็ใช้อำนาจอธิปไตย เหนือพื้นที่ตั้งตัวปราสาทมาตลอด ตามการปักปันเขตแดนที่เสร็จสิ้นและแบ่งเขตแดนกันชัดเจนอยู่แล้ว

ทำไมศาลไม่ใช้หลักกฏหมายปิดปากกับกรณีอำนาจปกครองเหนือตัวปราสาทนี้บ้าง ?

๔ สมมติ ว่าไทยยอมรับแผนที่ (ซึ่งข้อเท็จจริง ผมเชื่อว่า ไม่ใช่ผลงานคณะกรรมการปักปันทางนิตินัย จึงถือเป็นหลักฐานเท็จในทางกฏหมาย http://www.facebook.com/note.php?note_id=169169269791090) หลักในการตัดสินเขตแดน ไทยได้อ้่าง มาตรา ๒๙ สนธิสัญญาแวร์ซายล์ ซึ่งกำหนดว่า กรณีขัดแย้ง ให้ยึดตัวบทในสนธิสัญญา เหนือกว่าแผนที่ <1>

สรุป ได้ว่าศาลโลกฉ้อฉล เชื่อถือไม่ได้ในทุกกรณี ดังนั้นกลยุทธ์ “ตัดฟ้อง” จึงเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ชาติ

อ้างอิง
<1>
มาตรา ๒๙ สัญญาแวร์ซาย ค.ศ.๑๙๑๙ เป็นบรรทัดฐานอ้างอิงกำหนดให้ใช้ตัวบท(text) สำคัญเหนือกว่าแผนที่ ในการตัดสินเขตแดนระหว่างชาติ
ARTICLE 29.
The boundaries as described above are drawn in red on a one-in-a-million map which is annexed to the present Treaty (MapNo. 1). [See Introduction.] In the case of any discrepancies between the text of the Treaty and this map or any other map which may be annexed, the text will be final.
http://bit.ly/aaNfQp

ศาลโลกตัดสินให้ พื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร รอบปราสาทเป็นของใคร ? (ตีความคำตัดสิน ศาลโลก ปี ๒๕๐๕)

โดย Rattawoot Pratoomraj เมื่อ 1 พฤษภาคม 2011 เวลา 13:02 น.

อ้างอิง คำตัดสินของศาลโลก (โดย ดร.สมปอง สุจริตกุล)
===============================
คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิจารณาพิพากษาดังนี้

(๑) ด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ศาลฯ วินิจฉัยว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา

(๒) สืบเนื่องมาจาก (๑) วินิจฉัยด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ว่าไทยมีพันธกรณีจะต้องถอนทหารและตำรวจหรือยามผู้รักษาการณ์ออกจากปราสาทพระ วิหารหรือบริเวณใกล้เคียงที่อยู่บนดินแดนกัมพูชา

(๓) ด้วยคะแนนเสียง ๗ ต่อ ๕ วินิจฉัยว่าไทยมีพันธะจะต้องคืนให้กัมพูชาบรรดาวัตถุที่กัมพูชาอ้างถึงในคำ แถลงสรุปข้อ ๕ ซึ่งอันตรธานไปจากปราสาทหลังจากวันที่ไทยเข้าครอบครองเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗

แหล่งข้อมูล : http://www.praviharn.net/index.php?option=com_content&view=article&id=94&Itemid=114

Original in English :

"In its Judgment on the merits the Court, by nine votes to three, found that the Temple of Preah Vihear was situated in territory under the sovereignty of Cambodia and, in consequence, that Thailand was under an obligation to withdraw any military or police forces, or other guards or keepers, stationed by her at the Temple, or in its vicinity on Cambodian territory.

By seven votes to five, the Court found that Thailand was under an obligation to restore to Cambodia any sculptures, stelae, fragments of monuments, sandstone model and ancient pottery which might, since the date of the occupation of the Temple by Thailand in 1954, have been removed from the Temple or the Temple area by the Thai authorities."

Source : http://www.icj-cij.org/docket/index.php?sum=284&code=ct&p1=3&p2=3&case=45&k=46&p3=5
===============================
ประเด็นแรก ตีความคำตัดสินของศาลโลกด้วยเจตนา :

ถ้า ผมแปลเอง กรณีศาลเจตนาตัดสินว่า ปราสาทตั้งอยู่ในเขตแดนของกัมพูชา ก็ควรเขียนว่า Temple of Preah Vihear was situated in the boundary of Cambodia. หรือ Temple of Preah Vihear was situated in the territory of Cambodia. ไปตรงๆเลย

มากกว่าจะต้องไปเขียนโดยใช้ถ้อยคำฟุ มเฟือยเกินเจตนาว่า "ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา" (the Temple of Preah Vihear was situated in territory under the sovereignty of Cambodia) ซึ่งแปลว่าเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้นที่ตั้งอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา ผมจึงตีความว่าศาลมีเจตนาตัดสินให้ เฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่นั้น

ประเด็น ที่สอง กรณีที่นักวิชาการบางกลุ่ม ไปตีความตรงคำว่า Vicinity หมายถึงศาลโลกให้พื้นที่ 4.6 รอบปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา เป็นการตีความผิดโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุผลดังนี้

อ้าง อิงคำตัดสินศาลโลก เฉพาะในส่วนคะแนน 9:3 เพราะมีความสับสนกันหลายกรณี "In its Judgment on the merits the Court, by nine votes to three,

found that the Temple of Preah Vihear was situated in territory under the sovereignty of Cambodia and, in consequence,

that Thailand was under an obligation to withdraw any military or police forces, or other guards or keepers, stationed by her at the Temple, or in its vicinity on Cambodian territory."

จะเห็นว่า vicinity อยู่ในคำตัดสิน clause ที่ 2 คือ ไทยมีพันธกรณีจะต้องถอนทหารและตำรวจหรือยามผู้รักษาการณ์ออกจากปราสาทพระ วิหารหรือ"บริเวณใกล้เคียง" (vicinity)ที่อยู่บนดินแดนกัมพูชา

ดังนั้นต้องตีความให้ถูกต้องโดยใช้บริบททั้งหมด โดยผมจะแปลให้เข้าใจง่ายๆ คือ

๑ เฉพาะตัวปราสาท ตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่นั้น

๒ ต่อเนื่องจากข้อ ๑ ศาลสั่งให้ไทยเอาเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ประจำการอยู่ ออกไปจากตัวปราสาท หรือ ในบริเวณตัวปราสาท (its vicinity คือ Temple's vicinity) โดยแปลคำว่า vicinity ว่าบริเวณ 

ซึ่งใน ภาษาไทย บริเวณแปลว่า พื้นที่ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ เช่นบริเวณบ้าน บริเวณโบสถ์ บริเวณวัด บริเวณสนามหลวง (แปลตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี๒๕๔๒)
===============================

อ่านเพิ่มเติม

๔.๖ ตารางกิโลเมตรไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล
 http://www.15thmove.net/article/sompong-46-not-overlaped-disputed-area/

ปราสาท พระวิหาร โดย ดร.สมปอง สุจริตกุล (ทนายผู้ประสานงานคณะทนายฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหารศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕) ลงวันที่ 31 ส.ค. 2552
 http://www.praviharn.net/index.php?option=com_content&view=article&id=94&Itemid=114 

“ปานเทพ” ประจานนายกฯ เหลวถกเลื่อนมรดกโลก จี้เปิดแผนต่อสู้คดีศาลโลก

โฆษกพันธมิตรฯ ถลกหนัง “มาร์ค” ล้มเหลวถกเลื่อนมรดกโลกไม่สำเร็จ เหตุยูเนสโกไม่เล่นด้วย จี้ รบ.เปิดเผยแนวทางต่อสู้ คำร้องเขมรยื่นศาลโลกตีความคำพิพากษาปราสาทพระวิหาร ย้ำ ปชช.ต้องร่วมโหวตโน สกัดแผนนิโรทษกรรม ช่วย “นช.แม้ว” กลับประเทศ ด้าน “ประพันธ์” จวกนักการเมืองมุ่งแสวงหาอำนาจ ไม่เสนอนโยบายแก้ปัญหาชาติ ย้ำ “โหวตโน” ถ่วงดุลนักการเมือง

    
    

       วันนี้ (29 พ.ค.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยรายละเอียดการให้ข้อมูล และแนวทางการต่อสู้คดีในชั้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องให้ตีความคำพิพากษา กรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 อีกครั้ง รวมไปถึงกรณีที่กัมพูชายื่นคำร้องเพิ่มเติมให้มีมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ที่จะมีการพิจารณาในระหว่างวันที่ 30-31 พ.ค.นี้ เพราะถือเป็นความชอบธรรมของประชาชนที่จะรับรู้ถึงความเคลื่อนไหว เช่นเดียวกับที่รัฐบาลกัมพูชาไม่เคยปิดบังข้อมูลกับประชาชน
    
       โฆษกพันธมิตรฯ ยังได้ด้วยว่าการที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้เจรจามรดกโลกฝ่ายไทย ยอมรับว่าการประชุมเจรจาทวิภาคีถึงปัญหามรดกโลก ระหว่างคณะผู้แทนไทยกับกัมพูชา ที่ประเทศฝรั่งเศส ยังไม่มีข้อยุติตามที่ไทยต้องการให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาท พระวิหารครั้งที่ 35 ที่ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 19-29 มิ.ย.นั้น ถือเป็นการประจานนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เคยอ้างว่าองค์การยูเนสโกเห็นด้วยกับการเลื่อนประชุมออกไป
    
       นายปานเทพยังกล่าวถึงกระแสการออกกฎหมายนิรโทษกรรมภายหลังการเลือก ตั้ง ว่า พรรคเพื่อไทยแสดงความปราถนาที่จะชนะเกมส์ในระบอบรัฐสภา เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมและองค์กรอิสระ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ประชาชนไม่ควรยอมจำนนและต้องสงวนสิทธิลงคะแนนใน ช่องไม่ประสงค์เลือกใครหรือโหวตโน เพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนมีอำนาจในการต่อรองหากระบอบทักษิณฟื้นคืนชีพ
    
       ด้าน นายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย กล่าวเสริมว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ละพรรคการเมืองให้ความสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลมากกว่าการประกาศนโยบายที่ จะใช้แก้ปัญหาของบ้านเมือง แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการแสวงหาอำนาจมากกว่าเป็นห่วงความเป็นอยู่ของ พี่น้องประชาชน หรือแม้กระทั่งละเลยผลประโยชน์ของประเทศชาติ มุ่งแต่ผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง ดังนั้นการร่วมกันโหวตโนจึงถือเป็นหลักประกันให้ประชาชนคัดค้านการกระทำของ พรรคการเมืองและนักการเมืองที่จะไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ และยังเป็นการถ่วงดุลอำนาจฝ่ายการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทีมสู้คดีปราสาทพระวิหารเตรียมให้การทางวาจาต่อศาลโลก


โดย Annie Handicraft



ใน เวลาประมาณ 21.00 น.วันนี้ ตามเวลาประเทศไทย นายวีรชัย พลาศัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ จะนำคณะทนายความของไทยเดินทางไปชี้แจงกับ ICJ หรือ ศาลโลก เพื่อต่อสู้คดี หลังรัฐบาลกัมพูชาทำเรื่องร้องเรียนไปยังศาลโลกเมื่อปลายเดือนเมษายน ให้มีการตีความคำพิพากษาศาลโลก เมื่อปี 2505 ที่ตัดสินยกปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชา ...... แต่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องพื้นที่ ซึ่งอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา บริเวณรอบข้างตัวปราสาท .นอกจากข้อร้องเรียนในเรื่องการตีความ กัมพูชายังเสนอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราวสั่งให้รัฐบาลไทยถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาท และยุติปฏิบัติการด้านการทหารในพื้นที่....... ศาลโลกจึงนัดฟังคำชี้แจงจากฝ่ายไทยและกัมพูชาในวันพรุ่งนี้

นาย วีรชัย กล่าวว่า การเข้าชี้แจงกับศาลโลกวันพรุ่งนี้ จัดขึ้นที่บริเวณอาคารปราสาทสันติภาพ ภายในศาลโลก โดยจะเป็นการชี้แจงเพื่อต่อสู้ต่อคำร้องของกัมพูชา ที่ขอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราว ส่วนวันอังคารจะเป็นการไต่สวน

ขณะที่การกล่าวสรุปจากฝ่ายไทยจะเริ่มขึ้นในเวลา 17.00 น.ที่กรุงเฮก ซึ่งตรงกับเวลา 22.00 น.ของวันอังคาร ตามเวลาประเทศไทย

นอกจากนายวีรชัย ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทนายความฝ่ายไทยแล้ว รัฐบาลไทยได้จ้างทนายความต่างชาติจากฝรั่งเศส แคนาดา และออสเตรเลีย ช่วยว่าความในคดีนี้ด้วย โดยศาลโลกได้นัดตัวแทนฝ่ายกัมพูชาเข้าให้คำชี้แจงเป็นปากแรกในเวลา 10.00 น.วันพรุ่งนี้ ซึ่งตรงกับเวลา 15.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย

จาก http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000065577
....................................................................

คำแย้งคำฟ้องกัมพูชา (ไม่ใช่จากรบ.):
- เรื่องความไม่ชัดเจนในเรื่องพื้นที่ตามที่กพช.อ้าง
1 จากรูปหลังจากศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 ในเดือนถัดมาไทยก็ได้ยื่นบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่ฉบับนี้แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้าง

ภาพล่างซ้ายแสดงให้เห็นว่าไทยยอมรับให้พื้นที่แก่ปราสาทที่กว้างที่สุดเพียง 100 เมตรเท่านั้น อาณาบริเวณข้างนอกเส้นปรุเป็นพื้นที่เขตสันปันน้ำ
จากวิถีพีเดีย
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%

2. จากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปีพศ.๒๕๐๕ วินิจฉัยคดีนี้แค่เรื่องเดียว คือ กัมพูชาหรือไทยเป็นเจ้าของบริเวณปราสาทพระวิหาร. ข้ออ้างเรื่องแผนที่เป็นแค่เหตุผลประกอบการวินิจฉัยว่าปราสาทฯตั้งอยู่ในกัมพูชาหรือไทย.

ศาลจึงวินิจฉัยว่า ปราสาทฯตั้งอยู่ในเขตกัมพูชา ดังนั้นไทยจึงต้องถอนกำลังออกจากปราสาทฯ หรือบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาทฯบนอาณาเขตของกัมพูชา. ศาลย้ำว่า เรื่องแผนที่ฯและเส้นพรมแดนนั้นเป็นเพียงเหตุผลที่นำมาสู่ผลวินิจฉัย แต่ไม่ใช่เรื่องที่ศาลพิพากษาผูกพันไทย

3 ศจ. ดร.สมปอง สุจริตกุล
ศาลโลกจะพิจารณาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรไม่ได้ มันคนละเรื่องกัน

4 คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์
คำ ว่า “บริเวณใกล้เคียง” (Vicinity) สามารถตีความเทียบเคียงได้กับ “precincts” หรือ “Temple area” ซึ่งย่อมส่งผลให้คำพิพากษาจำกัดพื้นที่ของกัมพูชาว่าได้แก่บริเวณที่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวปราสาทฯเท่านั้น

Annie: จากความเห็นของ ศจ.ดร.สมปอง สุจริตกุล, คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ พร้อมหลักฐานประกอบคือ คำตัดสินของศาลโลก และหลักฐานบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้างนั้น หลังจากไทยส่งบันทึกต่อศาลโลกแล้ว เป็นที่น่าสังเกตุว่า ไม่เคยปรากฏว่ากัมพูชามีการคัดค้านบันทึกนี้แต่อย่างใด

จากสิ่งที่นำมากล่าวอ้างนี้ทั้งหมด ย่อมเป็นที่ปรากฎชัดว่า ความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิพากษาไว้เมื่อปี 2505 นั้นสมบูรณ์แล้ว และนับตั้งแต่เวลานั้นจนมาถึงปัจจุบัน ไทยยึดเอาตามความหมายอย่างแคบคือตัวประสาทจริงๆและได้มีการสร้างรั้วล้อม แต่สิ่งที่เขมรต้องการคือตัวประสาทในความหมายอย่างกว้างคือรวมทางขึ้นและพท. 4.6ตร.กม.

ซึ่งถ้ารัฐบาลยอมรับอำนาจ ICJ ผลอย่างแรก คือ เรายอมสละสิทธิ์ที่ไทยเคยสงวนไว้เมื่อปีพศ. 2505 และยอมให้ICJ เข้ามาพิจารณาตีความซึ่งสุ่มเสี่ยงมาก

- เรื่องกัมพูชายังเสนอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราวสั่งให้รัฐบาลไทยถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาท และยุติปฏิบัติการด้านการทหารในพื้นที่
ศจ. ดร.สมปอง สุจริตกุล: ศาลโลกไม่มีอำนาจ ศาลโลกอาจจะสั่งได้แต่ว่าไม่มีใครเขาทำตาม

ครั้งแรกที่โกโบวาออกมาพูดหลังประชุมเสร็จแล้ว

UNESCO Director-General Irina Bokova Convenes meeting between Cambodia and Thailand to discuss conservation measures for Temple of Preah Vihear World Heritage Site

© UNESCO/Alison Clayson - The Preah Vihear temple

The Director-General of UNESCO has facilitated three days of bilateral and individual consultations between delegations from Cambodia (led by Vice-Prime Minister. Sok An) and Thailand (led by Suwit Khunkitti, Minister of Natural Resources and Environment) to discuss conservation issues concerning the World Heritage site of Preah Vihear. The meeting took place ahead of the forthcoming 35th session of the World Heritage Committee that will be held at UNESCO Headquarters in Paris from 19-29 June, 2011.

The meeting, held in an open atmosphere of dialogue and cooperation, sought to foster common understanding of the issues affecting the World Heritage site, and to reach agreement on enhancing its state of conservation following recent threats to the property.
The Director-General while expressing satisfaction that the two Parties had responded positively to her invitation and affirmed their will to protect and preserve the Temple from future potential damages, voiced her disappointment at the fact that no agreement was reached between the Parties on concrete steps ahead of the forthcoming World Heritage Committee session.
“I appeal to both countries to pursue efforts towards achieving a common agreement before the World Heritage Committee session in June in a spirit of cooperation and constructive dialogue” said the Director-General, Irina Bokova.
27.05.2011
Source: UNESCOPRESS

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร 2541


อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร



ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ อำเภอน้ำยืน อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ (130 ตารางกิโลเมตร) อาณาเขตด้านใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารบริเวณผามออีแดง ในตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541) นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศ



พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งลำโดมใหญ่ ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ป่าไม้ชายแดนให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังคงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และเป็นแหล่งต้น น้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่มาก มีทัศนียภาพที่สวยงาม ตลอดจนโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และกรมป่าไม้กำหนดและประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ



อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารมีทัศนียภาพและทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่หลายแห่ง เช่น จุดชมวิวผามออีแดง จุดชมวิวหน้าผาช่องโพย บริเวณป่าและสวนหินรอบสระตราว ถ้ำฤๅษี แหล่งตัดหิน สถูปคู่ ภาพสลักนูนต่ำใต้ผามออีแดง น้ำตกผาช่องโพย จุดชมวิว ภูเซี่ยงหม้อ ปราสาทโดนตวล และที่สำคัญคือ ปราสาทเขาพระวิหาร อันเป็นโบราณสถานสำคัญเก่าแก่ ที่เคยเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา เมื่อพ.ศ. 2505 และในที่สุดศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้ตัดสินให้ตัวปราสาทอยู่ในอธิปไตยของประเทศกัมพูชา แต่ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ทางฝั่งไทย และพื้นที่ทางขึ้นบริเวณผามออีแดงที่จังหวัดศรีสะเกษเป็นทางขึ้นที่สะดวกที่สุด



ปราสาทเขาพระวิหารนับได้ว่าเป็นปราสาทขอมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์การก่อสร้างเทวสถานของฮินดู และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งของไทยและกัมพูชาอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร มีเนื้อที่ 81,250 ไร่ และได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทย

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สุวิทย์รับถกเขาพระวิหารยังไม่มีข้อสรุป

รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับเจราจา "พระวิหาร"ยังไม่มีข้อยุติ  ยันจะยังคงเสนอเจรจา 2 ฝ่าย พร้อมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 36
นายสุวิทย์ คุณกิตติ  รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวภายหลังการเดินทางกลับจากการประชุมเจรจาปัญหามรดกโลก ระหว่างคณะผู้แทนไทยและกัมพูชา ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยยอมรับว่า การประชุมทั้ง 3 วันที่ผ่านมา ยังไม่มีข้อยุติตามที่ไทยต้องการให้เลื่อนการพิจารณาจัดการแผนปราสาทเขาพระ วิหาร ครั้งที่ 35 ที่ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 19 - 29 มิ.ย.นี้ แม้กระบวนการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่าย ที่ผ่านมา มีความพยายามกันอย่างมาก และทางผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกเอง ก็อยากให้ยุติปัญหา
         
อย่าง ไรก็ตาม นายสุวิทย์ กล่าวว่า ขั้นตอนจากนี้จะต้องมีการประชุมเจรจากันอีกครั้ง ก่อนที่การประชุมครั้งที่ 35 จะเกิดขึ้น รวมถึงการพิจารณาเรื่องการปักปันเขตแดน เพื่อให้ปัญหาชายแดนมีข้อยุติ นอกจากนี้กัมพูชาเอง ก็ยังมี 2 - 3 ประเด็น ที่ต้องการให้แก้ไข ทำให้กระบวนการในการพิจารณายังไม่จบสิ้น
         
ทั้ง นี้ นายสุวิทย์ ยืนยันว่า จะยังคงเสนอให้มีการประชุม 2 ฝ่าย เพื่อนำไปสู่การเลื่อนการประชุม และยังเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 36 ในปี 2012 ซึ่งขณะนี้ มีอีก 2 ประเทศ ที่ร้องขอ คือ รัสเซีย กัมพูชา ด้วย

“ไพศาล” แย้งกระทรวงการต่างประเทศ การไปยอมรับอำนาจศาลคือการขายชาติ

นายไพศาล พืชมงคล อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้เผยกับสื่อมวลชนเมื่อเช้าวันนี้ แย้งความเห็นของรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศว่าการไปขึ้นศาลโลกคือกระบวนการ ขายชาติ ที่ตระเตรียมกันมาไว้อย่างดี

     นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่ารองปลัดกระทรวงการต่างประเทศท่านหนึ่งได้เขียนบทความเผยแพร่ชี้แจง เหตุผลว่าต้องไปขึ้นศาลโลกว่า เป็นเรื่องที่เขมรขอตีความและบังคับตามคำตัดสินเดิมของศาลโลก หากไม่ไปขึ้นศาลจะเสียเปรียบว่ามีการปกปิดความจริงและบิดเบือนความจริงหลาย ประการ 

     นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่าก่อนอื่นจะต้องเข้าใจเรื่องประเด็นพิพาทเดิมก่อน ว่าเขมรฟ้องไทยเรื่องอะไร ซึ่งในเรื่องนี้ไม่พูดถึงกันเลย ในฐานะที่ตนทราบเรื่องนี้ดีและมีเอกสารสำคัญอยู่ในมือ ขอบอกว่าในคดีเดิมนั้นเขมรฟ้องไทยเป็น 2 ตอน คือ

     ตอนที่หนึ่ง ยื่นฟ้องไทยเรียกเอาตัวปราสาทพระวิหาร อ้างว่าเป็นของเขมร รัฐบาลไทยยอมรับอำนาจศาลเข้าไปต่อสู้คดี ซึ่งถ้าหากไม่ยอมรับ ศาลโลกก็ไม่สามารถตัดสินให้ผูกพันรัฐบาลไทยได้ นี่คือปฐมบทแห่งความโง่ของรัฐบาลไทยและทำให้กระบวนการขายชาติยุคนั้นเดิน หน้าไปได้

     ตอนที่สอง หลังจากยื่นฟ้องและรัฐบาลไทยให้การต่อสู้คดีแล้ว เขมรได้ยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมเรียกเอาดินแดนรอบปราสาทพระวิหารว่าเป็นของเขมร ด้วย ในขั้นตอนที่สองนี้รัฐบาลไทยในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลงมติตามความเห็นของพระยาอรรถการีนิพนธ์และนายบุศย์ ขันธวิทย์ อดีตประธานกรรมการสำนักงานกฎหมายธรรมนิติ ให้คัดค้านการขอเพิ่มเติมฟ้อง เป็นผลให้ศาลโลกพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่าเมื่อรัฐบาลไทยคัดค้านการเพิ่มเติมคำ ฟ้องในส่วนที่เรียกเอาดินแดน ศาลโลกจึงไม่มีอำนาจพิจารณา จึงยกคำร้อง และเขมรก็ยอมรับคำสั่งศาลตลอดมากว่า 50 ปีแล้ว

     ดังนั้นคดีที่ต่อสู้กันในศาลโลกจึงคงเหลือแต่เรื่องตัวปราสาท และธรรมนูญของศาลโลกก็เหมือนกับธรรมนูญศาลทั้งหลายในโลก คือศาลมีอำนาจพิจารณาเฉพาะประเด็นที่พิพาทกันตามคำฟ้อง คำให้การเท่านั้น ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษานอกเหนือไปจากประเด็นที่พิพาทกัน นั่นคือศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในเรื่องดินแดนซึ่งรัฐบาลไทยไม่ยอม รับมาตั้งแต่ต้น ประเด็นนี้รัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศทำเป็นโง่งมงายประหนึ่งไม่รู้ ไม่เห็นประหนึ่งว่าไม่มีเรื่องนี้เกิดขึ้น  ดังนั้นคำตัดสินของศาลโลกที่เคย ตัดสินมาจึงตัดสินเฉพาะเรื่องของตัวปราสาทว่าอยู่ในอำนาจอธิปไตยของเขมร เพราะศาลโลกไม่มีอำนาจตัดสินเกี่ยวกับดินแดนและมิได้ตัดสินเกี่ยวกับดินแดน หลังจากศาลโลกตัดสินแล้วรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เห็นว่าพฤติกรรมของศาลโลกเป็นแค่ศาลการเมืองที่อาศัยพวกมากลากไป ไม่ประสาธน์ความยุติธรรมให้แก่ประเทศไทย ป่วยการที่จะเป็นภาคีของศาลแบบนี้ จึงถอนตัวออกจากการเป็นภาคีของศาลโลก นับแต่บัดนั้นประเทศไทยจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับศาลโลกและศาลโลกก็ไม่มี อำนาจที่จะพิจารณาตัดสินคดีใด ๆ ให้ผูกพันประเทศไทยได้อีก เว้นแต่ประเทศไทยจะหน้าโง่เสือกเข้าไปยอมรับอำนาจศาลอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวันนี้ขบวนการขายชาติแกล้งทำเป็นหน้าโง่เข้าไปยอมรับอำนาจศาลอีกแล้ว ไม่สำนึกและตระหนักในสิ่งที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ได้ทำไว้ จึงทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในความเสี่ยงทำให้เสียดินแดนครั้งมโหฬาร เพราะอย่าคิดว่าเกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องเก่า เนื่องจากหากไทยแพ้คดีครั้งนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เขมรฟ้องเรียกดินแดน ตาม MOU 2543 คือ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบพระวิหาร 1.8 ล้านไร่ ตลอดแนวชายแดน 7 จังหวัดและอ่าวไทย 1 ใน 3 จำนวน 27 ล้านตารางกิโลเมตรต่อไปอีก

     นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่าเขมรจะไปขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาไม่ได้อีกแล้ว เพราะเวลาล่วงเลยมานานกว่า 50 ปี และได้ยอมรับปฏิบัติกันมาจนเป็นปกติแล้ว จะไปอธิบายขยายความไม่ได้ นอกจากนั้นศาลโลกก็ไม่มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องดินแดน ซึ่งในคดีเดิมนั้นไม่มีประเด็นพิพาทมาตั้งแต่ต้น จะมาตัดสินเพิ่มเติมหรือตัดสินขยายความเพิ่มเติมจากเดิมไม่ได้ เพราะคำอธิบายคำพิพากษาต้องไม่เกินคำตัดสินเดิม และไปแตะต้องเรื่องดินแดนไม่ได้

พื้นที่ขัดแย้งไทย-เขมร






พื้นที่ขัดแย้งไทย-เขมร

สังเกตุดูวันเดือนปี ที่จัดสรรเขตสัมปทานกันให้ดีนะขอรับ ประเทศไทยนั้นเมื่อปี พ.ศ.2511?(1968) เขมร2540?(1997) และถึงแม้มันจะดูทับซ้อนกันหมด ทั้ง 1.พื้นที่ๆต่างคนต่างอ้าง รวมไปถึง 2. บ.พลังงาน ที่ได้รับสัมปทานไปแล้วทั้ง 2 ฝ่าย ทว่าวันนี้ปริศนาได้ถูกไขแล้ว เมื่อพบว่า บ.พลังงานทั้งหมด มีพ่อคนเดียวกันที่ชื่อ Standard Oil of USA ครับผม ส่วนBP มาขุดถ่านชนิดพิเศษ(ที่ทำได้เจ้าเดียว)ให้กับขาใหญ่เขา โดย: ดร.ไก่ Tanond

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง